โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธการที่อิเหลง

ดัชนี ยุทธการที่อิเหลง

ึกอิเหลง (Battle of Xiaoting) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในปี..

18 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 764พ.ศ. 765กรกฎาคมกวนหินกวนอูมณฑลหูเป่ย์ยุคสามก๊กลกซุนจูกัดเหลียงจูล่งจูเหียนจ๊กก๊กทหารง่อก๊กไฟเล่าปี่เตียวหุยเตียวเปา

พ.ศ. 764

ทธศักราช 764 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและพ.ศ. 764 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 765

ทธศักราช 765 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและพ.ศ. 765 · ดูเพิ่มเติม »

กรกฎาคม

กรกฎาคม เป็นเดือนที่ 7 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนกรกฎาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกรกฎ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีสิงห์ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนกรกฎาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่และปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวปู เดิมเดือนนี้ใช้ชื่อว่า ควินตีลิส (Quintilis) ในภาษาละติน และเป็นเดือนที่ 5 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มปีในเดือนมีนาคม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "July" ตามชื่อของจูเลียส ซีซาร์ เพราะเป็นเดือนที่พระองค์เกิด และอ่านออกเสียงว่าจูลีจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18.

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและกรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

กวนหิน

กวนหิน 関興 มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากวนซิง (Guan Xing) มีชื่อรองว่าอันกั๋ว (ฺAnguo) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นบุตรชายคนโตของกวนอู มีฝีมือไม่แพ้กวนอูผู้เป็นบิดา ออกศึกกับพระเจ้าเล่าปี่ครั้งแรกที่ศึกอิเหลง เพื่อแก้แค้นซุนกวนให้กวนอูและเตียวหุยที่ถูกฆ่าตาย กวนหินแสดงฝีมือให้เป็นที่ประจักษ์หลายครั้ง แต่ศึกครั้งนี้ พระเจ้าเล่าปี่ต้องพ่ายให้กับสติปัญญาของลกซุน จนต้องถอยทัพไปที่เป๊กเสีย และตรอมพระทัยสวรรคต หลังพระเจ้าเล่าปี่สวรรคต กวนหินก็คอยช่วยเหลือขงเบ้งในศึกต่าง ๆ หลายครั้ง โดยมักจะได้รับคำสั่งให้ทำงานพร้อมกับเตียวเปา บุตรชายของเตียวหุย จนกระทั่งกวนหินล้มป่วยลงจนเสียชีวิต.

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและกวนหิน · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและกวนอู · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลหูเป่ย์

มณฑลหูเป่ย์ (จีน: 湖北省 Húběi Shěng) ชื่อย่อ เอ้อ (鄂) ตั้งอยู่ตอนกลาง ของประเทศ มีอาณาเขตอยู่ในพื้นที่ของแม่น้ำ 2 สายคือ แม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) และฮั่นเจียง เนื่องจากอยู่ ทางเหนือของทะเลสาบต้งถิงทางตอนกลางของแม่น้ำ ฉางเจียง จึงได้ชื่อว่า ‘หูเป่ย’ ซึ่งแปลว่า เหนือทะเลสาบ มีเมืองหลวงชื่อ อู่ฮั่น มีเนื้อที่ 185,900 ตร.ก.ม. มีประชากร 60,160,000 คน ความหนาแน่น 324/ตร.

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและมณฑลหูเป่ย์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ลกซุน

ลกซุน (Lu Xun; จีนตัวเต็ม: 陸遜; จีนตัวย่อ: 陆逊; พินอิน: Lù Xùn) แม่ทัพคนสำคัญอีกคนของง่อก๊ก ผู้เผาทัพใหญ่ของเล่าปี่ในศึกอิเหลงจนย่อยยับ เล่าปี่ต้องหนีซมซานไปยังเมืองเป๊กเต้และตรอมใจตายในที่สุด ซึ่งก่อนหน้านั้นเล่าปี่ได้ดูถูกลกซุนว่าเป็น"เด็กอมมือ" เพราะขณะนั้นลกซุนอายุยังน้อย (39 ปี) และไม่มีชื่อเสียงนัก ลกซุนมีชื่อรองว่า "ป๋อเหยียน" (伯言) กำพร้าบิดาตั้งแต่เด็ก อาศัยอยู่กับลกคัง เจ้าเมืองโลกั๋ง ผู้เป็นลุง ต่อมาอ้วนสุดขอยืมเสบียงจากลกคัง แต่ลกคังไม่ยินยอม ทำให้อ้วนสุดสั่งซุนเซ็กโจมตีเมืองโลกั๋ง ลกคังจึงส่งลกซุนและครอบครัวมาหลบภัยที่กังตั๋ง ต่อมาลกซุนได้รับราชการกับง่อก๊ก โดยเริ่มต้นเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยในสังกัดของซุนกวน ลกซุนเป็นขุนนางบัณฑิตที่มีสติปัญญา ชำนาญพิชัยสงคราม มีผลงานในการปกครองและปราบโจร ซุนกวนชื่นชอบในความสามารถของลกซุน จึงเลื่อนตำแหน่งให้หลายครั้ง และให้แต่งงานกับบุตรสาวของซุนเซ็ก หลานสาวของตน ลกซุนเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในแผนการยึดเกงจิ๋วของลิบอง ซึ่งแม้เป็นศึกใหญ่ครั้งแรกของลกซุน ก็สามารถลวงกวนอู (ซึ่งเป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วในขณะนั้น) ให้ตายใจ แล้วเข้ายึดเกงจิ๋วไว้ได้ เป็นเหตุให้กวนอูถูกจับและประหารชีวิต ต่อมาลกซุนได้ผู้บัญชากองทัพง่อก๊กในศึกอิเหลง ป้องกันการบุกโดยทัพใหญ่ของเล่าปี่จำนวน 750,000 คน ซึ่งยกทัพมาแก้แค้นให้กวนอูและเตียวหุย (ซึ่งถูกลอบสังหารขณะจัดเตรียมทัพ) ลกซุนใช้ยุทธวิธีเผาค่ายเล่าปี่จนย่อยยับและรุกไล่ตามเล่าปี่ แต่กลับเข้าไปหลงอยู่ในกองหินค่ายกลที่ขงเบ้งสร้างไว้ก่อนหน้า ลกซุนหาทางออกไม่ได้ แต่ได้ฮองเซ็งหงัน พ่อตาของขงเบ้งผ่านมาช่วยเหลือและเปิดเผยว่า ขงเบ้งเคยบอกก่อนหน้านี้ว่า ต่อไปจะมีแม่ทัพง่อก๊กหลงเข้ามาในนี้ ขออย่าได้ช่วย แต่ฮองเซ็งหงันได้พาลกซุนออกมาอย่างปลอดภัย ลกซุนจึงเลิกทัพกลับกังตั๋ง แม้ลกซุนมีผลงานมากมาย แต่สุดท้ายขัดแย้งกับซุนกวนเพราะสนับสนุนรัชทายาทซุนโห ทำให้ซุนป๋าบุตรของซุนกวนอีกคนไม่พอใจ ใส่ร้ายลกซุนมากมาย จนซุนกวนปลดจากตำแหน่งและส่งคนมาตำหนิต่อว่า ทำให้ลกซุนโกรธและเสียใจจนตรอมใจต.

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและลกซุน · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและจูกัดเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

จูล่ง

ูล่ง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริง ชื่อจริงว่า เตียวหยุน แม่ทัพคนสำคัญของเล่าปี่ และเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือ จูล่ง ได้รับฉายาว่าเป็น "สุภาพบุรุษจากเสียงสาน" เกิดในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 ประมาณปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและจูล่ง · ดูเพิ่มเติม »

จูเหียน

ูเหียน (เกิด พ.ศ.725 – พ.ศ.792) เดิมเป็นบุตรของน้องสาวจูตี แต่จูตีไม่มีบุตรจึงรับเขาเป็นบุตรบุญธรรม เป็นเพื่อนกับซุนกวนตั้งแต่เด็ก เรียนหนังสือมาด้วยกัน มีผลงานในการสู้รบหลายครั้ง เป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วต่อจากลิบอง เป็นกองหน้าที่เข้าตีเล่าปี่ในศึกอิเหลง ในสามก๊กฉบับพระยาคลังหน จูล่งมาช่วยและฆ่าจูเหียน แต่ในประวัติศาสตร์ จูเหียนไม่ได้ตายในศึกนั้นและมีผลงานมากมายจนตำแหน่งสุดท้ายเป็นแม่ทัพใหญ่ของง่อ เมื่อจูเหียนถูกเตียวเปาสังหารตาย ซุนกวนร้องไห้เสียใจมาก.

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและจูเหียน · ดูเพิ่มเติม »

จ๊กก๊ก

กก๊ก หรือ สู่ฮั่น (พินอิน: Shǔ Hàn) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก สถาปนาโดยพระเจ้าเล่าปี่ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์ฮั่น ปกครองในระหว่างปี พ.ศ. 764 - พ.ศ. 806 (ปี ค.ศ. 221-263) จ๊กก๊กครอบครองพื้นที่ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน บริเวณมณฑลเสฉวน มีแม่น้ำทั้งหกสายไหลผ่าน จ๊กก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 2 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ฮั่น, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและจ๊กก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ทหาร

ทหารในประเทศเคนยา ทหาร หมายถึง ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ นักรบ ผู้เป็นกำลังรักษาความมั่นคงและบำรุงประเทศและผู้เป็นกำลังรบและทำหน้าที่อื่นๆ ในยามสงคราม.

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและทหาร · ดูเพิ่มเติม »

ง่อก๊ก

ง่อก๊ก หรือ ตั้งอู๋ (東吳) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าซุนกวน ในระหว่างปี พ.ศ. 765 - พ.ศ. 823 (ปี ค.ศ. 222-280) ง่อก๊กครอบครองพื้นที่ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน ทางบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งคือพื้นที่บริเวณรอบ ๆ เมืองหนานจิงในปัจจุบัน ง่อก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 4 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ซุน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและง่อก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ไฟ

ฟ ไฟ เป็นการออกซิเดชันของวัสดุอย่างรวดเร็วในกระบวนการเผาไหม้ชนิดคายความร้อนซึ่งปล่อยความร้อน แสงสว่าง และผลิตภัณฑ์มากมายจากปฏิกิริยา กระบวนการออกซิเดชันที่ช้ากว่านั้น เช่น การขึ้นสนิม หรือการย่อยอาหาร ไม่นับรวมในนิยามนี้ ไฟร้อนเนื่องจากการแปลงพันธะคู่อ่อนของโมเลกุลของออกซิเจน (O2) ไปเป็นพันธะที่แข็งแกร่งกว่าทำให้เกิดผลิตภัณฑ์เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ปล่อยพลังงานออกมา (418 กิโลจูลต่อออกซิเจน 32 กรัม) พลังงานพันธะของเชื้อเพลิงมีส่วนเพียงเล็กน้อยSchmidt-Rohr, K. (2015).

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและไฟ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

เตียวหุย

ตียวหุย (เสียชีวิต ค.ศ. 221) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า จางเฟย์ มีชื่อรองว่า เอ๊กเต๊ก หรือ อี้เต๋อ เป็นแม่ทัพในวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก เป็นบุคคลคนหนึ่งที่อยู่ในสังกัดห้าทหารเสือแห่งจ๊กก๊กเป็นคนที่ 2.

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและเตียวหุย · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเปา

ตียวเปา (Zhang Bao) เป็นบุตรชายคนโตของเตียวหุย อายุมากกว่ากวนหิน (บุตรชายกวนอู) 1 ปี เตียวเปาเป็นนักรบที่มีฝีมือไม่แพ้พ่อ ออกศึกกับพระเจ้าเล่าปี่ครั้งแรกที่ศึกอิเหลง (ออกศึกพร้อมกับกวนหิน) เพื่อแก้แค้นซุนกวนให้กวนอูและเตียวหุยที่ถูกฆ่าตาย เตียวเปาแสดงฝีมือให้เป็นที่ประจักษ์หลายครั้ง แต่ศึกครั้งนี้ พระเจ้าเล่าปี่ต้องพ่ายให้กับสติปัญญาของลกซุน จนต้องถอยทัพไปที่เป๊กเสีย และตรอมพระทัยสวรรคต หลังพระเจ้าเล่าปี่สวรรคต เตียวเปาก็คอยช่วยเหลือขงเบ้งในศึกต่างๆ หลายครั้ง โดยมักจะได้รับคำสั่งให้ทำงานพร้อมกับกวนหิน ต่อมา เตียวเปาป่วยหนัก ในขณะที่ขงเบ้งไปตีวุยกก๊ก ในระหว่างที่กำลังได้ชัยสุมาอี้ ขงเบ้งกลับได้รับข่าวร้ายว่าเตียวเปาเสียชีวิตแล้ว ขงเบ้งเสียใจมากจนล้มป่วยต้องถอยทัพกลับไป.

ใหม่!!: ยุทธการที่อิเหลงและเตียวเปา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ศึกอิเหลง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »