โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโด

ดัชนี ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโด

หมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดและลูกชาย (ภาษาอังกฤษ: Portrait of Eleonora of Toledo and Her Son) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยอักโนโล บรอนซิโนจิตรกรสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิที่ฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี อักโนโล บรอนซิโนเขียนภาพ “ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโด” เสร็จในปี ค.ศ. 1545 เป็นภาพของ เอเลเนอร์แห่งโทเลโดภรรยาของโคสิโมที่ 1 เดอเมดิชิ ดยุคแห่งทัสเคนี เอเลเนอร์นั่งโดยมีมือขวาวางบนไหล่ลูกชายคนหนึ่ง ท่าทางที่นั่งและการใช้ลายทับทิมบนเสื้อผ้าเป็นการแสดงฐานะของความเป็นแม่ ลูกที่ยืนอยู่ในภาพบ้างก็ว่าอาจจะเป็น ฟรานเชสโค (Francesco I de' Medici) (เกิด ค.ศ. 1541), หรือ จิโอวานนิ (Cardinal Giovanni de' Medici) (เกิด ค.ศ. 1543) หรือ กราเซีย (เกิด ค.ศ. 1547) ถ้าเป็นคนหลังภาพเขียนก็น่าจะเขียนระหว่างปี ค.ศ. 1550 ถึงปี ค.ศ. 1553 แต่เป็นที่ตกลงกันโดยทั่วไปว่าปีที่เขียนคือปี ค.ศ. 1545 ฉะนั้นลูกจึงควรจะเป็นจิโอวานนิ เมื่อร่างของเอเลเนอร์ถูกขุดขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 กล่าวกันว่าเอเลเนอร์ใส่ชุดเดียวกับชุดที่ใส่ในภาพเขียน ตาข่ายคลุมผมที่เกือบเหมือนกับอันที่ใช้ในรูปอาจจะทำให้เกิดการสับสน แต่การค้นคว้าต่อมาพิสูจน์ว่าเป็นชุดอีกชุดหนึ่งที่แสดงในหนังสือ “Patterns of Fashion” โดย แจเน็ต อาร์โนลด์ (Janet Arnold) และ “Moda a Firenze”โดย โรเบิร์ตตา ออร์ซิ ลันดินิและบรูนา นิคโคลิ ชิ้นส่วนที่ยังเหลืออยู่ของเสื้อชุดนั้นยังคงเก็บรักษาไว้ในพาลัซโซพิตติในฟลอเรนซ.

15 ความสัมพันธ์: บรอนซีโนฟลอเรนซ์พ.ศ. 2088พ.ศ. 2093พ.ศ. 2096ภาพเหมือนภาษาอังกฤษวังปิตตีสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาหอศิลป์อุฟฟีซีจิตรกรรมสีน้ำมันทับทิม (ผลไม้)ประเทศอิตาลีโกซีโมที่ 1 เด เมดีชีเมดีชี

บรอนซีโน

“วีนัส, คิวปิด, ฟอลลี, เวลา” ค.ศ. 1545, พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ, ลอนดอน, อังกฤษ “การชื่นชมของเด็กเลี้ยงแกะ” ภาพของอันเดรีย ดอเรียนายทหารรับจ้างและนายพลเรือจากเจนัวแต่งตัวเป็นเทพเนพจูน แอกโนโล ดี โคสิโม หรือ บรอนซิโน (ภาษาอังกฤษ: Agnolo di Cosimo หรือที่รู้จักกันในนาม Bronzino) (17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1503 - 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1572) เป็นจิตรกรสมัยแมนเนอริสม์คนสำคัญของฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 บรอนซิโนมีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพสีน้ำมัน และจิตรกรรมฝาผนัง ที่มาของชื่อ “บรอนซิโน” ไม่เป็นที่ทราบแน่นอนแต่อาจจะเป็นเพราะบรอนซิโนมีผิวคล้ำแบบบร็อนซ์ สันนิษฐานกันว่าสาเหตุของสีผิวที่คล้ำมาจากโรค Addison's disease ซึ่งเป็นผลที่ทำให้สีผิวหนังคล้ำกว่าปกต.

ใหม่!!: ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดและบรอนซีโน · ดูเพิ่มเติม »

ฟลอเรนซ์

ฟลอเรนซ์ (Florence) หรือ ฟีเรนเซ (Firenze) เป็นเมืองหลวงของแคว้นทัสกานีและมณฑลฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ระหว่าง..

ใหม่!!: ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดและฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2088

ทธศักราช 2088 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดและพ.ศ. 2088 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2093

ทธศักราช 2093 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดและพ.ศ. 2093 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2096

ทธศักราช 2096 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดและพ.ศ. 2096 · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือน

หมือนเด็กชายชาวโรมัน-อียิปต์เป็นภาพเหมือนที่ใช้ปิดหน้าศพของผู้ตาย “ภาพเหมือนตนเอง” โดย ฟินเซนต์ ฟัน โคค ภาพถ่ายภาพเหมือนของทอมัส ดิลวาร์ด โดยแม็ทธิว เบรดี ภาพเหมือน (ภาษาอังกฤษ: portrait) เป็นจิตรกรรม, ภาพถ่าย, ประติมากรรม หรือสื่ออื่นๆ ที่เป็นรูปของผู้เป็นแบบ ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดจะเป็นหน้าและการแสดงออกทางความรู้สึกของผู้เป็นแบบ จุดประสงค์ในการสร้างภาพเหมือนก็เพื่อแสดงความละม้าย, บุคลิก, หรือแม้แต่อารมณ์ของผู้เป็นแบบ ฉะนั้นภาพถ่ายที่เป็นภาพเหมือนจึงมิใช่ภาพถ่ายแบบชั่ววินาที แต่เป็นภาพถ่ายที่ช่างถ่ายจะพยายามจัดท่าหรือองค์ประกอบของภาพที่ให้ผู้เป็นแบบนั่งนิ่ง ภาพเหมือนมักจะแสดงผู้เป็นแบบมองตรงมายังจิตรกรหรือช่างภาพ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ที่ดูรูปในภายหลัง.

ใหม่!!: ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดและภาพเหมือน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

วังปิตตี

วังปิตตี (Palazzo Pitti) เป็นวังแบบเรอแนซ็องส์ที่ตั้งอยู่ที่ด้านใต้ของแม่น้ำอาร์โน ไม่ไกลจากสะพานเวกกีโอ (Ponte Vecchio) ในเมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ตัววังเดิมสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1458 และเดิมเป็นที่พำนักของลูกา ปิตตี (Luca Pitti) นายธนาคารชาวฟลอเรนซ์ ต่อมาวังก็ถูกตระกูลเมดีชีซื้อไปในปี ค.ศ. 1539 และกลายมาเป็นที่พำนักหลักของตระกูลแกรนด์ดุ๊กแห่งทัสกานี นอกจากนั้นก็ยังใช้เป็นที่สะสมงานศิลปะต่าง ๆ เป็นจำนวนมหาศาล ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 วังปิตตีใช้เป็นที่บัญชาการของจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส และต่อมาก็ใช้เป็นวังหลวงของอาณาจักรอิตาลีแต่ก็เพียงระยะเวลาอันสั้น วังและข้าวของภายในวังได้รับการอุทิศให้เป็นสมบัติของประชาชนอิตาลีโดยพระเจ้าวิกเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 ในปี ค.ศ. 1919 ปัจจุบันเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ และเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง มีงานสะสมต่าง ๆ นอกเหนือจากงานสะสมที่มาจากตระกูลเมดีชี.

ใหม่!!: ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดและวังปิตตี · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

หอศิลป์อุฟฟีซี

หอศิลป์อุฟฟิซิ (ภาษาอิตาลี: Galleria degli Uffizi) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี “หอศิลป์อุฟฟิซิ” เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก่าที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาพิพิธภัณฑ์ศิลปะในโลก ตัวพิพิธภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของ “พาลัซโซ เดกลิ อุฟฟิซิ” ซึ่งเป็นพาลัซโซ (Palazzo) ในเมืองฟลอเรนซ.

ใหม่!!: ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดและหอศิลป์อุฟฟีซี · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสีน้ำมัน

"โมนาลิซา" โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ราว ค.ศ. 1503-1506 จิตรกรรมสีน้ำมัน หรือ ภาพเขียนสีน้ำมัน (oil painting) คือการเขียนภาพโดยใช้สีฝุ่นที่ผสมกับน้ำมันแห้ง (drying oil) — โดยเฉพาะในตอนต้นของยุโรปสมัยใหม่, น้ำมันลินสีด (linseed oil) ตามปกติแล้วก็จะต้มน้ำมันเช่นลินสีดกับยางสนหรือยางสนหอม (frankincense) ส่วนผสมนี้เรียกว่า "น้ำมันเคลือบ" (varnish) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพเขียนมีความหนาและเป็นเงา น้ำมันอื่นที่ใช้ก็มีน้ำมันเม็ดฝิ่น, น้ำมันวอลนัต, และน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันแต่ละอย่างก็มีคุณภาพต่าง ๆ กัน เช่นอาจจะทำให้สืเหลืองน้อยลง หรือใช้เวลาแห้งไม่เท่ากัน บางครั้งก็จะเห็นความแตกต่างจากเงาของภาพเขียนแล้วแต่ชนิดของน้ำมัน จิตรกรจะใช้น้ำมันหลายชนิดในภาพเขียนเดียวกันเพื่อให้ได้ลักษณะของภาพเขียนออกมาตามที่ต้องการ การแสดงออกของสีก็จะต่างกันตามแต่วัสดุที่ใช้เขียน.

ใหม่!!: ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดและจิตรกรรมสีน้ำมัน · ดูเพิ่มเติม »

ทับทิม (ผลไม้)

ผลทับทิม แกะออก เห็นเมล็ดข้างใน บทความนี้กล่าวถึง "ทับทิม" ในฐานะผลไม้ชนิดหนึ่ง สำหรับทับทิมในความหมายอื่นๆ ดูได้ใน ทับทิม ทับทิม ชื่อท้องถิ่น เซี๊ยะลิ้ว, พิลา, พิลาขาว, มะก่องแก้ว, มะเก๊าะ, หมากจัง เป็นไม้ผลขนาดเล็ก มีขนาดประมาณ 5-8 เซนติเมตร ทับทิมมีถิ่นกำเนิดจากตะวันออกของประเทศอิหร่าน ทางตอนใต้ของอัฟกานิสถานและทางตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย ทับทิมจึงชอบอากาศหนาวเย็นและอยู่บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลอย่างน้อย 300 เมตร ยิ่งอากาศหนาวเนื้อทับทิมจะมีสีแดงเข้มมากขึ้น.

ใหม่!!: ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดและทับทิม (ผลไม้) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

โกซีโมที่ 1 เด เมดีชี

มที่ 1 เดอ เมดิชิ (Cosimo I de' Medici, Grand Duke of Tuscany) (12 มิถุนายน ค.ศ. 1519 - (21 เมษายน ค.ศ. 1574) โคสิโมที่ 1 เดอเมดิชิ เกิดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1519ที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1574 ที่เมืองฟลอเรนซ์เช่นกัน โคสิโมที่ 1 เดอเมดิชิเป็นบุตรของจิโอวานนิ ดาลลา บานเด เนเร (Giovanni dalle Bande Nere) จากฟอร์ลิและ มาเรีย ซาลวิอาติ (Maria Salviati) โคสิโมได้รับอำนาจเมื่ออายุได้ 17 ปีเมื่อดยุกอเลสซานโดร เดอ เมดิชิ (Alessandro de' Medici) ถูกลอบฆ่าในปี ค.ศ. 1537 1537 โคสิโมเป็นบุตรคนเดียวของอเลสซานโดรแต่เป็นบุตรนอกสมรสที่มาจากสาขาอื่นของตระกูล และพำนักอยู่ในบริเวณมูเกลโลซึ่งอยู่ห่างไกลจนไม่เป็นที่รู้จักกันในเมืองฟลอเรนซ์ แต่ผู้มีอิทธิพลในเมืองสนับสนุนซึ่งอาจจะเป็นได้ว่ามีความหวังที่จะใช้โคสิโมเป็นหุ่นเพราะอายุยังน้อย แต่โคสิโมเป็นผู้มีความมุ่งมั่นและทะเยอทะยาน ไม่นานก็ยกเลิกข้อสัญญาต่างๆ ที่ทำไว้และมอบอำนาจส่วนใหญ่ให้แก่สภาสี่สิบแปดคนแทนที.

ใหม่!!: ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดและโกซีโมที่ 1 เด เมดีชี · ดูเพิ่มเติม »

เมดีชี

ตระกูลเมดีชี (Medici) เป็นตระกูลที่มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองของฟลอเรนซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมาชิกจากตระกูลนี้ 3 คนได้เป็น พระสันตะปาปา (สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10, สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7, และ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 11) และนักปกครองของฟลอเรนซ์เองโดยเฉพาะโลเรนโซ เด เมดีชี ก็เป็นผู้อุปถัมภ์งานชิ้นสำคัญๆ ในสมัยเรอเนซองส์ ต่อมาตระกูลเมดีชีก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ของฝรั่งเศสและอังกฤษ ความมีอิทธิพลของตระกูลเมดีชีสามารถทำให้ฟลอเรนซ์กลายมามีบทบาทสำคัญต่อความรุ่งเรืองของศิลปะและสถาปัตยกรรม ตระกูลเมดีชีและตระกูลสำคัญอื่นๆของประเทศอิตาลีในสมัยนั้นเช่น ตระกูลวิสคอนติ (Visconti) ตระกูลสฟอร์เซ (Sforza) ตระกูลต่างๆ จากมิลาน ตระกูลเอสเตแห่งเฟอร์รารา (Este of Ferrara) ตระกูลกอนซากาจากมานตัว (Gonzaga of Mantua) และตระกูลอื่นๆ ต่างก็มีส่วนสำคัญในความเจริญของศิลปะเรอเนซองส์ และ สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ ธนาคารเมดีชีเป็นธนาคารที่มั่งคั่งที่สุดในทวีปยุโรปและกล่าวกันว่าตระกูลเมดีชีเป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรปสมัยนั้น ซึ่งทำให้สามารถสร้างอำนาจทางการเมืองโดยเริ่มจากฟลอเรนซ์และอิตาลีจนในที่สุดก็ขยายไปทั่วยุโรป สิ่งที่ตระกูลเมดีชีเป็นต้นตำรับทางการบัญชีคือการปรับปรุงวิธีทำบัญชีโดยการลงหลักฐานที่สามารถทำให้ติดตามเงินเข้าเงินออกได้ง่ายขึ้น (double-entry bookkeeping system).

ใหม่!!: ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดและเมดีชี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Portrait of Eleonora of Toledo and Her Son

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »