โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยีเอ๋ง

ดัชนี ยีเอ๋ง

ีเอ๋ง (Mi Heng) หนึ่งในที่ปรึกษาของโจโฉที่ปากดีอวดเก่งไม่รู้เวลา จึงถูกประหารชีวิต ยี่เอ๋งเป็นชาวเมืองเพงงวนก๋วน ปัจจุบันอยู่ในแขวงชางฮี มณฑลซานตง มีชื่อรองว่า "เจิ้งผิง" (正平) ปรากฏตัวครั้งแรก เมื่อเตียวสิ้วเข้าร่วมกับโจโฉแล้ว โจโฉต้องการทูตไปเจรจาเกลี้ยกล่อมเล่าเปียวเป็นพวกด้วย จึงปรึกษาขงหยงว่าควรตั้งใครเป็นทูตไปเกงจิ๋วดี ขงหยงเสนอยีเอ๋ง บัณฑิตหนุ่มอายุ 20 ปี โจโฉก็เคยได้ยินชื่อยีเอ๋งมาบ้าง จึงเชิญให้ยีเอ๋งมาพบ เมื่อยีเอ๋งมาถึงแล้วได้คำนับโจโฉ แต่โจโฉไม่ยอมคำนับตอบ ด้วยเห็นว่ายีเอ๋งไม่มีท่าทีว่าจะเป็นคนฉลาดเฉลียวสมดังคำเล่าลือ ยีเอ๋งจึงรำพันออกมาว่า ณ ที่นี่กว้างนักแต่หาคนดี ๆ สักคนไม่มี โจโฉจึงถามว่า อันข้าพเจ้านั้นมีผู้ดี ๆ เก่ง ๆ มาร่วมงานมากมาย ไฉนจึงว่าไม่มีคนดีมาร่วมงาน ยีเอ๋งจึงถามว่า บุคคลที่ท่านว่าดี ยกตัวอย่างมาสิ โจโฉจึงตอบไปหลายคนทั้งขุนนางบุ๋นและบู๊ ได้แก่ ซุนฮก, ซุนฮิว, กุยแก, เทียหยก, เตียวเลี้ยว, เคาทู, ลิเตียน, งักจิ้น แต่ยีเอ๋งกลับหัวเราะเยาะพร้อมกล่าวถึงบุคคลที่โจโฉว่ามาแต่ละคนล้วนแต่ไม่ได้เรื่องว่า ซุนฮกเหมาะสำหรับใช้ให้ไปเยี่ยมคนป่วยหรือไปร่วมงานศพเท่านั้น ซุนฮิวนั้นก็เหมาะที่จะเป็นสัปเหร่อมากกว่า กุยแกก็เหมาะสำหรับแต่งโคลงกลอนหรืออ่านหนังสือให้คนไม่รู้หนังสือฟัง ส่วนเทียหยกก็สมควรให้เป็นภารโรง เตียวเลี้ยวก็เหมาะกับหน้าที่ตีเกราะเคาะระฆัง เคาทูก็เหมาะกับการเลี้ยงวัวควาย ลิเตียนก็สมกับงานเดินหนังสือ งักจิ้นดูแล้วก็ไม่น่ามีตำแหน่งเกินกว่าเสมียน และยังเอ่ยถึงบุคคลที่โจโฉไม่ได้กล่าวถึงเพิ่มอีกในแบบเดียวกัน คือ ลิยอย ก็ใช้ได้เพียงแค่คนเช็ดทำความสะอาดอาวุธ หมันทองก็เอาแต่เสพสุรา อิกิ๋มก็เหมาะสำหรับกรรมกรยกของหนัก ซิหลงก็เหมาะกับอาชีพฆ่าหมูขาย ส่วนแฮหัวตุ้นนั่นเล่าแค่รักษาศีรษะตนให้ติดอยู่กับบ่าก็ยากพอแล้ว โจโฉฟังแล้วโมโหยีเอ๋งยิ่งนัก แต่ระงับอารมณ์ไว้ ได้ย้อนถามกลับไปว่า ท่านว่าคนของข้าพเจ้าไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วตัวท่านเล่ามีดีอะไรบ้าง ยีเอ๋งตอบไปว่า ข้าพเจ้ามีความรู้ท่วมฟ้า สามารถเพ็ดทูลฮ่องเต้ให้ตั้งอยู่ในธรรมได้ และยังอบรมคนทั้งแผ่นดินได้อีกด้วย ถ้าจะว่าไปแล้ว ข้าพเจ้าชักเบื่อที่จะเจรจากับผู้ไร้สติปัญญาเช่นท่านแล้ว เหมือนพูดกับคนที่ไม่รู้ภาษามนุษย์ เตียวเลี้ยวทนไม่ไหวชักกระบี่จะสังหาร แต่โจโฉห้ามไว้ และให้ตำแหน่งยีเอ๋งเป็นคนตีกลองในวัง ซึ่งยีเอ๋งก็ไม่ขัดข้อง ต่อมา โจโฉจัดงานเลี้ยงในวัง มีผู้เข้ามาร่วมงานมากมาย ซึ่งมีการแสดงดนตรีด้วย นักดนตรีแต่ละคนล้วนแต่งกายด้วยอาภรณ์สวยงามทั้งสิ้น แต่ยีเอ๋งกลับสวมเสื้อผ้าขาดวิ่นมาตีกลองเพียงคนเดียว แต่ยีเอ๋งตีกลองได้อย่างไพเราะจับใจมาก ทำเอาแขกในงานซึ้งไปกับเสียงกลองของยีเอ๋ง เพลงนี้มีชื่อว่า "ยูยัง" (余洋) ซึ่งมีลำนำอันไพเราะ ทำให้ได้บรรยากาศริมน้ำ ขณะนั่งตกปลา ที่ต้องนิ่งสงบอยู่กลางเสียงปลาฮุบเบ็ด เสียงใบไผ่และใบวนสีกันเป็นจังหวะ ซึ่งความหมายของชื่อเพลง แปลว่า ตกปลา (ยาขอบตั้งชื่อเพลงนี้ว่า "เพลงมัสยาหลงเหยื่อ") บางคนถึงกับน้ำตาไหลซาบซึ้ง เมื่อตีจบแล้ว บรรดาแขกไปรุมถามยีเอ๋งว่า เหตุไฉนท่านจึงแต่งกายสกปรกเช่นนี้ โจโฉโมโหจึงตวาดถามไปด้วยเสียงอันดังว่า ทำไมถึงแต่งตัวเช่นนี้ในเขตพระราชฐาน ยีเอ๋งแทนที่จะไปเปลี่ยนเสื้อผ้า กลับประชดถอดเสื้อผ้าออกหมด โจโฉยิ่งโมโหยิ่งขึ้น แต่ยีเอ๋งตอบไปว่า เพราะตัวข้าพเจ้าสะอาดบริสุทธิ์ ที่แก้ผ้าออกเพื่อที่จะให้ทุกคนเห็นเรือนร่างอันบริสุทธิ์ของข้าพเจ้า โจโฉจึงถามย้อนกลับไปว่า เช่นนั้นเรือนร่างใครสกปรก ยีเอ๋งจึงตอบไปว่า ก็ตัวท่านไงเล่า เพราะหูท่านชอบฟังแต่เรื่องปอปั้นเยินยอ จึงถือว่าเป็นหูสกปรก ตาท่านก็ชอบจะเห็นแต่สิ่งสวยงามมดเท็จ จึงถือได้ว่าเป็นตาสกปรก จิตใจท่านก็ยิ่งสกปรกใหญ่ คิดจะเป็นโจรปล้นชิงราชสมบัติ สถาปนาตนเป็นฮ่องเต้ ตัวข้าพเจ้าเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ กลับให้มาเป็นคนตีกลอง เช่นนี้หรือจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โจโฉจึงคิดจะประหารยีเอ๋งทันที แต่เกรงคนจะครหา จึงส่งยีเอ๋งไปเป็นทูตเจรจากับเล่าเปียว หมายจะให้เล่าเปียวประหารแทน เมื่อไปถึง ยีเอ๋งเปิดฉากเจรจาด้วยการยกตนเองข่ม เล่าเปียวจึงคิดส่งยีเอ๋งไปให้หองจอ เจ้าเมืองกังแหประหารแทน ด้วยการบอกปัดไปว่า ให้ถามเอาจากหองจอ ถ้าหองจอเห็นดีด้วย ข้าพเจ้าก็ยินดี เมื่อไปถึงกังแห หองจอจัดงานเลี้ยงต้อนรับ เมื่อร่ำสุราได้ที่แล้ว ยีเอ๋งก็พูดจาข่มตนและอวดโอ้ตัวเองเสียเกินจริงอีกครั้ง หองจอได้ยินดังนั้นก็คิดว่า สมจริงดังที่โจโฉและหลายคนว่า หองจอแสร้งถามขอความเห็นจากยีเอ๋งว่า อันตัวข้าพเจ้านี้เป็นเจ้าเมือง ท่านเห็นควรหรือไม่ ยีเอ๋งตอบไปว่า ตัวท่านนั้นเหมือนเจว็ดในศาลเจ้า เหมาะให้คนมากราบไหว้รับของเซ่นสรวง ไม่ต้องทำอะไร สติปัญญาก็ไม่มี หองจอเลยสั่งให้นำตัวยีเอ๋งไปประหารทันที เมื่อโจโฉได้ทราบว่ายีเอ๋งโดนประหารไปแล้ว ก็หัวเราะสาแก่ใจ และบอกว่า ไอ้คนปากดีมันโดนประหารเพราะลิ้นมันแล้ว.

37 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2550พ.ศ. 716พ.ศ. 743พิธีศพกระบี่กลองการจับปลากุยแกมณฑลชานตงระฆังราชวงศ์ชิงลิ้นลิเตียนวัววุยก๊กสุราหมันทองหมูหองจออาวุธอิกิ๋มจักรพรรดิจีนขงหยงควายงักจิ้นซิหลงซุนฮกซุนฮิว (วุยก๊ก)แฮหัวตุ้นโชติ แพร่พันธุ์โจโฉโทษประหารชีวิตเล่าเปียวเทียหยกเคาทูเตียวสิ้วเตียวเลี้ยว

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 716

ทธศักราช 716 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและพ.ศ. 716 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 743

ทธศักราช 743 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและพ.ศ. 743 · ดูเพิ่มเติม »

พิธีศพ

ีศพ หรือ งานศพ เป็นพิธีที่จัดขึ้นในโอกาสการเสียชีวิตของบุคคล ประเพณีเกี่ยวกับงานศพนั้นแตกต่างไปตามวัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา ที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ในสังคมไทย การได้รับพระราชทานเพลิงศพ ถือเป็นเกียรติยศต่อผู้เสียชีวิตและวงศ์ตระกูล มักพระราชทานให้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลที่ทำประโยชน์ให้แก่สังคม โดยการพระราชทานเพลิงศพ จะมีรูปแบบดังนี้.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและพิธีศพ · ดูเพิ่มเติม »

กระบี่

กระบี่ อาจหมายถึง; เขตการปกครอง.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและกระบี่ · ดูเพิ่มเติม »

กลอง

กลอง ทำด้วยหนังวัวขึงด้วยเชือก กลอง เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ประกอบด้วยแผ่นบาง มักทำด้วยแผ่นหนังขึงยึดติดกับโครงให้ตึง ทำให้เกิดเสียงโดยการตีด้วยไม้ หรืออวัยวะของผู้เล่น กลองจัดเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก กลอง มีทั้งกลองที่ทำจากหนังสัตว์ และ กลองที่ทำจากพลาสติก ซึ่งจะให้เสียงที่แตกต่างกันไป และการใช้อุปกรณ์ช่วย กลองที่ทำจากพลาสติกจะต้องใช้ไม้ช่วยตีเพราจะช่วยให้เกิดเสียงที่ดังขึ้น เช่น กลองสแนร์ และ กลองชุด เป็นต้น ส่วนกลองที่ทำจากหนังสัตว์ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ไม้ เนื่องจาก เราสามารถใช้แค่มือตีก็จะทำให้เกิดเสียงดังพอตัวอยู่แล้ว เช่น กลองยาว กลองรำมะนา ตะโพน เป็นต้น แต่ก็มีกลองหนัง ที่จำเป็นต้องใช้ไม้ก็มี เช่น กลองสะบัดชัย และ กลองทัด เนื่องจากเป็นกลองขนาดใหญ่จึงไม่สามารถใช้มือตีอย่างเดียวได้ กลองไม่ได้มีแค่ใช้ในทางเท่านั้นแต่ยังใช้ในด้านอื่นๆอีกด้วยเช่น การตีกลองเพื่อร้องทุกข์ต่อศาล การตีกลองเพื่อเปิดสงครามในสมัยก่อน และ การตีกลองเพื่อเป็นสัญญาณเพื่อให้พระสงฆ์ฉันเพลได้.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและกลอง · ดูเพิ่มเติม »

การจับปลา

การตกปลา เป็นการจับปลาและเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมชนิดหนึ่ง กระทำโดยการใช้เหยื่อล่อ โดยใช้ได้ทั้งที่เป็นเหยื่อสด เหยื่อหมัก และเหยื่อปลอม หมวดหมู่:การประมง หมวดหมู่:การตกปลา.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและการจับปลา · ดูเพิ่มเติม »

กุยแก

กุยแก (Guo Jia) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ยอดกุนซือแห่งวุยก๊ก เป็นชาวเมืองอิ่งชวน เอี๋ยงตี๋ (เมืองอวี๋ มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) ชื่อรองฟ่งเสี้ยว เดิมอยู่กับอ้วนเสี้ยว แต่อ้วนเสี้ยวเป็นผู้นำที่ใช้คนไม่เป็น กุยแกจึงมาอยู่กับโจโฉในวัยเพียง 27 ปี ด้วยการแนะนำของซุนฮก กุยแกเป็นนักวางแผนคนสำคัญ เป็นผู้สรุปข้อดี 10 ประการของโจโฉ และสรุปข้อด้อย 10 ประการของอ้วนเสี้ยวเปรียบเทียบให้โจโฉฟัง ซึ่งเป็นแรงดลใจให้โจโฉทำสงครามแตกหักกับอ้วนเสี้ยว แม้จะมีกำลังคนน้อยกว่าอ้วนเสี้ยวถึง 10:1 แต่โจโฉเอาชนะอ้วนเสี้ยวได้ กุยแกเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเฉลียวฉลาดมาก อาจเทียบได้กับขงเบ้งของเล่าปี่ ทว่าทั้งคู่ไม่มีโอกาสได้ประชันฝีมือกัน เพราะกุยแกเสียชีวิตเสียก่อน ด้วยป่วยตายที่เมืองลกเอี๋ยงในวัยเพียง 38 ปี ระหว่างที่โจโฉทำสงครามติดตามอ้วนซง และอ้วนถำ บุตรชายของอ้วนเสี้ยว ที่หนีไป ภายหลังอ้วนเสี้ยวตายไปแล้ว ก่อนตาย กุยแกได้เขียนจดหมายถึงโจโฉว่า ไม่จำเป็นต้องไล่ติดตามคนทั้ง 2 ไปไกล เพราะไม่นานทั้ง 2 จะแตกกันเองและจะมีผู้จัดการให้ในที่สุด ซึ่งก็ปรากฏเป็นจริงดังคำของกุยแก เพราะเมื่ออ้วนซงและอ้วนฮีหนีไปอยู่กับกองซุนข้อง กองซุนข้องระแวงคนทั้ง 2 อยู่แล้ว จึงฆ่าและตัดหัวมามอบให้แก่โจโฉ เมื่อกุยแกตาย โจโฉร่ำไห้อาลัยมาก รำพึงรำพันว่า กุยแกตายแต่ยังหนุ่ม เหมือนสวรรค์กลั่นแกล้งตน และอีกครั้งหลังพ่ายแพ้ย่อยยับจากศึกเซ็กเพ็ก โจโฉรำพันว่า ถ้ากุยแกยังอยู่จะต้องห้ามปรามตน.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและกุยแก · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลชานตง

มณฑลชานตง ใช้ตัวย่อว่า 鲁 (หลู่) ที่มาของชื่อมณฑลชานตงมาจากคำว่า ชาน (山, shān) ที่หมายถึงภูเขา และคำว่า ตง (东, dōng) ที่หมายถึงทิศตะวันออก มณฑลชานตงมีเมืองหลวง (เมืองใหญ่สุด) คือเมืองจี๋หนาน มณฑลนี้มีเนื้อที่ 156,700 ตารางกิโลเมตร (อันดับที่ 20 ของจีน) แต่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของจีน คือประมาณ 91,800,000 คน (2004) มีความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 586 คนต่อตารางกิโลเมตร นับเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 5 ของจีน ตัวเลข GDP รวมในปี..

ใหม่!!: ยีเอ๋งและมณฑลชานตง · ดูเพิ่มเติม »

ระฆัง

ระฆังซิกมุนด์ ที่เมืองกราโกว์ ประเทศโปแลนด์ ระฆัง เป็นเครื่องดนตรีอย่างง่ายชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นท่อปลายเปิดหนึ่งด้าน มีตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่นกระดิ่ง ไปจนถึงระฆังขนาดใหญ่ เช่นระฆังบิกเบน ที่แขวนในหอนาฬิกา ซึ่งตั้งอยู่ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ระฆังสามารถทำจากวัสดุ ตั้งแต่แก้ว เซรามิค แต่ที่นิยมที่สุดคือโลหะ ระฆัง มีลักษณะเป็นท่อปลายเปิดข้างเดียว แขวนด้านที่เปิดลงด้านล่าง อาจจะมีค้อนแขวนไว้ข้างในตัวระฆัง หรืออาจจะเอาไว้ด้านนอกก็ได้ แล้วแต่ว่าจะใช้วิธีแกว่งหรือตี เมื่อระฆังถูกตี พลังงานจากการชนของค้อนกับระฆังจะทำให้อากาศในระฆังเกิดการสั่นพ้องขึ้น ทำให้เกิดเสียงอันก้องกังวาน ในโลกตะวันตก ระฆังมักมีค้อนแขวนไว้ภายใน และแขวนไว้กับแกนที่หมุนได้ แกนที่หมุนได้จะมีเชือกโยงลงไป เวลาจะลั่นก็จะกระตุกเชือก ทำให้ระฆังแกว่ง และกระทบกับค้อนเกิดเป็นเสียงขึ้น บางทีระฆังอาจจะแขวนไว้เป็นราวก็ได้ ส่วนในโลกตะวันออก ระฆังมักใช้วิธีการกระแทกด้วยค้อนหรือไม้ท่อน แทนที่จะแกว่ง เทคนิคหลังนี้เป็นที่นิยมสำหรับหอนาฬิกาและหอระฆังโดยทั่วไป เพราะการแกว่งอาจทำให้หอเสียหายได้ ระฆังมักทำมาจากโลหะผสมทองแดงและดีบุก (ทองเหลือง) ในอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยมากมักเป็น ทองแดง 3: ดีบุก 1 หลังจากที่หล่อเสร็จแล้ว ก็จะต้องถ่วงเสียง โดยการเพิ่มหรือลดเนื้อวัสดุภายในตัวระฆัง เทียบกับการเคาะส้อมเสียงเพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการ.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและระฆัง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: ยีเอ๋งและราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

ลิ้น

ลิ้น เป็นมัดของกล้ามเนื้อโครงร่างขนาดใหญ่ที่อยู่บริเวณฐานของช่องปากเพื่อรองรับอาหาร และช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เป็นอวัยวะที่สำคัญในการรับรส บริเวณพื้นผิวของลิ้นปกคลุมไปด้วยปุ่มรับรส (taste bud) ลิ้นสามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง จึงช่วยในการออกเสียง ลิ้นเป็นอวัยวะที่มีน้ำลายให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอ และเลี้ยงโดยเส้นประสาทและหลอดเลือดเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยในการทำงานและการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและลิ้น · ดูเพิ่มเติม »

ลิเตียน

ลิเตียน (Li Dian) เป็นขุนพลคนสำคัญของโจโฉและเป็นหนึ่งขุนพลกลุ่มแรกของโจโฉ (อันได้แก่ โจหยิน โจหอง แฮหัวตุ้น แฮหัวเอี๋ยน ลิเตียน งักจิ้น) เข้าด้วยกับโจโฉตั้งแต่โจโฉประกาศเรียกคนอาสาสมัครไปปราบตั๋งโต๊ะ เป็นคนสุภาพอ่อนโยน มีความรู้ทั้งด้านการทหารและการปกครอง ได้ออกศึกเสมอ และได้ยศทหารเป็นพ้อหลู่เจียงจวิน สิ้นชีพเมื่ออายุ 36 ปี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหมิ่นโหว (พระยา) หมวดหมู่:วุยก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและลิเตียน · ดูเพิ่มเติม »

วัว

วัว หรือ โค (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: งัว) เป็นสัตว์มีกีบเท้าที่เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ชนิดที่สามัญที่สุด เป็นสมาชิกสมัยใหม่ที่โดดเด่นในวงศ์ย่อย Bovinae เป็นชนิดที่แพร่หลายที่สุดในสกุล Bos และถูกจำแนกเป็นกลุ่มอย่างกว้างขวางที่สุดว่า Bos primigenius วัวถูกเลี้ยงเป็นปศุสัตว์เพื่อเอาเนื้อ เพื่อเอานมและผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ และเป็นสัตว์ลากเทียม ผลิตภัณฑ์อื่นจากวัวมีหนังและมูลเพื่อใช้เป็นปุ๋ยคอกหรือเชื้อเพลิง ในบางประเทศ เช่น อินเดีย วัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ จากบรรพบุรุษวัวที่เป็นสัตว์เลี้ยงเพียง 80 ตัว ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกีเมื่อราว 10,500 ปีก่อนBollongino, Ruth & al.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและวัว · ดูเพิ่มเติม »

วุยก๊ก

วุยก๊ก หรือ เฉาเวย (พินอิน: Cáo Wèi) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: ยีเอ๋งและวุยก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สุรา

ราที่วางขายในร้าน สุรา (liquor หรือ spirit) หมายถึง น้ำเมาที่ได้จากการกลั่นสารบางประเภท อาทิ เอทิลแอลกอฮอล์ และเมรัย คือ น้ำเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่ให้เกิดสารบางประเภท เมื่อดื่มแล้วสารนั้นจะออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง หากดื่มไม่มากอาจรู้สึกผ่อนคลายเนื่องจากสารกดจิตใต้สำนึกที่คอยควบคุมตนเองทำให้กล้าแสดงออกมากขึ้น แต่เมื่อดื่มมากขึ้นก็จะกดสมองบริเวณอื่น ๆ ทำให้เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด จนแม้กระทั่งหมดสติในที่สุด ทั้งสุราและเมรัยเรียกโดยภาษาปากว่า "เหล้า" ประเทศต่าง ๆ ได้วางกฎเกณฑ์สำหรับการผลิต การขาย และการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ตัวอย่างเช่น กฎหมายที่กำหนดอายุขั้นต่ำสำหรับผู้ที่สามารถบริโภคได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีสำหรับประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรียและสวิสเซอร์แลนด์, ไม่ต่ำกว่า 18 ปีในประเทศไทย หรือไม่ต่ำกว่า 21 ปีในสหรัฐอเมริกา การบริโภคทั้งสุราและเมรัยเป็นข้อห้ามในข้อสุราเมรยมัชปมาทัฏฐานหรือข้อที่ 5 แห่งเบญจศีลของพุทธศาสนา ซึ่งว่า "สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ" แปลได้ว่า "เราจักถือศีลโดยเว้นจากการบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท".

ใหม่!!: ยีเอ๋งและสุรา · ดูเพิ่มเติม »

หมันทอง

หมันทอง หรือ บวนทง (滿寵; Man Chong) เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญคนหนึ่งของโจโฉ มีผลงานในการเกลี้ยกล่อมซิหลงให้มารับใช้โจโฉ และการช่วยโจหยินรักษาเมืองอ้วนเสีย หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:วุยก๊ก.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและหมันทอง · ดูเพิ่มเติม »

หมู

หมู หรือ สุกร เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ ซึ่งมีบรรพบุรุษ คือ หมูป่า (Sus scrofa) สามารถจำแนกเป็นสปีชีส์ย่อยของหมูป่าหรือเป็นอีกสปีชีส์หนึ่งแยกต่างหาก หัวและความยาวลำตัวอยู่ระหว่าง 0.9 ถึง 1.8 เมตร ตัวโตเต็มวัยหนักระหว่าง 50 ถึง 350 กิโลกรัม สุกรแม้จะเป็นสัตว์กีบคู่ซึ่งมักกินพืชเป็นอาหาร แต่กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารเหมือนกับบรรพบุรุษหมูป่า สุกรมีวิวัฒนาการกระเพาะอาหารใหญ่ขึ้นและลำไส้ยาวขึ้นเพราะพืชย่อยได้ยากกว่าเนื้อ.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและหมู · ดูเพิ่มเติม »

หองจอ

หองจอ เป็นแม่ทัพของเล่าเปียว มีหน้าที่รักษาปากน้ำกังแฮ เคยถูกซุนเกี๋ยนจับได้ในการรบ ต่อมาซุนเซ็กบุตรชายคนโตของซุนเกี๋ยน ได้ใช้ตัวหองจอแลกกับซุนเกี๋ยนผู้พ่อซึ่งตายในสนามรบ ต่อมาซุนกวน บุตรชายคนรองของซุนเกี๋ยน ยกทัพตีเมืองกังแฮเพื่อแก้แค้นให้พ่อ หองจอถูกกำเหลงฆ่าตายในการรบ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ห หมวดหมู่:ผู้ถูกประหารชีวิตโดยการตัดศีรษะ.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและหองจอ · ดูเพิ่มเติม »

อาวุธ

อาวุธ คือเครื่องมือที่ใช้ระหว่างการรบเพื่อสังหารหรือทำลายทรัพย์สินและทรัพยากร จนไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้ อาจใช้ในการโจมตี การป้องกัน อาธิ เล่น ดิวโและการข่มขู่ ถูกแบ่งไว้2ประเภทคือ (1) อาวุธที่เป็นอาวุธโดยลักษณะเช่น ดาบ หอก กระบี่ สนับมือ ปืน เครื่องระเบิด เป็นต้น (2) อาวุธที่มิใช่อาวุธโดยลักษณะแต่ใช้ได้เสมือนดัง อาวุธ มีบันทึกการใช้อาวุธปรากฏในภาพเขียนบนผนังถ้ำ การศึกษากระบวนการในการต่อสู้ ทำให้เกิดทั้งศิลปะการต่อสู้และหลักยุทธศาสตร์ โดยอุปมา ทุกสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหาย (แม้ทางจิตวิทยา) สามารถจัดให้เป็นอาวุธได้ อาจเป็นอาวุธอย่างง่ายจำพวกกระบองไปจนถึงที่ซับซ้อนอย่างขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) หมวดหมู่:อาวุธ หมวดหมู่:การรักษาความปลอดภัย.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและอาวุธ · ดูเพิ่มเติม »

อิกิ๋ม

อิกิ๋ม (Yu Jin; 于禁) เป็นขุนพลคนสำคัญของโจโฉ มีความซื่อสัตย์จงรักภักดี เคร่งครัดในระเบียบวินัย แต่มักอิจฉาผู้อื่นที่ทำงานเกินหน้าเกินตา อิกิ๋มเดิมเป็นโจร ต่อมาเมื่อโจโฉคิดตั้งตัวเป็นใหญ่ในดินแดนภาคตะวันออก โจโฉได้ค้นหาเหล่าที่ปรึกษาและเหล่าขุนพลมาร่วมงาน อิกิ๋มก็เป็นหนึ่งในขุนพลเหล่านั้น เมื่อโจโฉถูกกองทัพของเตียวสิ้วตีแตก แฮหัวตุ้นแม่ทัพคนหนึ่งของโจโฉได้นำทหารไปปล้นเสบียงชาวบ้าน อิกิ๋มเห็นทนไม่ได้จึงสังหารทหารของแฮหัวตุ้นไปมากมาย จึงทำให้เกิดข่าวลือว่าอิกิ๋มทรยศต่อโจโฉ แต่อิกิ๋มยังไม่เข้าชี้แจงความจริงต่อโจโฉ เพราะต้องไปต้านทัพเตียวสิ้วที่ยกตามมา และสามารถตีทัพเตียวสิ้วให้ถอยไปได้ และเข้าชี้แจงความจริงต่อโจโฉ โจโฉชื่นชมอิกิ๋มว่าเป็นผู้รอบคอบและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ส่วนแฮหัวตุ้น โจโฉได้ละเว้นโทษให้ อิกิ๋มเป็นขุนพลที่โจโฉไว้ใจมาก ใช้ให้ไปร่วมทำศึกหลายครั้ง รวมถึงให้เป็นแม่ทัพคุมกองทัพเรือแทนชัวมอ และเตียวอุ๋น ที่ถูกโจโฉสั่งประหารชีวิตไปในศึกผาแดงด้วยอุบายของจิวยี่ และเป็นผู้สังหารเล่าจ๋องและนางชัวฮูหยินตามคำสั่งของโจโฉ ต่อมาโจโฉตั้งให้อิกิ๋มเป็นแม่ทัพใหญ่คุมทัพไปช่วยสลายวงล้อมของกวนอูที่เมืองอ้วนเซียที่มีโจหยินรักษาเมืองอยู่ และให้บังเต๊กเป็นแม่ทัพหน้า บังเต๊กรบกับกวนอูได้อย่างสูสี ทำให้อิกิ๋มคิดว่าถ้าบังเต๊กสังหารกวนอูได้ ความชอบก็จะตกที่บังเต๊กผู้เดียว จึงตีม้าล่อถอยทัพทุกครั้งที่บังเต๊กได้เปรียบ ต่อมา อิกิ๋มไปตั้งทัพที่ทุ่งจันเค้า ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่ถูกโจมตีได้ง่าย กวนอูจึงสร้างเขื่อนรอให้น้ำหลากแล้วจึงพังเขื่อนให้น้ำท่วมกองทัพของอิกิ๋ม อิกิ๋มถูกกวนอูจับได้แล้วถูกนำไปขังที่เกงจิ๋ว เมื่อซุนกวนยึดเกงจิ๋วได้จึงปล่อยตัวกลับไปวุยก๊ก โจผี (บุตรชายของโจโฉ) ได้ให้วาดรูปอิกิ๋มรอขอชีวิตต่อกวนอูไว้ที่ผนังที่ฝังศพของโจโฉ และให้อิกิ๋มเฝ้าที่ฝังศพนั้น อิกิ๋มมีความละอาย ไม่นานก็ตรอมใจตาย อิกิ๋ม อิกิ์ม.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและอิกิ๋ม · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิจีน

มเด็จพระเจ้ากรุงจีน หรือ จักรพรรดิจีน (หวงตี้; ฮกเกี้ยน:ฮ่องเต้; แต้จิ๋ว:อ้วงตี่) คือประมุขจักรวรรดิจีน โดยมีจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นฮ่องเต้พระองค์แรก ก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ประเทศจีนได้ถูกแบ่งเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย และแต่ละแคว้นจะมีผู้ปกครอง เรียกว่า อ๋อง (王; พินอิน:wáng) ซึ่งแปลว่า พระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาหลังจากอ๋องแห่งแคว้นฉินได้รวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวจึงสถาปนาแผ่นดินเป็นจักรวรรดิจีน และประกาศใช้เป็นพระนามคำนำหน้าว่าจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ คือฉินซือหวงตี้ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน ฮ่องเต้ได้รับการเคารพในฐานะโอรสแห่งสวรรค์ คือเปรียบเสมือนได้รับอำนาจจากสวรรค์มาให้ปกครองประชาชน ตามหลักการ "สูงสุดโอรสสวรรค์ ล่างสุดนั้นประชาราษฎร" (最高的是天子,最低的是人民) การสืบทอดตำแหน่งฮ่องเต้มักอยู่ในรูปแบบจากบิดาไปยังบุตร โดยคำว่า ฮ่องเต้ หรือ หวงตี้ ถ้าแปลตรงตัวจะสามารถแปลได้ว่า "ผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่" (หวง 皇 - ผู้ทรงศักดิ์/Imperial, ตี้ 帝 - องค์อธิปัตย์/Sovereign) โดยนำมาจากพระนามฮ่องเต้องค์แรก คือ ฉินซือหวงตี้ (秦始皇帝) หลังจากนั้นตำแหน่งฮ่องเต้ก็ดำรงอยู่มานับพันปีซึ่งตั้งแต่ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง โดยมาสิ้นสุดที่ราชวงศ์ชิง เนื่องจากบริหารบ้านเมืองล้มเหลว และยังถูกประเทศต่างชาติรุกราน เป็นเหตุให้ประเทศจีนเกิดการปฏิรูปการปกครองจากระบอบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ตำแหน่งฮ่องเต้จึงสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 ฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของประเทศจีนคือ จักรพรรดิฮงเซี่ยนหรือหยวน ซื่อไข่ แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน โดยฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนคือ สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋แห่งราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและจักรพรรดิจีน · ดูเพิ่มเติม »

ขงหยง

งหยง หรือ ขงเล่ง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า ข่งหรง() (ค.ศ. 153 - ค.ศ. 208) มีชื่อรองว่าเหวินจฺวี่ เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นชาวเมืองซีฟู่ ในเขตแคว้นหลู่โก้วะ (โลก๊ก) อันเป็นที่เกิดของขงจื้อ เป็นเชื้อสายของขงจื้อลำดับที่ 20 มีสติปัญญาเฉียบแหลม เมื่ออายุ 10 ขวบได้ไปหาหลี่อิ๋ง เจ้าเมือง คนเฝ้าประตูไม่ให้เข้า ขงหยงอ้างว่าเป็นเพื่อนสนิทของเจ้าเมืองจึงเข้าได้ เมื่อหลีอิ๋งถามว่า เป็นเพื่อนสนิทมาตั้งแต่ครั้งไหน ขงหยงตอบว่า บรรพบุรุษของข้าพเจ้า (คือขงจื้อ) ได้ไปถามความรู้เกี่ยวกับประเพณี จากบรรพบุรุษของท่าน (คือ เล่าจื๊อ ซึ่งชื่อจริงว่า หลีเอ๋อ) จึงถือว่าสกุลเราสนิทมาหลายชั่วคนแล้ว หลีอิ๋งประหลาดใจในสติปัญญาของเด็กน้อยผู้นี้มาก พอดีเฉินวุ่ย ขุนนางผู้ใหญ่ตำแหน่งต้าจงต้าฟูมาเยี่ยมหลีอิ๋งจึงเล่าให้เฉินวุ่ยฟัง เฉินวุ่ยก็ว่า เด็กฉลาดไม่แน่นักที่โตขึ้นจะฉลาดเสมอไป ขงหยงโต้ว่า ตัวท่านเองก็เป็นเด็กฉลาดมาก่อนไม่ใช้หรือ พูดคำนี้ทั้งหลีอิ๋งกับเฉินวุ่ย ก็หัวเราะขึ้นพร้อมกัน โตขึ้น ขงหยงได้ดำรงตำแหน่งราชการเป็นจงหลังเจี้ยง เจ้าเมื่องปักไฮ ประชาชานิยมรักใคร่มาก ชอบยกคำโบราณมาพูดเสมอว่า “ในห้องพรั่งพร้อมด้วยเพื่อน ในแก้วเอิบอาบด้วนน้ำเหล้า” เป็นผู้จัดตั้งสถานศึกษาศิลปะวรรณคดี และได้ชื่อว่าเป็นปราชญ์คนหนึ่งใน 7 ของราชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้ ครั้งหนึ่งโจโฉต้องการคนดีมีฝีปากไปเกลี้ยวกล่อมเล่าเปียว ผู้ครองแคว้นเกงจิ๋ว มีผู้เสนอให้วานขงหยง แต่ขงหยงไม่ยอมรับ แนะนำให้วานยีเอ๋ง ซึ่งเป็นเพื่อนรักไปแทน แต่ยีเอ๋งเป็นปราชญ์ที่พูดมากเกินไป ชอบยกตนข่มท่าน การเกลี้ยกล่อมจึงไม่สำเร็จ เนื่องจากคอยขัดคอโจโฉบ่อย ๆ โจโฉจึงไม่ชอบ ครั้งสุดท้ายขัดคอไม่ให้ยกทัพไปปราบเล่าปี่ อ้างว่าเล่าปี่เป็นเชื้อสายพระเจ้าเหี้ยนเต้ และตั้งหลักมั่นคงที่เกงจิ๋วแล้ว โจโฉโกรธ ให้จับขงหยงประหารชีวิตเสีย ขณะที่บุตรกำลังเล่นหมากรุกกันอยู่คนใช้วิ่งมาบอกข่าว และให้ขอให้หนีไปเสีย บุตรขงหยงคนที่สองตอบว่า “ซึ่งท่านเอ็นดูแก่เรานี้คุณก็หาที่สุดมิได้ แต่ธรรมดานกทั้งปวงซึ่งตกฟองในรัง แม้ว่ารังทำลายแล้ว ฟองนั้นก็ตกแตก มิอาจสามารถตั้งอยู่ได้ และบิดาเราถึงแก่ความตายแล้ว บัดนี้ตัวเราผู้เป็นบุตรหรือจะหนีพ้น” พูดมิทันขาดคำทหารโจโฉก็เข้ามาล้อมเรือนจับบุตรภรรยาขงหยงไปฆ่าเสียสิ้น แล้วโจโฉให้เอาศพขงหยงไปประจานไว้ที่สามแพร่ง รูปขงหยงจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและขงหยง · ดูเพิ่มเติม »

ควาย

| name.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและควาย · ดูเพิ่มเติม »

งักจิ้น

งักจิ้น (Yue Jin) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นชาวเมืองหยางผิง เขตเว่ยกว๋อ ซึ่งปัจจุบันคือเมืองชิงเฟิง มณฑลเหอนาน มีชื่อรองเหวินเชียน ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก งักจิ้นเป็นคนรูปร่างเตี้ยและตัวเล็ก แต่จิตใจห้าวหาญ เก่งกาจในเชิงยุทธ์ เป็นขุนพลคนสำคัญของโจโฉ รายละเอียดการดำเนินชีวิตของงักจิ้นในตอนต้นของวรรณกรรมสามก๊ก ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอน มีการกล่าวถึงในตอนได้เข้าร่วมกับกองทัพของโจโฉในตำแหน่งนายทหารชั้นผู้น้อย โดยได้รับมอบหมายให้กลับไปรวบรวมผู้คนจำนวนมากที่บ้านเกิด เพื่อให้เข้าร่วมกับกองทัพในการทำศึกสงคราม งักจิ้นสามารถเกณฑ์ผู้คนจำนวนมากกว่าพันคนในการเข้าร่วมกับกองทัพ จึงได้รับความดีความชอบจากโจโฉด้วยการเลื่อนขั้นจากนายทหารชั้นผู้น้อย เป็นนายทหารระดับนายพัน ภายหลังงักจิ้นได้ช่วยทำศึกออกรบร่วมกับโจโฉหลายต่อหลายครั้ง จนได้เลื่อนยศเป็นเจ๋อชงเจียงจวินหรือนายทหารระดับนายพล และเสียชีวิตในเจี้ยนอันศก ปีที่ 23.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและงักจิ้น · ดูเพิ่มเติม »

ซิหลง

ซิหลง มีชื่อรองว่า กงหมิง เป็นชาวตำบลหยางจวิ้น เมืองเหอตง มณฑลซานซี เกิดในปี..168 เป็นแม่ทัพคนสำคัญของโจโฉ ใช้ขวานใหญ่เป็นอาวุธ เดิมอยู่รับใช้เอียวฮอง เมื่อโจโฉปะทะกับเอียวฮองและหันเซียม ได้ให้เคาทูออกไปรบ เอียวฮองสั่งให้ซิหลงไปสู้ โจโฉเห็นพลังของซิหลง จึงอยากได้มาเป็นขุนพล ต่อมาถูกหมันทองเกลี้ยกล่อมให้อยู่ด้วยโจโฉ โจโฉตั้งให้เป็นนายพัน ซิหลงออกศึกสำคัญให้โจโฉหลายครั้ง ครั้งใหญ่สุดคือการรบกับกวนอูที่เมืองอ้วนเซีย สู้กันถึง 80 เพลง จนกวนอูต้องล่าถอย ชัยชนะครั้งนั้นทำให้ได้เลื่อนขึ้นเป็นนายพล ส่วนเรื่องการตายของเขา บางคนกล่าวไว้ว่า ซิหลงยกทัพพร้อมกับ สุมาอี้ ไปปราบเบ้งตัด ซิหลงถูกเบ้งตัดยิงเกาทัณฑ์โดนหน้าผากเสียชีวิตเมื่อปี..227 ขณะอายุได้ 59 ปี แต่สิ่งที่บางคนกล่าวคือ ซิหลง ป่วยหนักจนเสียชีวิตต่างหาก...

ใหม่!!: ยีเอ๋งและซิหลง · ดูเพิ่มเติม »

ซุนฮก

ซุนฮก (Xun Yu; 荀彧) เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของโจโฉ เดิมอยู่รับใช้อ้วนเสี้ยว แต่ซุนฮกเห็นว่าอ้วนเสี้ยวใช้คนไม่เป็น จึงมาอยู่รับใช้โจโฉ คอยช่วยเหลือโจโฉตั้งแต่โจโฉยังเริ่มตั้งตัวในภาคตะวันออก จนได้เป็นมหาอุปราชแห่งองค์ฮ่องเต้ ซุนฮกคอยวางแผนในการรบให้โจโฉ จนโจโฉสามารถรวบรวมส่วนหนึ่งของจีนได้สำเร็จ ต่อมา โจโฉคิดตั้งตนเป็นวุยก๋ง แต่ซุนฮกไม่เห็นด้วย เพราะซุนฮกสำนึกว่าตนต้องจงรักภักดีต่อราชวงศ์ฮั่น จึงคัดค้านโจโฉ ทำให้โจโฉไม่พอใจ ปี..

ใหม่!!: ยีเอ๋งและซุนฮก · ดูเพิ่มเติม »

ซุนฮิว (วุยก๊ก)

ซุนฮิว (Xun You) เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของโจโฉ เป็นหลานอาของซุนฮก เข้ารับราชการกับโจโฉพร้อมกับซุนฮกผู้อา มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ต่อโจโฉเสมอ ต่อมา โจโฉคิดตั้งตนเป็นวุยอ๋อง (ขณะนั้นโจโฉดำรงตำแหน่งวุยก๋ง) ซุนฮิวคัดค้านการตั้งตนเป็นอ๋องของโจโฉ ทำให้โจโฉไม่พอใจและพูดจาต่อว่าทำให้ซุนฮิว พอกลับถึงบ้านซุนฮิวจึงป่วยและเสียชีวิตในเวลาต่อมา หมวดหมู่:วุยก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและซุนฮิว (วุยก๊ก) · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวตุ้น

แฮหัวตุ้น (Xiahou Dun) เป็นนายพลภายใต้ทัพวุยก๊กของโจโฉในยุคสามก๊กในประวัติศาสตร์จีน แฮหัวตุ้นยังเป็นญาติกับโจโฉโดยแต่เดิมโจโฉนามสกุล "แฮหัว" แต่ได้เปลี่ยนตามพ่อบุญธรรมเป็นสามสกุล "โจ" แฮหัวตุ้นเป็นแม่ทัพมือขวาและยังเป็นลูกพี่ลูกน้องที่โจโฉให้ความไว้วางใจมากที่สุดคนหนึ่ง และเขาก็เป็นคนที่อยู่กับโจโฉมาตั้งแรกเริ่มที่โจโฉเริ่มก่อการจวบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งเขาได้โจโฉขยายอำนาจในการต่อสู้กับ เล่าปี่ ซุนกวน และ ลิโป้ แฮหัวตุ้นสูญเสียดวงตาข้างซ้ายในศึกเสียวพ่าย ในปี..

ใหม่!!: ยีเอ๋งและแฮหัวตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

โชติ แพร่พันธุ์

ติ แพร่พันธุ์ หรือเจ้าของนามปากกา “ยาขอบ” ที่มีผลงานเด่นคือ ผู้ชนะสิบทิศ และอีกหลากหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นผลงานเรื่องสั้นชื่อ “เพื่อนแพง” วรรณกรรมเรื่องยาวอย่าง สามก๊ก (ฉบับวณิพก) ความเรียงปกิณกะเรื่องสินในหมึก เป็นต้น.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและโชติ แพร่พันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

โทษประหารชีวิต

ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิต: 103 ประเทศ โทษประหารชีวิต หรือ อุกฤษฏ์โทษ (capital punishment, death penalty) เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้ เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ" คำว่า capital มาจากคำภาษาละตินว่า capitalis ความหมายตามตัวอักษร คือ "เกี่ยวกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว) สังคมอดีตส่วนมากนั้นมีโทษประหารชีวิตโดยเป็นการลงโทษอาชญากร และผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองหรือศาสนา ในประวัติศาสตร์ การลงโทษประหารชีวิตมักสัมพันธ์กับการทรมาน และมักประหารชีวิตในที่สาธารณะ ปัจจุบันมีประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต 58 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมทุกรูปแบบโดยนิตินัย 98 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตเฉพาะอาชญากรรมปรกติ 7 ประเทศ (โดยคงไว้สำหรับพฤติการณ์พิเศษ เช่น อาชญากรรมสงคราม) และประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยพฤตินัย (คือ ไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิตอย่างน้อยสิบปี และอยู่ระหว่างงดใช้โทษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) องค์การนิรโทษกรรมสากลมองว่าประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ยกเลิก (abolitionist) โดยองค์การฯ พิจารณาว่า 140 ประเทศเป็นผู้ยกเลิกในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ การประหารชีวิตเกือบ 90% ทั่วโลกเกิดในทวีปเอเชีย แทบทุกประเทศในโลกห้ามการประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีขณะก่อเหตุ นับแต่ปี 2552 มีเพียงประเทศอิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและซูดานที่ยังประหารชีวิตลักษณะนี้ กฎหมายระหว่างประเทศห้ามการประหารชีวิตประเภทนี้ โทษประหารชีวิตกำลังเป็นประเด็นการถกเถียงอยู่ในหลายประเทศ และจุดยืนอาจมีได้หลากหลายในอุดมการณ์ทางการเมืองหรือภูมิภาคทางวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป ข้อ 2 แห่งกฎบัตรสิทธิมูลฐานแห่งสหภาพยุโรปห้ามการใช้โทษประหารชีวิต สภายุโรปซึ่งมีรัฐสมาชิก 47 ประเทศ ยังห้ามสมาชิกใช้โทษประหารชีวิต สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติรับข้อมติไม่ผูกพันในปี 2550, 2551 และ 2553 เรียกร้องให้มีการผ่อนเวลาการประหารชีวิตทั่วโลก ซึ่งมุ่งให้ยกเลิกในที่สุด แม้หลายชาติยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ประชากรโลกกว่า 60% อาศัยอยู่ในประเทศซึ่งเกิดการประหารชีวิต เช่น สี่ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ซึ่งยังใช้บังคับโทษประหารชีวิต ทั้งสี่ประเทศออกเสียงคัดค้านข้อมติสมัชชาใหญ่ดังกล่าว.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและโทษประหารชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

เล่าเปียว

ล่าเปียว (Liu Biao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองเกงจิ๋ว มีบุตร 2 คน คือ เล่ากี๋และเล่าจ๋อง เมื่อซุนเกี๋ยนได้ตราแผ่นดินหยกมาครอบครอง อ้วนเสี้ยวได้สั่งให้เล่าเปียวไปตีซุนเกี๋ยนชิงเอาตราหยกมา ทำให้เล่าเปียวและซุนเกี๋ยนเป็นศัตรูกัน จนกระทั่งซุนเกี๋ยนเสียชีวิต.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและเล่าเปียว · ดูเพิ่มเติม »

เทียหยก

เทียหยก (Cheng Yu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ที่ปรึกษาคนสำคัญของโจโฉ ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่โจโฉหลายครั้ง เป็นผู้ใช้อุบายดึงตัวชีซีจากเล่าปี่ และเป็นคนแรกที่สังเกตเห็นว่าเรือเสบียงของอุยกายที่มาสวามิภักดิ์มีพิรุธ ซึ่งความจริงเป็นเรือเชื้อเพลิงของอุยกายที่ใช้เอาทัพเรือโจโฉตามอุบายของจิวยี่ ทีเยเภา ทีเยเภา.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและเทียหยก · ดูเพิ่มเติม »

เคาทู

ทู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขุนพลแห่งวุยก๊ก มีร่างกายใหญ่โต ชำนาญการใช้ทวน เป็นคนซี่อสัตย์และเคร่งครัด เมื่อเตียนอุยนำกำลังไปปราบโจรโพกผ้าเหลือง ได้เห็นเคาทูจับโจรเอาไว้หมดแล้ว เตียนอุยบอกเคาทูให้ส่งโจรมา แต่เคาทูไม่ยอมจึงได้สู้กัน เตียนอุยกลับไปรายงานโจโฉว่าเคาทูมีพละกำลังแข็งแรงมากโจโฉชอบใจจึงเกลี่ยกล่อมให้มาช่วยราชการ เคาทูเคยปกป้องโจโฉไว้หลายครั้ง ในสงครามพายัพได้เป็นองครักษ์แก่โจโฉได้สู้กับม้าเฉียวที่แค้นเพราะโจโฉสังหารม้าเท้งพ่อของตนไป ม้าเฉียวจึงบุกโจมตี ครั้นโจโฉถูกซุ่มโจมตีคิดจะหนีไปทางเรือ เคาทูก็อุ้มโจโฉแล้วกระโจนลงเรือทันทีแต่ข้าศึกยังยิงเกาทันฑ์ใส่ เคาทูจึงใช้มือซ้ายปัดป้องมิให้โดนโจโฉจนตัวเองบาดเจ็บ เป็นที่สรรเสริญนับแต่นั้นม.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและเคาทู · ดูเพิ่มเติม »

เตียวสิ้ว

เตียวสิ้ว (Zhang Xiu) เป็นหลานของเตียวเจ เตียวสิ้วเป็นเจ้าเมือง 4 หัวเมืองได้แก่ เกียมแฮ อันจงก๋วน เตงเชีย และ อ้วนเซีย มีกาเซี่ยงเป็นที่ปรึกษา และได้ส่งเตียวต๊กลูกชายของตนไปดูแลเมืองเตงเชียแทนตน โดยมีเลียวตู้เป็นที่ปรึกษา อยู่ที่เมืองเตงเชียด้วย ขณะที่โจโฉชอบบุกมาที่เมืองเตงเชียอยู่เรื่อยก็เลยให้เลียวตู้ช่วยป้องกันเมือง เตงเชียและสามารถป้องกันเมืองเตงเชียไว้ได้ในที่สุดโจโฉก็จัดทัพไปบุกเมืองเตงเชียอีกเลียวตู้รายงานให้เตียวสิ้วว่าการรบกับโจโฉหลายครั้งไม่ดี และแนะนำให้เตียวสิ้วเป็นพันธมิตรกับโจโฉ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ตีเยวสิ้ว.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและเตียวสิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเลี้ยว

ตียวเลี้ยว (Zhang Liao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลคนสำคัญของโจโฉ เดิมอยู่รับใช้ลิโป้ ต่อมาลิโป้ถูกจับได้ที่เมืองแห้ฝือถูกประหาร ส่วนเตียวเลี้ยวโจโฉเกลี้ยกล่อมให้มาร่วมงานด้วย และเป็นบุคคลที่กวนอูให้ความเคารพนับถือ เพราะนับถือในความซื่อสัตย์และฝีมือ ทั้ง ๆ ที่อยู่คนละฝ่ายกัน ซึ่งเตียวเลี้ยวเป็นคนที่อาสาโจโฉไปเกลี้ยกล่อมกวนอูขณะที่แตกทัพให้มาอาศัยอยู่ชั่วคราวกับโจโฉนั่นเอง เตียวเลี้ยวเป็นขุนพลที่มีความชำนาญทั้งในพิชัยสงคราม กลศึก การรบบนหลังม้า จึงมักได้รับหน้าที่ภาระสำคัญจากโจโฉเสมอ ๆ แม้จะเป็นขุนพลผู้มาสวามิภักดิ์ภายหลัง เช่นการรักษาเมืองหับป๋า ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการรบกับซุนกวน ซึ่งเตียวเลี้ยวก็สามารถทำหน้าที่ได้ดี นอกจากจะรักษาฐานที่มั่นไว้ได้โดยตลอดแล้ว ยังสามารถเป็นฝ่ายรุก รบชนะทัพง่อหลายครั้ง จนเกือบจะจับเป็นซุนกวนได้ จึงเป็นขุนพลที่ทางง่อก๊กขยาดในฝีมือ ถึงกับมีคำกล่าวว่า เตียวเลี้ยวมีตำแหน่งเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือของวุยก๊ก (เตียวเลี้ยว, เตียวคับ, งักจิ้น, ซิหลง และอิกิ๋ม) เตียวเลี้ยวเสียชีวิตลงเพราะโดนลูกธนูยิงเมื่อโจผีบุกง่อก๊ก หลังจากโจผีทราบถึงการเสียชีวิตของเตียวเลี้ยวก็จัดพิธีศพอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แตกต่างจากวรรณกรรมอยู่พอสมควร จดหมายเหตุสามก๊กของเฉินโซ่วระบุว่า หลังจากพระเจ้าโจผีขึ้นครองราชย์แล้ว ซุนกวนเป็นฝ่ายยกทัพมารุกรานวุยก๊ก (ไม่ใช่โจผียกไป) เตียวเลี้ยวจึงถูกส่งตัวมาประจำการ ณ หับป๋าอีกครั้ง และเขาก็เอาชนะทัพง่อได้เป็นครั้งที่สอง ทำให้โจผีชื่นชมมาก จึงได้เพิ่มบรรดาศักดิ์และมอบเกียรติยศให้มากมาย ถึงขนาดเปรียบเทียบเขากับ “ซ่าวหู่” ยอดนักรบแห่งราชวงศ์โจว จากนั้นไม่นานเตียวเลี้ยวก็ล้มป่วย พระเจ้าโจผีจึงส่งแพทย์หลวงประจำราชสำนักไปรักษาอาการ ทั้งยังเสด็จไปเยี่ยมเตียวเลี้ยวเป็นการส่วนตัว โดยเสวยอาหารร่วมกับเขาอย่างไม่ถือตัว จนอาการของเตียวเลี้ยวดีขึ้นไม่ช้าไม่นาน ซุนกวนตั้งท่าจะรุกรานวุยก๊กอีก พระเจ้าโจผีจึงให้เตียวเลี้ยวไปรับศึกร่วมกับโจฮิว ครั้นสองฝ่ายประจันหน้ากันที่แม่น้ำแยงซี ซุนกวนซึ่งเคยแพ้เตียวเลี้ยวมาหลายครั้งหลายหนถึงกับกล่าวว่า และแม้จะไม่ได้รบกับซุนกวนอีก แต่เตียวเลี้ยวก็สามารถนำทัพเอาชนะลิห้อมแห่งกังตั๋งได้ในปีเดียวกันนั้น ซึ่งถือเป็นชัยชนะเหนือง่อก๊กรอบที่สาม อาจกล่าวได้ว่านายพลเตียว “ทำแฮตทริก” ชนะง่อก๊กได้ถึงสามครั้ง ซึ่งคงมีนายทหารน้อยคนในแผ่นดินที่จะทำได้เช่นนี้ จากนั้นไม่นาน เตียวเลี้ยวก็ล้มป่วยและเสียชีวิตลง เป็นการ "ป่วยตาย" ไม่ได้โดนเกาทัณฑ์ยิงในการรบเหมือนที่วรรณกรรมหลอกว้านจงเล่าไว้ เตียวเลี้ยวถือเป็นหนึ่งในยอดนายทหารยุคสามก๊กที่ไม่ได้มีดีแค่ฝีมือรบ แต่ยังเปี่ยมไปด้วยสติปัญญา เขาได้รับการยกย่องจากเฉินโซ่ว ผู้บันทึกจดหมายเหตุสามก๊ก ให้เป็น “หมายเลขหนึ่ง” ในบรรดา “ห้าทหารเอกแห่งวุยก๊ก” ร่วมด้วย เตียวคับ ซิหลง งักจิ้น และ อิกิ๋ม ด้วยความที่อยู่วุยก๊ก ซึ่งมักถูกมองเป็น “ก๊กผู้ร้าย” ทำให้เตียวเลี้ยวไม่ได้รับการยกย่องและเป็นที่จดจำของผู้อ่านวรรณกรรมมากเท่ากับทหารเอกฝ่ายจ๊กอย่าง กวนอู เตียวหุย หรือจูล่ง ทั้งๆ ที่ “มือปราบกังตั๋ง” อย่างเขา ยิ่งใหญ่เกรียงไกรไม่แพ้นักรบคนไหนในแผ่นดินเล.

ใหม่!!: ยีเอ๋งและเตียวเลี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ยี่เอ๋ง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »