โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาสนวิหารล็องกร์

ดัชนี อาสนวิหารล็องกร์

อาสนวิหารล็องกร์ (Cathédrale de Langres) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารนักบุญแมมมิสแห่งล็องกร์ (Cathédrale Saint-Mammès de Langres) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิกอันเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลล็องกร์ ตั้งอยู่ที่เมืองล็องกร์ในจังหวัดโอต-มาร์น แคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญแมมมิสแห่งไกซาเรอา มรณสักขีในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 3 ลักษณะเด่นของอาสนวิหารแห่งนี้อยู่ที่ความผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์แบบบูร์กอญกับสถาปัตยกรรมกอทิก อาทิ เพดานแบบโค้งสัน หน้าบันหลักทิศตะวันตกซึ่งสร้างขึ้นใหม่ในแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิก อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840.

57 ความสัมพันธ์: บริเวณกลางโบสถ์บริเวณร้องเพลงสวดชาเปลบริเวณมุขโค้งช่องทางเดินพ.ศ. 1683พ.ศ. 1693พ.ศ. 1713พ.ศ. 1733พ.ศ. 1739พ.ศ. 1752พ.ศ. 1825พ.ศ. 1857พ.ศ. 1867พ.ศ. 2090พ.ศ. 2094พ.ศ. 2105พ.ศ. 2289พ.ศ. 2301พ.ศ. 2304พ.ศ. 2329พ.ศ. 2333พ.ศ. 2334พ.ศ. 2383พ.ศ. 2395พ.ศ. 2400พ.ศ. 2405กางเขนยืนมรณสักขีในศาสนาคริสต์มุขนายกมุขโค้งด้านสกัดวิหารคดสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3สถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ห้องเก็บเครื่องพิธีออร์แกนอัคคีภัยอาสนวิหารอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศสผังอาสนวิหารจรมุขจังหวัดโอต-มาร์นคริสต์ศตวรรษที่ 16คริสต์ศตวรรษที่ 19คริสต์ศตวรรษที่ 3ครีบยันลอยฉากกางเขนประเทศฝรั่งเศสแบร์นาร์แห่งแกลร์โวแท่นเทศน์...แคว้นกร็องแต็สต์โบสถ์น้อยโรมันคาทอลิกโครงสร้างทรงโค้งโครงสร้างทรงโค้งมีสันเรลิกเซนต์ ขยายดัชนี (7 มากกว่า) »

บริเวณกลางโบสถ์

ริเวณกลางโบสถ์แบบกอธิคมองไปสู่บริเวณพิธีทางมุขตะวันออกภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลแห่งนองซ์ในประเทศฝรั่งเศส แผนผังแสดงส่วนที่เป็น “บริเวณกลางโบสถ์” ที่เป็นสีชมพู บริเวณกลางโบสถ์ยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420 บริเวณกลางโบสถ์ (nave) คือช่องทางเดิน (aisle) ที่ตั้งอยู่กลางคริสต์ศาสนสถานที่เริ่มตั้งแต่จากประตูทางเข้าไปสู่บริเวณพิธีและแท่นบูชาเอก ที่บางครั้งก็อาจจะขนาบด้วยช่องทางเดินข้างซ้ายขวาข้างละช่องหรืออาจจะมากกว่าก็ได้ถ้าเป็นวัดใหญ่ๆ เช่นมหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กที่มีช่องทางเดินทั้งหมดห้าช่องที่ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ที่ขนาบด้วยช่องทางเดินข้างๆ ละสองช่อง.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และบริเวณกลางโบสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

บริเวณร้องเพลงสวด

“บริเวณร้องเพลงสวด” ของมหาวิหารปาเล็นเซียในประเทศสเปน ภาพแสดงให้เห็นที่นั่งของนักบวชสองข้างหน้าแท่นบูชาเอกที่ทำด้วยไม้ที่สลักเสลาอย่างงดงามที่วัดในเมืองบาดชูสเซนรีด ที่เดิมเป็นสำนักสงฆ์ในประเทศเยอรมนี บริเวณร้องเพลงสวด (Choir หรือ quire) ในทางสถาปัตยกรรม “บริเวณร้องเพลงสวด” เป็นบริเวณภายใน คริสต์ศาสนสถาน หรือมหาวิหารที่มักจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของบริเวณพิธี (chancel) ระหว่างทางเดินกลาง (nave) และบริเวณศักดิ์สิทธิ์ (sanctuary) (ที่เป็นที่ตั้งแท่นบูชา) แต่บางครั้ง “บริเวณร้องเพลงสวด” ก็อาจจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของทางเดินกลาง ในวัดของสำนักสงฆ์บางแห่งบริเวณนี้ก็จะตั้งอยู่ทางตะวันตกของทางเดินกลางซึ่งเป็นการสมดุลกับบริเวณพิธีและบริเวณศักดิ์สิท.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และบริเวณร้องเพลงสวด · ดูเพิ่มเติม »

ชาเปลบริเวณมุขโค้ง

ปลบริเวณมุขโค้ง (Absidiole, Apse chapel) เป็นชาเปลขนาดเล็กซึ่งตั้งอยู่บริเวณมุขโค้งด้านสกัด หรือจรมุข โดยปกติมักจะพบมากกว่าหนึ่งแห่ง โดยจำนวนของชาเปลนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของมุขโค้ง (ถ้าเป็นแบบโค้ง) และแถบกำแพง (ในกรณีเป็นเหลี่ยม).

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และชาเปลบริเวณมุขโค้ง · ดูเพิ่มเติม »

ช่องทางเดิน

“ช่องทางเดิน” ของกุดังเก็บสินค้าคอสท์โคที่ซานฟรานซิสโก ช่องทางเดิน (aisle) โดยทั่วไปหมายถึงช่องว่างที่ใช้เป็นทางเดินระหว่างแนวที่นั่ง, ผนัง, แนวแสดงหรือเก็บสินค้า หรืออื่นๆ ช่องทางเดินอาจจะปรากฏในสถาปัตยกรรมเช่นคริสต์ศาสนสถาน (เช่นในมหาวิหาร), โรงละคร, ห้องประชุม, ห้องเรียน, ศาล, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ตลาด, โรงงาน, รถประจำทาง และอื่นๆ ในกุดังเก็บสินค้าหรือโรงงานสองข้างของช่องทางเดินอาจจะเป็นชั้นที่ต่อขึ้นสูงสองข้างสำหรับเก็บสินค้า การจัดวางองค์ประกอบภายในอาคารที่วางสิ่งของหรือเครื่องมือเป็นแนวโดยมีช่องว่างระหว่างแนวที่ใช้เป็นทางเดิน ช่องนี้จะเรียกว่า “ช่องทางเดิน” เช่นในสถานที่สำหรับออกกำลังกายที่จัดเครื่องออกกำลังเป็นแนวแยกกันโดย ช่องทางเดิน “ช่องทางเดิน” ต่างจาก “ระเบียงทางเดิน” (corridor) หรือโถงทางเดิน (hallway), “ทางเท้า” (footpath/pavement/sidewalk), “ทางเดินนอกสถานที่” (trail) และ “ทาง” (path) หรือ โถงภายในอาคาร (enclosed หรือ open area).

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และช่องทางเดิน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1683

ทธศักราช 1683 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 1683 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1693

ทธศักราช 1693 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 1693 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1713

ทธศักราช 1713 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 1713 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1733

ทธศักราช 1733 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 1733 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1739

ทธศักราช 1739 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 1739 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1752

ทธศักราช 1752 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 1752 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1825

ทธศักราช 1825 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 1825 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1857

ทธศักราช 1857 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 1857 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1867

ทธศักราช 1867 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 1867 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2090

ทธศักราช 2090 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 2090 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2094

ทธศักราช 2094 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 2094 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2105

ทธศักราช 2105 ใกล้เคียงกั..

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 2105 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2289

ทธศักราช 2299 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 2289 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2301

ทธศักราช 2301 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 2301 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2304

ทธศักราช 2304 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 2304 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2329

ทธศักราช 2329 ใกล้เคียงกับ คริสต์ศักราช 1786.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 2329 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2333

ทธศักราช 2333 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 2333 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2334

ทธศักราช 2334 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 2334 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2383

ทธศักราช 2383 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1840.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 2383 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2395

ทธศักราช 2395 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1852.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 2395 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2400

ทธศักราช 2400 ตรงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 2400 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2405

ทธศักราช 2405 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1862.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และพ.ศ. 2405 · ดูเพิ่มเติม »

กางเขนยืน

กางเขนยืน (standing cross) หรือกางเขนสูง (high cross) คือกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ที่ตั้งอยู่โดด ๆ กลางแจ้ง กางเขนยืนทำด้วยหินและมักจะตกแต่งเป็นลวดลายกระหวัดอย่างวิจิตร กางเขนยืนส่วนใหญ่พบในไอร์แลนด์ และ บริเตนใหญ่ระหว่างต้นสมัยกลางหรือบางครั้งก็หลังจากนั้น กางเขนยืนมักจะมีวงแหวนรอบบริเวณจุดตัดที่เป็นลักษณะที่เรียกว่ากางเขนเคลติก.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และกางเขนยืน · ดูเพิ่มเติม »

มรณสักขีในศาสนาคริสต์

การทรมานของนักบุญเอรัสมุส โดยเดียริค เบาท์ ราวปี ค.ศ. 1458 ในศาสนาคริสต์ มรณสักขี (martyr) หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนที่ถูกทรมานจนตายหรือถูกฆ่าหรือถูกลงโทษให้ประหารชีวิตเพราะความเชื่อ ในศาสนาคริสต์ยุคแรกมีผู้ถูกทรมานและฆ่าด้วยความทรมานต่างๆเช่นถูกขว้างด้วยก้อนหินให้ตาย ถูกตรึงกางเขน ถูกเผาทั้งเป็น และอื่น ๆ คำว่า “martyr” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “พยาน” การฆ่าเช่นนี้เป็นผลจากการพยายามกำจัดคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการ (การเบียดเบียนทางศาสนา) เช่นในสมัยจักรวรรดิโรมันก่อนที่คริสต์ศาสนาจะเป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมาย คริสต์ศาสนิกชนคนแรกที่เป็นมรณสักขีคือนักบุญสเทเฟนที่บันทึกไว้ใน ถูกขว้างด้วยก้อนหินจนถึงแก่ชีวิตเพราะศรัทธาในพระเยซูว่าเป็นพระเมสสิยาห์ และยังคงมีคริสต์ศาสนิกชนอีกหลายคนที่ถูกฆ่านอกจากนักบุญสเทเฟน ตามที่นักบุญเปาโลอัครทูตกล่าวว่ามีการขู่จะฆ่าสาวกของพระเยซูในเวลานั้นหลายครั้ง ในคริสต์ศตวรรษต่อมาก็มีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการอีกหลายครั้งเช่นในระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตหรือเป็น “พวกนิยมพระสันตะปาปา” (Papists).

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และมรณสักขีในศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

มุขโค้งด้านสกัด

ลักษณะโดยทั่วไปของมุขโค้งสมัยคริสเตียนตอนต้น/ไบแซนไทน์ที่เป็นโค้งครึ่งโดม มุขโค้งสามมุขด้านตะวันออกของบาซิลิกาซานตาจูเลียทางตอนเหนือของอิตาลี มุขด้านตะวันออกของแอบบีแซงต์อูน (Abbey church of Saint-Ouen) แสดงให้เห็น “ชาเปลดาวกระจาย”, รูออง มุขด้านตะวันออกของมหาวิหารมอนริอาเลในซิซิลีที่เต็มไปด้วยลวดลายตกแต่ง มุขโค้งด้านสกัด หรือ มุขตะวันออก (Apse หรือ Apsis) คือส่วนที่เป็นโค้งครึ่งวงกลมที่มีหลังคาครึ่งวงกลมหรือครึ่งโดมที่ยื่นออกมาจากสิ่งก่อสร้าง “มุขโค้งด้านสกัด” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Apse” ที่มาจากภาษาละติน “absis” ที่แปลว่า “โค้ง” หรือ “เพดานโค้ง” ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์, สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ และ สถาปัตยกรรมกอธิคของแอบบี, มหาวิหาร และคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ คำนี้หมายถึงมุขครึ่งวงกลมหรือหลายเหลี่ยมที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของสิ่งก่อสร้างที่ภายในเป็นที่ตั้งของแท่นบูชาเอก และไม่ว่าหลังคาจะเป็นทรงใด: ราบ, ลาด, โดม หรือครึ่งวงกลม.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และมุขโค้งด้านสกัด · ดูเพิ่มเติม »

วิหารคด

วิหารคดที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วิหารคด คือส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมพุทธศาสนสถาน มีลักษณะเป็นวิหารล้อมรอบลานด้านในของวิหารหลักและคดเป็นข้อศอกตรงมุม มีลักษณะเทียบได้กับ ระเบียงฉันนบถ ในสถาปัตยกรรมตะวันตก.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และวิหารคด · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 (Alexander III.) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1159 ถึง ค.ศ. 1181 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1100 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 12 อเล็กซานเดอร์ที่ 3 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นตอสคานา.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ห้องเก็บเครื่องพิธี

ห้องเก็บเครื่องพิธี ห้องเก็บเครื่องพิธีภายในมหาวิหารซันตาโกรเชที่ฟลอเรนซ์ ห้องเก็บเครื่องพิธี (Sacristy) คือห้องที่ตั้งอยู่ภายในคริสต์ศาสนสถานที่ใช้เป็นที่เก็บอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ (Vestment) อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ และบันทึกเอกสารของคริสต์ศาสนสถาน ห้องเก็บเครื่องพิธีมักจะตั้งอยู่ภายในตัวคริสต์ศาสนสถาน แต่ในบางกรณีก็อาจจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างติดกับตัววัด หรือ อาจจะเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระจากตัวโบสถ์ เช่นในบางอาราม ในโบสถ์โบราณห้องเก็บเครื่องพิธีมักจะตั้งอยู่ทางด้านข้างของแท่นบูชา หรืออาจจะตั้งอยู่ทางด้านข้างหรือด้านหลังของบริเวณแท่นบูชาเอก หรือ บริเวณร้องเพลงสวด ในโบสถ์สมัยใหม่ห้องเก็บเครื่องพิธีมักจะตั้งอยู่ในตำแหน่งอื่น เช่นใกล้ประตูทางเข้า คริสต์ศาสนสถานบางแห่งก็จะมีห้องเก็บเครื่องพิธีมากกว่าหนึ่งแต่ละแห่งก็จะมีวัตถุประสงค์ต่างกัน นอกจากนั้นแล้วห้องเก็บเครื่องพิธีก็ยังเป็นสถานที่สำหรับนักบวชและผู้ช่วยใช้ในการเตรียมตัวประกอบคริสต์ศาสนพิธี เมื่อประกอบพิธีเสร็จก็จะกลับมาที่ห้องนี้เพื่อถอดเครื่องแต่งกายออก และ เก็บอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบพิธี ห้องเก็บเครื่องพิธีมักจะมีอ้างล้างมือพิเศษที่เรียกว่า อ่างซาคราเรียม (Piscina หรือ sacrarium) ที่มีท่อระบายที่ให้น้ำจากการประกอบพิธีจากการล้างมือที่ถือเป็นน้ำที่ใช้ในการประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ไหลลงดินโดยตรงแทนที่จะลงไปในท่อหรือถังน้ำเสีย อ่างซาคราเรียมใช้ในการซักผ้าลินินที่ใช้ในพิธีมิสซาและสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ในการประกอบพิธี ส่วนใหญ่แล้วห้องเก็บเครื่องพิธีจะเป็นสถานที่ที่ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้า ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลบริหารห้องเก็บเครื่องพิธีเรียกว่า “Sacristan” หรือ “Sacrist” ผู้มักจะมีหน้าที่ดูและตัวสิ่งก่อสร้างและบริเวณรอบๆ ด้ว.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และห้องเก็บเครื่องพิธี · ดูเพิ่มเติม »

ออร์แกน

ออร์แกน (Organ, กรีก: ὄργανον ออร์กานอน) เป็นเครื่องดนตรีสากล ออร์แกนมีประวัติในการประดิษฐ์ที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยโรมัน และมีความสำคัญควบคู่มากับศาสนาคริสต์เลยทีเดียว คำว่า Organ นั้น ก็มาจากภาษาละติน Organum ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Hydraulis ต้นกำเนิดเสียงของออร์แกนมาจากลม ซึ่งมีแหล่งกำเนิดหลายวิธีซึ่งในสมัยโบราณก็ต้องใช้แรงคนในการผลิตลม เมื่อลมถูกบังคับให้ไหลผ่านท่อที่มีขนาดต่างๆกันก็จะเกิดเสียงที่มีความถี่แตกต่างกัน ท่อที่ใช้ในการสร้างออร์แกนนั้น อาจจะเป็นไม้ หรือโลหะ ก็ได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีเสียงที่แตกต่างกัน และออร์แกนหนึ่งเครื่อง สามารถทำเสียงต่าง ๆ ได้เท่า ๆ กับเครื่องดนตรีหลายชิ้นมารวมกัน ดังนั้น ออร์แกนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแนวทำนอง และแนวเดินเบส โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องดนตรีอื่นใด ดังนั้น ในสมัยก่อนนั้น ออร์แกนจึงถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งปวง ออร์แกนได้รับฉายาว่าเป็นราชาแห่งเครื่องดนตรีตะวันตก เนื่องจากมีความซับซ้อนในการประดิษฐ์ และขนาดที่ใหญ่ ออร์แกนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ แอตแลนติกซิตีคอนเวนชันฮอล ที่เมืองแอตแลนติกซิตี รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา ซี่งมีจำนวนไปป์ถึง 33,000 ไปป์ หมวดหมู่:เครื่องลิ่มนิ้ว หมวดหมู่:เครื่องลม หมวดหมู่:ออร์แกน.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และออร์แกน · ดูเพิ่มเติม »

อัคคีภัย

ฟป่า อัคคีภัย หมายถึง ภัยอันตรายอันเกิดจากไฟที่ขาดการควบคุมดูแล ทำให้เกิดการติดต่อลุกลามไปตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิงเกิดการลุกไหม้ต่อเนื่อง สภาวะของไฟจะรุนแรงมากขึ้นถ้าการลุกไหม้ที่มีเชื้อเพลิงหนุนเนื่อง หรือมีไอของเชื้อเพลิงถูกขับออกมามากความร้อนแรงก็จะมากยิ่งขึ้น สร้างความสูญเสียให้ทรัพย์สินและชีวิต.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และอัคคีภัย · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหาร

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส

ตรา "อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส" อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส หรือ มอนูว์ม็องอิสตอริก (Monument historique) คือกระบวนการของรัฐในประเทศฝรั่งเศสในการจัดเครือข่ายสิ่งที่ควรได้รับการพิทักษ์ในฐานะที่เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้าง, ส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้าง, กลุ่มสิ่งก่อสร้าง, หรืออาจจะเป็นประชาคมทั้งประชาคม, สวน, สะพาน หรือ โครงสร้างอื่นๆ เพราะความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และ สถาปัตยกรรม สิ่งที่ได้รับฐานะเป็น “อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์" อาจจะเป็นได้ทั้งสิ่งที่เป็นของรัฐหรือเอกชนก็ได้ ตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างที่มีฐานะเป็น “อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์" ก็รวมทั้งหอไอเฟล, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ และ โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย และแอบบี หรือ คริสต์ศาสนสถาน ที่รวมทั้งมหาวิหารเช่นมหาวิหารโนเทรอดามแห่งปารีส หรือพระราชวัง, วัง หรือ คฤหาสน์ เช่น ปราสาทและวังแห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์ หลายแห่ง สิ่งก่อสร้างบางหลังก็อาจจะได้รับฐานะเฉพาะภายนอก หรือ เฉพาะภายใน หรือทั้งภายนอกและภายใน ขณะที่สิ่งก่อสร้างบางหลังอาจจะได้รับฐานะเฉพาะการตกแต่ง, "อร์นิเจอร์, ห้องเพียงห้องเดียว หรือ แม้แต่เพียงบันได ว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับฐานะเพราะการตกแต่งก็ได้แก่ "Deux Garcons" ในแอ็กซ็องพรอว็องส์ที่ผู้อุปถัมภ์รวมทั้งอาลฟงส์ เดอ ลามาร์ตีน, เอมีล ซอลา และปอล เซซาน หรือสิ่งก่อสร้างบางหลังก็อาจจะได้รับฐานะเพราะความเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญ เช่น ตึก Auberge Ravoux ที่โอแวร์ซูว์รวซ เพราะเป็นสถานที่จิตรกรฟินเซนต์ ฟัน โคคใช้เวลาส่วนใหญ่ในบั้นปลายที่นั่น การระบุความสำคัญของสิ่งก่อสร้างมีรากฐานมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อรัฐบาลแต่งตั้งให้อเล็กซองเดรอ เลอนัวร์มีความรับผิดชอบในการระบุและพิทักษ์โครงสร้างที่มีความสำคัญ การจัดแบ่งประเภทจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยนักเขียนพรอสแพร์ เมอริมี ผู้เป็นผู้ตรวจการทั่วไปของอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และผังอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

จรมุข

รมุข (Ambulatory) “Ambulatory” มาจากภาษาลาตินกลาง “Ambulatorium” ที่แปลว่าสถานที่สำหรับการเดิน จากคำว่า “ambulare” ที่แปลว่าเดิน คือบริเวณภายในสิ่งก่อสร้างที่คลุมด้วยหลังคาในระเบียงคด หรือบางครั้งก็หมายถึงทางเดินของขบวนนักแสวงบุญรอบมุขตะวันออกของคริสต์ศาสนสถานที่เป็นมหาวิหารหรือวัดขนาดใหญ่ที่อยู่หลังแท่นบูชาเอก บางครั้งรอบทางเดินครึ่งวงกลมก็อาจจมีมุขโค้งด้านสกัดก็อาจจะมีชาเปลย่อยที่กระจายออกไปจากมุข ซึ่งทำให้ผู้เดินรอบแท่นบูชาเดินได้โดยไม่ต้องรบกวนนักบวชหรือผู้เข้าร่วมพิธีที่ทำพิธีอยู่ในชาเปลย่อย จรมุขมักจะปรากฏในคริสต์ศาสนสถานขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่มีองควัตถุของนักบุญ เพื่อใช้เป็นที่สำหรับนักแสวงบุญจำนวนมากสามารถเดินเวียนมาสักการะวัตถุที่ต้องการได้.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และจรมุข · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดโอต-มาร์น

อต-มาร์น (Haute-Marne) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในแคว้นกร็องแต็สต์ในประเทศฝรั่งเศส จังหวัดโอต-มาร์นตั้งตามชื่อแม่น้ำมาร์น ตัวจังหวัดตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสโดยมีโชมงเป็นเมืองหลัก โอต-มาร์นเป็นหนึ่งใน 83 จังหวัดที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1790 จากบางส่วนของอดีตจังหวัดช็องปาญ เบอร์กันดี ลอแรน และฟร็องช์-กงเตHaute-Marne, Hutchinson Unabridged Encyclopedia.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และจังหวัดโอต-มาร์น · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 16

ริสต์ศตวรรษที่ 16 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1501 ถึง ค.ศ. 1600 ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 นี้ สเปนและโปรตุเกสได้มีการเดินเรือเพื่อออกไปสำรวจสถานที่ต่างๆ หลังจากที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้ค้นพบโลกใหม.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และคริสต์ศตวรรษที่ 16 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 19

ริสต์ศตวรรษที่ 19 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1801 ถึง ค.ศ. 1900.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และคริสต์ศตวรรษที่ 19 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 3

ริสต์ศตวรรษที่ 3 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 201 ถึง ค.ศ. 300.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และคริสต์ศตวรรษที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ครีบยันลอย

กำแพงครีบยันแบบปึกนอกหอประชุมสงฆ์ที่มหาวิหารลิงคอล์น กำแพงครีบยันแบบปึกที่มหาวิหารบาธที่อังกฤษ 5 ใน 6 ครีบยันที่เห็นรับน้ำหนักทางเดินกลาง (nave) อันที่ 6 รับน้ำหนักแขนกางเขน (transept) ครีบยันลอยที่มหาวิหารอาเมียง ครีบยันลอย (flying buttress, arc-boutant) ในทางสถาปัตยกรรม ครีบยันลอยเป็นครีบยัน (Buttress) ประเภทหนึ่งที่มักจะใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถาน โดยเฉพาะกับสถาปัตยกรรมกอทิก เพื่อแบ่งรับน้ำหนักจากหลังคามาสู่ครีบยันที่กระจายออกไปเป็นระยะ ๆ ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางเดินข้าง (aisle) คูหาสวดมนต์ หรือระเบียงนอกสิ่งก่อสร้าง ครีบยันลอยต่างกับครีบยันตรงที่จะมีลักษณะที่กางออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้างแทนที่จะเป็นส่วนหนึ่งหรือแนบกับตัวสิ่งก่อสร้างของครีบยัน การใช้ครีบยันลอยทำให้ทุ่นการรับน้ำหนักหรือแรงกดดันกำแพงที่แต่เดิมต้องรับน้ำหนักและความกดดันทั้งหมด จึงทำให้สามารถทำหน้าต่างได้กว้างขึ้นได้ ซึ่งถ้าทำเช่นนั้นโดยไม่มีครีบยันลอยก็จะทำให้กำแพงไม่แข็งแรง จุดประสงค์ของครีบยันลอยก็เพื่อช่วยลดน้ำหนักกดดันของกำแพงทางเดินกลาง แรงกดดันและน้ำหนักส่วนใหญ่จะอยู่ส่วนบนของครีบยันฉะนั้นเมื่อทำครีบยันเป็นครึ่งซุ้มโค้งก็ทำให้สามารถรับน้ำหนักได้เท่า ๆ กับครีบยันที่ตัน นอกจากนั้นยังทำให้ครีบยันเบาขึ้นและราคาถูกกว่าที่จะสร้าง ฉะนั้นกำแพงจึง “บิน” (flying) ออกไปจากสิ่งก่อสร้างแทนที่จะเป็นกำแพงทึบ จึงทำให้เรียกกันว่า “ครีบยันลอย” วิธีการก่อสร้างที่ใช้ครีบยันมีมาตั้งแต่สมัยสถาปัตยกรรมโรมันและต้นโรมาเนสก์แต่สถาปนิกมักจะพรางครีบยันโดยการซ่อนไว้ใต้หลังคา เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปนิกเมื่อมีการวิวัฒนาการการสร้างครีบยันลอยกันขึ้น นอกจากสถาปนิกจะเห็นถึงความสำคัญของครีบยันที่ใช้แล้ว ก็ยังหันมาเน้นการใช้ครีบยันเป็นสิ่งตกแต่งสิ่งก่อสร้างเช่นที่มหาวิหารชาทร์ มหาวิหารเลอม็อง (Le Mans Cathedral) มหาวิหารโบแว (Beauvais Cathedral) มหาวิหารแร็งส์ และมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเอง บางครั้งเมื่อเพดานสูงมากๆ สถาปนิกก็อาจจะใช้ครีบยันลอยซ้อนกันสองชั้นหรือบางครั้งการจ่ายน้ำหนักก็จะกระจายออกไปกับครีบยันสามสี่อัน ตามปกติแล้วน้ำหนักของครีบยันก็จะเพิ่มน้ำให้กับตัวอาคารพอสมควร ฉะนั้นครีบยันจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ การใช้ครีบยันดิ่งเป็นระยะ ๆ ทำให้เพิ่มการรับน้ำหนักและแรงกดทับได้ดีขึ้นกว่าที่จะสร้างตลอดแนวกำแพง ครีบยันดิ่งที่ใช้ในการก่อสร้างมหาวิหารลิงคอล์น แอบบีเวสต์มินสเตอร์อยู่ภายนอกหอประชุมสงฆ์ ครีบยันดิ่งมักจะใช้ยอดแหลม (pinnacle) เหนือครีบยันในการสร้างแรงต่อต้านการรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้น วิธีการก่อสร้างนี้ถูกนำไปใช้โดยสถาปนิกชาวแคนาดาวิลเลียม พี แอนเดอร์สันในการสร้างประภาคารเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และครีบยันลอย · ดูเพิ่มเติม »

ฉากกางเขน

กางเขนบนฉากกางเขนจากคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่วัดซังเอเทืยงดูมองท์ ที่ปารีส ฉากกางเขน (Rood screen หรือ Choir screen หรือ Chancel screen) คือฉากที่แยกระหว่างบริเวณสำหรับผู้เข้าร่วมในคริสต์ศาสนพิธีหรือทางเดินกลางและบริเวณสำหรับสงฆ์หรือบริเวณที่พระใช้ทำพิธีที่แกะตกแต่งอย่างสวยงามที่นิยมสร้างกันในสมัยกลาง วัสดุที่สร้างอาจจะเป็นไม้หรือหินแกะสลักหรือฉลุทาสีหรือเหล็กดัด ฉากกางเขน ปรากฏทั่วไปในโบสถ์คริสต์ในยุโรป ภาษาเยอรมันใช้คำว่า “Lettner”, ภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า “jubé”, ภาษาดัทช์ใช้คำว่า “doksaal” ฉากกางเขนทางตะวันออกจะตกแต่งหรูหรากว่าทางตะวันตก.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และฉากกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

แบร์นาร์แห่งแกลร์โว

นักบุญแบร์นาร์แห่งแกลร์โว (Bernard de Clairvaux; Bernard of Clairvaux) เป็นนักบุญในคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่เกิดราว ค.ศ. 1090 ที่เมืองฟงแตน-แล-ดีฌง (Fontaine-lès-Dijon) ในประเทศฝรั่งเศส และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1153 ที่แกลร์โว ในประเทศฝรั่งเศสเช่นกัน นักบุญแบร์นาร์เป็นอธิการอาราม (Abbot) ชาวฝรั่งเศสผู้มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปชีวิตอารามวาสีของคณะซิสเตอร์เชียน (Cistercian) หลังจากที่มารดาเสียชีวิตนักบุญแบร์นาร์ก็เข้าเป็นนักพรตสังกัดคณะซิสเตอร์เชียน สามปีต่อมาก็ถูกส่งไปก่อตั้งอารามใหม่ที่แบร์นาร์ตั้งชื่อว่า “Claire Vallée” (หุบเขาแกลร์) ที่เพี้ยนมาเป็น “Clairvaux” เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน..

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และแบร์นาร์แห่งแกลร์โว · ดูเพิ่มเติม »

แท่นเทศน์

แท่นเทศน์มานูเอลินที่คอนเวนโตเดกริสโต (Convento de Cristo) โทมาร์ ประเทศโปรตุเกส แท่นเทศน์ (pulpit) มาจากภาษาละติน “Pulpitum” ที่แปลว่า “รั่งร้าน” หรือ “แท่น” หรือ “เวที” เป็นแท่นที่ยกสูงจากพื้นที่บาทหลวงหรือศาสนาจารย์ใช้ทั้งภายในหรือภายนอกโบสถ์คริสต์ ในบางโบสถ์จะมีที่ตั้งสำหรับปาฐกสองที่ ตามปกติแล้วผู้อยู่ทางซ้ายของผู้เข้าร่วมพิธีจะเป็น “แท่นเทศน์” เพราะการที่แท่นเทศน์มักใช้ในการอ่านจากพระวรสาร ด้านนี้ของโบสถ์จึงเรียกว่าด้านพระวรสาร (gospel side) ทางด้านขวาจะมี “แท่นอ่าน” (lectern) ที่มาจากภาษาละติน “lectus” ที่แปลว่า “อ่าน” เพราะเป็นที่สำหรับการอ่านเป็นส่วนใหญ่ที่มักจะใช้โดยฆราวาสในการอ่านบทสอนจากคัมภีร์ (ยกเว้นบทสอนจากพระวรสาร) เป็นที่นำผู้เข้าร่วมพิธีในการสวดมนต์ หรือเป็นที่ใช้ประกาศ เพราะด้านนี้ของคริสต์ศาสนสถานเป็นด้านที่ใช้อ่านบทจดหมาย (epistle lesson) ด้านนี้บางครั้งจึงเรียกว่าด้าน “บทจดหมาย” ในบางโบสถ์แท่นอ่านซึ่งเป็นที่อ่านบทจดหมาย (Epistle) ก็อยู่ทางขวาและแท่นเทศน์อยู่ทางซ้.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และแท่นเทศน์ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นกร็องแต็สต์

กร็องแต็สต์ (Grand Est) เป็นหนึ่งในแคว้น 18 แคว้นของประเทศฝรั่งเศส อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และแคว้นกร็องแต็สต์ · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อย

น้อยในประเทศเบลเยียม โบสถ์น้อย หรือ วัดน้อย (chapel) เป็นสิ่งก่อสร้างอิสระหรือโครงสร้างภายในสิ่งก่อสร้างของคริสต์ศาสนสถาน ถ้าเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระก็มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่ใหญ่ขนาดมหาวิหารย่อย ๆ ไปจนถึงโบสถ์น้อยเล็ก ๆ ข้างทาง เช่นเดียวกับถ้าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างขนาดก็ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้สร้าง โบสถ์น้อยที่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหาร, โบสถ์ใหญ่ ๆ, ปราสาท, วัง, คฤหาสน์, วิทยาลัย, โรงพยาบาล คุก หรือสุสาน บางครั้งโบสถ์น้อยที่สร้างในมหาวิหารจะสร้างเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น "โบสถ์น้อยแม่พระ" ที่มักจะสร้างเป็นโบสถ์น้อยที่อยู่ทางตะวันออกสุดของโบสถ์ หรือ "โบสถ์น้อยศีลศักดิ์สิทธิ์" ที่ตั้งติดกับโบสถ์และใช้เป็นที่เก็บไวน์ และขนมปังที่ใช้ในพิธีศีลมหาสนิท ถ้าโบสถ์น้อยมีขนาดค่อนข้างเล็กที่สร้างเป็นคูหาภายในทางด้านข้างหรือทางด้านหลังของมหาวิหารหรือโบสถ์ก็อาจจะเรียกว่า "คูหาสวดมนต์" ความหมายเป็นนัยยะของโบสถ์น้อยคือเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่ใช่สถาบันศาสนา เช่น โบสถ์น้อยของปราสาท หรือโบสถ์น้อยส่วนตัวภายในมหาวิหารเป็นต้น.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และโบสถ์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างทรงโค้ง

กอทิกของโบสถ์แซ็ง-เซเวอแร็งแห่งปารีส โครงสร้างทรงโค้ง (Vault; voûte; Gewölbe; volta) ในทางสถาปัตยกรรมหมายถึงโค้ง (arch) ที่เป็นช่องใต้เพดานหรือหลังคา | url.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และโครงสร้างทรงโค้ง · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างทรงโค้งมีสัน

รงสร้างทรงโค้งมีสันที่มหาวิหารแร็งส์ โครงสร้างทรงโค้งมีสัน โครงสร้างทรงโค้งมีสัน (rib vault; croisée d'ogives) เป็นโครงสร้างทรงโค้งแบบหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในบริเวณจุดที่ตัดกันระหว่างโครงสร้างทรงโค้งประทุน (barrel vault) จำนวนสองหรือสามส่วนเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เกิดสันซึ่งมักจะตกแต่งด้วยบริเวณโค้งสันด้วยหินแกะสลักเป็นลายต่าง ๆ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับโครงสร้างทรงโค้งสันทแยงมุม (groin vault) ซึ่งเป็นโครงสร้างของเพดานโค้งในยุคที่เก่ากว่า โดยกลไกคือการถ่ายเทน้ำหนักของบริเวณเพดานลงออกด้านข้างไปยังบริเวณเสาโดยรอบ ซึ่งเหมือนกันกับแบบโค้งสัน เพียงแต่แบบใหม่นี้สามารถทำให้สถาปนิกสามารถสร้างสรรค์ความอลังการได้มากกว่าโดยเฉพาะในสมัยสถาปัตยกรรมกอทิกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซึ่งในขณะนั้นถือว่าเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ ซึ่งมักจะคู่กันกับครีบยันลอย ซึ่งต่างกับสมัยโรมาเนสก์ที่ใช้เพียงครีบยันธรรมดาและกำแพงอันหนาเพื่อรับแรงโดยตรงจากโครงสร้างทรงโค้งแบบครึ่งวงกลม ในสถาปัตยกรรมกอทิก โครงสร้างทรงโค้งมีสันนี้เป็นวิธีที่กระจายน้ำหนักรวมลงที่ปลายเสาโดยตรงโดยไม่ผ่านผนังหรือกำแพง ซึ่งทำให้สามารถสร้างกำแพงที่บาง สูง และยังเป็นบานหน้าต่างขนาดใหญ่เพื่อใส่งานกระจกสีได้อย่างง่ายดาย และจากบริเวณปลายเสาก็ถ่ายเทน้ำหนักลงที่ครีบยันลอย โครงสร้างทรงโค้งมีสันในสมัยแรกซึ่งฝังอยู่ในโครงสร้างของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบตัวอย่างได้ที่บริเวณทางเดินข้างของบริเวณร้องเพลงสวดของมหาวิหารเดอรัม และที่โบสถ์แซ็ง-เอเตียนแห่งก็อง ซึ่งทั้งสองที่นี้เป็นวิหารในยุคแรก ๆ ที่มีการใช้โครงสร้างทรงโค้งมีสันเข้ากับสถาปัตยกรรมโรมาเนสก.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และโครงสร้างทรงโค้งมีสัน · ดูเพิ่มเติม »

เรลิก

รลิก (relic) คือชิ้นส่วนร่างกายของนักบุญหรือบุคคลที่เป็นที่นับถือ หรือศาสนวัตถุโบราณอื่นๆ ที่มีการเก็บรักษาไว้ให้ศาสนิกชนได้บูชา หรือเป็นเครื่องระลึกถึง ความเชื่อเกี่ยวกับเรลิกมีความสำคัญในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ลัทธิเชมัน ฯลฯ คำว่า relic มาจาก ภาษาละติน “reliquiae” แปลว่าสิ่งที่หลงเหลืออยู่ และคำว่า “reliquary” หมายถึงที่เก็บรักษาเรลิกซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้ หรือศาสนสถานสถานที่เช่นมหาวิหารหรือวั.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และเรลิก · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์

"นักบุญทั้งหลาย" วาดโดยฟราอันเจลีโก เซนต์ (Saint) ชาวคาทอลิกและชาวออร์ทอดอกซ์ เรียกว่านักบุญ หมายถึง ผู้ศักดิ์สิทธิ์Wycliffe Bible Encyclopedia, "saint", ISBN 0-8024-9697-0, "Christians in general are 'saints' in NT usage, and the term is common in reference to the inclusive membership of a local church.

ใหม่!!: อาสนวิหารล็องกร์และเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มหาวิหารล็องกร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »