โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พิภพ ธงไชย

ดัชนี พิภพ ธงไชย

งไชย พิภพ ธงไชย เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ที่ อ.ป่าโมก.

40 ความสัมพันธ์: บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษพ.ศ. 2488พ.ศ. 2535พฤษภาทมิฬพฤษภาคมพันศักดิ์ วิญญรัตน์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยการดื้อแพ่งกุหลาบ สายประดิษฐ์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมูลนิธิเด็กสมศักดิ์ โกศัยสุขสมัชชาคนจนสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์สุชาติ สวัสดิ์ศรีสุริยะใส กตะศิลาสุลักษณ์ ศิวรักษ์สงครามเวียดนามสนธิ ลิ้มทองกุลอานันท์ ปันยารชุนอำเภอป่าโมกจอน อึ๊งภากรณ์จังหวัดสงขลาจังหวัดอ่างทองจำลอง ศรีเมืองธีรยุทธ บุญมีคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติประชาชาติธุรกิจประเวศ วะสีปรีดี พนมยงค์ป๋วย อึ๊งภากรณ์นิวัติ กองเพียรเสม พริ้งพวงแก้วเหตุการณ์ 14 ตุลาเทพศิริ สุขโสภา10 กรกฎาคม

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

ริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2488

ทธศักราช 2488 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1945 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและพ.ศ. 2488 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2535

ทธศักราช 2535 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1992 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและพ.ศ. 2535 · ดูเพิ่มเติม »

พฤษภาทมิฬ

หตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองที่มีพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็น นายกรัฐมนตรี และต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นการรัฐประหาร รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกับประชาชนผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก (พลเอกสุจินดาแถลงว่ามีผู้เสียชีวิต 40 คน บาดเจ็บ 600 คน) และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เหตุการณ์ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยมีหัวหน้าคณะคือ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในขณะนั้นภายหลังการรัฐประหารได้เลือกนาย อานันท์ ปันยารชุน เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีและได้ร่างรัฐธรรมนูญจนมีการเลือกตั้งผลปรากฏว่านายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมที่ตั้งขึ้นและได้รับการสนับสนุนจากบุคคลในคณะ ร. ได้คะแนนมากที่สุด แต่สุดท้ายไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เนื่องจากถูกรัฐบาลสหรัฐขึ้นบัญชีดำจากความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด ทำให้ พล.อ.สุจินดา ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเป็นการตระบัดสัตย์ที่เคยกล่าวไว้ว่าจะไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนได้รับฉายา "เสียสัตย์เพื่อชาติ" จากสื่อมวลชนในเวลาต่อมา จากผลดังกล่าว ทำให้ประชาชนหลายส่วนไม่พอใจการขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีของพล.อ.สุจินดา ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตย จนนำไปสู่การประท้วงทั้งการอดอาหาร การเดินขบวน และการชุมนุมในสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ ทำให้รัฐบาลพล.อ.สุจินดาใช้คำสั่งสลายการชุมนุม เกิดการปะทะขึ้น มีประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงรับสั่งให้พลเอกสุจินดา คราประยูรและพลตรีจำลอง ศรีเมืองเข้าเฝ้า โดยทรงพระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ซึ่งได้มีการเผยแพร่ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นอีก 4 วัน พล.อ.สุจินดา จึงได้ประกาศลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี และนายอานันท์ ปันยารชุน ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ก่อนการเลือกตั้งในเวลาต่อมา การชุมนุมในครั้งนี้ยังเป็นการชุมนุมที่ผู้ประท้วงมีโทรศัพท์มือถือใช้สื่อสารจนถูกเรียกว่าเป็น "ม็อบมือถือ" และรวมถึงการเรียกชื่อฝั่งพรรคซึ่งแตกออกเป็น 2 ฝั่งจากผู้สื่อข่าว โดยเรียกฝั่งพรรคที่เข้าไปทางรัฐบาลของพล.อ.สุจินดา ว่า "พรรคมาร" ส่วนฝั่งพรรคที่คัดค้านการมีอำนาจของพล.อ.สุจินดา เรียกว่า "พรรคเทพ".

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและพฤษภาทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

พฤษภาคม

ษภาคม เป็นเดือนที่ 5 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนพฤษภาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีพฤษภ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีเมถุน แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนพฤษภาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวแกะและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาววัว ชื่อในภาษาอังกฤษ "May" อาจมีที่มาจากเทพเจ้ากรีกนามว่า ไมอา (Maia) ซึ่งโรมันถือเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนพฤษภาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและพฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

พันศักดิ์ วิญญรัตน์

นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านโยบายเศรษฐกิจ ในรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้อยู่เบื้องหลังนโยบายสำคัญหลายนโยบายในรัฐบาลทักษิณ 1 และทักษิณ 2 เช่น นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน (Dual Track) หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "ทักษิโณมิกส์" ในช่วงปี..

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและพันศักดิ์ วิญญรัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People's Alliance for Democracy, PAD) หรือเรียกว่า กลุ่มพันธมิตรกู้ชาติ หรือ กลุ่มคนเสื้อเหลือง เป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยที่มีบทบาทสำคัญในช่วง พ.ศ. 2548-2552 โดยเป็นการรวมตัวจากหลายองค์กรทั่วประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ภายใต้จุดประสงค์ในการขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และแสดงความต้องการให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนอย่างเปิดเผยBloomberg,, 19 December 2008 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีแกนนำคนสำคัญ ได้แก่ สนธิ ลิ้มทองกุล และพลตรีจำลอง ศรีเมือง สัญลักษณ์หลักของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีการใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์หลัก และมีการใส่เสื้อสีเหลืองพร้อมผ้าโพกศีรษะที่มีข้อความว่า "กู้ชาติ" และผ้าพันคอสีฟ้า และมีมือตบเป็นเครื่องมือสัญลักษณ์ ในปี..

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

การดื้อแพ่ง

การดื้อแพ่ง หรือ การขัดขืนอย่างสงบ (civil disobedience) หรือ "อารยะขัดขืน" เป็นรูปแบบการต่อต้านทางการเมืองอย่างสงบเพื่อกดดันให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางการเมืองที่เป็นอยู่ ในอดีต มีการใช้แนวทางดื้อแพ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านอังกฤษในประเทศอินเดีย ในการต่อสู้กับการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ในการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองของอเมริกา และในยุโรป รวมถึงประเทศแถบสแกนดิเนเวียในการต่อต้านการยึดครองของนาซี แนวคิดนี้ริเริ่มโดยเฮนรี เดวิด ธอโร นักเขียนชาวอเมริกันในบทความชื่อดื้อแพ่ง ในชื่อเดิมว่า การต่อต้านรัฐบาลพลเมือง ซึ่งแนวคิดที่ผลักดันบทความนี้ก็คือการพึ่งตนเอง และการที่บุคคลจะมีจุดยืนที่ถูกต้องเมื่อพวกเขา "ลงจากหลังของคนอื่น" นั่นคือ การต่อสู้กับรัฐบาลนั้นประชาชนไม่จำเป็นต้องต่อสู้ทางกายภาพ แต่ประชาชนจะต้องไม่ให้การสนับสนุนรัฐบาลหรือให้รัฐบาลสนับสนุนตน (ถ้าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล) บทความนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้ที่ยึดแนวทางดื้อแพ่งนี้ ในบทความนี้ทอโรอธิบายเหตุผลที่เขาไม่ยอมจ่ายภาษีเพื่อเป็นการประท้วงระบบทาสและสงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน เพื่อที่จะแสดงออกถึงดื้อแพ่ง ผู้ขัดขืนอาจเลือกที่จะฝ่าฝืนกฎหมายใดเป็นการเฉพาะ เช่น กีดขวางทางสัญจรอย่างสงบ หรือเข้ายึดครองสถานที่อย่างผิดกฎหมาย ผู้ประท้วงกระทำการจลาจลอย่างสันติเหล่านี้ โดยคาดหวังว่าพวกตนจะถูกจับกุม หรือกระทั่งถูกทำร้ายร่างกายโดยเจ้าหน้าที.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและการดื้อแพ่ง · ดูเพิ่มเติม »

กุหลาบ สายประดิษฐ์

กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือรู้จักกันดีในนามปากกาว่า ศรีบูรพา (31 มีนาคม พ.ศ. 2448 — 16 มิถุนายน พ.ศ. 2517) เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงชาวไทย เจ้าของวาทะ "ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน".

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและกุหลาบ สายประดิษฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

(Bansomdejchaopraya Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตั้งอยู่ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง (Muban Chombueng Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (Srinakharinwirot University; ชื่อย่อ: มศว - SWU) ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง" ซึ่งก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ · ดูเพิ่มเติม »

มูลนิธิเด็ก

มูลนิธิเด็ก (Foundation for Children) เป็นมูลนิธิในประเทศไทย ทำงานเพื่อช่วยเหลือ และพัฒนาเด็กและเยาวชนเป็นหลัก โดยสนับสนุนสิทธิของเด็กตามปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของเด็ก องค์การสหประชาชาติ มูลนิธิตั้งอยู่ที่ ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและมูลนิธิเด็ก · ดูเพิ่มเติม »

สมศักดิ์ โกศัยสุข

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2488 ที่ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นอดีตหนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และเป็นอดีตหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) เป็นผู้ที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นผู้นำสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ปัจจุบันเป็นหัวหน้าพรรคพรรคสังคมประชาธิปไตยไท.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและสมศักดิ์ โกศัยสุข · ดูเพิ่มเติม »

สมัชชาคนจน

มัชชาคนจน เป็นเครือข่ายชาวบ้านที่ได้รับความเดือนร้อนในประเด็นความขัดแย้งในสิทธิการใช้ทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม และเครือข่ายอื่นๆ ในช่วง พ.ศ. 2538 ได้มีการประสานงานเพื่อจัดเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างเครือข่ายระดับภาคต่างๆ ที่กำลังเคลื่อนไหวต่อสู้ เช่น สมัชชาเขื่อนแห่งชาติ เครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงานฯ เครือข่ายสลัม เครือข่ายชุมชนท้องถิ่นคัดค้านโรงไฟฟ้าพลังขยะลิกไนท์ อ.หางดง (คณะกรรมการประสานงานประชาชนเพื่อท้องถิ่น - ค.ป.ถ.) กรณีคัดค้านศูนย์ราชการโพธิ์เขียว จ.สุพรรณบุรี รวมทั้ง สมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน - สก.อ. สมัชชาคนจน ให้คำอธิบายตัวเองว่าเป็น "เครือข่ายของชาวบ้านคนยากคนจนจากชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐ ที่เกิดขึ้นท่ามกลางสงครามการแย่งชิง ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ระหว่างรัฐและภาคธุรกิจกับชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนท้องถิ่นทั้งในชนบทและในเมือง นโยบาย และโครงการพัฒนาของรัฐ กฎหมาย ฯลฯ ได้รุกรานวิถีชีวิตปกติ ละเมิดสิทธิในการจัดการทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น ทำลายวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย" ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (วันสิทธิมนุษยชนสากล) สมัชชาคนจนได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีตัวแทนชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบทั้งในประเทศ และอีก 10 ประเทศในทวีปเอเชีย ได้เข้าร่วมในการก่อตั้ง ภายใต้ "คำประกาศลำน้ำมูล" หรือ "ปฏิญญาปากมูล" ที่ร่างโดยตัวแทนของเครือข่าย ณ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี วัตถุประสง์ในการรวมเป็นเครือข่าย สมัชชคนจน ก็เพื่อเป็นเวทีรวมพลังแห่งความร่วมมือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ประสานความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน "เรามีความเห็นร่วมกันว่า แนวความคิดที่สนับสนุนแต่เพียงการเติบโตทางเศรษฐกิจของรัฐ และภาคธุรกิจเอกชน เป็นแนวคิดที่เป็นอันตรายต่อประชาชนและต่อการพัฒนาสังคม จึงถือเป็นการจำเป็นอย่างเร่งด่วน ที่จะต้องได้รับการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงทัศนะ ความคิด ยุทธศาสตร์ และการปฏิบัติในกระบวนการพัฒนาทั้งของรัฐและบรรษัทธุรกิจเอกชนเสียใหม่ ตามแนวทางที่จะมุ่งไปสู่ความก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติที่ไร้พรมแดน" คำประกาศลำน้ำมูล, 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ในช่วงแรกสมัชชาคนจน จัดโครงสร้างของเครือข่าย โดยมีคณะกรรมการที่มาจากกลุ่มปัญหาที่ได้รับผลกระทบ 16 กลุ่มๆ ละ 1 คน ตัวแทนภาคๆ ละ 1 คน กรรมการตัวแทนเครือข่ายต่างประเทศ 1 คน ด้านสิ่งแวดล้อม 2 เครือข่าย ลักษณะของเครือข่ายสมัชชาคนจน ประกอบด้วย ชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่น ชาวบ้านที่ประสบกับปัญหาความขัดแย้ง อาศัยอยู่ในเขตป่า คนจนในเมือง ฯลฯ กับพันธมิตรที่เป็นคนชั้นกลางในเมือง ประกอบด้วย นักอนุรักษ์ NGOs นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา ฯลฯ ซึ่งรวมกันเป็นเครือข่ายและร่วมกันเคลื่อนไหวต่อสู้ เพื่อปกป้องสิทธิและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติร่วมกัน สมัชชาคนจนถือได้ว่าเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและสมัชชาคนจน · ดูเพิ่มเติม »

สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์

'''ผศ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า อาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2493 ที่ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีการศึกษาบัณฑิต(กศ.บ.)สาขาภาษาไทย-ประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระดับปริญญาโทศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต(ศศ.ม.) สาขาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และเป็นแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.).

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ · ดูเพิ่มเติม »

สุชาติ สวัสดิ์ศรี

ติ สวัสดิ์ศรี นักเขียนเจ้าของนามปากกา สิงห์สนามหลวง ผู้ก่อตั้ง รางวัลช่อการะเกด เกิดวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ที่ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ่อเป็นหมอเสนารักษ์ แม่เป็นชาวนา จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) สาขาประวัติศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2509 สมรสแล้วกับ นางวรรณา สวัสดิ์ศรี (ทรรปนานนท์) นักเขียนเจ้าของนามปากกา "ศรีดาวเรือง" มีบุตรด้วยกัน สุชาติ เคยประกอบอาชีพหลากหลาย ตั้งแต่เป็น ครูโรงเรียนราษฎร์ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักเขียน บรรณาธิการนิตยสาร บรรณาธิการสำนักพิมพ์ ร่วมก่อตั้งกลุ่มวรรณกรรม ร่วมก่อตั้งกลุ่มละคร ที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมฯ เป็นผู้ก่อตั้งรางวัลช่อการะเกด และก่อตั้งสำนักช่างวรรณกรรม นอกจากผลงานด้านวรรณกรรม สุชาติ สวัสดิ์ศรียังมีผลงานศิลปะจากการศึกษาด้วยตัวเอง โดยจัดแสดงเป็นนิทรรศการศิลปะแล้วหลายครั้ง ในเหตุการณ์ 14 ตุลา เขาเป็นบรรณาธิการ วารสารรายสามเดือนของสมาคม สังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย สุชาติ สวัสดิ์ศรี ได้รับยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์เมื่อปี..

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและสุชาติ สวัสดิ์ศรี · ดูเพิ่มเติม »

สุริยะใส กตะศิลา

ริยะใส กตะศิลา เป็นรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต, และเป็นผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 สุริยะใสเป็นหนึ่งในแกนนำและเป็นผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ต่อมาได้เข้าเป็นเลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ก่อนจะลาออกจากพรรคเนื่องจากมีความขัดแย้งภายในพรรค ในช่วงวิกฤตการณ์การเมือง..

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและสุริยะใส กตะศิลา · ดูเพิ่มเติม »

สุลักษณ์ ศิวรักษ์

150x150px สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (เกิด 27 มีนาคม พ.ศ. 2475) เจ้าของนามปากก.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและสุลักษณ์ ศิวรักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

สนธิ ลิ้มทองกุล

นธิ ลิ้มทองกุล (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 —) เป็น ประธานที่ปรึกษาสำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ นักหนังสือพิมพ์ นักเขียน ผู้ก่อตั้งและเจ้าของหนังสือพิมพ์ในเครือผู้จัดการ ผู้ดำเนินรายการกลางแจ้ง เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ที่ปรึกษาสำนักพิมพ์ซุปเปอร์บันเทิง อดีตผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางช่อง 9 อสมท. และอดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เดิมเขาเคยเป็นผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร อย่างแข็งขัน แต่ต่อมาเป็นผู้นำขบวนการต่อต้านทักษิณ ช่วงต้น..

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและสนธิ ลิ้มทองกุล · ดูเพิ่มเติม »

อานันท์ ปันยารชุน

อานันท์ ปันยารชุน (เกิด 9 สิงหาคม พ.ศ. 2475 —) นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 18 และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา และประเทศเยอรมนี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 และพฤษภาทมิฬ เขายังได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจ ประจำปี..

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและอานันท์ ปันยารชุน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอป่าโมก

อำเภอป่าโมก เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและอำเภอป่าโมก · ดูเพิ่มเติม »

จอน อึ๊งภากรณ์

อน อึ๊งภากรณ์ จอน อึ๊งภากรณ์ (เกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2490) ที่ปรึกษาศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ หรือเว็บไซด์ http://freedom.ilaw.or.th/ อดีตกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ด้านประชาสังคม อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานครที่ทำงานอย่างต่อเนื่องด้านสังคมและการสนับสนุนองค์กรพัฒนาเอกชน เป็นผู้ก่อตั้ง มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและจอน อึ๊งภากรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสงขลา

งขลา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ตอนล่าง.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและจังหวัดสงขลา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอ่างทอง

ังหวัดอ่างทอง เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น ตุ๊กตาชาววัง งานจักสาน เป็นต้น.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและจังหวัดอ่างทอง · ดูเพิ่มเติม »

จำลอง ศรีเมือง

ลตรี จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ 2 สมัย ผู้ก่อตั้ง และหัวหน้าพรรคพลังธรรมคนแรก เป็นแกนนำของผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ปี..

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและจำลอง ศรีเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ธีรยุทธ บุญมี

ตราจารย์ ธีรยุทธ บุญมี (เกิด 10 มกราคม พ.ศ. 2493) เป็นนักวิชาการ นักวิจารณ์การเมือง และนักเขียนรางวัลศรีบูรพา อดีตเลขาธิการ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา เคยเป็นอาจารย์ประจำ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ สาขามานุษยวิทยา ในปี..

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและธีรยุทธ บุญมี · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ

ณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) (อังกฤษ: Campaign for Popular Media Reform - CMPR) เป็นเครือข่ายของนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาชีพสื่อ และภาคประชาสังคม ที่ร่วมกันติดตามและผลักดันการปฏิรูปสื่อ โดยเริ่มแรกใช้ชื่อ คณะทำงานติดตามมาตรา 40 ตามมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่ว่าด้วยทรัพยากรคลื่นความถี่เพื่อการสื่อสาร ปัจจุบันคป.ยุติบทบาทลงแล้ว.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย

ณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ตัวย่อ: ครป. Campaign for Popular Democracy-CPD) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรณรงค์ให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2521 ให้เป็นประชาธิปไตย ซึ่งได้ยุติบทบาทลงเมื่อปี พ.ศ. 2526 แต่เมื่อเกิดรัฐประหารโดยคณะ รสช. ขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 องค์กรสิทธิมนุษยชนองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และนักศึกษาจึงได้กลับมารวมตัวกันรื้อฟื้น ครป.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ

ณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ หรือ กอ. (The National Reconciliation Commission) เป็นคณะกรรมการที่เกิดขึ้นจากคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548 เนื่องจากที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทั้งทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมาเป็นเวลาช้านาน แต่ได้ประสบปัญหาความรุนแรงมาโดยตลอด แม้ว่ารัฐบาลทั้งในอดีตและปัจจุบันจะได้พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมุ่งหมายให้เกิดสันติสุขขึ้น แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่หมดไป สมควรที่จะให้บุคคลจากส่วนต่าง ๆ ของสังคม มาร่วมแรงร่วมใจกันหาทางยุติปัญหาดังกล่าวของประเทศในระยะยาว เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ สันติสุข และความยุติธรรมขึ้นอย่างแท้จริง ประธานกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ได้แก่ นายอานันท์ ปันยารชุน, นายประเวศ วะสี เป็นรองประธานกรรมการ, เลขานุการ คือ ร.สุริชัย หวันแก้ว และ นายโคทม อารียา, มีกรรมการอิสระเป็นจำนวนทั้งสิ้น 48 คน แบ่งเป็น.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ประชาชาติธุรกิจ

ประชาชาติธุรกิจ เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายสามวันในเครือมติชน โดยจะมีสองฉบับในหนึ่งสัปดาห์ คือฉบับวันจันทร์ (วางแผงวันอาทิตย์) และฉบับวันพฤหัสบดี (วางแผงวันพุธ) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อรวมประชาชาติรายวัน) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจฉบับแรกๆ ที่ใช้กระดาษปอนด์ขาว และแบ่งเนื้อหาเป็นส่วนต่างๆ ตามรูปแบบของหนังสือพิมพ์ธุรกิจในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและประชาชาติธุรกิจ · ดูเพิ่มเติม »

ประเวศ วะสี

ตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ประเวศ วะสี ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดลกรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการ สภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ราษฎรอาวุโส เป็นนักวิชาการด้านสาธารณสุข และนักวิชาการเกี่ยวกับการศึกษา ทั้งเป็นผู้สนับสนุนงานค้นคว้าวิจัยต่างๆที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิต นายแพทย์ประเวศ วะสี เกิดเมื่อวันที่ ตำบลเกาะสำโรง บนฝั่งลำน้ำแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายคลายและนางกิม วะสี ศึกษาชั้นมูลฐานในวัยเยาว์ที่โรงเรียนวัดเหนือ ชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนประชาบาลตำบลเกาะสำโรง ชั้นมัธยมที่โรงเรียนวิสุทธรังษี จนถึง..

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและประเวศ วะสี · ดูเพิ่มเติม »

ปรีดี พนมยงค์

ตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและปรีดี พนมยงค์ · ดูเพิ่มเติม »

ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ตราจารย์ พันตรี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (ชื่อจีน: 黃培謙 Huáng Péiqiān 9 มีนาคม พ.ศ. 2459 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เป็นอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีอายุน้อยที่สุด ด้วยวัย 43 ปี 3 เดือน และได้ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดถึง 12 ปี 2 เดือน 4 วัน เป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนที่ 10 และเป็นผู้แต่งหนังสือ "คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" ป๋วย เกิดและเติบโตจากคนจีน ด้วยฐานะที่ไม่ร่ำรวย เขาจึงดิ้นรนต่อสู้อุปสรรคในชีวิตต่างๆ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยเข้าร่วมพันธมิตรกับญี่ปุ่น ป๋วยก็ได้ร่วมก่อตั้งคณะเสรีไทยขึ้นในอังกฤษ และได้พยายามเจรจาไกล่เกลี่ยกับรัฐบาลอังกฤษให้ยอมรับขบวนการเสรีไทย มีครั้นหนึ่งที่ป๋วยเสี่ยงชีวิตในการลอบกระโดดร่มเข้าไทย ณ บ้านวังน้ำขาว จังหวัดชัยนาท จนได้ชื่อว่าเป็น “วีรบุรุษวังน้ำขาว” เมื่อสงครามยุติลง ประเทศไทยจึงไม่ถือเป็นผู้แพ้สงคราม ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เขาก็ได้รับหน้าที่เป็นทั้งผู้ว่าธนาคารแห่งชาติ รวมถึงยังได้รับตำแหน่งทั้งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ป๋วยได้แสดงความกล้าหาญ หลายครั้งโดยเฉพาะการส่งจดหมายในนาม "นายเข้ม เย็นยิ่ง" ถึงจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยให้กับสังคม จุดประกายให้กับขบวนการ 14 ตุลาคม 2516 ด้วยความที่เขาได้รับการชื่นชมมากมายจากสังคม ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ป๋วยก็ถูกทั้งฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา ออกมาโจมตีกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ จนในที่สุดก็ต้องออกเดินทางลี้ภัยไปต่างประเทศ และเสียชีวิตลงในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ที่ประเทศอังกฤษ สเตฟาน คอลินยองส์ (Stefan Collingnon) นักวิชาการร่วมสมัยชาวเยอรมัน ได้กล่าวยกย่องป๋วยว่าเป็น "บิดาของเมืองไทยสมัยใหม่" (Founding Father of Modern Thailand) ในฐานะผู้วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ป๋วยได้รับ รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ในปี พ.ศ. 2508 และได้รับการยกย่องจากองค์กรยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในปี พ.ศ. 2558.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและป๋วย อึ๊งภากรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวัติ กองเพียร

นิวัติ กองเพียร (5 ธันวาคม พ.ศ. 2489 —) เป็นชาวจังหวัดอำนาจเจริญ จบการศึกษาระดับมัธยมตอนต้นจากโรงเรียนทวีธาภิเศก จากนั้นจึงไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง จากนั้นเดินทางไปทำงานและเรียนศิลปะที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ระหว่างปี 2520 - 2522 เมื่อครั้งที่ยังเป็นคอลัมนิสต์ ประจำนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ ได้รับฉายาว่า "เกจินู้ด" เพราะเขียนคอลัมน์ที่เป็นเนื้อหาวิจารณ์ภาพเปลือย นอกจากนั้น นิวัติ ยังเคยเป็น บรรณาธิการบริหารนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ด้วย ปัจจุบัน นิวัติ ได้เลิกทำงานให้กับเครือมติชนแล้ว (สาเหตุยังไม่ชัดเจน) และได้หันมาเปิดเว็บไซต์แนวอี-แม็กกาซีน ชื่อ http://www.niwatkongpien.com เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่ชื่นชอบงานเขียนของเขา ขณะเดียวกัน ยังดำรงตำแหน่งเป็นบรรณาธิการบริหารของหนังสือเพลงดนตรีอีกด้วย ในทางการเมืองและสังคม เป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่ลงชื่อคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอม กิตติขจร ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา ไม่นาน หมวดหมู่:คอลัมนิสต์ หมวดหมู่:นักหนังสือพิมพ์ชาวไทย หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนทวีธาภิเศก หมวดหมู่:บุคคลจากวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์ หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดอำนาจเจริญ‎‎ หมวดหมู่:บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลา.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและนิวัติ กองเพียร · ดูเพิ่มเติม »

เสม พริ้งพวงแก้ว

ตราจารย์ นายแพทย์ เสม พริ้งพวงแก้ว (31 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณ..

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและเสม พริ้งพวงแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์ 14 ตุลา

หตุการณ์ 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์การก่อการกำเริบโดยประชาชนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นเหตุการณ์ที่มีนักศึกษาและประชาชนมากกว่า 5 แสนคนชุมนุมเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร นำไปสู่คำสั่งของรัฐบาลให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม ระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก เหตุการณ์ครั้งนี้ได้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่สะสมก่อนหน้านี้หลายประการทั้ง ข่าวการทุจริตในรัฐบาล การพบซากสัตว์ป่าจากอุทยานในเฮลิคอปเตอร์ทหาร การถ่ายโอนอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจรต่อจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลทหารเข้าปกครองประเทศนานเกือบ 15 ปี และรวมถึงการรัฐประหารตัวเอง พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการปกครองในระบอบเผด็จการทหารและต้องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยขึ้น การประท้วงเริ่มขึ้นอย่างเด่นชัดเมื่อมีการตีพิมพ์ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" ออกเผยแพร่ทำให้เกิดความสนใจในหมู่ประชาชน สู่การเดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษาในสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯ จนถูกทหารควบคุมตัว ภายหลังเป็นที่รู้จักกันในฐานะ "13 ขบถรัฐธรรมนูญ" ทำให้เกิดความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนเป็นอย่างมาก เกิดการประท้วงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่การเดินประท้วงในถนนราชดำเนิน โดยมีประชาชนทยอยเข้าร่วมจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลได้ทำการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้มีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ ในเวลาต่อมาจอมพลถนอม กิตติขจรก็ได้ประกาศลาออกและได้เดินทางออกต่างประเทศรวมถึง.อ.ณรงค์ กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร กลุ่มบุคคลที่ประชาชนในสมัยนั้นเรียกว่า "3 ทรราช" เหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นการลุกฮือของประชาชนครั้งแรกที่เรียกร้องประชาธิปไตยไทยสำเร็จและยังถือเป็นการรวมตัวของประชาชนมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ เกาหลีใต้ในเหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู เป็นต้นหนังสือ มาร์ค เขาชื่อ...

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและเหตุการณ์ 14 ตุลา · ดูเพิ่มเติม »

เทพศิริ สุขโสภา

ทพศิริ สุขโสภา เทพศิริ สุขโสภา นักเขียน จิตรกรชาวไทย เกิดที่จังหวัดสุโขทัยเมื่อ..

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและเทพศิริ สุขโสภา · ดูเพิ่มเติม »

10 กรกฎาคม

วันที่ 10 กรกฎาคม เป็นวันที่ 191 ของปี (วันที่ 192 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 174 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พิภพ ธงไชยและ10 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »