โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายนามพระโพธิสัตว์

ดัชนี รายนามพระโพธิสัตว์

ระโพธิสัตว์ คือบุคคลที่บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระโพธิสัตว์สำคัญตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายานมีดังนี้ พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ พระจันทรประภาโพธิสัตว์ และพระสุริยประภาโพธิสัตว์ พระจุนทีโพธิสัตว์ พระนางตารา พระนาคารชุนะ พระปัทมสัมภวะ พระนางปรัชญาปารมิตา พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ นางวสุธระ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ พระศรีอริยเมตไตรย พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระอากาศครรภโพธิสัตว.

40 ความสัมพันธ์: บารมีพระพุทธเจ้าพระกษิติครรภโพธิสัตว์พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์พระมัญชุศรีโพธิสัตว์พระวัชรปาณีโพธิสัตว์พระวิหารบาลโพธิสัตว์พระศรีอริยเมตไตรยพระสมันตภัทรโพธิสัตว์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์พระอักโษภยพุทธะพระจุนทีโพธิสัตว์พระธยานิพุทธะพระขันทกุมารพระนางตาราพระโพธิสัตว์พระไภษัชยคุรุพระเวทโพธิสัตว์กวนอิมกวนอูญิงมามหายานมัธยมกะยุคสามก๊กวิทยาราชศาสนาพุทธศาสนาพุทธแบบทิเบตศาสนาฮินดูศานติเทวะสุญตาสุขาวดี (นิกาย)ธรรมธรรมบาลตรัสรู้ตถาคตประเทศไทยประเทศเนปาลปรัชญาปารมิตานาคารชุนะไตรโลกยวิชยะ

บารมี

รมี (pāramī; pāramitā) ปฏิปทาอันยวดยิ่ง มีความหมาย 2 ประการ ประการแรก คือ บรม แปลว่าดีเลิศ สูงสุด และประการต่อมาหมายถึง การไป คือ ไปให้ถึงอีกฝังหนึ่ง คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น พระพุทธเจ้า พระอสีติมหาสาวก เป็นต้น.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และบารมี · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระกษิติครรภโพธิสัตว์

ระกษิติครรภโพธิสัตว์ (อ่านว่า /พฺระ-กะ-สิ-ติ-คับ-พะ-โพ-ทิ-สัด/, क्षितिगर्भ;; กฺษิติครฺภ) เป็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นที่นับถือในศาสนาพุทธนิกายมหายานในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มักมีรูปลักษณ์เป็นพระภิกษุมหายาน นามของพระโพธิสัตว์องค์นี้อาจแปลได้ว่า "ขุมทรัพย์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Treasury"), คลังแห่งแผ่นดิน ("Earth Store"), "บ่อเกิดแห่งแผ่นดิน"("Earth Matrix"), หรือ "ครรภ์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Womb") พระกษิติครรภโพธิสัตว์ได้รับมอบหมายจากพระศากยมุนีพุทธเจ้าให้เป็นผู้แสดงธรรมโปรดสัตว์ในกามภูมิ 6 ในช่วงที่พระองค์ปรินิพพานไปแล้วและพระศรีอริยเมตไตรยยังไม่ได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระกษิติครรภมีปณิธานสำคัญในการช่วยสัตวโลกทั้งหมดให้พ้นจากนรกภูมิ หากนรกยังไม่ว่างจากสัตว์นรกก็จะยังไม่ขอตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งสัตว์ผู้ทุกข์ยากในอบายภูมิ มีนรกทั้งปวง เป็นต้น เช่นเดียวกับการเป็นผู้คุ้มครองเด็กทั้งหลาย และเทพอุปถัมภ์ของเด็กที่เสียชีวิตและทารกที่ตายจากการแท้งในวัฒนธรรมญี่ปุ่น รูปลักษณ์ของพระโพธิสัตว์องค์นี้ ปกติมักทำเป็นรูปพระภิกษุมหายาน มีรัศมีเปล่งรอบพระเศียรซึ่งปลงพระเกศาแล้ว หัตถ์หนึ่งทรงจับไม้เท้าซึ่งใช้เปิดประตูนรก อีกหัตถ์หนึ่งทรงถือแก้วจินดามณี (แก้วสารพัดนึก) เพื่อประทานแสงสว่างท่ามกลางความมืด สำหรับในประเทศไทยเอง มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย (佛眼禪林弘法基金會:地藏道場) พุทธมณฑลสาย 6 ได้สร้างวัดหรือธรรมสถาน เพื่ออุทิศแด่องค์พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์โดยเฉพาะ โดยสร้างองค์พระกษิติครรภ์ ด้วยหินแกรนิตแกะสลักสูงรวมฐาน 13.99 เมตร และพระกษิติครรภ์ 6 ปาง ที่มีคติมาจากปุณฑริกสมาธิสูตร (蓮華三昩經) ที่ว่าพระกษิติครรภ์นิรมาณกายไปโปรดสัตว์ทั้ง 6 ภูมิ พร้อมพญายมราชทั้ง 10 ซึ่งในสูตรฝ่ายมหายานกล่าวว่า เป็นพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์องค์สำคัญ 10 พระองค์ นิรมาณกายมาโปรดสัตว์ และปฏิมากรรมหินแกะสลักนายนิรยบาล เป็นหินแกะสลักสูงใหญ่กว่าคนอีกรวมทั้งสิ้น 25 องค์โดยช่างฝีมือจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคติของพุทธมหายานแบบจีน และเผยแพร่กษิติครรภโพธิสัตว์มูลปณิธานสูตร (地藏本願經) และ กษิติครรภ์โพธิสัตว์ทศจักรสูตร (地藏十輪經) ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญของพระกษิติครรภ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกษิติครรภมณฑล ที่มีอยู่ไม่กี่แห่งในโลก.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และพระกษิติครรภโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์

ระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์อัครสาวกของพระอมิตาภพุทธะเช่นเดียวกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แต่มีคนรู้จักน้อยกว่า ถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ด้านกำลัง สะท้อนพลังจิตที่เข้มแข็งของพระพุทธเจ้า ใกล้เคียงกับความหมายของพระสมันตภัทรโพธิสัตว.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์

ระมัญชุศรีโพธิสัตว์ (मञ्जुश्री Mañjuśrī; 文殊 Wénshū หรือ 文殊師利菩薩 Wénshūshili Púsà; もんじゅ Monju; འཇམ་དཔལ་དབྱངས། Jampelyang; मंजुश्री Manjushree) เป็นพระโพธิสัตว์ในกลุ่มตถาคตโคตรของพระไวโรจนพุทธะ ชื่อของท่านแปลว่า แสงอันอ่อนหวานหรืออ่อนโยน เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือในทิเบตรองลงมาจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ชื่อของท่านมีปรากฏในพระสูตรต่างๆมากมาย เช่น สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายปัญญาและมีหน้าที่คุ้มครองนักปราชญ.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวัชรปาณีโพธิสัตว์

ระวัชรปาณีโพธิสัตว์ หมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้ถือสายฟ้า หลักฐานฝ่ายบาลีถือว่าเป็นยักษ์ที่คอยคุ้มครองพระพุทธเจ้า ส่วนทางมหายานถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ชั้นสูงองค์หนึ่ง มักปรากฏคู่กับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์และพระปัทมปาณิโพธิสัตว์ ความเชื่อเกี่ยวกับพระวัชรปาณิอาจวิวัฒนาการมาจากพระอินทร์ในศาสนาพราหมณ์ที่ถือสายฟ้าเช่นกัน และอาจจะพัฒนามาจากความเชื่อเกี่ยวกับพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ ชาวพุทธมหายานถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่คุ้มครองนาคที่ควบคุมเมฆฝน และนิยมสร้างรูปของท่านไว้ที่ประตูทางเข้าวัดเพื่อขับไล่ความชั่วร้าย พระวัชรปาณีมีชื่อจีนว่ากิมกังผ่อสัก จัดอยู่ในกลุ่มเจ็ดพระมหาโพธิสัตว์ตามความเชื่อของชาวจีน แต่มีความสำคัญน้อยกว่าพระอวโลกิเตศวรและพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์มาก.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และพระวัชรปาณีโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวิหารบาลโพธิสัตว์

ระวิหารบาลโพธิสัตว์ หรือ พระสังฆารามโพธิสัตว์ เป็นกลุ่มของพระโพธิสัตว์ที่ได้รับการยกย่องจากชาวพุทธมหายานในจีนว่าเป็นผู้ดูแลพระพุทธศาสนา ที่มาของพระโพธิสัตว์กลุ่มนี้มาจากเทพเจ้าดั้งเดิมก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้าไปถึง รวมทั้งบุคคลที่เมื่อมีชีวิตอยู่ได้อุปถัมภืพระศาสนาไว้มาก เมื่อตายไปจึงได้รับการยกย่องให้เป็นพระวิหารบาลโพธิสัตว์ รูปลักษณ์ของท่านมีหลากหลายตามแต่ความเชื่อของผู้สร้าง แต่นิยมสร้างเป็นรูปของเทพเจ้ากวนอูซะมากกว่า ในวัดพุทธมหายานแบบจีนจะตั้งรูปของท่านไว้คู่กับพระเวทโพธิสัตว.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และพระวิหารบาลโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระศรีอริยเมตไตรย

ระศรีอริยเมตไตรย หรือพระเมตไตรย (Metteyya เมตฺเตยฺย; मैत्रेय ไมเตฺรย) เป็นพระโพธิสัตว์ผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 5 และองค์สุดท้ายแห่งภัทรกัปนี้ พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าเมื่อศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าสิ้นสุดไปแล้ว โลกจะล่วงเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อมถอย อายุขัยของมนุษย์ลดลงจนเหลือ 10 ปี ก็เข้าสู่ยุคมิคสัญญี ผู้สลดใจกับความชั่วก็หันมารวมกลุ่มกันทำความดี จากนั้นอายุขัยเพิ่มขึ้นถึง 1 อสงไขยปี แล้วจึงลดลงอีกจนเหลือ 80,000 ปี ในยุคนี้จะมีพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีครบ 80 อสงไขยแสนมหากัป ลงมาตรัสรู้เป็น พระเมตไตรยพุทธเจ้.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และพระศรีอริยเมตไตรย · ดูเพิ่มเติม »

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์

ระสมันตภัทรโพธิสัตว์ (समन्तभद्र Samantabhadra; ཀུན་ཏུ་བཟང་པོ། Kun-tu bzang-po; Qamugha Sain, 普賢菩薩 Pŭxián púsà; ふげん Fugen; Phổ Hiền Bồ Tát) เป็นพระโพธิสัตว์ในกลุ่มตถาคตโคตรของพระไวโรจนพุทธะ ชื่อของพระองค์ท่านแปลว่า ดี รุ่งเรือง หรือเป็นมงคล ท่านมักปรากฏในพุทธมณฑลในฐานะตัวแทนของพระไวโรจนพุทธะ จึงเป็นตัวแทนของความกรุณาและสมาธิที่ดิ่งลึก.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

ระอวโลกิเตศวร เป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด และเป็นบุคลาธิษฐานแห่งมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน อาทิ ปรัชญาปารมิตาสูตร สัทธรรมปุณฑรีกสูตร และการัณฑวยูหสูตฺร.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอักโษภยพุทธะ

ระอักโษภยะพุทธะ เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ พระนามหมายถึง "ไม่หวั่นไหว" ประทับทางทิศตะวันออกของพุทธมณฑล พระกายสีน้ำเงิน รัศมีสีขาว เป็นต้นตระกูลของพระโพธิสัตว์ตระกูลวัชระ เป็นสัญญลักษณ์แทนโพธิจิตในสรรพสัตว์ ถือดอกบัวที่เป็นสัญญลักษณ์แห่งความกรุณา และระฆังที่หมายถึงอิตถีภาวะแห่งเมตตาและขันติ ทรงช้างคู่สีน้ำเงิน อันเป็นสัญญลักษณ์แห่งพลังมหาศาล พระโพธิสัตว์ตระกูลวัชระที่รู้จักกันดีคือพระวัชรปาณีโพธิสัตว์และพระกษิติครรภ์โพธิสัตว.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และพระอักโษภยพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระจุนทีโพธิสัตว์

ระจุนทีโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งในพระพุทธศาสนามหายานเช่นเดียวกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แต่มีคนรู้จักน้อยกว่า เชื่อกันว่าพระองค์เป็นพระพุทธมารดาภาคสัมโภคกาย (กายทิพย์) ของพระเจ้าห้าพระองค์ในภัทรกัปปัจจุบันของเรา โดยหลายท่านเมื่อเห็นพุทธศิลป์ของพระองค์ก็มักจะเข้าใจกันผิดว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ นั่นก็เพราะเกิดจากความเชื่อในพระพุทธศาสนาของนิกายฉาน ที่กล่าวว่าพระจุนทีนั้นเป็นภาคหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แล้วนำไปจัดรวมไว้ในรูปเคารพของพระโพธิสัตว์กวนอิม 6 ปางใหญ่ ซึงในขณะที่นิกายอื่น ๆ ของทางมหายานเนั้นจะถือว่าพระจุนทีกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ นั้นเป็นคนละองค์กัน หลายที่ก็ยังไปจำสับสนด้วยรูปลักษณะของ เต้าอึ้งง้วงกุง หรือ เต้าบ้อง้วงกุง ซึ่งเป็นมารดาของเทวดานพเคราะห์ทางลัทธิเต๋า ที่รับมาจากพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งก็คือพระมรีจิโพธิสัตว์นั่นเอง บ้างก็ไปจำสับสนกับพระมยุรกีรติประภาราชาโพธิสัตว์ที่ทรงนกยูงเป็นพาหนะ โดยพระโพธิสัตว์พระองค์นี้จะมีกล่าวถึง แต่ไม่ค่อยมีบทบาทเท่าไรในพระพุทธศาสนาของจีน แต่จะมีบทบาทในญี่ปุ่นมากกว.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และพระจุนทีโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระธยานิพุทธะ

ระธยานิพุทธะ ศิลปะทิเบต พระธยานิพุทธะหรือพระฌานิพุทธะ (บางแห่งเรียกพระชินพุทธะ) เป็นพระพุทธเจ้าในคติความเชื่อของมหายาน เชื่อว่าอวตารมาจากพระอาทิพุทธะ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌานของอาทิพุทธะ ไม่ได้ลงมาสร้างบารมีเหมือนพระมานุสสพุทธะ (พระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์) ดำรงในสภาวะสัมโภคกาย มีแต่พระโพธิสัตว์ที่เห็นพระองค์ได้.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และพระธยานิพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระขันทกุมาร

ระขันธกุมาร (เทวนาครี:मुरुगन; முருகன்; മുരുകന്‍; ಸುಬ್ರಹ್ಮಣ್ಯ; సుబ్రహ్మణ్యేశ్వర స్వామి) เป็นเทพเจ้าแห่งการชาญณรงค์สงคราม และเป็นเทพเจ้าที่เป็นแม่ทัพของสวรรค์ด้วย พระองค์นั้นเป็นพระโอรสของพระศิวะ (พระอิศวร) และพระแม่ปารวตี (พระแม่อุมาเทวี) ทรงมีพระอนุชา 1 พระองค์ คือ พระพิฆเนศ ทรงนกยูงปารวาณีเป็นพาหนะ พระชายาของพระขันธกุมารคือ พระแม่เทวเสนา (เกามารี) และพระแม่วัลลี ที่อินเดียใต้นิยมนับถือมาก ด้วยเชื่อว่าพระขันธกุมารคือเทวดาผู้คุ้มครองปกป้องรักษาเทวาลัยของศาสนาฮินดู และเป็นเทพประจำทิศใต้อีกด้ว.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และพระขันทกุมาร · ดูเพิ่มเติม »

พระนางตารา

ระนางตาราเขียวหรือพระศยามตาราโพธิสัตว์ Kumbm, Gyantse, Tibet, 2536 พระนางตารา พระโพธิสัตว์ตารา หรือ พระแม่ตารา เป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายหญิงในพระพุทธศาสนา โดยมีสายการปฏิบัติสืบทอดอย่างต่อเนื่องในวัชรยาน คำว่าตารามาจากภาษาสันสกฤตหมายถึงข้าม การบูชาพระนางเริ่มเมื่อพุทธศตวรรษที่ 8 - 11 ในอินเดียเหนือและแพร่หลายที่สุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 - 17 โดยถือว่าเป็นชายาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปัจจุบันมีนับถือในอินเดีย เนปาล และ ทิเบต ส่วนชาวพุทธในจีนจะนับถือเจ้าแม่กวนอิมที่เป็นภาคหญิงของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์แทน.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และพระนางตารา · ดูเพิ่มเติม »

พระโพธิสัตว์

ระปรัชญาปารมิตา ชวา ศิลปะศรีวิชัย พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ศิลปะขอม วัดโทได พระโพธิสัตว์ (बोधिसत्त्व bodhisattva; बोधिसत्त bodhisatta) หมายถึง ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คำว่า "โพธิสัตว์" แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานเชื่อว่ามีพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก แต่รายละเอียดความเชื่อแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และพระโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระไภษัชยคุรุ

วัดโฮรีว พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าที่พบเฉพาะในนิกายมหายาน ไม่พบในฝ่ายเถรวาท พระนามของท่านหมายถึงพระตถาคตเจ้าผู้เป็นบรมครูแห่งยารักษาโรค ผู้มีรัศมีสีน้ำเงินดังไพฑูรย์ พระนามอื่นๆของท่านคือ พระไภษัชยคุรุตถาคต พระมหาแพทย์ราชาพุทธเจ้า พระมหาไภษัชยราชพุทธเจ้า เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวจีนและชาวทิเบต.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และพระไภษัชยคุรุ · ดูเพิ่มเติม »

พระเวทโพธิสัตว์

ระเวทโพธิสัตว์ เป็นเทพธรรมบาลผู้ปกป้องพุทธศาสนาตามความเชื่อของชาวพุทธมหายานในจีน ตรงกับพระขันธกุมารของศาสนาฮินดู มีหน้าที่กำราบผู้จะทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย คอยดูแลวัดวาอารามต่างๆ ลักษณะของพระองค์จะแต่งกายแบบนักรบจีน ในมือถือคทา โดยในสมัยโบราณ ผู้เดินทางที่จะไปค้างคืนตามวัดจะสังเกตรูปปั้นของพระเวทโพธิสัตว์ในวัดว่าถือคทาอย่างไร ถ้าถือไว้ในมือหรือประนมมือแสดงว่าอนุญาตให้เข้าพักได้ แต่ถ้าถือจรดพื้นแสดงว่าไม่อนุญาตให้เข้าพัก ในคัมภีร์ปัจจุบันสมัยภัทรกัลป์สหัสพุทธนามสูตร ได้ระบุว่าพระเวทโพธิสัตว์จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายในกัปป์ปัจจุบันคือภัทรกัปปป์ มีพระนามเมื่อตรัสรู้แล้วว่า พระรุจิพุทธเจ้.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และพระเวทโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

กวนอิม

กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กวนอิน ตามสำเนียงกลาง เป็นพระโพธิสัตว์ในตามคติมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในประเทศอินเดีย และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ของศาสนาพื้นบ้านจีนจนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์" เจ้าแม่กวนอิมเป็นผู้.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และกวนอิม · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และกวนอู · ดูเพิ่มเติม »

ญิงมา

นิกายญิงมา (རྙིང་མ་) นิกายหมวกแดง เป็นนิกายสำคัญนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธแบบทิเบต ถือกำเนิดจากปัทมสัมภวะ อาจารย์ชาวอินเดียคือที่เดินทางมาทิเบตเมื่อ..

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และญิงมา · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

มัธยมกะ

นิกายมัธยมกะ (मध्यमक Madhyamaka) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานยุคแรกที่ก่อตั้งโดยท่านนาคารชุนะ คำว่ามัธยมกะมาจากคำว่ามัชฌิมาปฏิปทา บางครั้งเรียกนิกายนี้ว่าศูนยตา เพราะคำสอนของนิกายนี้เน้นที่ความว่างเปล่าของสรรพสิ่ง และเรียกผู้ที่นับถือนิกายนี้เรียกว่า มาธยมิกะ (Mādhyamika).

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และมัธยมกะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาราช

วิทยาราชทั้งห้าและกลุ่มเทพโลกบาล วิทยาราช (विद्याराज; หมิงหวัง) เป็นชื่อของเทพประเภทที่สามในศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน รองจากจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ตามลำดับ ชื่อในภาษาสันสกฤตแปลว่า "เจ้าแห่งความรู้" ภาษาจีนได้แปลชื่อดังกล่าวด้วยคำว่า 明 (หมิง) ซึ่งหมายความได้ทั้งแสงสว่างและความรอบรู้ ศาสนาพุทธแบบทิเบตเรียกว่า "เหรุกะ" สำหรับวิทยาราชที่เป็นเพศหญิง มีชื่อเรียกตามภาษาสันสกฤตว่า วิทยาราชินี (หมิงเฟย์) แต่การจำแนกวิทยราชตามเพศเช่นนี้มักจะถูกละเลยอยู่บ่อยครั้ง.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และวิทยาราช · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธแบบทิเบต

ระพุทธศาสนาแบบทิเบตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 587-8 (Tibetan Buddhism) คือพุทธศาสนาแบบหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติในทิเบต และปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ ดินแดนทิเบตในอดีตมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาก พุทธศาสนาแบบทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และศาสนาพุทธแบบทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ศานติเทวะ

ระศานติเทวะ ศานติเทวะ (ทิเบต: ཞི་བ་ལྷ།) เป็นปราชญ์ชาวอินเดีย กวีและผู้แต่ง โพธิจรรยาอวตาร ว่าด้วยการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์สิบบท ศานติเทวะมีวรรณะพราหมณ.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และศานติเทวะ · ดูเพิ่มเติม »

สุญตา

ญตา (สุญฺตา) หรือ ศูนยตา (ศูนฺยตา) แปลว่า ความว่างเปล่า, ความเป็นของสูญ คือความไม่มีตัวตน ถือเอาเป็นตัวตนไม่ได้ สุญตามีความหมาย 4 นัย คือ.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และสุญตา · ดูเพิ่มเติม »

สุขาวดี (นิกาย)

ระอมิตาภพุทธะและพระโพธิสัตว์ 2 องค์คือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (ขวา) และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ (ซ้าย) ในวัดใกล้กับเมือง Meinong, มณฑลเกาสง, ไต้หวัน นิกายสุขาวดี (浄土教, Jōdokyō; 정토종, jeongtojong; Tịnh Độ Tông) เป็นนิกายในศาสนาพุทธที่ตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน แม้จะมีกำเนิดมาจากพระสูตรที่มาจากประเทศอินเดีย แต่ในอินเดียไม่ได้เป็นนิกายเอกเทศ นิกายนี้พระฮุ่นเจียงตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 9 สมัยราชวงศ์ตั้งจิ้น คำสอนของท่านเน้นการเจริญพุทธสติถึงพระอมิตาภพุทธะและปรารถนาไปเกิดในแดนสุขาวดี ในจีนเรียกนิกายนี้ว่า นิกายวิสุทธิภูมิ (จิ้งถู่จง).

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และสุขาวดี (นิกาย) · ดูเพิ่มเติม »

ธรรม

รรม หมายถึง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม,ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, ท่านพุทธทาสภิกขุ ให้คำนิยามไว้ในหนังสือของท่านว่า ธรรม มีความหมายที่ยิ่งใหญ่ ไม่สามารถหาคำพูดที่เป็นภาษาของมนุษย์มานิยามได้ แต่ขอนิยามให้เข้าใจพอสังเขปไว้ด้วยความว่า หน้าที่ เพราะไม่มีสิ่งใดในสากลโลกที่ไม่มีหน้าที.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมบาล

นาพุทธในประเทศจีนนับอดีตกาลมา นับถือกันว่า ธรรมบาลยี่สิบสี่พระองค์ คือเหล่าพระโพธิสัตว์กลุ่มหนึ่งตั้งจิตปรารถนาให้ปวงสรรพสัตว์ได้บำเพ็ญบารมีโดยสะดวก จึงพร้อมกันตั้งปณิธานเป็นผู้คุ้มครองอารักขาพระธรรมแห่งพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพุทธบริษัทผู้ดำเนินตามพระรัตนตรัย พระโพธิสัตว์ผู้เป็นธรรมบาลคุ้มครองพระศาสนาเหล่านี้ มีปรากฏพระนามอยู่ในสุวรรณประภาโสตตมราชาสูตร(กิมกวงเม้งจุ้ยเส่งอ้วงเก็ง) ฝ่ายมหายาน พระสูตรนี้ กล่าวถึงเหล่าพระโพธิสัตว์ ท้าวจตุโลกบาลและเหล่าทวยเทพทั้งหลายซึ่งปรากฏชื่อทั้งหมดมี 24 พระองค์ พร้อมกันตั้งปณิธานต่อเบื้องหน้าพระพักตร์แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอถึงรัตนตรัยเป็นที่พึ่งและประกาศตนเป็นธรรมบาลคุ้มครองพระสัทธรรมและเหล่าพุทธบริษัท ให้บำเพ็ญบุญบารมีโดยยิ่งขึ้น พระสูตรนี้จึงเป็นที่มาของพิธีบูชาเทพธรรมบาลโพธิสัตว์ (พิธีก้งจูเทียน)ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และธรรมบาล · ดูเพิ่มเติม »

ตรัสรู้

ตรัสรู้ หมายถึง การรู้แจ้งของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นการรู้สภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงในหลักอริยสัจ 4.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และตรัสรู้ · ดูเพิ่มเติม »

ตถาคต

ตถาคต เป็นพระนามที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้าพระนามหนึ่ง เรียกเต็มว่า พระตถาคต ตถาคต แปลได้หลายนัย คือแปลว.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และตถาคต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาปารมิตา

ระปรัชญาปารมิตา ปรัชญาปารมิตาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 429-430 (อักษรเทวนาครี: प्रज्ञा पारमिता, Shes-rab-pha-rol-phyin ་ཤེས་རབ་ཕ་རོལ་, 般若波羅蜜多/般若波罗蜜多, Pinyin: bō'ruò-bōluómìduō; hannya-haramitta (般若波羅蜜多, hannya-haramitta?) banya-paramilda (般若波羅蜜多/반야파라밀다); Bát Nhã Ba La Mật Đa) เป็นพระสูตรสำคัญชุดหนึ่งในนิกายมหายาน ที่สำคัญ เช่น มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ในทางศิลปกรรมช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 -12 มักแสดงในเชิงบุคลาธิษฐานเป็นรูปพระโพธิสัตว์ชื่อ "พระปรัชญาปารมิตา" มีฐานะเป็นมารดาของพระพุทธเจ้า หรือเป็นภาคสำแดงของพระอักโษภยพุทธะ เป็นสัญลักษณ์ของสุญญต.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และปรัชญาปารมิตา · ดูเพิ่มเติม »

นาคารชุนะ

ระนาคารชุนะ รูปปั้นของพระนาคารชุนะ ในวัดพุทธแบบทิเบตแห่งหนี่งในสหราชอาณาจักร นาคารชุนะ (नागार्जुन; Nāgārjuna; నాగార్జునా;; มีชีวิตในช่วงประมาณ พ.ศ. 700 - 800) เป็นนักปรัชญาอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้งสำนักมัธยมกะ (ทางสายกลาง) ในนิกายมหายาน แห่งพุทธศาสนา และนับเป็นนักคิดชาวพุทธที่มีอิทธิพลสูงสุด ถัดจากพระพุทธเจ้า เป็นที่ศรัทธาและกล่าวถึงในหมู่นักศึกษาพุทธศาสนาชาวยุโรปมาโดยตลอด ท่านเป็นนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่มีผลงานโดดเด่นในด้านปรัชญาและตรรกวิทยา ผลงานสำคัญของท่านคือ มาธยมิกการิกา (มาธยมิกศาสตร์)อันเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดศูนยวาท ประกอบด้วยการิกา 400 การิกา ใน 27 ปริเฉท หนังสือเล่มนี้ได้รับการยกย่องตลอดมา และเป็นที่ยอมรับกันว่านักตรรกวิทยาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระนาคารชุนะไม่เคยมีปรากฏในโลก ศาสนิกชนมหายานทุกนิกายยกย่องท่านในฐานะคุรุผู้ยิ่งใหญ่เสมอ อย่างไรก็ตาม ประวัติของท่านกลับไม่ชัดเจนเท่าที่ควร.

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และนาคารชุนะ · ดูเพิ่มเติม »

ไตรโลกยวิชยะ

ตรโลกยวิชยะ วิทยาราชประจำทิศตะวันออก ไตรโลกยวิชยะ (त्रैलोक्यविजय ไตรโลกฺยวิชย,, 降三世明王 เจี่ยงซานซื่อหมิงหวัง) เป็นหนึ่งในวิทยาราชทั้งห้าตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน (ในญี่ปุ่นเป็นที่นับถือในนิกายชินงน ซึ่งเป็นแขนงย่อยหนึ่งของวัชรยาน) สถิดอยู่ ณ ทิศตะวันออกของครรภโกษธาตุ ทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มครองของพระอักโษภยพุทธะ พระธยานิพุทธะแห่งทิศตะวันออก บางตำราถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง โดยเป็นพระโพธิสัตว์เอกเทศมิได้จัดอยู่ในสกุลของพระธยานิพุทธะองค์ใด นามของไตรโลกยวิชยะ มีความหมายโดยศัพท์ว่า "ผู้ชนะโลกทั้งสาม".

ใหม่!!: รายนามพระโพธิสัตว์และไตรโลกยวิชยะ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายพระนามพระโพธิสัตว์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »