โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาณาจักรพุกาม

ดัชนี อาณาจักรพุกาม

อาณาจักรพุกาม (Pagan Kingdom; ပုဂံခေတ်) เป็นอาณาจักรโบราณในช่วง..

44 ความสัมพันธ์: บริเวณแห้งแล้งชาวพม่าชาวมอญพระเจ้ามินชินสอพระเจ้าอลองสิธูพระเจ้าอุซะนาพระเจ้าอโนรธามังช่อพระเจ้าจะซวาพระเจ้าจั่นซิตาพระเจ้าซอลูพระเจ้านรสิงขะพระเจ้านรสีหบดีพระเจ้านรปติสี่ตู่พระเจ้านะระตูพระเจ้าไชยสิงขะพะโคพุกามกุบไล ข่านกูนซอ จองบยูญองอู ซอยะฮานภาษามอญภาษาปยูมรดกโลกมหายานรัฐสภาแห่งสหภาพราชวงศ์หยวนราชาธิราชวิญญาณนิยมศาสนาพุทธศาสนาฮินดูสมัยกลางสมเกียรติ อ่อนวิมลหม่อง ทินอ่องอาณาจักรจัตจีนโซความรู้ประวัติศาสตร์ประเทศจีนแม่น้ำอิรวดีโซะกะเตเจดีย์เจดีย์ชเวซีโกนเถรวาท

บริเวณแห้งแล้ง

ทะเลทราย ทะเลทรายอาตากามา บริเวณแห้งแล้ง หรือ ทะเลทราย (desert) เป็นบริเวณแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อยและทำให้สภาพการดำรงชีพไม่เอื้อสำหรับพืชและสัตว์ ประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวดินของโลกแห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง ซึ่งรวมเขตขั้วโลกด้วยซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อย และบ้างเรียก "บริเวณแห้งแล้งเย็น" บริเวณแห้งแล้งสามารถจำแนกได้โดยปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตก อุณหภูมิ สาเหตุของการกลายเป็นบริเวณแห้งแล้ง (desertification) หรือโดยที่ตั้งภูมิศาสตร.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและบริเวณแห้งแล้ง · ดูเพิ่มเติม »

ชาวพม่า

ม่า (บะหม่า หลุ มฺโย้, คำเมือง: ม่าน) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ในประเทศพม่า พบมากในประเทศพม่า ชาวพม่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่แถบแม่น้ำอิรวดี ชาวพม่าส่วนใหญ่ใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาที่พูดกันในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและชาวพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ชาวมอญ

มอญ (မွန်လူမျိုး; မန် หรือ မည်; IPA:; อังกฤษ: Mon) เป็นชนชาติเจ้าของอารยธรรมอันเก่าแก่ในแผ่นดินพม่า พูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและชาวมอญ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้ามินชินสอ

ระเจ้ามินชินสอ (မင်းရှင်စော,; สวรรคต 1167) พระราชโอรสและองค์รัชทายาทของพระเจ้าอลองสิธู โดยตอนนั้นพระองค์ยกทัพไปทำสงครามแต่เมื่อพระองค์ได้ข่าวว่าพระราชบิดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ก็ยกทัพกลับทันที พระเจ้ามินชินสอไม่ทราบเกี่ยวกับการทรยศของพระเจ้านราธูผู้เป็นพระราชอนุชาและกลับไปพุกามมาเพื่อเรียกร้องบัลลังก์ พระเจ้านราธูพบพระองค์ที่ท่าเรือและประกาศว่าพระเชษฐาของพระองค์เป็นพระราชาองค์ใหม่ แต่ภายในคืนนั้นพระเจ้ามินชินสอถูกวางยาพิษจนสวรรคตโดยพระเจ้านราธูPhayre 1967: 49.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและพระเจ้ามินชินสอ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอลองสิธู

พระเจ้าอลองสิธู ในรูปลักษณ์ของนัต "เมงสิธู" พระเจ้าอลองสิธู (Alaungsithu, အလောင်းစည်သူ) กษัตริย์ในราชวงศ์พุกาม ที่ครองราชย์อย่างยาวนานถึงกว่า 54 ปี (พ.ศ. 1656 - พ.ศ. 1710) ยุคสมัยของพระองค์ อาณาจักรพุกามเจริญถึงขั้นขีดสุดในทุกด้าน พระเจ้าอลองสิธู เป็นพระโอรสของพระเจ้าซอลู พระโอรสของพระเจ้าอโนรธามังช่อกับพระธิดาของพระเจ้าจานสิตา ครองราชย์หลังการสวรรคตของพระเจ้าจานสิตา พระนามภาษาสันสกฤตเมื่อทรงครองราชย์นั้น พบในจารึกที่วัดชเวกูยี ออกพระนามว่า ศรีตรีภูวนาทิตย์บวรธรรมราชา แต่พระนามที่เป็นที่รู้จักกัน คือ "สิธู" (Sithu) ซึ่งแปลว่า "วีรบุรุษผู้ชนะ" หรือ อลองสิธู (Alaungsithu) เนื่องจากทรงประกาศพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ด้วยเช่นเดียวกับพระเจ้าจานสิตา พระอัยกาของพระองค์ (อลอง แปลว่าพระโพธิสัตว์) ในยุคสมัยนี้ศิลปะแบบมอญที่เคยรุ่งเรืองในสมัยแรก ๆ ของอาณาจักร ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบของพุกามมากขึ้นจนถือได้ว่าเป็นจุดรุ่งเรืองสูงสุดของศิลปะพม่าแท้ รัชสมัยของพระองค์ เป็นรัชสมัยที่ทรงสร้างความรุ่งเรืองทางศิลปะ วรรณกรรม สถาปัตยกรรม และ การเมืองการปกครอง อย่างแท้จริง พระเจ้าอลองสิธู ทรงเป็นกษัตริย์นักเดินทางไม่แพ้พระอัยกาของพระองค์ เพราะทรงเดินทางไปเยือนดินแดนต่าง ๆ ในเขตลุ่มน้ำอิระวดี และดินแดนโพ้นทะเล เช่น ชวา สุมาตรา และศรีลังกา ในทางการเมืองการปกครอง พระองค์สามารถยึดเมืองท่าตะนาวศรีได้ จึงสามารถควบคุมการติดต่อทางทะเลที่บริเวณคอคอดกระได้ เช่น การควบคุมการค้าช้างระหว่างขอม และลังกา ทำให้อาณาจักรพุกามรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง ปลายรัชสมัยจัดเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของความเสื่อมของอาณาจักรเมื่อพระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยเจ้าชายซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง ตามตำนานเล่าว่าพระเจ้าอลองสิธูประชวรพระวาโยสิ้นพระสติ (เป็นลมจนหมดสติ) เจ้าชายนราธู พระราชโอรสจึงอัญเชิญพระองค์ไปประทับรักษาพระวรกายที่วัดแห่งหนึ่ง เมื่อฟื้นคืนพระสติเจ้าชายนราธูใช้ผ้าปูพระแท่น (ผ้าปูเตียง) อุดพระนาสิกและพระโอษฐ์จนพระเจ้าอลองสิธูสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 87 พรรษา โดยที่พระองค์มิได้แต่งตั้งผู้ใดให้เป็นรัชทายาท เมื่อข่าวทราบถึงเจ้าชายมินชินสอมกุฏราชกุมารยกทัพกลับเข้าพุกามเพื่อเข้ามาจัดงานพระศพพระราชบิดา เจ้าชายนราธูถวายราชสมบัติคืนแก่พระเชษฐาโดยได้ขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้ามินชินสอ ในปี พ.ศ. 1706 แต่ก็ครองราชย์ได้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษระหว่างงานฉลองในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยเจ้าชายนราธูอีก ปัจจุบัน พระเจ้าอลองสิธูได้รับการบูชาให้เป็นนัตหลวงลำดับที่ 31 โดยเรียกว่า เมงสิธู (Min Sithu) หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พุกาม หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและพระเจ้าอลองสิธู · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอุซะนา

พระเจ้าอุซะนา (ဥဇနာ,; พ.ศ. 1794-1799) ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่าพระองค์มิได้มีความสามารถแต่อย่างใด จึงโปรดให้มหาอำมาตย์ ราชสิงคาล (Yazathingyan) ดูแลบ้านเมืองแทนพระองค์ เมื่อพระเจ้าอุซะนาเสด็จสวรรคตจากการคล้องช้าง มหาอำมาตย์ราชสิงคาลได้เลือกเจ้าชายพระราชโอรสพระองค์เล็กที่สุดของพระเจ้าอุซะนาพระนามว่า พระเจ้านรสีหบดี ขึ้นครองราชย์ หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พุกาม.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและพระเจ้าอุซะนา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอโนรธามังช่อ

ระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอโนรธามังช่อ ในปัจจุบัน เจดีย์ชเวซีโกน ในปัจจุบัน พระเจ้าอโนรธามังช่อ หรือ พระเจ้าอโนรธา (Anawrahta Minsaw, Anawrahta, အနိရုဒ္ဓ) (พ.ศ. 1587-พ.ศ. 1620) ปฐมกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์พุกามผู้ก่อตั้งอาณาจักรพุกาม เรื่องราวของพระเจ้าอโนรธานั้นมีกล่าวอยู่มากมายในประวัติศาสตร์พม่า ทั้งตำนานพื้นบ้าน ศิลาจารึก และปรัมปราต่าง ๆ จนดูคล้ายเป็นกษัตริย์ในตำนานมากกว่าจะมีพระองค์จริง เช่น การขึ้นครองบัลลังก์ของพระองค์ด้วยการปราบดาภิเษกได้เพราะมีพระอินทร์อุปถัมภ์ เป็นต้น.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและพระเจ้าอโนรธามังช่อ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจะซวา

ระเจ้าจะซวา (Kyaswa,ကျစွာ 1198 – 1251) กษัตริย์แห่ง ราชวงศ์พุกาม ครองสิริราชสมบัติระหว่าง..

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและพระเจ้าจะซวา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจั่นซิตา

ั่นซิตา (Kyanzittha, ကျန်စစ်သား; พ.ศ. 1627 - 1656) เป็นพระเจ้ากรุงพุกาม และถือเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์พม่าไม่แพ้พระเจ้าอโนรธามังช่อ เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นธรรมกษัตริย์ที่ทำนุบำรุงศาสนาพุทธจนเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด จนเป็นที่ยอมรับทั้งจากชาวพม่าและชาวมอญ พระเจ้าจั่นซิตาเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งในรัชสมัยพระเจ้าอโนรธา เมื่อพระเจ้าซอลูพระราชโอรสของพระเจ้าอโนรธาขึ้นครองราชย์ พระองค์มิได้ประกอบภารกิจอันใดด้วยความสามารถพระองค์เอง แต่จะทรงใช้และปรึกษาเหล่าเสนาอำมาตย์อยู่บ่อย ๆ ในปลายรัชสมัยพระเจ้าซอลู งะรมัน เจ้าเมืองพะโค ซึ่งเป็นชาวมอญได้ก่อกบฏขึ้นจับตัวพระเจ้าซอลูเป็นตัวประกัน จั่นซิตาซึ่งครองเมืองถิเลงอยู่ ไม่สามารถยกทัพกลับมาช่วยพระองค์ได้ทัน งะรมันได้สังหารพระเจ้าซอลูที่เมืองพวาสอ และพยายามเข้ายึดครองอาณาจักรพุกามแต่จั่นซิตาได้เข้าขัดขวาง เหล่าเสนาอำมาตย์ และพระธัมมทัสสีมหาเถระที่ปรึกษาองค์สำคัญของพระเจ้าอโนรธา จึงได้อัญเชิญจั่นซิตาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ เมื่อขึ้นครองราชย์ จั่นซิตามีพระนามว่า ศรีตรีภูวนาทิตยธัมมมราชาTaw, Blagden 1911: 216 ในภาษาสันสกฤต ในจารึกพม่าเรียกพระองค์ว่า "ถิลุงมัง" (T’iluin Man) แปลว่า "กษัตริย์แห่งถิเลง" แต่เนื่องจากจั่นซิตามิได้มีเชื้อสายของกษัตริย์ พระองค์จึงอ้างสิทธิธรรมในการครองราชสมบัติว่าพระองค์ทรงเป็นภาคหนึ่งของพระโพธิสัตว์ และเป็นองค์อวตารของพระวิษณุของชาวปยูอีกด้วย สมัยนี้จึงถือเป็นรัชสมัยที่ศิลปศาสตร์แบบมอญเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในพุกาม ในรัชสมัยของพระเจ้าจั่นซิตา ทรงติดต่อกับต่างประเทศเป็นอย่างมาก ในปี..

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและพระเจ้าจั่นซิตา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าซอลู

พระเจ้าซอลู กษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์พุกามเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าอโนรธามังช่อมหาราชองค์แรกของพม่า เมื่อพระราชบิดาสวรรคตด้วยการถูกควายเผือกขวิดในปีค.ศ. 1077 (พ.ศ. 1620) พระองค์จึงขึ้นครองราชย์แทนโดยตลอด 7 ปีแห่งการครองราชย์ทรงเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอเนื่องจากมิได้ทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองทรงพึ่งแต่เหล่าที่ปรึกษาของพระราชบิดารวมทั้งพระชินอรหันต์ พระอาจารย์ของพระราชบิดาจึงทำให้ในปีค.ศ. 1084 (พ.ศ. 1627) ระงมันพระสหายสนิทของพระองค์ ซึ่งเป็นบุตรชายของราชครูพระอาจารย์ของพระองค์เอง ซึ่งทรงบัญชาให้ไปปกครองเมืองพะโคได้จับพระองค์เป็นตัวประกันและปลงพระชนม์พระเจ้าซอลูที่เมืองพวาสอ ซึ่งขณะนั้นจานสิตาซึ่งครองเมืองถิเลงอยู่ได้พยายามยกกองทัพมาช่วยพระองค์แต่ไม่ทัน และระงมันได้พยายามเข้าครอบครองอาณาจักรพุกาม จึงทำให้จานสิตาได้ยกกองทัพมาต่อสู้กับระงมันและในที่สุดจานสิตาก็ได้ชัยชนะ เหล่าขุนนางทั้งหลายรวมทั้งพระชินอรหันต์จึงได้อัญเชิญจานสิตาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าจานสิตา หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พุกาม หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและพระเจ้าซอลู · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้านรสิงขะ

ระเจ้านรสิงขะ (နရသိင်္ခ, นะระเตงคะ) เป็นพระราชโอรสของพระเจ้านรตู่ ครองราชย์เป็นพระเจ้าพุกาม (พม่า) ระหว่างปี..

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและพระเจ้านรสิงขะ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้านรสีหบดี

ระเจ้านรสีหบดี (Narathihapate.; နရသီဟပတေ့, nəɹa̰ θìha̰pətḛ; c. 1238–1287) เป็นกษัตริย์พม่าองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์พุกาม ครองราชย์ตั้งแต่ปี..1254-1287 มีเรื่องโดดเด่นสองประการที่สร้างพระเจ้านรสีหบดีพระองค์นี้เป็นที่จดจำ คือ ความตะกละตะกลามชอบเสวยอาหาร โดยร่ำลือกันว่าต้องมีอาหารหลากหลายถึงสามร้อยชนิดต่อมื้อพระกระยาหาร และอีกประการคือ ความขลาดกลัวต่อการรุกรานของทัพมองโกล จนเป็นกษัตริย์ที่ได้ฉายาว่า "กษัตริย์ขี้ตะกละผู้หนีทัพจีน" พระองค์เสด็จสวรรคตด้วยถูกปลงพระชนม์โดยการวางยาพิษจากราชโอรสพระองค์รองนาม สีหตู (Thihathu) ซึ่งขณะนั้นได้ครองเมืองแปร จากนั้นราชวงศ์พุกามก็ได้ล่มสลายลงพร้อมกับชัยชนะของมองโกลที่มีอำนาจเหนือภูมิภาคตอนบนของพม่า กว่า 250 ปี ที่ราชวงศ์พุกามปกครองมีอำนาจในพื้นที่ลุ่มน้ำอิรวดี ผืนแผ่นดินอาณาจักรได้กลับไปแตกแยกเป็นแคว้นเล็กเมืองน้อยอีกครั้ง สภาพสุญญากาศทางการปกครอง สภาวะไร้ผู้นำได้ดำเนินต่อไปอีกกว่า 250 ปี จนกระทั่งการขึ้นมาของราชวงศ์ตองอูที่ได้รวบรวมอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและพระเจ้านรสีหบดี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้านรปติสี่ตู่

พระเจ้านรปติสี่ตู่ เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์พุกาม พระราชนัดดาของพระเจ้านรถุได้ขี้นครองราชสมบัติต่อมา ทรงพระนามว่า พระเจ้านรปติสี่ตู่ (พ.ศ. 1717-1754) หรือพระนามภาษาสันสกฤตว่า ศรีตรีภูวทิตย์บันฑิตธรรมราชานรปติชัยสุระ ส่วนพระนามในจารึกคือ สิทธุ เช่นเดียวกับพระอัยกาของพระองค์ ในรัชกาลนี้ พระเจ้านรปติสี่ตู่ทรงสร้างรูปแบบอารยธรรมที่เป็นพม่าชัดเจนขึ้นมา และส่งต่อวัฒนธรรมดังกล่าวให้แก่ชนชาติต่างๆโดยรอบ รวมถึงชาวมอญเจ้าของอารยธรรมเดิม นอกจากนี้ ยังทรงรับเอาพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามายังพุกาม มีการแต่งตำราทางพุทธศาสนา สร้างวัด และเจติยวิหาร และกัลปนาข้าทาส ที่ดิน ให้แก่วัดเป็นจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้น การสร้างศาสนสถานด้วยสถาปัตยกรรมแบบพุกามของพระองค์ ในดินแดนห่างไกลต่างๆ ยังเป็นการแผ่ขยายอำนาจของอาณาจักรออกไปภายนอก ซึ่งทำให้ฐานการผลิตของอาณาจักรพุกามกว้างขวางขึ้นอีกด้วย นับได้ว่าเป็นยุคที่มีความมั่นคงและมั่งคั่งสุดในประวัติศาสตร์พุกาม หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พุกาม.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและพระเจ้านรปติสี่ตู่ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้านะระตู

พระเจ้านราธู (Narathu) กษัตริย์แห่งราชวงศ์พุกาม ได้ชื่อว่าเป็นผู้โหดร้าย และเป็นจุดเริ่มต้นความเสื่อมของอาณาจักรพุกาม มีพระนามที่เป็นที่รู้จักอีกพระนามหนึ่งว่า "อิมตอวสยัน" (Im Taw Syan) ที่ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์จอมโหด เนื่องจากทรงลอบปลงพระชนม์พระบิดา คือ พระเจ้าอลองสิธูและพระเชษฐาเพื่อขึ้นครองราชย์ และเมื่อขึ้นครองราชย์แล้วก็ยังได้ประหารอีกหลายคนที่ทรงหวาดระแวง เช่น มเหสีของพระองค์ ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นธิดาของกษัตริย์ลังกา ในช่วงสมัยนี้พุกามยังขัดขวางการค้าช้างระหว่าง เขมร กับลังกา ผ่านการควบคุมการค้าข้ามบริเวณเมาะตะมะและคอคอดกระ ที่พุกามได้ควบคุมไว้ตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าอลองสิธู พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 แห่งลังกา จึงยกทัพเรือมาโจมตีเมืองพะสิมที่ปากแม่น้ำอิระวดี และล่องเรือขึ้นมาถึงอาณาจักรพุกามจนสามารถจับพระเจ้านราธูและประหารชีวิตพระองค์ในที่สุด พระเจ้านราธูครองราชย์อยู่เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 4 ปี (พ.ศ. 1710 - พ.ศ. 1714) ชาวพม่าในสมัยหลังจึงเรียกพระองค์ว่า "กุลากยา" (Kula-Kya) ซึ่งแปลว่า กษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์โดยชาวอินเดีย (กุลา แปลว่าชาวอินเดีย แต่ในที่นี้หมายรวมถึงลังกาด้วย) หลังรัชสมัยของพระเจ้านราธูประวัติศาสตร์พุกามมีความสับสนมาก นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเป็นช่วงที่ไม่มีกษัตริย์ปกครองเป็นเวลา 9 ปี คือระหว่าง พ.ศ. 1708 - พ.ศ. 1717 แต่ยังมีหลักฐานบางส่วนที่กล่าวถึงกษัตริย์ที่ปกครองพุกามองค์ต่อมา ทรงพระนามว่า พระเจ้านรเถขะ (Naratheinkha) ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นพระราชโอรสของพระเจ้านราธู หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พุกาม.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและพระเจ้านะระตู · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าไชยสิงขะ

พระเจ้าไชยสิงขะ (ဇေယျသိင်္ခ) หรือ ทีโหล่มีนโหล่ (ထီးလိုမင်းလို,; พ.ศ. 1754-1778) หรือพระเจ้านันเด่าง์เมีย (နန်းတောင်းများမင်း) เป็นพระเจ้าพุกาม ที่ครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา ในรัชกาลนี้แทบไม่มีความวุ่นวายทางการเมืองเลย จึงเป็นยุคสมัยของการสร้างวัดและเจดีย์ขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก จนในท้ายรัชกาลเกิดปัญหาจากการกัลปนาที่ดิน และกำลังพลจำนวนมากให้เป็นข้าวัด เนื่องจากข้าวัดเหล่านี้จะไม่ถูกเกณฑ์แรงงานจากหลวง หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พุกาม.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและพระเจ้าไชยสิงขะ · ดูเพิ่มเติม »

พะโค

(ပဲခူးမြို့, Bago หรือ Pegu) หรือชื่อในอดีตคือ หงสาวดี (ဟံသာဝတီ, หงสาวะโตย; Hongsawatoi, Hanthawaddy, Hanthawady, Hanthawadi หรือ Handawaddy) เป็นเมืองหลวงของเขตหงสาวดี ตั้งอยู่ใกล้เมืองเมาะตะมะ ทางตอนใต้ของประเทศพม่า นครหงสาวดีเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญ และอาณาจักรตองอูของชาวพม.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและพะโค · ดูเพิ่มเติม »

พุกาม

กาม (Bagan, ပုဂံ) เมืองในประเทศพม่า เคยเป็นที่ตั้งอาณาจักรพุกาม (พ.ศ. 1587 - พ.ศ. 1830) อาณาจักรแห่งแรกของชาวพม่า พุกามเป็นเมืองที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก เนื่องด้วยความกังวลจากการบูรณะที่อาจผิดวิธี แต่ได้มีอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นเพื่อพิจารณาเป็นมรดกโลกในอนาคตUnesco 1996Tourtellot 2004 ปัจจุบันรัฐบาลทหารพม่ากำลังพยายามเร่งเสนอชื่อและเตรียมความพร้อมให้เป็นมรดกโลกทางศิลปวัฒนธรรมแห่งต่อไป เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม..

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและพุกาม · ดูเพิ่มเติม »

กุบไล ข่าน

มเด็จพระจักรพรรดิกุบไล ข่าน หรือ จักรพรรดิซื่อจูหวางตี้ หรือ จักรพรรดิซีโจ๊วฮ่องเต้ (23 กันยายน พ.ศ. 1758-1837 (ค.ศ. 1215-1294)) เป็นข่านหรือจักรพรรดิของมองโกล และยังเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์หยวนแห่งประเทศจีน กุบไลข่านเป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิเจงกีส ข่าน พระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิมองโกลเมื่อ พ.ศ. 1803 (ค.ศ. 1260) และสถาปนาราชวงศ์หยวนเมื่อ พ.ศ. 1822 (ค.ศ. 1279) จักรวรรดิมองโกลที่เจงกีสข่านสร้างไว้ขึ้นถึงจุดสูงสุดในสมัยของกุบไล ข่าน เมื่อกุบไล ข่านสามารถเอาชนะราชวงศ์ซ่งของจีน และยึดครองกรุงปักกิ่ง ปกครองประเทศจีน กุบไลข่านยังตีได้ดินแดนต้าหลี่ (Dali - ในมณฑลยูนนานในปัจจุบัน) และเกาหลี นอกจากนี้ยังได้พยายามยึดครองดินแดนนิฮง (ญี่ปุ่น ในปัจจุบัน) และดินแดนหนานหยาง (ดินแดนแหลมสุวรรณภูมิ) ประกอบด้วย พม่า, เวียดนาม และอินโดนีเซีย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ในยุคสมัยของกุบไล ข่าน มีนักเดินทางชาวตะวันตกมากมายเดินทางมาถึงดินแดนจีนของกุบไล ข่าน นักเดินทางที่มีชื่อเสียงคือ มาร์โคโปโล.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและกุบไล ข่าน · ดูเพิ่มเติม »

กูนซอ จองบยู

นัตพระเจ้ากูนซอ จองบยู พระเจ้ากูนซอ จองบยู (ကွမ်းဆော်ကြောင်ဖြူ) เป็นกษัตริย์ของพุกาม ได้เข้าชิงราชสมบัติของพระเจ้าญองอู ซอยะฮาน และอภิเษกมเหสีทั้งสามของพระเจ้าญองอู ซอยะฮาน ขึ้นเป็นมเหสีของพระองค์ พระองค์เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าอโนรธา ผู้สถาปนาอาณาจักรพุกาม ในปลายรัชกาลพระองค์ถูกพระราชโอรสบุญธรรม คือ จีนโซ บีบบังคับให้สละราชสมบัติและบีบบังคับให้พระองค์ออกบวชและสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมา ปัจจุบัน พระเจ้ากูนซอ จองบยู เป็นหนึ่งใน 37 นัตหลวงตามความเชื่อเรื่องผีนัตแห่งประเทศพม.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและกูนซอ จองบยู · ดูเพิ่มเติม »

ญองอู ซอยะฮาน

ญองอู ซอยะฮาน (Nyaung-u Sawrahan; ညောင်ဦး စောရဟန်း) พระมหากษัตริย์แห่งพม่า ซึ่งครองราชย์ในช่วง พ.ศ. 1499 -..

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและญองอู ซอยะฮาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามอญ

ษามอญ (เพียซาโหม่น) เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร ซึ่งเป็นสายหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร 12 สาย พูดโดยชาวมอญ ที่อาศัยอยู่ในพม่า และไทย ภาษาตระกูลมอญ-เขมรมีการใช้มานานประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว มีผู้ใช้ภาษานี้อยู่ประมาณ 5,000,000 คน อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ จารึกวัดโพธิ์ร้าง พ.ศ. 1143 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบเอเซียอาคเนย์ เป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวอักษรปัลลวะ ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น อักษรมอญ และได้พบอักษรที่มอญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ ในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมืองลพบุรี ข้อความที่จารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่า จารึกในพุทธศตวรรษที่ 14 ราว..

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและภาษามอญ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปยู

ษาปยู (Pyu) หรือ ภาษาติร์กุล เป็นภาษาโบราณในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ที่เคยมีผู้พูดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณที่ปัจจุบันคือพม่าและไทย ใช้พูดโดยชาวปยูเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 10 และกลายเป็นภาษาตายเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นยุคที่เริ่มใช้ภาษาพม่าอย่างแพร่หลาย ภาษาปยูที่พบในจารึกจะมีคำแปลเป็นภาษาบาลีไว้ด้วย Matisoff จัดภาษานี้อยู่ในกลุ่มย่อยพม่า-โลโล Bradley จัดให้อยู่ในภาษากลุ่มโลโล ในขณะที่ Van Driem จัดให้เป็นสาขาอิสระของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า หมวดหมู่:ภาษาโบราณในทวีปเอเชี.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและภาษาปยู · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาแห่งสหภาพ

รัฐสภาแห่งสหภาพ (ပြည်ထောင်စု လွှတ်တော်, Pyidaungsu Hluttaw) เป็นสภาระดับชาติระบบสองสภาของประเทศพม่า (หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า) ซึ่งตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 ปยีดองซุลุตอประกอบด้วยสภาสองสภา คือ สภาชนชาติ (อะมโยตาลุตอ) 224 ที่นั่งบนสภา และสภาผู้แทนราษฎร (ปยีตุลุตอ) 440 ที่นั่งบนสภา แต่ละภูมิภาคและรัฐจะมีการบริหารและมีการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นของตัวเอง คือ ลุตอแห่งภูมิภาค (สภาแห่งภูมิภาค) หรือลุตอแห่งรัฐ (สภาแห่งรัฐ) สมาชิกของปยีดองซุลุตอทั้งสองได้รับการเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่าในวันที่ 8 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและรัฐสภาแห่งสหภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หยวน

ตแดนของจักรวรรดิจีนสมัยราชวงศ์หยวน เครื่องปั้นดินเผา สมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หยวน (หยวนเฉา) (พ.ศ. 1814 - 1911) คือหนึ่งในราชวงศ์ของจักรวรรดิจีน ก่อตั้งขึ้นเมื่อกุบไลข่านผู้นำเผ่าชาวมองโกล ได้โค่นอำนาจราชวงศ์ซ่งลง แล้วเปิดศักราชชาวมองโกลครองประเทศจีน ชาวมองโกลได้เข้ายึดครองภาคเหนือของจีนเป็นเวลากว่าทศวรรษ ได้มีความพยายามเปลี่ยนเป็นจีน ตั้งแต่สมัย มองเกอ ข่าน พระเชษฐาของกุบไลข่าน แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งในสมัยของกุบไลข่าน ในปี..

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและราชวงศ์หยวน · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิราช

ราชาธิราช หรือชื่อในภาษาพม่า ยาซาดะริต อเยดอว์บอง (ရာဇာဓိရာဇ် အရေးတော်ပုံ) เป็นชื่อของพงศาวดารพม่า ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยประวัติศาสตร์ของอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญตั้งแต่ พ.ศ. 1830 ถึง พ.ศ. 1964 รายละเอียดภายในตัวพงศาวดารประกอบด้วยเรื่องราวของความขัดแย้งภายในราชสำนัก การกบฏ เรื่องราวทางการทูต การสงคราม เป็นต้น เนื้อหาประมาณกึ่งหนึ่งของเรื่องอุทิศพื้นที่ให้กับรัชกาลของพระเจ้าราชาธิราช โดยลงลึกในรายละเอียดของ สงครามสี่สิบปี ระหว่างอาณาจักรหงสาวดีของมอญ กับอาณาจักรอังวะของพม่า ภายใต้การนำของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง และอุปราชมังกะยอชวาThaw Kaung 2010: 29–30 ต้นฉบับของเรื่องราชาธิราชฉบับภาษาพม่ามาจากพงศาวดารภาษามอญเรื่อง "พงศาวดารกรุงหงสาวดี" ("Hanthawaddy Chronicle") และได้รับการแปลเป็นภาษาพม่าโดยพญาทะละ เสนาบดีและกวีชาวมอญซึ่งรับราชการในอาณาจักรพม่าสมัยราชวงศ์ตองอู นับได้ว่าเป็นเอกสารเกี่ยวกับชาวมอญในดินแดนพม่าตอนล่างที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่หลงเหลืออยู่Aung-Thwin 2005: 133–135 และอาจเป็นพงศาวดารมอญเพียงฉบับเดียวที่เหลือรอดจากการเผาทำลายเมืองพะโค (หงสาวดี) โดยกบฏชาวมอญภายใต้การนำของอดีตขุนนางในอาณาจักรหงสาวดีในปี พ.ศ. 2107Harvey 1925: xviii สำเนาใบลานของเรื่องราชาธิราชฉบับพญาทะละปัจจุบันเหลือรอดมาเพียง 4 ชุด สันนิษฐานว่าทำขึ้นในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 23 (คริสต์ศตวรรษที่ 18) นอกจากนี้ยังมีฉบับแปลฉบับอื่นๆ อยู่อีก รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ ตามการวิเคราะห์โดยนายปันหละเมื่อปี พ.ศ. 2511 นายปันหละได้แปลราชาธิราชฉบับหนึ่งกลับเป็นภาษามอญเมื่อปี พ.ศ. 2501 และเรียบเรียงเรื่องราชาธิราชขึ้นใหม่อีก 1 ฉบับเป็นภาษาพม่า (นับเป็นราชาธิราชฉบับที่ 10) โดยสังเคราะห์ข้อมูลจากราชาธิราชฉบับพญาทละ ฉบับ "ปากลัด" และบันทึกจากพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว (มานนานยาซะเวง) รวมทั้งอาศัยข้อมูลเพิ่มเติมจากการวิจัยสมัยใหม่Pan Hla 1968: 3–4.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและราชาธิราช · ดูเพิ่มเติม »

วิญญาณนิยม

วิญญาณนิยม (จาก ภาษาลาติน anima, "ลมหายใจ, วิญญาณ, ชีวิต") คือ ความเชื่อทางศาสนาที่ว่า วัตถุสิ่งของ สถานที่ หรือ สัตว์ทั้งหลาย ต่างมีสารัตถะทางจิตวิญญาณ (spiritual essence) ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ลัทธิวิญญาณนิยมเชื่อว่าสรรพวัตถุและสรรพสัตว์ (ซึ่งรวมถึง ต้นไม้ ก้อนหิน ลำธาร สภาพอากาศ งานหัตถกรรมของมนุษย์ และแม้แต่คำพูด) ล้วนแต่มีวิญญาณ มีชีวิต และ/หรือมีเจตจำนง (agency) เป็นของตัวเอง ลัทธิวิญญาณนิยมเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยมีอยู่ก่อนศาสนาจัดตั้งทุกรูปแบบ และถือกันว่าเป็นมุมมอง/ทัศนคติทางจิตวิญาณ หรือของความเชื่อเหนือธรรมมชาติอย่างแรกที่เกิดขึ้นในโลก ซึ่งพบหลักฐานเกี่ยวกับความเชื่อนี้ย้อนหลังไปถึงยุคหินเก่า ซึ่งเป็นสมัยมนุษย์ยังท่องเที่ยวไปตามพื้นที่ต่างๆเพื่อล่าสัตว์ หรือเก็บรวมรวบของป่า และสื่อสารกับจิตวิญญาณของธรรมชาติ ในแง่นี้ความเชื่อแบบศาสนาเชมัน (shaman) หรือลัทธิที่นับถือพ่อมดหมอผีว่าเป็นผู้ที่สื่อสารกับธรรมชาติได้ จึงมีความเกี่ยวข้องและเป็นส่วนหนึ่งของระบบความเชื่อแบบวิญญาณนิยม ในวิชามานุษยวิทยาว่าด้วยศาสนาวิญญาณนิยม เป็นคำที่ถูกใช้เพื่อสื่อถึงระบบความเชื่อดั้งเดิมของชาวพื้นเมือง โดยเฉพาะเวลาที่นำไปเปรียบเทียบกับระบบความเชื่อทางจิตวิญญาณ หรือศาสนาจัดตั้งที่เกิดขึ้นภายหลัง เนื่องจากแต่ละวัฒนธรรมจะมีตำนานความเชื่อ นิทานเทพปกรณัม และพิธีกรรมที่แตกต่างกันไป แนวคิด "วิญญาณนิยม" จึงใช้สื่อถึงสายใยความต่อเนื่องในระดับรากฐานของทัศนคติทางจิตวิญญาณ หรือในเรื่องเหนือธรรมชาติของชนพื้นเมือง ที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากความคิดความเชื่อ หรือคำสอนของลัทธิที่มาจากภายนอก จนถึงขนาดว่าบางครั้งทัศนคติทางวิญญาณดังกล่าวอาจจะฝังรากลึกลงไปในระบบความเชื่อของชนพื้นเมืองนั้นมาแต่ปฐมกาล จนทำให้ชนพื้นเมืองดังกล่าวไม่มีคำที่ใช้เรียกระบบความเชื่อนั้นในภาษาของตน.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและวิญญาณนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมเกียรติ อ่อนวิมล

ผ.สมเกียรติ อ่อนวิมล เป็นประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยวิทัศน์ จำกัด, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำวิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก, ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท แปซิฟิก อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. 2543 อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 อดีตนักสร้างสรรค์รายการข่าวและผู้ประกาศข่าวของหลายสถานีโทรทัศน์ในประเทศไท.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและสมเกียรติ อ่อนวิมล · ดูเพิ่มเติม »

หม่อง ทินอ่อง

หม่อง ทินอ่อง (Htin Aung; ထင်အောင်; ค.ศ. 1909-1978) เป็นนักประพันธ์และนักวิชาการประวัติศาสตร์พม่าและวัฒนธรรมพม่าคนสำคัญ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มีผลงานเขียนเป็นหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพม่าทั้งในภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ ผลงานภาษาอังกฤษของเขานั้นได้เปิดมุมมองที่เป็นที่ต้องการมากในการศึกษาประวัติศาสตร์พม่าแบบสากล ซึ่งจนถึงขณะนี้มีเฉพาะนักประวัติศาสตร์อังกฤษในสมัยอาณานิคมเท่านั้น ผลงานที่สำคัญ อาทิ ประวัติศาสตร์พม่า, Folk Elements in Burmese Buddhism และ Burmese Drama.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและหม่อง ทินอ่อง · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักร

อาณาจักร (kingdom; dominion) หมายถึง เขตแดนที่อยู่ในอำนาจปกครองของประเทศหนึ่ง อาจจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

จัต

ัต (ကျပ်,, จะ) เป็นสกุลเงินของประเทศพม.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและจัต · ดูเพิ่มเติม »

จีนโซ

นัตเจ้ามีนกองแห่งปะเยนมาหรือพระเจ้าจีนโซ พระเจ้าจีนโซ (Kyiso; ကျဉ်စိုး) พระมหากษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์พุกาม ครองราชย์ในระหว่างปี พ.ศ. 1564 - พ.ศ. 1581.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและจีนโซ · ดูเพิ่มเติม »

ความรู้

วามรู้ (Knowledge) คือความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง หรือสิ่งบางสิ่ง ซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ ความสามารถในการรู้บางอย่างนี้เป็นสิ่งสนใจหลักของวิชาปรัชญา (ที่หลายครั้งก็เป็นเรื่องที่มีการโต้เถียงอย่างมาก) และมีสาขาที่ศึกษาด้านนี้โดยเฉพาะเรียกว่าญาณวิทยา (epistemology) ความรู้ในทางปฏิบัติมักเป็นสิ่งที่ทราบกันในกลุ่มคน และในความหมายนี้เองที่ความรู้นั้นถูกปรับเปลี่ยนและจัดการในหลาย ๆ แ.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและความรู้ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำอิรวดี

แม่น้ำอิรวดี (ออกเสียง เอยาวะดี) เป็นแม่น้ำที่ไหลจากเหนือจรดใต้ผ่านประเทศพม่า เป็นแม่น้ำที่ใหญ่สุดในประเทศและเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญที่สุด ชื่ออิรวดีในพม่ามาจาก ภาษาบาลี Irāvatī Airavati Erāvatī เป็นชื่อบาลีของช้างเอราวัณพาหนะของพระอินทร์ ช้างมักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับน้ำ และถูกนำมาใช้เป็นชื่อของแม่น้ำอื่น ๆ ในหลายภูมิภาคเช่น แม่น้ำอจิรวดี ในอินเดีย แม่น้ำอิรวดีมีต้นกำเนิดจากจุดบรรจบกันของ แม่น้ำมะลิขา และ แม่น้ำเมขา ที่ไหลลงมาจากธารน้ำแข็งบริเวณเทือกเขาหิมาลัยทางตอนเหนือของปูตาโอในพม่าตอนบน แม่น้ำค่อนข้างไหลเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี และไหลลงสู่ทะเลอันดามัน แม่น้ำอิรวดีมีพื้นที่ลุ่มน้ำ 404,200 ตารางกิโลเมตร (156,026 ตารางไมล์) ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศพม่า นักกวีชาวอังกฤษ รัดยาร์ด คิปลิง มีการบรรยายถึงแม่น้ำอิรวดีในบทกวีที่เขาแต่งเรื่อง 'ถนนสู่มัณฑะเลย์' กว่าหกศตวรรษที่แม่น้ำถูกใช้สำหรับการค้าขายและการขนส่ง แม่น้ำมีความสำคัญต่อจักรวรรดิอังกฤษหลังได้พม่าเข้ามาอยู่ในอาณานิคมได้มีการพัฒนาเครือข่ายคลองชลประทาน แม่น้ำยังคงมีความสำคัญในปัจจุบันเนื่องจากเป็นเส้นทางการจราจรและเป็นเส้นทางของสินค้าส่งออกจำนวนมาก ข้าวมีการผลิตในเขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีซึ่งมีการใช้น้ำจากแม่น้ำ ในปี..

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและแม่น้ำอิรวดี · ดูเพิ่มเติม »

โซะกะเต

ระเจ้าโซะกะเต (Sokkate,စုက္ကတေး) กษัตริย์แห่ง ราชวงศ์พุกาม ครองสิริราชสมบัติระหว่าง..

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและโซะกะเต · ดูเพิ่มเติม »

เจดีย์

ระปฐมเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม เจดีย์ (ภาษาบาลี: เจติย, ภาษาสันสกฤต: ไจติยะ) หรือ สถูป (ภาษาบาลี: ถูป, ภาษาสันสกฤต: สฺตูป) เป็นสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา พบได้ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชีย เจดีย์ หมายถึงสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งของที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่เคารพบูชาระลึกถึง สถูป หมายถึงสิ่งก่อสร้างเหนือหลุมฝังศพ หรือสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อให้ลูกหลานและผู้เคารพนับถือได้สักการบูชา ถือกันว่ามีบุคคลที่ควรบรรจุอัฐิธาตุไว้ในสถูปเพื่อเป็นที่สักการะของมหาชนอยู่เพียง 4 พวก เรียกว่า ถูปารหบุคคล ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิ์ สำหรับประเทศไทย คำว่า สถูป และ เจดีย์ เรามักรวมเรียกว่า “สถูปเจดีย์” หรือ “เจดีย์” มีความหมายเฉพาะ ถึงสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิ หรือเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป หรือเพื่อเป็นที่ระลึก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ในสมัยหลังลงมาคงมีการสร้างสถานที่เพื่อบรรจุอัฐิธาตุ และเพื่อเคารพบูชาระลึกถึงพร้อมกันไปด้ว.

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและเจดีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เจดีย์ชเวซีโกน

ีย์ชเวซีโกน (ရွှေစည်းခုံ စေတီတော်) เป็นวัดในเมืองนยองอู อยู่ใกล้พุกามในพม่า เป็นต้นแบบเจดีย์แบบพม่า การก่อสร้างเจดีย์ชเวซีโกน เริ่มต้นขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธามังช่อ (พ.ศ. 1587-พ.ศ. 1620) ซึ่งเป็นผู้สถาปนาอาณาจักรพุกามในปี..

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและเจดีย์ชเวซีโกน · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: อาณาจักรพุกามและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ราชวงศ์พุกามราชอาณาจักรพุกาม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »