โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ย่อยปลาซิว

ดัชนี วงศ์ย่อยปลาซิว

วงศ์ย่อยปลาซิว (Danionin) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งถือเป็นวงศ์ใหญ่ มีสมาชิกต่าง ๆ ในวงศ์นี้ทั่วโลกมากกว่า 2,000 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Danioninae ปลาในวงศ์ย่อยนี้ มักมีขนาดเล็ก โดยเรียกในชื่อสามัญว่า ปลาซิว หรือ ปลาแปบ มีลักษณะโดยทั่วไป คือ ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีเงิน สันท้องกลมไม่เป็นสัน หรือบางชนิดสันท้องคม ส่วนหัวมักอยู่ในแนวเฉียงกับลำตัว ส่วนใหญ่มีปมที่ปลายของขากรรไกรล่าง หรือบางชนิดไม่มี ปากเฉียงขึ้นหรืออยู่ในตำแหน่งตรง มีฟันในหลอดคอ 1-3 แถว ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังไม่แข็ง ปกติมีจำนวนก้านครีบที่แตกปลาย 7 ก้าน มักอยู่ในตำแหน่งทางด้านท้ายของลำตัวหรือหลังจุดเริ่มต้นของครีบท้อง บางชนิดไม่มีหนวด บางชนิดมีหนวด มีซอกเกล็ดเฉพาะที่ฐานของครีบท้อง เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์โค้งลงทางด้านล่างและสิ้นสุดต่ำกว่ากึ่งกลางคอดหาง ตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดให้ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้มีทั้งหมด 30 สกุล (ดูในตาราง) แต่ตามข้อมูลของผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภินันท์ สุวรรณรักษ์ แห่งคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดให้มีสกุลเพิ่มเติมขึ้นมาอีก ซึ่งเป็นปลาที่สามารถพบได้ในประเทศไทย ได้แก่ Aaptosyax, Aspidoparia, Boraras, Brachydanio, Leptobarbus, Macrochirichthys, Opsariichthys, Oxygaster และThryssocypris ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนวงศ์ย่อยของปลาในวงศ์ปลาตะเพียนนี้ ยังไม่มีข้อยุติแน่นอน โดยนักมีนวิทยาและนักอนุกรมวิธานในแต่ละท่าน ก็จะจัดแตกต่างกันออกไป เช่น วอลเตอร์ เรนโบธ ได้แบ่งวงศ์ย่อยออกเป็นทั้งสิ้น 4 วงศ์ย่อย เมื่อปี ค.ศ. 1996 ได้แก่ Alburninnae, Danioninae, Leuciscinae และCyprininae เป็นต้น.

41 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2539พ.ศ. 2547การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีนวิทยาวอลเตอร์ เรนโบธวงศ์ย่อยปลาซิววงศ์ปลาตะเพียนสกุล (ชีววิทยา)สกุลรัสบอร่าสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์สหรัฐสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลาตะเพียนอนุกรมวิธานผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเทศไทยปลาบ้าปลาฝักพร้าปลาสะนากยักษ์ปลาอ้ายอ้าวปลาที่มีก้านครีบปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)ปลาดอกหมาก (น้ำจืด)ปลาคาร์ปเลตปลาซิวปลาซิวหัวตะกั่วปลาซิวหางกรรไกรปลาซิวหนวดยาว (สกุล)ปลาซิวแคระปลาซิวใบไผ่ปลาซิวใบไผ่ยักษ์ปลานางอ้าวปลาน้ำหมึกยักษ์ปลาน้ำจืดปลาแปบปลาแปบยาวปลาแปบขาวปลาแปบใส

พ.ศ. 2539

ทธศักราช 2539 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1996 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและพ.ศ. 2539 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ตั้งอยู่ที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีรากฐานจาก "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ" จนได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐลำดับที่ 20 ในประเทศไท.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ · ดูเพิ่มเติม »

มีนวิทยา

มีนวิทยา (Ichthyology) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปลา ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบภายในตัวปลา รวมถึงอนุกรมวิธานของปลา ออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ปลาในที่นี้ประกอบด้วยปลากระดูกแข็ง ปลากระดูกอ่อน ได้แก่ ฉลามและกระเบน และปลาไม่มีขากรรไกร โดยไม่ครอบคลุมไปถึงสัตว์น้ำจำพวกอื่น เช่น หมึก, กบ, กุ้ง, ปู, วาฬ หรือโลมา ซึ่งไม่จัดว่าเป็นปลา การศึกษาทางด้านมีนวิทยามีความสัมพันธ์อย่างมากกับสาขาวิชาชีววิทยาทางทะเล ชลธีวิทยา และสมุทรศาสตร์ และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้ว่า "นักมีนวิทยา" มีนวิทยา ถือได้ว่าเป็นแขนงย่อยของสัตววิทยา โดยคำว่า "Ichthyology" ที่ใช้เป็นชื่อภาษาอังกฤษนั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Ichthys" (ἰχθύς) แปลว่า ปลา, "logy" หรือ "logos" (λόγος) แปลว่า วิชา หรือ เรื่องราว, "มีน" มาจากภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า ปลา และ "วิทยา" มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ความรู้ โดยบุคคลแรกที่ถือได้ว่าศึกษาศาสตร์มีนวิทยาเป็นคนแรกของโลก คือ อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่มีชื่อเสียง เพราะเป็นผู้ริเริ่มจำแนกสิ่งมีชีวิต บันทึกของอริสโตเติลได้กล่าวถึงโครงสร้าง อุปนิสัย การอพยพย้ายถิ่น ฤดูกาลสืบพันธุ์ และความรู้อื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลามากชนิด แต่ความจริงมนุษย์รู้จักปลามานานกว่า 50,000 ปีแล้ว จากหลักฐานที่มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้วาดภาพปลาไว้ที่ผนังถ้ำ เช่น รูปปลาบึกที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นต้น การศึกษาเกี่ยวกับปลาในระยะต่อมาโดยมากยังอ้างอิงผลงานของอริสโตเติล จะมีเพิ่มเติมก็เป็นเรื่องปลีกย่อย จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18 การศึกษาเกี่ยวกับปลาตื่นตัวมากขึ้น มีการเขียนตำราวิชาทางวิชาการ ซึ่งใช้อ้างอิงมาจนถึงทุกวันนี้ มีการจำแนกหมวดหมู่ปลากระดูกอ่อน ปลากระดูกแข็ง ศึกษากายวิภาค สรีรวิทยา วิวัฒนาการของปลาจากซากดึกดำบรรพ์ มีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาศาสตร์ด้านมีนวิทยาที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ อัลเบิร์ต กึนเธอร์, จอร์จส์ คูเวียร์, อเล็กซานเดอร์ เอ็มมานูเอล อกาซซี, หลุยส์ อกาซซี (บุตรของอกาซซี) รวมถึง คาโรลัส ลินเนียส ผู้ให้กำเนิดหลักการอนุกรมวิธานที่ใช้มาถึงปัจจุบันด้วย สำหรับในประเทศไทย ศาสตร์แขนงนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ดร.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและมีนวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

วอลเตอร์ เรนโบธ

ร.วอลเตอร์ เรนโบธ (Walter Rainboth) หรือ วอลเตอร.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและวอลเตอร์ เรนโบธ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาซิว

วงศ์ย่อยปลาซิว (Danionin) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งถือเป็นวงศ์ใหญ่ มีสมาชิกต่าง ๆ ในวงศ์นี้ทั่วโลกมากกว่า 2,000 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Danioninae ปลาในวงศ์ย่อยนี้ มักมีขนาดเล็ก โดยเรียกในชื่อสามัญว่า ปลาซิว หรือ ปลาแปบ มีลักษณะโดยทั่วไป คือ ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีเงิน สันท้องกลมไม่เป็นสัน หรือบางชนิดสันท้องคม ส่วนหัวมักอยู่ในแนวเฉียงกับลำตัว ส่วนใหญ่มีปมที่ปลายของขากรรไกรล่าง หรือบางชนิดไม่มี ปากเฉียงขึ้นหรืออยู่ในตำแหน่งตรง มีฟันในหลอดคอ 1-3 แถว ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังไม่แข็ง ปกติมีจำนวนก้านครีบที่แตกปลาย 7 ก้าน มักอยู่ในตำแหน่งทางด้านท้ายของลำตัวหรือหลังจุดเริ่มต้นของครีบท้อง บางชนิดไม่มีหนวด บางชนิดมีหนวด มีซอกเกล็ดเฉพาะที่ฐานของครีบท้อง เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์โค้งลงทางด้านล่างและสิ้นสุดต่ำกว่ากึ่งกลางคอดหาง ตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดให้ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้มีทั้งหมด 30 สกุล (ดูในตาราง) แต่ตามข้อมูลของผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภินันท์ สุวรรณรักษ์ แห่งคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดให้มีสกุลเพิ่มเติมขึ้นมาอีก ซึ่งเป็นปลาที่สามารถพบได้ในประเทศไทย ได้แก่ Aaptosyax, Aspidoparia, Boraras, Brachydanio, Leptobarbus, Macrochirichthys, Opsariichthys, Oxygaster และThryssocypris ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนวงศ์ย่อยของปลาในวงศ์ปลาตะเพียนนี้ ยังไม่มีข้อยุติแน่นอน โดยนักมีนวิทยาและนักอนุกรมวิธานในแต่ละท่าน ก็จะจัดแตกต่างกันออกไป เช่น วอลเตอร์ เรนโบธ ได้แบ่งวงศ์ย่อยออกเป็นทั้งสิ้น 4 วงศ์ย่อย เมื่อปี ค.ศ. 1996 ได้แก่ Alburninnae, Danioninae, Leuciscinae และCyprininae เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและวงศ์ย่อยปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สกุลรัสบอร่า

กุลรัสบอร่า เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งตั้งชื่อโดย ปีเตอร์ บลีกเกอร์ ในปี ค.ศ. 1859 ใช้ชื่อสกุลว่า Rasbora (/รัส-บอ-รา/) มีลักษณะโดยรวม คือ ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน ปากแคบ มีปุ่มในปากล่าง ไม่มีหนวด และจุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัว มีการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำของทวีปแอฟริกา, ทวีปเอเชีย พบตั้งแต่เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก มีสมาชิกในสกุลนี้จำนวนมาก โดยในประเทศไทยจะเรียกปลาในสกุลนี้รวม ๆ กันว่า "ปลาซิว" มีอยู่หลายชนิด สำหรับในประเทศไทย ปลาที่ได้ชื่อว่าปลาซิว คือ ปลาที่อยู่ในสกุลนี้มากที่สุด มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการใช้บริโภคกันในท้องถิ่นและการเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม โดยอาจเรียกทับศัพท์ตามชื่อวิทยาศาสตร์ไปว่า รัสบอร่า โดยรวบรวมปลาได้จากการจับทีละมาก ๆ จากธรรมชาติและเพาะขยายพันธุ์ได้เองในที่เลี้ยง อีกทั้งยังถือเป็นห่วงโซ่อาหารเบื้องต้นตามธรรมชาติอีกด้วย เนื่องจากปลาในสกุลนี้มีขนาดเล็กและกินพืชเป็นอาหาร จึงมักตกเป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำขนาดใหญ่กว่าเสมอ แต่ในปัจจุบัน ได้มีการแบ่งแยกเป็นสกุลใหม่ ได้แก่ Kottelatia 1 ชนิด, Boraras 5 ชนิด, Breviora 2 ชนิด, Microrasbora 7 ชนิด และ Trigonostigma 4 ชน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและสกุลรัสบอร่า · ดูเพิ่มเติม »

สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์

มโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ที่จังหวัดนครปฐม จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลวัดสรรเพชญ (ทวีวิทยาคม) จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2511 เริ่มรับราชการที่กรมประมงตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาตะเพียน

อันดับปลาตะเพียน หรือ อันดับปลากินพืช (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cypriniformes, Carp, Barb, Loach, Minnow, Chinese suckerfish, Garra) เป็นอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปลาตะเพียน, ปลาทอง, ปลาคาร์ป, ปลาซิว เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Cyprinidae มีลักษณะโดยรวมคือ ลำตัวมีเกล็ด ส่วนใหญ่แบนข้าง สันท้องกลมหรือเป็นสันคม ไม่มีหนามที่สันท้อง ตาไม่มีหนังคลุม ปากมีหลายตำแหน่งทั้งอยู่ตรงด้านหน้า เฉียงขึ้น หรืออยู่ทางด้านล่าง บางชนิดยืดหดได้เล็กน้อย บางชนิดมีลักษณะคล้ายปากดูด ส่วนใหญ่ไม่มีฟันบนขากรรไกรหรือบางชนิดที่มีก็มีไม่เกิน 8 ซี่ รอยต่อส่วนปลายของขากรรไกรล่างมีปมยื่นออกมาเรียกว่า ซิมไซซีล นอบ ริมฝีปากบางอาจมีหรือไม่มีติ่งเนื้อ บางชนิดไม่มีริมฝีปาก ไม่มีหนามใต้ตา หรือหน้าตา ช่องเปิดเหงือกกว้างกระดูกโอเพอร์เคิล เจริญดี มีหนวด 1-2 คู่ หรือไม่มี ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายของครีบหลังอาจแข็ง หรือไม่แข็ง อาจมีหยักด้านในหรือไม่มี ไม่มีครีบไขมัน มีฟันที่หลอดคอ 1-3 แถว ขอบปากเป็นกระดูกพรีแมคซิลลา ขากรรไกรบนยืดหดได้ บางชนิดครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว มีครีบหลังตอนเดียว ถุงลมมีขนาดค่อนข้างใหญ่ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสองตอน ไม่ถูกแผ่นกระดูกปกคลุมไว้ เป็นปลาที่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภูมิภาคของโลก ทั้งอเมริกาเหนือ, ทวีปยูเรเชียและทวีปเอเชีย มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ พบในน้ำจืดมากกว่าทะเล ส่วนใหญ่เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหาร ไม่มีกระเพาะอาหาร แต่ก็มีหลายชนิดที่กินเนื้อหรือแพลงก์ตอน เป็นปลาที่มนุษย์คุ้นเคยมานานเพราะใช้เป็นอาหาร นอกเหนือจากปลาในวงศ์ Cyprinidae แล้ว ยังมีปลาในวงศ์อื่นอีกที่อยู่ในอันดับนี้ประมาณ 5-6 วงศ์ ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและอันดับปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและอนุกรมวิธาน · ดูเพิ่มเติม »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ลขาธิการสถาบันอภิวุฒิโยธิน_วิทยาลัยเทคโนโลยีรัชภาคย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (Assistant professor) ใช้อักษรย่อว่า ผ. เป็นตำแหน่งทางวิชาการที่ใช้ในหลายประเท.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและผู้ช่วยศาสตราจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบ้า

ปลาบ้า ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาว ลำตัวค่อนข้างกลม หัวโต นัยน์ตาค่อนข้างโต ปากกว้างมีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนของหลังสีดำปนเทา ท้องสีขาวจาง ครีบหางสีแดงสดหรือชมพู ครีบอื่นสีแดงจาง ๆ มีขนาดความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร อาหารได้แก่ เมล็ดพืช, แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ปลาบ้าอาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำโขง, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำมูล รวมถึงลำธารในป่าดงดิบ มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาชนิดนี้จะกินลูกลำโพงหรือลูกกระเบาเข้าไป แล้วสะสมพิษในร่างกาย เมื่อมีผู้นำไปกินจึงมีอาการมึนเมา อันเป็นที่มาของชื่อ จึงไม่เป็นที่นิยมรับประทานมากนัก แต่ที่มาเลเซียนิยมรับประทานมาก จนได้ชื่อว่า "ปลาสุลต่าน" มีฤดูวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 15-18 ชั่วโมง ปลาบ้ายังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไป เช่น "ปลาอ้ายบ้า", "ปลาพวง" ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาโพง" นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในแวดวงว่า "ปลาแซมบ้า".

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาบ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฝักพร้า

วามหมายอื่น: สำหรับปลาชนิดอื่นที่เป็นปลาน้ำเค็ม ดูได้ที่ ปลาดาบลาว ปลาฝักพร้า (Freshwater wolf herring, Sword minnow, Long pectoral-fin minnow; カショーロバルブ) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวยาวและแบนข้างคล้ายมีดดาบ ท้องเป็นสันแคบ ตาโต ปากกว้างเฉียงขึ้นด้านบน ปลายปากล่างโค้งเข้าเล็กน้อยคล้ายตะขอ ลำตัวสีเงินวาว ครีบใส ครีบอกใหญ่และยาวแหลม ครีบท้องและครีบหลังเล็ก แต่ครีบก้นมีฐานครีบยาว ครีบหางเว้าลึกและปลายมน โคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ขนาดประมาณ 20-60 เซนติเมตร จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Macrochirichthys เป็นปลาล่าเหยื่อ มักหากินบริเวณใกล้ผิวน้ำ เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็วมาก อาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กจำพวกปลาซิวและแมลง พบในแหล่งน้ำหลากและแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง, ภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง ในภาคใต้พบเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกเท่านั้น และพบได้จนถึงประเทศอินโดนีเซีย เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำสะอาด ปัจจุบันอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ เพราะสภาพแวดล้อมที่อยู่ถูกทำลายไปประกอบกับปริมาณปลาที่พบในธรรมชาติมีน้อยมาก จึงไม่ทำให้เป็นที่นิยมในการประมง ปลาฝักพร้า ยังมีชื่อเรียกอื่นที่เรียกต่างออกไป เช่น "ปลาท้องพลุ", "ปลาดาบลาว", "ปลาดาบญวน", "ปลาโกร๋ม" เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาฝักพร้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสะนากยักษ์

ปลาสะนากยักษ์ (Giant salmon carp, Mekong giant salmon carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aaptosyax grypus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Danioninae.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาสะนากยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอ้ายอ้าว

ปลาอ้ายอ้าว หรือ ปลาซิวอ้าว หรือ ปลาซิวควาย (Apollo sharks) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Luciosoma (/ลิว-ซิ-โอ-โซ-มา/) มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวคล้ายแท่งดินสอ ไม่มีเข็มก้านครีบแรก มีก้านครีบอ่อน 7 ก้าน ก้านครีบก้นมี 6 ก้านครีบ ปากกว้างโดยที่มุมปากยื่นยาวไปจนอยู่ในระดับใต้ตา ครีบหลังอยู่ในส่วนครึ่งหลังของลำตัว มีจุดเด่นคือ มีลายแถบสีดำข้างลำตัว ซึ่งแตกต่างออกไปตามชนิด ขนาดโดยเฉลี่ย โตเต็มที่ประมาณ 25-30 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ กินอาหารโดยล่าปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร รวมถึงแมลงด้วย พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา จนถึงเกาะบอร์เนียวและเกาะชวา พบด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาอ้ายอ้าว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)

ำหรับปลาข้าวเม่าที่มีลำตัวใส ดูที่: ปลาข้าวเม่า ปลาข้าวเม่า เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่อยู่ในสกุล Chela (/เคล-อา/) ในวงศ์ปลาตะเพียน จัดเป็นปลาซิวหรือปลาแปบจำพวกหนึ่ง มีลำตัวยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในลำธารและบ่อน้ำขนาดเล็ก ๆ ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนท้องที่อยู่ระหว่างคางจนถึงครีบท้องแบนเป็นสัน ปากเล็กและเฉียงขึ้นบน เส้นข้างลำตัวอยู่ต่ำและโค้งขนานไปกับแนวท้อง ปลายเส้นข้างลำตัวไปสิ้นสุดลงที่ครึ่งล่างของโคนหาง ครีบก้นมีฐานครีบยาวกว่าฐานของครีบหลัง ครีบอกใหญ่ ยาวและปลายครีบแหลม ครีบท้องมีก้านครีบยื่นออกเป็นเส้นเดี่ยวและครีบหางมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ปลายแยกเป็นแฉกลึก เดิมทีปลาในสกุลนี้เคยมีประชากรมากกว่านี้ แต่ปัจจุบันได้แยกออกไปเป็นสกุลต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะในสกุล Laubuka หรือปลาซิวหัวตะกั่ว จึงเหลือเพียง 2 ชนิดเท่านั้น.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาข้าวเม่า (ปลาซิว) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดอกหมาก (น้ำจืด)

ำหรับปลาดอกหมากที่เป็นปลาทะเล ดูที่: ปลาดอกหมาก ปลาดอกหมาก หรือ ปลาน้ำหมึก เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Barilius ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะโดยรวม คือ ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย มีหนวดสั้น ๆ หรือไม่มี แต่ก็มีจุดสีดำหรือนํ้าตาลบนพื้นลำตัวสีเงินกระจายอยู่ข้างตัว อาศัยอยู่เป็นฝูงตามต้นนํ้าลำธาร เป็นปลาที่มีความคล่องแคล่วว่องไวมาก เป็นปลาที่มีความใกล้ชิดและคล้ายคลึงกับปลาในสกุล Opsarius มาก โดยเคยจัดอยู่ในสกุลเดียวกัน ก่อนที่จะแยกออกมาต่างหาก.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาดอกหมาก (น้ำจืด) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาคาร์ปเลต

ปลาคาร์ปเลต (Carplet) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในสกุล Amblypharyngodon จัดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาซิวจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดียและเมียนมา ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว โดยที่ชื่อสกุลนั้นมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า ἀμβλύς (amblús) หมายถึง "ทื่อ", φάρυξ (pháruks) หมายถึง "ลำคอ" และ ὀδών (odṓn) หมายถึง "ฟัน" โดยมีความหมายถึง รูปร่างที่แบนหรือเว้าของฟันในปลาสกุลนี้.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาคาร์ปเลต · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิว

ปลาซิวข้างขวานเล็ก (''Trigonostigma espei'') ปลาซิว (Minnow; ในไอร์แลนด์เรียก Pinkeens) เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่เรียกปลาน้ำจืดขนาดเล็กหลายชนิด ในหลายสกุล ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) อันดับปลากินพืช เช่น สกุล Rasbora ที่มีลำตัวยาว ตัวใส, สกุล Danio, สกุล Esomus ที่มีหนวดยาวเห็นชัดเจน, สกุล Laubuca ที่มีรูปร่างอ้วนป้อม โดยมากแล้วเป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวไม่เกิน 5 เซนติเมตร หากินบริเวณผิวน้ำ แต่ก็ยังมีหลายสกุล หลายชนิดที่กินเนื้อหรือกินลูกปลาเล็กเป็นอาหาร และมีขนาดลำตัวใหญ่กว่านั้น เช่น ปลาซิวอ้าว (Luciosoma bleekeri) หรือ ปลาสะนาก (Raiamas guttatus) เป็นต้น โดยปลาจำพวกปลาซิวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาบ้า (Leptobarbus hoevenii) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดได้ถึง 80 เซนติเมตร นอกจากนี้แล้ว ปลาซิว ยังอาจจะเรียกรวมถึงปลาในวงศ์อื่นหรืออันดับอื่นได้อีกด้วยที่มีรูปร่าง ลักษณะคล้ายเคียงกัน เช่น ปลาซิวแก้ว (Clupeichthys aesarnensis) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) อันดับปลาหลังเขียว หรือ ปลานีออน (Paracheirodon innesi) ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) อันดับปลาคาราซิน เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว คำว่า ปลาซิวในนัยทางภาษาไทยใช้เปรียบเทียบกับคนขี้ขลาดหรือใจไม่สู้ ว่า "ใจปลาซิว" เพราะปลาซิวโดยมากเป็นปลาที่ตายง่ายมากเมื่อพ้นจากน้ำ นอกจากนี้แล้วยังมักถูกหยิบยกมาเปรียบเทียบคู่กับปลาสร้อยว่า "ปลาซิว ปลาสร้อย" หมายถึง สิ่งที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่มีความสำคัญนัก เพราะปลาทั้งสองจำพวกนี้เป็นปลาขนาดเล็ก พบได้ทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับสำนวนในภาษาอังกฤษด้วย โดยคำว่า "Minnow" นั้นก็มีความหมายว่า สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่สำคัญ หรือสิ่งหรือบุคคลที่ถูกมองข้าม เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวหัวตะกั่ว

ำหรับปลาในวงศ์อื่น ดูที่: ปลาหัวตะกั่ว ปลาซิวหัวตะกั่ว หรือ ปลาท้องพลุ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาท้องพลุหรือปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Laubuka (/ลอ-บู-คา/) จัดเป็นปลาซิวขนาดกลาง มีลักษณะทั่วไปคือ ลำตัวแบนข้าง สีลำตัวทั่วไปเป็นสีเงินขาว มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนท้องที่ลึกและกว้างเหมือนอ้วนหรือท้องป่อง เมื่อจับขึ้นมาแล้ว ส่วนท้องจะแตกได้ง่าย อีกทั้งมีจุดสีเงินเข้มที่ส่วนหัว แลดูคล้ายปลาหัวตะกั่ว จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีเส้นข้างลำตัวที่สมบูรณ์ มีก้านครีบท้องยื่นยาวลงมาเป็นเส้นเดี่ยว เดิมทีปลาในสกุลนี้ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Chela มีพฤติกรรมรวมฝูงเป็นฝูงเล็ก ๆ กินแมลงที่ตกลงน้ำเป็นอาหารหลัก โดยมีปากที่เชิดขึ้นด้านบน นอกจากนี้แล้วเมื่อตกใจจะสามารถกระโดดขึ้นขนานไปกับผิวน้ำได้เหมือนปลาขวานบิน ซึ่งเป็นปลาในกลุ่มปลาคาราซิน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์จนถึงแหลมมลายูและหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซียซึ่งพบได้ในทวีปอเมริกาใต้ในประเทศไทยจะพบได้ 2 ชน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาซิวหัวตะกั่ว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวหางกรรไกร

ปลาซิวหางกรรไกร หรือ ปลาซิวหางดอก (Scissor-tailed rasbora, Three-lined rasbora) เป็นปลาซิวชนิดหนึ่ง ในสกุล Rasbora มีรูปร่างเรียวยาว แบนข้าง ท่อนหางยาว ส่วนหลังโค้ง หัวโต นัยน์ตาโต ท้องใหญ่ ครีบใหญ่ เกล็ดตามลำตัวมีสีขาวเงินปนน้ำตาล หลังมีสีน้ำตาลปนดำ มีแถบสีดำตามลำตัว มีลายดำบนแฉกของครีบหาง หางแฉกเว้าคล้ายกรรไกรอันเป็นที่มาของชื่อ จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในสกุลนี้ เนื่องจากสามารถโตเต็มที่ได้ 15 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ กินพืชน้ำและแพลงก์ตอนสัตว์น้ำเป็นอาหาร รวมถึงแมลงขนาดเล็กด้วย ในประเทศไทยพบได้ที่ แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง และภาคใต้ ในต่างประเทศพบได้เรื่อยไปจนถึงคาบสมุทรมลายู, เกาะบอร์เนียว และเกาะสุมาตรา เป็นปลาที่สามารถพบได้ทั่วไปในธรรมชาติ นิยมนำมาบริโภคกันในท้องถิ่นที่อาศัย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะการเลี้ยงในตู้ไม้น้ำ ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง โดยการคัดเลือกพ่อแม่ปลาที่สมบูรณ์ จากนั้นจึงฉีดฮอร์โมนกระตุ้นให้แก่ปลาตัวผู้ และปล่อยทั้งคู่ผสมพันธุ์และวางไข่กันในตู้เลี้ยงหรือบ่อ.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาซิวหางกรรไกร · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวหนวดยาว (สกุล)

ปลาซิวหนวดยาว (Flying barb) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กในจำพวกปลาซิวจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชิ่อสกุลว่า Esomus (/อี-โซ-มัส/) มีลำตัวโดยรวมค่อนข้างยาว แบนข้าง แนวสันหัวตั้งแต่ปลายจะงอยปากจนถึงท้ายทอยหลังเป็นเส้นตรง ถัดไปเป็นส่วนสันหลังจะโค้งนูนขึ้นไม่มากนัก ปากแคบและเฉียงขึ้น ขากรรไกรล่างไม่มีปุ่มตรงกลาง มีหนวดสองคู่ คู่ที่ริมฝีปากบนสั้น แต่คู่ที่ริมฝีปากล่างยาวมากจนเห็นได้ชัด อันเป็นที่มาขอชื่อเรียก ซึ่งบางชนิดยาวถึงฐานครีบก้น ครีบหลังสั้นอยู่ค่อนไปทางหาง มีก้านครีบแขนงห้าก้าน เกล็ดมีขนาดปานกลาง เส้นข้างลำตัวอยู่ต่ำใกล้กับท้องและยาวไปจนสิ้นสุดที่ปลายหางส่วนล่าง มีฟันที่ลำคอหนึ่งแถว มีทั้งหมดห้าซี่ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนและแมลงน้ำบริเวณผิวน้ำ มีขนาดลำตัวยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 5-7 เซนติเมตร นิยมใช้บริโภคกันในพื้นที่ และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาซิวหนวดยาว (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวแคระ

ปลาซิวแคระ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Boraras (/บอรารัส/) อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) สกุลปลาซิวแคระนั้นถูกแยกออกมาจากสกุล Rasbora ในปี ค.ศ. 1993 โดยมอริส ก็อตลา นักมีนวิทยาชาวสวิส และชวลิต วิทยานนท์ นักมีนวิทยาชาวไทย โดยมีทั้งหมด 6 ชนิดในปัจจุบัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงหมู่เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย เป็นปลาที่มีขนาดลำตัวเล็กมาก โดยมีความยาวเฉลี่ยเพียง 1.3 เซนติเมตรเท่านั้น นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูงเหมือนปลาซิวสกุลอื่น ๆ และบางครั้งอาจปะปนไปกับปลาซิวสกุลอื่นหรือสกุลเดียวกันแต่ต่างชนิดกันได้ มีลักษณะเด่น คือ ทุกชนิดจะมีสีบริเวณช่องท้อง และสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่มีลายจุดบนลำตัวและกลุ่มที่มีลายเส้นบนลำตัว ทุกชนิดนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ และสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาซิวแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวใบไผ่

ปลาซิวใบไผ่ หรือ ปลาจุกกี (ภาษาใต้) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Danio (/แดน-อิ-โอ/) จัดเป็นปลาซิวสกุลหนึ่ง ปลาในสกุลนี้ มีลักษณะสำคัญ คือ เป็นปลาขนาดเล็กที่มักอาศัยอยู่ตามน้ำตกและลำธารที่มีกระแสน้ำไหลแรง มีลำตัวที่สั้นและแบนข้าง เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ ช่วงท้องกลม บริเวณหน้านัยน์ตามีกระดูกที่เป็นเงี่ยงแหลม 1 ชิ้น ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 11-15 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 11-18 ก้าน มีหนวดสั้นหรือบางชนิดไม่มี มีด้วยกันหลายชนิด พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, ภูมิภาคอินโดจีน, แหลมมลายู จนถึงเกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซี.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาซิวใบไผ่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวใบไผ่ยักษ์

ปลาซิวใบไผ่ยักษ์ (Giant danio) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง จำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Devario (/เด-วา-ริ-โอ/) ปลาซิวในสกุลนี้ เคยถูกรวมเป็นสกุลเดียวกันกับปลาซิวสกุล Danio หรือ ปลาซิวใบไผ่ หรือ ปลาจุกกี มาก่อน แต่ปลาซิวที่อยู่ในสกุลปลาซิวใบไผ่ใหญ่นี้ จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า โดยจะมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 5-15 เซนติเมตร และมีลวดลายสีสันต่าง ๆ ในบริเวณข้างลำตัว โดยก็ถูกเรียกชื่อสามัญว่า "ปลาซิวใบไผ่" หรือ "ปลาซิวใบไผ่ใหญ่" พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำโดยเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นลำธารหรือน้ำตกในป่าดิบ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจจะมีบางชนิดที่เป็นชื่อพ้องกันหน้า 28-29, Genus Devario - ปลาซิวใบไผ่ใหญ่ (Giant danio), "Mini Attlas" โดย สุริศา ซอมาดี.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาซิวใบไผ่ยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลานางอ้าว

ปลานางอ้าว หรือ ปลาน้ำหมึก เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Opsarius (/ออพ-ซา-เรียส/) จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เดิมทีปลาในสกุลนี้ ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ ได้รวมให้อยู่ในสกุล Barilius และได้ทำการอนุกรมวิธานไว้ด้วยกัน 2 ชนิด แต่ต่อมา ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ ได้ทำการปรับปรุงใหม่โดยให้กลับมาใช้สกุลเช่นในปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1989 โดยลักษณะสำคัญของปลาในสกุลนี้ คือ บนลำตัวมีแถบสีดำขวางเรียงกันเป็นแถว เส้นข้างลำตัวโค้งใกล้กับแนวท้อง และไปสิ้นสุดที่โคนหางส่วนล่าง หนวดมีขนาดเล็กมาก และบางชนิดไม่มีหนวด เป็นปลาขนาดเล็ก ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง มีความปราดเปรียวว่องไวมาก อาศัยอยู่ตามลำธารน้ำตกในป่าดิบชื้น กินแมลงน้ำและสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร ไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 2.8-2.9 เซนติเมตร มีสีเหลืองหรือเขียวอมเทา มีทั้งแบบลอยและแบบจมและกึ่งจมกึ่งลอย ปัจจุบัน พบแล้ว 3 ชนิด มีอยู่ 2 ชนิดที่พบบ่อยและนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ได้แก่ O. koratensis และ O. pulchellusสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, หน้า 117 สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8701-9.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลานางอ้าว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำหมึกยักษ์

ปลาน้ำหมึกยักษ์ หรือ ปลาชะนาก หรือ ปลาสะนาก (Trout carps) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อสกุลว่า Raiamas (/ไร-อา-มาส/) เดิมเคยจัดให้อยู่ในสกุล Barilius มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวยาวทรงกระบอก หัวและปากแหลม ปากกว้างมาก มีปุ่มในปากล่าง มุมปากยาวเลยนัยน์ตา จะงอยปากล่างงุ้มคล้ายตะขอ ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินวาว ข้างลำตัวมีจุดสีน้ำเงินเข้มที่ใหญ่กว่าเกล็ด หางเว้าเป็นแฉกลึก ในตัวผู้มีตุ่มข้างแก้มคล้ายสิวแตกต่างจากตัวเมียโดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ และสีลำตัวก็จะเปลี่ยนไปเห็นได้ชัดเจน เป็นปลาที่มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีความปราดเปรียวว่องไวมาก อาศัยหากินอยู่ในระดับผิวน้ำและกลางน้ำ โดยล่าปลาขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร ขนาดความยาวลำตัวสูงสุดราว 1 ฟุต จำแนกได้ทั้งหมด 17 ชน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาน้ำหมึกยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแปบ

ปลาแปบขาวหางดำ (''Oxygaster anomalura'') เป็นปลาแปบชนิดหนึ่งในสกุล ''Oxygaster'' ปลาแปบ หรือ ปลาท้องพลุ (Abramine, Sword minnow) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในวงศ์ย่อย CultrinaeBànàrescu, P.M. 1971: Further studies on the systematics of Cultrinae with reidentification of 44 type specimens (Pisces, Cyprinidae).

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาแปบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแปบยาว

ปลาแปบยาว (Razorbelly minnow) เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Salmophasia (/ซัล-โม-ฟา-เซีย-อา/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาแปบที่มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาแปบสกุลอื่น ๆ พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียใต้รวมถึงประเทศพม่า พบในประเทศไทยเพียงชนิดเดียว ในลุ่มแม่น้ำสาละวินและลุ่มแม่น้ำตะนาวศรีในแถบจังหวัดระนอง.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาแปบยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแปบขาว

ปลาแปบขาว เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Oxygaster (/อ็อก-ซี-แกส-เตอร์/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาจำพวกปลาแปบ เดิมเคยถูกจัดให้อยู่ในสกุล Chela โดยมี โยฮัน คอนราด ฟัน ฮัสเซลต์ นักมีนวิทยาชาวดัตช์ เป็นผู้อนุกรมวิธาน โดยใช้ลักษณะของเกล็ดแถวที่อยู่หน้าครีบหลังเลยเข้ามาถึงระหว่างนัยน์ตาเป็นลักษณะสำคัญ ส่วนที่มีลักษณะรองลงมา คือ ท้องแบนเป็นสันคม ปลายปากล่างมีปุ่มกระดูก ครีบอกอยู่ในแนวระดับเดียวกับท้อง จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ด้านหน้าจุดเริ่มต้นของครีบก้น เกล็ดตามแนวบนเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 43-60 แถว จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแม่น้ำลำคลอง รวมถึงป่าพรุในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาแปบขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแปบใส

ปลาแปบใส ปลาน้ำจืดขนาดเล็กในสกุล Parachela (/ปาราแคลา/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เดิมปลาแปบในสกุลนี้ รวมอยู่ในสกุลเดียวกันกับสกุล Oxygaster แต่ฟรันซ์ ชไตน์ดัคเนอร์ แยกออกมาตั้งเป็นสกุลใหม่ โดยเห็นว่าปลาในสกุลนี้ไม่มีครีบท้อง แต่มีตัวอย่างปลาเพียงตัวเดียวเท่านั้น แต่ยังมิได้รับการยอมรับเท่าไหร่นัก จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาแปบใส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

DanioninaeDanionini

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »