โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาโซ่ (ทะวืง)

ดัชนี ภาษาโซ่ (ทะวืง)

ษาโซ่ (ทะวืง) หรือ ภาษาทะวืง มีผู้พูดทั้งหมด 2,520 คน พบในไทย 750 คน (พ.ศ. 2539) ในจังหวัดสกลนคร พูดภาษาลาวได้ด้วย ในลาวมี 1,770 คน (พ.ศ. 2543) จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขาเวียต-เหมื่อง ในประเทศไทยบางครั้งเรียกภาษานี้ว่าภาษาโซ่ เป็นคนละภาษากับภาษามลาบรีหรือภาษาผีตองเหลือง.

13 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษามอญ-เขมรกลุ่มภาษาเวียตติกภาษามลาบรีภาษาลาวภาษาไทยอักษรไทยจังหวัดสกลนครตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกตำแหน่งเกิดเสียงประเทศลาวประเทศไทยเสียงพยัญชนะกักเสียงพยัญชนะนาสิก

กลุ่มภาษามอญ-เขมร

กลุ่มภาษามอญ-เขมร เป็นกลุ่มของภาษาพื้นเมืองในแถบอินโดจีน อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกเช่นเดียวกับกลุ่มภาษามุนดาในอินเดีย การแบ่งกลุ่มย่อยของภาษาในกลุ่มนี้ ตามการแบ่งของ Diffloth ที่เขียนไว้ใน Encyclopedia Britannica เมื่อ..

ใหม่!!: ภาษาโซ่ (ทะวืง)และกลุ่มภาษามอญ-เขมร · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเวียตติก

กลุ่มภาษาเวียตติก หรือ กลุ่มภาษาเหวียด-เหมื่อง เป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกซึ่งรวมภาษาเวียดนามและภาษาเหมื่องไว้ในกลุ่มนี้ ภาษาเวียดนามจัดเข้าอยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติกเมื่อ..

ใหม่!!: ภาษาโซ่ (ทะวืง)และกลุ่มภาษาเวียตติก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลาบรี

ษามลาบรี(Mlabri) หรือภาษาผีตองเหลือง เป็นภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทยและประเทศลาว ภาษามลาบรีเป็นภาษาหนึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขามอญ-เขมรเหนือ สาขาย่อยขมุ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 สาขาด้วยกัน คือสาขาที่พูดกันในประเทศลาวสาขาหนึ่ง ส่วนอีกสองสาขาพูดกันในประเทศไทย มีผู้พูดทั้งสิ้นราว 324 คน พบในประเทศไทย 300 คน (พ.ศ. 2525) ตามแนวชายแดนลาวของจังหวัดพะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หรืออาจจะมีในจังหวัดอื่น ๆ พูดภาษาลาวได้ด้วย นอกจากนั้นยังเข้าใจภาษาม้งและภาษาไทยถิ่นเหนือ อัตราการรู้หนังสือต่ำ พบในประเทศลาว 24 คน (พ.ศ. 2528) ในแขวงไชยบุรีตามแนวชายแดนไทย ต่างจากภาษาข่าตองเหลืองในลาวซึ่งอยู่ในภาษากลุ่มเวียต-เหมื่องตะวันตก.

ใหม่!!: ภาษาโซ่ (ทะวืง)และภาษามลาบรี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลาว

ษาลาว (ลาว: ພາສາລາວ พาสาลาว) เป็นภาษาราชการของประเทศลาว เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ในภาษากลุ่มไท และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาอีสานของประเทศไทย ระบบการเขียนในภาษาลาวจะใช้อักษรลาว ซึ่งเป็นระบบอักษรสระประกอบ (ระบบการเขียนที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์แทนพยัญชนะและตามด้วยสระที่จะอยู่ด้านหน้า หลัง บน ล่าง ของพยัญชนะ) และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรไท.

ใหม่!!: ภาษาโซ่ (ทะวืง)และภาษาลาว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: ภาษาโซ่ (ทะวืง)และภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: ภาษาโซ่ (ทะวืง)และอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสกลนคร

กลนคร หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "เมืองหนองหานหลวง" เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และเป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน2 ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบเนื่องจวบจนปัจจุบัน ทั้งนี้จังหวัดสกลนครยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญและหลากหลายในด้านต่างๆโดยเฉพาะทางด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และเป็นจังหวัดศูนย์กลางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศูนย์กลางทางการศึกษา อันเป็นสถานที่ตั้งของสถานศึกษาขนาดใหญ่ใน กลุ่มจังหวัดสนุก (สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร).

ใหม่!!: ภาษาโซ่ (ทะวืง)และจังหวัดสกลนคร · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก

ตการแพร่กระจายของภาษากลุ่มออสโตรเอเชียติก ภาษากลุ่มออสโตร-เอเชียติก (Austro-Asiatic languages) เป็นภาษากลุ่มใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางส่วนในอินเดียและบังกลาเทศ ชื่อนี้มาจากคำในภาษาละตินที่แปลว่า “ใต้” และชื่อทวีปเอเชียในภาษากรีก ดังนั้นชื่อของภาษาตระกูลนี้จึงหมายถึงเอเชียใต้ ในบรรดาภาษากลุ่มนี้ทั้งหมด ภาษาเวียดนาม ภาษาเขมร และภาษามอญเป็นภาษาที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ยาวนาน และเฉพาะภาษาเวียดนาม กับภาษาเขมรเท่านั้นที่เป็นภาษาทางการ ภาษาที่เหลือมักเป็นภาษาที่พูดโดยชนกลุ่มน้อย ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกมีการแพร่กระจายตั้งแต่อินเดีย บังกลาเทศ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แยกจากกันด้วยบริเวณที่มีผู้พูดภาษาตระกูลอื่นอยู่ จึงเชื่อกันว่าภาษาตระกูลนี้เป็นภาษาดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียตะวันออก ส่วนภาษากลุ่มอื่นในบริเวณนี้ได้แก่ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน ไท-กะได ดราวิเดียนและจีน-ทิเบตเป็นผลจากการอพยพเข้ามา มีตัวอย่างคำในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกอยู่ในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าในเนปาลตะวันออก นักภาษาศาสตร์บางคนเชื่อว่า ภาษานี้เกี่ยวข้องกับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและจัดเป็นตระกูลใหญ่ออสตริก.

ใหม่!!: ภาษาโซ่ (ทะวืง)และตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก · ดูเพิ่มเติม »

ตำแหน่งเกิดเสียง

ตำแหน่งเกิดเสียง:1. ริมฝีปาก ด้านนอก (Exo-labial) 2. ริมฝีปาก ด้านใน (Endo-labial) 3. ฟัน (Dental) 4. ปุ่มเหงือก (Alveolar) 5. หลังปุ่มเหงือก (Post-alveolar) 6. หน้าเพดานแข็ง (Pre-palatal) 7. เพดานแข็ง (Palatal) 8. เพดานอ่อน (Velar) 9. ลิ้นไก่ (Uvular) 10. ช่องคอ (Pharyngeal) 11. เส้นเสียง (Glottal) 12. ลิ้นปิดกล่องเสียง (Epiglottal) 13. โคนลิ้นในช่องคอ (Radical) 14. ผนังลิ้นส่วนหลัง (Postero-dorsal) 15. ผนังลิ้นส่วนหน้า (Antero-dorsal) 16. ปลายลิ้น (Laminal) 17. ปลายสุดลิ้น (Apical) 18. ใต้ปลายสุดลิ้น (Sub-apical) ตำแหน่งเกิดเสียง (place of articulation, point of articulation) ในทางสัทศาสตร์ เป็นตำแหน่งกำเนิดเสียงพยัญชนะ คือตำแหน่งในช่องเสียง (vocal tract) ที่เกิดการกีดขวาง จากการเคลื่อนตำแหน่งของกรณ์ (โดยปกติคือ บางส่วนของลิ้น) และฐาน (ปกติคือ บางส่วนของเพดานปาก) โดยเมื่อรวมกับลักษณะการออกเสียง (manner of articulation) และการเปล่งเสียงพูด (phonation) ทำให้เกิดเสียงพยัญชนะที่แตกต่างกัน.

ใหม่!!: ภาษาโซ่ (ทะวืง)และตำแหน่งเกิดเสียง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: ภาษาโซ่ (ทะวืง)และประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ภาษาโซ่ (ทะวืง)และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เสียงพยัญชนะกัก

เสียงพยัญชนะกัก หรือ เสียงพยัญชนะหยุด หรือ เสียงพยัญชนะระเบิด เป็นเสียงพยัญชนะที่เกิดจากการปิดกั้นการไหลของอากาศในช่องปาก แล้วเปิดให้อากาศออกทางปาก อวัยวะในช่องปากจะปิดกั้นตามตำแหน่งต่าง ๆ ทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน แม้คำว่าเสียงระเบิด (plosive) กับเสียงหยุด (stop) สามารถใช้แทนกันได้ แต่ก็ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว เสียงระเบิดคือการปิดกั้นอากาศด้วยริมฝีปากแล้วดันอากาศออก ส่วนเสียงหยุดคือการปิดกั้นแต่ไม่ดันอากาศ หรืออีกความหมายหนึ่งอาจหมายถึงเสียงพยัญชนะนาสิกที่ปล่อยอากาศทางจมูกแทน กัก.

ใหม่!!: ภาษาโซ่ (ทะวืง)และเสียงพยัญชนะกัก · ดูเพิ่มเติม »

เสียงพยัญชนะนาสิก

ียงพยัญชนะนาสิก เป็นเสียงพยัญชนะที่เกิดจากการหย่อนเพดานอ่อนในปาก แล้วปล่อยอากาศอย่างอิสระออกทางจมูก อวัยวะในช่องปากรูปแบบต่าง ๆ ทำหน้าที่สั่นพ้องเสียงให้ก้อง แต่อากาศจะไม่ออกมาทางช่องปากเพราะถูกกักด้วยริมฝีปากหรือลิ้น นอกจากนี้ยังมีเสียงพยัญชนะอื่นที่ออกเสียงขึ้นจมูก (nasalized) ซึ่งพบได้ยาก.

ใหม่!!: ภาษาโซ่ (ทะวืง)และเสียงพยัญชนะนาสิก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาษาข่าตองเหลือง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »