โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มภาษาปามีร์

ดัชนี กลุ่มภาษาปามีร์

กลุ่มภาษาปามีร์ (Pamir languages) เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาอิหร่าน พูดโดยชาวปามีร์บนเทือกเขาปามีร์ ตามแนวแม่น้ำปันช์ รวมบริเวณทางใต้ของจังหวัดโกร์โน-บาดักชาน ของทาจิกิสถาน และบริเวณบาดักซานทางตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน มีกลุ่มของผู้พูดภาษาเหล่านี้ส่วนหนึ่งในปากีสถาน ภาษาซาริโกลีซึ่งเป็นกลุ่มภาษาปามีร์ ใช้พูดตามแนวชายแดนปากีสถาน-จีน และถือว่าเป็นภาษาที่อยู่ทางตะวันออกสุดของกลุ่มภาษาอิหร่าน สมาชิกของกลุ่มภาษาปามีร์รวมทั้งภาษาซุกนี ภาษาซาริโกลี ภาษายัซกุลยัม ภาษามุนจี ภาษาซังเลชิ-อิสกาซมี ภาษาวาคีและภาษายิดคา ทั้งหมดนี้เป็นกลุ่มภาษาอิหร่านใต้ และเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา ภาษาบุลการ์ที่เป็นภาษาของบรรพบุรุษของชาวบัลแกเรีย เชื่อว่าเป็นกลุ่มภาษาปามีร์ แม้ว่าส่วนใหญ่จะจัดเป็นกลุ่มภาษาเตอร์กิก ชาวบุลการ์อพยพไปยังคาบสมุทรบอลข่านในพุทธศตวรรษที่ 12 รวมเข้ากับกลุ่มชนที่พูดภาษาสลาฟ และพัฒนาภาษาใหม่ที่เป็นกลุ่มภาษาสลาฟใต้ ซึ่งคือภาษาบัลแกเรียในปัจจุบัน.

16 ความสัมพันธ์: บอลข่านกลุ่มภาษาอิหร่านกลุ่มภาษาเตอร์กิกภาษาบัลแกเรียภาษามุนจีภาษายัซกุลยามภาษายิดคาภาษาวันจีภาษาวาคีภาษาซาริโกลีภาษาซุกนีประเทศอัฟกานิสถานประเทศจีนประเทศทาจิกิสถานประเทศปากีสถานเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์

บอลข่าน

แผนที่ทางอากาศของคาบสมุทรบอลข่าน คาบสมุทรบอลข่าน (Balkans) เป็นชื่อทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ หมายถึงดินแดนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 550,000 ตร.กม. และมีประชากรรวมกันราว 53 ล้านคน ชื่อนี้มาจากชื่อของเทือกเขาบอลข่านที่พาดผ่านใจกลางประเทศบัลแกเรียไปยังด้านตะวันออกของสาธารณรัฐเซอร์เบี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาปามีร์และบอลข่าน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอิหร่าน

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ของผุ้พูดกลุ่มภาษาอิหร่าน กลุ่มภาษาอิหร่านเป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านที่อยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ภาษาอเวสตะถือเป็นภาษาที่เก่าที่สุดของกลุ่มนี้ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร กลุ่มภาษานี้มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 150 - 200 ล้านคน ภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาเปอร์เซีย (ประมาณ 70 ล้านคน) ภาษาพาซตู (ประมาณ 40 ล้านคน) ภาษาเคิร์ด (35 ล้านคน) และภาษาบาโลชิ (ประมาณ 7 ล้านคน).

ใหม่!!: กลุ่มภาษาปามีร์และกลุ่มภาษาอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเตอร์กิก

กลุ่มภาษาเตอร์กิกเป็นกลุ่มของภาษาที่แพร่กระจายจากยุโรปตะวันออก ผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปถึงไซบีเรียและจีนตะวันตก และจัดเป็นส่วนหนึ่งของสมมติฐานตระกูลภาษาอัลไตอิก กลุ่มภาษานี้มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 180 ล้านคน ถ้ารวมผู้ที่พูดเป็นภาษาที่สองด้วยมีราว 200 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผู้พูดภาษาตุรกี ซึ่งคิดเป็น 40%ของผู้พูดกลุ่มภาษานี้ทั้งหม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาปามีร์และกลุ่มภาษาเตอร์กิก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบัลแกเรีย

ษาบัลแกเรียเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน โดยเป็นสมาชิกของแขนงใต้ของภาษากลุ่มสลาวิก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาปามีร์และภาษาบัลแกเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามุนจี

ษามุนจี เป็นภาษากลุ่มปามีร์ใช้พูดในบาดักสถานในอัฟกานิสถาน ใก้เคียงกับภาษายิดคาที่ใช้พูดในปากีสถาน บริเวณนี้มีความสำคัญในการรุกรานอัฟกานิสถานของโซเวียต เพราะโซเวียตไม่อาจหยุดการการเคลื่อนย้ายกำลังคนและอาวุธผ่านช่องแคบโดราห์ที่เชื่อมระหว่างบาดักสถานกับชิตรัลในปากีสถานได้ ผู้พูดภาษามุนจีส่วนใหญ่อพยพข้ามแดนเข้าสู่ชิตรัลในระหว่างสงครามในอัฟกานิสถาน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาปามีร์และภาษามุนจี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษายัซกุลยาม

ษายัซกุลยาม (yuzdami zevég, ภาษาทาจิก yazgulomi) เป็นภาษากลุ่มอิหร่านสาขาปาร์มีร์ มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ 4,000 คนเมื่อ พ.ศ. 2537 ในบริเวณแม่น้ำยัซกุลยาม โคร์โน-บาดักซาน ประเทศทาจิกิสถาน ส่วนใหญ่ผู้พูดภาษาน้จะพูดภาษาทาจิกได้ด้วย ผู้พูดภาษานี้ต่างจากผู้พูดภาษากลุ่มปาร์มีร์อื่นๆคือไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาปามีร์และภาษายัซกุลยาม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษายิดคา

ษายิดคา (Yidgha language) เป็นภาษากลุ่มปาร์มี ใช้พูดในหุบเขาลุตกุห์ตอนบนในเทือกเขาไครัลทางตะวันตกของคารัม ยิศมาในปากีสถาน ใกล้เคียงกับภาษามุนจีที่ใช้พูดทางฝั่งอัฟกานิสถานตามแนวชายแดนที่ติดกัน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาปามีร์และภาษายิดคา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาวันจี

ษาวันจี (Vanji; Vanchi; Vanži) เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออกเฉียงใต้สาขาปามีร์ ใช้พูดในบริเวณลุ่มแม่น้ำวันจีในจังหวัดปกครองตนเองกอร์โน-บาดัคชานในประเทศทาจิกิสถาน ในพุทธศตวรรษที่ 24 บริเวณนี้ถูกผนวกเข้ากับรัฐเอมิเรตส์บูคาราและในตอนปลายของพุทธศตวรรษ ภาษาวันจีได้สูญหายไป.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาปามีร์และภาษาวันจี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาวาคี

ษาวาคี เป็นภาษากลุ่มอิหร่าน กลุ่มย่อยอิหร่านตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาปามีร์และภาษาวาคี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซาริโกลี

ษาซาริโกลีเป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มย่อยปามีร์ พูดโดยชาวทาจิกในจีน ชื่อเป็นทางการในประเทศจีนคือภาษาทาจิก (塔吉克语/Tǎjíkèyǔ) แต่ถือว่าอยุ่ในกลุ่มย่อยที่ต่างจากภาษาทาจิกที่เป็นภาษาราชการของประเทศทาจิกิสถาน มีผู้พูดราว 10,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในเขตปกครองตนเองทักโกรคัน ทาจิกในมณฑลซินเจียง ผุ้พูดภาษานี้ใช้ภาษาอุยกูร์หรือภาษาจีนติดต่อกับผู้พุดภาษาอื่นๆในบริเวณนั้น โดยทั่วไปสามารถเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาวาคี ซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยชาวทาจิกจีนด้ว.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาปามีร์และภาษาซาริโกลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซุกนี

ษาซุกนี เป็นภาษากลุ่มปามีร์ในภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ในจังหวัดปกครองตนเองโคร์โน บาดักสถานในทาจิกิสถานและจังหวัดบาดักสถานในอัฟกานิสถาน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาปามีร์และภาษาซุกนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (Afghanistan; افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาปามีร์และประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาปามีร์และประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศทาจิกิสถาน

ทาจิกิสถาน (Tajikistan; Тоҷикистон) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐทาจิกิสถาน (Republic of Tajikistan; Ҷумҳурии Тоҷикистон) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคเอเชียกลาง มีอาณาเขตติดต่อกับอัฟกานิสถาน จีน คีร์กีซสถาน และอุซเบกิสถาน ทาจิกิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาปามีร์และประเทศทาจิกิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปากีสถาน

ปากีสถาน (Pakistan; پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan; اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN).

ใหม่!!: กลุ่มภาษาปามีร์และประเทศปากีสถาน · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์

ตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ (شىنجاڭ ئۇيغۇر ئاپتونوم رايونى-; 新疆维吾尔自治区) เป็นเขตปกครองตนเองของจีนในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นเขตปกครองใหญ่ที่สุดของจีน เป็นเขตการปกครองชาติที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก กินพื้นที่กว่า 1.6 ล้านตารางกิโลเมตรและเป็นเขตการปกครองที่มีประชากรมากที่สุดติดอันดับหนึ่งในสิบ มีดินแดนพิพาทอักไสชินที่จีนบริหารอยู่ ซินเจียงมีพรมแดนติดต่อกับประเทศรัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิซสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถานและอินเดีย นอกจากนี้ยังมีพรมแดนติดต่อกับทิเบต มีน้ำมันสำรองอุดมสมบูรณ์และเป็นภาคที่ผลิตแก๊สธรรมชาติใหญ่ที่สุดของจีน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาปามีร์และเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาษากลุ่มปามีร์ภาษากลุ่มปาร์มีภาษาปามีรี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »