โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

ดัชนี สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

ันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (ไฟล์:Bscript Naingngandaw-Ayecha.png, State Peace and Development Council, อักษรย่อ SPDC) เป็นเครื่องมือการปกครองของประเทศพม่า เดิมใช้ชื่อว่าสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council) หรือสล็อร์ก (SLORC) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2531 หลังความวุ่นวายทางการเมืองที่ดำเนินมานับตั้งแต่มีการยกเลิกธนบัตรบางชนิดโดยไม่มีการชดใช้จากรัฐบาล การดำเนินการดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับนักศึกษา ประกอบกับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจร้ายแรง ความไม่พอใจแพร่กระจายออกไปจนกระทั่งเกิดการประท้วงและปะทะกันจนนองเลือดในที่สุด ประชาชนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากทหารใช้กำลังปราบปรามโดยไม่ยับยั้ง รัฐบาลกำหนดให้มีการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2533 ท่ามกลางความแปลกใจของประชาชน ชัยชนะอย่างท่วมท้นของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านไร้ความหมาย เมื่อสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐปฏิเสธการเปิดประชุมสภาใหม่ การเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อที่ใช้ในปัจจุบันมีขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 หลังจากพม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน โดยเกิดขึ้นท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งภายในอาเซียนเองและต่างประเทศ นอกจากนี้การเปลี่ยนชื่อดังกล่าวยังถูกมองว่าเป็นการพยายามปรับปรุงภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาของนานาชาติ แม้ว่าการเปลี่ยนชื่อจะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงวาระสำคัญของชาติ แต่ลักษณะอำนาจนิยมของรัฐบาลยังคงมีอยู.

30 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2531พ.ศ. 2533พ.ศ. 2540กะบามะเจการก่อการกำเริบ 8888การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2558ภาษาพม่าย่างกุ้งรายนามประธานาธิบดีพม่ารายนามนายกรัฐมนตรีพม่าศาสนาพุทธสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหม่อง เออองซาน ซูจีจัตธนบัตรคีนญุนตราแผ่นดินของพม่าตานชเวซอมองประเทศพม่าโซวีนเศรษฐกิจเผด็จการทหารเตนเซนเนปยีดอ15 พฤศจิกายน18 กันยายน

พ.ศ. 2531

ทธศักราช 2531 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1988 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและพ.ศ. 2531 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2533

ทธศักราช 2533 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1990 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและพ.ศ. 2533 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2540

ทธศักราช 2540 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1997 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและพ.ศ. 2540 · ดูเพิ่มเติม »

กะบามะเจ

กะบามะเจ (ကမ္ဘာမကျေ, Kaba Ma Kyei) เป็นชื่อเพลงชาติของประเทศพม่า ชื่อเพลงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "ตราบโลกแหลกสลาย" ในภาษาอังกฤษนิยมแปลชื่อเพลงนี้เป็น "Till the End of the World, Burma" หรือ "We Shall Never Give Up Our Motherland, Burma" เพลงนี้เป็นหนึ่งในเพลงชาติของประเทศนอกทวีปยุโรปไม่กี่เพลง ที่แต่งขึ้นจากทำนองเพลงพื้นเมืองของชาติตนเอง เนื่องจากในตอนต้นของเพลงนี้เป็นการเรียบเรียงดนตรีแบบดั้งเดิมของพม่า ก่อนที่จะเข้าสู่ดนตรีช่วงถัดมาซึ่งเรียบเรียงในลักษณะดนตรีออเคสตราของตะวันตก Chapter 13 State Flag, State Seal, National Anthem and the Capital.

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและกะบามะเจ · ดูเพิ่มเติม »

การก่อการกำเริบ 8888

การก่อการปฏิวัติ 8888 (8888 UprisingYawnghwe (1995), pp. 170; พม่า: ၈၄လုံး หรือ ရ္ဟစ္‌လေးလုံး) เป็นการกำเริบระดับชาติเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศพม่า เมื่อ..

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและการก่อการกำเริบ 8888 · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์

การชุมนุมกันบริเวณเจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง การประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า คือการประท้วงที่นำโดยคณะพระภิกษุสงฆ์ แม่ชี นักศึกษาและประชาชน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550 จากการไม่พอใจของประชาชนต่อการประกาศขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบเท่าตัว และขึ้นราคาก๊าซหุงต้มถึง 5 เท่าอย่างฉับพลันโดยมิได้ประกาศแจ้งบอกของรัฐบาลทหารพม่า การประท้วงเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยมา จนถึงวันที่ 5 กันยายน มีการชุมนุมประท้วงที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองปะโคะกู ทางตอนกลางของประเทศ เจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุม และมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้งพระสงฆ์จำนวน 3 รูป สื่อมวลชนบางแห่งเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า Saffron Revolution หรือ "การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์" คณะพระภิกษุ ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับความเคารพอย่างสูงจากชาวพม่า ประกาศ "ปฐม นิคหกรรม" ไม่รับบิณฑบาตจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทหารพม่า ทหาร และครอบครัว และเรียกร้องให้ทางการพม่า ขอโทษองค์กรสงฆ์อย่างเป็นทางการภายในวันที่ 17 กันยายน แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ภิกษุสงฆ์จึงเริ่มเข้าร่วมการประท้วงด้วย ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เมื่อรวมผู้ประท้วงแล้วมากกว่า 1 แสนคน การประท้วงต่อต้านรัฐบาลเผด็จการครั้งนี้จึงนับว่าเป็นการประท้วงต่อต้านครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่การประท้วงเมื่อปี พ.ศ. 2531 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 3,000 คน ในการใช้กำลังทหารเข้าสลายการประท้วง เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กันยายน คณะสงฆ์และประชาชนได้เดินทางไปยังบ้านพักนางออง ซาน ซูจี ผู้นำประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งนางอองซานได้ออกมาปรากฏตัวเป็นเวลา 15 นาที โดยการเปิดประตูเล็กของประตูบ้าน พร้อมกับพนมมือไหว้พระสงฆ์ที่กำลังให้พร การปรากฏตัวครั้งนี้นับเป็นการปรากฏตั้วต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและการปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2558

มีการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่าในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 โดยจะมีการเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้ง ยกเว้นที่นั่งที่กองทัพแต่งตั้ง เพื่อแต่งตั้งสมาชิกรัฐสภาเข้าดำรงตำแหน่งในสภาสูง (สภาเชื้อชาติ) สภาล่างของรัฐสภาแห่งสหภาพ (สภาผู้แทนราษฎร) และลุ้ดดอรัฐและภูมิภาค (State and Region Hluttaw).

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพม่า

ษาพม่า หรือ ภาษาเมียนมา (MLCTS: myanma bhasa) เป็นภาษาราชการของประเทศพม่า จัดอยู่ในในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า อันเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษา โดยเป็นภาษาแม่ของคนประมาณ 32 ล้านคนในพม่า และเป็นภาษาที่สองของชนกลุ่มน้อยในพม่า และในประเทศอินเดีย ประเทศบังกลาเทศ ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา ภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีระดับเสียง หรือวรรณยุกต์ มีวรรณยุกต์ 4 เสียงและเขียนโดยใช้อักษรพม่า ซึ่งดัดแปลงจากอักษรมอญอีกทอดหนึ่ง และจัดเป็นสมาชิกในตระกูลอักษรพราหมี รหัส ISO 639 สำหรับภาษาพม่าคือ 'my' และรหัส SIL คือ BMS.

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและภาษาพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ย่างกุ้ง

งกุ้ง หรือ ยานโกน (ရန်ကုန်, MLCTS rankun mrui, ยานโกน มโย; "อวสานสงคราม") หรือ ร่างกุ้ง (Rangoon) เป็นเมืองหลวงของเขตย่างกุ้ง ย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงของพม่าจนถึงปี..

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและย่างกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

รายนามประธานาธิบดีพม่า

ต่อไปนี้คือ รายนามประธานาธิบดีพม่า หลังพม่าได้รับเอกร.

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและรายนามประธานาธิบดีพม่า · ดูเพิ่มเติม »

รายนามนายกรัฐมนตรีพม่า

นายกรัฐมนตรีพม่า (พ.ศ. 2491- พ.ศ. 2554) เป็นตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศพม่า เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2491 และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มีผู้ดำรงตำแหน่งรวม 11 คน เนื่องจากประเทศพม่าถูกปกครองโดยระบอบเผด็จการทหารมาเป็นเวลายาวนาน ทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะมาจากกองทัพของพม่าทั้งสิ้น และตำแหน่งดังกล่าวได้ถูกยกเลิกตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม..

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและรายนามนายกรัฐมนตรีพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทำเนียบเลขาธิการอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,479,210 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 625 ล้านคน ในปี..

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย

งสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (အမျိုးသားဒီမိုကရေစီအဖွဲ့ချုပ်, National League for Democracy) หรือ พรรคเอ็นแอลดี เป็นพรรคการเมืองในประเทศพม่า ก่อตั้งเมื่อ 24 กันยายน..

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

หม่อง เอ

พลเอก หม่อง เอ (မောင်အေး), เกิด 25 ธันวาคม พ.ศ. 2480) ผู้นำอันดับสองของรัฐบาลทหารพม่า ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกพม่า ในปี พ.ศ. 2536 และได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (SLORC ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น สภาสันติภาพ และการพัฒนาแห่งรัฐ - SPDC) รองจาก พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย‎ ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ถึง พ.ศ. 2554 หมวดหมู่:ทหารชาวพม่า.

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและหม่อง เอ · ดูเพิ่มเติม »

อองซาน ซูจี

อองซาน ซูจี (90px, เกิด 19 มิถุนายน 2488) เป็นนักการเมืองชาวพม่าและประธานพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ผู้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีประจำทำเนียบประธานาธิบดี ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2533 NLD ได้คะแนนเสียงทั้งประเทศ 59% และที่นั่ง 81% (392 จาก 485 ที่นั่ง) ในรัฐสภา ทว่า เธอถูกควบคุมตัวในบ้านก่อนการเลือกตั้ง เธอยังอยู่ภายใต้การควบคุมตัวในบ้านในประเทศพม่าเป็นเวลาเกือบ 15 จาก 21 ปีตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2532 จนการปล่อยตัวครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2553 ทำให้เธอเป็นนักโทษการเมืองที่ขึ้นชื่อที่สุดคนหนึ่งของโลก ซูจีได้รับรางวัลราฟโต (Rafto Prize) และรางวัลซาฮารอฟสำหรับเสรีภาพทางความคิด (Sakharov Prize for Freedom of Thought) ในปี 2533 และรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2534 ในปี 2535 เธอได้รับรางวัลชวาหระลาล เนห์รูเพื่อความเข้าใจระหว่างประเทศ (Jawaharlal Nehru Award for International Understanding) โดยรัฐบาลอินเดีย และรางวัลซีมอง โบลีวาร์ระหว่างประเทศ (International Simón Bolívar Prize) จากรัฐบาลเวเนซุเอลา ในปี 2555 รัฐบาลปากีสถานมอบรางวัลชาฮิด เบนาซีร์ บุตโตเพื่อประชาธิปไตย (Shaheed Benazir Bhutto Award For Democracy) ในปี 2550 รัฐบาลแคนาดาประกาศให้เธอเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ของประเทศ เป็นคนที่สี่ที่ได้รับเกียรตินี้ ในปี 2554 เธอได้รับเหรียญวัลเลนเบิร์ก (Wallenberg Medal) วันที่ 19 กันยายน 2555 อองซาน ซูจีได้รับเหรียญทองรัฐสภา ซึ่งร่วมกับเหรียญเสรีภาพประธานาธิบดี เป็นเกียรติยศพลเรือนสูงสุดในสหรัฐอเมริกา วันที่ 1 เมษายน 2555 พรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยประกาศว่าเธอได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งในปีตูลุ้ดดอ (Pyithu Hluttaw) สภาล่างของรัฐสภาพม่า ซึ่งเป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้งกอว์มู (Kawhmu) พรรคของเธอยังได้ที่นั่งว่าง 43 จาก 45 ที่นั่งในสภาล่าง คณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการยืนยันผลการเลือกตั้งในวันรุ่งขึ้น วันที่ 6 มิถุนายน 2556 ซูจีประกาศบนเว็บไซต์ของเวิลด์อีโคโนมิกฟอรัมว่าเธอต้องการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในการเลือกตั้งปี 2558 ทว่า ซูจีถูกห้ามมิให้เป็นประธานาธิบดีภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ซึ่งมิอาจแก้ไขได้โดยปราศจากการรับรองจากสมาชิกสภานิติบัญญัติทหารอย่างน้อยหนึ่งคน ในปี 2557 นิตยสารฟอบส์จัดให้เธอเป็นหญิงทรงอำนาจที่สุดในโลกอันดับที่ 61 ในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2558 พรรค NLD ได้คะแนนเสียงทั้งประเทศ 86% (255 ที่นั่ง ในสภาผู้แทนราษฎรและ 135 ที่นั่ง ในสภาเชื้อชาติ) ทว่า เธอซึ่งเป็นประธานพรรค NLD ไม่สามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเนื่องจากมีข้อห้ามในรัฐธรรมนูญ.

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและอองซาน ซูจี · ดูเพิ่มเติม »

จัต

ัต (ကျပ်,, จะ) เป็นสกุลเงินของประเทศพม.

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและจัต · ดูเพิ่มเติม »

ธนบัตร

นบัตรสกุลต่าง ๆ ธนบัตร เป็นสิ่งที่เป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยน ซึ่งสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนบัตรจะใช้ควบคู่ไปกับเหรียญกษาปณ์ แต่โดยทั่วไปแล้วธนบัตรมักใช้สำหรับเงินจำนวนมาก ส่วนเหรียญกษาปณ์ใช้กับเงินจำนวนน้อย หรือเศษสตางค์ ในสมัยก่อน ค่าของเงินจะวัดโดยวัตถุที่นำมาใช้เป็นเงิน เช่น เบี้ย, เงิน หรือ ทอง แต่การถือวัตถุมีค่าเหล่านี้ออกไปจำนวนมากย่อมเป็นสิ่งที่ไม่สะดวกและเป็นอันตราย จึงใช้ธนบัตรเพื่อเป็นสื่อแลกเปลี่ยนแทน ธนบัตรเป็นเหมือนสัญญาว่าจะให้เงินไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งภายหลังสามารถนำไปแลกคืนเป็นเงินหรือทองได้ ภายหลังจึงเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อสิ่งของและบริการ ไม่ต้องแลกเป็นเงินหรือทองอีก.

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและธนบัตร · ดูเพิ่มเติม »

คีนญุน

ลเอก คีนญุน (ခင်ညွန့်၊ ဗိုလ်ချုပ်ကြီး) เกิด 11 ตุลาคม พ.ศ. 2482 นายกรัฐมนตรีคนที่ 9 ของพม่า สืบต่อตำแหน่งจากพลเอกอาวุโส ตานชเว เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2546 เป็นชาวพม่าเชื้อสายจีน สมรสกับดอคีนวีนชเว สำเร็จการศึกษาจาก Yankin College เมื่อปี..

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและคีนญุน · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของพม่า

ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (ပြည်ထောင်စုသမ္မတမြန်မာနိုင်ငံတော်အထိမ်းအမှတ်တံဆိပ်) เป็นเครื่องหมายราชการของรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ใช้ประทับในเอกสารของทางราชการทุกชนิด รวมถึงการตีพิมพ์ในเอกสารสำหรับเผยแพร่ แบบตราดังที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นลักษณะตามที่ปรากฏในหมวดที่ 8 ของรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ซึ่งได้รับการรับรองด้วยการลงประชามติในปี พ.ศ. 2551.

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและตราแผ่นดินของพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ตานชเว

ลเอกอาวุโส ตานชเว (သန်းရွှေ,; เกิดวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476) ผู้นำเผด็จการของรัฐบาลทหารพม่า ดำรงตำแหน่งประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council - SPDC) ภายหลังการรัฐประหารล้มอำนาจของพลเอกอาวุโส ซอมอง อดีตประธานสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council - SLORC) เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและตานชเว · ดูเพิ่มเติม »

ซอมอง

ลเอกอาวุโส ซอมอง (Saw Maung; ဗိုလ်ချုပ်မှူးကြီးစောမောင်) (พ.ศ. 2471 - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) อดีตประธานสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council - SLORC) เป็นผู้นำเผด็จการของรัฐบาลทหารของพม่า หลังการรัฐประหารล้มอำนาจนายพลเนวีนเมื่อ..

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและซอมอง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

โซวีน

ลโท โซวีน (စိုးဝင်း၊ ဗိုလ်ချုပ်ကြီး;,พ.ศ. 2491 - 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศพม่า ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2547 โดยสภาสันติภาพ และการพัฒนาแห่งรัฐ พลโท โซวีน เป็นผู้ใกล้ชิดพลเอกอาวุโส ตานชเว และได้รับความไว้วางใจเป็นอย่างดี โซวีน ถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลในประเทศสิงคโปร์ ด้วยโรคลูคีเมีย (ไม่ได้รับการยืนยันจากทางการพม่า) ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 สภาสันติภาพ และการพัฒนาแห่งรัฐได้มอบหมายให้พลโท เตนเซน รักษาการแทนตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 โซวีน เดินทางกลับเข้าประเทศพม่า เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและโซวีน · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจ

รษฐกิจ (economy) นั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน." รวมถึงด้านการใช้บริการและการท่องเที่ยวที่มีปัจจัยกระตุ้นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นเครือข่ายจำกัดโดยพื้นที่และเครือข่ายสังคมที่ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการตามอุปสงค์และอุปทานระหว่างผู้มีส่วนโดยการแลกเปลี่ยนหรือสื่อกลางการแลกเปลี่ยนด้วยมูลค่าเครดิตหรือเดบิตที่ยอมรับกันภายในเครือข่าย เศรษฐกิจหนึ่ง ๆ เป็นผลมาจากกระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องทั้งวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์และสถาบันสังคม เช่นเดียวกับภูมิศาสตร์ การมีทรัพยากรธรรมชาติ และนิเวศวิทยา เป็นปัจจัยหลัก ปัจจัยเหล่านี้ให้บริบท สาร ตลอดจนจัดสภาพและตัวแปรซึ่งเศรษฐกิจทำงานอยู่ หมวดหมู่:ระบบเศรษฐกิจ หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์.

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

เผด็จการทหาร

ระบอบเผด็จการทหาร (military dictatorship) คือ ระบอบการปกครองที่อำนาจทางการเมืองขึ้นอยู่กับกองทัพ ถือได้ว่าเป็นการปกครองแบบคณาธิปไตยลัทธิอำนาจนิยมอย่างหนึ่ง เผด็จการทหารต่างจากเผด็จการพลเรือนด้วยหลายสาเหตุ คือ แรงจูงใจของการยึดอำนาจ สถาบันซึ่งใช้จัดระเบียบการปกครอง และหนทางสละอำนาจ เผด็จการทหารมักมองว่าตนกำลังช่วยให้ประเทศชาติพ้นจากนักการเมืองพลเรือนที่ฉ้อฉลหรือวิสัยทัศน์คับแคบ และอ้างฐานะของตนเป็นผู้ชี้ขาด "คนกลาง" บนฐานสมาชิกภาพในกองทัพ ผู้นำทหารมักปกครองเป็นคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง โดยเลือกหนึ่งในพวกตนเป็นหัวหน้.

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและเผด็จการทหาร · ดูเพิ่มเติม »

เตนเซน

ระมหาพุทธะเตนเซนบวรธรรม หรือ พลเอก เตนเซน (သိန်းစိန်၊ ဦး) อดีตประธานาธิบดีของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ซึ่งก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของพม่า ระหว่าง..

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและเตนเซน · ดูเพิ่มเติม »

เนปยีดอ

นปยีดอ (Naypyidaw หรือบางครั้งสะกดเป็น Nay Pyi Taw; နေပြည်တော်မြို့,, เหน่ ปหยี่ ด่อ) มีความหมายว่า "มหาราชธานี" p. 8, The Permanent Committee on Geographic Names (PCGN), United Kingdom หรือ "ที่อยู่ของกษัตริย์" เป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการบริหารของประเทศพม่า ห่างจากย่างกุ้งซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าราว 320 กิโลเมตร ปัจจุบันเนปยีดอเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สามของประเทศรองจากย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ และเป็นหนึ่งในสิบเมืองเติบโตเร็วที่สุดในโลก เนปยีดอตั้งอยู่ในหมู่บ้านจะปยี (Kyetpyay) ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองปยินมะนา (Pyinmana) ในเขตมัณฑะเลย์ เชื่อว่าเหตุผลการย้ายเมืองหลวงมาจากคำทำนายของโหรของพลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย รวมถึงเชื่อว่าอาจจะเป็นการฟื้นฟูธรรมเนียมประเพณีเก่าของพม่าสมัยราชาธิปไตย สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร ปัจจุบันกรุงเนปยีดอมีการพัฒนาถนนทางหลวงหมายเลข 8 เพื่อเชื่อมต่อกับย่างกุ้ง มีโครงการสร้างสถานีรถไฟขึ้นอีก 1 แห่งในเนปยีดอ ถัดจากสถานีในปยินมะนาที่สร้างขึ้นในปี..

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและเนปยีดอ · ดูเพิ่มเติม »

15 พฤศจิกายน

วันที่ 15 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 319 ของปี (วันที่ 320 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 46 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและ15 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

18 กันยายน

วันที่ 18 กันยายน เป็นวันที่ 261 ของปี (วันที่ 262 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 104 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐและ18 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

SLORCรัฐบาลทหารพม่าสภาสันติภาพ และการพัฒนาแห่งรัฐสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »