โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พิดจิน

ดัชนี พิดจิน

น (Pidgin เดิมชื่อ Gaim) เป็นโปรแกรมรับส่งข้อความด่วน (เมสเซนเจอร์) ที่ทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ และสนับสนุนโพรโทคอลในการพูดคุยหลายชนิด พิดจินเป็นซอฟต์แวร์เสรี และใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL.

26 ความสัมพันธ์: ฟรีบีเอสดีกูเกิล ทอล์กภาษาซีภาษาซีชาร์ปภาษาไพทอนภาษาเพิร์ลระบบส่งข้อความทันทีระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ลินุกซ์วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์สัญญาอนุญาตสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ข้ามแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์เสรีแมคโอเอสโพรโทคอลโอล์มไมโครซอฟท์ วินโดวส์ไอซีคิวเอกซ์เอ็มพีพีเอโอแอลเอ็กซ์วินโดวซิสเต็มเอเดียมIRCSession Initiation Protocol

ฟรีบีเอสดี

ฟรีบีเอสดี (FreeBSD) คือซอฟต์แวร์เสรีซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่เหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) สืบทอดมาจาก AT&T UNIX ผ่านทางสายของ Berkeley Software Distribution (BSD) คือ 386BSD และ 4.4BSD ฟรีบีเอสดีรองรับการทำงานบนซีพียูตระกูลหลักๆ หลายตระกูลด้วยกัน นอกจากตระกูล X86 ของอินเทลที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ก็ยังมี DEC Alpha, UltraSPARC ของ Sun Microsystems, Itanium (IA-64), AMD64 และ PowerPC ส่วนของตระกูลรองได้แก่คอมพิวแตอร์สถาปัตยกรรมแบบ PC-98 การรองรับสำหรับตระกูล ARM และ MIPS กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา จุดเด่นที่สำคัญของฟรีบีเอสดีคือประสิทธิภาพและเสถียรภาพ โลโก้ดั้งเดิมและตัวมาสคอตของโครงการฟรีบีเอสดีคือตัวดีม่อนสีแดงซึ่ง มาร์แชล เคิร์ก แมคคูสิก (Marshall Kirk McKusick) เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การพัฒนาฟรีบีเอสดีเป็นแบบเบ็ดเสร็จทั้งระบบปฏิบัติการ กล่าวคือทั้งเคอร์เนล ยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้เช่น เชลล์ และดีไวซ์ไดรเวอร์อยู่ในทรีของระบบควบคุมเวอร์ชันของซอร์สโค้ด (CVS) เดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากลินุกซ์ที่มีการพัฒนาเฉพาะส่วนของเคอร์เนลโดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง ส่วนของยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้พัฒนาโดยกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มในโครงการของกนูและนำมารวมเข้าด้วยกันกับโปรแกรมประยุกต์กลายเป็นดิสทริบิวท์ชั่นซึ่งนำมาเผยแพร่ให้ผู้ใช้ได้ใช้กัน ฟรีบีเอสดีได้รับการยกย่องว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่มีชื่อเสียงทางด้านเสถียรภาพและความอึด (แต่ไม่อืด) จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รันเซิร์ฟเวอร์อย่างแพร่หลาย ข้อยืนยันนี้ดูได้จากรายงานอัพไทม์ (เวลาจากการรีบูตครั้งล่าสุด) ในรายการ 50 อันดับของเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีอัพไทม์นานที่สุดก็มฟรีบีเอสดีและBSD/OS ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งนี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความมั่นคงของฟรีบีเอสดีว่า ตลอดเวลาการปฏิบัติงานอันยาวนานนี้นอกจากจะไม่มีการแครชแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องมีการอัปเดตเคอร์เนลแต่อย่างใด (หลังจากอัพเกรดเคอร์เนลจำเป็นต้องรีบูต).

ใหม่!!: พิดจินและฟรีบีเอสดี · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล ทอล์ก

กูเกิลทอล์ก (Google Talk) เป็นโปรแกรมประยุกต์สำหรับวีโอไอพีและเมสเซนเจอร์ พัฒนาโดยกูเกิล รุ่นทดสอบรุ่นแรกได้เริ่มแจกจ่ายเมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เมสเซนเจอร์ในกูเกิลทอล์กได้ใช้โพรโทคอลเปิด ชื่อว่า XMPP ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานที่มีความหลากหลายภายใต้ XMPP สามารถสื่อสารกันได้ วีโอไอพีในกูเกิลทอล์กอยู่บนพื้นฐานของ Jingle โพรโทคอล นอกจากนี้กูเกิลทอล์กสามารถใช้งานผ่านแกเจตได้ โดยทำงานผ่านอะโดบี แฟล.

ใหม่!!: พิดจินและกูเกิล ทอล์ก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซี

ษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมและมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์ ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์) และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อม..

ใหม่!!: พิดจินและภาษาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซีชาร์ป

ษาซีชาร์ป (C♯ Programming Language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบหลายโมเดล ที่ใช้ระบบชนิดข้อมูลแบบรัดกุม (strong typing) และสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงกระบวนการ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (แบบคลาส) และการเขียนโปรแกรมเชิงส่วนประกอบ พัฒนาเริ่มแรกโดยบริษัทไมโครซอฟท์เพื่อทำงานบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดยมีแอนเดอร์ เฮลส์เบิร์ก (Anders Hejlsberg) เป็นหัวหน้าโครงการ และมีรากฐานมาจากภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอื่นๆ (โดยเฉพาะภาษาเดลไฟและจาวา) โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสมัยใหม่ที่ไม่ซับซ้อน ใช้งานได้ทั่วไป (general-purpose) และเป็นเชิงวัตถุเป็นหลัก ปัจจุบันภาษาซีซาร์ปมีการรับรองให้เป็นมาตรฐานโดยเอ็กมาอินเตอร์เนชันแนล (Ecma International) และองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยารมาตรฐาน (ISO) และมีรุ่นล่าสุดคือ C♯ 5.0 ที่ออกมาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม..

ใหม่!!: พิดจินและภาษาซีชาร์ป · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไพทอน

ษาไพทอน (Python programming language) เป็นภาษาระดับสูง.

ใหม่!!: พิดจินและภาษาไพทอน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเพิร์ล

right ภาษาเพิร์ล (Perl) (ย่อมาจาก Practical Extraction and Report Language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก พัฒนาโดยนายแลร์รี วอลล์ (Larry Wall) ในปี ค.ศ. 1987 เพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ภาษาเพิร์ล นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โครงสร้างของภาษาจึงไม่ซับซ้อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาซี นอกจากนี้เพิร์ลยังได้แนวคิดบางอย่างมาจากเชลล์สคริปต์, ภาษา AWK, sed และ Lisp ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ 5.18.0.

ใหม่!!: พิดจินและภาษาเพิร์ล · ดูเพิ่มเติม »

ระบบส่งข้อความทันที

ระบบส่งข้อความทันที หรือ ไอเอ็ม (instant messaging, IM) คือระบบการส่งข้อความ ระหว่างสองคน หรือกลุ่มคนใน เน็ตเวิร์ก เดียวกัน เช่น การส่งข้อความผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยโปรแกรมที่ทำงานอาจเรียกว่า เมสเซนเจอร์ (messenger) การทำงานของระบบส่งข้อความทันทีจำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์ลูกข่าย โดยซอฟต์แวร์ทำการเชื่อมต่อระบบที่บริการเมสเซนเจอร์ การส่งข้อความผ่านระบบส่งข้อความทันทีในยุคแรก ตัวอักษรแต่ละตัวที่ทำการพิมพ์จะปรากฏทางหน้าจอของผู้ที่ส่งข้อความด้วยทันที ในขณะเดียวกัน การลบตัวอักษรแต่ละตัว จะลบข้อความทันที ซึ่งแตกต่างกับระบบส่งข้อความทันทีในปัจจุบัน โดยข้อมูลที่ปรากฏจะเกิดขึ้นหลังจากที่มีตกลงยอมรับส่งข้อความแล้ว ในปัจจุบันเมสเซนเจอร์ที่ได้รับความนิยมได้แก่ LINE WeChat MSN Messenger AOL Instant Messenger Yahoo! Messenger Google Talk.NET Messenger Service Jabber และ ICQ.

ใหม่!!: พิดจินและระบบส่งข้อความทันที · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์

ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ (Unix-like operating system) เป็นคำเรียกระบบปฏิบัติการที่คล้ายคลึงกับยูนิกซ์ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องตรงตามนิยามหรือได้รับการรับรองตาม Single UNIX Specification ก็ได้ คำว่า "ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์" ครอบคลุม.

ใหม่!!: พิดจินและระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.

ใหม่!!: พิดจินและลินุกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์

วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ (Windows Live Messenger หรือ WLM) เป็นโปรแกรมประเภทเมสเซนเจอร์ ซึ่งเป็นฟรีแวร์ จากไมโครซอฟท์ สำหรับวินโดวส์ เอกซ์พี วินโดวส์ วิสตา และวินโดวส์โมบาย ซึ่งก่อนหน้านี้จะรู้จักกันในชื่อของ "เอ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์" (MSN Messenger) และยังเป็นที่นิยมอย่างสูงในประเทศไทย ผู้ใช้มักยังเรียกสั้น ๆ ว่า "เอ็มเอสเอ็น"หรือ"เอ็ม" ตามชื่อเก่า วินโดวส์ไลฟ์เมสเซนเจอร์ เป็นส่วนหนึ่งของชุดบริการออนไลน์วินโดวส์ไลฟ์ สามารถรองรับระบบปฏิบัติการ วินโดวส์เอ็กพี ขึ้นไป รุ่นเสถียรล่าสุดคือ 14.0.8117.416 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นรุ่นที่รองรับทั้งหมด 34 ภาษา และเป็นรุ่นแรกที่รองรับการแสดงผลภาษาไทย ซึ่งประเทศไทยมีผู้ใช้ วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์อยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน โดยส่งข้อความโดยเฉลี่ย 70 ล้านข้อความต่อวัน หรือประมาณ 2.2 พันล้านข้อความต่อเดือน ในวันที่ 8 เมษายน..

ใหม่!!: พิดจินและวินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาต

สัญญาอนุญาต (AmE: license; BrE: licence; ศัพท์บัญญัติว่า ใบอนุญาต) ตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (ได้แก่ ลิขสิทธิ์, เครื่องหมายการค้า, สิทธิบัตร) หมายถึง การที่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วหรือได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ทำการอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของตนสำหรับสินค้าที่กฎหมายได้คุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ สำหรับกรณีของเครื่องหมายการค้า สัญญาอนุญาตต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ในสัญญาอนุญาตต้องมีการกำหนดเงื่อนไขที่จะทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าของผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาตได้ ในกรณีที่มีการกำหนดเงื่อนไขว่า ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องรับสินค้าจากเจ้าของเครื่องหมายการค้าไปจำหน่ายเท่านั้น กรณีนี้ การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวถือเป็นสัญญาตัวแทนจำหน่าย ไม่ถือว่าเป็นการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าที่จะต้องมาจดทะเบียนสัญญาอนุญาต และไม่ใช่สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า หมวดหมู่:เอกสารทางกฎหมาย.

ใหม่!!: พิดจินและสัญญาอนุญาต · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู

รื่องหมายการค้าของกนู สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู หรือ กนูจีพีแอล หรือ จีพีแอล (GNU General Public License, GNU GPL, GPL) เป็นสัญญาอนุญาตสำหรับซอฟต์แวร์เสรี ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน ฉบับแรกสุดเขียนโดย ริชาร์ด สตอลล์แมน เริ่มต้นใช้กับโครงการกนู ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991).

ใหม่!!: พิดจินและสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู · ดูเพิ่มเติม »

ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้

วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface, UI) หมายถึง สิ่งที่มีไว้ให้ผู้ใช้ใช้ในการกระทำกับระบบหรือสิ่งของต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครื่องจักร เครื่องกล อุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าใดๆ หรือระบบที่มีความซับซ้อนอื่นๆ เพื่อให้สิ่งๆนั้นทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้สามารถจัดได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ได้แก.

ใหม่!!: พิดจินและส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ · ดูเพิ่มเติม »

ข้ามแพลตฟอร์ม

้ามแพลตฟอร์ม หรือ หลายแพลตฟอร์ม (Cross-platform) หมายถึงการที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ หรือ ซอฟต์แวร์ชนิดอื่น ๆ สามารถทำงานได้ในหลายแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้บนไมโครซอฟท์วินโดวส์ สำหรับสถาปัตยกรรม x86 และ Mac OS X บน PowerPC สวัสดี.

ใหม่!!: พิดจินและข้ามแพลตฟอร์ม · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์เสรี

ปรแกรมจัดการภาพกิมป์ และวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการโดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.

ใหม่!!: พิดจินและซอฟต์แวร์เสรี · ดูเพิ่มเติม »

แมคโอเอส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พิดจินและแมคโอเอส · ดูเพิ่มเติม »

โพรโทคอล

รโทคอล (สืบค้นออนไลน์) (protocol) หรือศัพท์บัญญัติว่า เกณฑ์วิธี คือข้อกำหนดซึ่งประกอบด้วยกฎต่าง ๆ สำหรับรูปแบบการสื่อสารเฉพาะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย ทำงานได้ด้วยกันทั้งระบบ คล้ายกับมนุษย์สามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารถึงกันได้.

ใหม่!!: พิดจินและโพรโทคอล · ดูเพิ่มเติม »

โอล์ม

อล์ม (Olm, Human fish) เป็นซาลาแมนเดอร์ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์หมาน้ำ (Proteidae) จัดเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Proteus (เคยมีอีกชนิดหนึ่ง คือ P. bavaricus สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ยุคไพลสโตซีน) โอล์ม เป็นซาลาแมนเดอร์รูปร่างประหลาดกว่าซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน กล่าว คือ มีรูปร่างเพรียวยาวเหมือนปลาไหลหรืองู มากกว่าจะเป็นซาลาแมนเดอร์ ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร ผิวหนังขาวซีด ไม่มีเม็ดสี รวมทั้งไม่มีตา เนื่องจากใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำที่มีแต่ความมืด ไม่มีแสงสว่างส่องเข้ามาถึง จึงหายไปเนื่องจากไม่ได้ใช้ประโยชน์ ขาเล็กสั้น นิ้วตีนหน้ามี 3 นิ้ว และตีนหลัง 2 นิ้ว ซึ่งเป็นการลดรูปของอวัยวะที่ไม่ได้ใช้งาน มีส่วนปากยื่นยาวและแผ่กว้าง ซึ่งเป็นประสาทสัมผัส โอล์ม กระจายพันธุ์เฉพาะในน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 8 องศาเซลเซียส ในถ้ำลึกของทวีปยุโรป แถบยุโรปกลาง และยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ เช่น สโลเวเนีย, โครเอเชีย เช่น ถ้ำโพสทอยน่าในสโลเวเนีย โดยหลบซ่อนอยู่ตามหลืบหินหรือซอกต่าง ๆ ใต้น้ำ เมื่อแรกเจอ โอล์มถูกเชื่อว่าเป็นลูกของมังกร ซึ่งพ่อแม่ของมังกรหลบอยู่ในส่วนลึกของถ้ำเข้าไปอีก นอกจากนี้ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลามนุษย์" จากการที่มีผิวขาวเหมือนชาวผิวขาว ซึ่งมาจากภาษาสโลเวเนีย คำว่า človeška ribica และภาษาโครเอเชีย คำว่า čovječja ribica โอล์ม มีความไวต่อแสงมาก แม้จะไม่มีตา แต่ก็มีประสาทสัมผัสที่ดีมาก ตลอดจนมีประสาทรับรู้รสในปาก เมื่อโตเต็มที่แล้ว แต่ก็ยังคงรูปร่างเมื่อยังเป็นตัวอ่อนอยู่ คือ ไม่มีเปลือกตา มีเหงือกขนาดใหญ่เห็นเป็นพู่เหงือก และมีช่องเปิดเหงือก 2 ช่อง มีแผ่นครีบหาง มีการขยายพันธุ์ด้วยการปฏิสนธิในตัว ตัวเมียวางไข่จำนวน 50-70 ฟอง นอกจากนี้แล้ว ในปี ค.ศ. 1986 ได้มีการค้นพบโอล์มดำ (P. a. parkelj) ซึ่งเป็นชนิดย่อยของโอล์ม มีส่วนปากสั้นกว่าโอล์ม แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นชัดเจน คือ มีตาขนาดเล็กเห็นชัดเจน และสีผิวที่คล้ำกว่า รวมทั้งมีความกระฉับกระเฉงว่องไวกว่า มีความยาว 40 เซนติเมตรเท่ากัน โอล์มดำ เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่พบได้ในลำธารใต้ดินใกล้กับเมือง คอร์โนเมลจ์ ในสโลเวเนียเท่านั้น การขยายพันธุ์ของโอล์มดำนั้น ยังไม่เป็นที่ทราบกันโดยแน่ชัดThe Human Fish, "Nick Baker's Weird Creatures".

ใหม่!!: พิดจินและโอล์ม · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

มโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้.

ใหม่!!: พิดจินและไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอซีคิว

อซีคิว (ICQ เป็นคำพ้องเสียงกับ I seek you) เป็นโปรแกรมสำหรับการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พัฒนาโดยบริษัท Mirabilis แห่งประเทศอิสราเอล ในปี พ.ศ. 2539 จากนั้นถูกบริษัท AOL (American Online) แห่งสหรัฐอเมริกาซื้อกิจการไป ปัจจุบันเป็นของบริษัท Mail.ru Group แห่งประเทศรัสเซีย ICQ เคยได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2543 มีการพัฒนาไปถึงรุ่นที่ 8 สามารถทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ.

ใหม่!!: พิดจินและไอซีคิว · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์เอ็มพีพี

อกซ์เอ็มพีพี (XMPP: Extensible Messaging and Presence Protocol โพรโทคอลรับส่งและแสดงข้อความขยายได้) เดิมชื่อ แจบเบอร์ (Jabber) เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการส่งข้อความด่วน (instant messaging) ที่ใช้ภาษา XML เป็นหลัก ปัจจุบันใช้ในโปรแกรมส่งข้อความด่วน Google Talk รวมถึงโปรแกรมพูดคุยแบบ VoIP อย่าง Gizmo5.

ใหม่!!: พิดจินและเอกซ์เอ็มพีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอโอแอล

อโอแอล (AOL) ย่อมาจาก American Online, Inc เป็นบริษัทอเมริกันที่ให้บริการทางด้านมัลติมีเดีย ของ Time Warner AOL เป็นผู้ให้บริการข้อมูลทางเครือข่ายรายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ให้บริการในรูปแบบของศูนย์ BBS และให้บริการเข้าใช้อินเทอร์เน็ตนับตั้งแต่ปี 1993 และนับเป็นศูนย์บริการเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา America Online เปิดให้บริการที่ออกแบบมาอย่างดีและใช้งานง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย รวมไปถึงเนื้อหาสาระที่มีให้บริการในขอบเขตที่กว้างขวาง การให้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การให้บริการอินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐาน ผู้ขาย HW และ SW จำนวนมากจัดเก็บ SW และสถานที่รับความคิดเห็น โดยงดเว้นการใช้คำเฉพาะด้านที่จำเป็น ข่าวสารและการพยากรณ์อากาศจากสำนักข่าวรอยเตอร์และยูพีไอ รวมไปถึงเรื่องกีฬา งานอดิเรก เกม และการชอปปิ้งแบบออนไลน์ก็มีด้วย อีกอย่างหนี่ง มีแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ และบริการ ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เช่น Mapquest แผนที่ออนไลน์ที่ทำให้สามารถหาสถานที่ได้ง่ายดายรวดเร็ว T9 Text Input ซอฟต์แวร์ใช้กับมือถือ icq บริการ Instant Messaging รายแรกๆของโลก ปัจจุบันมีบริการถึง 19 ภาษา Moviefone เว็บท่าข้อมูลหนัง และดีวีดี ออนไลน์ที่มีผู้เยี่ยมชมสูง รวมทั้งเบราเซอร์อย่าง Netscape และโปรแกรมฟังเพลงอย่าง Winamp ปัจจุบัน AOL Time Warner มีพนักงานทั้งหมดประมาณ 19,000 คน มีสมาชิกออนไลน์มากกว่า 32 ล้านราย นอกจากนั้น ยังเป็นเจ้าของเคเบิลทีวีรายใหญ่ของโลก ทั้ง CNN และ HBO รวมทั้งเป็นเจ้าของ Warner Bros.

ใหม่!!: พิดจินและเอโอแอล · ดูเพิ่มเติม »

เอ็กซ์วินโดวซิสเต็ม

X Window System (อาจรู้จักในชื่อ X11 หรือ X) เป็นระบบการแสดงผลหน้าต่างแบบบิตแมปในคอมพิวเตอร์ X Window เป็นระบบ GUI มาตรฐานของระบบปฏิบัติการในตระกูลยูนิกซ์ และ OpenVMS ระบบ X นั้นเตรียมส่วนประกอบพื้นฐานของระบบ GUI เช่น การวาดและเคลื่อนย้ายหน้าต่างบนหน้าจอคอมพิวเตอร์, การทำงานร่วมกับคีย์บอร์ดและเมาส์ แต่ไม่ได้ยุ่งกับส่วนติดต่อผู้ใช้โดยตรง ปล่อยให้โปรแกรมแต่ละตัวที่ทำงานบน X ทำหน้าที่นี้อย่างอิสร.

ใหม่!!: พิดจินและเอ็กซ์วินโดวซิสเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

เอเดียม

อเดียม (Adium) เป็นโปรแกรมเมสเซนเจอร์บนระบบปฏิบัติการ Mac OS X สนับสนุนโพรโทคอลการพูดคุยหลายชนิด โดยพัฒนามาจากไลบรารี libpurple โปรแกรมพัฒนาขึ้นด้วย API ของ Mac OS X ที่ชื่อ Cocoa และใช้วิธีการพัฒนาแบบซอฟต์แวร์เสรี มีสัญญาอนุญาตใช้งานเป็น GPL.

ใหม่!!: พิดจินและเอเดียม · ดูเพิ่มเติม »

IRC

IRC อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พิดจินและIRC · ดูเพิ่มเติม »

Session Initiation Protocol

Session Initiation Protocol (SIP) คือ โพรโทคอลหรือเกณฑ์วิธีเพื่อใช้งานด้านมัลติมีเดีย เช่น การส่งข้อมูลเสียงหรือวีดีโอบนเครือข่าย IP ได้รับการพัฒนาโดย IETF และ SIP ถือว่าเป็นโพรโทคอลที่เหนือกว่าโพรโทคอลอื่นในแง่ของการที่สามารถปรับใช้และนำไปพัฒนาได้ง่ายกว่า โดยตัวโพรโทคอลเองมีความสามารถในการสร้าง (create), ปรับ (modify) และ ยกเลิก (terminate) การติดต่อสื่อสารระหว่างโหนดที่เป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (unicast) หรือแบบกลุ่ม (multicast) ได้ ซึ่ง SIP สามารถปรับเปลี่ยนที่อยู่ (address), หมายเลขพอร์ต, เพิ่มสายผู้สนทนา และสามารถเพิ่มหรือลดการส่งข้อมูลมิเดีย (media stream) บางประเภทได้ ตัวอย่างของโปรแกรมประยุกต์ (application) ที่อาศัย SIP ในการเชื่อมต่อ เช่น การประชุมด้วยวิดีโอ (video conferencing), การกระจายข้อมูลภาพและเสียง (streaming multimedia distribution), การส่งข้อความด่วน (instant messaging), การส่งไฟล์ (file transfer) และ เกมออนไลน์ เป็นต้น SIP ถูกออกแบบโดยนาย Henning Schulzrinne และนาย Mark Handly ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พิดจินและSession Initiation Protocol · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Gaim

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »