โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รางวัลปาล์มทองคำ

ดัชนี รางวัลปาล์มทองคำ

รางวัลปาล์มทองคำ (Palme d'Or) เป็นรางวัลสูงสุดในการประกวดภาพยนตร์ของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ มีครั้งแรกในปี..

31 ความสัมพันธ์: ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลากองทัพอำมหิตกัส แวน แซงต์กานมาร์ติน สกอร์เซซีมีเกลันเจโล อันโตนีโอนีลุยส์ บุญญูเอลลุงบุญมีระลึกชาติวิตตอรีโอ เด ซีกาสงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศสงครามโลกครั้งที่สองหลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุลออร์สัน เวลส์อะกิระ คุโรซาวะจังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลงดีเบลชทรอมเมิลตราอาร์มแท็กซี่มหากาฬโชเฮ อิมะมุระโรมัน โปลันสกีเฟเดรีโก เฟลลีนีเอมีเลียว เฟร์นันเดซเทศกาลภาพยนตร์กานเดวิด ลีนเดอะ มิชชั่นเดอะวิซาร์ดออฟออซ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2482)เควนติน แทแรนติโนเฉิน ข่ายเกอLa Dolce VitaOrfeu Negro

ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา

ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา (Francis Ford Coppola; 7 เมษายน ค.ศ. 1939) เป็นผู้กำกับ นักเขียนบท และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากผลงานกำกับภาพยนตร์ เดอะก็อดฟาเธอร์ และ Apocalypse Now นอกเหนือจากผลงานภาพยนตร์แล้ว เขายังเป็นนักธุรกิจเจ้าของโรงบ่มไวน์ ธุรกิจโรงแรม และนิตยสาร คอปโปลาเกิดที่โรงพยาบาลเฮนรี ฟอร์ด ในดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน จึงมีชื่อกลางว่า "ฟอร์ด" ตามชื่อของเฮนรี ฟอร์ด; can be viewed at http://www.youtube.com/watch?v.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพอำมหิต

อะโพคาลิปส์ นาว (Apocalypse Now) เป็นภาพยนตร์สงครามที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและกองทัพอำมหิต · ดูเพิ่มเติม »

กัส แวน แซงต์

กัส กรีน แวน แซงต์ จูเนียร์ (Gus Green Van Sant, Jr.) เกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1952 เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน นักเขียนบท ช่างถ่ายภาพ นักดนตรีและนักเขียน เขาเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงประสบความสำเร็จด้านการกำกับสำหรับภาพยนตร์ในปี 1997 เรื่อง Good Will Hunting และผลงานในปี 2008 เรื่อง Milk และได้รับรางวัลปาล์มดอร์ ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ปี 2003 ในภาพยนตร์เรื่อง Elephant ผลงานภาพยนตร์ในด้านการเขียนและกำกับของเชาอย่างเช่น ภาพยนตร์ดัดแปลงจากบทประพันธ์ของทอม ร็อบบินส์ เรื่อง Even Cowgirls Get the Blues และ My Own Private Idaho นำแสดงโดยเคียนู รีฟส์และริเวอร์ ฟีนิกซ์ (เดิมทีแวน แซงต์ วางแผนว่าจะกำกับภาพยนตร์ชีวประวัติเกี่ยวกับแอนดี้ วอร์ฮอล แสดงโดยฟีนิกซ์ แต่ก็ยกเลิกไปหลังจากที่ฟีนิกซ์เสียชีวิต) เขาเขียนบทในภาพยนตร์แรก ๆ ของเขาเอง และยังประพันธ์เรื่อง Pink นอกจากนี้ยังมีหนังสือภาพถ่ายของเขาในชื่อ 108 Portraits.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและกัส แวน แซงต์ · ดูเพิ่มเติม »

กาน

กาน (Cannes) เป็นหนึ่งในเมืองที่เป็นที่รู้จักที่สุดของเฟรนช์ริเวียรา เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวและเป็นที่จัดงานประจำปีเทศกาลภาพยนตร์เมืองกาน ตั้งอยู่ในจังหวัดอาลป์-มารีตีม บนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมืองนี้ยังมีชื่อเสียงด้านร้านค้า ร้านอาหาร และโรงแรมที่หรูหรา มีป้อมปราการที่สร้างขึ้นโดยพวกนักบวชในตอนต้นสมัยกลางเพื่อป้องกันการโจมตีทางทะเล ใน..

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและกาน · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ติน สกอร์เซซี

มาร์ติน สกอร์เซซี (Martin Scorsese) เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 เป็นผู้กำกับภาพยนตร์รางวัลออสการ์ชาวอเมริกัน นักเขียนบทภาพยนตร์ ผู้สร้างและนักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ เขาเป็นผู้ก่อตั้ง World Cinema Foundation และยังได้รับรางวัลความสำเร็จในชีวิตจาก AFI เขาได้รับหลายรางวัลจากรางวัลลูกโลกทองคำ รางวัลบาฟต้าและรางวัลจากสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์อเมริกัน สกอร์เซซียังเป็นประธาน Film Foundation มูลนิธิไม่แสวงหาประโยชน์ ที่รักษาและป้องการเสื่อมสลายของภาพยนตร์ ผลงานของสกอร์เซซี มีเนื้อหาอย่างเช่นความเป็นชาวอเมริกัน-อิตาลี แนวความคิดเรื่องโรมันคาทอลิกเกี่ยวกับความสำนึกผิดและการไถ่บาป ความเป็นลูกผู้ชายและความรุนแรง สกอร์เซซีมีผลงานอันโดดเด่นอย่างเช่น Taxi Driver, Raging Bull และ Goodfellas ที่ทั้งสามเรื่องได้นักแสดงอย่างโรเบิร์ต เดอ นิโรมาแสดง เขาได้รับรางวัลออสการ์สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง The Departed.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและมาร์ติน สกอร์เซซี · ดูเพิ่มเติม »

มีเกลันเจโล อันโตนีโอนี

มเคิลแองเจลโล อันโตนิโอนีมีเกลันเจโล อันโตนีโอนี (Michelangelo Antonioni) (29 กันยายน 1912 – 30 กรกฎาคม 2007) ผู้กำกับภาพยนตร์, คนเขียนบทภาพยนตร์,นักตัดต่อภาพยนตร์ และนักเขียนเรื่องสั้นชาวอิตาลี เป็นที่รู้จักในวงการภาพยนตร์โลกจากไตรภาค ความแปลกแยกของผู้คนในโลกสมัยใหม่ อันประกอบด้วย L'Avventura (1960), La Notte (1961), and Eclipse (1962) อันโตนิโอนี่ ได้ให้นิยามใหม่กับการเล่าเรื่องของภาพยนตร์ ซึ่งท้าทายขนบเดิมๆ เช่น การสร้างอารมณ์ดราม่า ความสมจริง และการเล่าเรื่องแบบเป็นเหตุเป็นผล งานของอันโตนิโอนี่ มักเต็มไปด้วย "เหตุการณ์ที่เป็นปริศนา ความลึกลับ และอารมณ์อันซับซ้อน" โดยหลีกเลี่ยงการแสดงแบบ เป็นเหตุเป็นผลแต่จะเน้นความสำคัญไปที่ภาพและการจัดองค์ประกอบ มากกว่าการสร้างตัวละคร หรือการเล่าเรื่องราว ซึ่งภาพยนตร์ของเขา ได้ทำให้เกิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ ขึ้นในวงการภาพยนตร์โลก ตลอดชีวิตการทำงาน อันโตนิโอนี ได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลปาล์มทองคำ เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ จากภาพยนตร์เรื่อง Blowup, รางวัลสิงโตทองคำ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส จากภาพยนตร์เรื่อง Red Desert, รางวัลหมีทองคำ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน จากภาพยนตร์เรื่อง La Notte เป็นต้น.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและมีเกลันเจโล อันโตนีโอนี · ดูเพิ่มเติม »

ลุยส์ บุญญูเอล

ลุยส์ บุญญูเอล ปอร์โตเลส (Luis Buñuel Portolés) (22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1900 - 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1983) เป็นผู้สร้างภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังระดับโลก เกิดในสเปน ต่อมาเปลี่ยนสัญชาติเป็นเม็กซิโก ทำงานในสเปน เม็กซิโก ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ถือเป็นผู้บุกเบิกแนวทางการทำภาพยนตร์ในรูปแบบศิลปะแนวเหนือจริง (Surrealism) ซึ่งผลงานภาพยนตร์ของบุญญูเอลล้วนมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างสูง โดยเขามักจะนำแนวภาพยนตร์หลายแนวมาผสม ยั่วล้อ และสร้างเสริมรูปแบบงานใหม่ๆออกมา ความโดดเด่นของ งานบุญญูเอลทำให้ชื่อของเขาได้กลายเป็นหนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์คนสำคัญของโลก.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและลุยส์ บุญญูเอล · ดูเพิ่มเติม »

ลุงบุญมีระลึกชาติ

ลุงบุญมีระลึกชาติ (Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives, Oncle Boonmee, celui qui se souvient de ses vies antérieures) เป็นภาพยนตร์ไทยนอกกระแส ออกฉายครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม..

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและลุงบุญมีระลึกชาติ · ดูเพิ่มเติม »

วิตตอรีโอ เด ซีกา

วิตตอรีโอ เด ซีกา (Vittorio De Sica; 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1901 – 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1974) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์และนักแสดงชาวอิตาลี เป็นผู้นำในการเคลื่อนไหวสัจนิยมแนวใหม่ ภาพยนตร์ที่เขากำกับ 4 เรื่องได้รับรางวัลออสการ์ Sciuscià และ Bicycle Thieves ได้รับรางวัลเกียรติยศ ส่วน Ieri, oggi, domani และ Il giardino dei Finzi Contini ได้รับรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม ซึ่งจากเสียงวิจารณ์ด้านบวกของความสำเร็จของ Sciuscià (ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ได้รางวัลสาขานี้) และ Bicycle Thieves ได้ทำให้สถาบันเพิ่มสาขารางวัลต่างประเทศนี้อย่างถาวร ภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องนี้ยังเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์คลาสสิก เด ซีกา เคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ในภาพยนตร์ปี 1957 ผลงานกำกับของชาลส์ วิดอร์จากงานดัดแปลงของเออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ในเรื่อง A Farewell to Arms.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและวิตตอรีโอ เด ซีกา · ดูเพิ่มเติม »

สงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศ

งคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศ (The Pianist) เป็นภาพยนตร์ร่วมระหว่างประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ และโปแลนด์ ผลงานการกำกับโดย โรมัน โปลันสกี้ นำแสดงโดย เอเดรียน โบรดี ออกฉายครั้งแรก ในวันที่ 24 พฤษภาคม ปี..

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและสงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม

หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม (Farewell My Concubine; ดีวีดีในไทย ใช้ชื่อว่า "หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม") เป็นภาพยนตร์จีนที่กำกับโดยเฉิน ข่ายเกอ สร้างจากนวนิยายในชื่อเดียวกันของลิเลียน ลี นักเขียนชาวฮ่องกง มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโตวจื่อ นักแสดงอุปรากรจีนชาย ที่ได้รับการฝึกฝนให้รับบทเป็นตัวนาง กับซือโถว เพื่อนรุ่นพี่ที่คอยปกป้องโตวจื่อมาตั้งแต่เด็ก เมื่อเติบโตขึ้นโตวจื่อใช้ชื่อในการแสดงว่า เฉิงเตี๋ยอี มีชื่อเสียงโด่งดังกับกับบทอวี้จี่อัน นางสนมของเซี่ยงอี่ (หรือ ฌ้อปาอ๋อง 232-202 ปีก่อนคริสตกาล) แม่ทัพแห่งแคว้นฉู่ตะวันตกในยุคราชวงศ์ฉิน ที่แสดงโดยซือโถว ซึ่งใช้ชื่อในการแสดงว่า ต้วนเสี่ยวโหลว บทบาทของทั้งคู่มาจากอุปรากรปักกิ่งเรื่อง "ฌ้อปาอ๋อง" เกี่ยวกับการรบเมื่อ 202 ปีก่อนคริสตกาล ระหว่างเซี่ยงอี่ กับหลิวปัง, การสถาปนาราชวงศ์ฮั่น และเรื่อง "ศาลาโบตั๋น" ภาพยนตร์นำเสนอความสัมพันธ์แบบสามเส้าแบบ ชาย-ชาย-หญิง ระหว่าง เฉิงเตี๋ยอี (รับบทโดย เลสลี่ จาง) กับ ต้วนเสี่ยวโหลว (รับบทโดย จาง เฟิงอี้) และนางโลมชื่อ จูเสียน (รับบทโดย กง ลี่) โดยภาพยนตร์จบลงที่ความตายของเฉิงเตี๋ยอี โดยใช้ดาบเชือดคอตัวเอง เช่นเดียวกับในบทอวี้จี่อัน ที่ตัวเองเป็นผู้เล่น ภาพยนตร์สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมและการเมืองจีนในช่วงต้นทศวรรษที่ 20 ตั้งแต่ยุคสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง การพ่ายแพ้ของกองทัพญี่ปุ่น การโค่นล้มพรรคก๊กมินตั๋งโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ผ่านยุคการปฏิวัติทางวัฒนธรรมที่งิ้วกลายเป็นสิ่งต้องห้าม จนมาถึงยุคปัจจุบัน เป็นภาพยนตร์ภาษาจีนเพียงเรื่องเดียวที่ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปี 1993.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและหลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม · ดูเพิ่มเติม »

อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล

อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (ชื่อเล่น "เจ้ย" ต่างประเทศเรียก "Joe") เกิดวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 ณ กรุงเทพมหานคร เติบโตในจังหวัดขอนแก่น โดยเป็นบุตรชายของ นายสุวัฒน์ วีระเศรษฐกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และปริญญาโท ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาพยนตร์ จากสถาบันศิลปะชิคาโก (Art Institute of Chicago) เริ่มต้นผลิตภาพยนตร์และวิดีโอตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2533 เป็นหนึ่งในผู้ผลิตภาพยนตร์ไม่กี่คนในประเทศไทยที่ทำงานนอกระบบสตูดิโอ อภิชาติพงศ์มักทดลองโดยยึดหลักโครงเรื่องที่อิงมาจากละครโทรทัศน์ ละครวิทยุ การ์ตูน และภาพยนตร์เก่า ๆ มักได้แรงบันดาลใจมาจากเมืองเล็ก ๆ มักใช้นักแสดงที่ไม่มีประสบการณ์ ไม่ใช่มืออาชีพ และใช้บทสนทนาสด พ.ศ. 2543 ภาพยนตร์สารคดีเรื่องยาวเรื่องแรกของเขา ดอกฟ้าในมือมาร (Mysterious Object at Noon) ได้เข้าร่วมเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติมากมาย และได้รับคำวิจารณ์พร้อมรางวัล 4 รางวัล และเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดในปี 2543 โดยนักวิจารณ์นิตยสาร The village voice อภิชาติพงศ์เปิดบริษัทภาพยนตร์ Kick the Machine โดยผลิตภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา (Blissfully Yours) ได้รับรางวัล Un Certain Regard ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ (Cannes Film Festival) ประจำปี พ.ศ. 2545 ณ ประเทศฝรั่งเศส ถูกจัดเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดที่คานส์โดยนิตยสาร Le Cahiers du Cinema พ.ศ. 2547 ภาพยนตร์เรื่อง สัตว์ประหลาด! (Tropical Malady) ซึ่งร่วมกับบริษัท Anna Sanders Films ประเทศฝรั่งเศส ได้รับรางวัล Jury Prize และเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับเข้าเลือกในสายประกวดหลักของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ พ.ศ. 2551 อภิชาติพงศ์ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินรางวัล (ส่วนของภาพยนตร์สายหลัก) ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล · ดูเพิ่มเติม »

ออร์สัน เวลส์

อร์จ ออร์สัน เวลส์ (George Orson Welles) (6 พฤษภาคม, ค.ศ. 1915 - 10 ตุลาคม, ค.ศ. 1985) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน เคยได้รับรางวัลอเคเดมีอวอร์ด,นักเขียนบท,ผู้กำกับละคร,โปรดิวซ์เซอร์ภาพยนตร์ และนักแสดงหนัง,ละครและวิท.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและออร์สัน เวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

อะกิระ คุโรซาวะ

อะกิระ คุโรซาวะ เป็นผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ และผู้เขียนบทภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น กำกับและเขียนภาพยนตร์หนังเรื่องแรกชื่อ Sugata Sanshiro ฉายในปี 1943 และภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่เขากำกับคือเรื่อง Madadayo ในปี 1993 คุโรซาวะเป็นผู้กำกับได้รับรางวัลด้านภาพยนตร์มากมาย และยังได้รับรางวัล Oscar for Lifetime Achievement ภาพยนตร์ของคุโรซาวะมีอิทธิพลต่อผู้กำกับรุ่นต่อ ๆ มาอย่างมาก.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและอะกิระ คุโรซาวะ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลง

ังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลง เป็นชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์เรื่อง "Dancer in the Dark" ภาพยนตร์เพลง/ดรามา ที่กำกับและเขียนบทโดยลาร์ส ฟอน เทรียร์ นำแสดง ร้องและแต่งเพลงประกอบโดยปีเยิร์ก เป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายในไตรภาค "หัวใจทองคำ" (Golden Heart Trilogy) ของลาร์ส ฟอน เทรียร์ ต่อจากเรื่อง Breaking the Waves (1996) และ The Idiots (1998) ภาพยนตร์ถ่ายทำด้วยกล้องวิดีโอดิจิตอลโดยใช้แสงธรรมชาติ ไม่มีการจัดแสงใดๆ ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Cinéma vérité ทำให้ได้ภาพสั่นไหว ภาพยนตร์ออกฉายครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปี 2000 และได้รับรางวัลปาล์มทองคำ นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ปีเยิร์ก) ผู้กำกับยอดเยี่ยม (ฟอน เทรียร์) ประจำปีนั้น ท่ามกลางความอื้อฉาว เนื่องจากผู้ชมจำนวนมากเดินออกจากโรงภาพยนตร์ระหว่างการฉาย เนื่องจากทนไม่ได้กับภาพที่สั่นไหวจากการถ่ายทำด้วยกล้องมือถือ นอกเหนือจากเพลงประกอบของปีเยิร์กแล้ว ในภาพยนตร์ยังประกอบด้วยเพลงสามเพลงของร็อดเจอร์สและแฮมเมอร์สไตน์ จากเรื่องมนต์รักเพลงสวรรค์ คือเพลง "My Favorite Things" ที่เธอร้องขณะกำลังจะถูกประหารชีวิต นอกจากนี้ เพลง "I've Seen It All" ในภาพยนตร์ ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม อัลบัมดนตรีประกอบภาพยนตร์ ใช้ชื่ออัลบัมตามตัวละครเอกว่า Selmasongs.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและจังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลง · ดูเพิ่มเติม »

ดีเบลชทรอมเมิล

ีเบลชทรอมเมิล (Die Blechtrommel; The Tin Drum) เป็นภาพยนตร์ภาษาเยอรมันที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและดีเบลชทรอมเมิล · ดูเพิ่มเติม »

ตราอาร์ม

ตราแผ่นดินของหลายประเทศมีลักษณะเป็นตราอาร์ม ดังเช่นภาพตราแผ่นดินของประเทศในสหภาพยุโรป ตราอาร์ม (Coat of arms, เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า armorial achievement หรือ armorial bearings, เรียกอย่างย่อว่า arms) ในธรรมเนียมของทวีปยุโรป เป็นสัญลักษณ์ซึ่งออกแบบขึ้นสำหรับบุคคลหรือคณะบุคคล อันมีการดัดแปลงใช้ในหลายลักษณะ พัฒนามาจากตราประจำตัวของอัศวินในยุโรปสมัยโบราณเพื่อจำแนกพวกของตนออกจากพวกของศัตรู สามัญชนในยุโรปภาคพื้นทวีปอาจใช้ตราอาร์มเป็นสัญลักษณ์ได้เช่นกัน แต่เรียกชื่อชนิดตราต่างออกไปว่า Burgher arms ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ของประเทศไทย ได้ให้นิยามของคำว่า "อาร์ม" ไว้ดังนี้ ตราอาร์มนั้นต่างจากตราประทับ (seal) และตราสัญลักษณ์ (emblem) ตรงที่มีการให้คำอธิบายอย่างเป็นทางการโดยมีศัพท์เฉพาะของตนเอง ซึ่งเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า Blazon หรือเทียบเป็นภาษาไทยว่า นิยามของตรา ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21 ตราอาร์มได้มีการนำไปใช้กับสถาบันต่างๆ เช่นมหาวิทยาลัย ตราของแต่ละแห่งจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและปกป้องสิทธิการใช้งาน การใช้ตราดังว่ามานี้ยังรวมถึงการใช้เป็นเครื่องหมายราชการประจำชาติหลายประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือใช้เป็น "ตราแผ่นดิน" นั่นเอง ศิลปะในการออกแบบ การแสดงให้ปรากฏ การอธิบาย และการบันทึกตราอาร์ม เรียกว่า heraldry อันอาจแปลเป็นภาษาไทยตามสำนวนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ว่า "มุทราศาสตร์".

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและตราอาร์ม · ดูเพิ่มเติม »

แท็กซี่มหากาฬ

แท๊กซี่มหากาฬ (Taxi Driver) เป็นภาพยนตร์แนวดราม่าเมื่อปี 1976 อำนวยการสร้างโดยมาร์ติน สกอร์เซซี และเขียนบทโดยพอล ชีรันเดอร์ นำแสดงโดย เบิร์ด เดอ นิโร, โจดี ฟอสเตอร์, ฮาร์เวย์ คีเทล และไซบิลล์ เชพเพร์ด โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และได้รางวัลปาล์มทองคำด้ว.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและแท็กซี่มหากาฬ · ดูเพิ่มเติม »

โชเฮ อิมะมุระ

อิมามูระ (15 กันยายน ค.ศ. 1926 — 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2006) เป็นผู้กำกับชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับรางวัล Palme d'Or ถึง 2 ครั้ง ถือกันว่าเขาเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลและสไตล์ที่มีเอกลักษณ์คนหนึ่งในวงการภาพยนตร์ของญี่ปุ่นเลยทีเดียว.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและโชเฮ อิมะมุระ · ดูเพิ่มเติม »

โรมัน โปลันสกี

รมัน เรย์มอนด์ โปลันสกี (Roman Rajmund Polański) ผู้กำกับ นักเขียนบท และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวโปแลนด์ ภาพยนตร์ที่เขากำกับได้รับความชื่นชมทั้งด้านศิลปะ และประสบความสำเร็จด้านรายได้ โปลันสกีเกิดที่ฝรั่งเศส ในครอบครัวชาวยิวที่อพยพมาจากโปแลนด์ ต่อมาครอบครัวของเขาย้ายกลับไปอยู่ที่เมืองคราคุฟ ประเทศโปแลนด์ และต้องตกเป็นเชลยในค่ายกักกันชาวยิวในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และสูญเสียมารดาไปที่ค่ายกักกันเอาสชวิทซ์ หลังสงคราม โปลันสกีได้เข้าเรียนในโรงเรียนภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของโปแลนด์-ลูดซ์ และผลงานเรื่องที่สี่ เป็นภาพยนตร์สั้นเรื่อง Dwaj ludzie z szafą (Two Men and a Wardrobe ปี 1958) ได้รับ 5 รางวัลจากการประกวดภาพยนตร์ระดับนานาชาติ ผลงานสำคัญของโปลันสกี ได้แก่ Nóż w wodzie (Knife in the Water ปี 1962) ผลงานกำกับเรื่องยาวชิ้นแรก ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม, Repulsion ในปี 1965 นำแสดงโดยแคเทอรีน เดอเนิฟ, Rosemary's Baby ปี 1968 นำแสดงโดยมีอา ฟาร์โรว์, Chinatown ในปี 1974 นำแสดงโดยแจ็ก นิโคลสันและเฟย์ ดันอะเวย์, Le Locataire (The Tenant ปี 1976) ภาพยนตร์ฝรั่งเศสที่เขาแสดงนำคู่กับอิซาเบล อัดจานี, Tess ปี 1979 นำแสดงโดยนาสตาสชา คินสกี, Frantic ปี 1988 นำแสดงโดยแฮริสัน ฟอร์ด และล่าสุดเรื่อง The Pianist ปี 2002 ที่เขาได้รับรางวัลออสการ์สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม แต่ไม่ได้เดินทางไปรับรางวัล เนื่องจากถูกหมายจับจากทางการสหรัฐตั้งแต่ปี 1977 ในปี 1977 โปลันสกีถูกจับในคดีข่มขืนเด็กหญิงวัย 13 ปี หลังจากงานปาร์ตีที่บ้านของแจ็ก นิโคลสันในฮอลลีวูด และถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหามีเพศสัมพันธ์กับผู้เยาว์ เขาหลบหนีไปฝรั่งเศส และถูกหมายจับจากทางการสหรัฐ จึงหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีข้อตกลงการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับสหรัฐอเมริกา มาตั้งแต่นั้น โรมัน โปลันสกีถูกตำรวจสวิตเซอร์แลนด์จับกุมตัวเมื่อเดือนกันยายน..

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและโรมัน โปลันสกี · ดูเพิ่มเติม »

เฟเดรีโก เฟลลีนี

เฟเดรีโก เฟลลีนี (Federico Fellini) (20 มกราคม ค.ศ. 1920 – 31 ตุลาคม ค.ศ. 1993) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี เป็นที่รู้จักในผลงานในการใช้ภาพแบบแฟนตาซีและบาโรค ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อนักสร้างภาพยนตร์ในศตวรรษที่ 20 หมวดหมู่:ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี หมวดหมู่:บุคคลจากโรม.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและเฟเดรีโก เฟลลีนี · ดูเพิ่มเติม »

เอมีเลียว เฟร์นันเดซ

เอมีเลียว เฟร์นันเดซ โรโม เกิดวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1904 เป็นนักแสดงชาวเม็กซิโก ผู้เขียนบท และผู้กำกับในภาพยนตร์เม็กซิโก หมวดหมู่:นักแสดงเม็กซิโก หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐโกอาวีลา.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและเอมีเลียว เฟร์นันเดซ · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลภาพยนตร์กาน

ทศกาลภาพยนตร์กาน (Cannes Film Festival; Festival de Cannes) เป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 ถือเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเทศกาลหนึ่ง และมีอิทธิพลรวมทั้งชื่อเสียงมากที่สุดเทียบเคียงกับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสและเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน งานจัดขึ้นทุกปี ราวเดือนพฤษภาคม ที่ Palais des Festivals et des Congrès ในเมืองกาน ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและเทศกาลภาพยนตร์กาน · ดูเพิ่มเติม »

เดวิด ลีน

เดวิด ลีน (David Lean) (25 เมษายน ค.ศ. 1908-16 เมษายน ค.ศ. 1991) ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังชาวอังกฤษที่มีผลงานภาพยนตร์มหากาพย์ชื่อดังอย่าง The Bridge on the River Kwai และ Lawrence of Arabia เดวิด ลีน ได้รับการยกย่องจาก BFI (British Film Institute) ให้เป็นหนึ่งสิบผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตลอดกาล เดวิด ลีน เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1908 ที่นครลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาเริ่มต้นเข้าสู่วงการภาพยนตร์จากการเป็นเจ้าหน้าที่ตัดต่อ (Editor) และต่อมาได้กำกับภาพยนตร์เป็นครั้งแรกในเรื่อง In Which We Serve ร่วมกับ Noel Coward นักแสดงชื่อดังชาวอังกฤษ และได้กำกับภาพยนตร์ต่อมาอีกหลายเรื่อง โดยเรื่องที่ทำให้เขาโด่งดัง และได้รับรางวัลจากการประกวดภาพยนตร์มากมายคือ The Bridge on The River Kwai (สะพานข้ามแม่น้ำแคว) เรื่องราวการสร้างทางรถไฟสายมรณะในประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์ถึง 7 รางวัล รวมถึงรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และรางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยม เช่นเดียวกับภาพยนตร์เรื่องต่อมาของเขา Lawarence of Arabia ที่ได้รับรางวัลออสการ์ ถึง 7 รางวัลเช่นกัน หมวดหมู่:ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษ หมวดหมู่:ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลออสการ์ หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลเซอร์รีย์ หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ซีบีอี.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและเดวิด ลีน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ มิชชั่น

อะ มิชชั่น (The Mission) เป็นภาพยนตร์อังกฤษที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและเดอะ มิชชั่น · ดูเพิ่มเติม »

เดอะวิซาร์ดออฟออซ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2482)

อะวิซาร์ดออฟออซ (The Wizard of Oz) เป็นภาพยนตร์อเมริกันในปี..

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและเดอะวิซาร์ดออฟออซ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2482) · ดูเพิ่มเติม »

เควนติน แทแรนติโน

วนติน เจอโรม แทแรนติโน (Quentin Jerome Tarantino) เกิดวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1963 เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน นักเขียนบท โปรดิวเซอร์ ผู้กำกับภาพ และนักแสดง ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 เขาเป็นผู้สร้างภาพยนตร์อิสระ ใช้เส้นเรื่องแบบไม่เป็นเส้นตรง สุนทรียศาสตร์แห่งความรุนแรง ผลงานที่เป็นที่รู้จักเช่น My Best Friend's Birthday (1987), Reservoir Dogs (1992), Pulp Fiction (1994), Jackie Brown (1997), Kill Bill (Vol. 1, 2003; Vol. 2, 2004), Death Proof (2007) และ Inglourious Basterds (2009) ผลงานของเขาทำให้ได้รับรางวัลออสการ์ รางวัลลูกโลกทองคำ รางวัลบาฟต้า และรางวัลปาล์มดอร์ และเขายังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอมมีและรางวัลแกรมมี ในปี 2007 นิตยสารโททอลฟิล์ม ให้เขาเป็นอันดับ 12 ของผู้กำกับที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล.

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและเควนติน แทแรนติโน · ดูเพิ่มเติม »

เฉิน ข่ายเกอ

ฉิน ข่ายเกอ (12 สิงหาคม พ.ศ. 2495 -) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวจีน ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เฉิน ข่ายเกอ เกิดที่ปักกิ่ง ในวัยรุ่น ขณะประเทศจีนกำลังอยู่ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เขาร่วมเป็นหนึ่งในกองทัพพิทักษ์แดง (เรดการ์ด - Red Guard) หลังสิ้นสุดการปฏิวัติวัฒนธรรม เขาเข้าศึกษาต่อที่สถาบันภาพยนตร์แห่งปักกิ่ง ในปี..

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและเฉิน ข่ายเกอ · ดูเพิ่มเติม »

La Dolce Vita

La dolce vita (ภาษาอิตาลี แปลว่า "ชีวิตอันแสนหวาน") เป็นภาพยนตร์อิตาลีที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและLa Dolce Vita · ดูเพิ่มเติม »

Orfeu Negro

Orfeu Negro (Black Orpheus) เป็นภาพยนตร์บราซิลที่กำกับโดยมาร์เซล คามุส ผู้กำกับชาวฝรั่งเศส ออกฉายในปี..

ใหม่!!: รางวัลปาล์มทองคำและOrfeu Negro · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Palme d'Orรางวัลปาล์มดอร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »