โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แผนฟินแลนด์

ดัชนี แผนฟินแลนด์

แผนฟินแลนด์ หรือ ยุทธศาสตร์ฟินแลนด์ หรือ ปฏิญญาฟินแลนด์ เป็นทฤษฎีสมคบคิดที่ได้รับการกล่าวถึงเป็นครั้งแรกโดยปราโมทย์ นาครทรรพ ทางหนังสือพิมพ์ผู้จัดการและเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ ซึ่งสนธิ ลิ้มทองกุลและกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนำมาเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ในบทความของปราโมทย์ นาครทรรพ ระบุว่า แผนนี้ถือกำเนิดขึ้นในปี..

51 ความสัมพันธ์: ชัยอนันต์ สมุทวณิชพรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยพรรคประชาธิปัตย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดชพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระมหากษัตริย์ไทยพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปการตรวจพิจารณาในประเทศไทยการโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชนภูมิธรรม เวชยชัยระบบเจ้าขุนมูลนายรัฐบาลรัฐคอมมิวนิสต์รัฐประหารรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549ราชการราชวงศ์จักรีราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญรายนามรองนายกรัฐมนตรีไทยรายนามเลขาธิการนายกรัฐมนตรีของไทยลัทธิมากซ์ลัทธิคอมมิวนิสต์วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549สมัคร สุนทรเวชสังคมนิยมสาธารณรัฐสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีสุธรรม แสงประทุมสุขุม นวลสกุลสนธิ ลิ้มทองกุลจาตุรนต์ ฉายแสงถาวร เสนเนียมทฤษฎีสมคบคิดทักษิณ ชินวัตรทุนนิยมคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประชาธิปไตยประเทศฟินแลนด์ประเทศไทยปราโมทย์ นาครทรรพนิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัยโกวิท วัฒนะเมืองไทยรายสัปดาห์เหตุการณ์ 6 ตุลาเอเอสทีวีผู้จัดการ...เดอะ เนชั่น (ประเทศไทย) ขยายดัชนี (1 มากกว่า) »

ชัยอนันต์ สมุทวณิช

ตราจารย์ ชัยอนันต์ สมุทวณิช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อดีตประธานกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เกิดวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 เป็นบุตรของ พล.ต.ต.ชนะ สมุทวณิช นามสกุล "สมุทวณิช" เป็นนามสกุลพระราชทาน ในสมัยรัชกาลที่ 6 ศาสตราจารย์ ชัยอนันต์ สมุทวณิช หรือ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช สมรสกับ นางสุภาธร สมุทวณิช (สกุลเดิม สาครบุตร) มีบุตร 3 คนคือ นายพชร สมุทวณิช ผู้บริหารหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ,พลอย จริยะเวช นักเขียน นักแปล (สมรสกับ พันโทธีระ จริยะเวช กรมยุทธบริการ กองบัญชาการทหารสูงสุด) และ นายพลาย สมุทวณ.ดร.ชัยอนันต์ ไม่ใช่เด็กเรียนดีมาก่อน จบมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากวชิราวุธวิทยาลัย ด้วยคะแนนเพียง 57.3% แต่พยายามจนสอบเข้า คณะรัฐศาสตร์ แผนกนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สำเร็จ เรียนอยู่ 1 ปีสามารถสอบชิง ทุนโคลัมโบ ไปเรียนปริญญาตรีที่ มหาวิทยาลัยวิกตอเรีย ประเทศนิวซีแลนด์ ต่อมาสำเร็จปริญญาโท และ ปริญญาเอกทางรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ในปี..

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และชัยอนันต์ สมุทวณิช · ดูเพิ่มเติม »

พรรคการเมือง

รรคการเมือง เรียกย่อว่า พรรค คือองค์กรทางการเมืองที่รวมบุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน นั่นคือมีแนวความคิดทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ แบบเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน เพื่อส่งบุคคลเข้ารับเลือกตั้ง เพื่อให้ได้เสียงข้างมากในรัฐสภาและจัดตั้งรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศตามแนวความคิดหรือนโยบายที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของกลุ่ม ลักษณะสำคัญที่สุดที่ทำให้พรรคการเมืองมีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มทางการเมืองอื่น ๆ ก็คือ พรรคการเมืองจะต้องมีความปรารถนาหรือต้องการที่จะเป็นรัฐบาล เพื่อจะได้มีโอกาสนำนโยบายของพรรคไปปฏิบัติจริง ในระบอบรัฐสภา พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะมีผู้นำ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าพรรคการเมืองนั้นได้รับเสียงข้างมาก จะรับหน้าที่เป็นผู้นำรัฐบาล ขณะที่ในระบอบประธานาธิบดี พรรคการเมืองอาจไม่มีผู้นำที่ชัดเจน โดยเฉพาะในระบบการเมืองที่มีการแยกอำนาจโดยสมบูรณ์ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองจะเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญมากและขาดไม่ได้ในกระบวนการปกครอง เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและมีอิทธิพลเหนือรัฐบาล โดยผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร ๑)ความหมายของพรรคการเมือง หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความคิดและผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่คล้ายคลึงกัน.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และพรรคการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

รรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) (Communist Party of Thailand - CPT) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ไม่เคยจดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายอย่างเป็นทางการ ดำเนินแนวทางตาม ลัทธิมาร์กซ์ ลัทธิเลนิน และลัทธิเหมา นอกจากนั้น ในอดีตยังมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ซึ่งเป็นสมาชิกของ พคท.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

พรรคประชาธิปัตย์

รรคประชาธิปัตย์ (Democrat Party - DP, ย่อ: ปชป.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นพรรคการเมืองจดทะเบียนที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่ยังดำเนินการอยู่ พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวน 2,895,933 คน นับเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกมากที่สุดในประเทศไทย และมีสาขาพรรคจำนวน 175.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และพรรคประชาธิปัตย์ · ดูเพิ่มเติม »

พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช

นายแพทย์ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช (เกิด 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน..

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

พระมหากษัตริย์ไทย

ระมหากษัตริย์ไทย เป็นประมุขของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และประชาธิปไตย ถึงแม้ว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะลดลงหลังจากการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงได้รับความเคารพนับถือจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 กับทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับว่า พระมหากษัตริย์ "ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" นอกจากนั้น พระมหากษัตริย์ยังทรงได้รับความคุ้มครองด้วยกฎหมายอาญา ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์พระองค์เป็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล ทรงเป็นจอมทัพไทย พุทธมามกะ และอัครศาสนูปถัมภก มีพระราชอำนาจสถาปนาและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์กับฐานันดรศักดิ์ พระราชทานอภัยโทษ ประกาศสงครามและสงบศึก รวมตลอดถึงพระราชอำนาจอื่น ๆ ซึ่งจะทรงใช้ได้ก็แต่โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ยกเว้นพระราชอำนาจบางประการที่ทรงใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัย คือ ตั้งและถอดองคมนตรีกับบรรดาข้าราชการในพระองค์ พระมหากษัตริย์ไทยแห่งราชวงศ์จักรี และเป็นประมุขราชวงศ์จักรี มีที่ประทับอย่างเป็นทางการคือพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร โดยทรงรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม..

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และพระมหากษัตริย์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุมัติหมายกำหนดการ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ระหว่าง วันพฤหัสบดีที่ 8 — วันอังคารที่ 13 มิถุนายน..

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี · ดูเพิ่มเติม »

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People's Alliance for Democracy, PAD) หรือเรียกว่า กลุ่มพันธมิตรกู้ชาติ หรือ กลุ่มคนเสื้อเหลือง เป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยที่มีบทบาทสำคัญในช่วง พ.ศ. 2548-2552 โดยเป็นการรวมตัวจากหลายองค์กรทั่วประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ภายใต้จุดประสงค์ในการขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และแสดงความต้องการให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนอย่างเปิดเผยBloomberg,, 19 December 2008 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีแกนนำคนสำคัญ ได้แก่ สนธิ ลิ้มทองกุล และพลตรีจำลอง ศรีเมือง สัญลักษณ์หลักของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีการใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์หลัก และมีการใส่เสื้อสีเหลืองพร้อมผ้าโพกศีรษะที่มีข้อความว่า "กู้ชาติ" และผ้าพันคอสีฟ้า และมีมือตบเป็นเครื่องมือสัญลักษณ์ ในปี..

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป

กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2549 ระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ ได้ขายหุ้นที่ครอบครองอยู่ทั้งหมดในกลุ่มบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ชินคอร์ป) ให้แก่บริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ (พีทีอี) จำกัด (เทมาเส็ก) หรือ กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ผ่านบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำนวน 1,487,740,000 หุ้น (49.595% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด) มูลค่าหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 73,271,200,910 บาท ซึ่งเป็นการขายหุ้นที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประเทศไทย ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในสังคมไท.ต.ท. ทักษิณ ชี้แจงว่า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจุดที่ทำให้ การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ขยายตัวออกไปในวงกว้าง ซึ่งนำไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎรในที่สุด เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และกรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจพิจารณาในประเทศไทย

การตรวจพิจารณาในประเทศไทยมีประวัติอย่างยาวนาน การก่อกวน การชักใยและการควบคุมข่าวการเมืองอย่างเข้มงวดเป็นเรื่องปกติในรัฐบาลทุกสมัย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ประกันเสรีภาพในการพูด และการประกันเสรีภาพดังกล่าวดำเนินต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กลไกในการตรวจพิจารณารวมถึงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เข้มงวด การควบคุมโดยตรงของรัฐบาลหรือทหารต่อสื่อแพร่สัญญาณ และการใช้แรงกดดันทางเศรษฐกิจและการเมือง การวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ถูกห้ามตามรัฐธรรมนูญ แม้คดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยส่วนใหญ่มุ่งไปยังคนต่างด้าว หรือคู่แข่งของผู้นำการเมือง สังคมและพาณิชย์ที่เป็นชาวไทย ในการสำรวจดัชนีเสรีภาพสื่อทั่วโลก จัดโดยผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 59 จาก 167 ประเทศในปี 2547 แล้วร่วงลงเป็นอันดับที่ 107 ในปี 2548 และไปอยู่อันดับที่ 153 จาก 178 ประเทศในปี 2554 แล้วค่อยขึ้นมาอยู่อันดับที่ 137 จาก 179 ประเทศในปี 2555.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และการตรวจพิจารณาในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน

การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน (privatization) เป็นกรณีหรือกระบวนการโอนความเป็นเจ้าของธุรกิจ วิสาหกิจ หน่วยงาน บริการสาธารณะหรือทรัพย์สินจากภาครัฐ (รัฐหรือรัฐบาล) มาเป็นภาคเอกชน (ธุรกิจซึ่งดำเนินการเพื่อกำไรส่วนตน) หรือองค์การไม่แสวงหาผลกำไรเอกชน คำดังกล่าวยังใช้ในความหมายที่แตกต่างออกไปด้วย โดยหมายถึง การที่รัฐบาลจ้างบริษัทเอกชนทำงานแทน เช่น การเก็บรายได้และภาษีอากร การบังคับใช้กฎหมาย การรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ และการจัดการเรือนจำหรือสถานคุมขังกักกัน การแปรรูปกิจการของรัฐโดยทั่วไปเชื่อกันว่าจะเพิ่มผลผลิต กำไรและประสิทธิภาพขององค์การที่ถูกแปรรูป.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และการโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิธรรม เวชยชัย

นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฎิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 14/2560 เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร และอดีตรองเลขาธิการพรรคไทยรักไท.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และภูมิธรรม เวชยชัย · ดูเพิ่มเติม »

ระบบเจ้าขุนมูลนาย

ระบบเจ้าขุนมูลนาย, ระบบฟิวดัลหรือระบบเจ้าครองนคร (feudalism) เป็นระบอบการปกครองในอดีต สยามเรียกว่า ระบบศักดิน.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และระบบเจ้าขุนมูลนาย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาล

รัฐบาล คือองค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่งๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือกลุ่มคน รัฐบาลตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า government ซึ่งมีความหมายสองนัยยะ นัยยะแรกหมายถึงกิจกรรมการปกครอง และอีกความหมายหนึ่งคือคณะบุคคลที่มีอำนาจในการปกครอง หมวดหมู่:การปกครอง.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และรัฐบาล · ดูเพิ่มเติม »

รัฐคอมมิวนิสต์

รัฐคอมมิวนิสต์ (Communist state) เป็นรูปแบบที่นักรัฐศาสตร์ใช้อธิบายรูปแบบของรัฐบาลในรัฐที่มีการปกครองภายใต้พรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว และประกาศใช้ลัทธิมากซ์-เลนิน ซึ่งเป็นแนวคิดทางคอมมิวนิสต์ รัฐคอมมิวนิสต์อาจมีพรรคการเมืองตามกฎหมายหลายพรรค แต่รัฐธรรมนูญรับรองให้พรรคคอมมิวนิสต์เป็นรัฐบาล พรรคคอมมิวนิสต์จึงเป็นสถาบันบริหารประเทศนั้น ๆ โดยปริยาย ประเทศคอมมิวนิสต์ในระหว่างปี 1979-1983 ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองที่สุดของลัทธิคอมมิวนิสต์ รัฐคอมมิวนิสต์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และรัฐคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหาร

รัฐประหาร (coup d'état กูเดตา) เป็นการใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาลอย่างฉับพลันและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปกติเกิดจากสถาบันของรัฐที่มีอยู่เดิมขนาดเล็กเพื่อโค่นรัฐบาลซึ่งเป็นที่ยอมรับแล้วเปลี่ยนเป็นองค์การปกครองใหม่ ไม่ว่าเป็นพลเรือนหรือทหาร รัฐประหารพิจารณาว่าสำเร็จแล้วเมื่อผู้ยึดอำนาจสถาปนาภาวะครอบงำ รัฐประหารไม่จำเป็นต้องเกิดความรุนแรงหรือเสียเลือดเนื้อ ศาลฎีกาตีความว่า รัฐประหารมิได้ขัดต่อกฎหมาย เพราะ "กฎหมายคือคำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์".

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และรัฐประหาร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

รัฐประหารในประเทศไท..

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

ราชการ

ราชการ (สำหรับประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข) หรือ รัฐการ (สำหรับประเทศที่ไม่ได้มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข) เป็นระบบการทำงานอย่างหนึ่งของรัฐ หมายถึง การงานของพระมหากษัตริย์หรือรัฐบาล รวมไปถึงของทหารและตำรวจซึ่งอาจเรียกแยกเฉพาะว่า "ราชการฝ่ายทหาร" หรือ "รัฐการฝ่ายทหาร" แล้วแต่กรณี.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และราชการ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จักรี

ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสยามต่อจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจนถึงปัจจุบัน โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิม ทองด้วง ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา) ทรงสถาปนาราชวงศ์โดยการปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2325 ยุคของราชวงศ์นี้ เรียกว่า "ยุครัตนโกสินทร์".

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และราชวงศ์จักรี · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รายนามรองนายกรัฐมนตรีไทย

รองนายกรัฐมนตรี หมวดหมู่:รายนามบุคคล.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และรายนามรองนายกรัฐมนตรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายนามเลขาธิการนายกรัฐมนตรีของไทย

ลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งข้าราชการการเมือง สังกัดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เริ่มแต่งตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และรายนามเลขาธิการนายกรัฐมนตรีของไทย · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิมากซ์

ลัทธิมากซ์ (Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ เป็นวิธีการวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจซึ่งวิพากษ์ทุนนิยมผ่านกระบวนทัศน์การขูดรีด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งทางสังคมโดยใช้การตีความพัฒนาการประวัติศาสตร์แบบวัสดุนิยม และทัศนะวิภาษวิธีการแปลงสังคม (social transformation) ถือกำเนิดจากนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์ใช้วิธีวิทยาที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาของทุนนิยมและบทบาทของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทั้งระบบ ตามทฤษฎีลัทธิมากซ์ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นเกิดในสังคมทุนนิยมอันเนือ่งจากความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ทางวัตถุของชนกรรมาชีพที่ถูกกดขี่ ชนกรรมาชีพคือผู้ใช้แรงงานเอาค่าจ้างที่ชนชั้นกระฎุมพีว่าจ้างเพื่อผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งชนชั้นกระฎุมพีนี้เป็นชนชั้นปกครองที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเอาความมั่งคั่งมาจากการจัดสรรผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน (กำไร) ที่ชนกรรมาชีพผลิตขึ้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นนี้ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นการกบฏของกำลังการผลิตของสังคม (productive force) ต่อความสัมพันธ์การผลิต (relation of production) ของสังคม ส่งผลให้เกิดวิกฤติระยะสั้นเมื่อชนชั้นกระฎุมพีประสบความลำบากในการจัดการความแปลกแยกของแรงงาน (alienation of labor) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของชนกรรมาชีพ แม้ว่ามีความสำนึกเรื่องชนชั้น (class consciousness) ระดับมากน้อย วิกฤตนี้ลงเอยด้วยการปฏิวัติของชนกรรมาชีพและการสถาปนาสังคมนิยมในที่สุด ซึ่งเป็นระบบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ยึดสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กระจายให้แต่ละคนตามการมีส่วนร่วมและการผลิตที่จัดระเบียบโดยตรงสำหรับการใช้ เมื่อกำลังการผลิตก้าวหน้าขึ้น มากซ์ตั้งสมมติฐานว่าสังคมนิยมสุดท้ายจะแปลงเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ หมายถึง สังคมไร้ชนชั้น ไร้รัฐ และมีมนุษยธรรมที่ยึดกรรมสิทธิ์ร่วมและหลักการพื้นเดิม "จากแต่ละคนตามความสามารถ ให้แต่ละคนตามความต้องการ" (From each according to his ability, to each according to his needs) ลัทธิมากซ์พัฒนาเป็นหลายแขนงและสำนักคิด แม้ปัจจุบันไม่มีทฤษฎีลัทธิมากซ์หนึ่งเดียว สำนักลัทธิมากซ์ต่าง ๆ เน้นแง่มุมบางอย่างของลัทธิมากซ์คลาสสิกต่างกัน และปฏิเสธหรือดัดแปลงแง่มุมบางอย่าง หลายสำนักคิดมุ่งรวมมโนทัศน์ลัทธิมากซ์กับมโนทัศน์ที่มิใช่มากซ์ ซึ่งมักนำไปสู่บทสรุปที่ขัดแย้งกัน ทว่า สมัยหลังมีขบวนการสู่การรับรองวัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์และวัสดุนิยมวิภาษวิธียังเป็นแง่มุมหลักของสำนักคิดลัทธิมากซ์ทุกสำนัก ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงกันระหว่างสำนักต่าง ๆ มากขึ้น.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และลัทธิมากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553

วิกฤตการณ์การเมืองไท..

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 · ดูเพิ่มเติม »

ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ

ลท้าวมหาพรหม โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ บริเวณเทวาลัย ศาลท้าวมหาพรหม ถ่ายจากรถไฟฟ้าบีทีเอส ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ (Erawan Shrine; 四面佛, 梵天; พินอิน:Sìmiàn fú, Fàntiān; 梵天; โรมะจิ: Bonten) เป็นศาลของท้าวมหาพรหมตั้งอยู่หน้าโรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ · ดูเพิ่มเติม »

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549

นิติบัญญัติแห่งชาต..

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

สมัคร สุนทรเวช

มัคร สุนทรเวช (ชื่อจีน: 李沙馬 Lǐ Shāmǎ; 13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 25 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ก่อตั้งพรรคประชากรไทย เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักการเมืองเก่าแก่ ที่มีเสียงพูดและลีลาการพูดเป็นเอกลักษณ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) ได้ฉายาจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า "น้าหมัก" "ออหมัก" หรือ "ชมพู่" (มาจากลักษณะจมูกของสมัคร) "ชาวนา" (จากกรณีกลุ่มงูเห่า) เป็นต้น สมัครเริ่มทำงานหลังจบนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เป็นสื่อมวลชนสายการเมือง โดยเขียนบทความ และความคิดเห็น ทางการเมืองแบบไม่ประจำใน หนังสือพิมพ์สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต..

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และสมัคร สุนทรเวช · ดูเพิ่มเติม »

สังคมนิยม

ังคมนิยม (อังกฤษ: Socialism) เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมีลักษณะคือ สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจัดการเศรษฐกิจแบบร่วมมือ ตลอดจนทฤษฎีและขบวนการทางการเมืองซึ่งมุ่งสถาปนาระบบดังกล่าว"The origins of socialism as a political movement lie in the Industrial Revolution." "สังคมเป็นเจ้าของ" อาจหมายถึง การประกอบการสหกรณ์ การเป็นเจ้าของร่วม รัฐเป็นเจ้าของ พลเมืองเป็นเจ้าของความเสมอภาค พลเมืองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือที่กล่าวมารวมกัน มีความผันแปรของสังคมนิยมจำนวนมากและไม่มีนิยามใดครอบคลุมทั้งหมด ความผันแปรเหล่านี้แตกต่างกันในประเภทของการเป็นเจ้าของโดยสังคมที่ส่งเสริม ระดับที่พึ่งพาตลาดหรือการวางแผน วิธีการจัดระเบียบการจัดการภายในสถาบันการผลิต และบทบาทของรัฐในการสร้างสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมอาศัยลัทธิองค์การการผลิตเพื่อใช้ หมายความว่า การผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองอุปสงค์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของมนุษย์โดยตรง และระบุคุณค่าวัตถุตามคุณค่าการใช้ประโยชน์หรืออรรถประโยชน์ ซึ่งตรงข้ามกับการผลิตมาเพื่อสะสมทุนและเพื่อกำไร ในแนวคิดดั้งเดิมของเศรษฐกิจสังคมนิยม มีการประสานงาน การทำบัญชีและการประเมินค่าอย่างเดียวกันโดยปริมาณทางกายภาพร่วม (common physical magnitude) หรือโดยการวัดแรงงาน-เวลาแทนการคำนวณทางการเงิน มีสองข้อเสนอในการกระจายผลผลิต หนึ่ง ยึดตามหลักที่ว่าให้กระจายแก่แต่ละคนตามการเข้ามีส่วนร่วม และสอง ยึดตามหลักผลิตจากทุกคนตามความสามารถ ให้แก่ทุกคนตามความจำเป็น วิธีการจัดสรรและประเมินคุณค่าทรัพยากรที่แน่ชัดยังเป็นหัวข้อการถกเถียงในการถกเถียงการคำนวณสังคมนิยมที่กว้างกว.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และสังคมนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐ

รณรัฐ (Republic) เป็นระบอบการปกครองที่ประเทศถูกพิจารณาว่าเป็น "กิจสาธารณะ" (res publica) มิใช่ธุระหรือทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ปกครอง และที่ตำแหน่งหน้าที่ของรัฐได้รับเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือได้รับแต่งตั้ง มิใช่ได้รับทอด ในสมัยใหม่ นิยามทั่วไปที่เข้าใจง่ายของสาธารณรัฐ คือ ระบอบการปกครองที่ประมุขแห่งรัฐมิใช่พระมหากษัตริย์ ปัจจุบัน รัฐเอกราช 135 จาก 206 รัฐใช้คำว่า "สาธารณรัฐ" เป็นส่วนหนึ่งชื่ออย่างเป็นทางการ ทั้งสาธารณรัฐสมัยใหม่และสมัยโบราณแตกต่างกันอย่างมากทั้งในอุดมการณ์และองค์ประกอบ ในสมัยคลาสสิกและสมัยกลาง ต้นแบบของทุกสาธารณรัฐ คือ สาธารณรัฐโรมัน ซึ่งหมายถึงกรุงโรมในระหว่างสมัยที่มีพระมหากษัตริย์กับสมัยที่มีจักรพรรดิ ประเพณีการเมืองสมัยกลางและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีปัจจุบันที่เรียกว่า "มนุษยนิยมพลเมือง" (civic humanism) นั้น บางครั้งถูกมองว่าได้รับมาจากนักสาธารณรัฐนิยมโรมันโดยตรง อย่างไรก็ดี นักประพันธ์โรมันที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก อย่างพอลิเบียสและคิเคโร บางครั้งใช้คำดังกล่าวเป็นคำแปลของคำภาษากรีกว่า politeia ซึ่งอาจหมายถึงระบอบโดยทั่วไป แต่ยังสามารถใช้กับระบอบบางประเภทโดยเจาะจงซึ่งมิได้สอดคล้องพอดีกับสาธารณรัฐโรมัน สาธารณรัฐมิได้เทียบเท่ากับประชาธิปไตยคลาสสิก เช่น เอเธนส์ แต่มีลักษณะความเป็นประชาธิปไตย ในสาธารณรัฐสมัยใหม่ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย และอินเดีย ฝ่ายบริหารมีความชอบธรรมจากทั้งโดยรัฐธรรมนูญและการออกเสียงเลือกตั้งของประชาชน มงแต็สกีเยอรวมประชาธิปไตยทั้งสองแบบ ซึ่งประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครอง และอภิชนาธิปไตยหรือคณาธิปไตย ซึ่งมีคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ปกครอง เป็นระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ ส่วนใหญ่สาธารณรัฐมักเป็นรัฐเอกราช แต่ยังมีหน่วยต่ำกว่ารัฐที่เรียกว่า สาธารณรัฐ หรือมีการปกครองที่ถูกอธิบายว่า "เป็นสาธารณรัฐ" โดยธรรมชาติเช่นกัน ตัวอย่างเช่น มาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา "ประกันว่าทุกรัฐในสหภาพนี้มีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ" เขตการปกครองของสหภาพโซเวียตถูกอธิบายว่าเป็นสาธารณรัฐ และสองในนั้น คือ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนและเบลารุส มีที่นั่งของตนในสหประชาชาติ ขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียตอธิบายสหภาพว่าเป็น "รัฐเดี่ยว สหพันธ์และพหุชาติ" ที่จริงแล้วเป็นรัฐเดี่ยวเพราะพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตใช้อำนาจในรูปรวมศูนย์เหนือสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตซึ่งปกครองตนเองแต่ในนาม.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และสาธารณรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี

นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี (2 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 —) เป็นที่รู้จักในชื่อเล่นว่า "หมอเลี๊ยบ" อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เลขาธิการพรรคพลังประชาชน และหนึ่งในกลุ่มคนเดือนตุล.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี · ดูเพิ่มเติม »

สุธรรม แสงประทุม

รรม แสงประทุม อดีตประธานกรรมการบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กับอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร สมัยที่ 1, ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และอดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และสุธรรม แสงประทุม · ดูเพิ่มเติม »

สุขุม นวลสกุล

รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง นักพูด และนักวิชาการทางรัฐศาสตร์ เกิดเมื่อวันที่ 8 เดือนมกราคม พ.ศ. 2486 ที่จังหวัดยะลา โดยเป็นลูกคนสุดท้องในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 8 คน (ชาย 4 หญิง 4) บิดามีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปครอง พ.ศ. 2475 โดยที่ครอบครัวมีธุรกิจประเภทอสังหาริมทรัพย์ เริ่มศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา แล้วไปศึกษาต่อยังโรงเรียนอัสสัมชัญ โดยขณะเรียนได้เรียนในสายวิทยาศาสตร์เพราะมีความตั้งใจจะเป็นแพทย์ แต่คะแนนวิทชาทางเคมีหรือชีววิทยาได้ไม่ดี แต่กลับได้คะแนนดีในวิชาภาษาไทย จึงเปลี่ยนไปสอบเอนทรานซ์สายสังคมศาสตร์แทน ซึ่งสอบได้คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบการศึกษาในปี พ.ศ. 2511 (รุ่นที่ 15) ด้วยการใช้เวลาศึกษานานถึง 5 ปี ต่อมาได้เรียนระดับปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์และสังคมวิทยา) มหาวิทยาลัยเท็กซัส เอแอนด์เอ็ม (Master of Science Texas A & M University) สหรัฐอเมริกา และได้ศึกษาเพิ่มเติมที่สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้รับประกาศนียบัตรสงครามจิตวิทยา เมื่อครั้งจบปริญญาตรี ได้ทำงานเป็นคอลัมนิสต์ในนิตยสารมวยไทยอยู่ 6 เดือน ก่อนจะเดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา เมื่อจบปริญญาโทในปี พ.ศ. 2514 ได้เข้าทำงานเป็นอาจาย์ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเพิ่งก่อตั้ง นับเป็นคณาจารย์รุ่นบุกเบิกของมหาวิทยาลัยด้วยคนหนึ่ง จนกระทั่งได้รับตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ และได้เป็นคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จนถึงตำแหน่งอธิการบดี เมื่อปลายปี พ.ศ. 2525 และยุติการรับราชการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ก่อนเกษียณอายุราชการจริงหลายปี นอกจากนี้แล้วในทางการเมือง เคยเป็นที่ปรึกษาทางการมืองให้แก่นายกรัฐมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524-พ.ศ. 2531 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.เปรม ในระหว่างดำรงตำแหน่งอธิการบดี ได้เกิดเหตุนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงผู้หนึ่ง ได้เข้าทำร้ายร่างกาย พล.อ.เปรม ด้วยการชกหน้าและด่าทอด้วยคำหยาบคาย ขณะที่ พล.อ.เปรมเป็นประธานในพิธีปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย ที่ทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นเจ้าภาพ จน พล.อ.เปรมต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ทาง ร.สุขุมในฐานะอธิการบดีและที่ปรึกษาของ พล.อ.เปรม ได้แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกทันที แต่ทว่าทางสภามหาวิทยาลั.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และสุขุม นวลสกุล · ดูเพิ่มเติม »

สนธิ ลิ้มทองกุล

นธิ ลิ้มทองกุล (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 —) เป็น ประธานที่ปรึกษาสำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ นักหนังสือพิมพ์ นักเขียน ผู้ก่อตั้งและเจ้าของหนังสือพิมพ์ในเครือผู้จัดการ ผู้ดำเนินรายการกลางแจ้ง เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ที่ปรึกษาสำนักพิมพ์ซุปเปอร์บันเทิง อดีตผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางช่อง 9 อสมท. และอดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เดิมเขาเคยเป็นผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร อย่างแข็งขัน แต่ต่อมาเป็นผู้นำขบวนการต่อต้านทักษิณ ช่วงต้น..

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และสนธิ ลิ้มทองกุล · ดูเพิ่มเติม »

จาตุรนต์ ฉายแสง

ตุรนต์ ฉายแสง (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2499) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เขาได้รับการคัดเลือกจากนิตยสารเอเชียวีคให้เป็น 1 ใน 20 ผู้นำชาติเอเชียที่มีบทบาทโดดเด่นในศตวรรษที่ 20.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และจาตุรนต์ ฉายแสง · ดูเพิ่มเติม »

ถาวร เสนเนียม

วร เสนเนียม อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลาหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2490 ที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขล.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และถาวร เสนเนียม · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสมคบคิด

ทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy Theory) คือ เรื่องเล่า บทความที่สร้างขึ้นมาจากความคิดของคน หรือกลุ่มคน โดยนำเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจมีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้นอื่นๆเพื่อให้ประโยชน์/ให้โทษต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งใด หรืออธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลักษณะของทฤษฎีสมคบคิดโดยทั่วไปมีข้อเท็จจริงประกอบอยู่เพียงเล็กน้อย หรือส่วนหนึ่ง เพียงเพื่อเสริมให้เกิดความน่าเชื่อถือว่ามีหลักฐานสนับสนุนที่ดูเหมือนเกี่ยวข้องกันเท่านั้น อาจมีเหตุผลสนับสนุนจากความเชื่อส่วนบุคคล ความเชื่อเกี่ยวกับทางศาสนา การเมือง หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างไป เรื่องเหล่านี้นักวิชาการจะไม่ใช้อ้างอิง ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณก่อนที่จะเชื่อเรื่องนั้นๆ ประเทศสหรัฐอเมริกามีหน่วยงานที่จะดูแล และกลั่นกรองเรื่องเหล่านี้โดยเฉพาะ เดิมพบได้ในคอลัมน์เล็กๆ ของหนังสือพิมพ์ประเภทแทบลอยด์ในต่างประเทศ ปัจจุบันพบได้มากในฟอร์เวิร์ดเมล เว็บไซต์ส่วนบุคคล และบล็อกต่าง.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และทฤษฎีสมคบคิด · ดูเพิ่มเติม »

ทักษิณ ชินวัตร

ทักษิณ ชินวัตร (เกิด 26 กรกฎาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2544 ถึง 2549 และเป็นพี่ชายของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 เคยเป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อดีตข้าราชการตำรวจ (ชั้นยศสูงสุดที่ พันตำรวจโท) อดีตเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา และ ศาสตราจารย์อาคันตุกะแห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ปัจจุบันถือสัญชาติมอนเตเนโกร ปี 2537 ทักษิณเข้าสู่วงการเมืองสังกัดพรรคพลังธรรม โดยการชักนำของพลตรี จำลอง ศรีเมือง ต่อมาก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ในปี 2541 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ซึ่งพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในสภา จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก ทักษิณใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ก่อนกำหนดเดิม และดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดความยากจนในชนบท โดยสามารถลดความยากจนได้ถึงครึ่งหนึ่งภายในสี่ปี ริเริ่มระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นครั้งแรกของประเทศ ตลอดจนการกวาดล้างยาเสพติด ซึ่งทั้งหมดช่วยให้เขามีความนิยมอย่างสูง ทักษิณเริ่มดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ รวมทั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 57 ของจีดีพีในเดือนมกราคม 2544 เหลือร้อยละ 41 ในเดือนกันยายน 2549 รวมทั้งระดับการฉ้อราษฎร์บังหลวงลดลง โดยดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เพิ่มขึ้นจาก 3.2 เป็น 3.8 ระหว่างปี 2544 และ 2549 ทักษิณดำรงตำแหน่งจนครบวาระสี่ปี เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งดำรงตำแหน่งจนครบวาระคนแรก และจากผลการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ทำให้ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ดี มีผู้กล่าวหารัฐบาลทักษิณหลายประการเช่น ละเมิดสิทธิมนุษยชน ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นเผด็จการรัฐสภา มีผลประโยชน์ทับซ้อน และควบคุมสื่อ ส่วนข้อกล่าวหาของตัวทักษิณเอง ก็มีว่าหลีกเลี่ยงภาษี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนขายทรัพย์สินของบริษัทไทยให้นักลงทุนต่างชาติThe Star,, 2 April 2006The Nation,, 23 March 2006 องค์การนิรโทษกรรมสากลวิจารณ์ทักษิณว่า มีประวัติเชิงสิทธิมนุษยชนไม่สู้ดี และเขายังถูกกล่าวหาว่าปกปิดทรัพย์สินระหว่างดำรงตำแหน่งการเมือง ฟอรีนพอลิซี ยกตัวอย่างว่า เขาเป็นอดีตผู้นำของโลกที่ประพฤติไม่ดี เกิดการประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปี 2549 และวันที่ 19 กันยายน ปีเดียวกัน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) รัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ ศาลที่ คม.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และทักษิณ ชินวัตร · ดูเพิ่มเติม »

ทุนนิยม

"พีระมิดระบบทุนนิยม" ถูกตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และทุนนิยม · ดูเพิ่มเติม »

คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คป. เป็นคณะบุคคล อันประกอบด้วย กลุ่มทหาร ตำรวจ และ พลเรือน ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้า ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองราชอาณาจักรไทยไว้ได้ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 มีที่ตั้ง ณ กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟินแลนด์

ประเทศฟินแลนด์ (ซูโอมี) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟินแลนด์ เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป เขตแดนด้านตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลบอลติก ทางด้านใต้จรดอ่าวฟินแลนด์ ทางตะวันตกจรดอ่าวบอทเนีย ประเทศฟินแลนด์มีชายแดนติดกับประเทศสวีเดน นอร์เวย์ และรัสเซีย สำหรับหมู่เกาะโอลันด์ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้นั้น อยู่ภายใต้การปกครองของฟินแลนด์ แต่เป็นเขตปกครองตนเอง เคยถูกรัสเซียยึดครองและเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย ฟินแลนด์มีประชากรเพียง 5 ล้านคน ในพื้นที่ 338,145 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรที่เบาบาง แต่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ตามสถิติของสหประชาชาติ พ.ศ. 2549 อยู่ในลำดับที่ 11 ฟินแลนด์เคยเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนหลายศตวรรษ หลังจากนั้นก็อยู่ภายใต้จักรวรรดิรัสเซียจนถึงปี พ.ศ. 2460 ปัจจุบันฟินแลนด์เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย ภาษาฟินแลนด์เป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฮังการี และภาษามอลตา ตั้งแต่ประมาณ 2,700 ปีก่อนพุทธกาล ดินแดนฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากทางใต้ของอ่าวฟินแลนด์ โดยเข้ามาทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ มีหลักฐานของเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะเฉพาะ ต่อมาในยุคสำริด พื้นที่ทางชายฝั่งของฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียและยุโรปกลาง ในขณะที่พื้นที่ที่อยู่ห่างจากทะเลเข้าไป ได้รับอิทธิพลการใช้สำริดมาจากทางตะวันออกมากกว่า ในพุทธศตวรรษที่ 5 พบว่ามีการค้าขายแลกเปลี่ยนกับสแกนดิเนเวียมากขึ้น และการค้นพบวัตถุแบบโรมันจากยุคนี้ด้วย ปรากฏการกล่าวถึงชาวฟินแลนด์ในเอกสารของชาวโรมันในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 7.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และประเทศฟินแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปราโมทย์ นาครทรรพ

ตราจารย์ ปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการอิสระ ที่ปรึกษาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผู้อ้างแผนฟินแลนด์ (ปฏิญญาฟินแลนด์) และอดีตเลขาธิการพรรคพลังใหม่ เมื่อปี..

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และปราโมทย์ นาครทรรพ · ดูเพิ่มเติม »

นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย

ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย เดิมชื่อ นิติภูมิ นวรัตน์ (ชื่อเล่น: หมู; 5 มิถุนายน พ.ศ. 2503 —) เกิดที่ บ้านดงกลาง ตำบลเขาสมิง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด แต่มาเติบโตที่บ้านซึ้งล่าง ตำบลวันยาว อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี บิดาชื่อ มิ่ง อยู่พร้อม มารดาชื่อ เชื้อน อยู่พร้อม (สกุลเดิมกลิ่นอยู่ มีเชื้อสายสกุลชัชวาลย์, พูลเกษม และเจริญลาภ) มีเชื้อสายฝ่ายแม่เป็นคนจีนแซ่ลี้ และบรรพบุรุษบางสายมาจากอินเดีย เขานับถือศาสนาพุทธ จบการศึกษาระดับปริญญาเอกทางประวัติศาสตร์ จากสถาบันเอเชียและแอฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยมอสโก อดีตสหภาพโซเวียต เดิมนามสกุล อยู่พร้อม แต่เปลี่ยนมาใช้นามสกุลของบิดาบุญธรรมคือ หม่อมราชวงศ์เชาวน์ นวรัตน์ และเมื่อวันจันทร์ที่ 12 กันยายน..

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และนิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย · ดูเพิ่มเติม »

โกวิท วัฒนะ

ลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ (11 มีนาคม พ.ศ. 2490 —) อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาต.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และโกวิท วัฒนะ · ดูเพิ่มเติม »

เมืองไทยรายสัปดาห์

ื้อเหลืองของ เมืองไทยรายสัปดาห์ รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ เมื่อครั้งออกอากาศทางช่อง 9 เมืองไทยรายสัปดาห์ เป็นรายการวิเคราะห์ประเด็นข่าวรอบสัปดาห์ ดำเนินรายการโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล และนางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ เริ่มออกอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2546 ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี ต่อมา กลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 ได้ถูกระงับจากทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้ดำเนินรายการได้วิจารณ์รัฐบาล โดยโยงไปถึงสถาบันเบื้องสูง โดยผู้ผลิตได้เปลี่ยนชื่อรายการเป็น เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร และได้เปลี่ยนชื่อรายการอีกครั้ง เป็น เมืองไทยรายสัปดาห์ คอนเสิร์ตการเมือง ซึ่งเป็นการจัดรายการนอกสถานที่ มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV NEWS1 และผ่านทางอินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และเมืองไทยรายสัปดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์ 6 ตุลา

หตุการณ์ 6 ตุลา เป็นเหตุการณ์จลาจลและปราบปรามนักศึกษาและผู้ประท้วงในและบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง ขณะที่นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยกำลังชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถิติอย่างเป็นทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 46 คน ซึ่งมีทั้งถูกยิงด้วยอาวุธปืน ถูกทุบตี หรือถูกทำให้พิการHandley, Paul M. The King Never Smiles: A Biography of Thailand's Bhumibol Adulyadej.

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และเหตุการณ์ 6 ตุลา · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสทีวีผู้จัดการ

ผู้จัดการ 360° เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันภาษาไทย ในเครือผู้จัดการ วางแผง(วันจันทร์-วันเสาร์)โดยฉบับ(วันเสาร์จะควบวันอาทิตย์) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อเอเอสทีวีผู้จัดการ) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และเอเอสทีวีผู้จัดการ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ เนชั่น (ประเทศไทย)

อะเนชั่น (The Nation) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ ซึ่งตีพิมพ์จำหน่ายในประเทศไทย โดยเป็นฉบับแรกที่มีชาวไทยเป็นเจ้าของ และเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของเครือเนชั่น ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม..

ใหม่!!: แผนฟินแลนด์และเดอะ เนชั่น (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ยุทธศาสตร์ฟินแลนด์ฟินแลนด์ 42ปฏิญญาฟินแลนด์แผนการฟินแลนด์แผนการฟินแลนด์ 42

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »