โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาวิหารบูร์โกส

ดัชนี มหาวิหารบูร์โกส

กทางเหนือจากซ้ายไปขวา ชาเปลคอนดาสเตเบิลเป็นหอแปดเหลี่ยม และหอมียอดแหลมแบบกอธิควิจิตร (Flamboyant gothic) มหาวิหารบูร์โกส (Catedral de Burgos) อุทิศให้แก่พระแม่มารี ตั้งอยู่ที่เมืองบูร์โกส ประเทศสเปน สถาปัตยกรรมของมหาวิหารเป็นแบบสถาปัตยกรรมกอธิคเป็นส่วนใหญ่ และมีชื่อเสียงว่าเป็นมหาวิหารขนาดใหญ่ที่เป็นสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง.

28 ความสัมพันธ์: ชาวฝรั่งเศสชาวเยอรมันบูร์โกสพ.ศ. 1764พ.ศ. 1803พ.ศ. 1960พ.ศ. 2110พ.ศ. 2462พ.ศ. 2527พระนางมารีย์พรหมจารีมรดกโลกมหาวิหารสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สถาปนิกหน้าบันหน้าต่างกุหลาบองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติผังอาสนวิหารคริสต์ศตวรรษที่ 13คริสต์ศตวรรษที่ 14คริสต์ศตวรรษที่ 15ประเทศสเปนโคโลญเอลซิด20 กรกฎาคม31 ตุลาคม

ชาวฝรั่งเศส

วฝรั่งเศส (อังกฤษ: French, ฝรั่งเศส: Français) คือกลุ่มผสมของชาวเคลต์ ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี โดยมีประชากรประมาณ 85 ล้านคนทั่วโลก โดยมีประมาณ 66 ล้านคนในประเทศฝรั่งเศส ในสหรัฐอเมริกา 8.3-11 ล้านคน ในประเทศแคนาดา ประมาณ 4.7 ล้านคน และในประเทศแอฟริกาใต้ ประมาณ 2 ล้านคน และที่อื่นๆ ทั่วโลก โดยมีการขยายสังคมเพิ่มในช่วงการล่าอาณานิคม.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและชาวฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเยอรมัน

วเยอรมัน (die Deutschen) ชื่อ กลุ่มคนเผ่าพันธุ์ โปรโต-เจอรมานิก ซึ่งมีถิ่นกำเนิดบริเวณจัตแลนด์และบริเวณอเลมันเนียซึ่งก็คือประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน ซึ่งสมัยก่อนชนชาติพวกนี้ถูกเรียกว่าชาวติวตันและชาวก๊อธปัจจุบันมีประชากรโดยรวม160ล้านคน ชาวเยอรมันจัดว่าเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันกับพวกชาวสแกนดิเนเวีย ชาวอังกฤษและชาวดัตช์ซึ่งจัดว่าเป็นพวกตระกูลเจอร์มานิก.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและชาวเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

บูร์โกส

ที่ตั้งเมืองบูร์โกสในประเทศสเปน มหาวิหารบูร์โกส อนุสาวรีย์เอลซิด ช่องโค้งซานตามารีอา บูร์โกส (Burgos) เป็นเมืองหลักของจังหวัดบูร์โกสในแคว้นกัสติยาและเลออน ทางภาคเหนือของประเทศสเปน ตั้งอยู่บริเวณขอบด้านเหนือของที่ราบสูงตอนกลาง (Meseta Central) ห่างจากบายาโดลิดเมืองหลักของแคว้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 122 กิโลเมตร และห่างจากกรุงมาดริดไปทางทิศเหนือ 244.7 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 173,600 คนเฉพาะในอาณาเขตของเมืองและอีกประมาณ 10,000 คนในเขตชานเมือง ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่ามีมนุษย์ดึกดำบรรพ์ (เช่น มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล) เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณที่เป็นเมืองบูร์โกสในปัจจุบันอย่างน้อยตั้งแต่ยุคหินใหม่ และเมื่อชาวโรมันได้เข้าครอบครองพื้นที่แถบนี้ ก็พบว่ามีชนพื้นเมืองเคลติเบเรียนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ในสมัยจักรวรรดิโรมันดินแดนนี้เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดฮิสปาเนียซีเตรีออร์และของจังหวัดฮิสปาเนียตาร์ราโกเนนซิสในเวลาต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาววิซิกอทสามารถขับไล่ชาวซูเอบีออกไปได้และมีอำนาจในแถบนี้แทน จนกระทั่งชาวอาหรับบุกยึดคาบสมุทรไอบีเรียในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 แถบนี้จึงตกเป็นของชาวอาหรับด้วย แต่ก็ไม่ได้ทิ้งร่องรอยที่แสดงการครอบครองไว้มากนัก พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 3 มหาราชทรงตีเมืองนี้คืนได้สำเร็จประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 9 และสร้างปราสาทไว้เป็นจำนวนมากเพื่อใช้ป้องกันอาณาจักรของชาวคริสต์ทางเหนือที่ได้ขยายพื้นที่ลงมาทางทิศใต้นับจากนั้น ดินแดนแถบนี้ภายหลังจึงมีชื่อเรียกว่า กัสติยา ซึ่งแปลว่า "ดินแดนแห่งปราสาท" บูร์โกสได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเมืองตั้งแต่ ค.ศ. 884 เมื่อเดียโก โรดรีเกซ ปอร์เซโลส (Diego Rodríguez Porcelos) เคานต์แห่งกัสติยาปกครองดินแดนแถบนี้โดยมีคำสั่งให้สนับสนุนการเพิ่มของจำนวนประชากรชาวคริสต์ เขาก็ได้รวบรวมผู้คนในพื้นที่ชนบทรอบ ๆ เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านที่ล้อมรอบด้วยป้อมปราการแห่งนี้ โดยมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านบริเวณเขตแดนอาณาจักรชาวคริสต์ที่กำลังขยายเขตออกไปดังกล่าว ชื่อในภาษาของชาววิซิกอทของเมืองบูร์โกส (baurgs) มีความหมายว่า "หมู่บ้านซึ่งล้อมรอบด้วยกำแพงที่มั่นคง" ต่อมาเมืองนี้ก็เริ่มมีคำเรียกต่อท้ายชื่อว่า "กาปุตกัสเตลไล" (Caput Castellae) แปลว่า "หัวหน้าของกัสติยา" เคาน์ตีแห่งบูร์โกสซึ่งขึ้นต่อกษัตริย์แห่งเลออนนั้นยังคงถูกปกครองต่อมาโดยเคานต์อีกหลายคนและเริ่มขยายเขตออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเฟร์นัน กอนซาเลซ (Fernán González) เคานต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งได้ประกาศเอกราชขณะที่ราชอาณาจักรเลออนอ่อนแอลง บูร์โกสเป็นที่ตั้งของสำนักบิชอปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 และในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ก็กลายเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรกัสติยา นอกจากนี้ยังเป็นที่หยุดพักหลักบนเส้นทางที่จะไปสู่เมืองซานเตียโกเดกอมโปสเตลาของบรรดานักแสวงบุญ และเป็นศูนย์กลางทางการค้าระหว่างดินแดนแถบทะเลกันตาเบรียกับดินแดนทางทิศใต้ เป็นจุดดึงดูดพ่อค้าชาวต่างชาติจำนวนมาก ซึ่งต่อมาจะเป็นผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่งในเมืองนี้และกีดกันชาวต่างชาติกลุ่มอื่นไม่ให้เข้ามามีอิทธิพล ตลอดทั้งคริสต์ศตวรรษที่ 13 และคริสต์ศตวรรษที่ 14 บูร์โกสมักจะเป็นสถานที่ประทับของกษัตริย์แห่งเลออนและกัสติยา (จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16) ประมวลกฎหมายแห่งบูร์โกส (Leyes de Burgos) ซึ่งเป็นกฎหมายชุดแรกที่ใช้ควบคุมการประพฤติตนของชาวสเปนที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกาได้รับการประกาศใช้ที่เมืองนี้เมื่อปี ค.ศ. 1512 ตั้งแต่อดีตนั้นบูร์โกสเคยถูกใช้เป็นพื้นที่การรบหลายครั้ง เช่น ในสงครามระหว่างชาวคริสต์กับชาวมัวร์ (ชาวอาหรับ) ระหว่างแคว้นเลออนและแคว้นนาวาร์ ระหว่างแคว้นกัสติยาและแคว้นอารากอน มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสงครามคาบสมุทร (รบกับกองทัพฝรั่งเศสของนโปเลียน) และในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน (ค.ศ. 1934-1939) บูร์โกสก็เป็นเมืองหลวงของกองกำลังชาตินิยมที่มีนายพลฟรังโกเป็นผู้นำ.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและบูร์โกส · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1764

ทธศักราช 1764 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและพ.ศ. 1764 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1803

ทธศักราช 1803 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและพ.ศ. 1803 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1960

ทธศักราช 1960 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและพ.ศ. 1960 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2110

ทธศักราช 2110 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและพ.ศ. 2110 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2462

ทธศักราช 2462 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1919 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและพ.ศ. 2462 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2527

ทธศักราช 2527 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1984 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและพ.ศ. 2527 · ดูเพิ่มเติม »

พระนางมารีย์พรหมจารี

ริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) ว่า พระนางมารีย์พรหมจารี (the Blessed Virgin Mary) เพราะเชื่อว่าพระแม่มารีย์เป็นพรหมจารีเสมอ และพระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าก็มารับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของพระแม่มารีย์ จึงทำให้พระแม่มารีย์มีสถานะเป็น "พระมารดาพระเจ้า" ด้วย คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้รับรองความเชื่อนี้มาตั้งแต่สังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและพระนางมารีย์พรหมจารี · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหาร

มหาวิหาร หมายถึง วิหารหรือเทวสถานขนาดใหญ่; ในพุทธศาสนสถาน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปนิก

ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและสถาปนิก · ดูเพิ่มเติม »

หน้าบัน

การตกแต่งหน้าบันวัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร หน้าบัน (Tympanum鼓室) คือบริเวณครึ่งวงกลมหรือเกือบสามเหลี่ยมเหนือประตูทางเข้าที่อยู่ระหว่างทับหลังและโค้ง (arch) ซึ่งจะมีรูปสลักตกแต่งหรือเครื่องตกแต่งอื่นๆ สถาปัตยกรรมเกือบทุกแบบจะมีองค์ประกอบนี้ ผู้คิดค้นการสร้างหน้าบันเป็นคือชาวอียิปต์โบราณประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาก็ปรากฏในสถาปัตยกรรมกรีก สถาปัตยกรรมของคริสต์ศาสนา และ สถาปัตยกรรมของศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและหน้าบัน · ดูเพิ่มเติม »

หน้าต่างกุหลาบ

“หน้าต่างกุหลาบ” ในมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส หน้าต่างกุหลาบ (rose window) โดยทั่วไปหมายถึงหน้าต่างทรงกลมซึ่งมักจะใช้ในการสร้างคริสต์ศาสนสถานโดยเฉพาะที่เป็นสถาปัตยกรรมกอทิก คำว่า “rose window” เริ่มใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ พจนานุกรมอ๊อกซฟอร์ดระบุว่า rose ในที่นี้หมายถึง ดอกกุหลาบ คำว่า “หน้าต่างกุหลาบ” มักจะหมายถึงหน้าต่างที่แบ่งเป็นซี่ ๆ ด้วยหิน กระจายออกไปจากเพลาศูนย์กลาง คำว่า “หน้าต่างกลม” มักจะใช้เฉพาะหน้าต่างกลมที่เป็นแบบที่ซับซ้อนซึ่งดูคล้ายกลีบกุหลาบหรือกลีบดาวเรืองซ้อน หน้าต่างกลมที่ไม่มีซี่ที่นิยมทำกันในโบสถ์ในประเทศอิตาลีเรียกว่า “หน้าต่างตา” (Ocular window หรือ oculus) “หน้าต่างกลม” เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกซึ่งจะเห็นได้จากในมหาวิหารทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส แต่แท้ที่จริงแล้วการสร้างหน้าต่างกลมเริ่มตั้งแต่ยุคกลาง การสร้างหน้าต่างกลมหันกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในสมัยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและหน้าต่างกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและผังอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 13

ริสต์ศตวรรษที่ 13 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1201 ถึง ค.ศ. 1300.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและคริสต์ศตวรรษที่ 13 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 14

ริสต์ศตวรรษที่ 14 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1301 ถึง ค.ศ. 1400.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและคริสต์ศตวรรษที่ 14 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 15

ริสต์ศตวรรษที่ 15 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1401 ถึง ค.ศ. 1500.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและคริสต์ศตวรรษที่ 15 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

โคโลญ

ลญ (Cologne) หรือ เคิลน์ (Köln) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศเยอรมนี รองจากเบอร์ลิน ฮัมบวร์ค และมิวนิก และเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน โคโลญเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของเยอรมนี สร้างโดยชาวโรมัน มีประวัติศาสตร์ย้อนไปถึง ค.ศ. ​50 เมืองโคโลญตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไรน์ มีอาสนวิหารโคโลญซึ่งเป็นโบสถ์ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่มีชื่อเสียง มหาวิทยาลัยโคโลญเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปยุโรป และเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ ตัวเมืองมีพื้นที่ 405.15 ตารางกิโลเมตร มีประชากรนับเฉพาะที่อาศัยในเขตเมือง 998,105 คน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2009).

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและโคโลญ · ดูเพิ่มเติม »

เอลซิด

อนุสาวรีย์เอลซิดในเมืองบูร์โกส ดาบของเอลซิด ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน La Real Armería ภาพเอลซิด ขณะอยู่ในอิริยาบถขี่ม้า เอลซิด (El Cid) เป็นขุนศึกชาวสเปนผู้เก่งกาจคนหนึ่ง เกิดใน พ.ศ. 1586 (ค.ศ. 1043) ที่หมู่บ้านบีบาร์ ในเมืองบูร์โกส อาณาจักรคาสตีล เกิดในตระกูลขุนนางสเปน มีชื่อจริงว่า โรดรีโก ดีอัซ เด บีบาร์ (Rodrigo Díaz de Vivar) โรดรีโกได้รู้จักและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้าชายซานโช รัชทายาทแห่งอาณาจักรคาสตีลในฐานะเจ้านายและข้ารับใช้มาตั้งแต่เด็ก แต่ไม่นานทั้งคู่ก็สนิทสนมกันจนแทบจะเรียกว่าเป็นสหายกันก็ได้ โรดรีโกจงรักภักดีต่อเจ้าชายซานโชมาก ดังจะเห็นได้จากใน พ.ศ. 1606 (ค.ศ. 1063) อาณาจักรคาสตีลมีสงครามกับอาณาจักรอารากอน เพราะต้องการแย่งชิงดินแดนซาราโกซา สงครามครั้งนี้ไม่สามารถตัดสินได้ในสมรภูมิรบ เพราะต่างฝ่ายต่างเข้มแข็งจนไม่มีใครเอาชนะใครได้ จึงตกลงกันว่า ให้แต่ละฝ่ายส่งตัวแทนมา 1 คนมาประลองกันแบบ 1:1 ใครชนะจะได้ดินแดนซาราโกซาไป ฝ่ายคาสตีลนั้น โรดรีโกอาสาไปเป็นตัวแทนประลอง และในวันจริงนั้น แม้คู่ต่อสู้จากอารากอนจะมีร่างกายกำยำ แรงเยอะ และตัวโตกว่าโรดรีโกอย่างมาก แต่โรดรีโกก็สามารถชนะได้ ทำให้คาสตีลชนะในสงครามนี้ ทหารของคาสตีลจึงให้ฉายาจากการสร้างวีรกรรมของเขา คือ "เอลซิดกัมเปอาดอร์" (El Cid Campeador) โดย El Cid มีที่มาจากคำในภาษาอาหรับถิ่นอันดาลูเซียว่า "อัลซีด" (al-sīd) แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า "The Lord" ส่วน Campeador นั้นเป็นภาษาสเปน แปลว่า "Champion" ซึ่งฉายาเอลซิดก็เป็นชื่อที่คนส่วนใหญ่ที่รู้จักโรดรีโกใช้เรียกเขามาจนถึงปัจจุบัน หลังจากสงครามกับอารากอนแล้ว อาณาจักรคาสตีลยังพบสงครามใหม่อีกครั้ง ครั้งนี้เป็นสงครามกับแขกมัวร์ (เป็นส่วนหนึ่งของการพิชิตดินแดนคืนหรือ Reconquista ของชาวคริสต์ในคาบสมุทรไอบีเรีย) ผลคือกองทัพคาสตีลภายใต้การนำของเจ้าชายซานโชที่ 2 และโรดรีโก ชนะแทบทุกครั้ง ทำให้คาสตีลมีเมืองขึ้นและแผ่ขยายอาณาเขตไปได้กว้างขวาง แต่พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 กษัตริย์แห่งคาสตีลและพระชนก (พ่อ) ของเจ้าชายซานโชได้เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1608 (ค.ศ. 1065) โดยที่ก่อนจะเสด็จสวรรคต พระองค์ได้ทรงจัดสรรดินแดนให้พระโอรสและพระธิดาได้แบ่งกันไปปกครอง โดยเจ้าชายซานโช เจ้านายเอลซิดได้ขึ้นครองบัลลังก์คาสตีล แต่ไม่นาน พระเจ้าซานโชที่ 2 ทรงเห็นว่า พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 พระอนุชา (น้องชาย) ของพระองค์ที่ได้ไปปกครองอาณาจักรเลออนนั้น ขาดความสามารถในการปกครอง ประกอบกับคาสตีลมีสงครามกับแขกมัวร์ ควรรวมคาสตีลและเลออนเข้ากับคาสตีลดีกว่า เพื่อที่อาณาจักรคาสตีลจะได้เข้มแข็ง ดังนั้น พระเจ้าซานโชที่ 2 จึงทรงเปิดศึกแย่งชิงดินแดนเลออนกับพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ใน พ.ศ. 1608 นั้นเอง ศึกแย่งชิงเลออนดำเนินมาจนถึง พ.ศ. 1615 (ค.ศ. 1072) พระเจ้าซานโชที่ 2 ทรงมีชัยต่อพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 และผนวกอาณาจักรคาสตีลกับเลออนได้สำเร็จ ต่อไปก็ต้องทรงสังหารพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เพื่อให้กษัตริย์ของอาณาจักรคาสตีล-เลออนมีเพียงพระองค์เดียว คือพระเจ้าซานโชที่ 2 แต่ว่าพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ทรงลี้ภัยไปยังอาณาจักรซาโมรา เพื่อขอความช่วยเหลือกับพระนางอูร์รากา พระกนิษฐา (น้องสาว) ของพระองค์ พระนางอูร์รากาและพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 จึงสมคบคิดกันลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซานโชที่ 2 เสียใน พ.ศ. 1615 นั้นเอง แผนการลอบสังหารในครั้งนี้ทรงมอบให้ทหารอาสาผู้ภักดีต่อพระนางอูร์รากาและพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ทำอย่างลับ ๆ ทำให้ไม่มีใครรู้ว่าพระนางอูร์รากาและพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซานโชที่ 2 เมื่อพระเจ้าซานโชที่ 2 เสด็จสวรรคตแล้ว ก็ไม่มีใครเหมาะสมจะเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรคาสตีล-เลออนมากไปกว่าพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 และเข้าพิธีเพื่อสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งคาสตีล-เลออน แต่ในพิธีแต่งตั้งพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เอลซิดไม่คุกเข่าถวายพระพร เพราะเขาคลางแคลงใจว่าพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซานโชที่ 2 และขอร้องให้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 สาบานต่อหน้าพระคัมภีร์ว่า ทรงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซานโชที่ 2 (แต่ความจริงแล้วพระองค์กับพระนางอูร์รากาทรงมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก) แต่พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ได้ทรงสาบานออกมาอย่างเต็มพิธี เอลซิดจึงยอมรับอำนาจและถวายตัวเข้าเป็นข้ารับใช้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เอลซิดแต่งงานกับคีเมนา เด โอเบียโด พระญาติของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ใน พ.ศ. 1617 (ค.ศ. 1074) มีบุตรด้วยกัน 3 คน ชื่อ กริสตีนา มารีอา และดีเอโก โรดรีเกซ เอลซิดรับใช้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 อย่างจงรักภักดีเรื่อยมา จนพระเจ้าอัลฟอนโซไว้วางใจดูแลเลี้ยงดูอย่างดี ทำให้ขุนนางอื่น ๆ เกิดความอิจฉาเอลซิด จึงกล่าวหาเอลซิด ว่ายักยอกเครื่องบรรณาการที่เก็บมาจากรัฐเซบียา พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 จึงสั่งเนรเทศเอลซิดออกจากอาณาจักรคาสตีล-เลออน เมื่อเอลซิดถูกเนรเทศจึงเดินทางไปยังซาราโกซา ซึ่งผู้ครองเมืองได้ให้การต้อนรับเอลซิดเป็นอย่างดี ขณะที่พำนักอยู่ที่เมืองนี้ ได้รับจ้างทำสงครามอยู่เรื่อย ๆ จนกระทั่งใน พ.ศ. 1629 (ค.ศ. 1086) ปัญหาสงครามระหว่างแขกมัวร์กับอาณาจักรคาสตีล-เลออนหนักขึ้น พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เริ่มต้านแขกมัวร์ไม่อยู่ ใน พ.ศ. 1635 (ค.ศ. 1092) พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ได้ส่งสาส์นขอความช่วยเหลือให้เอลซิดกลับมาทำงานให้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 และคำตอบจากเอลซิดคือ จะไม่รบให้กับพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แต่จะรบให้อาณาจักรคาสตีล-เลออน โดยมีตนเป็นผู้นำและเจ้าของทัพเพียงคนเดียว ไม่ขึ้นต่อพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เริ่มช่วยรบใน พ.ศ. 1635 นั้นเอง การรบระหว่างแขกมัวร์ดำเนินไปเรื่อย ๆ แต่ส่วนใหญ่เอลซิดเป็นผู้ชนะ แต่ในที่สุด ในศึกครั้งหนึ่งที่เมืองบาเลนเซียซึ่งเขารบกับแขกมัวร์เพื่อรับใช้อาณาจักรคาสตีล-เลออนอยู่นั้น เอลซิดพลาดท่าถูกยิงได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 1642 แต่ภรรยาของเขาก็นำร่างของเขาขึ้นไปกับม้าคู่ใจ เพื่อไม่ให้ทหารรู้ว่าเอลซิดเสียชีวิตแล้ว เพราะอาจเสียขวัญ และก็ชนะ กษัตริย์อาหรับชื่อ เบน ยูซุฟ ในที่สุด ร่างของเอลซิดและภรรยา (คีเมนา) ถูกฝังไว้ที่มหาวิหารบูร์โกส หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1586 อเลซิด.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและเอลซิด · ดูเพิ่มเติม »

20 กรกฎาคม

วันที่ 20 กรกฎาคม เป็นวันที่ 201 ของปี (วันที่ 202 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 164 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและ20 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

31 ตุลาคม

วันที่ 31 ตุลาคม เป็นวันที่ 304 ของปี (วันที่ 305 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 61 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: มหาวิหารบูร์โกสและ31 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มหาวิหารเบอร์โกส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »