โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาปาเฮ็ง

ดัชนี ภาษาปาเฮ็ง

ษาปาเฮ็ง (Pa-Hng) มีผู้พูดทั้งหมด 32,370 คน พบในจีน 26,800 คน พูดได้ภาษาเดียว 10,000 คน พบในมณฑลกุ้ยโจว กวางสี พบในเวียดนาม 5,570 คน (พ.ศ. 2542) อยู่ทางภาคเหนือ จัดอยู่ในตระกูลภาษาม้ง-เหมี่ยน ภาษากลุ่มม้ง สาขาปาเฮ็ง ผู้พูดภาษานี้ในจีนจะพูดม้งจั๊วะ ภาษาต้งและภาษาจีนกลางได้ เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม มีสระนาสิกแต่ไม่มีตัวสะกดที่เป็นเสียงนาสิก.

6 ความสัมพันธ์: ภาษาม้งเขียวภาษาจีนกลางภาษาต้งมณฑลกุ้ยโจวประเทศเวียดนามเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

ภาษาม้งเขียว

ษาม้งเขียว หรือ ภาษาม้งจั๊ว (Hmong Njua) ภาษาม้งตะวันตก มีผู้พูดทั้งหมด 1,290,600 คน พบในจีน 1,000,000 คน (พ.ศ. 2525) ซึ่งรวมชาวบูนูที่เป็นชนกลุ่มเย้าแต่พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ 29,000 คนเข้าไปด้วย ในบริเวณกุ้ยโจว เสฉวน และยูนนาน พบในลาว 145,600 คน (พ.ศ. 2538)ทางภาคเหนือ พบในพม่า 10,000 คน (พ.ศ. 2530) พบในไทย 33,000 คน ในจังหวัดตาก น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ เชียงราย พะเยา เลย สุโขทัย แพร่ กำแพงเพชร อุทัยธานี พบในเวียดนาม ทางภาคเหนือ พบได้บ้างในจังหวีดทางภาคใต้เช่น จังหวัดดักลัก มีผู้พูดภาษานี้ในฝรั่งเศส และสหรัฐด้วย เข้าใจกันได้กับภาษาม้งขาว จัดอยู่ในตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ภาษากลุ่มม้ง เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา มีวรรณยุกต์ 3 เสียง.

ใหม่!!: ภาษาปาเฮ็งและภาษาม้งเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจีนกลาง

ษาจีนกลาง (จีนตัวเต็ม: 官話, จีนตัวย่อ: 官话, พินอิน: Guānhuà, ภาษาอังกฤษ: Mandarin) เป็นภาษาหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: ภาษาปาเฮ็งและภาษาจีนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาต้ง

ษาต้ง หรือเรียกชื่อในภาษาของชาวต้งว่า ลิ๊กก๊ำ (leec Gaeml) เป็นภาษาตระกูลไท-กะได พูดโดยชาวต้งในประเทศจีน แต่เดิมเคยเขียนด้วยอักษรจีน ต่อมาได้มีการพัฒนาการเขียนด้วยอักษรละตินเมื่อ พ.ศ. 2501 แต่ไม่แพร่หลายมากนัก ภาษาต้งสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มภาษาต้งเหนือ และภาษาต้งใต้.

ใหม่!!: ภาษาปาเฮ็งและภาษาต้ง · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกุ้ยโจว

มณฑลกุ้ยโจว หรือเดิมไทยเรียกว่า กุยจิว (จีนตัวย่อ: 贵州省 จีนตัวเต็ม: 貴州省 Guizhou) ชื่อย่อ เฉียน (黔) หรือ กุ้ย (贵) ตั้งอยู่บนที่ราบสูงหยุนกุ้ยส่วนตะวันออก ระหว่างเส้นลองจิจูด 103.36 - 109.31 องศาตะวันออก และ ละติจูด 24.37 - 29.13 องศาเหนือ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อ กุ้ยหยาง มีเนื้อที่ 176,100 ก.ม. มีประชากร 39,040,000 คน ความหนาแน่น 222 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 159.2 พันล้านเหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: ภาษาปาเฮ็งและมณฑลกุ้ยโจว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: ภาษาปาเฮ็งและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

ตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง หรือ กวางสี หรือ กวางไซ (จ้วง: Gvangjsih Bouxcuengh Swcigih) หรือชื่อย่อว่า กุ้ย (桂; จ้วง: Gvei) เป็นเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน มีเมืองเอกคือหนานหนิง.

ใหม่!!: ภาษาปาเฮ็งและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »