โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธการที่เอ๊งหยง

ดัชนี ยุทธการที่เอ๊งหยง

ยุทธการที่เอ๊งหยง (Battle of Xingyang) สงครามที่เกิดขึ้นในช่วงปลายสมัย ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก อันเป็นส่วนหนึ่งของ ศึกปราบตั๋งโต๊ะ ภายหลังจาก ศึกด่านเฮาโลก๋วน ตั๋งโต๊ะได้รับคำแนะนำจาก ลิยู (Li Ru) ผู้เป็นกุนซือและลูกเขยของตั๋งโต๊ะให้รีบย้ายเมืองหลวงจากลั่วหยางไปยังเตียงฮัน อดีตเมืองหลวงของ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ตั๋งโต๊ะจึงให้ทหารปล้นเมืองและพระราชสุสานของอดีตจักรพรรดิพร้อมกับเผาเมืองลั่วหยางจนวอดวายแต่ก่อนจะย้ายเมืองหลวงลิยูได้แนะนำตั๋งโต๊ะให้ระวังโจโฉให้ดีเพราะเกรงว่าโจโฉจะโจมตีท้ายทัพจึงได้สั่งให้ ซีเอ๋ง ขุนศึกคนหนึ่งของตั๋งโต๊ะไปดักซุ่มอยู่ที่ช่องเขาเอ๊งหยงซึ่งสถานที่เดียวกันนี้เมื่อ 205 ปีก่อนคริสตกาล ได้เคยใช้เป็นสมรภูมิรบระหว่าง เซี่ยงอวี่ ฌ้อป้าอ๋องและ หลิวปัง ฮันต๋งอ๋อง ทางด้านโจโฉได้ขอกำลังทหารม้าอาชาจาก ซุนเกี๋ยน จำนวน 3,000 นายไปรวมกับกองกำลังของโจโฉที่มีอยู่ประมาณ 4,000 นายเพื่อโจมตีกองทัพตั๋งโต๊ะจนเดินทางมาถึงช่องเขาเอ๊งหยงก็ถูกทัพของซีเอ๋งโจมตีจนแตกพ่ายยับเยินโดยที่ อ้วนเสี้ยว ไม่ได้ส่งทัพหนุนมาช่วยทำให้โจโฉถูกเกาฑัณฑ์ยิงเข้าที่ไหล่ได้รับบาดเจ็บโชคดีที่ โจหอง น้องชายของโจโฉเข้ามาช่วยจนหนีรอดไปได้ หมวดหมู่:สงครามสามก๊ก.

16 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 339การทัพปราบตั๋งโต๊ะมณฑลเหอหนานราชวงศ์ฮั่นตะวันออกราชวงศ์ฮั่นตะวันตกลิยูศึกด่านเฮาโลก๋วนอ้วนเสี้ยวฌ้อปาอ๋องจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ตั๋งโต๊ะฉางอานซุนเกี๋ยนซีเอ๋งโจหองโจโฉ

พ.ศ. 339

ทธศักราช 339 ใกล้เคียงกับ ก่อน คริสต์ศักราช 205.

ใหม่!!: ยุทธการที่เอ๊งหยงและพ.ศ. 339 · ดูเพิ่มเติม »

การทัพปราบตั๋งโต๊ะ

ศึกปราบตั๋งโต๊ะ เป็นหนึ่งในสงครามที่สำคัญในยุคสามก๊ก สงครามครั้งนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อจอมทรราชตั๋งโต๊ะได้สร้างความวุ่นวายในราชสำนักด้วยการปลดห้องจูเปียนออกจากราชสมบัติและตั้งห้องจูเหียบ พระราชอนุชาขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้และขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนทำให้มีอำนาจบาตรใหญ่ในราชสำนัก เหล่าขุนนางต่างหวั่นเกรงกลัวอำนาจของตั๊งโต๊ะ แต่โจโฉได้อาสาที่จะลอบสังหารแต่ไม่สำเร็จจึงหนีไปยังบ้านเกิดขายทรัพย์สมบัติทั้งหมดของตนเป็นทุนเพื่อรับทหารอาสาสมัครจำนวนหนึ่ง จากนั้นไปสมทบกับอ้วนเสี้ยวและส่งสาส์นไปยังเมืองต่างๆให้มาช่วยรบเพื่อโค่นล้มอำนาจของตั๋งโต๊ะ ปรากฏว่า มีหัวเมืองทั้งหมดสิบแปดหัวเมืองได้เข้าร่วมรบในศึกครั้งนี้ ผลลัพธ์ปรากฏว่ากองทัพผสมสิบแปดหัวเมืองสามารถเอาชนะกองทัพตั๊งโต๊ะได้ในด่านเฮาโลก๋วนและกำลังจะบุกตีเมืองลกเอี๋ยงอันเป็นราชธานี แต่ตั๊งโต๊ะได้อัญเชิญพระเจ้าเหี้ยนเต้ไปยังเมืองเตียงอันและสั่งให้ทหารของตนไปปล้นฆ่าราษฏรในเมืองและริบทรัพย์สินมาทั้งหมด เผาลกเอี๋ยงให้ราบ จากนั้นก็ได้สร้างเตียงฮันเป็นราชธานีใหม่โดยนำเงินที่ปล้นมาเป็นทุน ส่วนกองทัพของสิบแปดหัวเมืองไม่ได้คิดตามไปตีเตียงอันแต่ก็ได้มีแตกแยกกันทำให้กองทัพพากันสลายตัวในที่สุด หมวดหมู่:สามก๊ก หมวดหมู่:สงครามสามก๊ก.

ใหม่!!: ยุทธการที่เอ๊งหยงและการทัพปราบตั๋งโต๊ะ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหอหนาน

หอหนาน ตามสำเนียงกลาง หรือ ห้อหลำ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือชื่อย่อ อวี้ และชื่อเดิม จงโจว หรือ จงหยวน เป็นมณฑลในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางตอนกลางเยื้องทางตะวันออกของประเทศ อยู่ทางตอนกลางส่วนล่างของ แม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) ซึ่งไหลผ่านเป็นระยะทาง 700 กว่ากิโลเมตร ถือเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจีน มีเมืองเอกชื่อ เจิ้งโจว (郑州) มีเนื้อที่ 167,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 97,170,000 คน ความหนาแน่น 582 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 881.5 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9070 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น มณฑลเหอหนานมีประชากรมากที่สุดในประเทศจีน ภูมิประเทศ ทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาทอดตัวยาวสลับซับซ้อน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ทางตะวันออกเป็นพื้นที่ราบ สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 100 เมตร จุดที่สูงที่สุดของมณฑลอยู่ที่ยอดเหล่ายาช่า ในเมืองหลิงเป่า ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2413.8 เมตร ภูมิอากาศมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนกึ่งอบอุ่น มีฤดู 4 ฤดูอย่างชัดเจน อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 13-15 องศาเซลเซียส เศรษฐกิจปี 2547 เหอหนันมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเท่ากับ 881,509 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 13.7 % อุตสาหกรรมเหอหนันถือเป็นฐานผลิตพลังงานที่สำคัญ มีธุรกิจถ่านหิน 65 ราย สามารถผลิตถ่านหินได้ปีละประมาณ 100 ล้านตัน เป็นที่ 2 ของจีน.

ใหม่!!: ยุทธการที่เอ๊งหยงและมณฑลเหอหนาน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

มื่อพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ขึ้นครองราชย์แล้ว อำมาตย์หยวนเซ่า (อ้วนเสี้ยว) เริ่มกำจัดขันทีกว่า 2000 คน อันเป็นการกวาดล้างอิทธิพลของขันทีทั้งหมด ต่อมาต่งจัว (ตั๋งโต๊ะ) นำกองทหารบุกโจมตีลั่วหยางและปลงพระชนม์พระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ แล้วยก พระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้ (เหี้ยนเต้) ขึ้นครองราชย์แทน พร้อมกับบีบให้หยวนเซ่าออกจากเมืองหลวง ไม่นานหยวนเซ่ากับพันธมิตรยกทัพมาตีต่งจัว เขาจึงพาจักรพรรดิลี้ภัยไปฉางอาน (เตียงอัน) ต่อมา หลี่ปู้ (ลิโป้) กับพวก วางแผนลอบสังหารต่งจัวสำเร็จ จักรพรรดิจึงเดินทางกลับลั่วหยัง (ลกเอี๋ยง) แต่ถูกนายทัพเฉาเชา (โจโฉ) ย้ายพระองค์ไปอยู่ที่เมืองสี่ชาง (ฮูโต๋) ตั้งแต่บัดนั้นมาเฉาเชาจึงควบคุมและใช้อำนาจบริหารบ้านเมืองในนามจักรพรรดิ ถือเป็นผู้ครองอำนาจสูงสุดแท้จริง ปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เอ๊งหยงและราชวงศ์ฮั่นตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (202 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 8) หลิวปังรบชนะฌ้อป๋าอ๋องเซี่ยงหวี่ และตั้งราชวงศ์ฮั่นขึ้น ราชวงศ์ฮั่นเป็นยุคทองของจีน คนจีนในยุคหลังจะเรียกตัวเองว่าเป็นชาวฮั่น ราชวงศ์ฮั่นอยู่ได้เป็นเวลานาน กว่า 400 ปี (ราว ๆ ช่วง พ.ศ. 335 - 763) (หรือราว ๆ ช่วง ก่อนคริสต์ศักราช 206 ปี - ค.ศ. 220) และล่มสลายมาเป็นยุคสามก๊ก (ราว ๆ พ.ศ. 763 - 823)(หรือ ๆ ค.ศ. 220 - 280)มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ เมื่อกองทัพหลิวปังเอาชนะกองทหารของเซี่ยงอี่สำเร็จ จึงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่และยาวนาน มีพระนามว่า พระเจ้าฮั่นเกาจู่ โดยตั้งเมืองหลวงที่ ฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) แล้วเรียกชื่อประเทศว่า อาณาจักรฮั่น นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป็นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวง คือ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (เริ่มต้นโดยพระเจ้าฮั่นเกาจู่) และราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (เริ่มต้นที่พระเจ้าฮั่นกวงอู่) เนื่องจากความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองอันมากด้วยวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ยาวนาน จึงถือเป็นยุคทองของจีน จึงมีศัพท์จีนคำหนึ่งซึ่งได้ยินติดหูและใช้เรียกในชีวิตประจำวัน คือ ชาวฮั่น ภาษาฮั่น ซึ่งหมายถึง ชาวจีน ภาษาจีน นั่นเอง มันแสดงถึงความภาคภูมิใจของคนจีนที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่ยุคอาณาจักรฮั่นโบราณ.

ใหม่!!: ยุทธการที่เอ๊งหยงและราชวงศ์ฮั่นตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ลิยู

ลิยู (Li Ru) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เสนาธิการของตั๋งโต๊ะและยังเป็นบุตรเขยของตั๋งโต๊ะด้วย เป็นคนที่สนับสนุนให้ตั๋งโต๊ะคิดการปลดหองจูเปียนจากตำแหน่งฮ่องเต้และตั้งพระเจ้าเหี้ยนเต้ขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน ลิยูยังเป็นผู้วางยาพิษสังหารหองจูเปียนและนางโฮเฮา และเป็นผู้แนะนำให้ตั๋งโต๊ะย้ายเมืองหลวงจากลกเอี๋ยงมาที่เตียงฮัน เพื่อหนีกองทัพพันธมิตร 18 หัวเมือง ต่อมา อ้องอุ้นใช้อุบายห่วงโซ่ โดยให้นางเตียวเสียนไปทำให้ตั๋งโต๊ะกับลิโป้ผู้เป็นบุตรเลี้ยงของตั๋งโต๊ะผิดใจกัน ลิยูเคยแนะนำให้ตั๋งโต๊ะยกนางเตียวเสี้ยนให้กับลิโป้เพื่อยุติความบาดหมาง แต่ตั๋งโต๊ะไม่ยอม เมื่อตั๋งโต๊ะถูกสังหารโดยลิโป้ ลิยูและครอบครัวก็ถูกลิโป้จับมาประหารสิ้น.

ใหม่!!: ยุทธการที่เอ๊งหยงและลิยู · ดูเพิ่มเติม »

ศึกด่านเฮาโลก๋วน

ลิโป้รบกับ 3 พี่น้องร่วมสาบานกวนอู เล่าปี่ เตียวหุย ที่ด่านเฮาโลก๋วน ศึกด่านเฮาโลก๋วน หรือ ศึกประตูหูเหลา (Battle of Hulao Gate) เป็นสงครามในสมัยสามก๊กที่เกิดขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เอ๊งหยงและศึกด่านเฮาโลก๋วน · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนเสี้ยว

อ้วนเสี้ยว (Yuan Shao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีบทบาทในช่วงต้นเรื่อง ด้วยเป็นผู้นำก๊กที่มีกองกำลังใหญ่ที่สุด เข้มแข็งที่สุด แต่ท้ายสุดก็ต้องมาล่มสลายเพราะความไม่เอาไหนของตน อ้วนเสี้ยวเคยเป็นทหารติดตาม ที่มีความศรัทธาในตัวของแม่ทัพโฮจิ๋น ผู้เคยมีอาชีพขายเนื้อในเมือง.

ใหม่!!: ยุทธการที่เอ๊งหยงและอ้วนเสี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

ฌ้อปาอ๋อง

หน้ากากอุปรากรฌ้อปาอ๋อง ฌ้อปาอ๋อง หรือ ซีฉู่ป้าหวัง (Xīchǔ Bàwáng, 楚霸王) เป็นขุนศึกผู้ยิ่งใหญ่ในยุคปลายราชวงศ์ฉินที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์จีน เป็นคู่ปรับคนสำคัญของหลิวปังหรือจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิจีนราชวงศ์ฮั่น ฌ้อปาอ๋อง มีชื่อเดิมว่า เซี่ยงอวี่ (Xiang Yu, 项羽) เกิดเมื่อ 232 ปีก่อนคริสตกาล ตรงกับยุคจ้านกว๋อ ที่แคว้นฌ้อ หรือ แคว้นฉู่ (ปัจจุบันครอบคลุมดินแดนของมณฑลหูหนาน, มณฑลหูเป่ย์, ฉงชิ่ง, มณฑลเหอหนาน, มณฑลอานฮุย และบางส่วนของมณฑลเจียงซูและมณฑลเจียงซี) เป็นบุคคลที่ได้รับการกล่าวขานว่ามีพละกำลังมหาศาล สามารถยกกระถางธูปที่มีน้ำหนักนับร้อยกิโลกรัมไว้บนเหนือหัวได้ เกิดในตระกูลขุนศึก ได้รับการเล่าเรียนวิชายุทธและการศึกจาก เซี่ยงเหลียง (Xiang Liang, 項梁) ผู้เป็นอา ต่อมาเมื่อปลายราชวงศ์ฉิน เกิดกบฏชาวนาและอีกหลายกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน เซี่ยงอวี่ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย และด้วยความสามารถ ทำให้ได้เป็นผู้นำระดับแม่ทัพ และได้ร่วมมือกับหลิวปังในการโจมตีหัวเมืองต่าง ๆ โดยวีรกรรมครั้งสำคัญคือ เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล เซี่ยงอวี่นำทัพไปที่เมืองเสียนหยาง เมืองหลวงของราชวงศ์ฉิน ทั้งที่มีกองกำลังน้อยกว่ามากถึง 10 ต่อ 1 หลังจากข้ามแม่น้ำจางเหอไปแล้ว เซี่ยง หวี่ได้สั่งการให้ทหารทั้งหมดที่พกเสบียงอาหารแห้งจำนวนที่จะพอรับประทานได้ 3 วัน และให้ทุบหม้อสำหรับปรุงอาหาร และให้เจาะรูให้เรือที่ข้ามแม่น้ำมาให้รั่วทั้งหมด เพื่อที่จะเอาชนะให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ตายกันหมด ซึ่งวีรกรรมตรงนี้ได้กลายมาเป็นภาษิตในภาษาจีนที่ว่า "ทุบหม้อจมเรือ" อันหมายถึง สิ่งสำคัญที่ตัดสินชะตากรรม ซึ่งเซี่ยงอวี่ได้รับชัยชนะ แต่ปรากฏเป็นกองทัพของหลิวปังที่ได้เข้าสู่เมืองหลวงก่อน พร้อมกับได้นั่งบัลลังก์ฮ่องเต้ สร้างความไม่พอใจให้แก่เซียงอวี่ ต่อมา เซียงอวี่ได้ประกาศตนเองเป็น ฌ้อปาอ๋อง อันหมายถึง "อ๋องแห่งฌ้อผู้ยิ่งใหญ่" พร้อมกับได้สถาปนาให้หลิวปังมีบรรดาศักดิ์เป็น ฮั่นอ๋อง (King of Han, 汉王) ต่อมาเซี่ยงอวี่กับหลิวปังก็แตกแยกกัน ทั้งคู่ทำสงครามแย่งชิงราชบัลลังก์กันนานถึง 4 ปี ที่เรียกกันว่า สงครามฉู่-ฮั่น (Chu–Han contention, 楚汉战争) ในระยะแรก ฌ้อปาอ๋องที่มีกองกำลังมากกว่าได้รับชัยชนะต่อเนื่องกันหลายครั้ง แต่หลิวปังซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากที่ปรึกษาและขุนพลคนสำคัญ คือ เตียวเหลียง (Zhang Liang 張良), เซี่ยวเหอ (Xiao He, 蕭何) และ ฮั่นสิน (Han Xin, 韓信) ทำให้ได้เปรียบได้ตอนท้าย และกลายมาเป็นฝ่ายยกกองทัพปิดล้อมกองทัพฌ้อ จนฌ้อปาอ๋องและหยูจี ซึ่งเป็นนางสนมไม่มีทางหนี ขณะที่กำลังถูกปิดล้อมอยู่นั้น กล่าวกันว่าฝ่ายฮั่นได้เล่นเพลงของฌ้อดังไปถึงกองทัพของฌ้อเพื่อข่มขวัญ ทำให้ฌ้อปาอ๋องเกิดมุทะลุบุกขึ้นมาตีฝ่าวงล้อม ซึ่งทำให้ต้องเสียไพร่พลที่เหลือน้อยอยู่แล้วลงไปอีก และตัวเองต้องหนีไปจนมุมที่แม่น้ำไก่เซี่ย (ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกของมณฑลอานฮุย) และฆ่าตัวตายด้วยการเชือดลำคอด้วยดาบในที่สุด จบชีวิตลงเมื่อปี 202 ปีก่อนคริสตกาล ขณะที่มีอายุเพียง 30 ปีเท่านั้น เรื่องราวของฌ้อปาอ๋องได้รับการเล่าขานสืบต่อกันมาในวัฒนธรรมจีนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่บุคลิกของฌ้อปาอ๋อง จะเป็นไปในลักษณะของ ชายรูปร่างสูงใหญ่ บึกบึน ไว้หนวดไว้เครา อุปนิสัยโหดร้าย เจ้าอารมณ์ และมุทะลุดุดัน เนื่องจากการบุกเมืองเสียนหยาง ฌ้อปาอ๋องได้สั่งเผาและฝังทั้งเป็นทหารฉินถึง 200,000 นาย และต่อมาเมื่อมีอำนาจ ก็เป็นบุคคลเจ้าอารมณ์ไม่ฟังเสียงทัดทานของผู้คนรอบข้าง ผิดกับหลิวปัง ซึ่งใจเย็น สุขุม และมีเมตตากว่า จึงเป็นที่นิยมของราษฎร ขณะเดียวกันชีวิตส่วนตัวของฌ้อปาอ๋องกับนางสนมหยูจี ที่เป็นผู้หญิงที่สวยมาก ที่อยู่เคียงข้างจนวาระสุดท้าย ก็เป็นที่เล่าขานกัน ซึ่งก่อนที่ฌ้อปาอ๋องจะลุกขึ้นมานำทัพบุกฝ่าวงล้อมของกองทัพฮั่นนั้น ได้เข้าไปร่ำลานางหยูจี พร้อมกับตีกลองร้องเพลงที่มีความหมายถึงวาระสุดท้ายของชีวิตตนเอง ซึ่งเรียกว่า "เพลงแห่งไก่เซี่ย" (Song of Gaixia, 垓下歌) ที่อาจถอดความหมายได้ว่า ซึ่งเรื่องราวของฌ้อปาอ๋อง ได้บันทึกไว้ในวรรณคดีเรื่องสำคัญแห่งการสถาปนาราชวงศ์ฮั่น คือ ไซฮั่น และในยุคปัจจุบันได้กลายเป็นตัวละครสำคัญในวัฒนธรรมร่วมสมัยมากมาย เช่น ภาพยนตร์เรื่อง The Great Conqueror's Concubine ในปี ค.ศ. 1993 นักแสดงผู้ที่รับบทฌ้อปาอ๋อง คือ หลี่ เหลียงเหว่ย หรือละครโทรทัศน์ทุนสร้างสูงในปี ค.ศ. 2011 ซึ่งผู้รับบทนี้ คือ เหอ ยุ่นตง หรืออ้างอิงถึงในภาพยนตร์เรื่อง Farewell My Concubine ในปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เอ๊งหยงและฌ้อปาอ๋อง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นเกาจู่

ั่นเกาจู่ ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ฮั่นโกโจ ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน ("อัครบรรพชนฮั่น"; 256 ปีก่อนคริสตกาล – 1 มิถุนายน 195 ปีก่อนคริสตกาล) พระนามเดิม หลิว ปัง เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์ฮั่นของจักรวรรดิจีน และเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ดังกล่าว เสวยราชย์ช่วง 202–195 ปีก่อนคริสตกาล นับเป็นหนึ่งในปฐมกษัตริย์จีนไม่กี่พระองค์ที่มาจากครอบครัวรากหญ้า ก่อนเข้าสู่อำนาจ หลิว ปัง เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยในราชวงศ์ฉิน ทำหน้าเป็นนายด่านที่บ้านเกิดในเทศมณฑลเพ่ย์ (沛縣) แห่งรัฐฉู่ (楚国) ที่ถูกราชวงศ์ฉินยึดครอง เมื่อฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ฉิน สิ้นพระชนม์ และจักรวรรดิฉิน (秦朝) ตกอยู่ในความวุ่นวายทางการเมือง หลิว ปัง ละทิ้งตำแหน่งราชการเข้าร่วมกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน จนสามารถบีบให้จื่ออิง (子嬰) ผู้นำคนสุดท้ายของราชวงศ์ฉิน ยอมจำนนได้เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อสิ้นราชวงศ์ฉินแล้ว เซี่ยง อฺวี่ (項羽) ผู้นำกบฏ แบ่งดินแดนฉินออกเป็นสิบแปดส่วน ให้หลิว ปัง เป็น "ราชาฮั่น" (漢王) ไปครองภูมิภาคปาฉู่ (巴蜀) อันห่างไกลและกันดาร หลิว ปัง จึงนำทัพต่อต้านเซี่ยง อฺวี่ และสามารถยึดภูมิภาคฉินทั้งสาม (三秦) ไว้ได้ นำไปสู่สงครามกลางเมืองที่เรียกว่า "สงครามฉู่–ฮั่น" (楚漢戰爭) ครั้น 202 ปีก่อนคริสตกาล หลังเกิดยุทธการไกเซี่ย (垓下之戰) หลิว ปัง มีชัยในการชิงอำนาจ จึงสามารถรวบดินแดนจีนส่วนใหญ่ไว้ในกำมือ เขาก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น มีตนเป็นจักรพรรดิพระองค์แรก ใช้พระนาม "ฮั่นเกาจู่" รัชสมัยฮั่นเกาจู่มีการลดหย่อนภาษี ส่งเสริมลัทธิขงจื๊อ และปราบปรามกบฏเจ้าประเทศราชต่าง ๆ ฮั่นเกาจู่ยังริเริ่มนโยบายที่เรียก "วิวาห์สันติ" (和親) เพื่อสร้างความปรองดองกับกลุ่มซฺยงหนู (匈奴) หลังพ่ายแพ้ในยุทธการไป๋เติง (白登之戰) เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล ครั้น 195 ปีก่อนคริสตกาล ฮั่นเกาจู่สวรรคต พระโอรส คือ หลิว อิ๋ง (劉盈) สืบตำแหน่งต่อ ใช้พระนามว่า "ฮั่นฮุ่ย" (汉惠).

ใหม่!!: ยุทธการที่เอ๊งหยงและจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ · ดูเพิ่มเติม »

ตั๋งโต๊ะ

ตั๋งโต๊ะ (เสียชีวิต 22 พฤษภาคม ค.ศ. 192) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า ต่ง จั๋ว ชื่อรองว่า จ้งอิ่ง (仲穎) เป็นข้าราชการชาวจีนสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งยึดอำนาจในพระนครลกเอี๋ยง (洛阳 ลั่วหยาง) ใน..

ใหม่!!: ยุทธการที่เอ๊งหยงและตั๋งโต๊ะ · ดูเพิ่มเติม »

ฉางอาน

ฉางอาน ตามสำเนียงกลาง หรือ เตียงฮัน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (Chang'an) เป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศจีน โดยมีราชวงศ์ 13 ราชวงศ์ที่เลือกนครฉางอานเป็นเมืองหลวง ปัจจุบันคือเมืองซีอาน ซึ่งเปลี่ยนชื่อในสมัยราชวงศ์ชิง ชื่อ ฉางอาน มีความหมายว่า "ความสงบสุขชั่วนิรันดร์" (Perpetual Peace) สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์สุย ในยุคนั้นเรียกว่าเมืองต้าซิง เมื่อถึงราชวงศ์ถังจึงเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองฉางอาน เมืองนี้ใช้ระยะเวลาในการสร้างเกือบ 100 ปี แต่ความใหญ่โตมโหฬารกลับปรากฏในตอนท้าย เมืองฉางอานในยุคนั้นเมื่อเทียบกับเมืองซีอานในอดีตแล้วยังนับว่าใหญ่กว่า 10 เท่า ถือว่าเป็นเมืองระดับนานาชาติเลยก็ว่าได้ พื้นที่ส่วนหนึ่งของฉางอาน ภายในเมืองฉางอานมีพระราชวังเป็นที่ประทับขององค์พระมหากษัตริย์และเป็นที่บริหารราชภารแผ่นดิน ทางทิศใต้ของเขตพระราชวังใช้เป็นที่ทำงานของขุนนางทั้งหลาย ถนนหนทางภายในตัวเมืองฉางอานและที่พักอาศัย ถูกออกแบบคล้ายกระดานหมายรุก เป็นระเบียบเรียบร้อย ถนนหลายสายภายในเมืองมีความกว้างกว่า 100 เมตร หนึ่งในนั้น ถนน "จูเชว่" ถือได้ว่าเป็นถนนที่กว้างมากที่สุด สิ่งเหล่านี้แสดงถึงความรุ่งเรืองของบ้านเมือง เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์หมิงและชิงก็ได้นำเอาแบบอย่างการสร้างเมืองฉางอานไปใช้ในการสร้างเมืองปักกิ่ง เมืองฉางอานมีส่วนที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและส่วนที่ใช้ทำมาค้าขาย แบ่งเป็นสัดส่วน ภายในส่วนที่ใช้ทำมาค้าขาย มีร้านค้ามากมาย เรียกร้านค้าเหล่านี้ว่า "ห้าง" อาทิ ห้างขายเนื้อ ห้างขายปลา ห้างขายยา ห้างผ้า ห้างเหล็ก ห้างเงินทอง ฯลฯ ว่ากันว่าแค่เพียงส่วนค้าขายทางตะวันออก ก็มีร้านค้ากว่า 200 แห่ง สิ่งของหายากจากทั่วทุกสารทิศ สามารถหาซื้อได้ในเมืองฉางอาน เมืองฉางอานยังเป็นเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรม มีกิจกรรมความบันเทิงต่าง ๆ มากมาย อาทิ การร้องรำทำเพลง การแข่งขันชนไก่ ชักเย่อ โล้ชิงช้า ฯลฯ จิตกร นักอักษรศิลป์ กวีที่มีชื่อเสียงต่างก็พักอาศัยอยู่ในเมืองฉางอาน ผลงานของผู้คนเหล่านี้ทำให้เมืองฉางอานมีสีสันมากขึ้น เมืองฉางอานยังเป็นเมืองที่วัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกมาบรรจบกัน ในยุคนั้นประเทศต่าง ๆ กว่า 70 ประเทศ ได้มาเจริญสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์ถัง เส้นทางสายไหมมีความเจริญสูงสุด ประเทศญี่ปุ่น สยาม และประเทศอื่น ๆ อีกมากมาย ต่างส่งคนมาศึกษาเล่าเรียน พ่อค้าจากเปอร์เซีย (อิหร่านปัจจุบัน) กับทาจิกส์ (ส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกกลาง) ต่างมุ่งหน้ามาทำการค้าขายที่เมืองฉางอาน ในเวลานั้นเมืองฉางอานมีประชากรถึง 1 ล้านคน รวมกับชาวต่างชาติที่ย้ายมาพำนักอีกว่าหมื่นคน เมืองฉางอานไม่เพียงแต่เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม แต่ยังกลายเป็นเมืองระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียงเมืองหนึ่งอีกด้ว.

ใหม่!!: ยุทธการที่เอ๊งหยงและฉางอาน · ดูเพิ่มเติม »

ซุนเกี๋ยน

ระเจ้าซุนเกี๋ยน (Sun Jian) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพและขุนศึกในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และยุคสามก๊กช่วงต้น ซุนเกี๋ยนไต่เต้าจากตำแหน่งขุนนางต่ำต้อยจนเป็นเจ้าเมืองเตียงสา เข้าร่วมกับกองทัพ 18 หัวเมืองตะวันออกต้านตั๋งโต๊ะในฐานะลูกน้องของอ้วนสุด สามารถเอาชนะกองทัพของตั๋งโต๊ะจนได้รับฉายาว่า "พยัคฆ์กังตั๋ง" หรือ "พยัคฆ์แดนใต้" และกำลังจะยึดเมืองลกเอี๋ยง แต่อ้วนสุดเกิดอิจฉาริษยาที่ซุนเกี๋ยนได้ชัยชนะและถ้าหากยึดเมืองลกเอี๋ยงได้ ซุนเกี๋ยนก็จะได้รับความดีความชอบไป จึงตัดสินใจแกล้งไม่ส่งเสบียงให้แก่ทัพของซุนเกี๋ยน จนในที่สุดซุนเกี๋ยนรบพ่ายแพ้และไปเอาเรื่องกับอ้วนสุด แต่อ้วนสุดกลับเอาตัวรอดได้ด้วยการโยนความผิดและประหารชีวิตเจ้าหน้าที่ส่งเสบียงไป ต่อมาหลังจากตั๋งโต๊ะเผาเมืองหนีไปยังเตียงฮัน ซุนเกี๋ยนลาดตระเวณทั่วเมืองจนกระทั่งได้พบกับตราหยกแผ่นดินโดยบังเอิญในศพหญิงรับใช้ในวังที่กระโดดบ่อน้ำตาย ลูกน้องและคนของซุนเกี๋ยนจึงสรรเสริญว่า ซุนเกี๋ยนเป็นผู้มีบุญต่อไปจะได้เป็นฮ่องเต้ ทำให้ซุนเกี๋ยนตัดสินใจออกจากกองทัพ 18 หัวเมืองเพื่อไปตั้งตนเป็นใหญ่แต่อ้วนเสี้ยวรู้เข้าจึงบีบให้ส่งตราหยกมา แต่ซุนเกี๋ยนกลับไม่ยอมให้และตีจากไป อ้วนเสี้ยวได้ส่งเล่าเปียวไปชิงตราหยกกลับคืนมาแต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้นซุนเกี๋ยนและเล่าเปียวก็เป็นศัตรูกัน เวลาต่อมาซุนเกี๋ยนได้คิดที่จะสถาปนาเมืองกังตั๋งให้ขึ้นมาเข้มแข็งบ้าง ซึ่งต่อมาถือได้ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญให้กับการตั้งตัวของง่อก๊ก โดยซุนเซ็กและซุนกวน บุตรชายทั้ง 2 หลังจากนั้นอ้วนสุดมีคำสั่งให้ซุนเกี๋ยนโจมตีเมืองเกงจิ๋วของเล่าเปียว แต่ซุนเกี๋ยนเสียชีวิตในการรบในระหว่างไล่โจมตีหองจอ ลูกน้องของเล่าเปียว ภายหลังซุนกวนสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ แล้วทรงสถาปนาตำแหน่งซุนเกี๋ยนผู้เป็นพระบิดาของพระองค์เป็นจักรพรรดิด้ว.

ใหม่!!: ยุทธการที่เอ๊งหยงและซุนเกี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

ซีเอ๋ง

รูปซีเอ๋งจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI ซีเอ๋ง (Xu Rong) เป็นนายทหารของตั๋งโต๊ะ มีบทบาทในช่วงสั้นๆ ในตอนที่ตั๋งโต๊ะย้ายเมืองหลวง โจโฉได้รวบรวมกองทัพพันธมิตรขึ้นมา เพื่อโค่นอำนาจตั๋งโต๊ะ ตั๋งโต๊ะกลัวจึงย้ายเมืองหลวงจากลกเอี๋ยงไปอยู่ที่เตียงฮัน แต่ลิยูได้คาดการณ์ไว้แล้วว่า กองทัพพันธมิตรต้องตีท้ายทัพ จึงให้ซีเอ๋งนำกองกำลังส่วนหนึ้งไปซุ่มที่ซิงหยาง แล้วก็เป็นดังที่ลิยูคาด โจโฉตีท้ายทัพของตั๋งโต๊ะ ลิโป้จึงยกทัพมาสกัดไว้ ด้วยกำลังที่น้อยกว่าทำให้โจโฉต้องถอยทัพกลับ ระหว่างที่เดินทัพมาถึงซิงหยาง ซีเอ๋งที่ซุ่มอยู่จึงเข้าโจมตีกองทัพของโจโฉทันที โจโฉหนีหัวซุกหัวซุน ซีเอ๋งยิงเกาทัณฑ์ถูกไหล่ของโจโฉ ส่วนม้าก็ถูกทหารของซีเอ๋งใช้หอกแทงล้มลง โจโฉเกือบถูกทหารจับได้ ยังดีที่โจหองมาช่วยไว้ แล้วพาโจโฉหนีไป กองทัพซีเอ๋งจึงยกทัพตามโจโฉและโจหองไปจนเกือบใกล้ถึงตัวทั้งสองแล้ว แต่แฮหัวตุ้นและแฮหัวเอี๋ยนได้นำทัพมาช่วยโจโฉ ซีเอ๋งเข้าประลองทวนกับแฮหัวตุ้น ในที่สุดก็ตายด้วยน้ำมือแฮหัวตุ้น หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: ยุทธการที่เอ๊งหยงและซีเอ๋ง · ดูเพิ่มเติม »

โจหอง

หอง (Cao Hong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นขุนพลคนสำคัญของโจโฉ เป็นน้องชายของโจหยิน มีนิสัยกล้าหาญบ้าบิ่น มีความจงรักภักดี อารมณ์ร้อน เมื่อโจโฉป่าวประกาศระดมพลเพื่อกำจัดตั๋งโต๊ะ โจหองและโจหยินผู้พี่ได้คุมกำลังพันเศษมาเข้าร่วมกับโจโฉที่เมืองตันลิว นับแต่นั้นทั้งสองพี่พี่น้องก็ได้ร่วมมือกับโจโฉตั้งตนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โจหองได้รบให้โจโฉในตำแหน่งแม่ทัพใหญ่หลายครั้ง โจหองเคยช่วยชีวิตโจโฉมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรก โจโฉตามตีท้ายทัพตั๋งโต๊ะ แต่เสียที ตัวโจโฉหลบหนี ซีเอ๋งทหารตั๋งโต๊ะยิงเกาทัณฑ์ถูกโจโฉได้รับบาดเจ็บและม้าของโจโฉถูกหอกของข้าศึกล้มลง โจหองได้มาช่วยชีวิตโจโฉไว้ได้ และขอให้โจโฉขึ้นมา แต่โจโฉปฏิเสธ โจหองจึงพูดไว้ว่า "แผ่นดินนี้โจหองตายไม่เป็นไร แต่ท่านตายไม่ได้" ก่อนจะพาหนีมาและพบกับซีเอ๋งที่ดักรออยู่ แต่ แฮหัวตุ้น และ แฮหัวเอี๋ยน สองนายทหารเอกเข้ามาช่วยทันและ แฮหัวตุ้น ก็สังหารซีเอ๋ง ณ ที่นั้น โจโฉจึงรอดตายได้อย่างหวุดหว...

ใหม่!!: ยุทธการที่เอ๊งหยงและโจหอง · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

ใหม่!!: ยุทธการที่เอ๊งหยงและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ยุทธการที่ซิงหยาง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »