โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าโจวไท่

ดัชนี พระเจ้าโจวไท่

ระเจ้าโจวไท่ (แปลว่า มหาราชแห่งโจว) หรือ กู่กงตั่นฟู่ (แปลว่า พระยาตั่นฟู่ผู้ชรา) เป็นผู้ปกครองและกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองโจวในช่วงราชวงศ์ซาง ต่อมา เหลนของพระองค์ผู้มีพระนามว่า ฟา (發) หรือ พระเจ้าโจวอู่ ได้ยกทัพเข้าครอบครองเมืองซางและสถาปนาราชวงศ์โจว.

11 ความสัมพันธ์: มณฑลชานซีราชวงศ์ชางราชวงศ์โจวราชวงศ์เซี่ยหวงตี้อู๋จ้งยงอู๋ไท่ปั๋วจะเข้ซือหม่า เชียนแท่นบูชาเม่งจื๊อ

มณฑลชานซี

นซี ตามสำเนียงกลาง หรือ ซัวไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ชื่อย่อ จิ้น (晋) เป็นมณฑลหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของแม่น้ำเหลืองในภาคเหนือของประเทศจีน คำว่า "ชานซี" แปลตรงตัวว่า ทิศตะวันตกของภูเขา เนื่องจากมณฑลตั้งอยู่ทางตะวันตกของภูเขาไท่หัง มีเมืองเอกชื่อ ไท่หยวน มีเนื้อที่ 156,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 33,350,000 คน ความหนาแน่น 213 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 304.2 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9120 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: พระเจ้าโจวไท่และมณฑลชานซี · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชาง

ราชวงศ์ชาง (Shang dynasty) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์เซี่ย ปกครองดินแดนแถบแม่น้ำเหลืองเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล บางครั้งเรียกว่า "ราชวงศ์อิน" (Yin dynasty) ราชวงศ์นี้เป็นยุคแห่งไสยศาสตร์โดยแท้ นิยมการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่ากันมาก จากหลักฐานที่ขุดได้ พบเป็นแผ่นจารึกตัวอักษรโบราณ และเศษกระดองเต่า มีรอยแตกอยู่ทั่วไป แสดงถึงความเชื่อในอำนาจแห่งสวรรค์ ถือว่าทุกสิ่ง สวรรค์เป็นผู้กำหนด ราชวงศ์ชางมีกษัตริย์ 30 องค์ กษัตริย์องค์สุดท้ายชื่อ พระเจ้าอินโจวหรือ โจ้ว (ติวอ๋อง) ซึ่งในประวัติศาสตร์ประณามไว้ว่า เป็นคนโหดร้ายทารุณมาก นิยมการสงคราม และหลงใหลในอิสตรี โดยเฉพาะสนมเอกชื่อ ต๋าจี หรือขันกี ซึ่งเป็นคนวิปริตผิดมนุษย์ คอยยุยงให้โจ้วฆ่าคนเป็นผักปลา สร้างสระเหล้าดงเนื้อขึ้น (เอาน้ำเหล้ามาใส่ในสระ แล้วเอาเนื้อสัตว์มาห้อยไว้ตามต้นไม้) ต่อมาโจวอู่หวัง เจ้าผู้ครองแคว้นโจวทางตะวันตก ได้ยกทัพมาปราบโจ้วอ๋อง โดยอ้างว่า ได้รับ "อาณัติ" หรือ "เทียนมิ่ง" จากสวรรค์ให้มาปราบ และได้ชัยชนะ โจ้วอ๋องจึงฆ่าตัวตายโดยกระโดดลงกองไฟ แต่จริง ๆ แล้ว นักประวัติศาสตร์ยังไม่แน่ใจนัก ว่าโจ้วอ๋องจะโหดร้ายเช่นนั้นจริงหรือไม่ เพราะไม่มีหลักฐานชัดเจน รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับต๋าจีด้วย เรื่องราวในตอนท้ายราชวงศ์ชางนี้ ได้มีการนำไปแต่งเป็นนิยายหลายเรื่อง หนึ่งในเรื่องนั้นก็คือ "นาจา" และ "เทพประยุทธ์พิชิตฟ้า" นั่นเอง และหนังสือพงศาวดารชื่อว่า "ฮ่องสิน" โดยจะเน้นหนักไปทางอิทธิปาฏิหาริย์เสียมาก หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:ราชวงศ์ชาง หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในศตวรรษที่ 16 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประวัติศาสตร์จีน.

ใหม่!!: พระเจ้าโจวไท่และราชวงศ์ชาง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โจว

ราชวงศ์โจว หรือ ราชวงศ์จิว (ภาษาอังกฤษ:Zhou Dynasty, ภาษาจีนกลาง:周朝, พินอิน: Zhōu Cháo) ราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์จีน เริ่มประมาณ 1123 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 256 ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุด ด้วยเวลาที่ยาวนานกว่า 867 ปี มีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นการสู้รบระหว่างแว่นแคว้น การกำเนิดของปรัชญาเมธีหลายท่าน เช่น ขงจื๊อ, เล่าจื๊อ, ซุนวู เป็นต้น ในยุคชุนชิว.

ใหม่!!: พระเจ้าโจวไท่และราชวงศ์โจว · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เซี่ย

ตแดนราชวงศ์เซี่ย (สีเหลือง) ราชวงศ์เซี่ย (ภาษาอังกฤษ: Xia Dynasty) (ภาษาจีนกลาง: 夏朝) (พินอิน: xià cháo) เป็นราชวงศ์แรกของจีน ปกครองประเทศจีนในช่วง 2100-1600 ปีก่อนคริสตกาล มีอายุอยู่ได้ราว 500 ปี ในอดีตนักวิชาการและบุคคลโดยทั่วไปเชื่อว่าเรื่องราวของราชวงศ์เซี่ยเป็นเพียงเรื่องแต่งหรือปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมา แต่ปัจจุบันมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เชื่อถือได้ ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าโจวไท่และราชวงศ์เซี่ย · ดูเพิ่มเติม »

หวงตี้

หวงตี้ หรือ จักรพรรดิเหลือง (黃帝) เป็นหนึ่งในกษัตริย์ตามตำนานจีนและวีรบุรุษทางวัฒนธรรมHelmer Aslaksen, section (retrieved on 2011-11-18) เป็นหนึ่งในซานหวงอู่ตี้ ตำนานระบุว่า จักรพรรดิเหลืองครองราชย์ตั้งแต่ 2697 – 2597 หรือ 2696 – 2598 ปีก่อนคริสตกาลHerbert Allen Giles (1845–1935), A Chinese Biographical Dictionary (London: B. Quaritch, 1898), p. 338; cited in.

ใหม่!!: พระเจ้าโจวไท่และหวงตี้ · ดูเพิ่มเติม »

อู๋จ้งยง

้งยง เป็นกษัตริย์องค์ที่สองของแคว้นอู๋ในสมัยจีนโบราณตามประวัติศาสตร์ดั้งเดิม ชื่อสกุลของเขาคือ "จี" (姬) และชื่อตัวคือ "ยง" ส่วน "จ้ง" นั้นเป็นบรรดาศักดิ์สำหรับราชบุตรองค์ที่สองของพระเจ้าโจวไท่ (周太王) กับพระนางเจียง (Lady Jiang) ตามประวัติศาสตร์ดั้งเดิม จี้ลี่ (季歷) ราชบุตรองค์สุดท้องของพระเจ้าโจวไท่ มีสติปัญญาและกำลังเข้มแข็ง ถึงขนาดที่องค์ชายจ้งยงและองค์ชายไท่ปั๋ว (泰伯) ยอมให้องค์ชายจี้ลี่สืบบัลลังก์ของบิดา แล้วพากันไปก่อตั้งแคว้นอู๋ในลุ่มแม่น้ำแยงซีแทน แค้วนอู๋ดังกล่าวตั้งขึ้นที่เมืองเหมย์หลี่ (梅里) ซึ่งต่อมาได้พัฒนาทั้งด้านเกษตรกรรมและระบบชลประทานเป็นอย่างมาก องค์ชายไท่ปั๋วเป็นกษัตริย์อู๋องค์แรก แต่ไร้รัชทายาท องค์ชายจ้งยง พระอนุชา จึงครองราชย์ต่อ เมื่อองค์ชายจ้งยงสิ้นพระชนม์แล้ว ลูกหลานก็ขึ้นเป็นกษัตริย์แคว้นอู๋สืบกันม.

ใหม่!!: พระเจ้าโจวไท่และอู๋จ้งยง · ดูเพิ่มเติม »

อู๋ไท่ปั๋ว

ท่ปั๋ว () เป็นพระโอรสพระองค์แรกของพระเจ้าโจวไท่ (周太王) และเป็นผู้ก่อตั้งแคว้นอู๋ วันประสูติและสวรรคตของพระองค์ยังไม่เป็นที่แน่ชั.

ใหม่!!: พระเจ้าโจวไท่และอู๋ไท่ปั๋ว · ดูเพิ่มเติม »

จะเข้

้ของกัมพูชา จะเข้ของมอญ ในวัดพุทธมอญ เมืองฟอร์ตเวย์น, รัฐอินดีแอนา, สหรัฐ จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด มี 3 สาย สันนิษฐานกันว่าได้รับอิทธิพลมาจากมอญ และได้ปรับปรุงแก้ไขมาจากพิณ คือ กระจับปี่ซึ่งมี 4 สาย นำมาวางดีดกับพื้นเพื่อความสะดวก มีประวัติและมีหลักฐานครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะเข้ได้นำเข้าร่วมบรรเลงอยู่ในวงมโหรีคู่กับกระจับปี่ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้นิยมเล่นจะเข้กันมาก ทำให้กระจับปี่ค่อย ๆ หายไปในปัจจุบัน เนื่องจากหาผู้เล่นเป็นน้อย ตัวจะเข้ทำเป็นสองตอน คือตอนหัวและตอนหาง โดยลักษณะทางตอนหัวเป็นกระพุ้งใหญ่ ทำด้วยไม้แก่นขนุน หนาประมาณ 12 ซม.

ใหม่!!: พระเจ้าโจวไท่และจะเข้ · ดูเพิ่มเติม »

ซือหม่า เชียน

ซือหม่าเซียน ซือหม่าเชียน (司馬遷) เป็นนักบันทึกประวัติศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่โดนตอนองคชาตในสมัยราชวงศ์ฮั่นตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ (140-87ก่อนคริสตกาล) ซือหม่าเชียนถือกำเนิดในครอบครัวปัญญาชนครอบครัวหนึ่ง บิดาของเขาเป็นขุนนางด้านประวัติศาสตร์ของกษัตริย์ ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่อายุ 10 ขวบซือหม่าเชียนก็เริ่มศึกษาวิชาวรรณคดี ประวัติศาสตร์และคัมภีร์ของสำนักต่างๆ กับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ในวัยเด็กซือหม่าเชียนก็เป็นคนช่างขบคิด เขามีความรู้ต่างๆ นานาเกี่ยวกับบุคคลและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางนอกเหนือจากสิ่งที่ได้บันทึกไว้ในตำรา สิ่งนี้เป็นเหตุให้ซือหม่าเชียนออกเดินทางจากกรุงฉางอานไปท่องเที่ยวดินแดนต่างๆ อย่างกว้างขวางเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่อถึงท้องที่หนึ่ง ซือหม่าเชียนก็จะบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นนั้นอย่างละเอียด และเก็บสะสมประวัติและข้อมูลต่างๆ เกี่ยวข้องกับบุคคลและเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย เมื่อ 108 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซือหม่าเชียนได้ขึ้นมาสืบทอดตำแหน่งของบิดาในราชสำนัก มีหน้าที่ดูแลพระคลังเก็บหนังสือของพระมหากษัตริย์ ในช่วงเวลาดังกล่าว เขาได้ตามเสด็จพระมหากษัตริย์ไปในโอกาสต่างๆ ได้ไปดูงานตามสถานที่โบราณมากมายทั่วดินแดนอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้สั่งสมข้อมูลอย่างอุดมสมบูรณ์แล้ว ซือหม่าเชียนก็ใช้เวลานอกราชการเตรียมลงมือเขียนสื่อจี้ซึ่งเป็นสารานุกรมด้านประวัติศาสตร์ 3,000 ปีของจีน.

ใหม่!!: พระเจ้าโจวไท่และซือหม่า เชียน · ดูเพิ่มเติม »

แท่นบูชา

แท่นบูชา แท่นบูชา (altar) เป็นโต๊ะศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้วางสิ่งของที่ใช้ในพิธีมิสซาในคริสต์ศาสนสถาน ต้องจัดวางไว้ให้เด่นที่สุดในโบสถ์ และไม่ใช่เป็นโต๊ะวางสิ่งของจิปาถะ แท่นบูชาใช้วางผ้ารองศีล ผ้าเช็ดกาลิกส์ หนังสือมิสซา ถ้วยกาลิกส์ และแผ่นปัง แท่นบูชามีประโยชน์ใช้สอยทางสถาปัตยกรรมในฐานะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการประกอบพิธีกรรม และไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องประดับตกแต่งอาคาร บนแท่นบูชานี้ จะต้องจัดให้สามารถนำภาชนะศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ สำหรับภาคถวายมาวางไว้ได้อย่างสะดวกในเวลาประกอบพิธี เช่น จานรองศีล พร้อมแผ่นปัง กาลิกส์ที่มีเหล้าองุ่น นอกจากนี้ยังมีหนังสือพิธีมิสซา ไมโครโฟน และสิ่งอื่นเท่าที่จำเป็น แท่นบูชาไม่ใช่โต๊ะวางของ จึงควรมีเฉพาะสิ่งที่จำเป็นสำหรับภาคถวายเท่านั้น แท่นบูชาของคริสตชนในสมัยแรกเป็นโต๊ะไม้เคลื่อนที่ได้ ต่อมาเป็นแบบตั้งอยู่กับที่ และในจารีตละตินให้เป็นแบบทำศิลาหรือหินเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมของพระศาสนจักรที่รับสืบทอดกันมา และให้สอดคล้องกับ สัญลักษณ์จากพระคัมภีร์เกี่ยวกับแท่นบูชาจะต้องทำด้วยหิน และหินธรรมชาติด้วย ซึ่งแท่นหรือหินเป็นรูปแบบที่ชาวอิสราเอลใช้เป็นที่ถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้า แท่นบูชามี 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: พระเจ้าโจวไท่และแท่นบูชา · ดูเพิ่มเติม »

เม่งจื๊อ

ม่งจื๊อ เม่งจื๊อ หรือในทางตะวันตกรู้จักในชื่อ เมนเชียส (Mencius) ปีเกิดที่ได้รับการยอมรับที่สุดคือประมาณ 372 - 289 ก่อนคริสตกาล หรืออาจราว 385 - 303/302 ก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญาชาวจีน เป็นคนเมืองจูทางตอนใต้ของมณฑลชานตง เม่งจื๊อได้รับถ่ายทอดแนวความคิดของขงจื๊อมาจากหลานชายของขงจื๊อเอง จึงถือว่าเป็นลูกศิษย์ของขงจื๊อคนหนึ่ง เม่งจื๊อชอบเดินทางออกสั่งสอนหลักความคิดของเขาและก่อนที่เขาจะลาออกจากราชการ เขาแต่งหนังสือขึ้นรวม 7 เล่ม เป็นบันทึกคำสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเขา มีการรวมรวบเข้าเป็น 4 เล่มใหญ่ และได้กลายเป็นรากฐานการศึกษาหลักปรัชญาของเม่งจื๊อในเวลาต่อมา แนวคิดของเม่งจื๊อ กล่าวว่า "โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ทุกคนมีพื้นฐานเป็นคนดีมาแต่กำเนิด แต่สิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีต่าง ๆ ทำให้คนเราเปลี่ยนแปลงไป" เม่งจื๊อเชื่อว่า ความดีทั้งหมดสามารถต่อเติมให้กับมนุษย์ได้ด้วยการศึกษาศิลปะวิทยาการต่าง ๆ การศึกษาสามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ได้เกิดจากประชาชนเป็นผู้กระทำ แต่เกิดจากบรรดาผู้ปกครองที่ไม่มีการศึกษา ฉะนั้นผู้ปกครองควรเป็นนักปรัชญาหรือไม่ก็ควรให้นักปรัชญามาเป็นปกครอง ในกรณีที่นักปกครองไม่มีคุณสมบัติเช่นนั้น ในข้อนี้เขาเน้นว่าชนชั้นบริหารรัฐบาลควรเป็นผู้ที่มีการศึกษา ผู้มีการศึกษาจะสามารถเข้าใจถึงความต้องการของประชาชนได้ดีกว่าQuale, G.Robina: Eastern Civilization (Prentice Hall, Inc., Englewood Cliffs, New Jersey, 1975) P. 383 แนวคิดในส่วนนี้ของเม่งจื๊อตรงกันข้ามกับศิษย์ของขงจื๊ออีกคน คือ ซุนจื๊อ โดยสิ้นเชิง ซุนจื๊อเห็นว่ามนุษย์มีธรรมชาติที่ชั่วร้ายเป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะขจัดความชั่วร้ายนั้น ต้องมีการควบคุมและอบรมสั่งสอนให้ยึดมั่นคุณธรรมอย่างจริงจัง นอกจากนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับชนชั้นในสังคม เม่งจื๊อสนับสนุนให้มีชนชั้น คือ ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง เม่งจื๊อกล่าวว่า "ทั้ง 2 ชนชั้น มีหน้าที่ที่จะต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน ถ้าขาดผู้หนึ่งผู้ใดไป สังคมก็จะไม่สมบูรณ์".

ใหม่!!: พระเจ้าโจวไท่และเม่งจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

King Tai of Zhouจักรพรรดิไท่แห่งราชวงศ์โจว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »