โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายพระนามสุลต่านแห่งออตโตมัน

ดัชนี รายพระนามสุลต่านแห่งออตโตมัน

ไม่มีคำอธิบาย.

12 ความสัมพันธ์: สุลัยมานผู้เกรียงไกรสุลต่านมูรัดที่ 1สุลต่านมูรัดที่ 5สุลต่านออร์ฮานที่ 1สุลต่านออสมันที่ 1สุลต่านอับดุล อะซีซสุลต่านอับดุล เมจิดที่ 1สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมันสุลต่านเซลิมที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมันสุลต่านเซลิมที่ 2จักรวรรดิออตโตมันประเทศตุรกี

สุลัยมานผู้เกรียงไกร

ลต่านสุลัยมานที่ 1 (ตุรกีออตโตมัน: سلطان سليمان اول‎) พระองค์เป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกว่า สุลัยมานผู้เกรียงไกร และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันออกว่า สุลัยมานผู้ตรากฎหมาย ทรงเป็นประมุขของจักรวรรดิออตโตมันสมัยราชวงศ์ออสมันระหว่างปี ค.ศ. 1520 จนเสด็จสวรรคตเมื่อต้นเดือนกันยายนปี ค.ศ. 1566 เป็นสุลต่านพระองค์ที่ 10 และเป็นสุลต่านที่ทรงราชย์นานที่สุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นเวลานานถึง 46 ปี สุลต่านสุลัยมานเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1494 ที่ทราบซอนในประเทศตุรกี เป็นพระราชโอรสในสุลต่านเซลิมที่ 1 และฮาฟซา ฮาทุน (Hafsa Hatun) ทรงเสกสมรสตามกฎหมายกับร็อกเซลานา หรือเฮอร์เรมสุลต่าน พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อราววันที่ 5/6 กันยายน ค.ศ. 1566 ที่ Szigetvár ในประเทศฮังการีปัจจุบัน หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์กับเฮอร์เรมสุลต่านก็ขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านเซลิมที่ 2 สุลต่านสุลัยมานเป็นพระมหากษัตริย์องค์สำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีบทบาทสำคัญไม่เพียงแต่ในจักรวรรดิออตโตมันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงททวีปยุโรปด้วย พระองค์มีพระบรมราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ทางการทหารและทางเศรษฐกิจ ทรงเป็นผู้นำทัพด้วยพระองค์เองในการสงครามหลายครั้งและทรงได้รับชัยชนะในสงครามหลายครั้งที่รวมทั้งต่อเบลเกรด โรดส์ และ ฮังการีเกือบทั้งหมด แต่มาทางพ่ายแพ้ในการล้อมกรุงเวียนนาในปี..

ใหม่!!: รายพระนามสุลต่านแห่งออตโตมันและสุลัยมานผู้เกรียงไกร · ดูเพิ่มเติม »

สุลต่านมูรัดที่ 1

ระสาทิสลักษณ์ของสุลต่านมูรัดที่ 1 แผนที่อาณาจักรที่ถูกพิชิตโดยสุลต่านมูรัดที่ 1 ลายพระหัตถ์ของสุลต่านมูรัดที่ 1 สุลต่านมูรัดที่ 1 (Murad I, 29 มิถุนายน 1326 – 15 มิถุนายน 1389) สุลต่านองค์ที่ 3 แห่ง ราชวงศ์ออตโตมัน ครองราชบัลลังก์ตั้งแต่เดือนมีนาคม..

ใหม่!!: รายพระนามสุลต่านแห่งออตโตมันและสุลต่านมูรัดที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สุลต่านมูรัดที่ 5

ลต่านมูรัดที่ 5 สุลต่านมูรัดที่ 5 (Murad V; ภาษาตุรกีออตโตมาน:مراد خامس) ประสูติเมื่อวันที่ 21 หรือ 22 กันยายน..

ใหม่!!: รายพระนามสุลต่านแห่งออตโตมันและสุลต่านมูรัดที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

สุลต่านออร์ฮานที่ 1

สุลต่านออร์ฮานที่ 1 ลายพระหัตถ์ของสุลต่านออร์ฮานที่ 1 สุลต่านออร์ฮานที่ 1 (Orhan I) สุลต่านองค์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมันประสูติเมื่อปีค.ศ. 1284เป็น พระราชโอรสใน สุลต่านออสมันที่ 1 เมื่อพระราชบิดาสวรรคตในปีค.ศ. 1326พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชย์แทนเมื่อพระชนม์ได้ 42 พรรษา เกือบตลอดรัชกาลทรงต้องรบกับ จักรวรรดิไบแซนไทน์ จนในช่วงปีสุดท้ายของสงครามกลางเมืองในจักรวรรดิไบแซนไทน์องค์จักรพรรดิได้ขอร้องให้ พระองค์เสกสมรสกับเจ้าหญิงธีโอโดราพระราชธิดาของพระองค์สวรรคตเมื่อปีค.ศ. 1259ขณะพระชนม์ได้ 75 พรรษา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1824.

ใหม่!!: รายพระนามสุลต่านแห่งออตโตมันและสุลต่านออร์ฮานที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สุลต่านออสมันที่ 1

สุลต่านออสมันที่ 1 สุลต่านออสมันที่ 1 (Osman I) สุลต่านองค์แรกแห่ง จักรวรรดิออตโตมัน ประสูติเมื่อ ค.ศ. 1258 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี ค.ศ. 1299 สามารถรวบรวมชนเผ่าต่างๆให้เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จพร้อมกับขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางพระองค์สวรรคตเมื่อปี ค.ศ. 1326 ขณะพระชนม์ได้ 68 พรรษา.

ใหม่!!: รายพระนามสุลต่านแห่งออตโตมันและสุลต่านออสมันที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สุลต่านอับดุล อะซีซ

ลต่านอัลดุล อะซีซ สุลต่านอัลดุล อะซีซ (Abdul Aziz; (ภาษาตุรกีออตโตมัน: عبد العزيز / `Abdü’l-`Azīz) เป็นสุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมาน ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2404 – 2419 ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเชษฐาคือสุลต่านอับดุล เมจิดที่ 1 พระองค์ประสูติเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2372 ในรัชสมัยของพระองค์ จักรวรรดิออตโตมานถูกคุกคามจากตะวันตกสูงมาก ทำให้พระองค์ต้องสานต่องานทางด้านการปฏิรูปที่พระเชษฐาของพระองค์ริเริ่มไว้ พระองค์เสด็จไปปารีสและเวียนนาใน พ.ศ. 2410 ซึ่งนับเป็นสุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมานพระองค์แรกที่เสด็จต่างประเทศ เมื่อกลับมาแล้ว ได้นำสถาปัตยกรรมแบบยุโรปมาใช้ในประเทศ นอกจากนั้น ในรัชสมัยของพระองค์ยังมีปัญหาด้านการคลังเนื่องจากการกู้เงินต่างประเทศมาใช้ในรัชกาลก่อนหน้า ใน พ.ศ. 2418 นั้น ยอดเงินกู้ของจักรวรรดิออตโตมานสูงถึง 200 ล้านปอนด์ นอกจากนั้น ในรัชสมัยของพระองค์เกิดการจลาจลหลายแห่ง เริ่มจากชาวคริสต์ในเกาะครีตประกาศเอกราช และขอไปรวมกับกรีซใน พ.ศ. 2410 สุลต่านทรงส่งกำลังไปปราบจน พ.ศ. 2411 จึงยอมให้ชาวคริสต์ร่วมปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่ชาวเติร์กในการเก็บภาษีและตัดสินคดี และให้มีสภาผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งได้ ใน พ.ศ. 2418 เกิดจลาจลในบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาซึ่งเกิดจากความขัดแย้งระหว่างชาวนาที่เป็นชาวคริสต์กับเจ้าของที่ดินที่เป็นมุสลิม ที่มีการขูดรีดภาษีชาวนา ทำให้มีผู้ลี้ภัยเข้าไปในเซอร์เบีย มอนเตเนโกร และออสเตรีย-ฮังการี มหาอำนาจในตะวันตกได้แก่ ออสเตรีย-ฮังการี เยอรมัน และรัสเซียพยายามขัดขวางการจลาจลโดยจัดการประชุมที่เบอร์ลิน พ.ศ. 2419 และประกาศเป็นบันทึกช่วยจำเบอร์ลิน เพื่อให้ผู้ลี้ภัยกลับถิ่นเดิมและดูแลการปฏิรูปให้ได้ผล อังกฤษไม่ยอมรับบันทึกช่วยจำ ทำให้วิกฤตการณ์ขยายตัวออกไป เกิดการฆ่าฟันชาวคริสต์ในบัลแกเรียหลายพันคน เพื่อตอบโต้ที่เจ้าหน้าที่ชาวเติร์กถูกชาวคริสต์สังหาร การที่สุลต่านอับดุล อะซีซไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ ทำให้อัครมหาเสนาบดีมิตฮัต ปาชาก่อการรัฐประหาร ปลดพระองค์ลงจากตำแหน่งเมื่อ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2419 และให้พระราชภาติยะของพระองค์ขึ้นครองราชย์แทนเป็นสุลต่านมูรัดที่ 5 สุลต่านอับดุล อะซีซสวรรคตเมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2419 หลังการสละราชสมบัติ โดยใช้กรรไกรตัดที่ข้อมือทั้งสองข้างขณะถูกคุมขังในหอคอย ทำให้เกิดความกังขาว่าทรงทำเช่นนั้นได้อย่างไร การชันสูตรพระศพไม่ได้รับอนุญาต เอกสารที่เป็นทางการระบุว่าทรงปลงพระชนม์ชีพเอง และพระบรมศพถูกฝังที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยมีทั้งผู้ที่เชื่อว่าทรงปลงพระชนม์ชีพเองและถูกลอบปลงพระชนม์ ต่อมาในรัชสมัยของสุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2 ที่ครองราชย์ต่อจากสุลต่านมูรัดที่ 5 ได้กล่าวหาว่ามิตฮัต ปาชาเป็นผู้ลอบปลงพระชนม์สุลต่านอับดุล อะซีซ และพิพากษาให้เนรเทศปาชาไปยังคาบสมุทรอาระเบียใน พ.ศ. 2424 ก่อนที่ปาชาจะถูกลอบสังหารที่นั่นในอีกสองปีต่อม.

ใหม่!!: รายพระนามสุลต่านแห่งออตโตมันและสุลต่านอับดุล อะซีซ · ดูเพิ่มเติม »

สุลต่านอับดุล เมจิดที่ 1

ลต่านอับดุล เมจิดที่ 1 สุลต่านอัลดุล เมจิดที่ 1 (Abdul Mejid I; ภาษาตุรกีออตโตมัน: عبد المجيد اول ‘Abdü’l-Mecīd-i evvel) เป็นสุลต่านของจักรวรรดิออตโตมัน ประสูติเมื่อ..

ใหม่!!: รายพระนามสุลต่านแห่งออตโตมันและสุลต่านอับดุล เมจิดที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน

ลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน หรือ สุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิต (Mehmed II หรือ Fatih Sultan Mehmet) (30 มีนาคม ค.ศ. 1432 – 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1481) เป็นสุลต่านหรือพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิออตโตมันผู้ครองราชย์สองครั้ง ครั้งแรกระหว่างปี ค.ศ. 1444 จนถึงปี ค.ศ. 1446 และครั้งที่สองระหว่างปี ค.ศ. 1451 จนถึงปี ค.ศ. 1481 เมื่อมีพระชนมายุได้ 21 สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ก็ทรงตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453 ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์ หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงดำเนินการศึกต่อไปและทรงได้รับชัยชนะในเอเชียซึ่งเป็นการรวมอานาโตเลีย และทรงได้รับชัยชนะในยุโรปไปจนถึงเบลเกรด พระปรีชาสามารถทางด้านการบริหารคือการผสานระบบการบริหารของจักรวรรดิไบแซนไทน์ให้เข้ามาอยู่ในระบบเดียวกับจักรวรรดิออตโตมัน.

ใหม่!!: รายพระนามสุลต่านแห่งออตโตมันและสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

สุลต่านเซลิมที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน

ลต่านเซลิมที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน หรือ สุลต่านเซลิมผู้กล้าหาญ (Selim I, I.Selim) (10 ตุลาคม ค.ศ. 1465/ค.ศ. 1466/ค.ศ. 1470 – 22 กันยายน ค.ศ. 1520) พระนามมีสร้อยว่า “Yavuz” ที่แปลว่า “ผู้กร้าว” มีพระนามเต็มว่า “Yavuz Sultan Selim” เซลิมทรงเป็นสุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมันผู้ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1512 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1520 Retrieved on 2007-09-16 พระองค์เป็นพระราชโอรสของสุลต่านเบเยซิดที่ 2 และ Ayşe Hatun จาก Dulkadir และเป็นพระราชบิดาของสุลต่านสุลัยมานมหาร.

ใหม่!!: รายพระนามสุลต่านแห่งออตโตมันและสุลต่านเซลิมที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

สุลต่านเซลิมที่ 2

ลต่านเซลิมที่ 2 (ค.ศ. 1524 - 1574) เป็นสุลต่านระหว่างปี..

ใหม่!!: รายพระนามสุลต่านแห่งออตโตมันและสุลต่านเซลิมที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

ใหม่!!: รายพระนามสุลต่านแห่งออตโตมันและจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: รายพระนามสุลต่านแห่งออตโตมันและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »