โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วัชราจารยะ

ดัชนี วัชราจารยะ

วัชราจารยะหรือพัชราจารยะ วัชราจารยะ หรือ พัชราจารยะ (Vajracharya, Bajracharya) เป็นปุโรหิตในคติศาสนาพุทธแบบเนวารซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของนิกายวัชรยาน ถือกำเนิดขึ้นหลังการเสื่อมโทรมของกฎเกณฑ์ที่พระสงฆ์ที่ถือพรหมจรรย์ และการก่อกำเนิดขึ้นของนิกายวัชรยาน ชาวเนวารจะเรียกบรรพชิตนี้ว่า คุรุ-ชุ (Guru-ju) หรือ คุ-ภาชุ (Gu-bhāju) ที่ย่อจากมาจากคำว่า คุรุภาชุ (Guru Bhāju) ซึ่งคำว่า "คุรุ" เป็นคำสันสกฤตแปลว่า ครูหรือผู้สั่งสอน ทั้งนี้วัชราจารยะหรือพัชราจารยะถือเป็นวรรณะสูงสุดของชาวเนวารที่นับถือศาสนาพุทธ ก่อนจะเป็นคุรุชุขั้นสูง คนวรรณะวัชราจารยะจะต้องผ่านพิธีกรรมหลายประการ หนุ่มวัชราจารยะจะต้องผ่านพิธีกรรมเบื้องต้นที่เรียกว่า "พัชรวิเศขะ" (Bajravishekha) ต้องปลงผม บิณฑบาตอย่างน้อยเจ็ดวันในสถานที่ต่าง ๆ ตามอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในหนังสือ กำเนิดใหม่พุทธศาสนา: นิกายเถรวาทในเนปาลช่วงศตวรรษที่ 20 (Rebuilding Buddhism: The Theravada Movement in Twentieth-century Nepal) พบความสัมพันธ์ด้านวินัยสงฆ์ระหว่างชายสกุลวัชราจารยะกับสกุลศากยะ "ต่างจากวัชราจารยะ ชายศากยะจะไม่เป็นปุโรหิตสำหรับใคร ๆ แต่ผู้ชายวัชราจารยะจะเป็นสมาชิกในอารามศาสนาพุทธแบบเนวารที่เรียกอย่างสมเกียรติว่า 'วิหาร' และถูกเรียกขานว่า 'พหะ' (baha) หรือ 'พหี' (bahi) ตราบเท่าที่ชายศากยะและวัชราจารยะยังมีบทบาทในอาราม พวกเขาเป็นนักบวช แต่ในทางปฏิบัติแล้วพวกเขาสมรสและเป็นนักบวชแค่บางเวลาเท่านั้น" ทั้งนี้นักวิชาการพุทธศาสนาสมัยใหม่ในเนปาลเป็นวัชราจาร.

5 ความสัมพันธ์: ภาษาสันสกฤตวัชรยานศาสนาพุทธแบบเนวารคุรุนักบวช

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: วัชราจารยะและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

วัชรยาน

วัชรยาน (Vajrayāna) มันตรยาน (Mantrayāna) คุยหยาน (Esoteric Buddhism) หรือ ตันตรยาน (Tantric Buddhism) เป็นศาสนาพุทธแบบคุยหลัทธิ ที่สืบทอดขนบความเชื่อและการปฏิบัติแบบตันตระมาจากอินเดียสมัยกลาง วัชรยาน หมายถึง ยานเพชร ซึ่งผู้ศรัทธาในสายนี้เชื่อว่าเป็นยานที่ประเสริฐกว่าหีนยานและมหายาน.

ใหม่!!: วัชราจารยะและวัชรยาน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธแบบเนวาร

ูปในวัดสวยัมภูนาถ ศาสนสถานที่มีชื่อของพุทธศาสนิกชนเนวาร วัชราจารยะ ขณะประกอบพิธีทางศาสนา ศาสนาพุทธแบบเนวาร (Newar Buddhism) คือพุทธศาสนานิกายวัชรยานรูปแบบหนึ่งที่ปฏิบัติในหมู่ชาวเนวาร ชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณหุบเขากาฐมาณฑุในประเทศเนปาล ซึ่งพัฒนากลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งในวิถีของชาวเนวาร มีเอกลักษณ์พิเศษคือไม่มีสังคมสงฆ์ มีการจัดชั้นวรรณะและมีลำดับการสืบสายบิดาตามแบบชาวเนวาร แม้ศาสนาพุทธแบบเนวารจะไม่มีพระสงฆ์แต่จะมีปุโรหิตที่เรียกว่าคุรุชุเป็นสื่อกลางในการประกอบพิธีกรรม บุคคลที่มาจากตระกูลวัชราจารยะหรือพัชราจารยะ (Vajracharya, Bajracharya) จะประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแก่ผู้อื่น และตระกูลศากยะ (Shakya) จะประกอบพิธีกรรมที่ส่วนใหญ่มักทำภายในครอบครัว โดยศาสนาจะได้รับการอุปถัมภ์จากคนวรรณะอุราย (Uray) และคนในวรรณะดังกล่าวยังอุปถัมภ์ศาสนาพุทธแบบทิเบต นิกายเถรวาท หรือแม้แต่นักบวชญี่ปุ่นด้วย ศาสนาพุทธแบบเนวารเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงศตวรรษที่ 15 อันเป็นช่วงเวลาที่ศาสนาพุทธในกัศมีร์และอินโดนีเซียเสื่อมโทรม แม้ปัจจุบันศาสนาพุทธแบบเนวารจัดเป็นศาสนาดั้งเดิมที่ถือปฏิบัติในหุบเขากาฐมาณฑุ มีศาสนิกชนเนวารคิดเป็นร้อยละ 15.31 จากจำนวนชาวเนวารทั้งหมด แต่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้กลับมามีบทบาทในเนปาลอีกครั้งตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: วัชราจารยะและศาสนาพุทธแบบเนวาร · ดูเพิ่มเติม »

คุรุ

คุรุ (गुरु) หรือ กูรู (guru) หมายถึง ครู หรือ อาจารย์ ถ้าแยกศัพท์ออกมาแล้ว จะมีสองคำ คือ คำว่า คุ ซึ่งแปลว่า แสงสว่าง (เป็นผู้ชี้ทางแสงสว่าง) และคำว่า รุ แปลว่า ความมืดมน (เป็นผู้ขจัดความเขลาที่มืดมน) ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู มาจากปรัชญาความเชื่อในความสำคัญของการเข้าถึงความรู้ โดยมี คุรุ หรือ อาจารย์เป็นผู้ชักนำไปสู่จุดสูงสุด ในประเทศอินเดียในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู และซิกข์ คำ คุรุ นี้ยังคงความหมายของความศักดิ์สิทธิ์ เช่น คุรุนานัก คุรุปัทมสัมภวะ คุรุนาคารชุน อนึ่ง คำว่า คุรุ นี้มีการทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ โดยสะกดว่า "guru" ซึ่งหากทับศัพท์มาใช้ในภาษาไทย ก็จะต้องเขียน "คุรุ" ซึ่งมีศัพท์นี้อยู่แล้วในภาษาไทย เช่น คุรุสภา, คุรุศึกษา เป็นต้น (ในภาษาบาลีใช้ "ครุ" เช่น ครุศาสตร์, ครุภัณฑ์) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีความนิยมใช้คำว่า คุรุ นี้ในเชิงการบริหารและการศึกษา หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขานั้นๆ คุรุ ในภาษาสันสกฤตนั้นยังใช้หมายถึง พฤหัสบดี ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง ซึ่งตรงกับเทพเจ้าจูปิเตอร์ของชาวโรมันนั่นเอง ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูนั้น ดาว จูปีเตอร์/คุรุ/พฤหัสบดี ถือว่าเป็นดาวที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ในภาษาต่างๆ ของอินเดีย คำว่า พฤหัสปติวาร(วันพฤหัสบดี) จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าว่า คุรุวาร(วันคุรุ) โดย วาร นั้นหมายถึงวัน คุรุ ในอินเดียในทุกวันนี้ใช้ในความหมายทั่วไป หมายถึง "ครู" ในประเทศตะวันตก คุรุ ยังใช้ในความหมายที่กว้างขึ้นหมายถึง บุคคลที่เผยแพร่ศาสนา หรือ กลุ่มความเชื่อตามปรัชญาต่างๆ คำนี้ยังใช้ในความหมายเชิงอุปมา หมายถึงบุคคลผู้ซึ่งอยู่ในสถานะที่เชื่อถือได้ เนื่องมาจากความรู้ และความชำนาญ ที่เป็นที่ประจักษ์และยอมรับ หมวดหมู่:การศึกษา หมวดหมู่:คำยืม หมวดหมู่:ภาษาไทย.

ใหม่!!: วัชราจารยะและคุรุ · ดูเพิ่มเติม »

นักบวช

นักบวช หรือ บรรพชิต เป็นผู้สละชีวิตฆราวาสเข้าพิธีบวชตามลัทธิศาสนาต่าง ๆพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: วัชราจารยะและนักบวช · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วัชราจารย์พัชราจารย์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »