โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายพระนามเทวดาญี่ปุ่น

ดัชนี รายพระนามเทวดาญี่ปุ่น

ทพเจ้าของญี่ปุ่น ถือกำเนิดโดยมีต้นสายวงศ์คณาเทพ โดย อิซานากิ เทพบิดา และ อิซานามิ เทพมาร.

11 ความสัมพันธ์: มหากาฬรีวจิงอะมะสึมิกะโบะชิอะมะเตะระซุอิซะนะมิท้าวเวสวัณซุซะโนะโอะไรจิงเบ็นไซเต็งเจ็ดเทพเจ้าโชคลาภเซ็นเง็ง

มหากาฬ

มหากาฬ มหากาฬ เป็นยิดัมและธรรมบาลตามความเชื่อของชาวพุทธในทิเบต สังกัดรัตนโคตรของพระรัตนสัมภวะพุทธะ มีลักษณะคล้ายเหรุกะ ภาคดุร้ายมี 16 แขน มือถือหัวกะโหลกและกริช มีเปลวไฟพวยพุ่งรอบกาย สวมมงกุฏกระโหลก มีมาลัยร้อยด้วยศีรษะมนุษย์ มีงูพันรอบกาย บางท้องที่เชื่อว่าท่านเป็นเจ้าแห่งนาค ปกครองนาคที่ดูแลทรัพย์สมบัติเบื้องล่าง จึงถือเป็นเทพเจ้าแห่งความมั่งคั่งองค์หนึ่ง ในจีนและญี่ปุ่นถือเป็นเทพเจ้าแห่งโชค บางแห่งถือว่าท่านเป็นเทพแห่งการพักแรม ในอินเดียถือว่าท่านเป็นเทพองค์เดียวกับท้าวกุเวร.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาญี่ปุ่นและมหากาฬ · ดูเพิ่มเติม »

รีวจิง

รีวจิง หรือรีวโอ นับเป็นหนึ่งในจตุมหาราชทั้งสี่ของญี่ปุ่น ริวโอ เป็นผู้ปกครองท้องทะเล มีลักษณะเป็นมังกรตัวมหึมา ถ้าหากจะเปรียบเทียบแล้ว จตุมหาราชทั้งสี่นี้ ได้รับอิทธิพลมาจากการเผยแพร่วัฒนธรรมจากอินเดีย ซึ่งจตุมหาราชทั้งสี่นี้ ริวโอ ก็คือ ท้าววิรูปักษ์ จอมนาคาตามความเชื่อของลัทธิพราหมณ์-ฮินดูนั่นเอง.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาญี่ปุ่นและรีวจิง · ดูเพิ่มเติม »

อะมะสึมิกะโบะชิ

อะมะสึมิกะโบะชิ (天津甕星 Amatsu-Mikaboshi) หรือ อะเมะ โนะ คะงะเซะโอะ (天香香背男 Ame-no-kagaseo) เป็นเทพเจ้าในตำนานของญี่ปุ่น โดยเป็นเทพแห่งดวงดาวและความชั่วร้.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาญี่ปุ่นและอะมะสึมิกะโบะชิ · ดูเพิ่มเติม »

อะมะเตะระซุ

วาดแสดงการปรากฏตัวของสุริยเทวีเพื่อให้แสงสว่างแก่จักรวาล อะมะเตะระซุ (天照; โรมะจิ: Amaterasu), อะมะเตะระซุ-โอมิกะมิ (天照大神 / 天照大御神; โรมะจิ: Amaterasu-ōmikami) หรือ โอฮิรุเมะ-โนะ-มุชิ-โนะ-กะมิ (大日孁貴神; โรมะจิ: Ōhiru-menomuchi-no-kami) เป็นสุริยเทพีตามความเชื่อของศาสนาชินโต มีตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพีองค์นี้มากมาย ซึ่งเป็นรากฐานของพิธีกรรมสำคัญต่าง ๆ เรื่องที่สำคัญคือการที่สุริยเทพีหลบหนีพระพายซุซะโนะโอะเข้าไปอยู่ในถ้ำ ทำให้โลกต้องพบกับความมืดมิดจนเกิดจลาจล เทวดาทั้งหลายจึงคิดอุบายให้สุริยเทพีปรากฏตัวออกมา แสงสว่างจึงได้ขับไล่ความมืดและความชั่วร้าย เป็นเหตุให้ซูซะโนะโอะถูกกำราบลงได้ นางจึงกลายเป็นเทพที่สำคัญที่สุดของศาสนาชินโต.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาญี่ปุ่นและอะมะเตะระซุ · ดูเพิ่มเติม »

อิซะนะมิ

อิซะนะมิ และ อิซะนะงิ อิซะนะมิ เป็นหนึ่งในความเชื่อเทพเจ้าญี่ปุ่น เป็นน้องสาว และเป็นภรรยาของอิซะนะงิ หลังจากที่อิซะนะมิ สิ้นชีวิตลงจากการให้กำเนิดเทพอัคคีแล้ว ร่างของนางได้ตกลงไปสู่ โยมะ (แผ่นดินแห่งความมืดมน) ตอนแรกนางยังไม่สามารถทำใจได้ แต่ในที่สุดนางก็ยอมรับในสถานะของตนเอง และสร้างพระราชวังขึ้น ณ ดินแดนโยมะนั้นเอง อิซะนะงิ ผู้เป็นพี่ชาย และเป็นสามี รู้สึกอาลัยอาวรณ์ อิซะนะมิผู้เป็นภรรยา จึงได้ลงไปตามหาอิซะนะมิในโยมะ เขาได้พบกับอิซะนะมิที่อยู่ในความมืดแห่งดินแดนโยมะ อิซะนะมิขอร้องให้อิซะนะงิลืมตน แล้วกลับไปยังโลกเบื้องบนเสีย อิซะนะงิไม่ยอม จะให้อิซะนะมิกลับไปด้วยกันให้ได้ แต่เมื่ออิซะนะงิได้เห็นสภาพของอิซะนะมิอย่างชัดเจน ร่างกายของอิซะนะมิเริ่มแปรเปลี่ยนสภาพไปเป็นคนที่ตายแล้ว จึงเริ่มเกิดความหวาดกลัว อิซะนะงิรีบหันหลังหนีกลับทันที เมื่ออิซะนะมิได้เห็นดังนั้น ทำให้รู้ว่าสามีของตนหมดรักตนแล้ว เนื่องจากสภาพร่างกายของอิซะนะมิที่แปรเปลี่ยนไปหลังจากที่ได้ล่วงสู่ดินแดนโยมะ ทำให้อิซะนะมิโกรธแค้นเป็นอันมาก ได้ติดตามอิซะนะงิไปอย่างรวดเร็วในทันที อิซะนะงิเมื่อเห็นอิซะนะมิติดตามมาก็เกิดความหวาดกลัวเป็นอย่างมาก เขาเร่งฝีเท้าเร็วขึ้น อิซะนะมิได้สั่งให้กองทัพภูตซึ่งอยู่ใต้อาณัตของนางไล่ตามอิซะนะงิไป อิซะนะงิเมื่อเห็นจวนตัวจึงได้นำเมล็ดผลไม้โยนลงบนพื้น เมล็ดผลไม้ก็งอกขึ้นมากลายเป็นต้นไม้ ภูตส่วนหนึ่งหยุดกินลูกไม้ที่งอกขึ้นมา อิซะนะมิไม่ละควมพยายาม นางให้แม่เฒ่าแห่งโยมะไล่ติดตามอิซะนะงิไปอีก อิซะนะงิได้โยนเมล็ดผลไม้ที่เหลือลงไปบนพื้น ก็งอกขึ้นมาอีก แม่เฒ่าแห่งโยมะจึงได้หยุดกิน เหลือเพียงอิซะนะมิที่ยังติดตามมาจนเกือบถึงทางออกโยมะ อิซะนะงิได้นำเอาหินก้อนใหญ่ปิดทางเข้าออกไว้ อิซะนะมิไม่สามารถติดตามออกมาได้ จึงได้ยืนด่าทออิซะนะงิด้วยความเกรี้ยวกราด และขอตัดพี่ตัดน้อง ตัดความรักความอาวรณ์ต่ออิซะนะงิผู้เป็นพี่ชาย และสามี นอกจากนี้ อิซะนะมิได้ประกาศกร้าวแก่สามีของนางว่า นางจะทำให้คนบนโลกตายลงวันละ 1,000 คนเพื่อเป็นการตอบแทนความแค้นแก่อิซะนะงิ อิซะนะงิก็ประกาศว่า ถ้าอย่างนั้นตนก็จะให้มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาวันละ 1,500 คน เพื่อให้การเกิดตายบนโลกสมดุลกัน ด้วยเหตุนี้ อิซะนะมิ จึงได้ถูกยกให้มีฐานะเป็นเทพีแห่งการสร้าง และความตาย นอกจากนี้ นางยังนับเป็นราชินีผู้เป็นใหญ่ที่สุดของยมโลกที่มีพลังอำนาจสูงสุด และเป็นมารดาของเหล่าอสูรทั้งมวลของญี่ปุ่นอีกด้วย หมวดหมู่:เทพเจ้าญี่ปุ่น หมวดหมู่:เทพแห่งความตาย.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาญี่ปุ่นและอิซะนะมิ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวเวสวัณ

ตัวเหวินเทียนหวัง (ท้าวเวสวัณ) ศิลปะจีน ตราประจำจังหวัดอุดรธานี แสดงรูปท้าวเวสวัณ ท้าวเวสวัณ ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดโทได ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสวัณ (वैश्रवण Vaiśravaṇa ไวศฺรวณ; वेस्सवण Vessavaṇa เวสฺสวณ) เป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์ เป็นหนึ่งในจาตุมหาราช ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือ คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็กเพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควานแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตรว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่น ๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาน ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสวัณนั้น ส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ยืนถือกระบองยาวหรือคทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่า มหาราชลีลา มีลักษณะอันโดดเด่นคือ พระอุระพลุ้ยอีกด้วย กล่าวกันว่าผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือมีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ มักพกพารูปท้าวท้าวเวสวัณ สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันภัยจากวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาเบียดเบียน ในภายหลังภาพลักษณ์ของท้าวกุเวรที่ปรากฏในรูปของชายพุงพลุ้ยเป็นที่เคารพนับถือ ในความเชื่อว่าเป็นเทพแห่งความร่ำรวย แต่ท้าวกุเวรในรูปของท้าวเวสวัณซึ่งมาในรูปของยักษ์เป็นที่เคารพนับถือว่า เป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภูติผีปีศาจ สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 3 หน้า 1439 กล่าวถึงท้าวกุเวรหรือท้าวเวสวัณไว้ว่า กุเวร-ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์มียักษ์ และคุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้น บางทีก็เรียกว่าท้าวไวศรวัน (เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬเรียก "กุเวร" ว่า "กุเปรัน" ซึ่งมีเรื่องอยู่ในรามเกียรติ์ว่า เป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์ และทศกัณฐ์ไปแย่งบุษบกของท้าวกุเวรไป ท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการผิวขาว มีฟัน 8 ซี่ และมีขาสามขา (ภาพท้าวเวสวัณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแย ถือไม้กระบองยาว อยู่หว่างขา) เมืองท้าวกุเวรชื่อ "อลกา" อยู่บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุ ชื่อว่า "สวนไจตรต" หรือ "มนทร" มีพวกกินนรและคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ ท้าวกุเวรเป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ คนจีนเรียกว่า "โต้เหวน" หรือ "โต้บุ๋น" คนญี่ปุ่นเรียกว่า "พสมอน" ท้าวกุเวรนี้สถิตอยู่ยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ 1 สระ ชื่อ ธรณี กว้าง 50 โยชน์ ในน้ำ ดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วย หมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑปชื่อ "ภคลวดี" กว้างใหญ่ 12 โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้ เป็นสโมสรสถานของเหล่ายักษ์บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปรเทพยสถานอีก 10 แห่ง ท้าวกุเวรมียักษ์เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่า ท้าวเวสวัณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุต ประมาณ 200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้วประพาฬ หอกทอง.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาญี่ปุ่นและท้าวเวสวัณ · ดูเพิ่มเติม »

ซุซะโนะโอะ

ซุซะโนะโอะและมังกรน้ำ ซุซะโนะโอะ เป็นเทพเจ้าแห่งทะเลและพายุในศาสนาชินโต.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาญี่ปุ่นและซุซะโนะโอะ · ดูเพิ่มเติม »

ไรจิง

รจิง หรือ เทพอัสนี เป็นเทพเจ้าแห่งสายฟ้าและสายฝนของลัทธิชินโต ในประเทศญี่ปุ่น ชื่อของเขามาจากคำสองคำ คือ "ไร" (雷 ‘ฟ้าคะนอง’) และ "ชิง" (神, ‘เทพ’ หรือ 'คะมิ') ไรจิงมักปรากฏกายในรูปปีศาจที่ตีกลองเพื่อบันดาลให้ฟ้าร้อง โดยมีสัญลักษณ์ โทะโมะเอะ วาดบนกลอง ทั้งนี้ ไรจิงยังเป็นที่รู้จักในนามอื่นๆ ดังนี้.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาญี่ปุ่นและไรจิง · ดูเพิ่มเติม »

เบ็นไซเต็ง

็นไซเต็ง หรือที่เรียกอย่างสั้นว่า เบ็นเต็ง เป็นเทพีองค์หนึ่งตามคติพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่น เป็นเทพีองค์เดียวกับพระสรัสวดีของคติศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คติการนับถือเบ็นไซเต็ง เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6-8 ผ่านการแปล สุวรรณประภาสสูตร (Suvarṇa-prabhāsa Sūtra; 金光明経) จากภาษาจีนสู่ญี่ปุ่น โดยเนื้อหาให้พระคัมภีร์ดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับเบ็นไซเต็ง และยังปรากฏใน สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (Saddharma Puṇḍarīka Sūtra; 妙法蓮華経) ที่ปรากฏองค์พร้อมกับเครื่องดนตรีญี่ปุ่นดั้งเดิมที่เรียกว่า บิวะ (琵琶) ต่างกับพระสรัสวดีที่ถือ พิณ (วีณา) เบ็นไซเต็ง เป็นหนึ่งในเทพแห่งโชคลาภทั้งเจ็ด และเป็นเทพีแห่งกวี อักษรศาสตร์ นาฏกรรม และดนตรี เชื่อกันว่าผู้ใดนับถือเทวีพระองค์นี้ก็จะพบแสงสว่างแห่งปัญญา ในอดีตเกชะนิยมบูชาเบ็นไซเต็งเพราะเชื่อว่าจะทำให้มีความสามารถเชิงระบำรำฟ้อน ส่วนพวกตีนแมวและพวกย่องเบาเองก็นิยมบูชาเทวีพระองค์นี้เช่นกัน เพราะเชื่อว่าเบ็นไซเต็งจะดลบันดาลให้ภารกิจลุล่วงไปด้วยดี.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาญี่ปุ่นและเบ็นไซเต็ง · ดูเพิ่มเติม »

เจ็ดเทพเจ้าโชคลาภ

ทพเจ้าโชคลาภทั้งเจ็ด เทพเจ้าโชคลาภทั้งเจ็ด คือเหล่าเทพเจ้าแห่งโชคลาภซึ่งเป็นที่นับถือกันมากในประเทศญี่ปุ่น ตามเทพนิยายและเรื่องเล่าต่อๆกันมา เทพทั้งเจ็ด มักสื่อออกมาในรูปเครื่องรางต่างๆทีจำหน่ายตามศาลเจ้า หรือ ของรูปแบบอื่นๆ ซึ่งเทพเจ้า มักเดินทางจากสวรรค์มาโดยเรือ ซึ่งได้ชื่อว่า "เรือมหาสมบัติ".

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาญี่ปุ่นและเจ็ดเทพเจ้าโชคลาภ · ดูเพิ่มเติม »

เซ็นเง็ง

เซ็นเง็น หรือ โคะโนะฮะนะ ในตำนานเทพของญี่ปุ่นคือเจ้าหญิงแห่งฤดูใบไม้ผลิและคือสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นชีวิตของโลก เธอเป็นลูกสาวของเทพแห่งภูเขาโอยะมัทสึมิ บ่อยครั้งที่เธอมักจะถูกพิจารณาว่าเป็นอวตารของชีวิตของชาวญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสัญลักษณ์ของเธอคือดอกซากุระ เธอเป็นภรรยาของเทพนินิกิ เธอเจอเขาที่ริมฝั่งทะเลและก็ตกหลุมรักกัน นินิกิขอโอยะมัทสึมที่จะแต่งงานกับลูกสาวของเขา โอยะมัทสึมิเสนอลูกสาวคนโต อิฮานางะ ให้แทน แต่หัวใจของนินิกิตกเป็นของโคะโนะฮะนะเรียบร้อยแล้ว โอยะมัทสึมิตกลงและให้ทั้งสองคนได้แต่งงานกัน พวกเขามีลูกชายสามคน รวมถึงโฮเดริและโฮโอริด้วย แต่ชีวิตแต่งงานของทั้งสองเป็นได้แค่สั้น ๆ เนื่องจากนินิกิเป็นคนขี้สงสัยและขี้หึง ด้วยความสิ้นหวังโคะโนะฮะนะเผาบ้านของตนเองและสิ้นชีวิตในกองเพลิง หมวดหมู่:เทพเจ้าญี่ปุ่น.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาญี่ปุ่นและเซ็นเง็ง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายชื่อเทพเจ้าของญี่ปุ่นเทพเจ้าญี่ปุ่นเทพเจ้าของญี่ปุ่น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »