โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายพระนามผู้ปกครองลอแรน

ดัชนี รายพระนามผู้ปกครองลอแรน

ที่ตั้งของจังหวัดลอแรน รายพระนามผู้ปกครองลอแรน (List of rulers of Lorraine) ประมุขแห่งลอแรนดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งภายใต้รัฐบาลต่างในหลายภูมิภาค ตำแหน่งแรกของประมุขแห่งลอแรนเป็นตำแหน่งกษัตริย์แห่งชนแฟรงค์ในอาณาจักรที่เรียกว่าโลทาริงเกียที่แผลงมาเป็น “ลอแรน” ในภาษาฝรั่งเศส และ “โลทาริงเกีย” ในภาษาเยอรมัน หลังจากอาณาจักรต่างๆ ของคาโรแล็งเชียงถูกผนวกกับดินแดนต่างๆ ในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 ตำแหน่งต่อมาของประมุขแห่งลอแรนเป็นตำแหน่ง “ดยุก” ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 10 ดัชชีก็แบ่งแยกออกเป็นลอแรนใต้ และ ลอแรนเหนือ ลอแรนใต้ต่อมาเป็นดัชชีแห่งลอแรนและดำรงอยู่ต่อมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์สมัยใหม.

19 ความสัมพันธ์: ชาวแฟรงก์พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสกอดฟรีย์แห่งบูยงมาร์เกรฟยุทธการที่เครซีราชอาณาจักรเยอรมนีลุดวิจชาวเยอรมันลุดวิจผู้เยาว์จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดิคาร์ลที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดิโลทาร์ที่ 1จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ดยุกดัชชีลอแรนแม็สแคว้นลอแรนโลทาริงเกียเรอเนแห่งอ็องฌู

ชาวแฟรงก์

หนังสือสำหรับทำพิธีศาสนา “Gelasian Sacramentary” จากราว ค.ศ. 750 แฟรงก์ (Franks, Franci) เป็นกลุ่มชนเจอร์มานิกตะวันตกที่เริ่มก่อตัวขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 โดยมีถิ่นฐานอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำไรน์ตอนล่าง ภายใต้การปกครองโดยราชวงศ์เมโรแว็งเชียง ชนแฟรงก์ก็ก่อตั้งสถาบันพระมหากษัตริย์เจอร์มานิกที่มาแทนจักรวรรดิโรมันตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 รัฐของชนแฟรงก์และมารวมตัวกันเป็นอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่กลายมาเป็นจักรวรรดิคาโรลินเจียนและรัฐต่างๆ ที่ตามมา ความหมายของคำว่า “ชนแฟรงก์” ที่กลุ่มชนแตกต่างกันไปตามสมัยและปรัชญา โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นความหมายที่ไม่ชัดเจน ภายในกลุ่มแฟรงเคีย “ชนแฟรงก์” เป็นกลุ่มชนที่มีเป็นกลุ่มชนเอกลักษณ์ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รากของคำว่า “แฟรงก์” อาจจะมาจากภาษาละติน “francisca” (จากเจอร์มานิก “*frankon” ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาอังกฤษเก่า “franca”) ที่แปลว่า “แหลน” ชนแฟรงก์ที่โยนขวานได้รับนามว่า “francisca” (ขว้างขวาน) ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกกลุ่มชนตามอาวุธที่ใช้ เอ.

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและชาวแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 15 (Louis XV de France; ''หลุยส์แก็งซ์เดอฟร็องส์''.) (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2253 - 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2317) หรือ ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่ง (ฝรั่งเศส: le Bien-Aimé; เลอเบียง-เนเม) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2258 (ค.ศ. 1715) จนกระทั่งสวรรคต ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อยังทรงพระเยาว์ การบริหารราชการในระยะแรกอยู่ในความรับผิดชอบของอ็องเดร แอร์กูล เดอเฟลอรี เมื่อเจริญพระชันษาขึ้นก็ทรงเอาพระทัยในการบริหารประเทศ แต่ทรงพยายามรักษาความยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศสไว้เช่นสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ด้วยการทำสงครามกับเพื่อนบ้านหลายครั้งแต่ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณไปเป็นจำนวนมาก ภายหลังทรงเริ่มละทิ้งราชการไปสนพระทัยในวิทยาศาสตร์และสนทนากับปัญญาชน รวมถึงทรงมีสัมพันธ์กับสตรีสูงศักดิ์หลายคน ถือว่าสถาบันกษัตริย์ของฝรั่งเศสเริ่มเสื่อมความนิยมและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น การบริหารประเทศไร้ประสิทธิภาพจนนำไปสู่วิกฤตการณ์ในรัชกาลต่อม.

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

กอดฟรีย์แห่งบูยง

กอดฟรีย์แห่งบูยง (Godfrey of Bouillon; Godefroy de Bouillon; ราว ค.ศ. 1060 - 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1100) กอดฟรีย์แห่งบูยงเป็นขุนนางชาวฝรั่งเศส ผู้เกิดเมื่อราว ค.ศ. 1060 ที่บูลอญ-ซูร์-แมร์ในประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน กอดฟรีย์แห่งบูยงเป็นบุตรคนที่สองของยูสตัซที่ 2 เคานต์แห่งบูลอญและไอดาแห่งลอแรน (บุตรีของกอดฟรีย์ที่ 3 ดยุคแห่งโลว์เออร์ลอแรนและโดดา) กอดฟรีย์มีฐานะเป็นลอร์ดแห่งบูลอญ (Lord of Bouillon) ตั้งแต..

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและกอดฟรีย์แห่งบูยง · ดูเพิ่มเติม »

มาร์เกรฟ

มาร์เกรฟ (Margrave) หรือ มาร์คกราฟ (Markgraf เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางสืบตระกูลที่ใช้กันในยุโรปที่ปกครองดินแดนที่เรียกว่ารัฐมาร์เกรฟ (Margraviate) ที่เป็นดินแดนชายแดนเช่นรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค มาร์เกรฟเป็นตำแหน่งที่ใช้ในยุคกลางที่ผู้ถือตำแหน่งมีหน้าที่รับผิดชอบทางการทหารในบริเวณชายแดนของราชอาณาจักร อาณาจักรชายแดนเป็นอาณาจักรที่ต้องเผชิญหน้ากับการรุกรานจากภายนอกก่อนดินแดนส่วนอื่นๆ ของราชอาณาจักรฉะนั้นมาร์เกรฟจึงมักจะมีกองกำลังภายใต้การปกครองที่มีขนาดใหญ่กว่าขุนนางดินแดนภายในอื่นๆ และมักจะมีดินแดนในปกครองที่มีเนื้อที่มากกว่าที่เป็นผลมาจากการขยายดินแดนของตนเอง ในยุคกลางมาร์เกรฟมักจะมีอำนาจที่เป็นของตนเองที่ได้รับพระราชทานเมื่อเทียบกับขุนนางสืบตระกูลตำแหน่งอื่น ๆ แต่เมื่อมาถึงปลายยุคกลางและต้นสมัยใหม่ ความมั่นคงในบริเวณชายแดนก็เพิ่มมากขึ้น อำนาจของมาร์เกรฟและขุนนางอื่นก็เริ่มลดถอยลง คำว่า “Margrave” (marchio) เป็นชื่อตำแหน่งในภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษของตำแหน่งเยอรมัน “Markgraf” ที่มาจากคำว่า “Mark” (อาณาจักรชายแดน) และคำว่า “Graf” (เคานต์) รวมกัน.

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและมาร์เกรฟ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เครซี

ทธการเครซี (Battle of Crécy หรือ Battle of Cressy) เป็นยุทธการในสงครามร้อยปีที่เป็นสงครามระหว่างราชอาณาจักรอังกฤษฝ่ายหนึ่ง และราชอาณาจักรฝรั่งเศสอีกฝ่ายหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1346 ใกล้ Crécy-en-Ponthieu ทางเหนือของประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ผลของสงครามราชอาณาจักรอังกฤษเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ ยุทธการเครซีเป็นยุทธการที่สำคัญที่สุดยุทธการหนึ่งในสงครามร้อยปี ความก้าวหน้าในการใช้อาวุธและยุทธวิธีทำให้นักประวัติศาสตร์หลายคนมีความเห็นว่าเป็นยุทธการที่เป็นการเริ่มสมัยสุดท้ายของระบบอัศวิน (chivalry).

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและยุทธการที่เครซี · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเยอรมนี

ออทโทที่ 1 มหาราช ราชอาณาจักรเยอรมนี (ละติน: Regnum Teutonicum) เป็นอาณาจักรอัครสังฆราชที่สืบเนื่องมาจากราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออกในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ดินแดนทางตะวันออกของจักรวรรดิแฟรงค์ที่ได้รับการแยกตัวออกมาตามสนธิสัญญาแวร์เดิงในปี ค.ศ. 843 แทบจะไม่ได้เป็นของจักรวรรดิแฟรงค์อย่างเต็มตัว ที่เป็นบริเวณที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวแซ็กซอน, ชาวบาวารี, ชาวทูริงกี, ชาวอลามานนิ และ ชาวฟริซี เมื่อราชบัลลังก์ตกไปเป็นของราชวงศ์ที่ไม่ใช่แฟรงค์ (ลุดอล์ฟิง) คำว่า "regnum Teutonicum" (กษัตริย์ทิวทัน) หรือ "Teutonicorum" ก็เริ่มนำเข้ามาใช้อย่างไม่เป็นทางการ เมื่อมาถึงยุคกลางตอนกลาง อาณาจักรดยุคแบบเยอรมัน (Stammesherzogtum) ก็เริ่มมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เมื่อรัฐต่างๆ ของคาโรแล็งเชียงแยกตัวออกไปจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จนเหลือแต่เยอรมนี ที่มีประมุขที่ยังคงถือตำแหน่งพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิ ราชอาณาจักรเยอรมนีก็กลายเป็นคำที่พ้องกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมาถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชาติเยอรมัน" ก็มีสองความหมายที่เป็น "จักรวรรดิ" และ "ราชอาณาจักร" เมื่อมองในบริบทนี้แล้วราชอาณาจักรเยอรมนีก็ดำรงตัวเป็นราชอาณาจักรต่อมาจนเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 สละราชสมบัติและยุบจักรวรรดิในปี ค.ศ. 1806 คำว่า "regnum Teutonicum" (กษัตริย์ทิวทัน หรือ กษัตริย์เยอรมัน) เริ่มนำมาใช้อย่างเป็นทางการในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 ระหว่างที่เกิดข้อขัดแย้งในอำนาจการแต่งตั้งสงฆ์ (Investiture Controversy) ที่อาจจะเป็นการใช้เป็นเครื่องมือในการต่อต้านสมเด็จพระจักรพรรดิไฮน์ริคที่ 4 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 พระจักรพรรดิก็เริ่มใช้สร้อย "rex Romanorum" (พระมหากษัตริย์แห่งชนโรมัน) ในพระราชอิสริยยศเพื่อเป็นการเน้นพระราชอำนาจและการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเมื่อได้รับเลือกตั้ง โดยสภาผู้เลือกตั้งพระจักรพรรดิที่ประกอบด้วยพรินซ์อีเล็คเตอร์เจ็ดองค์ ตำแหน่งนี้ใช้ในเยอรมนี อิตาลี และ เบอร์กันดีที่เป็นรัฐที่มีราชสำนัก กฎหมาย และรัฐบาลของตนเอง แต่อยู่ในเครือข่ายของจักรวรรดิมาจนกระทั่งถึงสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลียในปี ค.ศ. 1648 หรือจนเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 สละราชสมบัติและยุบจักรวรรดิในปี ค.ศ. 1806.

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและราชอาณาจักรเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ลุดวิจชาวเยอรมัน

ลุดวิจชาวเยอรมัน (Ludwig der Deutsche) หรือ หลุยส์ชาวเยอรมัน (Louis the German; Louis II; Louis the Bavarian) (ค.ศ. 806 – 28 สิงหาคม ค.ศ. 876) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งบาวาเรียระหว่าง ค.ศ. 817 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 876 และเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก ตั้งแต่ ค.ศ. 843 จนเสด็จสวรรคต ลุดวิจเป็นพระราชโอรสในลุดวิจผู้เคร่งศีลกับพระชายาองค์แรกเอียร์เมนการ์ดแห่งเฮสเบย์ และเป็นพระราชนัดดาของชาร์เลอมาญ ลุดวิจได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งบาวาเรียในปี ค.ศ. 817 ซึ่งเป็นวิธีที่ชาร์เลอมาญใช้ในการมอบดินแดนให้แก่สมาชิกในครอบครัวเพื่อให้ไปเป็นข้าหลวงในดินแดนต่างๆ เมื่อลุดวิจเดอะไพอัสแบ่งอาณาจักรในปลายรัชสมัยในปี ค.ศ. 843 ลุดวิจชาวเยอรมันก็ได้รับราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก ดินแดนที่ครอบคลุมบริเวณตั้งแต่แม่น้ำเอลเบอไปจนถึงบาวาเรียปัจจุบันจากสนธิสัญญาแวร์เดิงและครอบครองจนเสด็จสวรรคต.

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและลุดวิจชาวเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ลุดวิจผู้เยาว์

ลุดวิจผู้เยาว์ หรือ ลุดวิจที่ 3 (Ludwig der Jüngere; Louis the Younger) (ค.ศ. 835 – 20 มกราคม ค.ศ. 882) ลุดวิจผู้เยาว์เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของลุดวิจชาวเยอรมันและเฮมมา ลุดวิจผู้เยาว์ปกครองแซกโซนีต่อจากพระราชบิดาเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 876 และปกครองบาวาเรียต่อจากคาร์โลมันตั้งแต่ปี ค.ศ. 880 ลุดวิจเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 882 ราชอาณาจักรของลุดวิจที่รวมทั้งส่วนใหญ่ของราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกปกครองต่อมาโดยพระอนุชาชาร์ลส์เดอะแฟทผู้ขณะนั้นเป็นพระมหากษัตริย์อิตาลีและจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิท.

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและลุดวิจผู้เยาว์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 ทรงเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และแกรนด์ดยุกแห่งทัสกานี แต่ทว่าตลอดรัชสมัยของพระองค์ ผู้ที่กุมอำนาจการปกครองที่แท้จริงกลับเป็นพระมเหสีของพระองค์ คือจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 ทรงเป็นองค์ปฐมวงศ์ของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก-ลอแรน ทรงเป็นดยุกแห่งลอแรนในปี 1728 จนกระทั่งราชวงศ์ลอแลนถูกควบคุมโดยฝรั่งเศสภายใต้เงื่อนไขจากผลของสงครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์ ทำให้ดยุกฟรันซ์และพระราชวงศ์ลอแรนจึงไปปกครองทัสกานีแทนตามสนธิสัญญาสันติภาพและสงครามจึงสิ้นสุดลง ภายหลังพระองค์ขึ้นปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ราชวงศ์ของพระองค์ก็ได้กลับไปครองลอแรนอีกครั้ง โดยให้เจ้าชายชาร์ล อเล็กซานเดอร์ พระอนุชาของพระองค์ไปปกครอง นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นพระสัสสุระในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสอีกด้ว.

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

มเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ ชาร์ลส์ผู้ศีรษะล้าน (Charles the Bald) (13 มิถุนายน ค.ศ. 823 - 6 ตุลาคม ค.ศ. 877) ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งราชวงศ์คาโรแล็งเชียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ระหว่างปี ค.ศ. 875 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 877 พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิลุดวิกที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ จูดิธแห่งบาวาเรีย พระอัครมเหสีองค์ที่สอง.

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและจักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคาร์ลที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิคาร์ลที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ คาร์ลพระวรกายพ่วงพี (Carolus Pinguis, Charles the Fat) (13 มิถุนายน ค.ศ. 839 - 13 มกราคม ค.ศ. 888) เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งราชวงศ์การอแล็งเฌียง ผู้ทรงครองจักรวรรดิระหว่างปี ค.ศ. 881 จนถึงปี ค.ศ. 888 พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าลุดวิกชาวเยอรมัน และ เฮมม.

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและจักรพรรดิคาร์ลที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโลทาร์ที่ 1

ักรพรรดิโลทาร์ที่ 1แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Lothaire, Lothar, Lotario, Lothair I) (ค.ศ. 795 – 29 กันยายน ค.ศ. 855) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอิตาลี ระหว่างปี ค.ศ. 818 จนกระทั่งปี ค.ศ. 855 เและเป็นจักรพรรดิโรมันระหว่างปี ค.ศ. 817 จนกระทั่งปี ค.ศ. 855 และเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิแฟรงก์ระหว่าง ปี ค.ศ. 840 จนกระทั่งปี ค.ศ. 855 จักรพรรดิโลทาร์เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาจากราชวงศ์กาโรแล็งฌีย็องและพระราชินีแอร์เมนการ์ดแห่งเฮสเบย์ (Ermengarde of Hesbaye) พระธิดาของอิงเกอร์มัน ดยุคแห่งเฮสเบย์ โลทาร์ทรงนำพระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ยพระเชษฐาและลุดวิกชาวเยอรมันในการปฏิวัติต่อต้านพระราชบิดาของพระองค์เองหลายครั้งในการประท้วงในการที่ทรงพยายามแต่งตั้งให้คาร์ลพระเศียรล้านพระอนุชาต่างพระมารดาขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิแฟรงก์คู่กับพระองค์ เมื่อจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาเสด็จสวรรคตชาร์ลส์และหลุยส์ก็หันไปเป็นพันธมิตรกันในการต่อต้านโลทาร์ในสงครามกลางเมืองสามครั้งระหว่างปี..

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและจักรพรรดิโลทาร์ที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดยุก

ก (duke) หรือ ดุ๊ก หรือ แฮร์ซอก (Herzog) เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางในทวีปยุโรป เป็นตำแหน่งทางปกครองที่เป็นรองจากกษัตริย์ซึ่งปกครองดินแดนที่เรียกว่า "ดัชชี" ส่วนตำแหน่งดยุกในหมู่เกาะอังกฤษเป็นเพียงตำแหน่งที่ตั้งไว้เป็นเกียรติยศเท่านั้น ไม่มีอำนาจในทางปกครองเหมือนในประเทศยุโรปอื่นๆ ปัจจุบันตำแหน่งดยุก(ที่ไม่ใช่ราชวงศ์)ปรากฏอยู่อย่างเป็นทางการเฉพาะในสหราชอาณาจักรเท่านั้น ภริยาของดยุกมีตำแหน่งเป็น ดัชเชส (Duchess) ตามสิทธิของคู่สมรส อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ดยุกมีแต่บุตรสาว บุตรสาวจะได้ขึ้นสืบตำแหน่งแทนเมื่อดยุกถึงแก่อสัญกรรม ซึ่งบุตรสาวที่ได้สืบตำแหน่งดยุกนี้จะมีตำแหน่งเป็น ดัชเชส ด้วยเช่นกันแต่เป็นดัชเชสจากการสืบตระกูล ในกรณีนี้ สิทธิของคู่สมรสจะไม่ส่งผ่านไปยังสามี ยกตัวอย่าง ดยุกที่ 1 แห่งมาร์ลบะระ มีเพียงธิดาเท่านั้น เมื่อเขาถึงแก่อสัญกรรม ธิดาของเขาจึงขึ้นสืบตำแหน่งต่อเป็น ดัชเชสที่ 2 แห่งมาร์ลบะระ อย่างไรก็ตาม สามีของนางจะไม่มีสิทธิหรือเกียรติยศใดๆในมาร์ลบะระ เมื่อนางถึงแก่อสัญกรรม บุตรชายของนางจึงสืบตำแหน่งต่อเป็นดยุกที่ 3 แห่งมาร์ลบะระ คำว่าดยุกมาจากภาษาละตินว่า dux ซึ่งมีความหมายว่า 'ผู้นำ' คำนี้ถูกใช้ในยุคสาธารณรัฐโรมันเพื่อสื่อถึงผู้นำทางทหารที่ไม่มียศอย่างเป็นทางการ และต่อมาก็ใช้สื่อถึงผู้บัญชาการทหารประจำมณฑล.

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและดยุก · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีลอแรน

ที่ตั้งของลอแรน (สีน้ำเงิน) ดัชชีลอแรน (Duché de (Haute-)Lorraine; Herzogtum (Ober-)Lothringen) เป็นแคว้นหนึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส รวมทั้งบางส่วนของลักเซมเบิร์กและเยอรมนีในปัจจุบัน เมืองสำคัญ ๆ ของลอแรนก็ได้แก่แม็ส น็องซี และแวร์เดิง เมื่อจักรวรรดิกาโรแล็งฌีย็องถูกแบ่งให้กับพระราชโอรสทั้งสามพระองค์ของจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธา ลอแรนได้เป็นดัชชีอิสระที่ก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและดัชชีลอแรน · ดูเพิ่มเติม »

แม็ส

แม็ส (Metz) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงของแคว้นลอแรน เมืองหลักของจังหวัดโมแซลในประเทศฝรั่งเศส เมืองแม็สตั้งอยู่ทางตรงที่แม่น้ำโมแซลมาบรรจบกับแม่น้ำแซย์ และเป็นนครหลวงโบราณของอาณาจักรออสเตรเซียของราชวงศ์กาโรแล็งเชียง โดยมีมรดกทางวัฒนธรรมเป็นโบราณสถานซึ่งเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ของเมืองย้อนไปกว่า 3000 ปี รวมไปถึงศิลปกรรมในยุคที่ถูกยึดครองโดยจักรวรรดิเยอรมนีช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งปรากฏชัดบริเวณย่านจักรวรรดิ (Le quartier impérial) แม้ว่าในประวัติศาสตร์น็องซีจะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรดยุคแห่งลอแรน แต่แม็สได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของแคว้นลอแรนที่ตั้งขึ้นใหม่ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะความที่เคยเป็นเมืองหลวงของโลทาริงเกี.

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและแม็ส · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นลอแรน

ลอแรน (Lorraine) เป็นอดีตแคว้นในประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นกร็องแต็สต.

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและแคว้นลอแรน · ดูเพิ่มเติม »

โลทาริงเกีย

ลทาริงเกีย (Lotharingia) เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปที่ประกอบด้วยกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ, ทางตะวันตกของไรน์แลนด์, ดินแดนที่ในปัจจุบันอยู่ระหว่างพรมแดนระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี, และดินแดนทางตะวันตกของสวิตเซอร์แลนด์ โลทาริงเกียเกิดจากการแบ่งออกเป็นสามส่วนในปี ค.ศ. 855 ของ "ราชอาณาจักรแฟรงค์กลาง" ที่เป็นอาณาจักรที่ถูกแบ่งออกมาจากจักรวรรดิคาโรแล็งเชียงในปี ค.ศ. 843 ในสนธิสัญญาแวร์เดิง ในปี ค.ศ. 870 ก็ถูกแบ่งตามสนธิสัญญาเมอร์เซนระหว่างราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออกและราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันตก หลังจากสงครามระหว่างปี..

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและโลทาริงเกีย · ดูเพิ่มเติม »

เรอเนแห่งอ็องฌู

รอเนแห่งอองชู หรือ พระเจ้าเรอเนที่ 1 แห่งอองชู หรือ เรอเนที่ 2 ดยุกแห่งลอร์แรน (René of Anjou หรือ René I of Naples หรือ Good King René, Le bon roi René) (16 มกราคม ค.ศ. 1409 - 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1480) เรอเนเป็นพระราชโอรสของหลุยส์ที่ 2 แห่งอองชูและโยลันเดอแห่งอารากอน เรอเนทรงมีบรรดาศักดิ์ต่างที่รวมทั้ง.

ใหม่!!: รายพระนามผู้ปกครองลอแรนและเรอเนแห่งอ็องฌู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Duchess of LorraineDuke of LorraineDuke of LotharingiaDuke of Lower LorraineDuke of Lower LotharingiaDuke of Upper LorraineDukes of LorraineKing of LotharingiaList of rulers of Lorraineรายพระนามผู้ปกครองลอร์แรนรายพระนามพระประมุขแห่งลอร์แรนรายนามประมุขแห่งลอร์แรนพระมหากษัตริย์แห่งโลทาริงเกียดยุกแห่งลอแรนดยุคแห่งลอร์แรนดยุคแห่งลอร์แรนใต้ดยุคแห่งลอร์แรนเหนือดยุคแห่งโลทาริงเกียดยุคแห่งโลทาริงเกียใต้

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »