โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระราชวังโทพคาปึ

ดัชนี พระราชวังโทพคาปึ

ระราชวังโทพคาปึ (Topkapı Sarayı, Topkapı Palace) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ที่เมืองอิสตันบูลในประเทศตุรกีที่เดิมเป็นที่ประทับหลักของสุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมันเป็นเวลราว 400 ในช่วง 600 ปีที่มีอำนาจ ระหว่างปี..

16 ความสัมพันธ์: พิพิธภัณฑสถานมรดกโลกมุฮัมมัดวังสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมันสถาปัตยกรรมบาโรกอิสตันบูลองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติจักรวรรดิออตโตมันจักรวรรดิไบแซนไทน์จิตรกรรมฝาผนังคอนสแตนติโนเปิลซินานประเทศตุรกีเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร3 เมษายน

พิพิธภัณฑสถาน

ท้องฟ้าจำลอง พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ พิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้แห่งแรกของโลก ตั้งอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส หอศิลป์อุฟฟีซี เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในอิตาลี เกาะพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่เบอร์ลิน พิพิธภัณฑ์บริติช ตั้งอยู่ที่ลอนดอน พิพิธภัณฑ์อินเดีย ตั้งอยู่ที่โกลกาตา ประเทศอินเดีย เป็นพิพิธภัณฑเก่าและใหญ่ที่สุดในอินเดีย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฟินแลนด์ ตั้งอยู่ที่เฮลซิงกิ พิพิธภัณฑสถาน หรือ พิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารหรือสถาบัน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาวัตถุที่มนุษย์ทำขึ้น.

ใหม่!!: พระราชวังโทพคาปึและพิพิธภัณฑสถาน · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: พระราชวังโทพคาปึและมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด

นบีมุฮัมมัด หรือ มุหัมมัด หรือ พระมะหะหมัด (محمد แปลว่า ผู้ได้รับการสรรเสริญ) เป็นนบีคนสุดท้ายของศาสนาอิสลาม ที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้ง ท่านมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น มุสตอฟา, ฏอฮา, ยาซีน และ อะฮฺมั.

ใหม่!!: พระราชวังโทพคาปึและมุฮัมมัด · ดูเพิ่มเติม »

วัง

้านหน้าของพระราชวังดุสิต วัง หรือ พระราชวัง เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยของประมุขของประเทศหรือผู้นำผู้มีตำแหน่งสูงในหลายประเทศในยุโรปเช่นประเทศฝรั่งเศส และ อิตาลี นอกจากนั้นยังเป็นคำที่ใช้สำหรับสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่แต่ไม่จำเป็นต้องใหญ่มากในตัวเมืองที่สร้างสำหรับเจ้านาย หรือผู้มีตระกูล ในปัจจุบันวังหรือพระราชวังหลายแห่งเปลี่ยนไปใช้เป็นพิพิธภัณฑ์หรือสำนักงานรัฐบาล หรือโรงแรม.

ใหม่!!: พระราชวังโทพคาปึและวัง · ดูเพิ่มเติม »

สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน

ลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน หรือ สุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิต (Mehmed II หรือ Fatih Sultan Mehmet) (30 มีนาคม ค.ศ. 1432 – 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1481) เป็นสุลต่านหรือพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิออตโตมันผู้ครองราชย์สองครั้ง ครั้งแรกระหว่างปี ค.ศ. 1444 จนถึงปี ค.ศ. 1446 และครั้งที่สองระหว่างปี ค.ศ. 1451 จนถึงปี ค.ศ. 1481 เมื่อมีพระชนมายุได้ 21 สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ก็ทรงตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453 ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์ หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงดำเนินการศึกต่อไปและทรงได้รับชัยชนะในเอเชียซึ่งเป็นการรวมอานาโตเลีย และทรงได้รับชัยชนะในยุโรปไปจนถึงเบลเกรด พระปรีชาสามารถทางด้านการบริหารคือการผสานระบบการบริหารของจักรวรรดิไบแซนไทน์ให้เข้ามาอยู่ในระบบเดียวกับจักรวรรดิออตโตมัน.

ใหม่!!: พระราชวังโทพคาปึและสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมบาโรก

วิหารซุพเพอร์กา (Basilica di Superga) ใกล้เมืองตูริน ประเทศอิตาลี โดย ฟิลิโป คูวารา (Filippo Juvarra) วิการตกแต่งภายในของวัดวีส์ ประเทศเยอรมนี ที่แสดงถึงความแยกไม่ออกระหว่างประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมบาโรก (ภาษาอังกฤษ: Baroque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ประเทศอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งถึงความหรูหราโอ่อ่าและความมีอำนาจของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครอง และจะเน้นเรื่องแสง สี เงา และคุณค่าของประติมากรรม ขณะที่สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบันคาทอลิกต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: พระราชวังโทพคาปึและสถาปัตยกรรมบาโรก · ดูเพิ่มเติม »

อิสตันบูล

อิสตันบูล (ตุรกี: İstanbul) เดิมชื่อ คอนสแตนติโนเปิล เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศตุรกี ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบบอสฟอรัส ซึ่งทำให้อิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญเพียงเมืองเดียวในโลก ที่ตั้งอยู่ใน 2 ทวีป คือ ทวีปยุโรป (ฝั่ง Thrace ของบอสฟอรัส) และทวีปเอเชีย (ฝั่งอานาโตเลีย) ข้อมูลปี 2007 จังหวัดอิสตันบูลมีประชากรประมาณ 11,372,613 คน ในอดีต อิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญของชนเผ่าจำนวนมากในบริเวณนั้น จึงส่งผลให้อิสตันบูลมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ไบแซนไทน์, คอนสแตนติโนเปิล, สแตมโบล, อิสลามบูลเป็นต้น คำว่า อิสตันบูล มาจากภาษากรีก แปลว่า "ในเมือง" หรือ "ของเมือง".

ใหม่!!: พระราชวังโทพคาปึและอิสตันบูล · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: พระราชวังโทพคาปึและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

ใหม่!!: พระราชวังโทพคาปึและจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: พระราชวังโทพคาปึและจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมฝาผนัง

วาติกัน, โรม ประเทศอิตาลี จิตรกรรมฝาผนังโดยดิโอนิเซียส (Dionisius) เล่าเรื่องนักบุญนิโคลัส จิตรกรรมฝาผนัง จากมหากาพย์ “ไตรภูมิดานเต” ของดานเตโดยโดเมนิโค ดิ มิเคลลิโน (Domenico di Michelino) ที่มหาวิหารฟลอเรนซ์ จิตรกรรมฝาผนังจากบาวาเรียประเทศเยอรมนี “ที่ฝังศพของนักดำน้ำ” พบเมื่อปีค.ศ. 1968 (470 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จิตรกรรมฝาผนังจากอจันตา (Ajanta) คริสต์ศตวรรษที่ 6 จิตรกรรมฝาผนังโคลาของนักรำที่ Brihadisvara Temple ประมาณ ค.ศ. 1100 จิตรกรรมฝาผนัง (ภาษาอังกฤษ: Mural painting) คือภาพเขียนหลายชนิดที่เขียนบนปูนบนผนังหรือเพดาน เทคนิคที่นิยมกัน คือ การวาดภาพบนผนังปูนปลาสเตอร์เปียก (fresco) โดยที่คำว่า “fresco” มาจากภาษาอิตาลี “affresco” ซึ่งมาจากคำว่า “fresco” หรือ “สด” รากศัพท์มาจากภาษาเยอรมัน.

ใหม่!!: พระราชวังโทพคาปึและจิตรกรรมฝาผนัง · ดูเพิ่มเติม »

คอนสแตนติโนเปิล

แผนที่คอนสแตนติโนเปิล คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople, (กรีก: Κωνσταντινούπολις (Konstantinoúpolis) หรือ ἡ Πόλις (hē Pólis), ภาษาละติน: CONSTANTINOPOLIS, ภาษาออตโตมันตุรกี (ทางการ): قسطنطينيه Konstantiniyye) คอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง (กรีก: Βασιλεύουσα (Basileúousa)) ของจักรวรรดิโรมัน ระหว่างปี ค.ศ. 330 ถึง ค.ศ. 395; ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ระหว่างปี ค.ศ. 395 ถึง ค.ศ. 1204 และระหว่างปี ค.ศ. 1261 ถึง ค.ศ. 1453; ของจักรวรรดิละติน ระหว่างปี ค.ศ. 1204 ถึง ค.ศ. 1261); และของจักรวรรดิออตโตมัน ระหว่างปี..

ใหม่!!: พระราชวังโทพคาปึและคอนสแตนติโนเปิล · ดูเพิ่มเติม »

ซินาน

ซินาน หรือมีชื่อเต็มว่า โคกา มิมาร์ ซินาน อากา (Koca Mimar Sinan Agha - Ḳoca Mi‘mār Sinān Āġā (Ottoman Turkish: قوجه معمار سنان آغا) อีกชื่อที่เรียกกันคือ มิมาร์ ซินาน (15 เมษายน, ค.ศ. 1489 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1588) เป็น สถาปนิกหลวง (Chief architect) แห่งจักรวรรดิออตโตมัน ในสมัยสุลต่านเซลิมที่ 1, สุลต่านเซลิมที่ 2 และสุลต่านมูราดที่สาม ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของเขาคือ มัสยิดเซลิมที่เมืองเอเดอร์เน แต่งานที่ทำให้เขามีชื่อเสียงที่สุดคือ คือ มัสยิดสุไลมานในเมืองอิสตันบูล ซินานยังนับได้ว่าเป็น วิศวกรแผ่นดินไหวคนแรกของโลกอีกด้วย มัสยิด เซลิมี (Selimiye Mosque) สร้างโดย ซินาน ในปี ค.ศ. 1575 ที่เมืองเออร์ดี ประเทศ ตุรกี ภาพ ซินาน ใน ธนบัตรแบบเก่าของตุรกี มิมาร์เป็นชาวคริสต์โดยกำเนิด มาจากครอบครัวในอานาโตเลียที่เมืองเล็กๆ ชื่อ อากีร์นา(Ağırnas) ใกล้กับเมือง กีเซอรี (Kayseri) สันนิษฐานว่าครอบครัวมีสายเลือดกรีก หรืออาร์มีเนีย ในปี ค.ศ.1511 เขาได้ถูกครอบครัวส่งตัวมาตามธรรมเนียมการส่งลูกชายคนหัวปีเพื่อให้ไป รับใช้ในอาณาจักรผู้ปกครอง ให้มาใช้แรงงานใน อาณาจักรอ๊อตโตมาน ที่เมืองอิสตันบูล โดย ณ ที่นี้ เขาได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม มิมาร์ได้มีโอกาสรับใช้ขุนนางผู้ใหญ่ปาร์กาลิ อิบราฮิม ปาชาผู้เป็นมหาเสนาบดี (Grand Vizier İbrahim Paşa) และได้ถูกสนับสนันให้เล่าเรียนในสังกัดของขุนนางผู้นี้ และได้รับการตั้งชืออิสลามว่า "ซินาน" หลังจากนั้นเขาก็ได้รับการเล่าเรียนเกี่ยวกับการก่อสร้าง สามปีผ่านไปก็มีฝีมือแกร่งกล้าขึ้น จนได้เข้าร่วมกับกองทัพของสุลต่าน เซลิม ที่หนึ่ง ในช่วงแผนขยายดินแดนของอาณาจักร ซินานได้รับราชการทหารทำงานในกองวิศวกรรม (engineering corps) เมื่อครั้งอาณาจักรออตโตมัน เข้ายึดกรุงไคโรได้เป็นผลสำเร็จ ซินานได้รับการเลื่อนขั้นให้เป็นสถาปนิกเอก โดยรับหน้าที่รื้อถอนอาคารที่ไม่ตรงกับผังเมือง เขายังได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้บัญชาการกองพันทหารราบ (commander of an infantry division) แต่เขาก็ขอย้ายตัวเองไปอยู่กองสรรพาวุธแทน ในครั้งที่มีการทำสงครามกับอาณาจักรเปอร์เซีย ในปี 1535 ซินานรับผิดชอบในการสร้างกองเรือ ข้ามทะเลสาบ แวน เนื่องด้วยความชอบดังกล่าว ทำให้เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นราชองครักษ์ (Haseki'i หรือ Sergeant-at-Arms) ในองค์สุลต่าน ซึ่งเป็น ยศที่สูงมาก งานสถาปัตยกรรมชิ้นแรกของ ซินาน คือ มัสยิด เซเซด (Şehzade Mosque) สร้างในปี ค.ศ.1548 เขาได้ทำการก่อสร้าง มัสยิดสุไลมาน (Süleymaniye Mosque) ในปี ค.ศ.1550 สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1557. ก่อนหน้านี้ ไม่มีอาคารมัสยิดแห่งใด้ที่สร้างด้วยหลังคา Dome on Pendentives โดยใช้หลักการเดียวกับ มัสยิด เฮเจีย โซเฟีย (Hagia Sophia)มาก่อน ซินานได้เขียน ประวัติชีวิตของตัวเอง ชื่อ “Tezkiretü’l Bünyan”, โดยได้กล่าวถึงงาน ส่วนตัว เกี่ยวกับ มัสยิดเซลิมี โดยมีส่วนหนึ่งในหนังสือ บันทึกไว้ว่า เมื่อครั้งหนึ่ง ซินานได้มีโอกาสพบปะกับสถาปนิกชาวคริสเตียน สถาปนิกคนนี้ได้กล่าวเยาะเย้ยซินานว่า "ท่านไม่มีทางที่จะสร้างโดมที่ใหญ่กว่าโดมของเฮเจีย โซเฟียได้ โดยเฉพาะในฐานะที่ท่านเป็นมุสลิม" คำพูดประโยคนั้น เป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้ซินานสร้างมัสยิด เซลิมี ขึ้นมา และเมื่อโครงการสำเร็จลง ซินานได้บันทึกไว้ว่า มัสยิดเซลิมี มีโดมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทิ้ง เฮเจีย โซเฟียไปมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความสูงจากระดับพื้นของ มัสยิดเซลิมี นั้นไม่ได้สูงเท่า เฮเจีย โซเฟีย และ เส้นผ่าศูนย์กลางของโดมก็ใหญ่กว่าเพียงครึ่งเมตร (เทียบกับโดมที่อายุเก่าแก่กว่าถึงพันปีอย่าง เฮเจีย โซเฟีย) อย่างไรก็ตาม หากนับจากฐานของมัสยิดแล้ว เซลิมี ก็มีความสูงมากกว่า และมีคุณสมบัติของความเสถียรมากกว่า และมีการใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่มีความเรียบง่ายมากกว่า ในขณะที่ มัสยิดเซลิมี เสร็จลงนั้น ซินานมีอายุ 80 ปี ซินาน เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1588 ศพของเขาได้รับการฝังไว้ใน หลุมศพนอกกำแพงของ มัสยิดสุไลมาน (Süleymaniye Mosque) ในส่วนพื้นที่ทางเหนือ ตรงข้ามกับถนนชื่อ มิมาร์ ซินาน คาเดซิ (Mimar Sinan Caddesi) ซึ่งได้รับการตั้งชื่อให้เป็นเกียรติกับเขา นอกจากนี้ชื่อของเขายังได้รับการนำไปตั้งกับแอ่งบนดาวพุธ (crater on Mercury) อีกด้วย หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2032 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวตุรกี หมวดหมู่:สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 หมวดหมู่:วิศวกรชาวตุรกี หมวดหมู่:ชาวตุรกี.

ใหม่!!: พระราชวังโทพคาปึและซินาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: พระราชวังโทพคาปึและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

Aberdeen Bestiary) (folio 4v) การตกแต่งตัวพยัญชนะตัวแรกและขอบอย่างวิจิตรใน “หนังสือกำหนดเทศกาล” ของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1400 เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (Illuminated manuscript) หรือหนังสือตัวเขียนสีวิจิตร คือเอกสารตัวเขียนที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสรรค์เช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม งานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่นๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามอาราม เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะทำกันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรก ๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภายเขียนย่อส่วนแต่การพิมพ์ทำให้ ศิลปะการทำเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริงๆ เท่านั้น นอกจากเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้วก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น.

ใหม่!!: พระราชวังโทพคาปึและเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

3 เมษายน

วันที่ 3 เมษายน เป็นวันที่ 93 ของปี (วันที่ 94 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 272 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระราชวังโทพคาปึและ3 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Topkapi MuseumTopkapı PalaceTopkapı Sarayıพระราชวังโทพคาปิพิพิธภัณฑ์โทพคาปิ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »