โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธการไซ่ง่อน

ดัชนี ยุทธการไซ่ง่อน

ทธการไซ่ง่อน อาจหมายถึงหลายยุทธการที่เกิดขึ้นในเมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม.

8 ความสัมพันธ์: การยึดกรุงไซ่ง่อนการรุกตรุษญวนการปิดล้อมไซ่ง่อนยุทธการที่ไซ่ง่อน (พ.ศ. 2498)ยุทธการไซ่ง่อน (พ.ศ. 2511)สงครามเวียดนามประเทศเวียดนามนครโฮจิมินห์

การยึดกรุงไซ่ง่อน

การยึดกรุงไซ่ง่อน (หรือเรียกว่า การเสียกรุงไซ่ง่อน โดยผู้สนับสนุนเวียดนามใต้ หรือ การปลดปล่อยไซ่ง่อน โดยผู้สนับสนุนเวียดนามเหนือ) คือการยึดเมืองหลวงของเวียดนามใต้ กรุงไซ่ง่อน โดยกองทัพประชาชนเวียดนาม (PAVN) และแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 เหตุการณ์นี้ทำให้สงครามเวียดนามสิ้นสุดลง และทำให้ช่วงถ่ายโอนอำนาจไปยังรัฐบาลเวียดนามเหนือเริ่มต้นขึ้น ทำให้เวียดนามทั้งสองฝ่ายกลับมารวมประเทศกันอีกครั้งอย่างเป็นทางการ ภายใต้รัฐระบอบคอมมิวนิสต์ กองกำลังเวียดนามเหนือที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของพลเอกอาวุโสหวั่น เตี๋ยง จุ๋ง เริ่มดำเนินการโจมตีกรุงไซ่ง่อนเป็นครั้งสุดท้าย โดยเริ่มจากการเปิดฉากระดมยิงอย่างหนักจากกองปืนใหญ่ของพลเอกเหวียน วัน ต่วนในวันที่ 29 เมษายน ในตอนบ่าย ทหารเวียดนามเหนือก็สามารถยึดจุดสำคัญๆ ภายในเมือง และเชิญธงชาติเวียดนามเหนือขึ้นเหนือทำเนียบประธานาธิบดีแห่งเวียดนามใต้ได้สำเร็จ หลังจากนั้นไม่นานเวียดนามใต้ก็ยอมจำนน กรุงไซ่ง่อนถูกเปลี่ยนชื่อเป็นนครโฮจิมินห์ ตามชื่อผู้นำการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ โฮจิมินห์ โดยก่อนที่เมืองจะถูกยึด มีการอพยพบุคลากรอเมริกันแทบทั้งหมด ทั้งพลเรือนและทหารออกจากไซ่ง่อน อีกทั้งยังอพยพพลเรือนเวียดนามใต้อีกหลายหมื่นคนที่ทำงานให้กับรัฐบาลเวียดนามใต้ออกจากกรุงไปด้วย การอพยพครั้งนี้ริเริ่มปฏิบัติการฟรีเควียนท์วินด์ (Operation Frequent Wind) ซึ่งเป็นการอพยพทางเฮลิคอปเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อสิ้นสุดสงคราม หลังจากที่มีผู้อพยพลี้ภัยเป็นจำนวนมาก รัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้ทำให้จำนวนประชากรของเมืองลดน้อยลงไปอีก ด้วยการให้ประชากรบางส่วนให้ไปอยู่นอกเมือง โดยการบังคับหรือเพื่อแลกกับอาหาร.

ใหม่!!: ยุทธการไซ่ง่อนและการยึดกรุงไซ่ง่อน · ดูเพิ่มเติม »

การรุกตรุษญวน

การรุกตรุษญวน (Tet Offensive; Sự kiện Tết Mậu Thân 1968, หรือ Tổng tiến công và nổi dậy Tết Mậu Thân) เป็นการทัพทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในสงครามเวียดนาม เปิดฉากเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2511 โดยกำลังเวียดกงและกองทัพประชาชนเวียดนามเหนือต่อกำลังเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาและพันธมิตร เป็นการทัพการโจมตีอย่างจู่โจมต่อกองบัญชาการทหารและพลเรือนและศูนย์ควบคุมทั่วประเทศเวียดนามใต้ การรุกนี้ได้ชื่อจากวันหยุดตรุษญวน (เต๊ต, Tết) เมื่อเกิดการโจมตีใหญ่ครั้งแรก ฝ่ายคอมมิวนิสต์ดำเนินการโจมตีเป็นระลอกในกลางดึกของวันที่ 30 มกราคมในเขตยุทธวิธีเหล่าที่ 1 และที่ 2 ของเวียดนามใต้ การโจมตีช่วงแรกนี้ไม่นำไปสู่มาตรการป้องกันอย่างกว้างขวาง เมื่อปฏิบัติการหลักของคอมมิวนิสต์เริ่มในเช้าวันรุ่งขึ้น การรุกก็ลามไปทั่วประเทศและมีการประสานงานอย่างดี จนสุดท้ายมีกำลังคอมมิวนิสต์กว่า 80,000 นายโจมตีเมืองและนครกว่า 100 แห่ง ซึ่งรวมเมืองหลักของ 36 จาก 44 จังหวัด นครปกครองตนเอง 5 จาก 6 แห่ง เมืองเขต 72 จาก 245 แห่ง และเมืองหลวงของเวียดนามใต้ การรุกนี้เป็นปฏิบัติการทางทหารใหญ่ที่สุดของทั้งสองฝ่ายจนถึงเวลานั้น การโจมตีขั้นต้นทำให้กองทัพสหรัฐและเวียดนามใต้สับสนและทำให้เสียการควบคุมหลายนครเป็นการชั่วคราว แต่ก็สามารถจัดกลุ่มใหม่เพื่อขับการโจมตีกลับไป ทำให้กำลังคอมมิวนิสต์มีกำลังพลสูญเสียมหาศาล ระหว่างยุทธการที่เว้ การสู้รบอย่งาดุเดือดกินเวลาหนึ่งเดือน ทำให้กำลังสหรัฐทำลายนคร ระหว่างการยึดครอง คอมมิวนิสต์ประหารชีวิตประชาชนหลายพันคนในเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่เว้ การสู้รบดำเนินไปรอบ ๆ ฐานทัพสหรัฐที่เคซานเป็นเวลาอีกสองเดือน แม้การรุกจะเป็นความพ่ายแพ้ทางทหารสำหรับฝ่ายคอมมิวนิสต์ แต่มีผลลัพธ์ใหญ่หลวงต่อรัฐบาลสหรัฐและทำให้สาธารณชนสหรัฐตะลึง ซึ่งถูกผู้นำทางการเมืองและทหารเชื่อว่าฝ่ายคอมมิวนิสต์กำลังปราชัยและไม่สามารถดำเนินความพยายามมโหฬารเช่นนี้ได้ การสนับสนุนสงครามของสาธารณชนสหรัฐเสื่อมลงและสหรัฐแสวงการเจรจาเพื่อยุติสงคราม คำว่า "การรุกตรุษญวน" ปกติหมายถึงการรุกในเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2511 แต่อาจรวมการรุกที่เรียก "ตรุษญวนเล็ก" ซึ่งเกิดในเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมด้ว.

ใหม่!!: ยุทธการไซ่ง่อนและการรุกตรุษญวน · ดูเพิ่มเติม »

การปิดล้อมไซ่ง่อน

การยึดไซ่ง่อนโดยชาลส์ ริโก เดอ เยนูลี ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1859 (วาดโดยอังตวน ลีอง โมเรล-ฟาทิโอ) การปิดล้อมไซ่ง่อน เกิดขึ้นเป็นเวลานานสองปี โดยฝ่ายเวียดนาม หลังจากที่มันถูกยึดโดยกองเรือฝรั่งเศส-สเปนที่นำโดยพลเรือเอก ชาลส์ ริโก เดอ เยนูลี ในวันที่ 17 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ยุทธการไซ่ง่อนและการปิดล้อมไซ่ง่อน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ไซ่ง่อน (พ.ศ. 2498)

ทธการไซ่ง่อนเป็นการรบนานหนึ่งเดือนระหว่างกองทัพแห่งชาติเวียดนาม (VNA) ของรัฐเวียดนาม (ซึ่งต่อมากลายเป็นกองทัพสาธารณรัฐเวียดนาม ของสาธารณรัฐเวียดนาม) กับกองกำลังส่วนตัวขององค์กรอาชญากรรมบิ่ญเซวียน ในตอนนั้น องค์กรบิ่ญเซวียนได้รับโองการอนุญาตจากจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนามให้มีอำนาจควบคุมตำรวจทั้งประเทศ และนายกรัฐมนตรีโง ดิ่ญ เสี่ยม ยื่นคำขาดให้พวกเขายอมมาอยู่ใต้อำนาจรัฐ การสู้รบกันเริ่มขึ้นในวันที่ 27 เมษายน..

ใหม่!!: ยุทธการไซ่ง่อนและยุทธการที่ไซ่ง่อน (พ.ศ. 2498) · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการไซ่ง่อน (พ.ศ. 2511)

ทธการไซ่ง่อนครั้งที่หนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการรุกตรุษญวน ระหว่างสงครามเวียดนาม ยุทธการนี้เป็นการโจมตีจากหลายด้านของกองกำลังคอมมิวนิสต์ ซึ่งรวมไปถึงกองทัพเวียดนามเหนือ และเวียดกง เพื่อโจมตีกรุงไซ่ง่อน เมืองหลวงของเวียดนามใต้.

ใหม่!!: ยุทธการไซ่ง่อนและยุทธการไซ่ง่อน (พ.ศ. 2511) · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: ยุทธการไซ่ง่อนและสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: ยุทธการไซ่ง่อนและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

นครโฮจิมินห์

นครโฮจิมินห์ (Thành phố Hồ Chí Minh, ถั่ญโฟ้โห่จี๊มิญ) หรือชื่อเดิม ไซ่ง่อน (Sài Gòn ส่ายก่อน) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศเวียดนาม ตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง นครโฮจิมินห์เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเวียดนาม จากประชากรร้อยละ 7.5 ของประเทศ แต่มีจีดีพีถึงร้อยละ 20.2 และการลงทุนจากต่างประเทศมากถึงร้อยละ 34.9 ของทั้งประเท.

ใหม่!!: ยุทธการไซ่ง่อนและนครโฮจิมินห์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »