โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธการที่เขาเตงกุนสัน

ดัชนี ยุทธการที่เขาเตงกุนสัน

ึกเขาเตงกุนสัน เป็นสงครามที่เกิดเมื่อช่วงประมาณ ค.ศ. 219 (พ.ศ. 762) เป็นสงครามระหว่าง วุยก๊ก ของ โจโฉ ที่นำทัพโดย แฮหัวเอี๋ยน และ จ๊กก๊ก ของ พระเจ้าเล่าปี่ ที่นำทัพโดย จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) และผลของสงครามครั้งนี้วุยก๊กก็ต้องสูญเสียแฮหัวเอี๋ยนที่ถูกฆ่าโดย ฮองตง ชัยชนะของศึกเขาเตงกุนสันของฝ่ายเล่าปี่ ทำให้ยึดเมืองฮันต๋งและตั้งตนเป็นอ๋องได้สำเร็.

16 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 762กุยห้วยมณฑลชานซียุทธการที่หับป๋ายุทธการที่อ้วนเซียยุทธการที่ฮันต๋งวุยก๊กหวดเจ้งฮองตงจูกัดเหลียงจูล่งจ๊กก๊กประเทศจีนแฮหัวเอี๋ยนโจโฉเล่าปี่

พ.ศ. 762

ทธศักราช 762 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ยุทธการที่เขาเตงกุนสันและพ.ศ. 762 · ดูเพิ่มเติม »

กุยห้วย

กุยห้วย (Guo Huai) หรือ กวยหวย (ชื่อในสามก๊กฉบับพระยาคลัง) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: ยุทธการที่เขาเตงกุนสันและกุยห้วย · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลชานซี

นซี ตามสำเนียงกลาง หรือ ซัวไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ชื่อย่อ จิ้น (晋) เป็นมณฑลหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของแม่น้ำเหลืองในภาคเหนือของประเทศจีน คำว่า "ชานซี" แปลตรงตัวว่า ทิศตะวันตกของภูเขา เนื่องจากมณฑลตั้งอยู่ทางตะวันตกของภูเขาไท่หัง มีเมืองเอกชื่อ ไท่หยวน มีเนื้อที่ 156,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 33,350,000 คน ความหนาแน่น 213 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 304.2 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9120 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: ยุทธการที่เขาเตงกุนสันและมณฑลชานซี · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่หับป๋า

ึกหับป๋า (The Battle of Hefei; ปี ค.ศ. 215) เป็นสงครามที่มีชื่อและมีความสำคัญมากอีกสงครามหนึ่งในสมัยสามก๊ก เป็นการรบกันระหว่างฝ่ายง่อที่มีจำนวนทหารมากกว่าฝ่ายวุยที่รักษาการณ์ที่หับป๋าหลายเท่า แต่กลับเป็นฝ่ายง่อที่พ่ายแพ้และถูกกดดันให้ถอยทัพกลับ ซึ่งถือว่าเป็นศึกที่สำคัญมากต่อฝ่ายวุย เพราะถ้าวุยพลาดเสียหับป๋าให้กับฝ่ายง่อ ก็เท่ากับว่าซุนกวนและกองทัพง่อสามารถเดินทัพอย่างสะดวกเข้าสู่ใจกลางของก๊กวุยและเมืองหลวงได้ ผลจากสงครามครั้งนี้นั้นทำให้ ฝ่ายวุยมั่นคงปลอดภัยที่สามารถรักษาหับป๋าซึ่งเป็นเสมือนประตูสู่ดินแดนวุยได้ ถ้าฝ่ายง่อได้ชัยชนะในครั้งนี้ การที่ซุนกวนจะยกทัพเข้าบุกถึงเมืองหลวงก็มีความเป็นไปได้ เพราะว่าโจโฉได้นำทัพส่วนใหญ่ไปบุกยึดฮันต๋ง เหลือทหารไว้เฝ้าเมืองหลวงไม่มาก อย่างไรก็ดี เรื่องความสามารถของซุนกวนนั้น ในประวัติของเตียวเลี้ยวบอกไว้ว่าซุนกวนเกรงกลัวไม่กล้ามาสู้กับเขา แต่หลาย ๆ บันทึกว่าไว้ว่าซุนกวนนั้นมีความสามารถเรื่องขี่ม้า ยิงธนู กล้าหาญและมีความเป็นนักรบ เสียแต่ว่าซุนกวนไม่มีประวัติความสำเร็จในการนำทัพโจมตีเลย มีเพียงความสามารถในการป้องกันทัพโจโฉจำนวนมากที่บุกมาโจมตีทางปากแม่น้ำยี่สูก่อนหน้าศึกนี้ ซุนกวนนำทัพป้องกันได้เป็นอย่างดี จนโจโฉยังชมเชยว่า ถ้ามีบุตรต้องมีให้ได้อย่างซุนกวน เป็นครั้งสุดท้ายของโจโฉที่บุกง่อก๊กและยิ่งไม่มีโอกาสที่จะกรีฑาทัพบุกง่อก๊ก.

ใหม่!!: ยุทธการที่เขาเตงกุนสันและยุทธการที่หับป๋า · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่อ้วนเซีย

ึกอ้วนเซีย (The Battle of Fancheng ปี ค.ศ. 219) เป็นศึกที่มีชื่อเสียงมากอีกศึกหนึ่งในสามก๊ก เป็นสงครามระหว่างจ๊กและวุย ตามด้วยสงครามระหว่างจ๊กและง่อโดยเริ่มจากกวนอูของจ๊กก๊กบุยเมืองห้วนเสียของโจหยิน อาศัยน้ำท่วมหลากชิงล้อมเมืองไว้ แต่ต่อมาโจโฉใช้ซิหลงมาช่วยโจหยิน ในขณะเดียวกันลิบองของง่อก๊กได้วางแผนชิงเมืองเกงจิ๋ว ผลสุดท้าย กวนอูพ่ายแพ้ต่อซิหลง และเมืองเกงจิ๋วถูกลิบองยึดทำให้กวนอูต้องถอยทัพอย่างรวดเร็ว และต้องจบชีวิตในที.

ใหม่!!: ยุทธการที่เขาเตงกุนสันและยุทธการที่อ้วนเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ฮันต๋ง

ยุทธการฮันต๋ง (Hanzhong Campaign) เป็นสมรภูมิรบที่นำไปสู่จุดสิ้นสุดของ ราชวงศ์ฮั่น โดยเป็นการสู้รบระหว่าง จ๊กก๊ก ของ เล่าปี่ และ วุยก๊ก ของ โจโฉ ในปี ค.ศ. 215 โจโฉ ยกกองทัพมาโจมตีฮั่นต๋งของ เตียวฬ่อ ซึ่งในที่สุดเตียวฬ่อก็ยอมแพ้ต่อโจโฉทางฝ่าย เล่าปี่ หลังจากยึด เสฉวน จาก เล่าเจี้ยง ได้ก็เตรียมพร้อมสู้รบกับโจโฉนานถึง 2 ปีเพื่อขยายดินแดน ปี ค.ศ. 217 เล่าปี่นำกำลังเข้าโจมตีฮันต๋งซึ่งมีแฮหัวเอี๋ยนเป็นผู้ดูแล หลังจากสู้รบนานถึง 2 ปีเล่าปี่ก็เข้ายึดฮันต๋งได้สำเร็จในปี ค.ศ. 219 พร้อมกับที่แฮหัวเอี๋ยนถูก ฮองตง ฆ่าตาย หลังจากเสร็จศึกนี้ ขงเบ้ง ได้เชิญเล่าปี่ให้ขึ้นเป็น ฮันต๋งอ๋อง หมวดหมู่:สามก๊ก.

ใหม่!!: ยุทธการที่เขาเตงกุนสันและยุทธการที่ฮันต๋ง · ดูเพิ่มเติม »

วุยก๊ก

วุยก๊ก หรือ เฉาเวย (พินอิน: Cáo Wèi) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: ยุทธการที่เขาเตงกุนสันและวุยก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

หวดเจ้ง

หวดเจ้ง (Fa Zheng) เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของเล่าปี่ มีชื่อรองว่าเสี่ยวจื่อ เป็นบุตรของหวดเจิง(ฝ่าเจิง) ปราชญ์แห่งเสฉวน เป็นเพื่อนสนิทของเตียวสงและเบ้งตัด เป็นคนซื่อสัตย์กตัญญู มีความรู้ทางพิชัยสงคราม มีวาทศิลป์เป็นเลิศ เดิมเป็นที่ปรึกษาของเล่าเจี้ยง ต่อมา ได้ร่วมคิดกับเตียวสงและเบ้งตัดในการช่วยเล่าปี่ยึดครองเสฉวน ทำให้เล่าปี่ได้เป็นใหญ่ในภาคตะวันตก เมื่อเล่าปี่ยกทัพไปทางตะวันออกเพื่อยึดฮันต๋ง หวดเจ้งได้เป็นที่ปรึกษาของฮองตงในการตีเขาเตงกุนสันที่มีแฮหัวเอี๋ยนรักษาอยู่ ทำให้ยึดเขาเตงกุนสันและสังหารแฮหัวเอี๋ยนได้ เมื่อเล่าปี่ได้ครอบครองฮันต๋ง หวดเจ้งเป็นผู้หนึ่งที่สนับสนุนให้เล่าปี่ตั้งตนเป็นฮันต๋งอ๋อง เมื่อเล่าปี่ได้เป็นฮันต๋งอ๋องก็ตั้งหวดเจ้งเป็นราชครู ต่อมา หวดเจ้งเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 45 ปี หวดเจ้งเป็นคนที่เล่าปี่ไว้วางใจมาก เมื่อพระเจ้าเล่าปี่ยกทัพไปง่อก๊กล้างแค้นให้กวนอูและเตียวหุยที่ถูกสังหาร ขงเบ้งและขุนนางคนอื่นทูลคัดค้านไม่ให้พระเจ้าเล่าปี่ยกทัพไปตีง่อก๊ก แต่พระเจ้าเล่าปี่ทรงไม่ฟังผู้ใด ขงเบ้งได้รำพึงว่าถ้าหากหวดเจ้งยังอยู่ คงรั้งพระองค์ได้เป็นแน่ รูปหวดเจ้งจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ห ห.

ใหม่!!: ยุทธการที่เขาเตงกุนสันและหวดเจ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ฮองตง

องตง Huang Zhong; เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพแห่งจ๊กก๊ก ฉายา ฮั่นสินแห่งหนานหยาง เป็นชาวเมืองหนานหยาง (บ้านเดียวกับขงเบ้ง) เชี่ยวชาญในการใช้ง้าวและเกาทัณฑ์ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม เป็น 1 ใน 5 ทหารเสือของจ๊กก๊ก โดยฮองตงเป็นคนที่ 4 เดิมเป็นขุนพลที่รักษาเมืองเตียงสา ของเล่าเปียว เมื่อออกรบเคยพลาดท่าในสนามรบ และกวนอูไว้ชีวิต ในการต่อสู้ครั้งต่อมา จึงจงใจยิงเกาทัณฑ์พลาด เป็นการทดแทนบุญคุณกลับคืน แต่เจ้าเมืองเตียงสาเข้าใจว่า ฮองตงเอาใจข้างข้างฝ่ายเล่าปี่ จึงกล่าวหาว่าฮองตงเป็นกบฏ เมื่อเล่าปี่เข้าเมืองเตียงสาได้แล้ว ได้ไปพบฮองตงที่บ้านพัก พบฮองตงนอนเมาอยู่ด้วยความเสียใจที่ไม่สามารถรักษาเมืองได้ เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุยทำการคาราวะฮองตงว่า เป็นนักรบที่มีฝีมือและคุณธรรมอย่างแท้จริง พร้อมเกลี้ยกล่อมให้มาเข้าร่วมด้วย ฮองตงจึงเข้าร่วมกับเล่าปี่เมื่ออายุได้ 60 ปี และได้เป็น 1 ใน 5 ทหารเสือของจ๊กก๊ก ฮองตงสร้างผลงานอีกครั้ง เมื่อแฮหัวเอี๋ยนยกทัพมา ขงเบ้งแสร้งพูดยั่ว โดยกล่าวว่าฮองตงแก่ชราแล้ว คงจะไม่มีเรี่ยวแรง ฮองตงจึงเกิดมานะ แสดงพละกำลังด้วยการหักคันธนูและรำง้าวให้ดู ฮองตงหนีไปตั้งหลักที่ยอดเขาเตงกุนสัน เพื่อให้แฮหัวเอี๋ยนที่อยู่ริมเขาตะโกนท้าทายให้ลงมาสู้ แต่ฮองตงก็ไม่ยอมสู้ เพราะการที่ฮองตงไม่ลงมาโจมตีนั้นเพราะหวดเจ้งยังไม่ยกธงแดง เมื่อยกธงแดงจึงฉวยโอกาสโจมตีในตอนที่แฮหัวเอี๋ยนอ่อนล้าเองในเวลาบ่าย ทหารทุกคนกำลังนอนหลับ ฮองตงจึงได้บุกลงมาจากเขา ในขณะที่แฮหัวเอี๋ยนกำลังใส่ชุดเกราะ ฮองตงขี่ม้าประชิดตัวและยกง้าวฟันลำตัวขาดทันที ฮองตงเสียชีวิต ณ ค่ายทหารฝ่ายจ๊กก๊ก หลังจากถูกยิงด้วยเกาทัณฑ์ของทหารฝ่าย ง่อก๊ก เข้าซอกคอ ครั้งเล่าปี่ยกทัพไปรบเพื่อล้างแค้นให้กวนอูในศึกอิเหลง เมื่ออายุได้ 75 ปี.

ใหม่!!: ยุทธการที่เขาเตงกุนสันและฮองตง · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

ใหม่!!: ยุทธการที่เขาเตงกุนสันและจูกัดเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

จูล่ง

ูล่ง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริง ชื่อจริงว่า เตียวหยุน แม่ทัพคนสำคัญของเล่าปี่ และเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือ จูล่ง ได้รับฉายาว่าเป็น "สุภาพบุรุษจากเสียงสาน" เกิดในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 ประมาณปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เขาเตงกุนสันและจูล่ง · ดูเพิ่มเติม »

จ๊กก๊ก

กก๊ก หรือ สู่ฮั่น (พินอิน: Shǔ Hàn) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก สถาปนาโดยพระเจ้าเล่าปี่ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์ฮั่น ปกครองในระหว่างปี พ.ศ. 764 - พ.ศ. 806 (ปี ค.ศ. 221-263) จ๊กก๊กครอบครองพื้นที่ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน บริเวณมณฑลเสฉวน มีแม่น้ำทั้งหกสายไหลผ่าน จ๊กก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 2 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ฮั่น, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: ยุทธการที่เขาเตงกุนสันและจ๊กก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เขาเตงกุนสันและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวเอี๋ยน

แฮหัวเอี๋ยน (Xiahou Yuan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพคนสำคัญของโจโฉ ชื่อรองเหมี่ยวฉาย เป็นน้องของแฮหัวตุ้น มีบุตรชายสี่คนคือแฮหัวป๋า แฮหัวหุย แฮหัวฮุยและแฮหัวโห สวามิภักดิ์กับโจโฉตั้งแต่ตั้งกองทัพพันธมิตร 18 หัวเมือง เป็นแม่ทัพที่เก่งกล้าและเป็นคนที่โจโฉไว้ใจมากคนหนึ่ง ชำนาญการใช้ธนูอย่างมาก จึงได้ฉายาว่า จอมขมังธนูแห่งวุยก๊ก เมื่อเล่าปี่เตรียมทัพจะตีฮันต๋ง โจโฉได้ส่งแฮหัวเอี๋ยนไปรักษาที่เขาเตงกุนสันอันเป็นชัยภูมิสำคัญเปรียบเหมือนคอหอยของเมืองฮันต๋ง หากเสียเขาเตงกุนสันไปการยกทัพตีฮันต๋งก็จะง่ายดาย แฮหัวเอี๋ยนได้รบกับฮองตงแม่ทัพของเล่าปี่ และถูกสังหารในที.

ใหม่!!: ยุทธการที่เขาเตงกุนสันและแฮหัวเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

ใหม่!!: ยุทธการที่เขาเตงกุนสันและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

ใหม่!!: ยุทธการที่เขาเตงกุนสันและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ศึกเขาเตงกุนสัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »