โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทย

ดัชนี รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทย

นี่คือ รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทย มีทั้งสิ้น 264 ชนิด มี 3 ชนิดถูกคุกคามจนเข้าขั้นวิกฤติ มี 11 ชนิดถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์ มี 24 ชนิดเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และ 2 ชนิดมีความเสี่ยงต่ำแต่ใกล้ถูกคุกคาม และสูญพันธุ์ไป 1 ชน.

143 ความสัมพันธ์: ชะมดแผงสันหางดำชะมดแผงหางปล้องชะมดแปลงลายจุดชะมดแปลงลายแถบชะมดเช็ดชะนีมือขาวชะนีมือดำชะนีมงกุฎชะนีเซียมังบ่างช้างเอเชียพ.ศ. 2543พญากระรอกบินสีดำพญากระรอกบินหูแดงพญากระรอกดำพญากระรอกเหลืองพะยูนพังพอนกินปูกระรอกบินสีเขม่ากระรอกบินเล็กแก้มขาวกระรอกบินเท้าขนกระรอกสวนกระรอกสามสีกระรอกหลากสีกระรอกหน้ากระแตกระรอกข้างลายท้องแดงกระจงควายกระจงเล็กกระจ้อนกระทิงกระต่ายป่ากระซู่กระแตหางขนนกกระแตใต้กระแตเล็กกระแตเหนือกระเล็นขนปลายหูสั้นกรุงเทพมหานครกวางผาจีนกวางป่าการตั้งชื่อทวินามกูปรีละองละมั่งลิงกังใต้ลิงลมใต้ลิงลมเหนือลิงอ้ายเงียะลิงแสมลิงเสนลิ่นจีน...ลิ่นซุนดาวัวแดงวาฬบรูด้าวาฬฟินวาฬสเปิร์มวาฬสเปิร์มแคระวาฬสเปิร์มเล็กวาฬเพชฌฆาตวาฬเพชฌฆาตแปลงวงศ์พังพอนสมันสมเสร็จมลายูสัตว์กินเนื้อสัตว์กีบคี่หมาหริ่งพม่าหมาจิ้งจอกทองหมาในหมาไม้หมูหริ่งหมูป่าหมีหมาหมีขอหมีควายหนูบ้านหนูฟานเหลืองหนูหริ่งบ้านหนูผีบ้านหนูผีจิ๋วหนูจี๊ดหนูท้องขาวหนูขนเสี้ยนเขาหินปูนหนูเหม็นอันดับบ่างอันดับช้างอันดับพะยูนอันดับกระต่ายอันดับกระแตอันดับลิ่นอันดับวาฬและโลมาอันดับวานรอันดับสัตว์ฟันแทะอันดับสัตว์กีบคู่อันดับตุ่นอันดับเฮดจ์ฮอกอีเห็นหน้าขาวอีเห็นข้างลายอีเห็นน้ำมลายูอีเห็นเครือองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลอ้นกลางอ้นใหญ่อ้นเล็กควายป่าค่างดำมลายูค่างแว่นถิ่นใต้ค่างแว่นถิ่นเหนือค่างเทาค้างคาวค้างคาวยอดกล้วยผีเสื้อค้างคาวยอดกล้วยป่าค้างคาวหน้ายักษ์กุมภกรรณค้างคาวหน้ายักษ์ทศกัณฐ์ค้างคาวอีอาอีโอค้างคาวคุณกิตติค้างคาวแม่ไก่ภาคกลางค้างคาวแม่ไก่ป่าฝนนากจมูกขนนากใหญ่ธรรมดานากใหญ่ขนเรียบนากเล็กเล็บสั้นแมวลายหินอ่อนแมวดาวแมวป่าแมวป่าหัวแบนแรดชวาโลมาหลังโหนกโลมาหัวบาตรหลังเรียบโลมาอิรวดีโลมาปากขวดอินโดแปซิฟิกเพียงพอนไซบีเรียเพียงพอนเส้นหลังขาวเก้งเก้งหม้อเม่นหางพวงเม่นใหญ่แผงคอยาวเลียงผาใต้เลียงผาเหนือเสือลายเมฆเสือดาวเสือปลาเสือโคร่งเสือไฟเนื้อทราย ขยายดัชนี (93 มากกว่า) »

ชะมดแผงสันหางดำ

มดแผงสันหางดำ (Large-spotted civet) เป็นชะมดชนิดหนึ่ง มีรูปร่างและลักษณะคล้ายคลึงกับชะมดแผงหางปล้อง (V. zibetha) แต่ต่างกันที่บริเวณหาง โดยหางของชะมดแผงสันหางดำจะมีลายขวางสีดำบริเวณด้านบนของหางลากยาวมาจากโคนหางถึงปลายหาง ทำให้ปล้องหางไม่แยกขาดจากกันเหมือนชะมดแผงหางปล้อง ปลายหางมีสีดำและมีลายจุดสีดำกระจายไปทั่วตัว มีความยาวลำตัวและส่วนหัว 72-85 เซนติเมตร ความยาวส่วนหาง 30-36.9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 8-9 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถอาศัยอยู่ได้ในป่าหลากหลายประเภท ทั้งป่าสมบูรณ์ และตามสวนเกษตรกรรมต่าง ๆ เช่น สวนยางพารา หรือสวนปาล์มน้ำมัน แต่ส่วนมากมักพบเห็นตามพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 80-200 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยปกติแล้วมักอาศัยและหากินตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือเลี้ยงดูลูกอ่อน จะอยู่ด้วยกันเป็นคู่ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและชะมดแผงสันหางดำ · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแผงหางปล้อง

มดแผงหางปล้อง (Large indian civet;; อีสาน: เหง็นแผงหางก่าน) เป็นชะมดชนิดหนึ่ง มีลำตัวสีเทาค่อนข้างดำ มีลายสีดำข้างลำตัว ข้างลำคอมีเส้นสีดำสามแถบพาดผ่านในแนวขวาง มีจุดเด่น คือ ส่วนหางมีลายสีดำสลับกับขาวเป็นปล้อง ๆ 5-6 ปล้อง มีขนสีดำสนิทพาดตั้งแต่กึ่งกลางหลังจนถึงโคนหาง เท้ามีสีดำ ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย จัดเป็นชะมดที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีความยาวลำตัวและหัว 75-85 เซนติเมตร ความยาวหาง 38-46 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 8-10 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, อินโดจีน, ประเทศจีน, ฮ่องกง, มาเลเซีย และสิงคโปร์ สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ในป่าหลากหลายประเภท แม้กระทั่งใกล้ชุมชนของมนุษย์ หากินในเวลากลางคืน กินอาหารได้หลากหลาย โดยจับเหยื่อจะใช้ฟันกัดและสะบัดอย่างแรงจนเหยื่อตายมากกว่าจะใช้เล็บตะปบ ตอนกลางวันจะนอนหลับตามโพรงไม้หรือโพรงหินหรือในถ้ำ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและชะมดแผงหางปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแปลงลายจุด

มดแปลงลายจุด หรือ อีเห็นลายเสือ (Spotted linsang) เป็นชะมดชนิดหนึ่ง เป็นชะมดที่ไม่มีต่อมกลิ่นเช่นเดียวกับชะมดแปลงลายแถบ (P. linsang) และมีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ส่วนหัวมีขนสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะเด่นคือ มีจุดสีน้ำตาลเข้มหรือดำขึ้นอยู่ประปรายตามลำตัว หางยาวและมีแถบสีขาวสลับดำ หรือน้ำตาลเข้มเป็นปล้องประมาณ 7 ปล้อง มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 35-37 เซนติเมตร ความยาวส่วนหาง 31-34 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 700 กรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่เนปาล, แคว้นสิกขิมและแคว้นอัสสัมของอินเดีย, ภาคใต้ของจีน, ภาคเหนือของพม่า, ไทย, ลาว และเวียดนาม มักอาศัยอยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนอาจอยู่เป็นคู่หรือหลายตัว มักพบในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500-2,700 เมตร ล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กระรอก, หนู, นก และแมลงต่าง ๆ เป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนใหญ่จะหากินเป็นหลักบนต้นไม้ นานครั้งจึงจะลงมาบนพื้นดิน มีฤดูผสมพันธุ์ในเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม ออกลูกครั้งละ 2 ตัว ใช้โพรงไม้ในการเลี้ยงดูลูกอ่อน จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและชะมดแปลงลายจุด · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแปลงลายแถบ

มดแปลงลายแถบ หรือ อีเห็นลายเมฆ เป็นชะมดแปลงชนิดหนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์ในแถบมาเลเซียตะวันตก, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว และชวาตะวันตก รวมทั้งในประเทศไทยตั้งแต่บริเวณคอคอดกระลงไป ชะมดแปลงลายแถบ จัดเป็นชะมดที่ไม่มีต่อมกลิ่น มีลายเป็นแถบคดเคี้ยวขวางบริเวณหลังทั้งหมด 5 แถบ และตามด้านข้างของคอและลำตัว จุดจะติดกัน กลายเป็นแถบคดเคี้ยวมีอยู่ด้านละ 2 แถบ สีพื้นของตัวเป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองซีด ๆ หางมีปล้องสีขาวสลับดำอยู่ 7 ปล้อง ไม่มีขนแผงคอหรือแผงหลัง มีขนาดตัวยาวจากหัวถึงหาง 74 เซนติเมตร อาศัยและหากินบนต้นไม้มากกว่าจะลงมาพื้นดิน กินอาหาร ได้แก่ กระรอก, หนู, นก และจิ้งจก มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม สร้างรังออกด้วยเรียวไม้และใบไม้อยู่ในโพรงดินโคนต้นไม้ใหญ่ ออกลูกครั้งละ 2–3 ตัว มีอายุยืนเกือบ 10 ปี เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและชะมดแปลงลายแถบ · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดเช็ด

มดเช็ด หรือ ชะมดเชียง หรือ มูสัง (Indian small civet) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่ง จัดเป็นชะมดขนาดเล็ก ขาสั้น หูทั้งสองข้างอยู่ใกล้กัน เมื่อมองไกล ๆ อาจคล้ายแมว จนตามลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง และมีจุดสีดำขนาดเล็กแทรกอยู่ทั่วไปตามลำตัว มีแถบสีดำและขาวบริเวณลำคอ หางมีวงสีดำ 6-9 ปล้องพาดขวางอยู่ ทำให้มีดูมีลักษณะเป็นปล้องสีดำ ไม่มีขนแผงสันหลัง ปลายหางมีสีขาว ขาหลังมีต่อมกลิ่นที่ใช้สื่อสารระหว่างพวกเดียวกัน และจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล ViverriculaBlanford, W. T. (1888–91).

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและชะมดเช็ด · ดูเพิ่มเติม »

ชะนีมือขาว

นีมือขาว หรือ ชะนีธรรมดา (Common gibbon, White-handed gibbon) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับวานร (Primates) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นลิงไม่มีหางชนิดหนึ่ง จำพวกชะนี (Hylobatidae).

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและชะนีมือขาว · ดูเพิ่มเติม »

ชะนีมือดำ

นีมือดำ (Agile gibbon, Black-handed gibbon) เป็นชะนีชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylobates agilis จัดเป็นหนึ่งในสี่ชนิดของชะนีที่สามารถพบได้ในประเทศไทย ชะนีมือดำดั้งเดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของชะนีมือขาวหรือชะนีธรรมดา (H. lar) เช่นเดียวกับชะนีมงกุฎ (H. pileatus) แต่เมื่อมีการศึกษาเพิ่มเติมพบว่ามีบางอย่างที่แตกต่างออกไป เช่น เสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกว่าและการแพร่กระจายพันธุ์ จึงจัดให้เป็นชนิดใหม่ ชะนีมือดำมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับชะนีมือขาว โดยสีของลำตัวจะมีทั้งสีเทา, ดำ และสีน้ำตาลแก่ ซึ่งความแตกต่างของสีนี้จะไม่เกี่ยวกับเพศหรือวัยเช่นเดียวกับในชะนีมือขาว โดยที่ตัวใดเกิดเป็นสีใดก็จะเป็นสีนั้นไปตลอด ชะนีมือดำจะแตกต่างจากชะนีมือขาวตรงที่ขนที่มือและเท้าเป็นสีดำ อันเป็นที่มาของชื่อ บริเวณกระหม่อมแบนกว่า และมีขนข้างส่วนหัวยาวกว่า ทำให้เวลาดูทางด้านหน้าส่วนหัวจะเป็นรูปสามเหลี่ยม ในขณะที่ส่วนหัวของชะนีมือขาวจะดูเป็นรูปกลม มีการแพร่กระจายพันธุ์ในประเทศไทย เฉพาะในป่าดิบภาคใต้ตอนล่างที่ติดกับมาเลเซียเท่านั้น จากนั้นจะพบได้ตลอดทั้งแหลมมลายู จนถึงเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว ขณะที่นิเวศวิทยาและพฤติกรรมก็คล้ายคลึงกับชะนีชนิดอื่น ๆ สถานะการอนุรักษ์ในอนุสัญญาไซเตสจัดให้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix I) คือ ห้ามค้าขายหรือมีไว้ครอบครองเด็ดขาด เว้นแต่จะเป็นไปเพื่อการศึกษาหรือวิจัยขยายพัน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและชะนีมือดำ · ดูเพิ่มเติม »

ชะนีมงกุฎ

thumb thumb thumb thumb ชะนีมงกุฎ หรือ ชะนีเอี๊ยมดำ (Pileated gibbon) เป็นชะนีชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylobates pileatus เดิมเคยถูกจัดเป็นชนิดย่อยของชะนีมือขาว (H. lar) แต่มีพฤติกรรมและลักษณะบางอย่างต่างออกไป รวมถึงเสียงร้องด้วย โดยสีขนจะแตกต่างออกไปตามเพศและช่วงอายุ ตัวผู้ในช่วงวัยรุ่นจะมีสีขนเหลือง เมื่ออายุ 3-4 ปี จะเปลี่ยนเป็นสีดำทั่วตัวยกเว้นคิ้ว ถุงอัณฑะ หลังมือ หลังเท้า และวงรอบใบหน้า ส่วนตัวเมียมีสีขาวนวลเหมือนเดิม แต่ที่หน้าอกและบนหัวมีสีดำ แลดูคล้ายใส่เอี๊ยม หรือผ้ากันเปื้อน อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ พบอาศัยอยู่ในแถบประเทศลาวและกัมพูชา ทางด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง สำหรับในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออก เช่น จังหวัดสุรินทร์, บุรีรัมย์, ปราจีนบุรี, จันทบุรี, ตราด และในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มักอาศัยอยู่ในป่าดิบที่มียอดไม้สูงและรกชัฏ อาหารหลัก คือ ผลไม้, ใบไม้, แมลงและสัตว์เลื้อยคลาน ดื่มน้ำโดยใช้วิธีการเลียตามขนตัวเองและหาตามโพรงไม้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว เมื่อลูกชะนีอายุได้ 1 ปี จะเริ่มออกจากอกแม่ห้อยโหนไปมาด้วยตัวเอง ซึ่งต่างจากชะนีมือขาวที่จะเกาะอยู่กับอกแม่จนอายุได้ 2 ปี และเมื่อลูกอายุได้ 2-3 ปี แม่ชะนีมงกุฎจะเริ่มผสมพันธุ์อีกครั้ง ลูกชะนีโดยเฉพาะตัวผู้จะถูกขับไล่ออกจากฝูงเร็วกว่าตัวเมีย และจะอยู่ตามลำพังจนกระทั่งหาคู่ผสมพันธุ์ได้ ชะนีมงกุฎในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีการผสมข้ามพันธุ์กับชะนีมือขาว จนเกิดเป็นชะนีลูกผสมซึ่งมีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างออกไป รวมถึงเสียงร้องด้วย อันเนื่องจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นับเป็นสถานที่แห่งเดียวในโลก ที่มีชะนีทั้ง 2 ชนิดนี้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและชะนีมงกุฎ · ดูเพิ่มเติม »

ชะนีเซียมัง

นีเซียมัง หรือ เซียมมัง หรือ ชะนีดำใหญ่ (มลายู: Siamang; แปลว่า "ลิงสยาม") สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานรชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์จำพวกชะนี ซึ่งเป็นชะนีชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดเป็นเพียงชนิดเดียวในสกุล Symphalangus มีรูปร่างคล้ายชะนีทั่วไป แต่มีรูปร่างและลำตัวใหญ่กว่ามาก ขนาดโตเต็มที่มีความยาวลำตัวและหัว 75-90 เซนติเมตร น้ำหนักในเพศผู้ 10.9 กิโลกรัม ตัวเมีย 10.6 กิโลกรัม ขนมีสีดำทั้งตัวทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีลักษณะเด่นคือ บริเวณลำคอมีถุงสีเทาปนชมพู โดยถุงดังกล่าวจะป่องออกขณะที่ส่งเสียงร้อง โดยชะนีเซียมังจัดเป็นชะนีที่ร้องได้ดังที่สุด มีการกระจายพันธุ์ในเขตใต้สุดของไทย, มาเลเซียและเกาะสุมาตรา มี 2 ชนิดย่อย คือ S. s. syndactylus พบในมาเลเซีย และ S. s. continentis พบที่เกาะสุมาตรา อาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น อาหารหลัก ได้แก่ ใบไม้, ผลไม้, ดอกไม้และสัตว์ที่มีขนาดเล็ก อาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียวที่มีลูกอาศัยอยู่ด้วยกัน โดยชะนีเซียมังแต่ละฝูงมีสมาชิกประมาณ 3-5 ตัว แต่ตัวผู้จะเป็นฝ่ายเลี้ยงดูลูกด้วยตัวเอง ซึ่งแตกต่างไปจากชะนีชนิดอื่น ที่ตัวเมียจะเป็นฝ่ายดูแลลูก ในสถานที่เลี้ยงมีอายุขัยประมาณ 35 ปี ชะนีเซียมัง ในสวนสัตว์ในประเทศไทยมีอยู่เพียงที่เดียวเท่านั้น คือ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ได้มีลูกชะนีเซียมังเกิดขึ้นมาใหม.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและชะนีเซียมัง · ดูเพิ่มเติม »

บ่าง

ง หรือ พุงจง หรือ พะจง ในภาษาใต้ หรือ ปักขพิฬาร เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่งในอันดับบ่าง (Dermoptera) มีรูปร่างคล้ายกระรอกบินขนาดใหญ่ พบได้แต่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galeopterus variegatus นับเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Galeopterus.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและบ่าง · ดูเพิ่มเติม »

ช้างเอเชีย

้างเอเชีย (Asian elephant) จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephas maximus ในวงศ์ Elephantidae มีขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกา รวมทั้งมีใบหูขนาดเล็กกว่า มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 60 ปี ซึ่งถือได้ว่ามีอายุยืนกว่าช้างแอฟริก.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและช้างเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2543

ทธศักราช 2543 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2000 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและพ.ศ. 2543 · ดูเพิ่มเติม »

พญากระรอกบินสีดำ

ญากระรอกบินสีดำ (Black flying squirrel) เป็นกระรอกบินขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกพญากระรอกบิน เป็นกระรอกบินที่มีขนาดใหญ่ มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 42 เซนติเมตร หางยาว 50 เซนติเมตร มีจุดเด่นคือสีขนที่เป็นสีดำเข้มหรือน้ำตาลเข้มทั้งตัว ลำตัวด้านล่างสีจางกว่าและมีขนสีเทาแซม ส่วนหัวมีขนาดเล็ก หากินในเวลากลางคืน โดยสามารถร่อนไปมาได้ระหว่างต้นไม้จากต้นที่สูงกว่าไปหาต้นที่เตี้ยกว่าหรือระดับเดียวกัน น้ำหนักตัวประมาณ 900 กรัม พญากระรอกบินสีดำ พบได้ในป่าดิบชื้นในแหลมมลายู โดยพบตั้งแต่ภาคใต้ของไทยตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป, มาเลเซีย, สิงคโปร์, บรูไน, มาเลเซียตะวันออกและเกาะสุมาตร.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและพญากระรอกบินสีดำ · ดูเพิ่มเติม »

พญากระรอกบินหูแดง

ญากระรอกบินหูแดง (Red giant flying squirrel) เป็นกระรอกบินขนาดใหญ่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Petaurista petaurista มีรูปร่างและลักษณะคล้ายพญากระรอกบินหูดำ (P. elegans) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แตกต่างจากตรงที่มีปลายหางสีดำ ขนสีน้ำตาลแดงไม่มีลาย หัวและหางมีลายจาง ๆ มีขนสีน้ำตาลแดงจางและมีลายจุดสีขาวหนาแน่น โดยเฉพาะบริเวณหัว ขอบหูด้านหน้าเป็นสีขาวและมีรอยแต้มสีขาวบริเวณไหล่ หางสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา ปลายหางสีดำ มีคอหอยสีขาว มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 52 เซนติเมตร ความยาวหาง 63 เซนติเมตร หากินในเวลากลางคืนเช่นเดียวกับกระรอกบินชนิดอื่น ๆ พบกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่อัฟกานิสถาน, ตอนเหนือของอินเดีย เช่น รัฐชัมมูและกัศมีร์ ไปตลอดจนแนวเทือกเขาหิมาลัยจนถึงเอเชียตะวันออก เช่น เกาะไต้หวัน ในประเทศไทยจะพบได้ในภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไปจนถึงแหลมมลายู, สิงคโปร์ จนถึงเกาะบอร์เนียวและชวา นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่ศรีลังกาอีกด้วย กินอาหารจำพวกพืชและผลไม้ตลอดจนแมลง พญากระรอกบินหูแดงสามารถร่อนได้ไกลถึง 75 เมตร (250 ฟุต).

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและพญากระรอกบินหูแดง · ดูเพิ่มเติม »

พญากระรอกดำ

ญากระรอกดำ (Black giant squirrel, Malayan giant squirrel) เป็นกระรอกชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ย่อยพญากระรอก (Ratufinae) เป็นกระรอกชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นกระรอกชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย หางยาวเป็นพวง ขนตามลำตัวและหางสีดำสนิท บางตัวอาจมีสะโพก หรือโคนหางออกสีน้ำตาล ขนบริเวณแก้มและท้องสีเหลือง เท้าหน้ามี 4 นิ้ว เท้าหลังมี 5 นิ้ว เล็บยาวและโค้งช่วยในการยึดเกาะต้นไม้ และสะดวกในการเคลื่อนไหวไปมา ขนาดโตเต็มที่มีความยาวลำตัวและหัว 33-37.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 42.5-46 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-1.6 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในแคว้นอัสสัม ของอินเดีย, ภาคตะวันออกของเนปาล, ภาคใต้ของจีน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบาหลี มีทั้งหมด 10 ชนิดย่อย มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่ในป่าที่มีเรือนยอดไม้สูง เช่น ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง มักพบเห็นอยู่ตามเรือนยอดไม้ที่รกทึบและใกล้ลำห้วย หากินในเวลากลางวันและหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน มีความปราดเปรียวว่องไว สามารถกระโดดไปมาบนยอดไม้ได้ไกลถึง 22 ฟุต ปกติจะอาศัยอยู่ตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่อาจเห็นเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุได้ 2 ปี ตั้งท้องนาน 28 วัน ออกลูกครั้งละ 1-2 ตัว โดยที่ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 3 คู่ รังสร้างขึ้นโดยการนำกิ่งไม้สดมาขัดสานกันคล้ายรังนกขนาดใหญ่ และอาจจะมีรังได้มากกว่าหนึ่งรัง ปัจจุบันมีผู้สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ที่เลี้ยงได้แล้ว และนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง พญากระรอกดำ ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "กระด่าง" ในภาษาใต้เรียก "พะแมว".

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและพญากระรอกดำ · ดูเพิ่มเติม »

พญากระรอกเหลือง

ญากระรอกเหลือง (Cream-coloured giant squirrel) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง เป็นกระรอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากพญากระรอกดำ (R. bicolor) ที่พบในประเทศไทย มีรูปร่างหน้าตาคล้ายพญากระรอกดำ แต่มีขนสีเหลืองครีมอ่อน ๆ ท้องสีขาว ขนหางสีเข้มกว่าลำตัว แก้มทั้งสองข้างมีสีเทาอ่อน หูและเท้าทั้ง 4 ข้าง มีสีดำ และมีขนาดเล็กกว่า โดยโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 31-36 เซนติเมตร หางยาว 37.5-41.5 เซนติเมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 0.5-1.4 กิโลกรัม มีทั้งหมด 9 ชนิดย่อย พบได้ในป่าดิบในภาคใต้ของไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป จนถึงมาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว อาศัยและหากินบนยอดไม้สูง ไม่ค่อยลงพื้นดิน มีพฤติกรรมความเป็นอยู่และนิเวศวิทยาคล้ายพญากระรอกดำ.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและพญากระรอกเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

พะยูน

ูน เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดเดียวที่เป็นสัตว์น้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon อยู่ในอันดับพะยูน (Sirenia).

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและพะยูน · ดูเพิ่มเติม »

พังพอนกินปู

ังพอนกินปู หรือ พังพอนยักษ์ (Crab-eating mongoose) เป็นหนึ่งในสองชนิดของสัตว์จำพวกพังพอนที่พบในประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Herpestes urva เป็นพังพอนขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่นคือ มีแถบสีขาวจากมุมปากลาดยาวไปตามข้างคอจนถึงหัวไหล่ หางยาวประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัว ขนที่หางเป้นพวง สีขนบริเวณลำตัวเป็นสีน้ำตาลอมเทา คอมีสีดำ หน้าอกมีสีน้ำตาลแดง ท้องมีสีน้ำตาลอ่อน ขนมีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ มีความยาวลำตัวและหาง 44-48 เซนติเมตร ความยาวหาง 26.5-31 เซนติเมตร น้ำหนัก 3-4 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของจีน, เนปาล ภาคตะวันออกของพม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, ไต้หวัน, เวียดนามและมาเลเซีย ในประเทศไทยพบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มักอาศัยอยู่ตามลำพัง ยกเว้นช่วงฤดูผสมพันธุ์ มักอาศัยอยู่ตามป่าใกล้กับแหล่งน้ำ ป่าเต็งรัง, ป่าเบญจพรรณ หากินโดยจับสัตว์ที่มีขนาดเล็กกว่ากินเป็นอาหาร โดยเฉพาะสัตว์ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ปู, ปลา, กุ้ง, หอย หรือแม้แต่แมลงน้ำหรือนกน้ำ และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดด้วย ออกหากินในเวลากลางคืน พังพอนกินปูสามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและพังพอนกินปู · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกบินสีเขม่า

กระรอกบินสีเขม่า (Smoky flying squirrel) เป็นกระรอกบินชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pteromyscus มีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่ แก้มเป็นสีออกเทา ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเทาเข้ม แซมด้วยสีเทาจาง หางเป็นสีเดียวกับลำตัวแต่โคนหางเป็นสีเทาแกมสีเนื้อ ลำตัวด้านล่างมีสีขาวนวลมีสีเทาแซม พบกระจายพันธุ์ในป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ตอนล่างสุดของประเทศไทยไปจนถึงตลอดคาบสมุทรมลายู และพบได้จนถึงบรูไน, บอร์เนียว ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระรอกบินสีเขม่า · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกบินเล็กแก้มขาว

กระรอกบินเล็กแก้มขาว (Phayre's flying squirrel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในกลุ่มฟันแทะชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Sciuridae หรือ กระรอก มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากกระรอกจำพวกอื่น คือ มีแผ่นหนังลักษณะคล้ายพังผืดที่บริเวณข้างลำตัวตั้งแต่ขาหน้าถึงขาหลัง นั่นคือ เป็นกระรอกบิน กระรอกบินเล็กแก้มขาว มีขนาดความยาวลำตัวและหัว 17 - 19 เซนติเมตร หางยาว 13 - 17 เซนติเมตร นับเป็นกระรอกบินขนาดกลาง ขนาดใหญ่กว่ากระรอกบินเล็กแก้มแดง (H. spadiceus) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน ตาค่อนข้างกลมและโต ลักษณะเด่นคือ ขนบริเวณแก้มมีสีขาว ขนหลังสีเทาหรือสีน้ำตาลเข้ม ด้านท้องมีสีขาวครีม ขนหางแบนเรียบสีเทาหรือสีน้ำตาลเข้ม บริเวณแก้มจนถึงหลังใบหูมีสีขาว ส่วนกระรอกบินเล็กเขาสูงจะมีแก้มและกระหม่อมเป็นสีเทา และลำตัวด้านบนกับส่วนหางจะมีสีเทาแกมน้ำตาล แผ่นหนังสำหรับใช้ร่อนมีสีน้ำตาลไหม้ ส่วนลำตัวด้านล่างมีสีขาวแต้มด้วยสีเหลือง และตรงคอหอยจะมีสีออกเหลือง ถิ่นที่อยู่อาศัยส่วนมากอยู่ในป่าดงดิบเขาระดับต่ำ และป่าเบญจพรรณในระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล สามารถพบได้ทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย นอกจากนี้แล้วยังพบได้ในประเทศใกล้เคียง เช่น ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายของไท.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระรอกบินเล็กแก้มขาว · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกบินเท้าขน

กระรอกบินเท้าขน (Hairy-footed flying squirrel) เป็นกระรอกบินที่อาศัยอยู่ในภูเขาของเทือกเขาหิมาลัยทางทิศตะวันออก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนตอนใต้จนถึงเกาะไต้หวัน จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Belomys กระรอกบินเท้าขน มีขนเป็นสีน้ำตาลแดงที่ด้านบนและสีขาวที่ด้านล่าง ลักษณะเป็นขนยาวที่เท้าซึ่งครอบคลุมกรงเล็บเพื่อป้องกันความหนาวเย็นในระดับความสูงที่สูงมาก กระรอกบินเท้าขนมีความยาวประมาณ 22 เซนติเมตร และมีหางยาว 13 เซนติเมตร โดยที่ไม่ได้จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทยแต่อย่างใ.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระรอกบินเท้าขน · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกสวน

กระรอกสวน หรือ กระรอกท้องแดง (Pallas's squirrel, Red-bellied squirrel) เป็นกระรอกชนิดหนึ่ง เป็นกระรอกขนาดกลาง มีขนาดเล็กกว่ากระรอกหลากสี (C. finlaysonii) เล็กน้อย ทั่วไปลำตัวมีสีน้ำตาลแกมเขียว ลำตัวส่วนล่างขนสีน้ำตาลแดง, ส้ม หรือสีเหลืองนวล แบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ถึง 20 ชนิดย่อย บางชนิดย่อยมีปื้นสีดำบริเวณหลังส่วนท้าย หางเป็นพวงสวยงาม มีสีแถบสีเนื้อจาง ๆ สลับดำ บางชนิดย่อยปลายหางมีสีดำ บางชนิดย่อยปลายหางเป็นสีอ่อน มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 20-26 เซนติเมตร ความยาวหาง 20 เซนติเมตร กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ ภูฏาน อินเดีย จีน ประเทศไทย ลาว เวียดนาม คาบสมุทรมลายู อินโดนีเซีย ปจนถึงเอเชียตะวันออกอย่างไต้หวัน ญี่ปุ่น กระรอกสวนกินผลไม้และลูกไม้ต่าง ๆ เป็นอาหารรวมถึงสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ อย่างแมลงและหนอน หากินและอาศัยเป็นหลักบนต้นไม้ พบได้ในหลายพื้นที่ทั้งสวนสาธารณะและเมืองใหญ่ นับเป็นกระรอกที่พบได้มากและบ่อยที่สุดในประเทศไทย พบมากตามสวนผลไม้หรือสวนมะพร้าว มักถูกกำจัดหรือจับมาขายเพราะทำลายพืชผล จัดเป็นศัตรูพืชชนิดหนึ่ง ตามปกติจะอาศัยและหากินตามลำพัง เวลาหากินจะเป็นเวลากลางวัน สามารถแทะกินเปลือกไม้เปลือกแข็งหรือผลไม้เปลือกแข็งได้ นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง หากเลี้ยงตั้งแต่เล็ก ๆ ขณะยังไม่หย่านม จะเชื่องกับผู้เลี้ยง ถูกนำไปเป็นสัตว์เลี้ยงในหลายประเทศ จนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น และไม่จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์ป่าสงวนในประเทศไทยแต่ประการใด Stuyck, Baert, Breyne & Adriaens (2010).

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระรอกสวน · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกสามสี

กระรอกสามสี (อังกฤษ: Prevost's squirrel, Asian tri-colored squirrel) กระรอกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Callosciurus prevostii จัดเป็นกระรอกขนาดกลาง มีความยาวของลำตัวประมาณ 25 เซนติเมตร หาง 27 เซนติเมตร มีลักษณะเด่นที่สีของขนคลุมตัวโดยขนที่หูหลังและหัวมีสีดำ ขนหางครึ่งหนึ่งเป็นสีดำ ส่วนครึ่งปลายหางมีสีน้ำตาล ขนท้องและขามีสีแดงปนน้ำตาลแก่ ขนที่โคนขาหลังด้านบนมีสีขาวหว่างขนหลังสีดำกับขนท้องสีน้ำตาลปนแดง มีแถบสีขาวพาดจากโคนขาหลังไปยังขาหน้าส่วนบน ใบหน้าด้านข้าง และที่จมูกมีขนสีเทาดำ ทำให้ดูคล้าย กระรอกหลากสี (C. finlaysonii) ซึ่งเป็นกระรอกที่อยู่ในสกุลเดียวกัน เว้นแต่ตัวเมียของกระรอกสามสีจะมีเต้านม 3 คู่ กระรอกสามสี พบได้ในคาบสมุทรมลายู ตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศไทยลงไป พบได้แม้กระทั่งในป่าพรุ เช่น ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส โดยมีทั้งหมด 6 ชนิดย่อย กินอาหาร เช่น ผลไม้, แมลง, ไข่นก ปัจจุบัน กระรอกสามสีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็มีการนิยมซื้อขายและเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเหมือนกระรอกชนิดอื่น.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระรอกสามสี · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกหลากสี

กระรอกหลากสี (อังกฤษ: Finlayson's squirrel, Variable squirrel) สัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง เป็นกระรอกชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ทั่วไปในภูมิภาคอินโดจีนจนถึงสิงคโปร์ สามารถพบได้ทั่วไปทั้งในตัวเมืองและในป่าเขาต่าง ๆ มีความหลากหลายทางสีสันเป็นอย่างยิ่ง โดยมากจะเป็นสีขาวครีมปนเหลืองอ่อน จนถึงสีแดงหรือสีดำทั้งตัว หรือบางตัวอาจมีหลายสีในตัวเดียวกัน จัดเป็นกระรอกขนาดกลาง มีขนาดความยาวตั้งแต่หัวจรดโคนหาง 21-22 เซนติเมตร ความยาวหาง 22.5-24 เซนติเมตร ออกหากินในเวลาเช้าตรู่และพลบค่ำ นอนหลับพักผ่อนตามพุ่มใบไม้ ทำรังคล้ายรังนกด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ รูปทรงยาวอยู่ตามปลายกิ่งไม้ ตัวเมียมีเต้านม 2 คู่ ออกลูกครั้งละ 2 ตัว ด้วยความหลากหลายทางสีสันและความกว้างขวางในพื้นที่กระจายพันธุ์ ทำให้มีชนิดย่อยถึง 16 ชนิด เช่น C. f. floweri ที่สามารถพบได้ในพื้นที่กรุงเทพมหานครตามสวนหรือสวนสาธารณะ, C. f. bocourti ที่มีสีขาวตลอดทั้งตัว พบมากในป่าสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา และ C. f. boonsongi พบมากตามป่าแถบภาคอีสาน ซึ่งตั้งชื่อชนิดย่อยเพื่อเป็นเกียรติแด่ นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล สถานะการอนุรักษ์ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็มีการนิยมซื้อขายและเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระรอกหลากสี · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกหน้ากระแต

กระรอกหน้ากระแต (อังกฤษ: Shrew-faced squirrel, Shrew-faced ground squirrel) เป็นกระรอกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhinosciurus laticaudatus จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Rhinosciurus กระรอกหน้ากระแต เป็นกระรอกที่มีลักษณะเด่นชัดแตกต่างไปจากกระรอกชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ ใบหน้าบริเวณจมูกจะแหลมยาวยื่นออกมาคล้ายสัตว์จำพวกกระแต ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์กินแมลง มากกว่าจะเหมือนกระรอกที่เป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ จัดเป็นกระรอกดินชนิดหนึ่ง มักอาศัยตามลำพังและหากินตามพื้นดิน โดยใช้ลิ้นที่ยาวตวัดกินอาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ, ไส้เดือนดิน และผลไม้บางชนิด มีหางที่สั้นและเป็นพวงเหมือนขนแปรงขัดขวด ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีขาว มีสีเหลืองแซมบริเวณขอบด้านข้างโดยรอบ ความยาวลำตัว 23 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 17 เซนติเมตร อาศัยทำรังอยู่ตามโพรงไม้ ตกลูกปีละครั้งเดียว ครั้งละประมาณ 1-2 ตัว พบกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะป่าดิบชื้นในคาบสมุทรมลายูเท่านั้น โดยเฉพาะในบริเวณที่ต่ำโดยเฉพาะในหุบเขาที่มีลำธารน้ำไหล โดยพบตั้งแต่ภาคใต้ของไทยแถบจังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป, มาเลเซีย, สิงคโปร์, บรูไน จนถึงเกาะบอร์เนียว กระรอกหน้ากระแตเป็นกระรอกที่มีข้อมูลทางวิชาการน้อยมาก ด้วยความที่เป็นกระรอกที่หาได้ยากมากที่สุดชนิดหนึ่ง ในประเทศไทย ถูกขึ้นชื่อเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ไม่พบการซื้อขายหรือเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเหมือนกระรอกชนิดอื่นแต่อย่างใ.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระรอกหน้ากระแต · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกข้างลายท้องแดง

กระรอกข้างลายท้องแดง (Plantain squirrel) สัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง จำพวกกระรอก กระรอกข้างลายท้องแดงที่พบในสิงคโปร์ เป็นกระรอกขนาดกลาง มีความยาวประมาณ 17-30 เซนติเมตร (7.9-12 นิ้ว) ส่วนหางยาว 16-23 เซนติเมตร (6-8 นิ้ว) มีลำตัวสีเทาหรือน้ำตาล มีจุดเด่น คือ ด้านข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำและสีขาวตัดกันเห็นชัดเจน ที่มีขนสีเหลืองส้มหรือสีน้ำตาลส้ม หางมีจุดด่างสีดำและเขียวไพร ปลายหางมีสีแดง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่อมองจากด้านล่าง กระจายพันธุ์ทั่วไปตั้งแต่คาบสมุทรมลายูลงไป จนถึงอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้ในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป พบในป่าดิบชื้น มักชอบอยู่ตามชายป่าหรือตามป่ารุ่น ไม่ค่อยพบในป่าที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบได้ในป่าชายเลน, สวนป่า และสวนผลไม้ เป็นกระรอกอีกชนิดหนึ่งที่พบบ่อยได้บ่อย หากินในเวลากลางวัน มีกิจกรรมมากในช่วงเช้ามืดและช่วงบ่ายแก่ ๆ อาศัยอยู่บนต้นไม้ในเรือนยอดระดับต่ำ ไม่จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์ป่าสงวนในประเทศไทยแต่อย่างใ.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระรอกข้างลายท้องแดง · ดูเพิ่มเติม »

กระจงควาย

กระจงควาย หรือ กระจงใหญ่ (Greater mouse-deer, Napu) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tragulus napu อยู่ในวงศ์ Tragulidae มีขาเล็กเรียว ซึ่งมีนิ้วเท้าข้างละ 4 นิ้ว ทั้งตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขา แต่ตัวผู้จะมีเขี้ยวบนยาวเลยริมฝีปากบนลงมา เมื่อโตเต็มวัยมีน้ำหนักตัวประมาณ 5 กิโลกรัม ขนบนตัวสีน้ำตาลออกเทา มีจุดสีเข้มกว่ากระจายอยู่ทั่วไป ที่ใต้คอและบนหน้าอกมีลายพาดตามยาวสีขาว 5 ลาย ด้านใต้ท้องสีขาว หางค่อนข้างสั้นสีน้ำตาลอ่อนด้านบนและสีขาวด้านล่าง ปกติชอบอยู่โดดเดี่ยว นอกจากในฤดูผสมพันธุ์จึงจะอยู่เป็นคู่ ออกหากินในเวลากลางคืน กินอาหารได้แก่ หญ้าอ่อน ๆ, ผลไม้, ยอดไม้ และใบไม้อ่อน ในเวลากลางวันจะหลบพักนอนตามหลืบหินและโพรงไม้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว แต่บางครั้งก็พบออกลูกแฝด ระยะตั้งท้องนานประมาณ 5-6 เดือน พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศพม่า, เทือกเขาตะนาวศรี ไปจนถึงแหลมมลายู, เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่ภาคตะวันออกของไทยไปจนถึงตอนใต้ของกัมพูชาและเวียดนาม จัดเป็นกระจงอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทยนอกจาก กระจงเล็ก (T. kanchil) ที่มีขนาดตัวเล็กกว่า โดยมักอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ บางครั้งยังอาจพบได้ที่พื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าพรุหรือป่าชายเลนได้อีกด้วย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระจงควาย · ดูเพิ่มเติม »

กระจงเล็ก

กระจงเล็ก หรือ กระจงหนู (Lesser mouse-deer, Lesser Malay chevrotain; มลายู: Kanchil) เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กีบคู่ จัดเป็นสัตว์กีบคู่ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก รูปร่างหน้าตาคล้ายเก้งหรือกวาง เป็นกระจงอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย มีขนาดเล็กกว่ากระจงควาย (T. napu) มีความสูงจากกีบเท้าถึงหัวไหล่ 20-23 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ ลายแถบสีขาวที่หน้าอกมีแถบเดียว ในขณะที่กระจงควายมี 2 แถบ ในประเทศไทยพบได้ตามแนวป่าตะวันตก, แนวเขาหินปูนภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ในต่างประเทศพบได้ในลาว, พม่า, ตอนใต้ของจีน, เวียดนาม, บรูไน, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย หมายเหตุ: เดิมทีกระจงเล็กเคยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tragulus javanicus แต่ปัจจุบันชื่อนี้ได้ถูกจำแนกออกไปเป็น กระจงชวา พบในเกาะชวา และบาหลีแทน Meijaard, E., & Groves, C. P. (2004).

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระจงเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

กระจ้อน

กระจ้อน หรือ กระรอกดินข้างลาย (Indochinese ground squirrel, Berdmore's ground squirrel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Menetes berdmorei) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์ฟันแทะ เป็นกระรอกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง พบเห็นได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย และทุกสภาพภูมิประเทศ แม้แต่ในสวนใจกลางเมือง ไม่ชอบอยู่อาศัยในป่าดิบทึบ ชอบหากินอยู่ตามพื้นดิน มีลำตัวสีน้ำตาลมีแถบสีดำสลับสีอ่อนอยู่ด้านข้างลำตัว จัดเป็นกระรอกดินชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Menetes พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวเต็มที่รวมหาง ประมาณ 15-20 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระจ้อน · ดูเพิ่มเติม »

กระทิง

กระทิง หรือ เมย เป็นวัวป่าชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระทิง · ดูเพิ่มเติม »

กระต่ายป่า

กระต่ายป่า (Burmese hare, Siamese hare) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Leporidae ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเด่นคือ มีหูยาว สามารถมองเห็นได้แต่ไกล มีขนขึ้นบริเวณกระพุ้งแก้มและมีฟันหน้าของขากรรไกรบน 4 ซี่ เรียงซ้อนกัน 2 คู่ ฟันคู่หลังเล็กกว่าคู่หน้า ขาคู่หลังยาวกว่าขาคู่หน้า เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ใต้ผ่าเท้ามีขนปกคลุมหนาแน่นช่วยให้เคลื่อนไหวได้โดยไม่มีเสียง หางสั้นเป็นกระจุก ขนบริเวณหลังเป็นสีน้ำตาลปนเทา ปลายขนมีสีน้ำตาลเข้ม มีความยาวลำตัวและหัว 44-50 เซนติเมตร ความยาวหาง 6.5-8.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 1.35-7 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในพม่า, ไทย, เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา ชอบอาศัยในป่าโปร่ง, ป่าเต็งรัง, ป่าเบญจพรรณ ออกหากินในเวลากลางคืนตามพงหญ้าที่รกชัฏ ออกหากินตามลำพังในอาณาบริเวณของตัวเอง มี หญ้า เป็นอาหารหลัก ยอดไม้ หรือผลไม้ที่ร่วงจากต้นเป็นอาหารเสริม ในบางครั้งอาจแทะเขากวางที่ผลัดทิ้งเพื่อเพิ่มแคลเซียมด้วย กระต่ายป่าตัวผู้มักต่อสู้เพื่อแย่งชิงตัวเมียในฤดูผสมพันธุ์ด้วยการกระโดดถีบหรือกัดด้วยความรุนแรง กระต่ายป่าตัวเมียใช้เวลาตั้งท้อง 35-40 วัน ออกลูกครั้งละ 1-7 ตัว โดยการขุดโพรงใต้ดินอยู่ ลูกกระต่ายป่าที่เกิดใหม่จะขนปกคลุมตัว และลืมตาได้เล.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระต่ายป่า · ดูเพิ่มเติม »

กระซู่

กระซู่, แรดสุมาตรา หรือ แรดขน (Sumatran RhinocerosWilson, D. E., and Reeder, D. M. (eds), ed (2005).; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dicerorhinus sumatrensis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคี่จำพวกแรด กระซู่เป็นแรดที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก และเป็นแรดเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dicerorhinus มีลักษณะเด่นคือมี นอ 2 นอ เหมือนแรดแอฟริกา โดยนอจะไม่ตั้งยาวขึ้นมาเหมือนแรดชวา นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง โดยทั่วไปยาว 15-25 ซม.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระซู่ · ดูเพิ่มเติม »

กระแตหางขนนก

กระแตหางขนนก (pen-tailed treeshrew) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในอันดับกระแต (Scandentia) นับเป็นกระแตเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในวงศ์ Ptilocercidae และสกุล Ptilocercus แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) กระแตหางขนนก มีตัวยาวประมาณ 13-14 เซนติเมตร หางยาว 16-19 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 40-62 กรัม หางมีสีได้หลากหลาย ตั้งแต่สีเทาจนถึงน้ำตาลอ่อน ท้องสีขาวหรือสีครีม ปลายหางตั้งแต่ระยะ 3 ใน 5 ของหางจนถึงปลายหาง ขนมีลักษณะคล้ายขนนกหรือพู่กัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกระแตชนิดนี้ ทำให้แยกออกมาเป็นวงศ์และสกุลต่างหาก กระจายพันธุ์อยู่ในคาบสมุทรมลายู จนถึงเกาะสุมาตรา, ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว และเกาะข้างเคียง ในประเทศไทยพบทางป่าชายแดนภาคใต้ตอนล่าง พบในป่าดั้งเดิมและป่าชั้นสอง, สวนยาง หรือแม้แต่ในหมู่บ้านที่อยู่ชายป่า มักพบอยู่ในที่ที่มีต้นปาล์มชนิด จากเขา (Eugeissona tristis) ทำรังบนต้นไม้ รังอยู่สูงจากพื้น 12-20 เมตร ปูพื้นด้วยใบไม้แห้ง กิ่งไม้และเยื่อไม้ เส้นผ่านศูนย์กลางรังประมาณ 3 นิ้ว และยาวประมาณ 18 นิ้ว ออกหากินในเวลากลางคืน เวลากลางวันจะค่อนข้างเฉื่อยชา หากถูกรบกวนในเวลากลางวัน มักจะหันหลังให้ อ้าปากกว้างและส่งเสียงดังข่มขู่ บางครั้งก็ถ่ายมูลหรือปัสสาวะใส่ด้วย แต่หากถูกรบกวนตอนกลางคืน จะวิ่งหนีไปอย่างรวดเร็ว กินอาหารได้หากหลายทั้งพืชและสัตว์เช่นเดียวกับกระแตส่วนใหญ่ เช่น กล้วย, องุ่น, จิ้งหรีด, ตั๊กแตน, มด, แมลงสาบ, จักจั่น, แมลงปีกแข็ง และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กจำพวกตุ๊กแก ทำรังอยู่ร่วมกันเป็นฝูงใหญ่ ฝูงหนึ่งมีรัง 2-7 รัง สามารถไต่กิ่งไม้ทางด้านใต้กิ่งได้ มีประสาทสัมผัสที่หางไวมาก เมื่อแสดงอาการก้าวร้าวจะแกว่งหางไปมาแบบลูกตุ้ม แต่ถ้าตื่นเต้นจะชูหางขึ้นชี้ด้านบน มีระยะเวลาตั้งท้องนานประมาณ 45-55 วัน คาดว่าออกลูกครั้งละ 1-4 ตัว ลูกแรกเกิดหนักประมาณ 10 กรัม ตัวเมียมีเต้านม 4 เต้.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระแตหางขนนก · ดูเพิ่มเติม »

กระแตใต้

กระแตใต้ หรือ กระแตธรรมดา (common treeshrew, southern treeshrew) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในอันดับกระแต (Scandentia) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับกระรอก มีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ส่วนใบหน้าแหลมยาว มีนิ้วที่เท้าหน้า 5 นิ้ว หางเรียวยาวเป็นพู่ มีเส้นขีดที่ไหล่ ลำตัวยาวประมาณ 17-24 เซนติเมตร หางยาว 17-24 เซนติเมตร ตัวเมียมีเต้านม 4 เต้า กระแตใต้ เป็นหนึ่งในกระแตที่พบได้ในประเทศไทย พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่คอคอดกระลงไปตลอดแหลมมลายู จนถึงอินโดนีเซีย เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืช, เมล็ดพืช, ผลไม้ และแมลงชนิดต่าง ๆ หากินได้ทั้งบนพื้นดิน, โคนต้นไม้ และบนต้นไม้ พบได้ในภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งป่าดิบทึบ และสวนสาธารณะหรือสวนผลไม้ในชุมชนของมนุษ.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระแตใต้ · ดูเพิ่มเติม »

กระแตเล็ก

กระแตเล็ก (pygmy treeshrew, lesser treeshrew) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในอันดับกระแต (Scandentia) มีลักษณะคล้ายกับกระแตใต้หรือกระแตธรรมดาทั่วไป (T. glis) แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก โดยมีความยาวจากปลายจมูกถึงรูทวารเพียง 11-14 เซนติเมตรเท่านั้น พบกระจายพันธุ์ในคาบสมุทรมลายูจนถึงบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา ในประเทศไทยพบได้ในภาคใต้ตอนล่างเท่านั้น มีทั้งหมด 4 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) มีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 45-55 วัน มีพฤติกรรมชอบกินผลไม้จำพวกมะเดื่อฝรั่งมากที.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระแตเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

กระแตเหนือ

กระแตเหนือ (Northern treeshrew) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในอันดับกระแต (Scandentia) ในวงศ์ Tupaiidae จัดเป็นกระแต 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย นอกเหนือจากกระแตใต้ หรือกระแตธรรมดา (T. glis) มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่กระแตเหนือมีขนสีน้ำตาลเทา ในขณะที่กระแตใต้จะมีขนสีออกน้ำตาลแดง กระแตใต้ตัวเมียมีเต้านม 6 เต้า ขณะที่กระแตเหนือมีเต้านม 4 เต้า มีความยาวตั้งแต่ปลายจมูกจนถึงรูทวาร 13.5-20.5 เซนติเมตร มีอายุยืนเต็มที่ประมาณ 11 ปี พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดีย, พม่า, จีนตอนใต้ และกลุ่มประเทศอินโดจีน ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคใต้จะพบได้เฉพาะบริเวณเหนือคอคอดกระขึ้นไปเท่านั้น.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระแตเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

กระเล็นขนปลายหูสั้น

กระเล็นขนปลายหูสั้น หรือ กระถิกขนปลายหูสั้น (Himalayan striped squirrel, Burmese striped squirrel) เป็นกระรอกขนาดเล็ก ความยาวหัวและลำตัวประมาณ 11-12 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ขนหางสั้นและเรียบติดหนังไม่ฟูเป็นพวงอย่างกระรอกทั่วไป ปลายหูสีขาว ลำตัวสีน้ำตาลอมเทา หลังมีลายแถบขนานกันไปตามแนวสันหลังสีเหลืองหรือสีครีมสลับดำ แถบสีครีมด้านนอกสุดพาดยาวตั้งแต่จมูกไปจนจรดโคนหาง แถบนอกสุดนี้จะกว้างและสีสดกว่าแถบใน และกว้างกว่าของกระเล็นขนปลายหูยาว (T. rodolphii) ส่วนท้องสีเหลืองอ่อน ตัวเมียมีเต้านม 6 เต้า กระเล็นขนปลายหูสั้นอาศัยได้ทั้งในป่าดิบทึบและป่าโปร่ง รวมถึงตามสวนสาธารณะหรือสวนหลังบ้านในบ้านเรือนของมนุษย์หรือชุมชนเมือง พบได้ทั่วแนวเทือกเขาหิมาลัยมาจนถึงพม่า, จีนตอนใต้ ทางใต้สุดแพร่ไปถึงคาบสมุทรมลายู ในประเทศไทยพบได้ในทางภาคตะวันตกตั้งแต่ใต้สุดจนถึงเหนือสุดของประเทศ รวมถึงภาคกลางตอนบน มีพฤติกรรมมักหากินตัวเดียว หรืออาจเป็นกลุ่มที่เป็นครอบครัวเดียวกัน หากินในเวลากลางวัน กินผลไม้, เมล็ดพืช, ใบไม้ และแมลงเป็นอาหาร กระโดดและวิ่งไปมาบนกิ่งไม้อย่างคล่องแคล่ว เสียงร้องมีสองแบบ แบบหนึ่งคือ จี้ด ๆ สั้น ๆ คล้ายนก แต่แหลมดังบาดหู และอีกแบบหนึ่งคือเสียงแหลมยาวสั่นระรัวที่ค่อย ๆ ผ่อนเสียงลง ไม่ได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่อย่างใด และนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกระเล็นขนปลายหูสั้น · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กวางผาจีน

กวางผาจีน หรือ กวางผาจีนถิ่นใต้ (Chinese goral, South China goral) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Naemorhaedus griseus อยู่ในวงศ์ Bovidae.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกวางผาจีน · ดูเพิ่มเติม »

กวางป่า

กวางป่า หรือ กวางม้า หรือ กวางแซมบาร์ (Sambar deer; หรือ Cervus unicolor) เป็นกวางขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในประเทศศรีลังกา, อินเดีย, พม่า, ไทย, จีน, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สุมาตรา, บอร์เนียว และหมู่เกาะซีลี.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกวางป่า · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

กูปรี

กูปรี หรือ โคไพร (គោព្រៃ ถอดรูปได้ โคไพร แต่อ่านว่า โกเปร็ย หรือ กูปรี แปลว่า วัวป่า) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bos sauveli เป็นสัตว์จำพวกกระทิงและวัวป่า เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวโต โคนขาใหญ่ ปลายหางเป็นพู่ขน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและกูปรี · ดูเพิ่มเติม »

ละองละมั่ง

thumb thumb ละองละมั่ง (Eld's deer, Thamin, Brow-antlered deer; Pitraa, Fickela, Meijaard, Groves (2004). Evolution and phylogeny of old world deer. Molecular Phylogenetics and Evolution 33: 880–895.) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง เป็นกวางขนาดกลาง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดง แต่สีขนจะอ่อนลงเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ขนหยาบและยาว ในฤดูหนาวขนจะยาวมาก แต่จะร่วงหล่นจนดูสั้นลงมากในช่วงฤดูร้อน ในตัวผู้จะเรียกว่า ละอง ตัวเมียซึ่งไม่มีเขาจะเรียกว่า ละมั่ง แต่จะนิยมเรียกคู่กัน สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากภาษาเขมรคำว่า "ลำเมียง" (រេបីស) ละองตัวที่ยังโตไม่เต็มวัยจะมีขนแผงคอที่ยาว ลูกแรกเกิดจะมีจุดสีขาวกระจายอยู่รอบตัว และจุดนี้จะจางหายเมื่ออายุมากขึ้น ขอบตาและริมฝีปากล่างมีสีขาว มีความยาวลำตัวและหัว 150–170 เซนติเมตร ความยาวหาง 220–250 เซนติเมตร น้ำหนัก 95–150 กิโลกรัม ถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดได้แก่ ละองละมั่งพันธุ์ไทยที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ละองละมั่งพันธุ์พม่า ซันไก.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและละองละมั่ง · ดูเพิ่มเติม »

ลิงกังใต้

ลิงกังใต้ หรือ ลิงกะบุด (Southern pig-tailed macaque) เป็นลิงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae) มีรูปร่างอ้วนสั้น ขนสั้นสีเทาหรือสีน้ำตาล หน้าค่อนข้างยาว ขนบนหัวสั้นมีสีเทาหรือสีน้ำตาล และขึ้นวนเป็นก้นหอย ขนตรงส่วนใต้ท้องมีสีจางจนเกือบขาว ขนบริเวณหลังเป็นสีน้ำตาลไหม้หรือดำ หางค่อนข้างสั้น ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีขนปรกหน้าผากน้อยกว่าลิงตัวผู้ อาศัยอยู่ตามป่าดิบบริเวณเชิงเขา ชอบเปลี่ยนที่อยู่ไปเรื่อย ไม่ค่อยอยู่เป็นที่ บางตัวออกหากินตัวเดียว ไม่รวมฝูง ชอบลงมาอยู่ตามพื้นดินมากกว่าอยู่บนต้นไม้ แต่เวลานอนขึ้นไปนอนบนต้นไม้ ชอบส่งเสียงร้องและมักร้องรับกันทั้งฝูง เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี ผสมพันธุ์ได้ทุกฤดู ระยะตั้งท้องประมาณ 5-7 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว และมีอายุยืนราว 25 ปี ตัวผู้หรือแต่ละตัวอาจผสมพันธุ์กับตัวอื่นได้หลายตัว และไม่อยู่เป็นคู่แน่นอน จัดเป็นลิงที่มีสมาชิกในฝูงน้อยกว่าลิงชนิดอื่น ๆ คือ มีไม่เกิน 40-45 ตัว กินอาหารจำพวกผลไม้, เมล็ดพืช และแมลงขนาดเล็ก เวลากินอาหารมักชอบเก็บไว้ข้างแก้มแล้วค่อย ๆ เอามือดันอาหารที่เก็บไว้ออกมากินทีละน้อย เดิมลิงกังใต้เคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของลิงกังเหนือ (M. leonina) แต่ปัจจุบันได้ถูกแยกให้เป็นชนิดต่างหาก พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่คอคอดกระในประเทศไทยลงไปจนถึงแหลมมลายู, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว, เกาะบังกา ในประเทศไทย ลิงกังใต้ เป็นลิงที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะมักจะถูกจับมาเลี้ยงและฝึกให้แสดงต่าง ๆ ตามคำสั่ง เช่น ละครลิง หรือปีนต้นมะพร้าวเก็บลูกมะพร้าว ที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นรู้จักกันอย่างดีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เป็นต้น ลิงกังใต้เผือกที่พบที่อำเภอรามัน สำหรับการฝึกให้เก็บมะพร้าว จะใช้ลิงตัวผู้เนื่องจากมีตัวใหญ่ เรี่ยวแรงมากกว่าลิงตัวเมีย ลิงที่จะใช้ฝึกเป็นอย่างดีอยู่ในช่วงอายุไม่เกิน 3-5 เดือน และต้องเป็นลิงนิสัยดี เชื่อฟังต่อผู้เลี้ยง มีขนเป็นมัน สุขภาพแข็งแรง ฟันไม่มีความผิดปกติ เพราะจะมีผลต่อการกัดขั้วมะพร้าว ซึ่งลิงบางตัวใช้เวลาฝึกเพียง 3 เดือนก็ใช้เก็บมะพร้าวได้แล้ว โดยการฝึกจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปทีละขั้นตอน ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มีชาวบ้านที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ได้พบลิงกังใต้เผือกตัวหนึ่ง ในป่าสวนยางแถบเทือกเขาบูโด โดยพฤติกรรมของลิงตัวนี้แปลกกว่าลิงกังใต้ป่าโดยทั่วไป กล่าวคือ ไม่ดุร้ายก้าวร้าวต่อมนุษย์ และไม่มีอาการตื่นกลัวด้วย ซึ่งผู้ที่พบได้นำขึ้นทูลเกล้าฯถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สถานะในกฎหมายปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและลิงกังใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ลิงลมใต้

ลิงลมใต้ หรือ นางอายใต้ (Sunda slow loris, Southern loris) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานร (Primates) ขนาดเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nycticebus coucang.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและลิงลมใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ลิงลมเหนือ

ลิงลมเหนือ หรือ ลิงลมเบงกอล (Bengal slow loris, Northern slow loris) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในอันดับวานร (Primates) ในวงศ์ลิงลม (Lorisidae) จัดเป็นลิงลมชนิดหนึ่ง ที่เป็นลิงลมที่พบได้ในประเทศไทยทั่วทุกภาค นอกจากลิงลมใต้ (N. coucang) ซึ่งลิงลมเหนือนับเป็นลิงลมที่เพิ่งมีการจำแนกออกเป็นชนิดใหม่ เป็นลิงลมที่มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักตัว 900-1,400 กรัม ความยาวลำตัวจากหัวและลำตัว 325-360 มิลลิเมตร ใบหูมองเห็นได้ชัดเจน โดยจะจมหายไปกับขนบนหัว สีขนมีความแตกต่างหากหลายกันไปตามสภาพพื้นที่ ตั้งแต่ สีเทาอมครีม, สีครีม, สีน้ำตาลอ่อน, สีส้มหม่น มีเส้นพาดกลางหลังสีน้ำตาลจรดหาง บนใบหน้าไม่ปรากฏเส้นพาดสีดำไปยังหูทั้ง 2 ข้าง และไปยังดวงตา 2 ข้าง เป็นลักษณะรูปคล้ายช้อนส้อม หรือถ้าปรากฏก็จะจาง ๆ ขนรอบดวงตาเป็นสีเข้ม ผิวหนังที่ขาทั้ง 4 ข้าง เป็นสีซีด พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้จนถึงภูมิภาคอินโดจีน แต่ตามกฎหมายในประเทศไทย ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหม.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและลิงลมเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ลิงอ้ายเงียะ

ลิงอ้ายเงียะ, ลิงอัสสัม หรือ ลิงภูเขา (Assam macaque) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งที่อยู่ในอันดับวานร (ไพรเมต) มีรูปร่างอ้วนเทอะทะ แขนและขาสั้น ขนตามลำตัวมีสีเหลืองปนเทา บางตัวอาจมีสีเข้มมากจนดูคล้ายสีน้ำตาลดำ ส่วนหัวไหล่ ศีรษะ และแขนจะมีสีอ่อนกว่าสีขนบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย ขนบริเวณหัวและหางมักมีสีเทา ขนที่ไหล่มีความยาวมากกว่า 8.5 เซนติเมตร ในบางฤดูกาลผิวหนังใต้ขนจะเปลี่ยนเป็นสีเทาอมฟ้า มีความยาวลำตัวและหางรวม 51-63.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 20-38 เซนติเมตร น้ำหนัก 5-10 กิโลกรัม มักอาศัยในป่าบนภูเขาสูงหรือตามที่ราบสูงซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500-3,500 เมตร ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ซึ่งมีเรือนยอดไม้สูงจากพื้นดินประมาณ 10-15 เมตร จากการศึกษาพบว่ามักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ โดยฝูงหนึ่งมีสมาชิกประมาณ 40- 60 ตัว ในระหว่างการหากินจะมีสมาชิกบางตัวทำหน้าที่ระวังภัยให้ฝูง โดยจะนั่งสังเกตการณ์อยู่บนต้นไม้ซึ่งสูงที่สุด และหากมีอันตรายเข้ามาใกล้จะส่งเสียงร้องเตือนให้หลบหนี โดยจะร้องเสียงดัง "ปิ้ว" ลิงอ้ายเงียะจัดเป็นลิงนิสัยดุร้าย สามารถกระดิกหางได้เหมือนสุนัข เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี ระยะตั้งท้องนาน 5-6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ในระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน กินอาหารประกอบไปด้วย ผลไม้ ยอดไม้อ่อน แมลง และสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า เป็นต้น มีการกระจายพันธุ์พบในเนปาล ภูฏาน สิกขิมและรัฐอัสสัมของอินเดีย ภาคใต้ของจีน ภาคเหนือของพม่า ภาคเหนือของเวียดนาม ภาคตะวันตกและภาคอีสานของไทย แบ่งเป็นชนิดย่อย 2 ชนิดได้แก่ ลิงอ้ายเงียะตะวันออก (M. a. assamensis) และลิงอ้ายเงียะตะวันตก (M. a. pelops) ซึ่งแบ่งตามสองฝั่งของแม่น้ำพรหมบุตร ลิงอ้ายเงียะในประเทศไทย ปัจจุบันนี้พบได้เพียง 9 แห่งเท่านั้น ได้แก่ วัดถ้ำปลา และวัดถ้ำผาแลนิภาราม.เชียงราย, บ้านป่าไม้.เชียงใหม่, เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล.พิษณุโลก, อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลาน.กำแพงเพชร, เขตรักษาพันธ์ป่าอุ้มผาง.ตาก, อุทยานแห่งชาติภูเขียว.ชัยภูมิ, เขื่อนเขาแหลม และ อุทยานแห่งชาติน้ำตกเอราวัณ.กาญจนบุรี ซึ่งถือว่าน้อยมาก ปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและลิงอ้ายเงียะ · ดูเพิ่มเติม »

ลิงแสม

ลิงแสม (Long-tailed macaque, Crab-eating macaque) เป็นลิงชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macaca fascicularis จัดอยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae).

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและลิงแสม · ดูเพิ่มเติม »

ลิงเสน

ลิงเสน หรือ ลิงหมี (Stump-tailed macaque, Bear macaque) เป็นลิงชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macaca arctoides จัดอยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae).

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและลิงเสน · ดูเพิ่มเติม »

ลิ่นจีน

ลิ่นจีน (อังกฤษ: Chinese pangolin; 中華穿山甲; ชื่อวิทยาศาสตร์: Manis pentadactyla) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง จำพวกลิ่น.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและลิ่นจีน · ดูเพิ่มเติม »

ลิ่นซุนดา

ลิ่นซุนดา หรือ ลิ่นมลายู หรือ ลิ่นชวา (อังกฤษ: Sunda pangolin, Malayan pangolin, Javan pangolin) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกลิ่น มีรูปร่างเหมือนลิ่นจีน (M. pentadactyla) แต่ลิ่นซุนดามีหางที่ยาวกว่าและปกคลุมด้วยเกล็ดประมาณ 30 เกล็ด และสีลำตัวจะอ่อนกว่า โดยมีสีน้ำตาลเหลืองหรือน้ำตาลเข้มและมีขนบาง ๆ ขึ้นแทรกอยู่เล็กน้อย อีกทั้งมีขนาดลำตัวและน้ำหนักมากกว่า กล่าวคือ มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 42.5-55 เซนติเมตร มีความยาวหาง 34-47 เซนติเมตร และความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ประมาณ 7.5-9 เซนติเมตร น้ำนักตัวประมาณ 5-7 กิโลกรัม มีการแพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคอินโดจีนเรื่อยจนถึงแหลมมลายูจนถึงภูมิภาคซุนดา และยังพบในหมู่เกาะฟิลิปปินส์อีกด้วย สามารถหากินได้ทั้งบนต้นไม้, พื้นดิน และใต้ดิน เนื่องจากมีเล็บและหางที่แข็งแรงสามารถใช้เกาะเกี่ยวต้นไม้ได้ดี โดยอาหารส่วนใหญ่คือ มดและปลวก ลูกลิ่นที่เกิดใหม่จะเกาะติดแม่ โดยการใช้เล็บเกาะเกี่ยวโคนหางของแม่ไว้ จะหย่านมเมื่ออายุได้ 3 เดือน โดยปกติจะอาศัยหลับนอนอยู่ตามโพรงในเวลากลางวัน โดยใช้ดินมาปิดไว้บริเวณปากโพรง เพื่อช่วยอำพรางโพรงที่มีความลึกประมาณ 3-4 เมตร เมื่อถูกรบกวนจากศัตรูหรือตกใจจะนอนขดตัวเป็นลูกกลม ๆ คล้ายลูกฟุตบอล โดยไม่มีการต่อสู้แต่อย่างใด สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกภูมิภาค และลิ่นซุนดาถือเป็นลิ่น 1 ใน 2 ชนิดเท่านั้นที่สามารถพบได้ (อีกชนิดหนึ่งนั่นคือ ลิ่นจีน) และเป็นสัตว์ที่นิยมค้าขายเป็นของผิดกฎหมาย โดยมักปรากฏเป็นข่าวอยู่เสมอ ๆ ว่า เจ้าหน้าที่สามารถจับผู้ลักลอบได้ทีละมาก ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อนำขายต่อให้ภัตตาคารหรือผู้ที่นิยมรับประทานสัตว์ป่า ทั้งนี้ลิ่นซุนดามีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 พร้อมกับลิ่นจีน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและลิ่นซุนดา · ดูเพิ่มเติม »

วัวแดง

วัวแดง เป็นวัวป่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bos javanicus รูปร่างคล้ายวัวบ้าน (B. taurus) ทั่วไป แต่มีลักษณะสำคัญที่ต่างไปจากวัวบ้านและกระทิง (B. gaurus) คือ มีวงก้นขาวทั้งในตัวผู้และตัวเมีย มีเส้นขาวรอบจมูก ขาทั้ง 4 ข้างมีสีขาวตั้งแต่หัวเข่าจนถึงกีบเท้า ระหว่างโคนขาของตัวผู้ไม่มีขน แต่เป็นหนังตกกระแข็ง ๆ เรียกว่า "กระบังหน้า" ความยาวลำตัวและหัวประมาณ 190–255 เซนติเมตร หางยาว 65–70 เซนติเมตร สูงประมาณ 155–165 เซนติเมตร และมีน้ำหนักราว 600–800 กิโลกรัม พบในพม่า, ไทย, อินโดจีน, ชวา, บอร์เนียว, เกาะบาหลี, ซาราวะก์, เซเลบีส สำหรับประเทศไทยเคยพบได้ทุกภาค วัวแดงกินหญ้าอ่อน ๆ ใบไผ่อ่อน หน่อไม้อ่อน ลูกไม้ป่าบางชนิด ใบไม้ ยอดอ่อนของพืช และดอกไม้ป่าบางชนิด ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย ได้ดังนี้.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและวัวแดง · ดูเพิ่มเติม »

วาฬบรูด้า

วาฬบรูด้า หรือ วาฬแกลบ (Bryde's whale, Eden's whale; ชื่อวิทยาศาสตร์: Balaenoptera edeni) เป็นวาฬขนาดใหญ่ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์ Balaenopteridae โดยชื่อ วาฬบรูด้า เป็นการตั้งเพื่อให้เป็นเกียรติ แก่กงสุลชาวนอร์เวย์ ในประเทศแอฟริกาใต้ ที่ชื่อโยฮัน บรูด้.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและวาฬบรูด้า · ดูเพิ่มเติม »

วาฬฟิน

วาฬฟิน (fin whale, finback whale, common rorqual) เป็นวาฬขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์วาฬอกร่อง (Balaenopteridae) วาฬฟินจัดเป็นวาฬขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองมาจากวาฬสีน้ำเงิน (B. musculus) ที่อยู่ในสกุลและวงศ์เดียวกัน มีขนาดโตเต็มที่ยาวถึง 27 เมตร น้ำหนักมากกว่า 75 ตัน ขนาดลูกแรกเกิดยาว 6-6.5 เมตร มีลักษณะเด่น คือ สีด้านหลังสีดำ ด้านท้องสีขาวตัดกันชัดเจน มีซี่กรองอาหารจำนวน 240-480 แผง บนขากรรไกรบนแต่ละข้าง ร่องใต้คางมีจำนวน 50-100 ร่อง วาฬฟินพบได้ในทะเลเปิดและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และมีหลักฐานที่พบเพียงตัวอย่างเดียว เป็นซากโครงกระดูกขุดพบเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม..

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและวาฬฟิน · ดูเพิ่มเติม »

วาฬสเปิร์ม

วาฬสเปิร์ม หรือ วาฬหัวทุย (Sperm whale) เป็นวาฬขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นวาฬมีฟัน (Odontoceti) ชนิดที่ใหญ่ที่สุด วาฬสเปิร์มมีลักษณะเด่น คือ มีส่วนหัวใหญ่และยาวมากเกือบร้อยละ 40 ของลำตัว ลำตัวสีเทาดำผิวหนังเป็นรอยย่นตลอดลำตัว ส่วนหน้าผากตั้งฉากตรงขึ้นจากปลายปากบน และเป็นแนวหักลาดไปทางส่วนหลัง ท่อหายใจรูเดียว อยู่ส่วนบนเยื้องไปด้านซ้ายของหัวครีบหลัง มีลักษณะเป็นสันนูนขึ้นมาตั้งอยู่ค่อนไปทางท้ายลำตัว และมีสันเป็นลอน ๆ ไปจนเกือบถึงโคนหาง ครีบข้างค่อนข้างเล็กปลายมนเหมือนใบพาย ไม่มีครีบหลัง ขากรรไกรล่างแคบยาวและเล็กมากเมื่อเทียบกับส่วนหัว ฟันเป็นเขี้ยวจำนวน 16-30 คู่ บนขากรรไกรล่าง ขากรรไกรบนไม่มีฟัน แต่จะมีช่องสำหรับรองรับฟันล่างเวลาหุบปากเท่านั้น อย่างไรก็ตามอาจพบฟัน 10-16 คู่ ในกระดูกขากรรไกรบนของวาฬที่มีอายุมาก ๆ นอกจากนี้แล้วบริเวณรอบ ๆ ปากจะเป็นสีขาว ซึ่งเชื่อกันว่าในที่ ๆ น้ำลึกสีขาวนี้จะเรืองแสงในความมืด ใช้เป็นเครื่องล่อเหยื่อต่าง ๆ ของวาฬสเปิร์ม มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 15-20 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 3.5-4.5 เมตร แม่วาฬใช้เวลาตั้งท้องนาน 16-17 เดือน ลูกจะอาศัยอยู่กับแม่เป็นเวลาประมาณ 13 เดือนจึงแยกออกหากินอิสระ ขนาดโตเต็มที่ยาว 12-18 เมตร น้ำหนักมากถึง 28 ตัน วาฬสเปิร์ม เป็นวาฬที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง และเป็นวาฬชนิดที่ดำน้ำได้ลึกที่สุด มีรายงานว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 1,000 เมตร โดยใช้เวลาประมาณ 40 นาที มีรายงานจากการติดตามวาฬที่ติดเครื่องหมายด้วยระบบโซน่า พบว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 2,800-3,000 เมตร โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง จากการสูดหายใจเพียงครั้งเดียวที่ผิวน้ำที่มีแรงกดดันเท่ากับที่มนุษย์หายใจ ซึ่งในระดับความลึกกว่า 1,000 เมตร แรงกดของอากาศมากกว่าที่ผิวน้ำ 100 เท่า บีบอัดปอดของวาฬให้เหลือเพียงร้อยละ 1 ของปริมาตรทั้งหมด แต่ขณะที่ยังเป็นวาฬวัยอ่อนอยู่ จะยังไม่สามารถดำน้ำลึกได้เหมือนตัวที่โตเต็มวัย นอกจากนี้แล้ววาฬสเปิร์มยังเป็นวาฬชนิดที่ชอบกินหมึกเป็นอาหารมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีความยาวได้ถึง 14 เมตร ในระดับความลึกระดับ 1,000 เมตร หรือหมึกกล้วยยักษ์ (Architeuthis dux) ที่มีขนาดรองลงมา โดยอาจยาวได้ถึง 12 เมตร โดยมีการพบซากจะงอยปากของหมึกในกระเพาะของวาฬสเปิร์ม ซึ่งวาฬบางตัวจะมีผิวหนังที่เป็นรอยแผลจากปุ่มดูดของหนวดหมึกปรากฏอยู่ รอยแผลเป็นบนผิวหนังวาฬสเปิร์มจากปุ่มดูดของหมึกมหึมา วาฬสเปิร์ม เป็นวาฬที่พบได้ในทะเลและมหาสมุทรทั่วโลก ในน่านน้ำไทยพบรายงานเพียง 3 จังหวัด คือ พังงา, ภูเก็ต และสตูล และถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย วาฬสเปิร์ม นับเป็นวาฬอีกชนิดหนึ่งที่ถูกล่าจากมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยการนำเขี้ยวและฟันมาเป็นทำเครื่องประดับ ไขมันในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เนื้อสำหรับรับประทาน นอกจากนี้แล้วอาเจียนหรือมูลของวาฬสเปิร์มยังมีลักษณะแข็งเหมือนอำพัน และมีกลิ่นหอมเป็นลักษณะพิเศษ เป็นของหายาก ราคาแพง ใช้เป็นส่วนสำคัญในการผลิตหัวน้ำหอมและยาไทยได้ด้วย เรียกว่า "อำพันขี้ปลา" หรือ "อำพันทะเล" หรือ "ขี้ปลาวาฬ" และที่ส่วนหัวยังมีสารพิเศษคล้ายไขมันหรือขี้ผึ้ง เรียกว่า "ไขปลาวาฬ" ซึ่งใช้ในการผลิตโลชั่น และเวชภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ซึ่งวาฬสเปิร์มได้ถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงระดับโลก คือ "โมบิดิก" ของเฮอร์มัน เมลวิลล์ ในปี ค.ศ. 1855 ที่เป็นเรื่องราวของการล่าวาฬสเปิร์มเผือกตัวหนึ่งที่มีนิสัยดุร้าย ชื่อ โมบิดิก หรือในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง "พินอคคิโอ" ที่ตอนท้ายเรื่องพินอคคิโอผจญภัยเข้าไปอยู่ในท้องของวาฬ ซึ่งก็คือ วาฬสเปิร์ม เป็นต้น ในปัจจุบัน มีผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า วาฬสเปิร์มรวมถึงวาฬชนิดอื่น ๆ มีขนาดลำตัวที่เล็กลงจากอดีต บ่งบอกว่าเป็นสัตว์ที่อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ โดยเฉพาะวาฬสเปิร์มนั้นในปี..

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและวาฬสเปิร์ม · ดูเพิ่มเติม »

วาฬสเปิร์มแคระ

วาฬสเปิร์มแคระ หรือ วาฬหัวทุยแคระ (Dwarf sperm whale) เป็นวาฬขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดเป็น 1 ใน 2 ชนิดเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์วาฬสเปิร์มเล็ก (Kogiidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายวาฬสเปิร์มเล็ก (K. breviceps) ที่อยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกัน แต่มีจำนวนฟันน้อยกว่าและมีครีบหลังสูงกว่าเล็กน้อย (ประมาณร้อยละ 5 ของความยาวลำตัว) ลำตัวสีเทาดำท้องขาว ปากขนาดเล็กด้านอยู่ล่าง ลักษณะแคบ มีฟันเป็นเขี้ยวแหลมโค้งจำนวน 7-11 คู่บนขากรรไกรล่าง ขากรรไกรบนไม่เห็นฟันออกมา แต่ในบางตัวที่มีอายุมาก ๆ จะมีฟันซ่อนอยู่ใต้เหงือก ลูกแรกเกิดยาวประมาณ 1 เมตร ขนาดโตเต็มที่ยาวเพียง 2.7 เมตร น้ำหนักประมาณ 210 กิโลกรัม จัดเป็นวาฬขนาดเล็กชนิดหนึ่ง กินอาหารได้แก่ กุ้ง, หมึก และปลา พบกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรทั่วโลก ปกติจะอาศัยอยู่เป็นฝูงในทะเลเปิด จะเข้าใกล้ชายฝั่งเมื่อเวลาป่วยหรือใกล้ตายเท่านั้น ในน่านน้ำไทยพบรายงานเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น คือ ที่จังหวัดภูเก็ต ในปี พ.ศ. 2530, จังหวัดสตูล ในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเกยตื้นเป็นคู่แม่ลูก, ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2551 ที่หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต เป็นซากตัวเมียเกยตื้น อายุราว 2 ปี หลังจากผ่าพิสูจน์การตายในช่องท้องแล้วพบว่า กินถุงพลาสติกและเศษขยะเข้าไปเป็นจำนวนมาก และในปลายปี พ.ศ. 2557 ที่อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นซากตัวเมียเกยตื้น มีความยาว 2.12 เมตร น้ำหนักกว่า 100 กิโลกรัม เมื่อผ่าพิสูจน์ซากแล้ว พบว่ามีทรายทะเลอุดอยู่ในหลอดอาหาร และที่ช่องกล้ามเนื้อด้านขวา และส่วนหัวมีตัวพยาธิอยู่จำนวนหนึ่ง โดยพยาธิแต่ละตัวมีลักษณะคล้ายหลอดน้ำแข็ง มีความยาวเฉลี่ยตัวละ 40-48 เซนติเมตร จึงสันนิษฐานว่า วาฬตัวดังกล่าวมีความอ่อนแอและป่วยอยู่แล้วจากพยาธิ เมื่อเข้ามาเกยตื้นจึงตาย เมื่อทรายที่ชายหาด ซัดเข้าไปในปากอุดหลอดอาหารจนตาย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและวาฬสเปิร์มแคระ · ดูเพิ่มเติม »

วาฬสเปิร์มเล็ก

วาฬสเปิร์มเล็ก หรือ วาฬหัวทุยเล็ก (Pygmy sperm whale) เป็นวาฬขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์วาฬสเปิร์มเล็ก (Kogiidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายวาฬสเปิร์ม (Physeter macrocephalus) แต่ตัวมีขนาดเล็กกว่ามาก ครีบหลังเป็นกระโดงขนาดเล็กเมื่อเทียบกับความยาวลำตัวแล้วน้อยกว่าร้อยละ 5 ส่วนหลังสีน้ำเงินดำหัวกลม ส่วนท้องสีขาวบางครั้งอมชมพูช่อง หายใจอยู่ด้านบนเยื้องทางซ้ายนิดหน่อย ขากรรไกรล่างเล็กแคบมีลักษณะคล้ายปากฉลาม คือ เป็นรูปสามเหลี่ยม ฟันลักษณะแหลมโค้งจำนวน 12-16 คู่ บนขากรรไกรล่างส่วนขากรรไกรบนจะไม่เห็นฟันงอกออกมา แต่จะมีร่องรับพอดีกับฟันล่างเวลาหุบปาก ส่วนหัวด้านข้างมีแนวสีเข้มเป็นรูปโค้งคล้ายแก้มปิดเหงือกของปลา ซึ่งเรียกแนวนี้ว่า "เหงือกปลอม" (False gill) ซึ่งมีเฉพาะวาฬในวงศ์นี้เท่านั้น ขนาดโตเต็มที่ยาวได้ 3.4 เมตร น้ำหนักมากถึง 400 กิโลกรัม ลูกแรกเกิดยาวประมาณ 1.2 เมตร ตั้งท้องประมาณ 11 เดือน พบในทะเลเปิดและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ในประเทศไทยพบมีรายงานเพียง 5 จังหวัด คือ จังหวัดชุมพร, พังงา, ภูเก็ต, ระยอง และสงขลา จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย วาฬสเปิร์มเล็ก ในอดีตเคยเป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นชนิดเดียวกันกับวาฬสเปิร์มหรือไม่ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1966 สถาบันสมิธโซเนียนแห่งสหรัฐอเมริกาได้ข้อยุติว่าเป็นคนละชนิดกัน โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์ของวาฬสเปิร์มเล็กถูกตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1838 โดย อองรี มารี ดูโครแตร์ เดอ แบลงวิลล์ นักสัตววิทยาชาวฝรั่ง.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและวาฬสเปิร์มเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

วาฬเพชฌฆาต

วาฬเพชฌฆาต หรือ วาฬออร์กา (Killer whale, Orca) เป็นสปีชี่ส์ที่ใหญ่ที่สุดในในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) สามารถพบเห็นได้ในมหาสมุทรทั่วโลก ตั้งแต่แถบอาร์กติกและแอนตาร์กติกา จนถึงทะเลในแถบเขตร้อน จนอาจเรียกได้ว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถพบเห็นได้ทั่วโลกมากที่สุดนอกเหนือจากมนุษ.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและวาฬเพชฌฆาต · ดูเพิ่มเติม »

วาฬเพชฌฆาตแปลง

วาฬเพชฌฆาตแปลง หรือ วาฬเพชฌฆาตเทียม หรือ วาฬเพชฌฆาตดำ หรือ โลมาเพชฌฆาตแปลง (False killer whale) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphindae) เป็นวาฬมีฟัน หรือโลมาขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pseudorca มีลักษณะลำตัวยาวสีดำคล้ายกันมากกับวาฬนำร่องครีบสั้น (Globicephala macrorhynchus) ต่างกันที่ลักษณะครีบหลังตั้งอยู่กึ่งกลางลำตัว (วาฬนำร่องครีบสั้นจะตั้งเยื้องมาทางส่วนหัว) และส่วนหัวไม่โหนกมากปลาวาฬนำร่องครีบสั้นสีดำทั้งตัว ส่วนท้องจะเทาจางเล็กน้อยครีบข้างโค้งหักข้อศอกเรียวยาวค่อนข้างแหลม หน้าผากกลมมนไม่มีจะงอยปาก มีจำนวนฟันทั้งหมด 7-12 คู่ ในปาก มีขนาดโตเต็มที่ยาวถึง 6 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 1.5-2 เมตร การตั้งท้องใช้เวลา 12-14 เดือน นอกจากนี้แล้วในธรรมชาติยังพบมีการผสมข้ามพันธุ์กับโลมาปากขวด (Tursiops truncatus) ด้วย โดยลูกที่ได้เรียกว่า "วูลฟิน" เป็นโลมาที่พบกระจายพันธุ์ทั่วทั้งโลก โดยมากจะอยู่รวมเป็นฝูงในทะเลใกล้ชายฝั่ง ในประเทศไทยมีรายงานพบในหลายจังหวัดทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและวาฬเพชฌฆาตแปลง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์พังพอน

ระวังสับสนกับ: วงศ์เพียงพอน วงศ์พังพอน (mongoose; ไทยถิ่นเหนือ: จ่อน) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Herpestidae เดิมเคยถูกรวมเป็นวงศ์เดียวกับ วงศ์ Viverridae หรือ วงศ์ชะมดและอีเห็น.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและวงศ์พังพอน · ดูเพิ่มเติม »

สมัน

มัน หรือ ฉมัน หรือ เนื้อสมัน หรือ กวางเขาสุ่ม (Schomburgk's deer) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rucervus schomburgki เป็นกวางขนาดกลาง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ท้องมีสีอ่อนกว่า ริมฝีปากล่างและด้านล่างของหางเป็นสีขาว มีลักษณะเด่นคือ ตัวผู้จะมีเขาแตกแขนงออกไปมากมายเหมือนกิ่งไม้ แลดูสวยงาม จึงได้ชื่อว่าเป็นกวางที่มีเขาสวยที่สุดในโลก มีกิ่งรับหมาหรือกิ่งเขาที่ยื่นออกไปข้างหน้ายาวกว่ากิ่งรับหมาของกวางชนิดอื่น ๆ สมันมีความยาวลำตัว 180 เซนติเมตร ความยาวหาง 10 เซนติเมตร มีความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 100-110 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 100-120 กิโลกรัมสมันนั้นวิ่งเร็วประมาณ 100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง มีการกระจายพันธุ์เฉพาะในที่ราบลุ่มภาคกลางของไทยเท่านั้น รวมถึงบริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบันด้วย โดยอาศัยอยู่ในที่ทุ่งโล่งกว้าง ไม่สามารถหลบหนีเข้าป่าทึบได้เนื่องจากกิ่งก้านของเขาจะไปติดพันกับกิ่งไม้ จึงเป็นจุดอ่อนให้ถูกล่าได้อย่างง่ายดาย ในสมัยอดีต ชาวบ้านจะล่าสมันด้วยการสวมเขาปลอมเป็นตัวผู้เพื่อล่อตัวเมียออกมา จากนั้นจึงใช้ปืนหรือหอกพุ่งยิง ปัจจุบัน สมันสูญพันธุ์แล้ว สมันในธรรมชาติตัวสุดท้ายถูกนายตำรวจคนหนึ่งยิงตายเมื่อ พ.ศ. 2475 ที่จังหวัดกาญจนบุรี สมันตัวสุดท้ายในที่เลี้ยงถูกชายขี้เมาตีตายที่วัดแห่งหนึ่งในตำบลมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อ พ.ศ. 2481 ในปี พ.ศ. 2534 มีรายงานว่าพบซากเขาสมันสดขายในร้านขายยาใจกลางเมืองพงสาลี และแขวงหลวงพระบาง ทางภาคเหนือของลาว ทำให้สันนิษฐานว่าอาจจะมีสมันหลงเหลืออยู่ในประเทศลาวก็เป็นได้ แต่เรื่องนี้ยังไม่มีหลักฐานยืนยันเพียงพอ โดยที่ทั้งชื่อสามัญในภาษาอังกฤษและชื่อวิทยาศาสตร์ของสมันตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์โรเบิร์ต แฮร์มันน์ โชมบวร์ก ผู้เป็นกงสุลอังกฤษประจำราชอาณาจักรสยามที่นำสมันเข้าไปเผยแพร่ในยุโรปเป็นคนแรก.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและสมัน · ดูเพิ่มเติม »

สมเสร็จมลายู

มเสร็จมลายู หรือ สมเสร็จเอเชีย (Malayan tapir, Asian tapir) บ้างเรียก ผสมเสร็.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและสมเสร็จมลายู · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์กินเนื้อ

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและสัตว์กินเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์กีบคี่

ัตว์กีบคี่ หรือ เพอริสโซแดกทีลา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Perissodactyla) เป็นอันดับทางชีววิทยา จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นอันดับหนึ่งใน 18 อันดับของชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Hippomorpha ปัจจุบันเหลือเพียงสองวงศ์คือ: Tapiridae และ Rhinocerotidae วงศ์ทั้งสามที่เหลือจัดจำแนกดังข้างล่าง.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและสัตว์กีบคี่ · ดูเพิ่มเติม »

หมาหริ่งพม่า

หมาหริ่งพม่า (อังกฤษ: Ferret badger, Burmese ferret-badger, Large-toothed ferret-badger) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีรูปร่างหน้าตาคล้ายเพียงพอนผสมกับหมูหริ่ง คือ มีลำตัวยาวและมีขาสั้นเหมือนพวกเพียงพอน แต่หน้าแหลมยาวเหมือนหมูหริ่ง สีขนตามลำตัวมีสีเทาเข้มหรือน้ำตาล ขนหัวมีสีดำและมีแถบสีขาวพาดยาวมาถึงบริเวณใบหน้าและลำคอ มีเล็บแหลมคม และยาวใช้สำหรับการขุดดินสร้างรัง และใช้ในการจับเหยื่อ มีอุ้งเท้าที่เหมาะสมต่อการปีนต้นไม้ หางยาวเกือบครึ่งหนึ่งของลำตัว และบริเวณปลายหางมีสีขาว มีความยาวลำตัวและหัว 33-39 เซนติเมตร ความยาวหาง 14-20 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม การกระจายพันธุ์พบตั้งแต่ตะวันออกของเนปาล, อินเดีย, พม่า, ไทย, ลาว, เวียดนาม มีพฤติกรรมสามารถอาศัยอยู่ได้ในหลายสภาพแวดล้อม ทั้งนาข้าว, ทุ่งหญ้า ไปจนถึงป่าสมบูรณ์ กินอาหารได้หลายประเภท แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หอย, กุ้ง, ปู, แมลง, ไส้เดือน, สัตว์เลื้อยคลาน หรือไข่นกที่ทำรังตามพื้นดิน เป็นต้น ออกหากินตามลำพังในเวลากลางคืน นอนหลับในโพรงไม้หรือโพรงดินในเวลากลางวัน ผสมพันธุ์ในเดือนมิถุนายน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว ปัจจุบัน เป็นสัตว์หายากมาก ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 จัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหมาหริ่งพม่า · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอกทอง

หมาจิ้งจอกทอง หรือ หมาจิ้งจอกเอเชีย (pmc Reed wolf) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canis aureus ในวงศ์สุนัข (Canidae) และถึงแม้ว่าจะได้ชื่อสามัญว่าในภาษาไทยว่า "หมาจิ้งจอก" แต่ก็มิได้เป็นหมาจิ้งจอกแท้ ๆ เพราะมิได้อยู่ในสกุล Vulpini แต่จัดเป็นหมาป่าที่มีขนาดเล็ก (แจ็กคัล) กว่าหมาใน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหมาจิ้งจอกทอง · ดูเพิ่มเติม »

หมาใน

หมาใน, หมาป่าเอเชีย หรือ หมาแดง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuon alpinus ในวงศ์สุนัข (Canidae) เป็นหมาป่าที่มีขนาดใหญ่กว่าหมาจิ้งจอก จมูกสั้น ใบหูกลมมีขนาดใหญ่ ขนตามลำตัวค่อนข้างสั้นมีสีน้ำตาลแดง สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่าบริเวณหลัง หางยาวเป็นพวง ปลายหางมีสีเทาเข้มหรือดำ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยูในสกุล Cuon มีความยาวลำตัวและหัว 80–90 เซนติเมตร ความยาวหาง 30.5–34.5 เซนติเมตร น้ำหนักในเพศผู้ 10–21 กิโลกรัม เพศเมีย 10–13 กิโลกรัม หมาในมีฟันที่แข็งแรงแต่มีฟันกรามล่างเพียงข้างละ 2 ซี่เท่านั้น ซึ่งต่างจากสัตว์ในวงศ์สุนัขชนิดอื่น ๆ มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง ทำให้มีชนิดย่อย ถึง 11 ชนิด พบตั้งแต่ภาคใต้ของไซบีเรีย เรื่อยมาจนถึงคาบสมุทรเกาหลี, เนปาล, อินเดีย, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และเกาะชวาในอินโดนีเซีย มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ โดยฝูงหนึ่ง ๆ มีสมาชิกตั้งแต่ 6–12 ตัว โดยสมาชิกแต่ละตัวจะมีหน้าที่ช่วยกันล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ เช่น กระทิง ควายป่า หรือ กวางป่า มีความเชื่อว่า ก่อนล่าเหยื่อจะปัสสาวะรดพื้นหรือใบไม้เมื่อเหยื่อดมถูกจะเกิดความหวาดกลัวจนยืนแข็งทำอะไรไม่ถูก จึงเชื่อว่า สามารถทำให้เหยื่อตาบอดได้ด้วยวิธีนี้ ฝูงหมาในมีความใกล้ชิดกันทางสายเลือด ภายในกลุ่มมีสมาชิกตั้งแต่ 2–3 ครอบครัว ออกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน แต่ในบางครั้งอาจล่าในเวลากลางคืนหรือพลบค่ำหรือเช้าตรู่ได้ อาหารโดยปกติ ได้แก่ สัตว์กินพืชขนาดใหญ่ เช่น กวางป่า, เก้ง และกระต่ายป่า แต่ในบางสถานการณ์ที่อาหารขาดแคลน อาจกินลูกตัวเองเป็นอาหารได้ หมาในระบบประสาทหู ตา และการดมกลิ่นที่ดีเยี่ยม สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 9 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 8–10 ตัว ตามโพรงดินหรือในถ้ำที่ปลอดภัย แม่หมาในมีเต้านม 8 คู่ ลูกที่เกิดใหม่จะมีสีขนสีน้ำตาลเทา มีอายุในที่เลี้ยงประมาณ 16 ปี ในธรรมชาติราว 10 ปี ฝูงหมาในล่ากวางป่า ที่อุทยานแห่งชาติบันดิเปอร์ ประเทศเนปาล สถานภาพในประเทศไทย เป็นหมาป่า 1 ใน 2 ชนิดที่สามารถพบได้ในประเทศไทย (อีกหนึ่งชนิด คือ หมาจิ้งจอก) จากเดิมที่เคยพบในป่าทั่วประเทศ ปัจจุบันเชื่อว่าเหลือเพียงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เท่านั้น และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหมาใน · ดูเพิ่มเติม »

หมาไม้

หมาไม้ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่งในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีรูปร่างคล้ายพญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) มีลักษณะเด่นคือ ตั้งแต่ใต้คอลงไปถึงหน้าอกมีสีเหลือง ส่วนหัวด้านบนมีสีดำ ขาสั้นเมื่อเทียบกับขนาดตัว ตัวผู้มีฟันเขี้ยวขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย หางยาวพอ ๆ กับความยาวลำตัว หมาไม้ชนิดย่อยที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของทวีปเอเชียจะมีขนาดใหญ่กว่าชนิดที่อาศัยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีความยาวลำตัวและหัว 45–60 เซนติเมตร ความยาวหาง 38–43 เซนติเมตร น้ำหนัก 2–3 กิโลกรัม หมาไม้เป็นสัตว์ที่มีกลิ่นตัวแรงมาก มีความคล่องแคล่วปราดเปรียวมาก สามารถหากินได้ทั้งบนต้นไม้และพื้นดิน กินอาหารได้หลากหลายประเภททั้งพืชและสัตว์ ทั้งสัตว์ฟันแทะ, แมลง, สัตว์เลื้อยคลาน, นก หรือ ไข่นก บางครั้งอาจเข้ามาหาอาหารที่นักท่องเที่ยวป่าทิ้งไว้ตามเต๊นท์ นอกจากนี้ยังสามารถกินผึ้งและน้ำผึ้งเหมือนหมีได้อีกด้วย มักหากินในเวลากลางวัน แต่บางครั้งอาจหากินในเวลากลางคืน มักจะหากินแต่เพียงลำพังหรือเป็นคู่ไม่มากกว่านั้น หมาไม้ตัวเมียจะตั้งท้องนาน 220–290 วัน ออกลูกครั้งละ 3–5 ตัว อายุขัยในสถานที่เลี้ยงประมาณ 14 ปี เป็นสัตว์ที่มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทางตะวันออกของอัฟกานิสถาน, ภาคเหนือของปากีสถาน, รัฐแคชเมียร์และรัฐอัสสัมของอินเดีย, ภาคเหนือของพม่า, ภาคใต้และภาคตะวันออกของจีน, ไต้หวัน, ไทย, ลาว, ตอนเหนือของกัมพูชา, ภาคเหนือและภาคกลางของเวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว สถานะของหมาไม้ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหมาไม้ · ดูเพิ่มเติม »

หมูหริ่ง

หมูหริ่ง, หมูหรึ่ง หรือ หมูดิน (hog badger, Indian badger) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arctonyx collaris อยู่ในวงศ์ Mustelidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเพียงพอนหรือวีเซล โดยที่หมูหริ่งอยู่ในสกุล Arctonyx นับเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหมูหริ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หมูป่า

หมูป่า เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ เป็นต้นสายพันธุ์ของหมูบ้านในปัจจุบัน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหมูป่า · ดูเพิ่มเติม »

หมีหมา

หมีหมา หรือ หมีคน (Malayan sun bear, Honey bear;; อีสาน: เหมือย).

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหมีหมา · ดูเพิ่มเติม »

หมีขอ

หมีขอ หรือ บินตุรง หรือ หมีกระรอก (Binturong, Bearcat;; อีสาน: เหง็นหางขอ, เหง็นหมี) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แม้จะมีหน้าตาคล้ายหมีจนได้ชื่อว่าหมี แต่เป็นสัตว์จำพวกชะมดและอีเห็น (Viverridae) ที่ใหญ่ที่สุด จัดเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวในสกุล Arctictis มีหางยาวเป็นพวงคล้ายกระรอก ขนตามลำตัวค่อนข้างยาวสีดำและหยาบ สีขนบริเวณหัวอาจมีสีเทา หูกลม บริเวณขอบหูมีสีขาว หางที่ยาวสามารถใช้เกาะเกี่ยวต้นไม้ได้เป็นอย่างดี มีความยาวลำตัวและหัว 61-96.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 50-84 เซนติเมตร น้ำหนัก 9-20 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูฐาน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ภาคตะวันตกของพม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, พรมแดนระหว่างเวียดนามติดกับลาวและกัมพูชา, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียวในอินโดนีเซีย และเกาะปาลาวันในฟิลิปปินส์ หมีขอเป็นสัตว์หากินในเวลากลางคืน อาศัยและหากินตามลำพัง แต่ในบางครั้งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประกอบไปด้วย แม่และลูก ในเวลากลางวันจะอาศัยโพรงไม้เป็นที่หลับนอน อาหารได้แก่ ผลไม้และสัตว์ที่มีขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ บนต้นไม้ทั้งแมลงและสัตว์เลื้อยคลาน ปีนต้นไม้ได้เก่งมาก โดยใช้หางที่ยาวเกาะเกี่ยวกิ่งไม้จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง นอกจากนี้ยังสามารถว่ายน้ำได้อีกด้วย มีการผสมพันธุ์กันได้ตลอดทั้งปี ใช้เวลาตั้งท้องนาน 92 วัน ออกลูกครั้งละ 1-3 ตัว หมีขอตัวเมียจะมีเต้านมทั้งหมด 2 คู่ ลูกที่เกิดใหม่ยังไม่สามารถขาและหางเกี่ยวกิ่งไม้ได้ชำนาญเหมือนตัวพ่อแม่ หมีขอเป็นสัตว์ที่เลี้ยงตั้งแต่เล็กแล้วจะเชื่อง จนสามารถนำมาฝึกให้แสดงโชว์ต่าง ๆ ได้ตามสวนสัตว์ สถานะปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหมีขอ · ดูเพิ่มเติม »

หมีควาย

หมีควาย หรือ หมีดำเอเชีย (Asian black bear, Asiatic black bear) จัดเป็นหมี 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย (อีกหนึ่งคือ หมีหมา (U. malayanus)).

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหมีควาย · ดูเพิ่มเติม »

หนูบ้าน

หนูบ้าน, หนูนอร์เวย์, หนูสีน้ำตาล หรือ หนูท่อ เป็นหนูชนิดที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด เพราะเป็นหนูชนิดที่กระจายพันธุ์ไปอยู่ทั่วโลก พบได้ทุกสภาพแวดล้อม รวมถึงบ้านเรือนที่อาศัยของมนุษย์ สันนิษฐานว่าหนูบ้านกระจายพันธุ์มาจากประเทศนอร์เวย์ในภูมิภาคสแกนดิเนเวียที่เป็นแหล่งกำเนิดดั้งเดิม ไปทั่วทุกมุมโลกจากการติดไปกับเรือขนส่งสินค้าในยุควิคตอเรีย ซึ่งมันสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทุกรูปแบบได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีอัตราการสืบพันธุ์ที่สูงและทักษะในการเอาตัวรอดที่เยี่ยมอีกด้วย หนูบ้านจัดได้ว่าเป็นหนูชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Rattus มีน้ำหนักโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 300-350 กรัม (ในบางตัวอาจหนักได้ถึง 400 กรัม) ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 180-250 มิลลิเมตร หางยาวประมาณ 150-220 มิลลิเมตร เท้าหลังยาวประมาณ 35-40 มิลลิเมตร หูยาวประมาณ 17-23 มิลลิเมตร ลักษณะขนหยาบมีสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีเทา ส่วนจมูกทู่ ใบหูเล็ก ตาเล็ก หางสั้นมี 2 สี ด้านบนสีดำ ด้านล่างสีจาง มีเกล็ดหยาบ ๆ ที่หาง และด้านบนของเท้าหลังมีสีขาว มีเต้านมรวม 6 คู่ อยู่ที่อก 3 คู่ ท้อง 3 คู่ ถ้าอยู่ในชุมชนของมนุษย์ มักอยู่ตามรูท่อระบายน้ำ ใต้ถุนตึกหรือบ้านเรือน บริเวณลำคลอง กองขยะหรือตลาดสด สามารถผสมพันธุ์และออกลูกได้ตลอดทั้งปี โดยออกลูกปีละ 4-7 ครอก ลูกหนึ่งครอกมีจำนวน 8–12 ตัว เริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3-5 เดือน เมื่อผสมแล้วจะตั้งท้องเพียง 21-22 วัน เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้แทบทุกอย่างและกินไม่เลือก รวมถึงมีพฤติกรรมกินซากพวกเดียวกันเองด้วย แม้จะไม่พบบ่อยมากนัก มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 2 ปี ให้ลูกได้ตลอดทั้งชีวิต 6-10 ครอก จัดเป็นสัตว์ที่สร้างความรำคาญและเป็นพาหะนำโรคระบาดร้ายแรงที่ทำให้ถึงชีวิตมาสู่มนุษย์ได้อย่างมากที่สุดชนิดหนึ่ง เช่น กาฬโรค ที่เคยระบาดอย่างรุนแรงมาแล้วในทวีปยุโรปในยุคกลาง ที่เรียกว่า ความตายสีดำ (Black Death) และโรคอื่น ๆ อีก เช่น โรคฉี่หนู หรือ เลปโตสไปโรซ.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหนูบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

หนูฟานเหลือง

หนูฟานเหลือง (Red spiny rat, Yellow rajah rat) เป็นหนูชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Murinae ในวงศ์ใหญ่ Muridae หนูฟานเหลือง เป็นหนูขนาดกลาง มีจมูกยาว ขนมีความอ่อนนุ่ม ด้านหลังมีขนแข็งแซมสีดำ ทำให้ขนบริเวณหลังมีสีน้ำตาลเหลืองปนดำ ด้านท้องสีขาว หางมีสีค่อนข้างดำ ปลายหางสีขาว ตัวเมียมีเต้านม 4 คู่ มีขนาดความยาวตั้งแต่หัวจรดโคนหาง 18.8 เซนติเมตร และความยาวหาง 18.5 เซนติเมตร มีน้ำหนักราว 155 กรัม หนูฟานเหลือง จัดได้ว่าเป็นหนูที่มีความเชื่องช้า หากินตามพื้นดินในเวลากลางคืน โดยไม่ขึ้นต้นไม้ กินอาหารแทบทุกอย่างที่พบได้ตามพื้นดิน ผสมพันธุ์และออกลูกในช่วงฤดูฝนครั้งละ 4-6 ตัว ตั้งท้องนาน 28 วัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ในป่าดิบ, ป่าละเมาะ และแม้แต่สวนผลไม้ แต่จะหาได้ยากตามบ้านเรือน ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภูม.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหนูฟานเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

หนูหริ่งบ้าน

หนูหริ่งบ้าน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ในวงศ์หนู (Muridae) หนูหริ่งบ้านจัดเป็นหนูที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่ทั้งตัวผู้และตัวเมียประมาณ 30-40 กรัม มีขนสีน้ำตาลอ่อนตลอดทั้งลำตัว ส่วนท้องสีขาว ไม่มีขนที่หาง ขาหน้ามี 4 นิ้ว ขาหลังมี 5 นิ้ว ตัวเมียมีเต้านม 10 เต้า มีอายุขัยประมาณ 1.5-3 ปี หนูหริ่งบ้านเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไว ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารได้แทบทุกอย่างเช่นเดียวกับหนูทั่วไป และจัดเป็นหนูอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ตามบ้านเรือนของมนุษย์ มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก โดยพบแทบทุกมุมของโลกและทุกทวีป แต่เชื่อว่า ดั้งเดิมเป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ก่อนจะกระจายไปทั่วโลกอย่างในปัจจุบัน หนูหริ่งบ้านเป็นหนูชนิดที่ได้รับความนิยมในการนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง โดยมีการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์โดยชาวจีนและชาวญี่ปุ่นจนกลายเป็นหนูเผือกทั้งตัว ตาสีแดง และพัฒนาจนเป็นสีต่าง ๆ ตามลำตัว โดยแรกเรี่มเลี้ยงกันในพระราชวัง และเป็นหนูชนิดที่นิยมเป็นสัตว์ทดลองและเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงแก่สัตว์เลื้อยคลาน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหนูหริ่งบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

หนูผีบ้าน

หนูผีบ้าน (Asian house shrew, Grey musk shrew, Asian musk shrew) เป็นหนูผีชนิดหนึ่ง มีสีขนและหางสีเทาอมดำตลอดตัว จมูกยื่นแหลมยาว ตามีขนาดเล็กมาก มีความยาวตั้งแต่ปลายจมูกถึงรูทวารประมาณ 9-14.5 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 100 กรัม จัดเป็นหนูผีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย หนูผีบ้าน เป็นหนูผีชนิดที่สามารถพบได้ทั่วไปอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาฝั่งตะวันออก และเกาะมาดากัสการ์ เรื่อยมาจนถึงอนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงเอเชียตะวันออก เป็นหนูผีที่สามารถปรับตัวให้อยู่กับสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย สามารถพบได้ในที่ชุมชนของมนุษย์ หรือในบ้านเรือน เป็นสัตว์ที่กินแมลงเป็นหลัก ในประเทศไทยพบได้ทุกภูม.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหนูผีบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

หนูผีจิ๋ว

หนูผีจิ๋ว หรือ หนูผีอีทรัสแคน (Dwarf shrew, Etruscan pygmy shrew) เป็นหนูผีชนิดหนึ่ง หนูผีจิ๋ว มีเท้าหลังสั้นมากและมีสีคล้ำในตัวเต็มวัย กะโหลกลาดแบน จมูกแหลมยาวมาก ตามีขนาดเล็กมาก ใบหูมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดลำตัว มีความจากหลายจมูกถึงรูทวารเพียง 4–5.6 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเพียง 1.8 กรัม เท่านั้น ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกจัดให้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกมาแล้ว ก่อนจะถูกแทนที่ตำแหน่งนี้ด้วยการค้นพบค้างคาวคุณกิตติ (Craseonycteris thonglongyai) ในเวลาต่อมา หนูผีจิ๋ว มีพฤติกรรมชอบอาศัยในที่เปียกชื้นและมีหญ้าขึ้นรก หากินแมลงขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ตามพื้นดินเป็นอาหาร ไม่จัดว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองแต่อย่างใด พบกระจายพันธุ์ในทวีปยุโรป, แอฟริกาเหนือ และบางส่วนในทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทย พบได้ในป่าในภาคเหนือ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหนูผีจิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

หนูจี๊ด

หนูจี๊ด (อังกฤษ: Polynesian rat, Pacific rat; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rattus exulans) เป็นหนูชนิดหนึ่งในวงศ์ Muridae วงศ์ย่อย Murinae เป็นหนูที่มีขนาดเล็กที่สุดที่อยู่ในสกุล Rattus มีขนสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ขนชั้นนอกแข็ง หางมีสีดำเรียบสนิทมีความยาวกว่าความยาวลำตัวและหัวรวมกันเสียอีก และไม่มีขน ส่วนท้องสีขาว มีความยาวลำตัวและหัว 10.5 เซนติเมตร หางยาว 12.8 เซนติเมตร น้ำหนัก 36 กรัม ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 4 คู่ 2 คู่แรกอยู่ที่หน้าอก อีก 2 คู่อยู่ที่หน้าท้อง สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี โดยตั้งท้องนานประมาณ 21-22 วัน ตกลูกครั้งละ 7-12 ตัว ปีหนึ่งสามารถออกลูกได้ราว 5-6 ครอก อายุขัยมากที่สุดที่พบประมาณ 6 ปี หนูจี๊ด เป็นหนูที่สามารถพบได้ทั่วไปตามบ้านเรือน พื้นที่เกษตรกรรมเช่น โรงนา, ยุ้งฉาง แต่กลับไม่พบในที่นา และสามารถพบได้ในป่าและถ้ำ เป็นหนูที่มีพฤติกรรมว่องไวมาก ทำรังโดยไม่ขุดรู สามารถปีนป่ายและกระโดดได้เก่ง สามารถไต่ไปตามเส้นลวดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางแคบ ๆ ได้เป็นระยะทางหลายเมตร โดยใช้หางที่ยาวนั้นช่วยทรงตัวและเกาะเกี่ยว ว่ายน้ำเก่ง กินอาหารได้แทบทุกชนิด และกินอาหารตามที่มนุษย์กินได้ด้วย โดยกินมากเป็นน้ำหนักประมาณ 10 เท่าของน้ำหนักตัวต่อวัน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์จนถึงภูมิภาคออสตราเลเชีย, โอเชียเนีย จนถึงฮาวายและโพลินีเซีย โดยมีชื่อเรียกในภาษาเมารีว่า kiore จัดเป็นหนูชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ตามบ้านเรือนเช่นเดียวกับ หนูท้องขาว (R. rattus) และหนูบ้าน (R. norvegicus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหนูจี๊ด · ดูเพิ่มเติม »

หนูท้องขาว

หนูท้องขาว หรือ หนูดำ หรือ หนูนาท้องขาว (Roof rat, Black rat) เป็นหนูที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rattus rattus อยู่ในวงศ์ Muridae จัดเป็นหนูที่พบได้ในบ้านเรือนของมนุษย์หนึ่งในสามชนิด ร่วมกับ หนูบ้าน (R. norvegicus) และหนูจี๊ด (R. exulans) เป็นหนูขนาดกลาง ใบหูใหญ่ ขนตามลำตัวด้านสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลแดงหรือสีดำ ขนท้องสีขาว มีลายสีดำเล็ก ๆ ที่หน้าอก หางสีดำมีความยาวพอ ๆ หรือยาวกว่าความยาวลำตัวและหัว มีเกล็ดตลอดทั้งหาง จมูกแหลมกว่าหนูบ้าน มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 18 เซนติเมตร ส่วนหางก็มีความยาวพอ ๆ กัน ตัวเมียมีเต้านมที่หน้าอก 2 คู่ ออกลูกปีละ 4-6 ครอก ลูกหนึ่งครอกมีจำนวน 6-8 ตัว มีระยะทางหากิน 100-150 ฟุต เป็นหนูที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย และพบกระจายพันธุ์ไปไกลจนถึงทิศตะวันออกของโรมาเนีย เป็นหนูที่ปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ชอบขึ้นและหากินบนต้นไม้ เพราะชอบกินเมล็ดพืชมากที่สุด จึงมักพบในพื้นที่เกษตรกรรมในประเทศไทยพบได้ทุกภาค โดยเฉพาะในสวนมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมันในภาคใต้ จัดเป็นศัตรูพืชของพืชจำพวกนี้ เกษตรกรจึงใช้วิธีตามธรรมชาติกำจัดหนูเหล่านี้ โดยสร้างรังนกแสก (Tyto alba) ให้อยู่ท้ายสวน เพราะนกแสกจะกินหนูโดยเฉพาะหนูท้องขาวเป็นอาหารหลัก ถ้าอาศัยอยู่ในบ้านก็มักจะสร้างรังบนเพดานบ้าน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหนูท้องขาว · ดูเพิ่มเติม »

หนูขนเสี้ยนเขาหินปูน

หนูขนเสี้ยนเขาหินปูน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Niviventer hinpoon; อังกฤษ: Limestone rat) เป็นสปีชีส์ของสัตว์ฟันแทะในวงศ์ Muridae อาศัยในถ้ำหินปูน พบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ในจังหวัดอุทัยธานี, สระบุรี และลพบุรี สถานภาพปัจจุบันตามบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติว่าเป็นสัตว์ใกล้ถูกคุกคาม ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป..

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหนูขนเสี้ยนเขาหินปูน · ดูเพิ่มเติม »

หนูเหม็น

ำหรับสาโทที่หมายถึงเครื่องดื่มประเภทสุรา ดูที่: สาโท หนูเหม็น หรือ สาโท (อังกฤษ: Moonrat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Echinosorex gymnurus จัดอยู่ในวงศ์ Erinaceidae ซึ่งจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Echinosorex หนูเหม็น มีรูปร่างลักษณะคล้ายหนูที่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ แต่หนูเหม็นเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับเฮดจ์ฮอกเช่นเดียวกับเฮดจ์ฮอก มีขนยาวปุกปุยรุงรังสีดำแซมขาว หัวมีขนสีขาวและมีแถบดำพาดผ่านตาเห็นได้ชัดเจน ปลายปากด้านบนและดั้งจมูกยาวเรียวยื่นออกไปมากกว่าปลายริมฝีปากล่าง หางมีเกล็ดเล็ก ๆ ปกคลุมคล้ายหางหนู มีสีดำและปลายหางสีขาว พบกระจายพันธุ์อยู่ในแถบเทือกเขาตะนาวศรีในเขตพม่า และภาคใต้ของไทยตั้งแต่คอคอดกระลงไปตลอดแหลมมลายู, เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว มีขนาดลำตัวยาว 26-45 เซนติเมตร หางยาว 20-21 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 0.5-1.1 กิโลกรัม ถือว่าเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์และอันดับนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ E.g.albus พบในตอนตะวันออกและตอนใต้ของเกาะบอร์เนียว และ E.g.cadidus พบในตอนตะวันตกของเกาะบอร์เนียว เป็นสัตว์ที่มีกลิ่นตัวเหม็นรุนแรงจึงเป็นที่มาของชื่อ ซึ่งกลิ่นตัวนี้คล้ายกับกลิ่นระเหยของแอมโมเนีย สามารถส่งกลิ่นออกไปได้ไกลเป็นระยะหลายเมตร ใช้สำหรับติดต่อกับหนูเหม็นตัวอื่น มักอาศัยอยู่ตามลำพัง ชอบอาศัยอยู่ในที่ชื้นแฉะตามป่าดิบชื้น เช่น ป่าโกงกาง, ป่าตามพื้นที่ราบเชิงเขา โดยเฉพาะตามหุบเขาที่มีป่ารกทึบ ติดกับลำธารที่มีน้ำไหลผ่าน ซึ่งเหมาะเป็นแหล่งในการหาอาหารได้สะดวก เป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ หนอน, ด้วง และแมลงต่าง ๆ, ไส้เดือนดิน สามารถที่จะล่าสัตว์เล็ก ๆ กิน เช่น ลูกกบ, เขียด, กุ้ง, ปู, ปลา และหอย ได้ด้วย กลางวันจะพักอาศัยหลบซ่อนอยู่ในรูดิน โพรงไม้และตามซอกใตัรากไม้ในป่าทั่วไป มีฤดูผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี ๆ ละ 2 ครอก มีลูกครอกละ 2 ตัว มีนิสัยค่อนข้างดุร้าย ปัจจุบันเป็นสัตว์ที่หายาก มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากสภาพพื้นที่ ๆ อยู่อาศัยถูกทำลาย และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 หนูเหม็น มีความเชื่อมาแต่โบราณว่า หากเก็บกระดูกไว้จะสามารถแก้เสน่ห์ยาแฝดหรือมนต์ดำได้.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและหนูเหม็น · ดูเพิ่มเติม »

อันดับบ่าง

อันดับบ่าง (Colugo, Flying lemur) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในชั้นย่อยยูเทอเรีย (Eutheria) อันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dermoptera (/เดอ-มอป-เทอ-รา/ แปลว่า "ปีกหนัง") และถือเป็นอันดับที่อยู่ถัดมาจากอันดับโพรซีเมียน (Prosimian) ถือว่า บ่างเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใกล้เคียงกับสัตว์ในอันดับไพรเมต อันได้แก่ ทาร์เซีย, ลิงและเอป ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ด้วย และเชื่อกันว่า บ่างเป็นต้นบรรพบุรุษของค้างคาว ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงจำพวกเดียวที่บินได้ ซึ่งอยู่ในอันดับ Chiroptera ด้วย ลักษณะของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีรูปร่างคล้ายกับกระรอกบินหรือค้างคาวหรือลีเมอร์ แต่มีจุดเด่น คือ มีแผ่นหนังบาง ๆ ที่เชื่อมติดกันระหว่างคอ, ขาหน้า, ขาหลัง และหาง รวมถึงนิ้วทุกนิ้วอีกด้วย โดยที่ไม่มีหัวแม่มือ ซึ่งเมื่อกางออกจะเป็นแผ่นคล้ายว่าว ทำให้สามารถร่อนถลาได้เหมือนกระรอกบินหรือชูการ์ไกลเดอร์ ซึ่งเป็นสัตว์ต่างอันดับกัน บ่าง เป็นสัตว์ที่มีดวงตากลมโตสีแดง ส่วนจมูกและใบหน้าแหลม รวมทั้งมีสีขนที่เลอะ เพื่อแฝงตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ทำให้แลดูน่าเกลียดน่ากลัว แต่เป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร ได้แก่ ยอดไม้, ดอกไม้ รวมถึงแมลง และลูกไม้เนื้ออ่อน เป็นอาหาร มีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า มีส่วนหางที่สั้น มีเล็บที่นิ้วที่แหลมคมใช้สำหรับในการปีนต้นไม้และเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้ รวมถึงสามารถห้อยหัวลงมาได้เหมือนค้างคาว บ่างจะหากินในเวลากลางคืนหรือโพล้เพล้ ส่วนในเวลากลางวันจะนอนหลับอยู่ตามโพรงไม้หรือคอมะพร้าว บ่าง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว เนื่องจากแม่บ่างสามารถรับน้ำหนักได้เพียงแค่นี้ ลูกบ่างจะเกาะติดกับหน้าอกแม่ดูดนมจากเต้านมแม่ซึ่งมี 2 คู่ แม้แต่เมื่อหากินหรือระหว่างร่อน ใช้เวลาโตเต็มที่ประมาณ 2-3 ปี บ่างแรกเกิดมักมีการพัฒนาไม่มากนักคล้ายสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง (Marsupialia) แม่บ่างจะเลี้ยงลูกไว้โดยให้เกาะที่ท้อง เวลาเกาะอยู่กับต้นไม้ โดยใช้ผังผืดระหว่างขาช่วงล่างสุดห่อคล้ายร่มหรือถุงเหมือนสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง ในช่วงที่แม่บ่างเลี้ยงลูกจะยังไม่มีลูกใหม่ จนกว่าลูกตัวเดิมจะแยกตัวออกไปหากินเอง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี แม่บ่างจะเลียฉี่และมูลของลูก ขณะที่ลูกบ่างจะกินมูลของแม่ด้วย ซึ่งภายในมีแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยอาหารซึ่งได้แก่ พืช ส่วนต่าง ๆ แต่พฤติกรรมการผสมพันธุ์ยังไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่ชัดบ่าง, "สีสันสัตว์โลก สเปเชี่ยล", สารคดีทางช่อง 9: 17 ธันวาคม 2556 บ่างอาศัยอยู่ในป่าดิบที่มีความอุดมสมบูรณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ใน 2 สกุล และมีอีก 1 สกุล ซึ่งมี 2 ชนิด ที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอันดับบ่าง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับช้าง

อันดับช้าง เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Proboscidea (/โพร-โบส-ซิ-เดีย/) มีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์กินพืชที่มีร่างกายใหญ่โต มีจมูกและริมฝีปากบนยาว เรียกว่า "งวง" ที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ใช้สำหรับหายใจ หยิบจับสิ่งของ และจับอาหารเข้าปาก มีฟันซี่หน้า 2 ซี่ บนขากรรไกรบนยาวใหญ่ และเจริญไปเป็น "งา" ฟันกรามมีขนาดใหญ่ โดยมากไม่เกิน 1 คู่ ขณะที่บางสกุล บางชนิด หรือบางวงศ์มีมากกว่านั้น ไม่มีฟันเขี้ยว ขาใหญ่ตรงลักษณะคล้ายต้นเสา ขาหน้ามีกระดูกเรเดียส และอัลนาร์สมบูรณ์ ขาหลังก็มีกระดูกทิเบีย และฟิบูลาสมบูรณ์ เท้ามีนิ้วข้างละ 5 นิ้ว แต่เล็บนิ้วก้อยบางตัวนั้น เมื่อโตขึ้นจะหายไป มีกระเพาะอาหารแบบธรรมดา ไม่ได้เป็นกระเพาะอาหารที่แบ่งเป็นห้อง ๆ แบบสัตว์เคี้ยวเอื้อง ตัวผู้มีลูกอัณฑะอยู่ในท้อง ไม่อยู่ในถุงห้อยออกมาอย่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ขณะที่ตัวเมียมีมดลูกแยกเป็นไบคอร์เนาท์ มีเต้านม 1 คู่ อยู่ที่หน้าอกระหว่างขาหน้าทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบัน หลงเหลือสัตว์ที่อยู่ในอันดับนี้เพียงวงศ์เดียว คือ Elephantidae 3 ชนิด (ไม่นับชนิดย่อย) คือ ช้างเอเชีย (Elephas maximus) ที่พบในทวีปเอเชีย, ช้างพุ่มไ้ม้แอฟริกา (Loxodonta africana) และช้างป่าแอฟริกา (L. cyclotis) พบในทวีปแอฟริกา ซึ่งจัดเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว สัตว์ในอันดับช้างยังมีความคล้ายคลึงกับสัตว์ในอันดับไฮแรกซ์ (Hyracoidea) ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กคล้ายหนูตะเภาที่พบในแอฟริกาอีก ด้วยการที่มีฟันกรามและข้อต่อนิ้วเท้าที่คล้ายคลึงกัน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอันดับช้าง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับพะยูน

อันดับพะยูน เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sirenia เดิมที สัตว์ในอันดับนี้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับเดียวกับอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ด้วยเห็นว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล และมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1816 อ็องรี มารี ดูว์ครอแต เดอ แบล็งวีล นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นบุคคลแรกที่ทำการแยกความแตกต่างระหว่างพะยูนกับโลมาและวาฬ ออกจากกันและจัดพะยูนเข้าไว้ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกีบในอันดับ Sirenia โดยนับว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกันกับช้างมาก่อน คือ Paenungulata รวมถึงการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของพะยูนสกุล Eotheroides ที่พบในประเทศอียิปต์ พบว่ามีลักษณะบางอย่างเหมือนและใกล้เคียงกันกับ Moeritherium ซึ่งเป็นต้นตระกูลของช้างยุคอีโอซีนตอนต้น (ประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว) Eotheroides เป็นสัตว์มี 4 ขา มีฟันครบและอาศัยอยู่ในน้ำ ต่อมามีวิวัฒนาการเพื่อให้อาศัยอยู่ในน้ำได้ดีขึ้น โดยที่ขาหลังจะลดขนาดลงและหายไปในที่สุด ส่วนขาหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะคล้ายใบพายเพื่อให้เหมาะสมกับการว่ายน้ำ จากนั้นก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็นพะยูนในปัจจุบัน อีกทั้ง แอนสท์ แฮคเคิล นักชีววิทยาชาวเยอรมันได้วิจัยเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน โดยพบว่าตัวอ่อนของสัตว์ทั้งสองนี้มีโครงสร้างทางสรีระที่คล้ายกันมากจนในอดีตเมื่อ 40 ล้านปีก่อน ช้างและพะยูนมีต้นตระกูลร่วมกัน ถึงวันนี้มันก็ยังมีงวงและจมูกที่ใช้หายใจเหมือนกัน มีพฤติกรรมสืบพันธุ์ที่คล้ายคลึงกัน และเลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน ปัจจุบัน พะยูนได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 วงศ์ คือ Dugongidae และTrichechidae แบ่งได้เป็น 2 สกุล 4 ชนิด กระจายพันธุ์ไปในทะเลและแม่น้ำสายใหญ่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก กินอาหารจำพวก หญ้าทะเล, สาหร่ายและตะไคร่น้ำ เป็นอาหาร โดยพะยูนชนิดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา คือ วัวทะเลชเตลเลอร์ (Hydrodamalis gigas) ที่อยู่ในวงศ์ Dugongidae ที่มีความยาวถึง 7 เมตร แต่ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อราว 300 ปีก่อน โดยคำว่า "Sirenia" นั้นมาจากคำว่า "ไซเรน" ซึ่งเป็นอสูรกายที่อาศัยอยู่ในทะเลในเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอันดับพะยูน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกระต่าย

อันดับกระต่าย (Rabbit, Hare, Pika; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagomorpha-ออกเสียงว่า /ลา-โก-มอร์-ฟา/ มาจากภาษากรีกคำว่า "λαγος" หมายถึง กระต่ายป่า และ "μορφή" หมายถึง ลักษณะ, รูปร่าง) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง มีลักษณะโดยรวมคล้ายกับสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) เช่น หนู หรือกระรอก ด้วยว่ามีฟันในลักษณะฟันแทะเหมือนกัน ซึ่งเดิมเคยถูกรวมไว้อยู่ด้วนกัน แต่ว่าสัตว์ในอันดับนี้มีฟันแทะที่แตกต่างจากสัตว์ฟันแทะ คือมี ฟันตัดบนหรือฟันหน้า 2 คู่ (4 ซี่ คู่แรกอยู่ด้านหน้า คู่หลังจะซ่อนอยู่ข้าง ๆ ภายในกรามบน) ขณะที่ สัตว์ฟันแทะมี 1 คู่ (2 ซี่) เท่านั้น ทำให้การเคี้ยวของอาหารของสัตว์ทั้งสองอันนี้ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ สัตว์ในอันดับกระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 คู่นี้เคี้ยวสลับกัน จึงจะเห็นเมื่อเวลาเคี้ยวจะใช้กรามสลับข้างกันซ้าย-ขวา อีกทั้งพฤติกรรมการกินก็ต่างกันออกไป เนื่องจาก สัตว์ฟันแทะจะกินได้ทั้งพืชและสัตว์ แต่สัตว์ในอันดับกระต่ายจะกินได้เพียงพืชเท่านั้น และลักษณะเด่นอีกประการหนึ่ง ก็คือ ในตัวผู้ สัตว์ในอันดับกระต่ายจะมีถุงหุ้มอัณฑะอยู่หน้าอวัยวะเพศ แต่สัตว์ฟันแทะจะมีถุงหุ้มอัณฑะอยู่หลังอวัยวะเพศ และอวัยวะเพศของสัตว์ในอันดับกระต่าย จะไม่มีแท่งกระดูกอยู่ภายใน แต่ในสัตว์ฟันแทะจะมี ปัจจุบัน มีเพียง 2 วงศ์ เท่านั้น โดยสูญพันธุ์ไปแล้ว 1 วงศ์ (ดูในตาราง) กระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ของโลก แม้กระทั่งอาร์กติก ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ เป็นสัตว์ที่มนุษย์รู้จักเป็นอย่างดี ก็คือ กระต่าย ซึ่งนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงทั้งในแง่ของความเพลินเพลิน สวยงาม และบริโภคเป็นอาหาร.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอันดับกระต่าย · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกระแต

ฟันของกระแต กระแต (1920.) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Scandentia กระแต มีลักษณะโดยรวมคล้ายกับกระรอก ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) รวมทั้งมีพฤติกรรมความเป็นอยู่ที่คล้ายกัน หากแต่กระแตมีปากยื่นยาวกว่ากระรอก มีฟันเล็กหลายซี่ ไม่ได้เป็นฟันแทะ แบ่งออกเป็นฟันตัด 4 ซี่ ที่ขากรรไกรบน และ 6 ซี่ที่ขากรรไกรล่าง สามรถเขียนเป็นสูตรได้ว่า จึงไม่สามารถที่จะกัดแทะผลไม้หรือไม้เปลือกแข็งอย่างกระรอกได้ และมีนิ้วที่ขาคู่หน้า 5 นิ้ว ที่เจริญและใช้ในการหยิบจับได้ดี เหมือนเช่นสัตว์ในอันดับไพรเมต (Primate) หรืออันดับวานร กระแตมีขนปกลุมลำตัวสีเขียวหรือสีน้ำตาลเหมือนกระรอก มีหางยาวประมาณ 12-19 เซนติเมตร กระแต นั้นหากินทั้งบนพื้นดิน โคนต้นไม้ และบนต้นไม้ กินได้ทั้งพืช และสัตว์เล็ก ๆ อย่าง แมลง หรือหนอน เป็นอาหาร โดยมากจะหากินในเวลากลางคืน และอาศัยอยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว แต่บางครั้งก็พบอยู่ด้วยกัน 2-3 ตัว เป็นฝูงเล็ก ๆ ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว โดยที่ก็ตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่า เช่น ชะมด หรืออีเห็น, แมวป่า หรือนกล่าเหยื่อ อย่าง เหยี่ยว หรืออินทรี ด้วย กระแต กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในป่าทวีปเอเชียแถบเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ มีทั้งหมด 19 ชนิด 5 สกุล แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ (ดูในตาราง) พบในประเทศไทย 5 ชนิด คือ กระแตเหนือ (Tupaia belangeri) และกระแตใต้ หรือกระแตธรรมดา (T. glis), กระแตเล็ก (T. minor), กระแตหางขนนก (Ptilocercus lowii) และกระแตหางหนู (Dendrogale murina) เดิม กระแตเคยถูกจัดรวมอยู่อันดับเดียวกับอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) เช่น หนูผี แต่ปัจจุบันได้ถูกแบ่งออกเป็นอันดับต่างหาก และกระแตถูกสันนิษฐานว่ามีบรรพบุรุษร่วมกันกับอันดับไพรเมตด้วย ด้วยมีนิ้วที่เท้าหน้าคล้ายคลึงกัน โดยวิวัฒนาการแยกออกจากกันในยุคอีโอซีนตอนกลาง.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอันดับกระแต · ดูเพิ่มเติม »

อันดับลิ่น

ลิ่น หรือ นิ่ม หรือที่นิยมเรียกกันว่า ตัวลิ่น หรือ ตัวนิ่ม จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วย ชั้ ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนนม ที่อยู่ในอันดับ Pholidota จัดเป็นสัตว์ที่มีเพียงวงศ์เดียว คือ Manidae และสกุลเดียว คือ Manis ลิ่นเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอาร์มาดิลโล หรือ สัตว์ที่อยู่ในอันดับ Cingulata ที่พบได้ในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ขณะที่ลิ่นจะพบได้ที่ทวีปเอเชียและแอฟริกา ลิ่นทุกชนิดจะมีส่วนหน้าที่ยาว มีปากขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นรูเล็ก ๆ ไม่มีฟัน กินอาหารโดยการใช้ลิ้นที่ยื่นยาวและน้ำลายที่เหนียวตวัดกินแมลงตามพื้นดิน จำพวก มดและปลวกหรือหนอนขนาดเล็ก และมีลำตัวที่ปกคลุมด้วยเกล็ดเป็นชิ้น ๆ เหมือนกับสัตว์เลื้อยคลาน ทำหน้าที่เหมือนชุดเกราะเพื่อใช้ในการป้องกันตัว เมื่อถูกรุกรานลิ่นจะลดลำตัวเป็นวงกลม ขณะที่ส่วนท้องจะไม่มีเกล็ด ซึ่งจะถูกโจมตีได้ง่าย ลิ่นมีเล็บที่แหลมคมและยื่นยาว ใช้สำหรับขุดพื้นดินหาอาหารและขุดโพรงเป็นที่อยู่อาศัยและพักผ่อน และปีนต้นไม้ เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ลิ่นออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 1-2 ตัว ตั้งท้องนานราว 130 วัน เมื่อแรกเกิด ลูกลิ่นจะมีเกล็ดติดตัวมาตั้งแต่เกิด และจะเกาะกับแม่ตรงบริเวณโคนหาง ซึ่งลูกลิ่นวัยอ่อนจะยังไม่มีเกล็ดแข็งเหมือนกับลิ่นวัยโต แต่จะค่อย ๆ แข็งขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเจริญเติบโต ลิ่นมีทั้งหมด 8 ชนิด (ดูในตาราง) กระจายพันธุ์ไปในทวีปแอฟริกาและเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ ลิ่นซุนดา หรือ ลิ่นชวา (M. javanica) ที่พบได้ทั่วไปทุกภาค กับลิ่นจีน (M. pentadactyla) ที่มีรายงานการพบเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เมื่อปี พ.ศ. 2483 ซึ่งมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่า หางสั้นกว่า และมีสีที่คล้ำกว่า ลิ่นซุนดา ในปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าที่นิยมอย่างมากในการรับประทานในหมู่ของผู้ที่นิยมรับประทานสัตว์ป่าหรือของแปลก ๆ โดยมีราคาขายสูงถึงกิโลกรัมละ 2,000-3,000 บาท หากตัวไหนที่มีน้ำหนักมากอาจมีราคาสูงถึง 3,500 บาท ทำให้มีการลักลอบค้าตัวลิ่นอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด และอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า เป็นต้น และในความเชื่อของชาวจีน เชื่อว่า เกล็ดของลิ่นช่วยในการรักษาโรคกระเพาะ โดยผู้ที่เข้าป่าหาตัวลิ่นจะใช้สุนัขดมกลิ่นตามล่า หากลิ่นปีนขึ้นต้นไม้ ก็จะใช้การตัดต้นไม้ต้นนั้นทิ้งเสีย โดยการค้าตัวลิ่นถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะลิ่นไม่ว่าชนิดไหน ในประเทศไทย ถือว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และมีกฎหมายคุ้มครองระหว่างประเทศอีกด้วย ผู้กระทำผิดจะได้รับโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท จำคุก 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งคำว่า "Pangolin" ซึ่งเป็นคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่เรียกลิ่นนั้น มาจากภาษามลายูคำว่า Peng-goling แปลว่า "ไอ้ตัวขด".

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอันดับลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

อันดับวาฬและโลมา

ซีทาเซีย (Order Cetacea) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นอันดับหนึ่งใน 18 อันดับของชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับซีทาเซีย ได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะคล้ายปลา เช่นวาฬ โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะภายนอกคล้ายปลา จนมักเรียกติดปลาว่า ปลาวาฬ และ ปลาโลมา ซึ่งผิดหลักอนุกรมภิธาน บรรพบุรุษของสัตว์ตระกูลนี้เป็นสัตว์บกที่วิวัฒนาการกลับลงไปในทะเล.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอันดับวาฬและโลมา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับวานร

อันดับวานร หรือ อันดับไพรเมต (Primate) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันได้แก่ สัตว์จำพวกลีเมอร์, ลิง และลิงไม่มีหาง ซึ่งรวมถึงมนุษย์ด้วย มีชื่อสามัญเรียกกันโดยทั่วไปว่า ไพรเมต จึงกล่าวได้ว่าสามารถพบไพรเมตได้ทั่วโลก โดยไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแอฟริกา, ตอนล่างของทวีปเอเชีย, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แต่จะพบไพรเมตอยู่เพียงไม่กี่ชนิดในแถบตอนเหนือของทวีปเอเชีย จนถึงตอนเหนือของญี่ปุ่น หรือตอนเหนือของอเมริกา และเม็กซิโก โดยที่ไม่พบในทวีปยุโรป และทวีปออสเตรเลีย โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Primates.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอันดับวานร · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์ฟันแทะ

อันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodent, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rodentia) เป็นอันดับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับหนึ่ง ที่มีความหลากหลายมาก ใช้ชื่ออันดับว่า Rodentia ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีฟันหน้าในขากรรไกรบน 2 ซี่ และขากรรไกรล่าง 2 ซี่ ลักษณะของฟันหน้ามีรูปร่างคล้ายสิ่ว มีความแข็งแรงมาก ใช้สำหรับกัด ขุด และแทะอาหาร ไม่มีฟันเขี้ยว ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันหน้าและฟันหน้ากราม ผิวเคลือบทางด้านนอกของฟันหน้าเป็นอีนาเมล จึงทำให้ฟันแข็งแรง นอกจากนี้ฟันหน้าของสัตว์ในอันดับนี้ยังเป็นรูทเลสส์ โดยที่ฟันจะไม่หยุดการเจริญเติบโต เฉลี่ย 12 เซนติเมตรครึ่งต่อปี เนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงฟันตลอดเวลา จึงต้องแทะฟันเสมอ ๆเพื่อให้ฟันสึกกร่อน มิฉะนั้นฟันจะทะลุออกมานอกปาก ทำให้การหุบปากและการกินอาหารลำบากทำให้อดตายได้ รูปร่างลักษณะภายนอกของสัตว์ในอันดับนี้แตกต่างกัน รวมทั้งแหล่งอาศัย บางจำพวกก็อาศัยอยู่บนต้นไม้ ขุดรูอยู่ใต้ดินหรือบนดิน เช่นเดียวกับชนิดของอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นผลไม้เปลือกแข็ง, เมล็ดไม้, รากไม้ หรือกินทุกสิ่งทุกอย่างทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ หนู, กระรอก, เม่น, บีเวอร์ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ในภูมิประเทศที่หลากหลาย ขณะที่กระต่าย, กระแตและตุ่นหรือหนูผี หรือชูการ์ไกลเดอร์ แม้จะมีรูปลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก สัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ หนูจิ๋วแอฟริกัน (Mus minutoides) พบในทวีปแอฟริกา ที่มีขนาดใหญ่เต็มที่จากส่วนหัวจรดปลายหาง 30-80 มิลลิเมตร (1.2-3.1 นิ้ว) ความยาวหาง 20-40 มิลลิเมตร (0.79-1.6 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 3-12 กรัม (0.11-0.42 ออนซ์) และที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ คาปิบารา (Hydrochoerus hydrochaeris) พบในอเมริกาใต้ ที่มีน้ำหนักได้มากถึง 65 กิโลกรัม และมีรายงานว่าพบมากถึง 91 กิโลกรัม.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอันดับสัตว์ฟันแทะ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์กีบคู่

อันดับสัตว์กีบคู่ เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artiodactyla (/อา-ทิ-โอ-แดค-ทิ-ล่า/) มีลักษณะเด่น คือ มีนิ้วเท้าที่เป็นกีบที่เป็นคู่ แตกต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์กีบคี่ (Perissodactyla) ซึ่งมีกีบนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่ ทั้งสองอันดับล้วนแต่เป็นสัตว์กินพืช ที่จะกินพืชลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสกุลและวงศ์ หรือชนิด กระจายพันธุ์ออกไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นโอเชียเนีย ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 10 วงศ์ ราว 220 ชนิด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 อันดับย่อย โดยแบ่งตามลักษณะของกระเพาะอาหาร โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ หรือส่วน คือ.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอันดับสัตว์กีบคู่ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับตุ่น

อันดับตุ่น (อันดับ: Soricomorpha) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง การอนุกรมวิธานของสัตว์ในอันดับนี้ ถูกแยกออกจากอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) พร้อมกับอันดับเทนเรค (Afrosoricida), อันดับหนูผีช้าง (Macroscelidea) และอันดับเฮดจ์ฮอก (Erinaceomorpha) ขณะที่ข้อมูลบางแหล่งยังถือว่าอยู่ในอันดับสัตว์กินแมลงอยู่ สัตว์ที่อยู่ในอันดับนี้ ถูกแบ่งออกด้วยกันเป็น 4 วงศ์ ได้แก่ หนูผี (Soricidae), ตุ่น (Talpidae) และโซเลนโนดอน (Solenodontidae) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมลักษณะคล้ายหนูผี แต่ถูกแยกออกจากกันเป็นคนละวงศ์ ซึ่งเป็นสัตว์หายาก พบได้เฉพาะที่ประเทศคิวบาเท่านั้น และสูญพันธุ์ไป 1 วงศ์ คือ Nesophontidae.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอันดับตุ่น · ดูเพิ่มเติม »

อันดับเฮดจ์ฮอก

อันดับเฮดจ์ฮอก (Hedgehog, Gymnure, อันดับ: Erinaceomorpha) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Erinaceomorpha เป็นอันดับที่แยกตัวออกมาจากอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) ลักษณะโดยรวมของสัตว์ที่อยู่ในอันดับนี้ เป็นสัตว์ขนาดเล็ก กินแมลงเป็นอาหาร มีทั้งออกหากินในเวลากลางวัน และออกหากินในเวลากลางคืน อาศัยอยู่บนพื้นและบนต้นไม้ ยืนด้วยฝ่าเท้า มีสมองส่วนรับกลิ่นเจริญดี แต่สายตาไม่ดี นอกจากกินแมลงแล้วยังอาจจะยังกินสัตว์ขนาดเล็กกว่าหรือพืชและผลไม้เป็นอาหาร จำแนกออกได้เพียงวงศ์เดียว คือ Erinaceidae 10 สกุล (ดูในตาราง) 24 ชนิด โดยที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เฮดจ์ฮอก (Erinaceinae) ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กมีขนที่เป็นหนามแข็งขนาดเล็กคล้ายเม่นซึ่งอยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคยุโรป สำหรับในประเทศไทยพบ 2 เท่านั้น คือ หนูเหม็น (Echinosorex gymnurus) หรือสาโท ที่มีลักษณะคล้ายหนูแต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีกลิ่นตัวเหม็นอย่างรุนแรงคล้ายกับกลิ่นของแอมโมเนีย และหนูผีหางหมู (Hylomys suillus).

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอันดับเฮดจ์ฮอก · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นหน้าขาว

อีเห็นหน้าขาว หรือ อีเห็นหูด่าง (Small-toothed palm civet) เป็นสัตว์จำพวกชะมดและอีเห็น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arctogalidia trivirgata มีรูปร่างหน้าตาคล้ายอีเห็นเครือ (Paguma larvata) แต่มีขนาดเล็กกว่า มีสีขนที่แตกต่างหลากหลายออกไป ในบางตัวอาจมีสีน้ำตาลแดง บางตัวเป็นสีน้ำตาลดำ มีลักษณะเด่นคือ ขอบใบหูจะมีสีขาว บริเวณหลังมีแถบสีดำ 3 เส้นพาดเป็นทางยาวจนถึงโคนหาง บางตัวอาจมีลายเส้นสีขาวพาดยาวมาจรดปลายจมูก หางมีความยาวมากใช้สำหรับทรงตัวบนต้นไม้ ตัวเมียจะมีเต้านม 2 คู่ และมีต่อมกลิ่นด้วย มีความยาวลำตัวและหัว 43-53 เซนติเมตร ความยาวหาง 51-56 เซนติเมตร น้ำหนัก 2-2.5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐอัสสัม, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวาและเกาะบอร์เนียว มีชนิดย่อยทั้งหมด 14 ชนิด (ดูในตาราง) มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในป่าที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ป่าดิบชื้น, ป่าเบญจพรรณ ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ตามลำพังและหากินบนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นในช่วงผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่จะอยู่ด้วยกันเป็นคู่ ออกหากินในเวลากลางคืน มีความปราดเปรียวว่องไวกว่าอีเห็นธรรมดา (Paradoxurus hermaphroditus) มาก โดยมักล่าสัตว์ที่อยู่บนต้นไม้เป็นอาหาร เช่น หนู, กระรอก, นก และช่วยควบคุมปริมาณกระรอกที่ทำลายสวนมะพร้าวไม่ให้มีมากไป สามารถผสมพันธุ์ได้ทั้งปี ใช้เวลาตั้งท้องนาน 45 วัน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอีเห็นหน้าขาว · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นข้างลาย

อีเห็นข้างลาย หรือ อีเห็นธรรมดา หรือ มูสังหอม ในภาษาใต้ (Asian palm civet) เป็นอีเห็นขนาดเล็ก สีขนตามลำตัวเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ ยกเว้นบริเวณรอบจมูก หู ขา และปลายหางมีสีดำมีลายสีขาวพาดขวางบริเวณหน้าผาก หลังมีจุดเล็ก ๆ สีดำเรียงตัวเป็นแนวยาว 3 เส้น จากไหล่ถึงโคนหาง หางมีความยาวพอ ๆ กับลำตัว ขนปลายหางบางตัวอาจมีสีขาว มีต่อมน้ำมันและจะส่งกลิ่นออกมาเมื่อเวลาตกใจ ซึ่งต่อมน้ำมันนี้จะแตกต่างจากชะมดหรืออีเห็นชนิดอื่น ๆ ตัวเมียมีเต้านม 3 คู่ มีความยาวลำตัวและหัว 43–71 เซนติเมตร ความยาวหาง 40.6–66 เซนติเมตร น้ำหนัก 2–5 กิโลกรัม อีเห็นข้างลายมีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก โดยพบตั้งแต่รัฐชัมมูและกัศมีร์ และภาคใต้ของอินเดีย, ศรีลังกา, เนปาล, รัฐสิกขิม, ภูฏาน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, เกาะซูลาเวซี และหมู่เกาะซุนดาน้อย และมีชนิดย่อยมากถึง 30 ชนิด (ดูในตาราง) มีพฤติกรรมมักอาศัยและหากินตามลำพัง สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ตั้งแต่ ป่าดิบชื้น, ป่าดิบแล้ง ไปจนถึงชายป่าที่ใกล้กับพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น สัตว์ขนาดเล็กจำพวกแมลง และน้ำหวานของเกสรดอกไม้ ออกหากินในเวลากลางคืน นอนหลับในเวลากลางวัน ใช้เวลาส่วนมากตามพื้นดินและจะใช้เวลาน้อยมากอยู่บนต้นไม้ ออกลูกครั้งละ 2–4 ตัว โดยจะเลี้ยงลูกอ่อนไว้ตามโพรงไม้หรือโพรงหิน อีเห็นข้างลายไม่ได้ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2546 ปัจจุบันทางสวนสัตว์เชียงใหม่ได้มีโครงการในการเพาะเลี้ยงอีเห็นข้างลาย เพื่อผลิต "กาแฟขี้ชะมด" ซึ่งเป็นกาแฟที่ได้จากมูลของอีเห็นข้างลาย มีราคาซื้อขายที่สูงมาก และในการเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ในการนี้ที่จังหวัดตรังโดยเอกชนด้วยหน้า 27, อะเมซซิง..."กาแฟขี้ชะมดตรัง" โดย มนตรี สังขาว.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอีเห็นข้างลาย · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นน้ำมลายู

อีเห็นน้ำมลายู หรือ อีเห็นน้ำซุนดา (Otter civet) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีรูปร่างอ้วน ขาสั้น ขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือดำสนิท ลักษณะเด่นคือ หัวค่อนข้างแบน จมูกและปากยื่นออกมามีสีขาว จมูกมีขนาดใหญ่ รูจมูกด้านบนเปิดขึ้นและสามารถปิดได้เมื่ออยู่ใต้น้ำ ใบหูมีขนาดเล็กและมีลิ้นปิดหูไม่ให้น้ำเข้าขณะว่ายน้ำ ห่างค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับความยาวลำตัว มีพังผืดยืดระหว่างนิ้วคล้ายกับนิ้วเท้าของนากเล็กเล็บสั้น (Amblonyx cinerea) มีความยาวลำตัวและหัว 70-80 เซนติเมตร ความยาวหาง 12-20 เซนติเมตร น้ำหนัก 3-5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำของภาคใต้ของไทย, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวาและเกาะบอร์เนียว มีพฤติกรรมอาศัยและหากินตามลำพัง โดยล่าพวกสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เช่น กุ้ง, หอย, ปู, ปลา และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น หนู สามารถปรับตัวให้อาศัยแบะหากินอยู่ในน้ำได้ดีเช่นเดียวกับนาก มักอาศัยอยู่ในป่าพรุหรือพื้นที่ชุ่มน้ำอื่น ๆ ปีนต้นไม้ได้เก่ง บางครั้งพบว่าอาจปีนต้นไม้เพื่อกินผลไม้สุกได้.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอีเห็นน้ำมลายู · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นเครือ

อีเห็นเครือ (Masked palm civet) สัตว์จำพวกชะมดและอีเห็นชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Paguma larvata จัดเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ในสัตว์จำพวกนี้ ขนตามลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีจุดหรือลวดลายใด ๆ บริเวณท้องมีสีอ่อนกว่าส่วนหลัง หลังหูและหลังคอมีสีเข้ม ม่านตามีสีน้ำตาลแดง มีหนวดเป็นเส้นยาวบริเวณจมูกและแก้ม ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย ตัวเมียมีเต้านม 2 คู่ ขนาดลำตัวและหัวยาว 50.8-76.2 เซนติเมตร ความยาวหาง 50.8-63.6 เซนติเมตร น้ำหนัก 3-5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง พบตั้งแต่ภาคเหนือของอินเดีย, ปากีสถาน, ตะวันออกของอัฟกานิสถาน, ไต้หวัน, ตะวันออกของจีน, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว, ตะวันตกของพม่า, สิกขิม, ภูฐาน, เนปาล มีชนิดย่อยทั้งหมด 4 ชนิด (ดูในตาราง) สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ตั้งแต่ป่าเบญจพรรณ, ป่าดิบแล้ง ไปจนถึงชายป่าที่ติดกับพื้นที่ทำการเกษตรกรรม สามารถปีนต้นไม้ได้คล่องแคล่ว และจะใช้เวลาส่วนใหญ่บนต้นไม้ โดยจะกินทั้งพืชและสัตว์ แต่ในบางครั้งอาจมาหากินบนพื้นดินด้วย จากการศึกษาในเนปาลพบว่า มีการผสมพันธุ์กันในฤดูร้อน โดยในช่วงปลายฤดูฝนอีเห็นเครือตัวเมียจะสร้างรังในโพรงไม้ เพื่อใช้เลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาตั้งท้องนาน 2 เดือน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว อีเห็นเครือถูกสันนิษฐานว่าเป็นสัตว์ที่เป็นต้นตอแพร่เชื้อของโรคซาร์สที่ระบาดในฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ ในช่วงปี พ.ศ. 2546 เพราะชาวจีนนิยมกินเนื้ออีเห็นเครือและสัตว์ในตระกูลนี้มาก ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอีเห็นเครือ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล

ัญลักษณ์กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund for Nature - WWF) เป็นองค์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ โดยยับยั้งการทำลายสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติ และใช้พลังงานทดแทน ปัจจุบันเน้นการทำงานในด้าน ป่าไม้ ระบบนิเวศวิทยาของพื้นน้ำ มหาสมุทรรวมทั้งชายฝั่งทะเล สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ การบำบัดสารพิษที่เกิดจากสารเคมี องค์การแห่งนี้เป็นองค์กรอนุรักษ์อิสระใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีผู้สนับสนุนมากกว่า 5 ล้านรายจากทั่วโลก ดำเนินโครงการอนุรักษ์ต่างๆ 12,000 โครงการ ใน 153 ประเทศ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลมีสถานะเป็นมูลนิธิ ใน..

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล · ดูเพิ่มเติม »

อ้นกลาง

อ้นกลาง (Hoary bamboo rat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ในวงศ์ Rhizomyinae เป็นอ้นขนาดกลาง มีรูปร่างคล้ายอ้นชนิดอื่นทั่วไป มีความยาวจากปลายจมูกถึงรูทวาร ประมาณ 26-35 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในป่าไผ่ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของจีน, ในประเทศไทย ในภาคเหนือ แนวป่าตะวันตกและตามแนวเขาหินปูนในภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ และหลายประเทศในภูมิภาคอินโดจีน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอ้นกลาง · ดูเพิ่มเติม »

อ้นใหญ่

อ้นใหญ่ (Bamboo rat, Large bamboo rat, Indomalayan bamboo rat) เป็นสัตว์ฟันแทะที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhizomys sumatrensis อยู่ในวงศ์ Spalacidae มีลำตัวกลมอ้วนป้อมสีน้ำตาล มีตาและหูเล็กมาก ขาและหางสั้น เพื่อความสะดวกในการขุดโพรงอยู่ใต้ดิน อาศัยอยู่ใต้ดิน หรือโพรงไม้ มีฟันแทะคู่หน้ามีขนาดใหญ่เห็นได้ชัด กินหน่อไม้และไม้ไผ่เป็นอาหาร มีการแพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าไผ่หรือป่าโปร่ง ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยในโพรงจะมีด้วยกันหลายห้อง ใช้ประโยชน์ต่างกัน อ้นใหญ่นับเป็นอ้น 1 ใน 3 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วย อ้นใหญ่, อ้นกลาง (R. pruinosus) และอ้นเล็ก (Cannomys badius) อ้นใหญ่นับเป็นอ้นชนิดที่ใหญ่ที่สุด โดยวัดจากปลายหัวจรดปลายหางได้ถึง 48 เซนติเมตร เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ในประเทศไทย ที่วัดหนองปรือ จังหวัดกำแพงเพชร พระสงฆ์ที่พำนักอยู่ที่วัดแห่งนี้ได้ทำการเลี้ยงดูอ้นใหญ่จำนวนกว่า 10 ตัวในบ่อปูนซีเมนต์ ความสูงประมาณ 150 เซนติเมตร โดยทำการเลี้ยงมานานกว่า 6 ปี จนกระทั่งเชื่อง สามารถอุ้มเล่นได้ ให้อาหารเป็นมันแกวกับข้าวโพด ตัวที่ใหญ่ที่สุดมีความยาวประมาณ 50-60 เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า 8 กิโลกรัม โดยเริ่มจากขอซื้อจากชาวบ้านที่กำลังจะฆ่าเพื่อนำไปรับประทานเป็นอาหาร.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอ้นใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

อ้นเล็ก

อ้นเล็ก (Lesser bamboo rat) เป็นสัตว์ฟันแทะในอยู่ในวงศ์ย่อย Rhizomyinae ในวงศ์ Spalacidae จัดเป็นอ้นชนิดที่มีขนาดเล็กที่สุด และจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในสกุล Cannomys มีความแตกต่างไปจากอ้นที่อยู่ในสกุล Rhizomys คือ ฝ่าเท้าจะเรียบ และมีลายสีขาวบริเวณหน้าผากและหัวคล้ายหนูตะเภา ในขณะที่มีขนอ่อนนุ่มสีน้ำตาล โดยขนที่ท้องจะมีสีเข้มกว่าขนที่หลัง มีความยาวตั้งแต่ปลายจมูกจรดหางประมาณ 15-30 เซนติเมตร หางมีขนาดสั้นยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยประมาณ 0.5 กิโลกรัม มีจุดเด่นคือ ฟันแทะคู่หน้าที่ยาวอย่างเห็นได้ชัดเจน ใช้สำหรับขุดโพรงใต้ดินเพื่ออยู่อาศัยและใช้กัดแทะอาหาร ซึ่งได้แก่ ไม้ไผ่และหน่อไม้ รวมถึงผลไม้ประเภทต่าง ๆ ด้วยที่หล่นบนพื้นดิน บริเวณปากโพรงที่อ้นอยู่อาศัยจะมีกองดินปิดไว้ มักจะขุดโพรงในป่าบริเวณใกล้แหล่งน้ำหรือบริเวณที่เป็นป่าไผ่ ออกหากินในเวลากลางคืนและพลบค่ำ ออกลูกครั้งละ 3-5 ตัว พบกระจายพันธุ์ในอนุทวีปอินเดียตั้งแต่ เนปาล, บังกลาเทศ, รัฐอัสสัมในอินเดีย, ภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์อยู่เหนือบริเวณคอคอดกร.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและอ้นเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ควายป่า

วายป่า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bubalus arnee มีลักษณะคล้ายควายบ้าน (B. bubalis) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ควายป่าแต่มีลำตัวขนาดลำตัวใหญ่กว่า มีนิสัยว่องไวและดุร้ายกว่าควายบ้านมาก สีลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลดำ ขาทั้ง 4 สีขาวแก่หรือสีเทาคล้ายใส่ถุงเท้าสีขาว ด้านล่างของลำตัวเป็นลายสีขาวรูปตัววี (V) ควายป่ามีเขาทั้ง 2 เพศ เขามีขนาดใหญ่กว่าควายบ้านมาก วงเขากางออกกว้างโค้งไปทางด้านหลัง ด้านตัดขวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายเขาเรียวแหลม ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่เกือบ 2 เมตร ความยาวหัวและลำตัว 2.40–2.80 เมตร ความยาวหาง 60–85 เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า 1,000 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์จากประเทศเนปาลและอินเดีย ไปสิ้นสุดทางด้านทิศตะวันออกที่ประเทศเวียดนาม ในประเทศไทยในอดีตเคยมีอยู่มากและกระจัดกระจายออกไป โดยพบมากที่บ้านลานควาย หรือบ้านลานกระบือ (ปัจจุบัน คือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร) แต่สถานะในปัจจุบันเหลืออยู่แค่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เท่านั้น โดยจำนวนประชากรที่มีมากที่สุดในธรรมชาติในปัจจุบัน คือ ที่อุทยานแห่งชาติกาจิรังคา ในรัฐอัสสัม ของอินเดีย ประมาณ 1,700 ตัว หากินในเวลาเช้าและเวลาเย็น อาหารได้แก่ พวกใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ หลังจากกินอาหารอิ่มแล้ว ควายป่าจะนอนเคี้ยวเอื้องตามพุ่มไม้ หรือนอนแช่ปลักโคลนตอนช่วงกลางวัน ควายป่าจะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ราว ๆ เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 10 เดือน ควายป่ามีนิสัยดุร้ายโดยเฉพาะตัวผู้และตัวเมียที่มีลูกอ่อน เมื่อพบศัตรูจะตีวงเข้าป้องกันลูกอ่อนเอาไว้ มีอายุยืนประมาณ 20–25 ปี โดยควายป่ามักตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อ โดยเฉพาะเสือโคร่ง ในอินเดีย ควายป่ามักอาศัยอยู่ร่วมในพื้นที่เดียวกับแรดอินเดีย ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย แม้จะเป็นสัตว์กินพืชเหมือนกัน แต่ก็มักถูกแรดอินเดียทำร้ายอยู่เสมอ ๆ จนเป็นบาดแผลปรากฏตามร่างกาย สถานภาพในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและควายป่า · ดูเพิ่มเติม »

ค่างดำมลายู

งดำมลายู หรือ ค่างดำ (Banded surili) เป็นค่างชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย มีรูปร่างทั่วไปคล้ายค่างชนิดอื่น ๆ ขนตามลำตัวสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ขนบริเวณท้องอ่อนกว่าสีตามลำตัว หน้าอกมีสีขาว มีวงแหวนสีขาวรอบดวงตามากกว่าค่างชนิดอื่น ๆ เหมือนสวมแว่นตา ปลายหางมีรูปทรงเนียวเล็กและมีสีอ่อนกว่าโคนหาง ลูกเมื่อยังแรกเกิดจะมีขนสีทอง ส่วนหัวมีสีเทาเข้ม มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 48-58 เซนติเมตร ความยาวหาง 72-84 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 5-7 กิโลกรัม ค่างดำมลายูพบกระจายพันธุ์ตั้งแต่แหลมมลายูลงไปจนถึง เกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา ในอินโดนีเซีย มีนิเวศวิทยามักอาศัยในป่าที่ใกล้กับแหล่งน้ำ อาทิ บึงหรือชายทะเล บางครั้งอาจพบในป่าที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600-2,200 เมตร อยู่รวมกันเป็นฝูง ในจำนวนสมาชิกไม่มากนักเมื่อเทียบกับค่างชนิดอื่น คือ ประมาณ 5-10 ตัวเท่านั้น สถานะของค่างดำมลายูในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและค่างดำมลายู · ดูเพิ่มเติม »

ค่างแว่นถิ่นใต้

งแว่นถิ่นใต้ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Trachypithecus obscurus) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกค่าง ลักษณะทั่วไปคล้ายค่างแว่นถิ่นเหนือ (T. phayrei) คือ มีวงกลมสีขาวรอบตาเหมือนกับใส่แว่นอันเป็นที่มาของชื่อ มีขนาดของลำตัวยาว 45-57 เซนติเมตร หางยาว 66-78 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 6-9 กิโลกรัม ค่างโตเต็มวัยมีขนบริเวณด้านหลังสีเทาเข้มเกือบดำ ขนบริเวณด้านข้างใบหน้าบริเวณปลายมือและปลายเท้ามีสีเทาเข้ม โคนขาและโคนแขนด้านนอกเป็นสีเทาจาง ลักษณะสำคัญที่ใช้จำแนกค่างชนิดนี้ คือสีขนหางสีดำ ลูกที่เกิดใหม่สีขนจะเป็นสีทอง ค่างแว่นถิ่นใต้แบ่งออกเป็นชนิดย่อย 7 ชนิดย่อยด้วยกัน (ดูในตาราง).

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและค่างแว่นถิ่นใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ค่างแว่นถิ่นเหนือ

งแว่นถิ่นเหนือ เป็นค่างชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายกับค่างแว่นถิ่นใต้ (T. obscurus) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน มีสีขนที่หลากหลาย ตั้งแต่สีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีเทาเข้ม ในขณะที่บางตัวอาจจะเข้มมากจนดูคล้ายสีสนิม ขนบริเวณหลังและด้านบนลำตัวจะเข้มกว่าสีขนที่อยู่ด้านล่าง สีขนด้านล่างของบางตัวอาจเป็นสรเทาอ่อนหรือขาวขุ่น บริเวณใบหน้าจะมีสีดำหรือสีเทาอมฟ้า มีลักษณะเด่น คือ บริเวณรอบดวงตาและริมฝีปากมีสีน้ำเงินปนขาว แต่สีขาวรอบวงตานั้นบางตัวอาจไม่เป็นรูปวงกลม ในขณะที่บางตัวอาจจะมีริมฝีปากเป็นสีขาวขุ่น มือและเท้าโดยทั่วไปจะเข้มกว่าบริเวณหลัง มีความยาวลำตัวตั้งแต่หัวจรดโคนหาง 52-62 เซนติเมตร ความยาวหาง 58.5-88 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 6-9 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์ในประเทศบังกลาเทศ, ประเทศอินเดีย, ประเทศพม่า, ประเทศจีน, ประเทศไทย, ประเทศลาว และประเทศเวียดนาม ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือ มีด้วยกัน 3 ชนิดย่อย คือ.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและค่างแว่นถิ่นเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ค่างเทา

งเทา หรือ ค่างหงอก (อังกฤษ: Silvered langur, Silvery lutung, Silvered leaf monkey) ค่างชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trachypithecus cristatus จัดเป็นลิงโลกเก่าชนิดหนึ่ง ค่างเทามีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับค่างดำมลายู (Presbytis femoralis) ขนตามลำตัวเป็นสีเทาเข้ม ปลายขนเป็นสีขาวหรือสีเงิน ทำให้แลดูคล้ายผมหงอกของมนุษย์ อันเป็นที่มาของชื่อ บนหัวจะมีขนยาวเป็นหงอนแหลม ใบหน้ามีสีดำไม่มีวงแหวนสีขาวรอบดวงตา มือและเท้าเป็นสีดำ ลูกค่างที่เกิดใหม่ขนตามลำตัวจะเป็นสีเหลืองทอง มีความยาวลำตัวถึงหัว 49-57 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 72-84 เซนติเมตร น้ำหนัก 6-8 กิโลกรัม มีชนิดย่อยด้วยกัน 2 ชนิด มีพฤติกรรมอาศัยอยู่บนต้นไม้สูง ในบางครั้งอาจพบในป่าพรุด้วย อาหารของค่างชนิดนี้ได้แก่ ใบอ่อนของต้นไม้, ผลไม้ และแมลงตัวเล็ก ๆ จะออกหากินในเวลากลางวัน มักอยู่รวมเป็นฝูงประมาณ 10-15 ตัว มีการกระจายพันธุ์ในแถบภาคตะวันตก, ภาคเหนือของไทย, ภาคใต้ของลาว, พม่า, เวียดนาม, ตอนใต้ของจีน, กัมพูชา, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวาและเกาะบอร์เนียว.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและค่างเทา · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาว

้างคาว จัดอยู่ในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีลำตัวขนาดเล็กมีปีกบินได้ ค้างคาวเป็นอันดับใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีค้างคาวกว่า 1,100 สปีชีส์ หมายความว่า กว่า 20% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นค้างคาว.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและค้างคาว · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาวยอดกล้วยผีเสื้อ

้างคาวยอดกล้วยผีเสื้อ หรือ ค้างคาวสี (Painted bat, Painted woolly bat) เป็นค้างคาวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ค้างคาวกินแมลง (Vespertilionidae) เป็นค้างคาวขนาดเล็ก มีขนาดลำตัวและปีกพอ ๆ กับผีเสื้อ มีน้ำหนักประมาณ 10 กรัม ความยาวตลอดปลายปีกประมาณ 15 เซนติเมตร ขนตามลำตัวสีส้มสด ใบหูใหญ่ ปีกมีสีแดงแกมน้ำตาลบางส่วน ส่วนที่เหลือเหมือนค้างคาวทั่วไป ซึ่งชื่อวิทยาศาสตร์นั้น คำว่า "pict" เป็นรากศัพท์ภาษาละติน หมายถึง "ระบายสี" โดยรวมแล้วหมายถึง มีสีสันหลายสีในตัวเดียวกัน ค้นพบครั้งแรกในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตั้งแต่อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า, ตอนใต้ของประเทศจีน, เวียดนาม, ไทย, มาเลเชีย และอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยแล้ว เป็นค้างคาวที่พบได้น้อย แต่สามารถพบได้ทั่วทุกภาค มีพฤติกรรม มักเกาะอาศัยตามยอดใบกล้วยที่ม้วนเป็นหลอดหรือท่อ และจะย้ายไปเรื่อย ๆ เมื่อยอดกล้วยแก่ขยายออกไม่ม้วนเป็นหลอดแล้ว นอกจากนี้ยังพบเกาะตามใบไม้แห้งของต้นไม้, ยอดหญ้าพง, ยอดอ้อ และยอดอ้อย รวมทั้งมีรายงานเกาะตามรังของนกกระจาบธรรมดาตัวผู้ ซึ่งเป็นรูปหยดน้ำแขวนตามกิ่งก้านของต้นไม้ อยู่เป็นคู่หรือโดดเดี่ยว ออกหากินในเวลาเย็น โดยบินต่ำระดับยอดไม้พุ่ม ลักษณะการบินคล้ายผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ แต่บินเร็วกว่ามาก อาหารได้แก่แมลงต่าง ๆ โดยเฉพาะแมลงที่มีขนาดเล็ก มีพฤติกรรมจับคู่ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมิถุนายน ค้างคาวตัวผู้และตัวเมียรวมทั้งลูกอ่อนที่เกาะติดอกแม่ถูกจับได้พร้อมกันบนใบตองแห้งในเดือนสิงหาคม เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและค้างคาวยอดกล้วยผีเสื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาวยอดกล้วยป่า

้างคาวยอดกล้วยป่า (Whitehead's woolly bat) เป็นค้างคาวกินแมลงชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและค้างคาวยอดกล้วยป่า · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาวหน้ายักษ์กุมภกรรณ

้างคาวหน้ายักษ์กุมภกรรณ (lesser great leaf-nosed bat หรือ lesser roundleaf bat; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hipposideros turpis) เป็นสายพันธุ์ค้างคาวในวงศ์ค้างคาวหน้ายักษ์ ซึ่งพบในประเทศญี่ปุ่น, ไทย และเวียดนาม ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพวกมันคือป่าเขตอบอุ่น และค้างคาวชนิดนี้ได้ถูกคุกคามโดยการทำลายถิ่นฐานธรรมชาต.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและค้างคาวหน้ายักษ์กุมภกรรณ · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาวหน้ายักษ์ทศกัณฐ์

้างคาวหน้ายักษ์ทศกัณฐ์ (great roundleaf bat; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hipposideros armiger) เป็นสายพันธุ์ค้างคาวในวงศ์ค้างคาวหน้ายักษ์ ซึ่งพบในประเทศจีน, อินเดีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, ไต้หวัน, ไทย และเวียดนาม.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและค้างคาวหน้ายักษ์ทศกัณฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาวอีอาอีโอ

้างคาวอีอาอีโอ (Great evening bat) เป็นค้างคาวชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ia io อยู่ในวงศ์ Vespertilionidae หรือวงศ์ค้างคาวกินแมลง ซึ่งค้างคาวอีอาอีโอเป็นค้างคาวที่ใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ เป็นค้างคาวที่ไม่มีข้อมูลมากนัก ขนสีลำตัวเป็นสีน้ำตาล ฟันแหลมคม อาศัยอยู่ในถ้ำหินปูน พบกระจายทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีนตอนใต้ โดยกินแมลงเป็นอาหารเหมือนค้างคาวในวงศ์นี้ทั่วไป ค้างคาวอีอาอีโอ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีชื่อวิทยาศาสตร์สั้นที่สุด คือ อักษรเพียงแค่ 4 ตัว ออกเสียงเพียงแค่ 4 พยางค์เท่านั้น.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและค้างคาวอีอาอีโอ · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาวคุณกิตติ

้างคาวคุณกิตติ, ค้างคาวกิตติ หรือ ค้างคาวหน้าหมู (อังกฤษ: Kitti's hog-nosed bat, Bumblebee bat) เป็นค้างคาวที่จัดอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และเป็นค้างคาวเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์ Craseonycteridae และสกุล Craseonycteris พบได้ทางตะวันตกของประเทศไทย และทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศพม่า อาศัยอยู่ตามถ้ำหินปูนริมแม่น้ำ ค้างคาวคุณกิตติเป็นค้างคาวและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก มีสีน้ำตาลปนแดงเรื่อๆ หรือสีเทา มีจมูกคล้ายจมูกหมู มีอุปนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เฉลี่ยแล้วกลุ่มละ 100 ตัวต่อถ้ำ ออกหากินเป็นช่วงสั้นๆในตอนเย็นและเช้ามืด หากินไม่ไกลจากถ้ำที่พักอาศัย กินแมลงเป็นอาหาร ตกลูกปีละหนึ่งตัว สภาวะของค้างคาวคุณกิตติในประเทศพม่าไม่เป็นที่แน่ชัด และประชากรที่พบในประเทศไทยก็พบว่าจำกัดอยู่ในเพียงจังหวัดเดียว ทำให้ค้างคาวคุณกิตติอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สาเหตุหลักเกิดจากการคุกคามจากมนุษย์ และการลดลงของถิ่นที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและค้างคาวคุณกิตติ · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง

้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง (Lyle's flying fox) เป็นค้างคาวขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ค้างคาวผลไม้ (Pteropodidae) มีลักษณะเหมือนค้างคาวแม่ไก่ชนิดอื่น ๆ มีขนาดใหญ่กว่าค้างคาวแม่ไก่เกาะแต่เล็กกว่าค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน ขนส่วนท้องและหลังสีน้ำตาลทอง ปลายหูแหลม มีความยาวแขนถึงศอกประมาณ 14.5-16 เซนติเมตร มีน้ำหนักตัว 390-480 กรัม พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง, ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ของประเทศไทย โดยพบตั้งแต่พื้นที่อ่าวไทยตอนในจรดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพบได้ที่กัมพูชาและเวียดนาม โดยอาศัยรวมกันเป็นฝูงใหญ่ เกาะบนต้นไม้ จากการศึกษาพบว่า ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลางในประเทศไทย มีพื้นที่อาศัยเกาะนอน 16 แห่ง โดยมักอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นหรือพื้นที่ใกล้สวนผลไม้ ในแต่ละคืน กินพืชเป็นอาหารประมาณ 3.38-8.45 ตัน ซึ่งถือว่ามีปริมาณที่ค่อนข้างมากและยากที่เกษตรกรจะยอมรับได้ โดยเป็นพืชเศรษฐกิจเสียส่วนใหญ่ ปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน

้างคาวแม่ไก่ป่าฝน (Large flying fox, Greater flying fox, Malayan flying fox, Malaysian flying fox, Large fruit bat) เป็นค้างคาวชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pteropus vampyrus อยู่ในวงศ์ Pteropodidae หรือค้างคาวผลไม้ เป็นค้างคาวขนาดใหญ่ มีหัวคล้ายหมาจิ้งจอก มีดวงตาโต จมูกและใบหูเล็ก ขนสีน้ำตาลแกมแดง และมีเล็บที่แหลมคมสามารถเกาะกิ่งไม้ได้ โดยจะใช้เล็บของนิ้วที่ 2 ที่เหมือนตะขอเป็นหลักในการป่ายปีนและเคลื่อนไหว มีฟันทั้งหมด 36 ซี่ ที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า Lekagul B., J. A. McNeely.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน · ดูเพิ่มเติม »

นากจมูกขน

นากจมูกขน หรือ นากใหญ่หัวปลาดุก (Hairy-nosed otter) เป็นนากชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในประเทศไทย มีรูปร่างหน้าตาคล้ายนากใหญ่ธรรมดา (L. lutra) ขนตามลำตัวมีสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มเหมือนกำมะหยี่ มีลักษณะเด่นคือ มีขนปกคลุมบริเวณจมูกแตกต่างไปจากนากชนิดอื่น ๆ ที่บริเวณจมูกจะเป็นแผ่นหนังเรียบ ริมฝีปากบน คาง และคอด้านล่างมีสีขาว หัวแบน และปากค่อนข้างกว้าง มีความยาวลำตัวและหัว 50-82 เซนติเมตร ความยาวหาง 45-50 เซนติเมตร น้ำหนัก 5-6 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของกัมพูชา บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม, มาเลเซีย, ภาคตะวันตกของเกาะสุมาตราและบอร์เนียว สำหรับในประเทศไทยพบบริเวณภาคตะวันตกและภาคใต้ จากรายงานเมื่อปี พ.ศ. 2531 มีการพบนากจมูกขน 2 แห่ง คือ ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง และบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และในปี พ.ศ. 2542 มีผู้สามารถจับตัวได้อีกที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ในบริเวณใกล้กับชายแดนมาเลเซีย นากจมูกขนนับว่าเป็นนากชนิดที่ได้ชื่อว่าหายากที่สุดในโลก เพราะมีรายงานพบเห็นเพียงไม่กี่ครั้งและมีการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมน้อยมาก มักพบนากชนิดนี้ตามพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ปากแม่น้ำใกล้กับทะเลหรือชายฝั่ง มักอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ในกลางปี พ.ศ. 2551 ได้มีการเปิดเผยว่าที่เวียดนามได้มีการค้นพบนากจมูกขนที่เขตป่าสงวนอูมิงห่า ในจังหวัดก่าเมา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของเวียดนาม เมื่อเดือนมีนาคม ปีเดียวกัน จากเดิมที่เคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและนากจมูกขน · ดูเพิ่มเติม »

นากใหญ่ธรรมดา

นากใหญ่ธรรมดา หรือ นากยุโรป (Common otter, European otter) เป็นนากชนิดที่สามารถพบได้กว้างขวางมาก มีลำตัวยาว ขนหนาและหยาบเพื่อป้องกันมิให้น้ำซึมเข้ามา ทำให้ว่ายน้ำได้คล่องแคล่ว และป้องกันอากาศเย็นได้เป็นอย่างดี สีขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน ในบางครั้งอาจเปลี่ยนหรือเห็นเป็นสีเทา บริเวณท้องมีสีขนที่อ่อนกว่า หัวแบนและกว้าง หูกลม หางเรียวยาว ขนสั้น นิ้วเท้ามีพังผืดยึดติดกัน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและนากใหญ่ธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

นากใหญ่ขนเรียบ

นากใหญ่ขนเรียบ (smooth-coated otter) เป็นนากชนิดหนึ่ง จัดเป็นนากชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียมาก มีลักษณะแตกต่างไปจากนากใหญ่ธรรมดา (Lutra lutra) และ นากจมูกขน (L. sumatrana) คือ มีหัวกลม แนวขนบนจมูกเป็นรูปตัววีคว่ำ ขนสั้น หูมีขนาดเล็กและมีลิ้นปิดหูเวลาว่ายน้ำเพื่อมิให้น้ำเข้าหู ขนตามลำตัวมีสีน้ำตาลปนสีดำหรือสีน้ำตาลอ่อน บริเวณท้องมีสีอ่อนกว่าบริเวณหลัง หางแบน และมีความยาวประมาณร้อยละ 60 ของลำตัว อุ้งเท้าและนิ้วเท้ามีขนาดใหญ่ มีความยาวลำตัวและหัว 65–75 เซนติเมตร ความยาวหาง 40–45 เซนติเมตร น้ำหนักเต็มที่ 7–11 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่เนปาล, อินเดีย, ภาคตะวันตกของมณฑลยูนาน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนามตอนใต้, มาเลเซีย และเกาะสุมาตรา มีพฤติกรรมอาศัยตามพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นที่ลุ่มต่ำ เช่น ริมทะเลสาบ ลำธาร คลอง ใช้หนวดเป็นประสาทสัมผัสในการรับรู้ เช่นเดียวกับนากชนิดอื่น ๆ โดยใช้หนวดทำหน้าที่รับแรงสั่นสะเทือนจากการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ กินอาหารได้หลากหลายประเภท ทั้ง สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ รวมทั้งนกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก เช่น หนู ด้วย ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน มักอยู่รวมกันเป็นครอบครัวเล็ก ๆ ยกเว้นในสถานที่ที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์อาจอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ มีเท้าและเล็บแข็งแรงจึงสามารถขุดรูริมตลิ่งได้ลึกถึง 3 เมตร เพื่อใช้การเลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกนากที่เกิดใหม่จะลืมตาภายในเวลา 10 วัน และออกหากินได้เองเมื่ออายุได้ 3 เดือน สำหรับในประเทศไทย พบได้ทั่วทุกภาค โดยพบได้แม้กระทั่งในเมืองใหญ่ ๆ เช่น เมืองหลวงอย่าง กรุงเทพมหานคร ในแถบป่าชายเลน ในเขตบางขุนเทียน ฝั่งธนบุรี รวมถึงบริเวณพื้นที่พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้แล้วในประเทศสิงคโปร์ แถบหน้ามารีนาเบย์แซนส์ โรงแรมขนาดใหญ่ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนที่เป็นที่รู้จักดี ก็มีฝูงนากใหญ่ขนเรียบอาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างสง.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและนากใหญ่ขนเรียบ · ดูเพิ่มเติม »

นากเล็กเล็บสั้น

นากเล็กเล็บสั้น (oriental small-clawed otter, Asian small-clawed otter) เป็นนากขนาดเล็กที่สุดในโลก ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย ขนตามลำตัวมีสีเทาเข้มหรือสีน้ำตาล แต่สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่า แต่สามารถเปลี่ยนสีขนได้ตามฤดูกาล ลักษณะเด่นคือ พังผืดบริเวณนิ้วตีนจะมีขนาดเล็กลง ช่วยให้นิ้วเคลื่อนไหวได้คล่องตัวมากขึ้น ใต้คอมีสีขาว มีจมูกที่สั้นมากกว่านากชนิดอื่น ๆ ตัวที่ยังไม่โตเต็มวัยจะมีจมูกยาว และโค้งกว่า เมื่ออายุได้ 5 สัปดาห์จมูกก็จะหดสั้นลง มีความยาวลำตัวและหางประมาณ 45-55 เซนติเมตร ความยาวหาง 25-35 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางทั้งในทวีปแอฟริกาและในทวีปเอเชีย ในทวีปเอเชียพบตั้งแต่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ, ภาคใต้ของจีน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียวและเกาะชวา (แบ่งเป็น 3 ชนิดย่อย ดูในตาราง) นากเล็กเล็บสั้นมีความสามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ในธรรมชาติจะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ลำธารขนาดเล็ก, ป่าชายเลน, ริมทะเลสาบ, ห้วย, หนอง, คลอง, บึง หรือแม้แต่ในพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นเขตเกษตรกรรมของมนุษย์ เช่น ตามท้องร่องสวนต่าง ๆ อาหารหลักได้แก่ สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ แต่ชอบกินปูมากที่สุด มักอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ นากเล็กเล็บสั้นไม่ได้ใช้หนวดเป็นประสาทสัมผัสในการรับรู้เหมือนนากชนิดอื่น ๆ เพราะมีประสาทสัมผัสอยู่ที่ขาหน้า ออกลูกตามโพรงไม้หรือโพรงหินที่มีอยู่แล้ว เพราะขาหน้าไม่แข็งแรงพอจะขุดโพรงริมตลิ่งได้เหมือนนากชนิดอื่น ๆ ออกหากินในเวลากลางคืน บางครั้งอาจพบได้ตั้งแต่ช่วงพลบค่ำจนถึงรุ่งเช้า นากเล็กเล็บสั้นหากนำมาเลี้ยงตั้งแต่ยังเล็ก จะเชื่องและสามารถทำตามคำสั่งของมนุษย์ได้ จึงมีการนำมาแสดงโชว์ตามสวนสัตว์ต่าง ๆ เช่น ซาฟารีเวิลด์ เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค แม้แต่กระทั่งพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยพบในพื้นที่แถบคลองบางมด เขตทุ่งครุ ฝั่งธนบุรี เป็นนากเล็กเล็บสั้นที่อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง มีพฤติกรรมขโมยกินปลาของเกษตรกรในพื้นที่ตามท้องร่องสวนในเวลากลางคืน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและนากเล็กเล็บสั้น · ดูเพิ่มเติม »

แมวลายหินอ่อน

แมวลายหินอ่อน (Marbled cat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์เสือ (Felidae) ที่มีขนาดเท่ากับแมวบ้าน (Felis catus) แต่มีหางยาวกว่าและมีขนที่หางมากกว่า หัวมีขนาดเล็ก กลมมน สีขนมีลวดลายเป็นแถบหรือเป็นดวงคล้ายลวดลายของเสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa) หรือลวดลายบนหินอ่อน ได้รับการอนุกรมวิธานโดยตัวอย่างต้นแบบเป็นตัวเมียที่ได้ตัวอย่างจากประเทศไทย ปัจจุบันนักวิชาการแบ่งแมวลายหินอ่อนออกเป็น 2 ชนิดย่อย ได้แก่ P. m. marmorata และ P. m. charltoni ถิ่นอาศัยของแมวลายหินอ่อนอยู่ในรัฐอัสสัมทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เนปาล (P. m. chartoni) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะบอร์เนียว และเกาะสุมาตรา เมื่ออยู่ในป่าทึบตามธรรมชาติจะพบเห็นได้น้อย ปัจจุบันยังมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแมวชนิดนี้อยู่น้อย และยังไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน ขณะเดียวกันป่าที่เป็นถิ่นอาศัยก็มีพื้นที่ลดลง ทำให้ปัจจุบันแมวชนิดนี้อยู่ในสถานะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ พฤติกรรมของแมวลายหินอ่อน เมื่ออยู่ในที่เลี้ยงค่อนข้างดุร้ายกว่าเสือหรือแมวป่าชนิดอื่น ๆ มีอายุในสถานที่เลี้ยงยืนสุด 12 ปี.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและแมวลายหินอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

แมวดาว

แมวดาว (Leopard cat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเท่า ๆ กับแมวบ้าน แต่มีความคล่องแคล่วว่องไวกว่ามาก ขนตามลำตัวมีสีน้ำตาลอมเทา ลักษณะเด่นคือ ตามลำตัวมีจุดขนาดเล็กสีดำกระจายอยู่ทั่วไป ด้านข้างของหัวมีแถบสีน้ำตาลเข้ม 4—5 แถบ ขนบริเวณท้องมีสีขาวนวล แมวดาวตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย แมวดาวมีความยาวลำตัวและหัว 44.5—55 เซนติเมตร ความยาวหาง 23—29 เซนติเมตร น้ำหนัก 3—5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง พบตั้งแต่ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, รัสเซีย, อินเดีย, ปากีสถาน, เนปาล, ภาคใต้ของจีน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, สิงคโปร์ แมวดาว สามารถปรับตัวให้อยู่ในพื้นที่หลากหลายสภาพได้ บางครั้งอาจพบในป่าที่ใกล้กับพื้นที่ชุมชน ล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู, สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน พักผ่อนในเวลากลางวัน สามารถปีนต้นไม้ได้คล่องแคล่ว และยังสามารถว่ายน้ำได้อีกด้วย ปกติอาศัยและหากินตามลำพัง ยกเว้นในช่วงผสมพันธุ์ ที่อาจพบเห็นอยู่ด้วยกัน 2 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 65—72 วัน ออกลูกครั้งละ 2—4 ตัว จากการศึกษาในสถานที่เลี้ยงมีอายุยืนประมาณ 13 ปี นอกจากนี้แล้ว แมวดาวที่ผสมข้ามสายพันธุ์กับแมวบ้าน จะได้ลูกเป็นแมวพันทางสายพันธุ์ที่เรียกว่า แมวเบงกอล.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและแมวดาว · ดูเพิ่มเติม »

แมวป่า

แมวป่า, เสือกระต่าย หรือ เสือบอง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Felidae มีรูปร่างคล้ายแมวบ้าน มีลักษณะเด่นคือ มีหูแหลมยาวเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีกระจุกขนยื่นออกมาจากปลายใบหูแลดูคล้ายกระต่าย จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญว่า "เสือกระต่าย" มีขายาว หางสั้นมีลายสีเข้มสลับเป็นปล้อง ๆ ขนปลายหางมีสีดำตามลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง บริเวณหลังมีสีน้ำตาลเข้ม สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่าลำตัว แมวป่านับเป็นเสือในสกุล Felis ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวลำตัวและหัว 50–56 เซนติเมตร ความยาวหาง 26–31 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 4–6 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก ตั้งแต่ภาคเหนือของทวีปแอฟริกาจรดเอเชียตะวันออก พบในภาคตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย, คูเวต, อิรัก, อิหร่าน, จอร์แดน, ภาคตะวันออกของตุรกี, อิสราเอล, ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, เนปาล, ภูฏาน, บังกลาเทศ, ภาคใต้ของจีน, อินเดีย, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชาและเวียดนาม มักอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หรือป่าเต็งรังที่ไม่รกชัฏนัก จับสัตว์ขนาดเล็กที่อาศัยบนพื้นดินกินเป็นอาหาร เช่น กระต่ายป่า, กบ, หนู, กิ้งก่า หรือนกที่อาศัยอยู่บนพื้นดินกินเป็นอาหารหลัก ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน แต่มักพบบ่อยในช่วงเช้า และช่วงเย็น จากกายภาพที่มีขายาว แต่หางสั้นไม่สมดุลกันเช่นนี้ ทำให้แมวป่ามีการทรงตัวที่ไม่ดีเมื่ออยู่บนต้นไม้ ดังนั้นจึงไม่ค่อยปีนขึ้นไปบนต้นไม้นัก ในประเทศไทย นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล นักนิยมไพรและนักเขียนได้บันทึกไว้ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและแมวป่า · ดูเพิ่มเติม »

แมวป่าหัวแบน

แมวป่าหัวแบน (Flat-headed cat) แมวป่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prionailurus planiceps อยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) โดยเป็นแมวป่าขนาดเล็ก ขาและหางสั้น ใบหูเล็ก ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดงหรือส้ม ส่วนปลายของขนแต่ละเส้นมีขาวปนเทาหรือเหลืองอ่อน ลักษณะเด่นคือ หัวที่มีรูปร่างยาวและแบน อันเป็นที่มาของชื่อ ลูกแมวป่าหัวแบนจะมีจุดสีขาวบริเวณหลังหู อุ้งเท้าแคบและยาว มีขนากลำตัวและหัวยาว 46.5 - 48.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 12.8 - 13 เซนติเมตร น้ำหนัก 1.5 - 2.2 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย, มาเลเซีย, เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว โดยอาศัยและหากินอยู่ตามพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าพรุ หรือป่าที่น้ำท่วมขังหรือพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ อาหารได้แก่ สัตว์ขนาดเล็ก เช่น กบ, ปลา, สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ รวมถึงผลไม้บางประเภทด้วย จัดเป็นเสือชนิดที่หายากชนิดหนึ่งของโลก เนื่องจากพบเห็นตัวได้ยากและมีรายงานพบเห็นในธรรมชาติเพียงไม่กี่ครั้ง แม้แต่ภาพถ่ายก็ยังมีเพียงไม่กี่รูปเท่านั้น ปัจจุบัน สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและแมวป่าหัวแบน · ดูเพิ่มเติม »

แรดชวา

แรดชวา หรือ ระมาด หรือ แรดซุนดา (Javan Rhinoceros) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับสัตว์กีบคี่ในวงศ์แรด อยู่ในสกุลเดียวกันกับแรดอินเดีย เป็นหนึ่งในห้าชนิดของแรดที่ยังเหลืออยู่ ลำตัวยาว 3.1–3.2 ม.สูง 1.4–1.7 ม.มีขนาดใกล้เคียงกับแรดดำ เหนือจมูกมีนอสั้น ๆ หนึ่งนอมีขนาดเล็กกว่าแรดทุกชนิด จึงได้อีกชื่อว่า แรดนอเดียว แรดชวาเป็นแรดเอเชียที่มีการกระจายพันธุ์กว้างที่สุดตั้งแต่เกาะในอินโดนีเซีย ตลอดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และจีน ปัจจุบันแรดชวาถูกคุกคามจนอยู่ในขั้นวิกฤติ มีเพียงสองแห่งเท่านั้นที่ยังมีประชากรหลงเหลืออยู่ในป่า ไม่มีแรดชวาจัดแสดงในสวนสัตว์ แรดชวาอาจเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่พบได้ยากที่สุดในโลก มีประชากรแรดน้อยกว่า 40-50 ตัวในอุทยานแห่งชาติอูจุงกูลนบนเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย และประชากรจำนวนเล็กน้อย (ประเมินเมื่อปี พ.ศ. 2550) ไม่เกิน 8 ตัวในอุทยานแห่งชาติก๊าตเตียนในประเทศเวียดนาม แต่ในปัจจุบันมีการยืนยันว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว การลดลงของแรดชวาเกิดจากการล่าเอานอซึ่งเป็นสิ่งมีค่าในการแพทย์แผนจีนซึ่งมีราคาถึง $30,000 ต่อกก.ในตลาดมืด การสูญเสียถิ่นอาศัยโดยเฉพาะผลของสงครามอย่างสงครามเวียดนาม มีส่วนในการลดลงและขัดขวางการฟื้นฟูของจำนวนประชากร แม้พื้นที่ถิ่นอาศัยที่เหลือจะได้รับการปกป้องแต่แรดชวายังคงเสี่ยงต่อการถูกล่า โรคภัยไข้เจ็บ และการสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรมซึ่งจะนำไปสู่การผสมพันธุ์ในสายเลือดเดียวกัน แรดชวามีอายุประมาณ 30-45 ปีในธรรมชาติ อาศัยอยู่ในป่าดินชื้น ป่าหญ้าชื้นแฉะ และลุ่มน้ำขนาดใหญ่ แรดชวาเป็นสัตว์สันโดษมักอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นช่วงจับคู่ผสมพันธุ์และเลี้ยงดูลูกอ่อน บางครั้งจะรวมฝูงกันเมื่อลงแช่ปลักโคลนหรือลงกินโป่ง มีอาหารหลักเป็น ใบไม้อ่อน ยอดไม้ ตาไม้ และผลไม้สุกที่ร่วงหล่นตามพื้นดิน นอกจากมนุษย์แล้วแรดชวาไม่มีศัตรูอื่นอีก แรดชวาจะหลีกเลี่ยงมนุษย์แต่จะโจมตีเมื่อรู้สึกถูกคุกคาม เป็นการยากที่นักวิทยาศาสตร์และนักอนุรักษ์จะศึกษาในแรดชวาโดยตรงเพราะพบยากมากและเป็นอันตรายต่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ชนิดจากการรบกวน นักวิจัยอาศัยเพียงกับดักกล้องและตัวอย่างมูลเพื่อประเมินสุขภาพและพฤติกรรม ดังนั้นจึงมีการศึกษาในแรดชวาน้อยกว่าในแรดทุกชน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและแรดชวา · ดูเพิ่มเติม »

โลมาหลังโหนก

ลมาหลังโหนก หรือ โลมาขาวเทา หรือ โลมาเผือก หรือ โลมาสีชมพู (Chinese white dolphin, Pacific humpback dolphin, Indo-Pacific humpbacked dolphin;; 中華白海豚; พินอิน: Zhōnghuá bái hǎitún) เป็นโลมาชนิดหนึ่ง ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) มีลักษณะทั่วไป คือ มีจะงอยปากยาวโค้งเล็กน้อยที่เด่นชัดคือส่วนของฐานครีบหลังจะเป็นสันนูนสูงรองรับครีบหลังสีลำตัวจะมีการผันแปรต่างกันมาก ตัวเล็กจะมีสีจางจนเหมือนเผือก แม้บางตัวก็มีสีออกขาว หรืออย่างน้อยขาวในบางส่วน หรือสีชมพู ซึ่งสีเหล่านี้ไม่ได้มาจากเม็ดสี แต่เป็นสีของหลอดเลือดที่ช่วยให้ไม่ให้อุณหภูมิร่างกายสูงจนเกินไป และมีส่วนหลังที่เป็นสันนูนเหมือนโหนก อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ขนาดโตเต็มที่ ตัวผู้ยาวประมาณ 3.2 เมตร ขณะที่ตัวเมียยาว 2.5 เมตร และลูกแรกเกิดยาวประมาณ 1 เมตร มีอายุโดยเฉลี่ย 40 ปี โลมาหลังโหนกเมื่ออายุมากขึ้นสีชมพูตามตัวจะยิ่งเข้มขึ้น และส่วนด้านท้องและด้านล่างลำตัวจะเป็นจุด และมีสีที่สว่างกว่าลำตัวด้านบน กระจายพันธุ์ตามแถบชายฝั่งหรือแหล่งน้ำตื้นที่มีความลึกไม่เกิน 20 เมตร บริเวณอินโดแปซิฟิก พบมากที่สุด คือ อ่าวรีพัลส์ หรือเกาะลันเตา ที่ฮ่องกง ที่มีจำนวนประชากรในฝูงนับร้อย โดยมากชายฝั่งทะเลที่โลมาหลังโหนกอาศัยอยู่นั้นมักจะมีป่าชายเลนอยู่ด้วยเสมอ ๆ แต่จะต้องอยู่ในบริเวณน้ำตื้นเท่านั้น มีอุปนิสัยอาศัยประจำที่หรือมีการย้ายที่อพยพน้อยมากและอาศัยไม่ห่างจากชายฝั่งเกินระยะ 1 กิโลเมตร จึงพบเห็นตัวได้โดยง่าย โดยมักจะพบเห็นตั้งแต่ตอนเช้า จะอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 10 ตัว ว่ายน้ำช้า ประมาณ 4.8 กิโลเมตร/ชั่วโมง และจะดำน้ำประมาณ 40-60 วินาที ก่อนจะโผล่ขึ้นมาหายใจ กินปลาทั้งตามชายฝั่งและในแนวปะการังเป็นอาหารหลัก รวมทั้งหมึก, กุ้ง, ปู ออกหาอาหารเป็นฝูง โดยใช้คลื่นเสียง เป็นโลมาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาฝึกกันตามสวนน้ำหรือสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและโลมาหลังโหนก · ดูเพิ่มเติม »

โลมาหัวบาตรหลังเรียบ

ลมาหัวบาตรหลังเรียบ หรือ โลมาหัวบาตรไร้ครีบหลัง (Finless porpoise, 江猪, พินอิน: Jiāng zhū-หมูแม่น้ำ) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์พอร์พอยส์ (Phocoenidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Neophocaena แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) เป็นสัตว์ที่สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันแล้วประมาณ 20 ล้านปี มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับโลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (Orcaella brevirostris) คือ มีส่วนหัวกลมหลิมเหมือนบาตรพระไม่มีจะงอยปาก แต่ส่วนหลังเรียบไม่มีครีบหลัง ครีบข้างค่อนข้างใหญ่ปลายแหลม และลักษณะฟันในปากจะเป็นตุ่ม ไม่แหลมคม อันเป็นลักษณะเฉพาะของโลมาในวงศ์พอร์พอย์ ซึ่งทั่วโลกพบอยู่ 6 ชนิด ในประเทศไทยพบเพียงชนิดนี้ชนิดเดียว มีขนาดโตเต็มที่ยาว 1.9 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 70–80 เซนติเมตร ในน่านน้ำไทยสามารถได้ทุกจังหวัดที่ติดกับทะเล โดยพบมากที่สุดในฝั่งอ่าวไทย คือ ทะเลแถบจังหวัดตราด และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เหมือนกับวาฬและโลมาชนิดอื่น ๆ ในประเทศจีน โลมาหัวบาตรหลังเรียบ เป็นโลมาเพียง 1 ใน 2 ชนิด นอกจากโลมาแม่น้ำแยงซีเกียง (Lipotes vexillifer) หรือไป๋จี๋ ที่สามารถพบได้ในแม่น้ำแยงซีเกียง โดยมีชื่อเล่นจากชาวจีนว่า "หมูแม่น้ำ" หรือ"แพนด้าแม่น้ำ" เป็นสัตว์ที่อยู่ในฐานะหวั่นวิตกว่าจะสูญพันธุ์ เนื่องจากมลภาวะสภาพแวดล้อม จากการประเมินพบว่าปัจจุบันหลงเหลือเพียงพันกว่าตัวเท่านั้น ซึ่งทุกปีจะมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็วถึงร้อยละ 5–10 ต่อปี.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและโลมาหัวบาตรหลังเรียบ · ดูเพิ่มเติม »

โลมาอิรวดี

ำหรับโลมาน้ำจืดจำพวกอื่น ดูที่: โลมาแม่น้ำ โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (Irrawaddy dolphin, Ayeyarwaddy dolphin) เป็นโลมาชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) รูปร่างหน้าตาคล้ายโลมาทั่วไป แต่มีลักษณะเด่นคือ หัวที่มนกลมคล้ายบาตรพระ ลำตัวสีเทาเข้ม แต่บางตัวอาจมีสีอ่อนกว่า ตามีขนาดเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง ครีบข้างลำตัวแผ่กว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ครีบบนมีขนาดเล็กมาก มีรูปทรงแบนและบางคล้ายเคียว มีขนาดประมาณ 180-275 เซนติเมตร น้ำหนักไม่มีรายงาน มีการกระจายอย่างกว้างขวางในมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวไทย มักพบเข้ามาอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยและทะเลสาบหรือน้ำจืด เช่น บริเวณปากแม่น้ำ โลมาอิรวดีบางกลุ่มอาจเข้ามาอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ด้วย เช่น แม่น้ำโขง และทะเลสาบเขมร ในปี พ.ศ. 2459 มีรายงานว่าพบอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา และเคยมีผู้จับได้ที่คลองรังสิต ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร ถูกค้นพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันในน้ำจืด สามารถพบได้ 5 แห่ง คือ ทะเลสาบชิลิก้า ประเทศอินเดีย, แม่น้ำโขง, ทะเลสาบสงขลา, แม่น้ำมหาคาม ประเทศอินโดนีเซีย และปากแม่น้ำบางปะกง โดยสถานที่ ๆ พบได้น้อยที่สุดและถือเป็นแหล่งวิกฤตที่สุด คือ ทะเลสาบสงขลา ในส่วนที่เป็นน้ำจืดหรือน้ำกร่อย หรือที่เรียกว่า ทะเลน้อย มีพฤติกรรมพบได้บริเวณที่มีน้ำขุ่น สามารถอยู่ใต้ผิวน้ำได้นานถึง 70-150 วินาที แล้วจะโผล่ขึ้นมาหายใจสลับกัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 9 เดือน ลูกที่เกิดมามีขนาด 40 % ของตัวโตเต็มวัย อาหารได้แก่ กุ้ง ปลา และหอยที่อยู่บนผิวน้ำและใต้โคลนตม สถานภาพจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 1 ของไซเตส (Appendix I) คือ ห้ามซื้อขาย ยกเว้นมีไว้ในการศึกษาและขยายพันธุ์ โลมาอิรวดีมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง", "โลมาน้ำจืด", "โลมาหัวหมอน" ในภาษาใต้ และ "ปลาข่า" (ປາຂ່າ) ในภาษาลาว เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและโลมาอิรวดี · ดูเพิ่มเติม »

โลมาปากขวดอินโดแปซิฟิก

ลมาปากขวดอินโดแปซิฟิก หรือ โลมาปากขวดมหาสมุทรอินเดีย (Indo-Pacific bottlenose dolphin, Indian ocean bottlenose dolphin) เป็นโลมาชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายคลึงกับโลมาปากขวดธรรมดา (T. truncatus) คือ มีผิวหนังสีน้ำเงินเข้มอมเทา สีจางหรือบางครั้งอมชมพูด้านท้อง จะงอยปากค่อนข้างสั้นใหญ่ครีบหลังขนาดค่อนข้างใหญ่ เป็นรูปโค้งอยู่กึ่งกลางหลัง รูปร่างค่อนข้างอ้วน สิ่งที่แตกต่างจากโลมาปากขวด คือ มีจุดสีเทาเข้มเป็นประอยู่ด้านข้างและด้านท้องลำตัว และมีขนาดเล็กกว่า คือ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 1.9-2.3 เมตร เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดเดียวกันกับโลมาปากขวดธรรมดา จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1998 จึงได้รับการยอมรับให้แยกออกมาเป็นชนิดต่างหาก พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตอินโดแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย เช่น ทะเลแดง, ออสเตรเลียตอนเหนือ, ทะเลจีนใต้, ชายฝั่งแอฟริกา ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน แต่ปัจจุบันพบได้น้อยลง และถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและโลมาปากขวดอินโดแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

เพียงพอนไซบีเรีย

ียงพอนไซบีเรีย (Siberian weasel, Kolonok) เป็นเพียงพอนชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายกับเพียงพอนทั่ว ๆ ไป คือ เพรียวยาว ส่วนขาสั้น ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลอ่อน บริเวณส่วนท้องจะมีสีที่อ่อนกว่า แต่สีจะเข้มขึ้นในช่วงฤดูร้อน ขนบริเวณคอจะมีสีขาวหรือสีน้ำตาลแดง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 27-30 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 13.5-15 เซนติเมตร โดยตัวผู้จะมีน้ำหนักและขนาดที่ใหญ่กว่าตัวเมีย น้ำหนักประมาณ 0.5-2 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง โดยพบตั้งแต่ไซบีเรียในรัสเซีย, เอเชียกลาง, เอเชียตะวันออก, อนุทวีปอินเดีย, ภาคเหนือและภาคอีสานของไทย และทางตอนเหนือของลาวและเวียดนาม มักอาศัยอยู่ในป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่มีความชื้นไม่มากนัก และอยู่ในระดับพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,500-5,000 เมตร บางครั้งอาจเข้ามาหากินในพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ได้ ออกหาสัตว์ขนาดเล็กกว่า เช่น หนู เป็นอาหาร ออกหาอาหารทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ในโพรงดิน ผสมพันธุ์ในเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ตั้งท้องนาน 35-45 วัน ออกลูกครั้งละ 4-10 ตัว จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและเพียงพอนไซบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เพียงพอนเส้นหลังขาว

ียงพอนเส้นหลังขาว หรือ เพียงพอนหลังขาว (Back-striped weasel) เป็นเพียงพอนชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเหมือนกับเพียงพอนชนิดอื่น ๆ แต่มีลักษณะเด่น คือ มีแถบสีขาวแคบ ๆ พาดตามแนวสันหลังบริเวณกึ่งกลางหลัง ตั้งแต่ท้ายทอยจรดโคนหาง และมีอีกแถบสีคล้ายคลึงกันตามแนวกึ่งกลางของใต้ท้อง ขนตามบริเวณลำตัวและหางมีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณใต้คางและใต้คอมีสีเหลืองอ่อน หางมีความยาวประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัว ตัวผู้จะมีแถบขนสีขาวพาดอยู่เพียงเส้นเดียว ขณะที่ตัวเมียจะมีอยู่ด้วยกันสองเส้น มีความยาวลำตัวตั้งแต่หัวจรดโคนหางประมาณ 27.5-32.5 เซนติเมตร ส่วนหางยาว 14.5-20.5 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 1-2 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์ในป่าบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200-2,000 เมตร และเคยมีรายงานว่าพบในป่าผลับใบบนพื้นที่สูง ตั้งแต่แคว้นสิกขิมในอินเดีย, เนปาล, ภูฐาน, จีนทางตอนใต้, ลาวและเวียดนามทางตอนเหนือ และภาคเหนือและภาคอีสานของไทย มีพฤติกรรมออกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน โดยมักล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู เป็นอาหาร โดยเมื่อจับได้แล้วมักจะกัดที่จมูกจนตาย ในประเทศไทย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและเพียงพอนเส้นหลังขาว · ดูเพิ่มเติม »

เก้ง

ก้ง หรือ อีเก้งบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและเก้ง · ดูเพิ่มเติม »

เก้งหม้อ

ก้งหม้อ หรือ กวางเขาจุก หรือ เก้งดำ หรือ เก้งดง (Fea's muntjac, Tenasserim muntjac) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่จำพวกกวาง มีลักษณะคล้ายเก้งธรรมดา (M. muntjac) แต่ต่างกันเก้งหม้อจะมีขนบริเวณลำตัวที่เข้มกว่า ใบหน้ามีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณกระหม่อมและโคนขามีสีเหลืองสด ด้านล่างของลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ขาทั้ง 4 ข้างมีสีดำ จึงเป็นที่มาของอีกชื่อสามัญที่เรียก ด้านหน้าด้านหลังมีสีขาวเห็นได้ชัดเจน หางสั้น หางด้านบนมีสีเข้ม แต่ด้านล่างมีสีขาว มีเขาเฉพาะตัวผู้ เขาของเก้งหม้อสั้นกว่าเก้งธรรมดา ผลัดเขาปีละ 1 ครั้ง มีความยาวลำตัวและหัว 88 เซนติเมตร ความยาวหาง 10 เซนติเมตร น้ำหนัก 22 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของพม่า, มาเลเซีย, ภาคตะวันตกและภาคใต้ของไทย เป็นเก้งที่หายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าเหลือเพียงตัวเดียวในโลก ที่สวนสัตว์ดุสิต แต่ปัจจุบัน ยังพอหาได้ตามป่าธรรมชาติและวัดในพรมแดนไทยพม่า ที่พระสงฆ์เลี้ยงอยู่ เก้งหม้ออาศัยอยู่ในป่าที่มีความชื้นสูง เช่น บริเวณหุบเขาหรือป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำ อดน้ำได้ไม่เก่งเท่าเก้งธรรมดา ออกหาอาหารตามลำพังในช่วงเย็นหรือพลบค่ำ แต่ในบางครั้งอาจพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ ในฤดูผสมพันธุ์ จะผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว ตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและเก้งหม้อ · ดูเพิ่มเติม »

เม่นหางพวง

ม่นหางพวง (Asiatic brush-tailed porcupine) เป็นสัตว์ฟันแทะจำพวกเม่นชนิดหนึ่ง ในวงศ์เม่นโลกเก่า (Hystricidae) เป็นเม่นขนาดเล็ก มีความยาวลำตัวและส่วนหัว 36–52 เซนติเมตร ความยาวหาง 14–23 เซนติเมตร ขนตามลำตัวและหนามเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะเด่น คือ มีหางที่ยาวกว่าหางของเม่นในสกุล Hystrix ปลายหางเป็นพู่ แต่จะไม่มีขนแผงคอ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐอัสสัมในอินเดีย, ภาคใต้และมณฑลไหหลำของจีน, ภาคเหนือและตะวันออกของเมียนมา, ทั่วทุกภาคของไทย, ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม, มาเลเซีย ตลอดจนถึงเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย มีชื่อพ้อง คือ Atherurus assamensis (Thomas, 1921) และ Atherurus macrourus (Thomas, 1921) และชนิดย่อย คือ assamensis เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ตั้งแต่ป่าอุดมสมบูรณ์ไปจนถึงพื้นที่เกษตรกรรม อาหารได้แก่ รากไม้, ผลไม้, เปลือกไม้ของพืชบางชนิด และซากกระดูกหรือเขาสัตว์ ออกหากินในเวลากลางคืน โดยมักจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ๆ ละ 6–8 ตัว นอนตามโพรงไม้ในเวลากลางวัน โดยใช้โพรงไม้เดิมเป็นเวลาหลายปี บางครั้งพบว่าอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นคู่ในโพรงเดียวกัน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและเม่นหางพวง · ดูเพิ่มเติม »

เม่นใหญ่แผงคอยาว

ม่นใหญ่แผงคอยาว (Malayan porcupine, Himalayan porcupine, Large porcupine) เป็นเม่นขนาดใหญ่ หูและหางสั้น ขนตามลำตัวสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีขนแข็งแหลมและยาวมากบนหลังและสะโพก ซึ่งขนดังกล่าวจะชี้ตรงไปทางด้านหลัง ก้านขนมีสีขาว บางเส้นอาจมีวงสีดำสลับอยู่ ขนแผงคอยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร มีสีน้ำตาลเข้ม มีฟันหน้าที่ใหญ่ยาวและแข็งแรงมาก มีความยาวลำตัวและหัว 63.5-72.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 6.4-11.4 เซนติเมตร น้ำหนัก 20-27 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในเนปาล, อินเดีย, ภูฏาน, จีน, บังกลาเทศ, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ทั้งป่าสมบูรณ์และป่าเสื่อมโทรมที่ผ่านการทำลายมาแล้ว หลับนอนในโพรงที่ขุดขึ้นมาเอง บริเวณปากโพรงจะปกคลุมด้วยพืชรกชัฏเพื่ออำพราง ออกหากินในเวลากลางคืน กินอาหารจำพวกรากพืช หน่อไม้ เปลือกไม้ ผลไม้สุกที่ร่วงจากต้น กระดูกสัตว์รวมทั้งเขาสัตว์ด้วย เช่น เขาของเก้งหรือกวางที่ผลัดทิ้งเพื่อเพิ่มแคลเซี่ยมให้กับร่างกาย อีกทั้งเป็นการขัดฟันไม่ให้ยาวเกินไปในตัวด้วย นอนหลับในเวลากลางวันในโพรง โดยจะลากเอาเขาหรือกระดูกสัตว์เข้ามาแทะถึงในโพรง เมื่อพบศัตรูจะกระทืบเท้าเสียงดัง หากไม่สำเร็จจะค่อย ๆ เดินหนี หากศัตรูยังตามมา จะวิ่งหนีรวดเร็วและหยุดอย่างกะทันหัน เพื่อให้ศัตรูหยุดไม่ทันและถูกหนามแหลมทิ่ม โดยปกติจะสั่นขนของตัวเองอยู่เสมอ ทำให้มักได้ยินเสียงการกระทบกันของเส้นขนอยู่บ่อย ๆ ซึ่งเป็นการอวดศักยภาพของตัวเอง หรือแม้แต่เดินธรรมดา ๆ ก็จะได้ยินเสียงเส้นขนลากกับพื้น เม่นใหญ่แผงคอยาวออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว มีอายุสูงสุดในที่เลี้ยง 27 ปี.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและเม่นใหญ่แผงคอยาว · ดูเพิ่มเติม »

เลียงผาใต้

ลียงผาใต้ (Common serow, Sumatran serow, Southern serow, Mainland serow) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง อยู่ในอันดับสัตว์กีบคู่ วงศ์ Bovidae อันเป็นวงศ์เดียวกับแพะ, แกะ และวัว.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและเลียงผาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เลียงผาเหนือ

ลียงผาเหนือ (Chinese serow, Southwest china serow, Mainland serow) เป็นสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง จำพวกเลียงผา เลียงผาเหนือ เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของเลียงผาใต้ (C. sumatraensis) โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capricornis sumatraensis milneedwardsii (ในบางข้อมูลยังจัดให้เป็นชนิดย่อยอยู่) พบกระจายพันธุ์ในประเทศจีนทางใต้ เช่น เมืองเปาซิงเสียน ในมณฑลเสฉวน ในประเทศไทยพบได้ในตอนเหนือของประเทศ และพบได้ทั่วทุกภาคยกเว้นภาคกลางและภาคใต้ เลียงผาเหนือ มีขนที่หยาบสีเทาอมดำเหมือนเลียงผาใต้ อุณหภูมิระหว่างขนกับชั้นผิวหนังมีความแตกต่างกัน มีแผงคอที่พาดผ่านระหว่างเขาไปตรงกลางของด้านหลัง เขาโดยเฉพาะในเพศผู้จะโดดเด่น มีสีอ่อน ความยาวประมาณ 6 นิ้ว และมีความยาวโค้ง เลียงผาเหนือมีขนาดลำตัวที่ใหญ่มาก เมื่อเติบโตเต็มที่มีความยาวกว่า 6 ฟุต และมีส่วนสูง 3 ฟุต จากกีบเท้าจนถึงหัวไหล่ และมีน้ำหนักกว่า 150 กิโลกรัม พบอาศัยอยู่ตามภูเขาสูงหรือหน้าผาที่มีความสูงได้ถึง 4,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล สามารถอาศัยและปีนป่ายได้ดีในพื้นที่ที่มีความขรุขระ แต่ก็สามารถพบได้ว่าบางครั้งพบในที่รา่บ และสามารถว่ายน้ำข้ามทะเลไปยังอาศัยยังเกาะแก่งต่าง ๆ ได้อีกด้วย มักอาศัยอยู่เพียงลำพังตัวเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในถิ่้นที่ปราศจากการรบกวน โดยเฉพาะจากมนุษย์ มีอาณาเขตหากินไม่กี่ตารางไมล์ กินหญ้า, หน่อไม้ และใบไม้ต่าง ๆ เป็นอาหาร มีการประกาศอาณาเขตหากินอย่างชัดเจนด้วยการถ่ายมูล มักออกหากินตั้งแต่ช่วงเวลาเช้าตรู่และเวลาโพล้เพล้พลบค่ำ เลียงผาเหนือมักจะให้กำเนิดลูกอ่อนระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม มีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 8 เดือน.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและเลียงผาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เสือลายเมฆ

ือลายเมฆ (Clouded leopard) เสือใหญ่ประเภทหนึ่ง อยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae).

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและเสือลายเมฆ · ดูเพิ่มเติม »

เสือดาว

ำหรับเสือดำ มีบทความขยายที่: เสือดำ เสือดาว หรือ เสือดำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) เป็นเสือขนาดใหญ่รองจากเสือโคร่ง (P. tigris) thumb.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและเสือดาว · ดูเพิ่มเติม »

เสือปลา

ือปลา หรือ เสือแผ้ว (ชื่อเรียกเสือปลาในตัวที่มีขนาดใหญ่; Fishing cat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือขนาดเล็ก จัดเป็นแมวป่าขนาดกลาง รูปร่างอ้วนป้อม ขนตามลำตัวค่อนข้างสั้นและหนา ขนสีเทาอมน้ำตาล หรือขนสีเทาอมมะกอก มีจุดสีน้ำตาลเข้มแกมดำเรียงเป็นลายแนวขนานไปกับความยาวลำตัว โดยขนแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ซึ่งพัฒนามาเพื่อหากินกับน้ำโดยเฉพาะ ขนชั้นในสั้นเกรียนและแน่นมากจนน้ำซึมผ่านไม่ได้ ทำให้ตัวของเสือปลาแห้ง และช่วยรักษาความอบอุ่นเอาไว้ในขณะลงจับปลาในน้ำ ขนชั้นในสั้นกว่าขนชั้นนอก มีความหนาและยาวกว่าขนชั้นใน ขนชั้นนอกเป็นชั้นที่มีลวดลายและหนามันวาว หางยาวเพียงหนึ่งในสามของลำตัว มีพังผืดบาง ๆ ยึดระหว่างนิ้วเท้าหน้า ยังไม่พัฒนา เก็บเล็บไม่ได้เหมือนเสือชนิดอื่น ๆ เสือปลามีหัวขนาดใหญ่ หูสั้นมีกรอบสีดำ ดวงตาสีเขียว มีความยาวตั้งแต่หัวถึงลำตัว 70–90 เซนติเมตร หรือเกินกว่านั้น หางสั้น 20–30 เซนติเมตร น้ำหนัก 7–11 กิโลกรัม ขนาดของเสือปลาอาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของอาหารซึ่งก็คือความสมบูรณ์ของป่า ลูกเสือปลาขนาดเล็กมีลักษณะคล้ายแมวดาว (P. bengalensis) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันมาก มีการกระจายพันธุ์กว้างขวาง ในภูมิประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น มักอาศัยใกล้แหล่งน้ำตามธรรมชาติ เข่น ลำธาร, แม่น้ำ, ทะเลสาบ, ป่าชายเลน พบได้ตั้งแต่ตะวันตกเฉียงเหนือ, เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, และตะวันตกเฉียงใต้ ของอินเดีย, บังกลาเทศ, เนปาล, ภูฏาน, จีน, รัสเซีย, พม่า, ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เกาะสุมาตรา และเกาะชวา เสือปลามักอาศัยหากินอยู่ตามป่าเบญจพรรณ, ป่าพรุหรือป่าละเมาะ และป่าชายเลน เพราะอาหารหลัก คือ ปลา จึงเป็นที่มาของชื่อ สามารถจับปลาหรือสัตว์น้ำ เช่น อึงอ่าง, คางคก, กบ, เขียด, ปาด, ปลาไหล, ปู และสัตว์บกขนาดเล็ก เช่น หนู, กระรอก, กระต่าย, พังพอน, ชะมดเช็ด, ไก่ป่า และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น งู, นาก, ตุ่น, เป็ดน้ำ กินได้เก่งมาก โดยจะนั่งรอตะปบ หรือตะครุบปลาในแหล่งน้ำตื้น สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว โดยใช้ขาหลังตีน้ำ ปีนต้นไม้ได้เก่ง มักอยู่บนต้นไม้ แต่ไม่ทำรังอาศัยอยู่บนต้นไม้ มักทำรังอยู่ในโพรงใต้ต้นไม้ เสือปลามีการผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ ตั้งท้อง 60–65 วัน ออกลูกในเดือนมีนาคม–เมษายน มีการผสมพันธุ์ช่วงเดือนพฤษภาคม–มิถุนายน ออกลูกในเดือนกันยายน–ตุลาคม ออกลูกครั้งละ 1–4 ตัว 1–15 วันแรกตายังปิดอยู่ 55–60 วัน กินปลาหรือสัตว์น้ำและสัตว์บกขนาดเล็ก 120–180 วัน ยังไม่หย่านม จนเมื่ออายุได้ 10–12 เดือน แม่จะแยกจากไป เพื่อฝึกให้หากินเองลำพังตามธรรมชาติ บางครั้ง (บางปี) ฤดูร้อนอากาศแห้งแล้งฝนขาดช่วงตกเป็นระยะเวลานาน น้ำในแหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้งขอด มีผลทำให้ปลาและสัตว์น้ำไม่มีที่อยู่อาศัย อาหารของเสือปลาหมดไป จึงทำให้ต้องออกจากป่ามาหาอาหารกินในเขตชุมชนมนุษย์ และอาศัยอยู่ใกล้กับชุมนุมมนุษย์ เช่น ในเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร มีวัดแห่งหนึ่งชื่อ "วัดกระทุ่มเสือปลา" แสดงถึงในอดีตเคยมีเสือปลาชุกชุม ซึ่งในตัวขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเสือแผ้วอาจคุกคามปศุสัตว์ขนาดใหญ่ของมนุษย์ได้ เช่น ลูกวัว การเลี้ยงเพื่อให้เชื่องในสถานที่เลี้ยง ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเสือปลาเป็นสัตว์ป่าที่มีอุปนิสัยดุมาก.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและเสือปลา · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่ง

ือโคร่ง หรือ เสือลายพาดกลอน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris ในวงศ์ Felidae จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดที่สุดในวงศ์นี้ และเป็นเสือชนิดที่ใหญ่ที่สุดด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและเสือโคร่ง · ดูเพิ่มเติม »

เสือไฟ

ือไฟ (หรือ Catopuma temminckii) เป็นแมวป่าขนาดกลาง มีขนาดเล็กกว่าเสือลายเมฆ แต่ใหญ่กว่าแมวลายหินอ่อน โดยชื่อวิทยาศาสตร์ temminckii ถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่กุนราด ยาโกบ แต็มมิงก์ นักสัตววิทยาชาวดัตช์ซึ่งเป็นผู้บรรยายลักษณะทางวิทยาศาสตร์ของเสือไฟแอฟริกาเมื่อปี..

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและเสือไฟ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อทราย

thumb เนื้อทราย หรือ ทราย หรือ ตามะแน (Hog deer) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกกวางชนิดหนึ่ง มีรูปร่างอ้วนป้อม ขาสั้น เนื้อทรายจะมีสีขนเปลี่ยนไปตามสภาพภูมิอากาศ thumb thumb.

ใหม่!!: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยและเนื้อทราย · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »