โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาสนวิหารอาวร็องช์

ดัชนี อาสนวิหารอาวร็องช์

อาสนวิหารอาวร็องช์ (Cathédrale d'Avranches) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญอันดรูว์แห่งอาวร็องช์ (Cathédrale Saint-André d'Avranches) ก่อนถูกทำลายลงในเดือนเมษายน ค.ศ. 1794 เคยมีฐานะเป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลอาวร็องช์ซึ่งได้ถูกยุบรวมกับมุขมณฑลกูต็องส์ในปี..

20 ความสัมพันธ์: บริเวณกลางโบสถ์ช่องโค้งพ.ศ. 2337พ.ศ. 2345มุขข้างโบสถ์มุขนายกสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์หอประชุมนักบวชอาสนวิหารผังอาสนวิหารจังหวัดม็องช์คริสต์ศตวรรษที่ 11ประเทศฝรั่งเศสนักบุญอันดรูว์แคว้นนอร์ม็องดีโบสถ์น้อยโรมันคาทอลิกโครงสร้างทรงโค้งเขตแพริช

บริเวณกลางโบสถ์

ริเวณกลางโบสถ์แบบกอธิคมองไปสู่บริเวณพิธีทางมุขตะวันออกภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลแห่งนองซ์ในประเทศฝรั่งเศส แผนผังแสดงส่วนที่เป็น “บริเวณกลางโบสถ์” ที่เป็นสีชมพู บริเวณกลางโบสถ์ยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420 บริเวณกลางโบสถ์ (nave) คือช่องทางเดิน (aisle) ที่ตั้งอยู่กลางคริสต์ศาสนสถานที่เริ่มตั้งแต่จากประตูทางเข้าไปสู่บริเวณพิธีและแท่นบูชาเอก ที่บางครั้งก็อาจจะขนาบด้วยช่องทางเดินข้างซ้ายขวาข้างละช่องหรืออาจจะมากกว่าก็ได้ถ้าเป็นวัดใหญ่ๆ เช่นมหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กที่มีช่องทางเดินทั้งหมดห้าช่องที่ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ที่ขนาบด้วยช่องทางเดินข้างๆ ละสองช่อง.

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และบริเวณกลางโบสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

ช่องโค้ง

วาดสามมิติของช่องโค้งทั่วไป ช่องโค้ง (arch) คือโครงสร้างลักษณะโค้งที่ใช้รองรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างด้านบนเหนือตัวมันเอง เทคนิคการสร้างอาร์ชถูกพัฒนาขึ้นในเมโสโปเตเมีย อัสซีเรีย อียิปต์ และอีทรูเรีย แต่ถูกปรับปรุงและใช้อย่างแพร่หลายในโรมันโบราณ หลังจากนั้นอาร์ชกลายเป็นโครงสร้างสำคัญของอาคารโบสถ์ในศาสนาคริสต์ และในปัจจุบันยังมีการใช้อาร์ชในส่วนของโครงสร้างสะพาน ประโยชน์ของอาร์ชคือใช้เป็นโครงสร้างในการเชื่อมต่อบริเวณช่องของส่วนโครงสร้างอื่น ออกแบบเพื่อรับแรงอัดในแนวดิ่ง โดยการเปลี่ยนแรงอัดในแนวดิ่งเป็นแรงอัดในแนวระนาบของอาร์ชและถ่ายแรงลงสู่ฐานทั้งสองข้างของอาร์ช ไฟล์:Treledsbåge.png|อาร์ชสามเหลี่ยม ไฟล์:Rundbåge.png|อาร์ชกลม หรือ อาร์ชครึ่งวงกลม ไฟล์:Segmentbåge.png|Segmental arch ไฟล์:Stigande båge.png|Unequal round arch or Rampant round arch ไฟล์:Lansettbåge.png|Lancet arch ไฟล์:Spetsbåge.png|Equilateral pointed arch ไฟล์:Skulderbåge.png|Shouldered flat arch ไฟล์:Trepassbåge.png|Three-foiled cusped arch ไฟล์:Hästskobåge.png|Horseshoe arch ไฟล์:Korgbåge.png|Three-centred arch ไฟล์:Ellipsbåge.png|Elliptical arch ไฟล์:Draperibåge.png|Inflexed arch ไฟล์:Kölbåge.png|Ogee arch ไฟล์:Karnisbåge.png|Reverse ogee arch ไฟล์:Tudorbåge.png|Tudor arch ไฟล์:Parabelbåge.png|Catenary or Parabolic arch.

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และช่องโค้ง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2337

ทธศักราช 2337 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และพ.ศ. 2337 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2345

ทธศักราช 2345 ตรงกับคริสต์ศักราช 1802 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และพ.ศ. 2345 · ดูเพิ่มเติม »

มุขข้างโบสถ์

มุขข้างโบสถ์ หรือ แขนกางเขน (transept) คือเป็นบริเวณทางขวางที่ตัดกับทางเดินกลางของสิ่งก่อสร้างที่มีผังทรงกางเขนในคริสต์ศาสนสถานที่เป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และกอธิค มุขข้างโบสถ์แยกทางเดินกลางจากบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่รวมทั้งมุขตะวันออก บริเวณร้องเพลงสวด ชาเปลดาวกระจาย และบริเวณสงฆ์ มุขข้างโบสถ์ตัดกับทางเดินกลางตรงจุดตัด ที่อาจจะเป็นที่ตั้งของหอสูงเช่นที่มหาวิหารซอลส์บรีหรือโดม.

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และมุขข้างโบสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

หอประชุมนักบวช

หอประชุมนักบวชที่มหาวิหารลิงคอล์น ที่อังกฤษ แสดงให้เห็นค้ำยันแบบปีกรอบตัวอาคาร หอประชุมนักบวชที่มหาวิหารแคนเทอร์เบอรี ที่อังกฤษ หอประชุมนักบวช (Chapter house) คือสิ่งก่อสร้างหรือห้องที่ติดกับอาสนวิหารหรือโบสถ์หรืออาราม ซึ่งใช้เป็นที่ประชุมของนักบวช ถ้าหอประชุมนักบวชเป็นส่วนหนึ่งของอารามก็มักจะตั้งอยู่ทางตะวันออกของระเบียงฉันนบถ จะเป็นห้องโล่งใหญ่เพื่อให้พอเพียงกับนักพรตที่จำวัดอยู่ในอารามและมักจะตกแต่งอย่างสวยงาม ถ้าเป็นหอประชุมนักบวชเป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์หรือสถาปัตยกรรมกอทิกทางเข้ามักจะเป็น façade เล็กและบนซุ้มโค้งเหนือประตูก็จะมีการตกแต่ง นักพรตในอารามจะประชุมในหอเพื่ออ่านหนังสือศาสนาที่เป็นบท หรือ “Chapter” ฉะนั้นหอประชุมนักบวชในภาษาอังกฤษจึงเรียกว่า “Chapter house” นอกจากอ่านหนังสือศาสนาแล้วก็ยังใช้เป็นที่ประชุมเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับกิจการของอาราม การประชุมมักทำกันตอนเช้าหลังจากพิธีมิสซา นักพรตจะนั่งเรียงติดผนังตามลำดับความสำคัญ เมื่อประชุมเสร็จก็จะสารภาพบาปต่อหน้าที่ประชุม หรือกล่าวประณามผู้ที่ทำผิดโดยไม่กล่าวนาม ระเบียงฉันนบถด้านที่จะสร้างหอประชุมนักบวชจะเป็นด้านที่สร้างก่อนและจะสร้างไม่นานหลังจากที่สร้างโครงสร้างของโบสถ์ ถ้าเป็นหอประชุมนักบวชของมหาวิหาร เคลอจีของมหาวิหารก็จะประชุมกันที่นี่ถ้าเป็นหอประชุมนักบวชของโบสถ์ ดีน Prebendries และนักพรตก็จะประชุมกันที่นี.

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และหอประชุมนักบวช · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหาร

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต.

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และผังอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดม็องช์

ม็องช์ (Manche) เป็นจังหวัดในแคว้นนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส ชื่อของจังหวัดมาจากคำว่า "La Manche" ที่แปลว่าแขนเสื้อซึ่งเป็นชื่อที่ฝรั่งเศสใช้เรียกช่องแคบอังกฤษ จังหวัดม็องช์ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยมีแซ็ง-โลเป็นเมืองหลัก ม็องช์เป็นหนึ่งใน 83 จังหวัดเดิมที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1790 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่ก่อตั้งขึ้นจากบางส่วนของนอร์ม็องดี เมืองหลวงแรกของม็องช์อยู่ที่กูต็องส์ (Coutances) จนมาถึง ค.ศ. 1796 เมื่อย้ายไปเป็นแซ็ง-โล เมื่อแซ็ง-โลถูกทำลายอย่างยับเยินในสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างการขึ้นฝั่งวัดดีเดย์ในนอร์ม็องดี กูต็องส์ก็กลับมาเป็นเมืองหลวงชั่วคราวจนเมื่อแซ็ง-โลบูรณปฏิสังขรณ์เสร็.

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และจังหวัดม็องช์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 11

ริสต์ศตวรรษที่ 11 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1001 ถึง ค.ศ. 1100.

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และคริสต์ศตวรรษที่ 11 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญอันดรูว์

อันดรูว์อัครทูต (Ανδρέας อันเดฺรอัส; Andrew แอนดฺรูว) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญอันดรูว์ เป็นนักบุญและมรณสักขีในคริสต์ศาสนา เกิดเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1 ที่เมืองเบ็ธไซดาบนฝั่งทะเลกาลิลี และเสียชีวิตโดยการถูกตรึงกางเขนบนกางเขนรูป “X” เมื่อราวกลางหรือปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 ที่เมืองเพ็ทราส์ ในประเทศกรีซปัจจุบัน นักบุญอันดรูว์ เป็นหนึ่งในอัครทูตสิบสององค์ของพระเยซู ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ เรียกนักบุญอันดรูว์ว่า “Protocletos” หรือ “ผู้ถูกเรียกคนแรก” ชื่อ “แอนดรูว” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “เกียรติ” เช่นเดียวกับชื่อภาษากรีกอื่น ๆ เป็นชื่อที่ชาวยิวใช้กันทั่วไปในระหว่างร้อยถึงสองร้อยปีก่อนคริสต์ศตวรรษ เท่าที่ทราบนักบุญอันดรูว์ไม่มีชื่อบ่งเป็นภาษาฮิบรูและภาษาอราเมอิก ตามพันธสัญญาใหม่นักบุญแอนดรูว์เป็นลูกของโยนาห์หรือยอห์น (มัทธิว; ยอห์น) เกิดที่เมืองเบ็ธไซดาบนฝั่งทะเลกาลิลี(ยอห์น) และเป็นน้องชายของซีโมนเปโตร เปโตรและอันดรูว์เดิมเป็นชาวประมงฉะนั้นเมื่อพระเยซูเรียกตัวมาเป็นอัครทูตโดยกล่าวว่าเจ้าจงเป็น “ชาวประมงหามนุษย์” (ภาษากรีก: ἁλιείς ἀνθρώπων “halieis anthropon”)Metzger & Coogan (1993) Oxford Companion to the Bible, p 27.

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และนักบุญอันดรูว์ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นนอร์ม็องดี

นอร์ม็องดี (Normandie; นอร์มัน: Normaundie; มาจากคำภาษาฝรั่งเศสเก่าว่า Normanz รูปพหูพจน์ของ Normant ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำที่แปลว่า "คนจากทางเหนือ" ในภาษาแถบสแกนดิเนเวียหลายภาษา) เป็นหนึ่งในแคว้น 18 แคว้นของประเทศฝรั่งเศส มีอาณาบริเวณสอดคล้องกับดัชชีนอร์ม็องดีในอดีต ในทางบริหาร แคว้นนอร์ม็องดีแบ่งออกเป็น 5 จังหวัด ได้แก่ กาลวาโดส, แซน-มารีตีม, ม็องช์, ออร์น และเออร์ ครอบคลุมเนื้อที่ 30,627 ตารางกิโลเมตร (11,825 ตารางไมล์) คิดเป็นประมาณร้อยละ 5 ของดินแดนฝรั่งเศสทั้งหมด จำนวนประชากรของแคว้น 3.3 ล้านคนคิดเป็นประมาณร้อยละ 5 ของประชากรฝรั่งเศสทั้งหมด ภูมิภาคนอร์ม็องดีตามประวัติศาสตร์ประกอบด้วยแคว้นนอร์ม็องดีในปัจจุบัน รวมกับพื้นที่เล็ก ๆ ซึ่งทุกวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมาแยนและจังหวัดซาร์ตในแคว้นเปอีเดอลาลัวร์ หมู่เกาะแชนเนล (ฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่เรียกว่า "หมู่เกาะอังกฤษ-นอร์ม็องดี") ในอดีตก็เป็นส่วนหนึ่งของนอร์ม็องดีเช่นกัน หมู่เกาะนี้มีเนื้อที่ 194 ตารางกิโลเมตร และประกอบด้วยเขตเจ้าพนักงานศาลสองแห่ง ได้แก่ เกิร์นซีย์และเจอร์ซีย์ ซึ่งเป็นเขตสังกัดราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร ชื่อนอร์ม็องดีมีที่มาจากการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ของชาวไวกิงหรือ "คนเหนือ" จากนอร์เวย์และเดนมาร์กตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 (คริสต์ศตวรรษที่ 9) ซึ่งได้รับการยืนยันโดยสนธิสัญญาในพุทธศตวรรษที่ 15 (คริสต์ศตวรรษที่ 10) ระหว่างพระเจ้าชาร์ลที่ 3 แห่งฝรั่งเศส กับรอลโลแห่งอาณาจักรเมอเรอ (ในนอร์เวย์ปัจจุบัน) หลังจากการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันในปี..

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และแคว้นนอร์ม็องดี · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อย

น้อยในประเทศเบลเยียม โบสถ์น้อย หรือ วัดน้อย (chapel) เป็นสิ่งก่อสร้างอิสระหรือโครงสร้างภายในสิ่งก่อสร้างของคริสต์ศาสนสถาน ถ้าเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระก็มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่ใหญ่ขนาดมหาวิหารย่อย ๆ ไปจนถึงโบสถ์น้อยเล็ก ๆ ข้างทาง เช่นเดียวกับถ้าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างขนาดก็ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้สร้าง โบสถ์น้อยที่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหาร, โบสถ์ใหญ่ ๆ, ปราสาท, วัง, คฤหาสน์, วิทยาลัย, โรงพยาบาล คุก หรือสุสาน บางครั้งโบสถ์น้อยที่สร้างในมหาวิหารจะสร้างเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น "โบสถ์น้อยแม่พระ" ที่มักจะสร้างเป็นโบสถ์น้อยที่อยู่ทางตะวันออกสุดของโบสถ์ หรือ "โบสถ์น้อยศีลศักดิ์สิทธิ์" ที่ตั้งติดกับโบสถ์และใช้เป็นที่เก็บไวน์ และขนมปังที่ใช้ในพิธีศีลมหาสนิท ถ้าโบสถ์น้อยมีขนาดค่อนข้างเล็กที่สร้างเป็นคูหาภายในทางด้านข้างหรือทางด้านหลังของมหาวิหารหรือโบสถ์ก็อาจจะเรียกว่า "คูหาสวดมนต์" ความหมายเป็นนัยยะของโบสถ์น้อยคือเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่ใช่สถาบันศาสนา เช่น โบสถ์น้อยของปราสาท หรือโบสถ์น้อยส่วนตัวภายในมหาวิหารเป็นต้น.

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และโบสถ์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างทรงโค้ง

กอทิกของโบสถ์แซ็ง-เซเวอแร็งแห่งปารีส โครงสร้างทรงโค้ง (Vault; voûte; Gewölbe; volta) ในทางสถาปัตยกรรมหมายถึงโค้ง (arch) ที่เป็นช่องใต้เพดานหรือหลังคา | url.

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และโครงสร้างทรงโค้ง · ดูเพิ่มเติม »

เขตแพริช

ตแพริช (Parish) หรือที่ชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าเขตวัด เป็นเขตปกครองในคริสต์ศาสนา ใช้หลายคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก แองกลิคัน เป็นต้น นอกจากใช้ในทางศาสนาแล้วในบางประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ยังใช้เขตแพริชหมายถึงเขตปกครองส่วนท้องถิ่นด้ว.

ใหม่!!: อาสนวิหารอาวร็องช์และเขตแพริช · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มหาวิหารอาวร็องช์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »