โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชุมชนกุฎีจีน

ดัชนี ชุมชนกุฎีจีน

ซางตาครู้ส เมื่อมองจากฝั่งพระนคร ชุมชนกุฎีจีน (หรือสะกด กะดีจีน) เป็นย่านชุมชนเก่าแก่ของฝั่งธนบุรีที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี และยังเป็นย่านชุมชนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรมอย่างมากแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จะเห็นได้จากเป็นแหล่งที่ตั้งศาสนสถานที่สำคัญหลายศาสนาทั้ง วัดประยุรวงศาวาส, วัดซางตาครู้ส, ศาลเจ้าเกียนอันเกง, วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร และ มัสยิดบางหลวง ตลอดริ่มฝั่งแม่น้ำเจ้าพร.

18 ความสัมพันธ์: พินิจนครกรุงเทพมหานครการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองมัสยิดบางหลวงรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหารวัดซางตาครู้สวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารศาลเจ้าเกียนอันเกงอาณาจักรอยุธยาอาณาจักรธนบุรีท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์)ขนมฝรั่งกุฎีจีนประชาชาติธุรกิจปากคลองตลาดแม่น้ำเจ้าพระยาไทยเชื้อสายโปรตุเกสเขตธนบุรี

พินิจนคร

นิจนคร เป็นรายการสารประโยชน์ประเภทสารคดี ผลิตโดย บริษัท SANFAH television ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ทุกวันพุธเวลา 20.25 น. - 21.10 น.(เริ่มวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป) (เคยออกอากาศทุกวันจันทร์เวลา 20.20 - 21.10 น.) มี นิธิ สมุทรโคจร เป็นพิธีกร และออกอากาศซ้ำในวันเสาร์เวลา 11.05 น. - 12.00 น. (ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป - พฤษภาคม) ส่วนที่ออกอากาศตั้งแต่เดือนตุลาคมออกอากาศซ้ำในวันอาทิตย์เวลา 11.05 น. - 12.00 น. รายการพินิจนคร มีเนื้อหาเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยและมาพินิจพิเคราะห์ให้เห็นว่าสถานที่เหล่านั้นมีความสำคัญกับคนไทยอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์เอาไว้ โดยเริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 จนถึง 27 เมษายน พ.ศ. 2552 และจะกลับมาออกอากาศอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไปทุกคืนวันจันทร์เวลา 21.10 - 22.00 น.และย้ายวันออกอากาศเป็นวันอังคาร เวลาเดิม ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและพินิจนคร · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองหรือ สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นความขัดแย้งทางทหารครั้งที่สองระหว่างราชวงศ์โกนบองแห่งพม่า กับราชวงศ์บ้านพลูหลวงแห่งอยุธยา ในการทัพครั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีคนไทยเกือบสี่ศตวรรษได้เสียแก่พม่าและถึงกาลสิ้นสุดลงไปด้วย เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน..

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

มัสยิดบางหลวง

มัสยิดบางหลวง (บ้างเรียก กุฎีโต๊ะหยี, กุฎีขาว) เป็นมัสยิดทรงไทย ตั้งอยู่บริเวณชุมชนริมคลองบางหลวง แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (คาดว่าราวปี พ.ศ. 2328) โดยโต๊ะหยี พ่อค้าแขกที่เดินทางมายังประเทศไทย ตัวมัสยิดมีความโดดเด่นกว่ามัสยิดทั่ว ๆ ไป ด้วยการก่ออิฐถือปูนขาวทั้งหลัง แล้วทาสีไม้ด้วยสีเขียว แทนที่การออกแบบอาคารเป็นโดมตามหลักสากล รวมไปถึงการตกแต่งภายในด้วยศิลปะ 3 ชาติ คือ แบบไทย จีน และยุโรป ซึ่งถือเป็นมัสยิดทรงไทยแห่งเดียวในโลกอีกด้วย บริเวณด้านหน้ามัสยิดบางหลวง เป็นสุสาน เยื่องมาทางด้านขวาเมื่อมองหันหน้าเข้าสู่มัสยิด เป็นศาลาทรงไทย ที่ในอดีตโต๊ะพิมพ์เสน ได้ขอซื้อพระตำหนักวังเก่ามาทำเป็นศาลา ใช้เป็นศาลาเลี้ยงและเก็บวัสดุต่าง ๆ ของมัสยิด, alisuasaming.com.วันที่ 11/07/2559 ปัจจุบันมัสยิดแห่งนี้ได้จัดเป็น "อันซีนกรุงเทพ" แห่งหนึ่ง เนื่องจากไม่มีถนนใหญ่ตัดเข้าไปด้านใน การเดินทางจึงต้องเดินเท้าผ่านทางซอยแคบริมคลองของชุมชน.

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและมัสยิดบางหลวง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร

ต (district หรือ khet) เป็นชื่อเรียกหน่วยการปกครองทางมหาดไทย อยู่ระดับเดียวกับอำเภอซึ่งอยู่รองจากจังหวัด แต่ใช้เฉพาะในกรุงเทพมหานครซึ่งไม่มีสถานะเป็นจังหวัด ในแต่ละเขตแบ่งออกเป็นแขวง.

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร หรือ "วัดกัลยาณ์" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้.

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดซางตาครู้ส

วัดซางตาครู้ส, โบสถ์ซางตาครู้ส หรือ วัดกุฎีจีน (Santa Cruz Church) เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในซอยกุฎีจีน แยกซอยอรุณอมรินทร์ 4 (ถนนเทศบาล สาย 1) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร อาคารวัดแห่งนี้เป็นอาคารหลังที่สามซึ่งสร้างขึ้นเพื่อทดแทนอาคารวัดหลังเดิมที่คับแคบและชำรุดทรุดโทรมมาก โดยมีคุณพ่อกูเลียลโม กิ๊น ดา ครู้ส เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2459 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2539 โดยมีคุณพ่อศวง ศุระศรางค์ เป็นผู้ริเริ่มเพื่อการอนุรักษ์ต่อไป ปัจจุบันวัดหลังนี้มีอายุรวมแล้ว ปี อาคารวัดซางตาครู้สเป็นอาคารรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกเช่นเดียวกับอาสนวิหารอัสสัมชัญ มีจุดเด่นที่ยอดโดมแบบอิตาลีซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับโดมแห่งมหาวิหารฟลอเรนซ์หรือโดมของพระที่นั่งอนันตสมาคม ภายในเป็นอาคารชั้นเดียว มีจุดเด่นอีกประการคือ การใช้เสาลอยรับน้ำหนักของฝ้าเพดานแบบโค้ง รวมถึงกระจกสีที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา วัดซางตาครู้สเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่อยู่คู่กับชุมชนกุฎีจีนเก่าแก่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยบริเวณที่ตั้งของวัดอยู่ใกล้กับพระราชวังเดิม สมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระราชทานที่ดินให้แก่ชาวโปรตุเกสซึ่งร่วมทำการศึกต่อต้านพม่าจนได้รับชัยชนะ นักบวชชาวโปรตุเกสจึงได้เริ่มก่อสร้างอาคารวัดหลังแรกที่สร้างด้วยไม้ทั้งหมดแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2313 ต่อมาได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในชุมชนในปี พ.ศ. 2376 ทำให้อาคารวัดพังเสียหายทั้งหมด จึงต้องก่อสร้างใหม่ด้วยอิฐถือปูน และได้ก่อสร้างใหม่อีกครั้งในปี..

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและวัดซางตาครู้ส · ดูเพิ่มเติม »

วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ใกล้กับเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งธนบุรี โดยมีเลขทะเบียนวัดที่ 24 ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร การบูรณะวัดส่งผลให้วัดได้รับรางวัลยอดเยี่ยม อันดับ 1 (Award of Excellence) ให้โครงการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์วัดประยุรวงศาวาส ด้านการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก).

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

ศาลเจ้าเกียนอันเกง

ลเจ้าเกียนอันเกง หรือ ศาลเจ้าแม่กวนอิม เป็นศาลเจ้าจีนเก่าแก่ของชุมชนกุฎีจีน ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ระหว่างวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหารและวัดซางตาครู้ส ศาลเจ้าได้สร้างขึ้นในปีใดไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่กล่าวกันว่าชาวจีนฮกเกี้ยนที่ตามเสด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นผู้สร้างขึ้น เดิมศาลเจ้าแห่งนี้มีจำนวน 2 หลังซึ่งติดกัน คือ ศาลเจ้าโจวซือกง และ ศาลเจ้ากวนอู จนในเวลาต่อศาลเจ้าก็ทรุดโทรมลงไปมาก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ ได้มีชาวฮกเกี้ยนกลุ่มหนึ่งได้เข้ามารื้อศาลทั้ง 2 ลง แล้วสร้างใหม่เพียงหลังเดียว ซึ่งก็คือศาลเจ้าในปัจจุบัน เดิมทั้ง 2 ศาล ประดิษฐาน เจ้าพ่อโจวซือกง และ เจ้าพ่อกวนอู ตามชื่อศาลเจ้า แต่ภายหลังรื้อศาลเจ้าแล้วสร้างใหม่เพียงหลังเดียวทำให้องค์ประธานทั้ง 2 ได้ถูกย้ายไปด้วยซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นที่ใด, เดลินิว.วันที่ 5 ตุลาคม 2551 ปัจจุบันศาลเจ้ามีเจ้าแม่กวนอิม เป็นองค์ประธานหลัก ศาลเจ้าเกียนอันเกง นับเป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในฝั่งธนบุรี มีอายุมากกว่าร้อยปี ภายในศาลเจ้าประกอบด้วยสิ่งของล้ำค่าที่ได้รับการอนุรักษ์ทั้ง ไม้เครื่องแกะสลักที่มีความประณีตและสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ภาพจิตรกรรมฝาผนัง และภายนอกศาลเจ้าที่มุงด้วยกระเบื้องโค้งตามแบบจีนแท้ จนในปี พ.ศ. 2551 ศาลเจ้าก็ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ปัจจุบันศาลเจ้าอยู่ในความดูแลของตระกูล สิมะเสถียร หรือ แซ่ซิ้ม เดิมและ ตันติเวชกุล หรือ แซ่ตั้ง เดิม ซึ่งเป็นตระกูลที่เข้ามาก่อสร้างปรับปรุงให้กับศาลเจ้าตั้งแต่ครั้นรัชกาลที่ 3.

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและศาลเจ้าเกียนอันเกง · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรธนบุรี

อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดของไทย คือระหว่าง..

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและอาณาจักรธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์)

ท้าวทองกีบม้า มีชื่อตัวว่า มารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา (Maria Guyomar de Pinha) แต่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ มารี กีมาร์ (Marie Guimarชื่อของเธอมีการสะกดได้หลายทาง ได้แก.

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์) · ดูเพิ่มเติม »

ขนมฝรั่งกุฎีจีน

นมฝรั่งกุฎีจีน ขนมฝรั่งกุฎีจีน เป็นขนมไทยอย่างหนึ่ง ที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี โดยเป็นขนมที่อยู่คู่กับชุมชนกุฎีจีน ชุมชนของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส ที่ตั้งอยู่ที่บริเวณใกล้เคียงกับโบสถ์ซางตาครู้ส โบสถ์คาทอลิกเก่าแก่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านฝั่งธนบุรี ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ที่นี่มาตั้้งแต่ยุคกรุงธนบุรี ขนมฝรั่งกุฎีจีน เป็นขนมที่ได้รับอิทธิพลมาจากขนมโปรตุเกสเช่นเดียวกับขนมไทยหลายอย่าง เช่น ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง หรือลูกชุบ ตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ ตัวขนมเป็นตำรับของขนมแบบโปรตุเกส โดยใช้วัตถุดิบสามอย่าง คือ แป้งสาลี, ไข่เป็ด และน้ำตาลทราย ตีให้ส่วนผสมเข้ากันจนขึ้นฟูและเทลงแม่พิมพ์ โดยไม่ผสมผงฟู, ยีสต์ หรือสารกันบูด จากนั้นโรยด้วยลูกเกด, ลูกพลับอบแห้ง, ฟักเชื่อม และน้ำตาลทราย ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากขนมของจีน โดยชาวจีนเชื่อว่าเมื่อรับประทานฟักเชื่อมแล้วจะก่อให้เกิดความร่มเย็น ส่วนน้ำตาลทรายจะเกิดความมั่งคั่งไม่รู้จบเหมือนกับน้ำตาลทรายที่นับเม็ดไม่ได้ ส่วนลูกพลับอบแห้งและลูกเกด ก็เป็นผลไม้ที่มีราคาและมีคุณค่าทางอาหารอีกด้วย แล้วจึงนำไปเทใส่แม่พิมพ์แล้วอบจนสุกโดยใช้วิธีอบแบบโบราณด้วยเตาถ่าน รสชาติมีความกรอบนอก นุ่มใน เดิมที ขนมฝรั่งกุฎีจีนจะทำกันเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญทางศาสนาและแจกจ่ายรับประทานกันเองในครอบครัวหรือชุมชน เช่น คริสต์มาส ต่อมาเมื่อได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น จึงมีการทำออกมาขาย จนมีคำร้องคล้องจองกันของผู้ค้า เมื่อนำขนมออกไปเร่ขายเพื่อดึงดูดความสนใจผู้ซื้อว่า "อ้อยจีนบางใหญ่ อ้อยไทยบางคูวัด ข้าวหลามตัดวัดระฆัง ขนมฝรั่งกุฎีจีน แม่เอ๊ย" อันบ่งบอกได้ถึงอดีตที่เคยรุ่งเรืองของอาหารพื้นถิ่นและการค้าขายในแถบนี้ ซึ่งในอดีตก็จะมีขายเฉพาะในช่วงปลายปีเท่านั้น อันตรงกับช่วงเทศกาลคริสต์มาส ปัจจุบัน ที่ชุมนุมกุฎีจีนเหลือร้านที่ทำและจำหน่ายขนมฝรั่งกุฎีจีนเพียงไม่กี่รายเท่านั้น.

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและขนมฝรั่งกุฎีจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประชาชาติธุรกิจ

ประชาชาติธุรกิจ เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายสามวันในเครือมติชน โดยจะมีสองฉบับในหนึ่งสัปดาห์ คือฉบับวันจันทร์ (วางแผงวันอาทิตย์) และฉบับวันพฤหัสบดี (วางแผงวันพุธ) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อรวมประชาชาติรายวัน) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจฉบับแรกๆ ที่ใช้กระดาษปอนด์ขาว และแบ่งเนื้อหาเป็นส่วนต่างๆ ตามรูปแบบของหนังสือพิมพ์ธุรกิจในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและประชาชาติธุรกิจ · ดูเพิ่มเติม »

ปากคลองตลาด

ตลาดดอกไม้ ปากคลองตลาด (Pak Khlong Talat) เป็นตลาดสดขนาดใหญ่ บริเวณถนนจักรเพชร ยาวจนไปถึงถนนมหาราช ตั้งโอบล้อมวัดราชบูรณะ โรงเรียนราชินีและโรงเรียนสวนกุหลาบ ประกอบไปด้วยตลาดใหญ่ถึง 4 แห่งตั้งติด ๆ กัน ปัจจุบันเน้นขายสินค้าเกษตรกรรมที่เน้นการค้าส่งผัก ผลไม้และดอกไม้สด ปากคลองตลาดติดอันดับที่ 4 (จากการจัดอันดับ 1 ใน 10 ของตลาดดอกไม้ทั่วโลก) ยังเป็นตลาดกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกอีกด้ว.

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและปากคลองตลาด · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

ไทยเชื้อสายโปรตุเกส

วไทยเชื้อสายโปรตุเกส อาศัยอยู่ร่วมกับชาวจีนในแถบชุมชนกุฎีจีน ซึ่งย่านนี้ยังเป็นที่อยู่ของพวกเข้ารีตเชื้อสายโปรตุเกส และญวน ดังมีกล่าวไว้ในหนังสือสาสน์สมเด็จว่า “...ส่วนฝรั่งเชื้อสายโปรตุเกสที่เคยอยู่ ณ พระนครศรีอยุธยา ก็ให้รวมกันตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำใต้กุฎีจีนต่อลงไป จึงเรียกกันว่า “ฝรั่งกุฎีจีน” คำว่า “ฝรั่งกุฎีจีน” นี้แสดงให้เห็นว่าชาวโปรตุเกสมาอยู่ทีหลังชาวจีน เพราะชื่อกุฎีจีนติดปากอยู่แล้ว.

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและไทยเชื้อสายโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

เขตธนบุรี

ตธนบุรี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ใหม่!!: ชุมชนกุฎีจีนและเขตธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กะดีจีนย่านชุมชนกุฎีจีนชุมชนกะดีจีน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »