โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)

ดัชนี ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)

ทธการที่เซอด็อง หรือ ยุทธการที่เซอด็องครั้งที่สอง (12-15 พฤษภาคม ค.ศ. 1940) เป็นการสู้รบของสงครามโลกครั้งที่สองในช่วงยุทธการที่ฝรั่งเศส การรบเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการของกองทัพเวร์มัคท์ในรหัสนามว่า ฟัลล์ เกลบ์(กรณีเหลือง)จากการรุกรานผ่านบริเวณเทือกเขาป่าหนาทึบอาร์แดนเพื่อทำการโอบล้อมกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในเบลเยียมและทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส กองทัพเยอรมันกลุ่มเอได้ข้ามแม่น้ำเมิซด้วยความมุ่งหมายที่จะเข้ายึดเซอด็อง และผลักดันไปยังชายหาดช่องแคบอังกฤษ เพื่อทำการดักล้อมกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรที่กำลังเคลื่อนทัพไปยังฝั่งตะวันออกในการเข้าสู่เบลเยียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการทางยุทธศาสตร์คือแผนดิล เซอด็องตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเมิซ การเข้ายึดครองนั้นจะทำให้เยอรมันใช้เป็นฐานทัพที่จะเข้ายึดสะพานเมิซและข้ามแม่น้ำ ถ้าหากทำสำเร็จ กองพลเยอรมันก็จะสามารถรุกก้าวข้ามเขตชนบทฝรั่งเศสที่เปิดและไร้การป้องกันนอกเหนือจากเซอด็องและช่องแคบอังกฤษ.เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม เซอด็องได้ถูกยึดครองโดยปราศจากการต่อต้าน ในวันรุ่งขึ้น เยอรมันได้เอาชนะฝ่ายป้องกันของฝรั่งเศสบริเวณรอบๆของเซอด็อง ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเมิซ นี่คือความสำเร็จโดยกองทัพอากาศเยอรมัน ลุฟท์วัฟเฟอ ด้วยผลมาจากการทิ้งระเบิดของเยอรมันและขวัญกำลังใจตกต่ำลง ทำให้ฝ่ายป้องกันของฝรั่งเศสไม่สามารถป้องกันได้อีกต่อไป เยอรมันได้เข้ายึดสะพานเมิซที่เซอด็องได้ช่วยทำให้กองกำลังรวมทั้งยานเกราะสามารถก้าวข้ามแม่น้ำได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม กองทัพอากาศฝ่ายสัมพันธมิตร กองทัพอากาศหลวงแห่งอังกฤษ(Royal Air Force-RAF)และกองทัพอากาศฝรั่งเศส(Armée de l'Air)ได้พยายามที่จะทำลายสะพานและป้องกันไม่ให้มีการเสริมกำลังของเยอรมันไปยังฝั่งตะวันตก ลุฟท์วัฟเฟอได้ทำการป้องกันไม่ให้พวกเขาทำเช่นนั้น ในการรบทางอากาศขนาดใหญ่ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับความสูญเสียมากมายซึ่งส่งผลทำให้การทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายสัมพันธมิตรได้หมดลงในช่วงการทัพ การก้าวข้ามแม่น้ำเมิซได้ช่วยทำให้เยอรมันสามารถทำลายยุทธศาสตร์เชิงลึก หรือแนวหลังไร้การป้องกัน แนวรบของฝ่ายสัมพันธมิตรและการรุกสู่ช่องแคบอังกฤษโดยไร้การต่อต้าน ฝรั่งเศสได้พยายามที่จะเปิดการโจมตีตอบโต้กลับต่อกรกับเยอรมันที่หัวสะพานที่ยึดครอง ตั้งแต่วันที่ 15 - 17 พฤษภาคม แต่การรุกรานนั้นทำให้เกิดความล่าช้าและสับสน ห้าวันหลังจากการรวบรวมพลที่หัวสะพานที่เซอด็อง เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม กองทัพเยอรมันสามารถเคลื่อนทัพมาถึงช่องแคบอังกฤษ ด้วยชัยชนะที่เซอด็องนั้นเป็นการบรรลุเป้าหมายของปฏิบัติการฟัลล์ เกลบ์(กรณีเหลือง)และโอบล้อมกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรที่แข็งแกร่งที่สุด รวมทั้งกองกำลังปฏิบัติการทางทหารของอังกฤษ(British Expeditionary Forces หรือ B.E.F.) ผลลัพธ์การรบได้ทำลายส่วนที่เหลือของกองทัพฝรั่งเศสที่เป็นกองทัพที่มีประสิทธิภาพในการรบ,และได้ทำการขับไล่กองทัพอังกฤษออกจากทวีปยุโรปแผ่นดินใหญ่ ได้นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายน..

14 ความสัมพันธ์: ช่องแคบอังกฤษยุทธการที่ฝรั่งเศสลุฟท์วัฟเฟอสหราชอาณาจักรสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3สงครามโลกครั้งที่สองนาซีเยอรมนีแกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์แม่น้ำเมิซแผนมันชไตน์แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)โวลฟรัม ฟอน ริชโธเฟินไฮนซ์ กูเดเรียนเพาล์ ลุดวิจ เอวัลด์ ฟอน ไคลสท์

ช่องแคบอังกฤษ

องแคบจากอวกาศ ช่องแคบอังกฤษ (English Channel; La Manche) เป็นช่องแคบในมหาสมุทรแอตแลนติกที่แยกระหว่างเกาะบริเตนใหญ่กับแผ่นดินทวีปยุโรป โดยระยะทางของช่องแคบเริ่มตั้งแต่ฝรั่งเศสทางตอนเหนือไปจนถึงทะเลเหนือที่อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเช่นกัน โดยช่องแคบมีความยาวประมาณ 560 กิโลเมตร และมีความกว้างที่แตกต่างกันระหว่าง 240 กิโลเมตรซึ่งกว้างที่สุด จนไปถึงส่วนที่แคบที่สุดที่มีความกว้างเพียง 34 กิโลเมตรบริเวณช่องแคบโดเวอร์ ช่องแคบอังกฤษถือเป็นทะเลน้ำตื้นที่เล็กที่สุดในบริเวณไหล่ทวีปยุโรป โดยครอบคลุมพื้นที่เพียง 75,000 ตารางกิโลเมตร เท่านั้น.

ใหม่!!: ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)และช่องแคบอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ฝรั่งเศส

ทธการที่ฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการบุกครองฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเยอรมนีที่สัมฤทธิ์ผล เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)และยุทธการที่ฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ลุฟท์วัฟเฟอ

ลุฟท์วัฟเฟอ (Luftwaffe) เป็นเหล่าทัพการสงครามทางอากาศของกองทัพเยอรมันเวร์มัคท์ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพอากาศเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ลุฟท์ชไตรท์แครฟเทอ (Luftstreitkräfte) แห่งกองทัพจักรวรรดิเยอรมัน และหน่วยนักบินทหารเรือ มารีเนอ-ฟีเกอร์อับไทลุงของไคแซร์ลีเชอ มารีเนอ (Kaiserliche Marine), ได้ถูกยุบในเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)และลุฟท์วัฟเฟอ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)และสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 (Troisième République Française บางครั้งเขียนย่อว่า La IIIe République) (พ.ศ. 2413 -10 กรกฎาคม พ.ศ. 2483) เป็นชื่อของระบอบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ระหว่างยุคจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 กับรัฐบาลฝรั่งเศสวิชี เกิดขึ้นหลังจากการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสต่อจักรวรรดิเยอรมัน ในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2413 ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสสูญเสียอาลซัส-ลอแรน และดำรงอยู่มาจนล่มสลายใน พ.ศ. 2483 จากการรุกรานของนาซีเยอรมัน ทำให้ฝรั่งเศสถูกยึดครอง ยุคนี้เป็นยุคของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่อายุยืนที่สุด นับตั้งแต่มีการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2332 เป็นต้นมา หมวดหมู่:การเมืองฝรั่งเศส หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศฝรั่งเศส.

ใหม่!!: ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)และสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)และนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์

ร์ล รูดอล์ฟ แกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์ (Karl Rudolf Gerd von Rundstedt; 12 ธันวาคม ค.ศ. 1875 - 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953) เป็นจอมพลแห่งกองทัพบกเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ได้รับสมญานามว่า "อัศวินดำ" (Black Knight).

ใหม่!!: ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)และแกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเมิซ

แม่น้ำเมิซ (Meuse) หรือในประเทศเนเธอร์แลนด์เรียก แม่น้ำมาส (Maas) เป็นแม่น้ำสายใหญ่ในยุโรป อยู่ทางตะวันตกของทวีป ต้นน้ำอยู่ในจังหวัดโอต-มาร์นทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส ผ่านประเทศเบลเยียมทางด้านตะวันออก แล้วไหลเข้าไปในเนเธอร์แลนด์ไปรวมกับแม่น้ำวาลที่เมืองคอร์เกิม (Gorinchem) แล้วจึงไหลลงทะเลเหนือ รวมความยาว 925 กม.

ใหม่!!: ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)และแม่น้ำเมิซ · ดูเพิ่มเติม »

แผนมันชไตน์

Fall Gelb (กรณีเหลือง),การบุกครองฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ แผนการมันชไตน์ เป็นหนึ่งในชื่อที่ใช้ในการอธิบายแผนการทางยุทธศาสตร์ของกองทัพเยอรมันในช่วงยุทธการที่ฝรั่งเศสในปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)และแผนมันชไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันตก ของการสู้รบบนภาคพื้นทวีปยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สองโอบล้อมบริเวณพื้นที่ตั้งแต่เดนมาร์ก นอร์เวย์ ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และภาคตะวันตกของเยอรมนี ปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สองบริเวณยุโรปตอนใต้และบริเวณอื่นๆ ถูกจัดว่าไม่เกี่ยวกับแนวรบด้านตะวันตกนี้ การต่อสู้ในแนวรบด้านตะวันตกถูกแบ่งโดยปฏิบัติการสู้รบครั้งใหญ่ๆ ด้วยกันสองครั้ง คือ ช่วงแรกที่เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศส ยอมจำนนต่อกองทัพนาซีเยอรมนีในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ค.ศ. 1940 ภายหลังจากที่พ่ายแพ้การสู้รบในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำและในพื้นที่กึ่งหนึ่งของฝรั่งเศสตอนเหนือ จากนั้นสงครามจึงดำเนินเข้าสู่การสู้รบทางอากาศระหว่างเยอรมนีกับสหราชอาณาจักร ซึ่งทวีความรุนแรงมากที่สุดในช่วงยุทธการที่บริเตน ช่องที่สองคือช่วงของการสู้รบภาคพื้นดินขนาดใหญ่ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 จากการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี และดำเนินไปจนกระทั่งสามารถปลดปล่อยกรุงปารีสและฝรั่งเศลให้พ้นจากนาซีเยอรมัน ต่อมาสามารถเอาชนะเยอรมนีได้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 แม้ว่าพลทหารเยอรมันส่วนมากจะเสียชีวิตในแนวรบด้านตะวันออก แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในแนวรบด้านตะวันตกแทบจะไม่สามารถทดแทนกลับคืนมาได้ เนื่องจากทรัพยากรสงครามส่วนมากของเยอรมนีถูกโยกย้ายไปใช้ในแนวรบด้านตะวันตก ซึ่งหมายความได้ว่าในแนวรบด้านตะวันออกมีการเสริมกำลังและทรัพยากรเพื่อยืดระยะเวลาการสู้รบออกไปได้ ในขณะที่แนวรบด้านตะวันตกมีการส่งกำลังเสริมและทรัพยากรทดแทนเพื่อหยุดยั่งการรุกคืบของฝ่ายสัมพันธมิตรได้เพียงน้อยนิด การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีนับได้ว่าส่งสัญญาณเชิงจิตวิทยาในแง่ลบให้แก่กองทัพและผู้นำของนาซีเยอรมนีอย่างมาก เนื่องจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เกรงกลัวสถานการณ์ที่เยอรมนีถูกขนาบด้วยการสู้รบจากแนวรบทั้งสองด้าน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง.

ใหม่!!: ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)และแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

โวลฟรัม ฟอน ริชโธเฟิน

วลฟรัม ฟอน ริชโธเฟิน (Wolfram Freiherr von Richthofen) เป็นจอมพลแห่งลุฟท์วัฟเฟอ (กองทัพอากาศเยอรมัน) ของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ริชโธเฟินเกิดในปี 1895 โดยเกิดในครอบครัวชาวปรัสเซีย ต่อมาริชโธเฟินได้ไปเข้าร่วมกับกองทัพจักรวรรดิเยอรมัน โดยเรื่มต้นจากการเป็นทหารม้า ในปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)และโวลฟรัม ฟอน ริชโธเฟิน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮนซ์ กูเดเรียน

นซ์ วิลเฮล์ม กูเดเรียน (Heinz Wilhelm Guderian) เป็นพลเอกแห่งกองทัพบกเยอรมันในสมัยนาซีเยอรมนี เขาโด่งดังจนได้รับการยกย่องจากคนทั้งโลกว่าเป็นบิดาแห่งยานเกราะ และมีสมญาว่า ไฮนซ์สายฟ้าแลบ (Schneller Heinz) จากการเป็นผู้คิดค้นยุทธวิธีสายฟ้าแลบ (บลิทซครีก) ที่ทำให้สามารถเข้ายึดโปแลนด์ได้สำเร็จและต่อมาก็ทำให้ฝรั่งเศสยอมจำนนต่อเยอรมันในการรุกที่แม่น้ำเมิซและเป็นผู้สร้างรถถังที่มีชื่อเสียง เช่น รถถังพันเทอร์, รถถังไทเกอร์ 2 เป็นต้น หน่วยของกูเดเรียนยอมจำนนต่อกองกำลังสหรัฐในวันที่ 10 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)และไฮนซ์ กูเดเรียน · ดูเพิ่มเติม »

เพาล์ ลุดวิจ เอวัลด์ ฟอน ไคลสท์

ล์ ลุดวิจ เอวัลด์ ฟอน ไคลสท์ (Paul Ludwig Ewald von Kleist) เป็นจอมพลเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาบัญชาการกองพลพันเซอร์ที่ 1 ระหว่างปฏิบัติการบาร์บารอสซาในปี 1941 และบัญชาการเหล่าทัพ A (Army Group A) ในปฏิบัติการของเวร์มัคท์ปี 1942 ในปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)และเพาล์ ลุดวิจ เอวัลด์ ฟอน ไคลสท์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ยุทธการที่ซีดาน (ค.ศ. 1940)ยุทธการที่ซีดาน(ค.ศ. 1940)ยุทธการที่เซด็อง (ค.ศ. 1940)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »