โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

ดัชนี พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

ระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนเนไฟรต์สีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ ตำบลเวียง เมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว เชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย) ในปี พ.ศ. 1977 (หรือ ค.ศ. 1434) ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์ หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้ จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปางหากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้เชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็เชิญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางได้คืนให้แก่ลาว.

59 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 1000พ.ศ. 1977พ.ศ. 500พ.ศ. 800พญากือนาพญาสามฝั่งแกนพระบรมมหาราชวังพระบรมสารีริกธาตุพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบางพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระพุทธรูปพระพุทธสิหิงค์พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาในรัชกาลที่ 9พระวิศวกรรมพระอินทร์พระนาคเสนเถระพระเจ้ามิลินท์พระเจ้าอโนรธามังช่อพิธีราชาภิเษกกรมธนารักษ์กระบวนพยุหยาตรากระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)กรุงเทพมหานครภาษาบาลีภาษามอญวัดพระศรีรัตนศาสดารามวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสาคละหลวงพระบางอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)อาณาจักรล้านช้างอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์อาณาจักรล้านนาอาณาจักรธนบุรีอำเภอเมืองเชียงรายอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรอ่าวไทยจักรวรรดิคุปตะจังหวัดลำปางจังหวัดเชียงใหม่ดินแดนสุวรรณภูมิฉัตรมงคลประเทศอินเดียประเทศไทย...ปราสาทปัฏนาแม่น้ำเจ้าพระยาแรกนาขวัญแผ่นดินไหวแคว้นมคธเมืองหลวงเวียงจันทน์เนไฟรต์ ขยายดัชนี (9 มากกว่า) »

พ.ศ. 1000

ทธศักราช 1000 ตรงกับปี คริสต์ศักราช 457.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพ.ศ. 1000 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1977

ทธศักราช 1977 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพ.ศ. 1977 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 500

ทธศักราช 500 ใกล้เคียงกับ 44 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพ.ศ. 500 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 800

ทธศักราช 800 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพ.ศ. 800 · ดูเพิ่มเติม »

พญากือนา

ญากือนา (100px) หรือพญาธรรมิกราช เป็นพระมหากษัตริย์ล้านนา รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย ทรงครองราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพญากือนา · ดูเพิ่มเติม »

พญาสามฝั่งแกน

ญาสามฝั่งแกน (100px) เป็นเจ้าผู้ครองนครแห่งราชวงศ์เม็งรายลำดับที่ 8 และเป็นลำดับที่ 32 แห่งราชวงศ์ลวจังกราช ประสูติเมื่อ..

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพญาสามฝั่งแกน · ดูเพิ่มเติม »

พระบรมมหาราชวัง

ระบรมมหาราชวัง หรือพระราชวังพระนคร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน พระบรมมหาราชวังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมในปี พ.ศ. 2549 เป็นจำนวนถึง 8,995,000 คน.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระบรมมหาราชวัง · ดูเพิ่มเติม »

พระบรมสารีริกธาตุ

ระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานเมล็ดข้าวสาร พระบรมสารีริกธาตุ (शरीर; Śarīra) เรียกโดยย่อว่าพระบรมธาตุ คือ พระอัฐิของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ทรงอธิษฐานไว้ก่อนปรินิพพาน ให้คงเหลือไว้หลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธบริษัท พระบรมธาตุมีสองลักษณะคือ พระบรมธาตุที่ไม่แตกกระจาย และที่แตกกระจาย มีขนาดเล็กสุดประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด ชาวพุทธเชื่อว่าพระบรมสารีริกธาตุเป็นวัตถุแทนองค์พระบรมศาสดาที่ทรงคุณค่าสูงสุดในศาสนาพุทธ จึงนิยมกระทำการบูชาองค์พระบรมสารีริกธาตุโดยประการต่าง ๆ เช่น การสร้างเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระธาตุไว้สักการะ โดยเชื่อว่ามีอานิสงส์ประดุจได้กระทำการบูชาแด่พระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ ทั้งนี้ คำว่า "พระบรมสารีริกธาตุ" เป็นศัพท์เฉพาะใช้เรียกเฉพาะพระธาตุของพระพุทธเจ้า หากเป็นของพระอรหันตสาวกจะเรียกว่า "พระธาตุ" เท่านั้น.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระบรมสารีริกธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน..

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (31 มีนาคม พ.ศ. 2330 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระศรีสุลาไลย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี ทรงมีเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม 56 ท่าน มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมายุ 64 พรรษ.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาง

ระบาง เป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร สูงสองศอกเจ็ดนิ้ว (ประมาณ 1.14 เมตร) หล่อด้วยสำริด (ทองคำผสม 90 เปอร์เซ็นต์) มีอายุอยู่ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ 19 ตามศิลปะเขมรแบบบายนตอนปลาย โดยมีพุทธลักษณะคือ ประทับยืนยกพระหัตถ์ขึ้น นิ้วพระหัตถ์เรียบเสมอกัน พระพักตร์ค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม พระนลาฏกว้าง พระขนงเป็นรูปปีกกา พระเนตรเรียว พระนาสิกค่อนข้างแบน พระโอษฐ์บาง พระเศียร และพระเกตุมาลาเกลี้ยงสำหรับสวมเครื่องทรง ปั้นพระองค์เล็ก พระโสภีใหญ่ ครองจีวรห่มคลุม แลเห็นแถบสบง และหน้านาง พระบางเป็นพระพุทธรูปสำคัญของอาณาจักรล้านช้าง แต่ชาวอีสานมีความเลื่อมใสมากและมักจะจำลองพระบางมาไว้ที่วัดสำคัญ ๆ ของท้องถิ่น เช่น พระบางวัดไตรภูมิ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และพระบางจำลองวัดพระเหลา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นต้น พระบางเป็นพระพุทธรูปที่เคยอัญเชิญมาประดิษฐานที่กรุงเทพมหานคร ถึง 2 ครั้ง และมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับสังคมอีสานอยู่เนือง ๆ พระบางเดิมนั้นประดิษฐานอยู่ที่นครหลวงของอาณาจักรขอม จนเมื่อ..

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระบาง · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

ระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนเนไฟรต์สีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ ตำบลเวียง เมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว เชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย) ในปี พ.ศ. 1977 (หรือ ค.ศ. 1434) ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์ หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้ จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปางหากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้เชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็เชิญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางได้คืนให้แก่ลาว.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธรูป

ระพุทธรูป หมายถึง รูปที่สร้างขึ้นแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกราบไหว้บูชา อาจใช้การแกะสลักจากวัสดุต่างๆ เช่น ศิลา งา ไม้ หรือวัสดุอื่นๆ นอกจากนี้ยังอาจใช้การปั้นหรือหล่อด้วยโลหะก็ได้ โดยทั่วไป คำว่า พระพุทธรูปมักจะหมายถึง รูปขนาดใหญ่พอที่จะวางบูชาได้ สำหรับรูปขนาดเล็กมักจะเรียกว่า พระเครื่อง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองแบบสามารถเรียกว่า พระพุทธรูป ได้เช่นกัน.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระพุทธรูป · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธสิหิงค์

ระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางสมาธิ สูง 79 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 63 เซนติเมตร เป็นศิลปะแบบลังกา ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีปทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 700 ต่อมา พระเจ้าศรีธรรมโศกราชแห่งราชอาณาจักรตามพรลิงก์ได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ต่อมา ได้มีผู้นำไปไว้ที่เมืองกำแพงเพชรและเชียงราย เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เชียงใหม่พร้อมกับพระแก้วมรกต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ..

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระพุทธสิหิงค์ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาในรัชกาลที่ 9

ระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตามหมายกำหนดการจากสำนักพระราชวัง.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาในรัชกาลที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

พระวิศวกรรม

ระวิศวกรรม หรือเรียกได้อีกหลายชื่อว่า พระวิษณุกรรม, พระวิสสุกรรม, พระเวสสุกรรม หรือ พระเพชรฉลูกรรม เป็น เทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์ ตามตำนานกล่าวว่า เป็นผู้สร้างเครื่องมือ สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และเป็นแบบอย่างให้กับมนุษย์สืบมา พระวิศวกรรมรับเทวโองการต่าง ๆจากพระอินทร์ เพื่อสร้าง อุปกรณ์ สิ่งของ อาคาร ต่าง ๆ มากมาย เป็นผู้นำวิชาช่าง มาสอนแก่มนุษย์ นับแต่นั้นมามนุษย์จึงรู้จักการสร้างและใช้งานสิ่งของต่าง ๆ จนมีการพัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบันนี้ ช่างไทยแขนงต่าง ๆ ให้ความเคารพบูชาพระวิศวกรรมในฐานะครูช่าง หรือเทพแห่งวิศวกรรมของไทย โดยเรามักพบเห็นรูปจำลององค์ท่านได้บ่อย ๆ ตามสถานศึกษาทางช่างทุกสถาบัน โดยนิยมสร้างอยู่สองท่า คือ ท่าประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือ ผึ่ง (จอบสำหรับขุดไม้) และอีกข้างถือ ดิ่ง และท่าประทับยืนมือขวาถือไม้เมตรหรือไม้วา มือซ้ายถือลูกดิ่งและไม้ฉาก ที่มาขององค์พระวิษณุกรรมทั้ง 2 ท่านี้ พอขยายความได้ว่า หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพช่างก่อสร้าง มักอยู่ในท่ายืนมือถือลูกดิ่งและไม้เมตรหรือไม้วาอันเป็นเครื่องมือของช่างก่อสร้างมาแต่สมัยโบราณซึ่งช่างทั้งหลายทราบดีว่าเป็นเครื่องมือสำหรับวัดระยะ วัดความเที่ยงตรง แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นยังแฝงไปด้วยปรัชญาในการดำเนินชีวิต คือความแม่นยำ เที่ยงตรง ไม่เอนเอียงในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่มาของช่างที่ดี คือความมีคุณธรรมประจำใจ หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ช่างก่อสร้างอยู่ด้วย มักจะใช้ท่านั่ง เข้าใจว่าผู้สร้างคงจะชี้ให้เห็นเด่นชัดถึงสถาบันผู้ผลิตช่างก่อสร้าง อันเป็นช่างเก่าแก่มีมาแต่ก่อนแล้ว.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระวิศวกรรม · ดูเพิ่มเติม »

พระอินทร์

http://www.school.net.th/library/create-web/10000/literature/10000-5627.html | สถานบำบวงหลัก.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระอินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระนาคเสนเถระ

ระนาคเสนเถระ (นาคหมายถึงพญานาค และเสนหมายถึงทหาร นาคเสนจึงหมายถึงทหารของพญานาค) บิดามารดาเป็นพราหมณ์ เมื่ออายุได้ 7 ขวบ บิดามารดาจึงให้เรียนไตรเพท อันเป็นวิชาของพราหมณ์ และได้บวชเป็นเณรในพระพุทธศาสนา ต่อมาอุปัชฌาย์เป็นพระเถระอยู่ที่วัดอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร โดยพระโรหณะเป็นผู้อุปัชฌาย์ มีชีวิตอยู่ในราวปี..

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระนาคเสนเถระ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้ามิลินท์

ระเจ้าเมนันเดอร์ ที่ 1 (Menander I Soter) เป็นที่รู้จักกันในวรรณกรรมภาษาบาลีว่าพระเจ้ามิลินท์ เป็นพระมหากษัตริย์อินโด-กรีก (165Bopearachchi (1998) and (1991), respectively. The first date is estimated by Osmund Bopearachchi and R. C. Senior, the other Boperachchi/155-130 ปี ก่อน ค.ศ.) ผู้ปกครองจักรวรรดิขนาดใหญ่ในภูมิภาคตะวันตกเฉียงหนือของเอเชียใต้จากเมืองหลวงของพระองค์คือ เมือง สาคละ และพระองค์ถูกบันทึกว่าเป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนาพุทธ พระเจ้าเมนันเดอร์ทรงกำเนิดที่แถบคอเคซัส เริ่มแรกทรงเป็นกษัตริย์ของแคว้นบักเตรีย หลังจากพิชิตแคว้นปัญจาบได้ พระองค์สถาปนาจักรวรรดิขึ้นในเอเชียใต้ ขยายออกจากที่ราบหุบเขาลุ่มแม่น้ำคาบูลจากทางทิศตะวันตก ไปจรดถึงแม่น้ำราวีทางทิศตะวันออก และจากที่ราบหุบเขาลุ่มแม่น้ำสวัตทางตอนเหนือ ไปจรดถึงอะราโคเซีย(จังหวัดเฮลมันด์) เหล่านักบันทึกชาวอินเดียโบราณชี้ว่า พระองค์ได้ขยายอาณาจักรไปทางทิศใต้เข้ามาในรัฐราชสถานและขยายไปทางทิศตะวันออกไกลถึงแม่น้ำคงคาตอนล่างที่เมืองปาฏลีบุตร (ปัฏนา) และสตราโบนักภูมิศาสตร์กรีกเขียนไว้ว่า “(พระองค์พิชิตรัฐ (ในอินเดีย) ได้มากกว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช” เหรียญของพระองค์จำนวนมากที่ถูกขุดพบ ยืนยันถึงทั้งการค้าที่เจริญรุ่งเรืองและช่วงระยะเวลาของจักรวรรดิของพระองค์ พระเจ้าเมนันเดอร์ยังได้เป็นผู้อุปัฏภัมภ์พระพุทธศาสนา และบทสนทนาของพระองค์กับพระนาคเสน พระเถระนักปราชญ์ชาวพุทธ ก็ถูกบันทึกไว้เป็นผลงานสำคัญทางพระพุทธศาสนาชื่อว่า "มิลินทปัญหา" (ปัญหาของพระเจ้ามิลินท์) หลังจากที่พระองค์สวรรคตในปี 130 ก่อน ค.ศ. พระมเหสีของพระองค์พระนามว่า อะกาทอคลีอา (Agathokleia) ก็รับช่วงต่อโดยเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระโอรสของพระองค์พระนามว่า สตราโต ที่ 1 (Strato I) การบันทึกของชาวพุทธบอกว่าพระองค์ส่งมอบอาณาจักรไปสู่พระโอรสและปลีกตัวเองจากโลก แต่พลูตาร์ชบันทึกว่าพระองค์สวรรคตในค่ายในขณะที่มีการออกรบทางทหาร และยังบอกว่า พระอัฏฐิของพระองค์ถูกแบ่งออกเป็นส่วนเท่าๆกันเพื่อเมืองต่างๆเพื่อนำไปประดิษฐานในอนุสรณ์สถานอาจจะเป็นสถูปทั่วทั้งอาณาจักรของพระอง.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระเจ้ามิลินท์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอโนรธามังช่อ

ระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอโนรธามังช่อ ในปัจจุบัน เจดีย์ชเวซีโกน ในปัจจุบัน พระเจ้าอโนรธามังช่อ หรือ พระเจ้าอโนรธา (Anawrahta Minsaw, Anawrahta, အနိရုဒ္ဓ) (พ.ศ. 1587-พ.ศ. 1620) ปฐมกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์พุกามผู้ก่อตั้งอาณาจักรพุกาม เรื่องราวของพระเจ้าอโนรธานั้นมีกล่าวอยู่มากมายในประวัติศาสตร์พม่า ทั้งตำนานพื้นบ้าน ศิลาจารึก และปรัมปราต่าง ๆ จนดูคล้ายเป็นกษัตริย์ในตำนานมากกว่าจะมีพระองค์จริง เช่น การขึ้นครองบัลลังก์ของพระองค์ด้วยการปราบดาภิเษกได้เพราะมีพระอินทร์อุปถัมภ์ เป็นต้น.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระเจ้าอโนรธามังช่อ · ดูเพิ่มเติม »

พิธีราชาภิเษก

น ดาร์ก'' (''Jeanne d'Arc'') พ.ศ. 2429-2433 โดยฌูลส์ เออแฌน เลอเนิปเวอ พิธีราชาภิเษก (coronation) เป็นเป็นพิธีการเพื่อสถาปนาพระมหากษัตริย์ และ/หรือ คู่อภิเษกซึ่งมีพระราชอำนาจ อย่างเป็นทางการ เกี่ยวข้องกับการวางมงกุฎบนพระเศียรของพระองค์หรือการนำเสนอเครื่องราชกกุธภัณฑ์รายการอื่น โดยพิธีการนี้อาจหมายรวมถึง การตรัสคำปฏิญาณพิเศษโดยกษัตริย์ การแสดงคารวะจากคนในบังคับ ของผู้ปกครองใหม่ และการแสดงพิธีกรรมอื่น ซึ่งมีความสำคัญพิเศษต่อชาตินั้น.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพิธีราชาภิเษก · ดูเพิ่มเติม »

กรมธนารักษ์

กรมธนารักษ์ เป็นกรมในสังกัดของกระทรวงการคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการทำเหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก การดูแลที่ราชพัสดุตามอำนาจหน้าที่ การประเมินราคาทรัพย์สิน การรับจ่ายและรักษาพระราชทรัพย์ทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร และการจัดการเงินในพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเกี่ยวกับพระราชทรัพย์ของบรมวง.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและกรมธนารักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

กระบวนพยุหยาตรา

กระบวนพยุหยาตรา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและกระบวนพยุหยาตรา · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)

กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทางการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพ ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษา เน้นให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นทั้งในท้องถิ่นและสถาบันเปิด เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้บริการแก่สังคม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนและแสดงออกในทางที่เหมาะสม.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามอญ

ษามอญ (เพียซาโหม่น) เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร ซึ่งเป็นสายหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร 12 สาย พูดโดยชาวมอญ ที่อาศัยอยู่ในพม่า และไทย ภาษาตระกูลมอญ-เขมรมีการใช้มานานประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว มีผู้ใช้ภาษานี้อยู่ประมาณ 5,000,000 คน อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ จารึกวัดโพธิ์ร้าง พ.ศ. 1143 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบเอเซียอาคเนย์ เป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวอักษรปัลลวะ ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น อักษรมอญ และได้พบอักษรที่มอญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ ในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมืองลพบุรี ข้อความที่จารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่า จารึกในพุทธศตวรรษที่ 14 ราว..

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและภาษามอญ · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในพ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินสยามที่พบ ณ วัดป่าเยี้ยะ(ป่าไผ่) จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาว.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม · ดูเพิ่มเติม »

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ที่ชื่อวัดแจ้ง เพราะ พระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จ แล้วยกทัพกลับมาเป็นเวลาเช้าพอดี ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในปี พ.ศ. 2327 ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช

ระอุปภัยพุทธบวรไชยเชษฐาธิราช หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช (ໄຊເສດຖາ, ເສດຖາທິຣາດ; 80px) ถือเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชาติลาว ทรงเป็นผู้นำแห่งอาณาจักรล้านช้าง ผู้สถาปนากรุงเวียงจันทน์ให้เป็นศูนย์กลางอารยธรรม และเป็นศูนย์รวมศิลปะวัฒนธรรมต่าง ๆ ของอาณาจักรล้านช้างเข้าไว้ด้วยกัน ประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าพระองค์เป็นพระญาติหรือพระนัดดาในพระนางจิรประภาเทวีเจ้านางหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา ในรัชสมัยพระยาโพธิสาลราช (พ.ศ. 2063-2090) พระองค์เป็นผู้เคร่งครัดทางศาสนาพุทธเป็นอย่างยิ่ง ได้มีพระราชโองการให้พลเมืองเลิกนับถือผีสางเทวดา เลิกการทรงเจ้าเข้าผีทั่วพระราชอาณาจักร ให้รื้อศาลหลวง ศาลเจ้าผีเสื้อเมืองทรงเมือง และให้หันมานับถือพระพุทธศาสนาแทน ทรงสร้างวัดสุวรรณเทวโลกเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา แต่เนื่องจากประเพณีการนับถือผีนั้นมีมาช้านาน และได้ฝังเข้าไปในจิตใจของประชาชนทั่วไป จึงยากที่จะเลิกอย่างเด็ดขาดได้ ครั้นต่อมาทางอาณาจักรล้านนาว่างกษัตริย์ปกครอง จึงได้อัญเชิญเจ้าไชยเชษโฐหรือเชษฐวังโส พระโอรสของพระเจ้าโพธิสาร ไปครองนครล้านนา เมื่อปี..

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

มเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (แต้จิ๋ว: Dênchao; 17 เมษายน พ.ศ. 2277 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325) มีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรนั้น เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ต่อม..

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

สาคละ

นครสาคละ เมืองสาคละ หรือสาคล (สากล,สกล) เป็นเมืองหลวงของแคว้นมัจฉะ เมืองนี้ เป็นต้นกำเนิดตำนาน มิลินทปัญหา โดยเป็นเรื่องสมัยหลังพุทธกาล 500 ปี มีกษัตริย์ชาวกรีกนามว่า เมร์นันเดอร์ หรือ นามบาลีว่า มหาราชมิลินท์ ได้ยกทัพมาที่แคว้นสาคละแห่งนี้ และ สามารถยึดครองเมืองได้ และ ด้วยทิฐิมานะของพระเจ้ามิลินท์ว่าตนเชี่ยวชาญศาสนาและคัมภีร์ จึงให้ทหารนำตัวนักบวชลัทธิต่างรวมถึงพระสงฆ์มาตอบคำถามธรรมของพระเจ้ามิลินท์ แต่ถ้านักบวชท่านนั้นตอบไม่ได้ก็จะถูกจับประหาร เหล่า พระสงฆ์ พรามหณ์ โยคี ต่างพากันหนีตายไปแคว้นอื่นเมืองอื่น แต่มีพระภิกษุหนุ่มนามว่า นาคเสน อยู่ที่เมืองคนเดียว พระเจ้ามิลินท์จึงให้ทหารนำตัวพระนาคเสนมา แต่พระนาคเสนสามารถปราบทิฐิมานะในตัวของพระเจ้ามิลินท์ได้ และพระเจ้ามิลินท์ก็บรรลุเป็นพระอรหันต.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและสาคละ · ดูเพิ่มเติม »

หลวงพระบาง

หลวงพระบาง (ຫຼວງພຣະບາງ) เป็นเมืองเอกของแขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน ซึ่งไหลมาบรรจบกันบริเวณนั้นเรียกว่า ปากคาน เป็นเมืองที่องค์การยูเนสโกได้ยกย่องให้เป็นมรดกโลกด้ว.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและหลวงพระบาง · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)

ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน..

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรล้านช้าง

อาณาจักรล้านช้าง (ອານາຈັກລ້ານຊ້າງ) เป็นอาณาจักรของชนชาติลาวซึ่งตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง มีอาณาเขตอยู่ในบริเวณประเทศลาวทั้งหมด ตลอดจนพื้นที่บางส่วนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งการเมืองการปกครอง ด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนพระพุทธศาสนา ที่มีพัฒนาการเคียงคู่มาพร้อมกันอาณาจักรอื่น ๆ ใกล้เคียง ทั้งล้านนา สยาม พม่า และเขมร อาณาจักรแห่งนี้ได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นปึกแผ่นมั่งคงอย่างแท้จริงในปี พ.ศ. 1896 สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม มีความรุ่งเรืองสลับกับความร่วงโรยต่อมาหลายสมัย ซึ่งยุคที่นับได้ว่าเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านช้างคือรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2091- พ.ศ. 2114 และรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. 2181- พ.ศ. 2238) หลังจากนั้นอาณาจักรลาวก็เสื่อมอำนาจลงและแตกแยกเป็น 3 ราชอาณาจักร และในปี พ.ศ. 2321 ทั้ง 3 อาณาจักรก็ได้สูญเสียเอกราชแก่ราชอาณาจักรสยามในที.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและอาณาจักรล้านช้าง · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์

อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ เป็นอาณาจักรทางตอนกลางของประเทศลาว และ ภาคอีสานตอนบนของประเทศไทยในปัจจุบัน อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ครอบคลุม ภาคอีสานตอนบน แขวงเวียงจันทน์ นครหลวงเวียงจันทน์ กรุงเวียงจันทน์ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของประเทศและบริเวณใกล้เคียง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ติดกับอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ เมื่อถึง พ.ศ. 2436 อาณาจักรล้านช้างทั้ง 3 ส่วนจึงได้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเป็นพระราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2496 รวมลาวอยู่ภายใต้อาณานิคมของฝรั่งเศสเป็นเวลา 60 ปี หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ลาว หมวดหมู่:เวียงจันทน์ หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศลาว หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ล.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรล้านนา

อาณาจักรล้านนา (95px) คือ ราชอาณาจักรของชาวไทยวนในอดีตที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ตลอดจนสิบสองปันนา เช่น เมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ภาคตะวันออกของพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก ฝั่งตะวันตกแม่นำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอนสรัสวดี อ๋องสกุล.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและอาณาจักรล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรธนบุรี

อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดของไทย คือระหว่าง..

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและอาณาจักรธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองเชียงราย

ตัวเมืองเชียงราย เมืองเชียงราย (80px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ที่มีศูนย์กลางการบริหาร ศูนย์กลางคมนาคม ศูนย์กลางธุรกิจ และศูนย์กลางทางศาสนาและวัฒนธรรมล้านนาของจังหวัดเชียงราย นับเป็นหนึ่งในอำเภอเมืองที่มีความเจริญมากในภาคเหนือตอนบนรองจากอำเภอเมืองเชียงใหม.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและอำเภอเมืองเชียงราย · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ไม่ไกลจากจังหวัดสุโขทัยเท่าใดนัก ลักษณะของศิลปะและสถาปัตยกรรมในอุทยานแห่งนี้เป็นศิลปะแบบเดียวกับที่ปรากฏในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีโบราณสถานที่สวยงามและขนาดใหญ่มากมาย หลายแห่งในอดีตเมืองกำแพงเพชรถือเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทั.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวไทย

อ่าวไทย อ่าวไทย เป็นน่านน้ำที่อยู่ในทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ล้อมรอบด้วยประเทศไทย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม อ่าวไทยไม่เพียงแต่มีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังมีความสำคัญในทางกฎหมายอาญาอย่างยิ่ง โดยถือเป็นอาณาเขตที่ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณอ่าวไทยตามที่กำหนดเขตไว้ในกฎหมายให้ถือเป็นราชอาณาจักรไทยด้ว.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและอ่าวไทย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิคุปตะ

ักรวรรดิคุปตะ (Gupta Empire) เป็นจักรวรรดิอินเดียโบราณที่รุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ. 280 จนกระทั่งปี ค.ศ. 550 จักรวรรดิ โดยมีอาณาบริเวณที่ครอบคลุมตางตอนเหนือและตอนกลางของอินเดียทั้งหมด และบังคลาเทศปัจจุบัน จักรวรรดิก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าศรีคุปต์ โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ปาฏลีบุตรที่ปัจจุบันคือปัฏนาทางตอนเหนือของรัฐพิหาร ความรุ่งเรืองของจักรวรรดิภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์คุปตะทำให้มีความเจริญในด้านวิทยาศาสตร์และศิลปะ ในด้านความเจริญทางด้านวัฒนธรรมนักประวัติศาสตร์จัดราชวงศ์คุปตะในระดับเดียวกับราชวงศ์ฮั่น, ราชวงศ์ถัง และจักรวรรดิโรมัน สมัยจักรวรรดิคุปตะถือกันโดยนักวิชาการบางคนว่าเป็นยุคทองของอินเดียในด้านวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรม, ศิลปะ, วรรณคดี, ตรรกศาสตร์, คณิตศาสตร์, ดาราศาสตร์, ศาสนา และปรัชญ.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและจักรวรรดิคุปตะ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลำปาง

ังหวัดลำปาง (40px) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบล้อมรอบด้วยภูเขา มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกอย่างหลากหลายตั้งแต่ เขลางค์นคร, เวียงละกอน, นครลำปาง ฯลฯ ในภายหลังเป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองรถม้า ที่สัมพันธ์กับเอกลักษณ์ของลำปาง.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและจังหวัดลำปาง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชียงใหม่

ังหวัดเชียงใหม่ (40px เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,746,840 คน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน โดยจังหวัดเชียงใหม่ทิศเหนือติดต่อกับรัฐฉานของเมียนมา จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทย รองจากกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและจังหวัดเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ดินแดนสุวรรณภูมิ

วรรณภูมิ เป็นชื่อเรียกดินแดนที่มีการกล่าวถึงในคัมภีร์โบราณหลายฉบับในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งคำว่าสุวรรณภูมินี่มีความหมายว่า แผ่นดินทอง ดินแดนสุวรรณภูมิ จึงแปลว่า ดินแดนแห่งทองคำ หมายถึงดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ปรากฏในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา ส่วนมากปรากฏในคัมภีร์ชาดก (เรื่องราวที่มีอดีตมายาวนาน) เช่น มหาชนกชาดก กล่าวถึงพระมหาชนกเดินทางมาค้าขายที่สุวรรณภูมิ แต่เรือแตกกลางทะเล ในสมัยสังคายนาครั้งที่ 3 ราว พ.ศ. 234 พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระธรรมทูตมาเผยแผ่พุทธศาสนาที่สุวรรณภูมิ โดยมีพระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็นประธาน เมื่อท่านมาถึง ได้ปราบผีเสื้อสมุทรที่ชอบเบียดเบียนชาวสุวรรณภูมิ ทำให้ชาวสุวรรณภูมิเลื่อมใส จากนั้นท่านได้แสดงพรหมชาลสูตร เป็นที่น่าสังเกตว่า ตอนปราบผีเสื้อสมุทร ท่านได้สวดพระปริตรป้องกันเกาะสุวรรณภูมิไว้ จึงมีคำเรียก สุวรรณภูมิ อีกชื่อหนึ่งว่า สุวรรณทวีป แปลว่า เกาะทอง เมื่อสันนิษฐานจากสองคำนี้ ทำให้ได้ข้อสรุปอย่างน้อย 2 อย่าง คือ.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและดินแดนสุวรรณภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ฉัตรมงคล

ฉัตรมงคล (อ่านว่า ฉัด-ตระ-มง-คน หรือ ฉัด-มง-คน) มีความหมายตามพจนานุกรมว่า พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตรทำในวันซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นรัชกาลที่ 9 พระราชพิธีฉัตรมงคลจัดขึ้นทุกวันที่ 5 พฤษภาคม เพราะทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 และทางราชการถือเป็นวันหยุดตามประเพณีวันหนึ่งของประเทศไทย ต่อมาในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2560 การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทางรัฐบาลที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษายกเลิกวันนี้ลง และให้วันที่ 28 กรกฎาคม อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และวันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี อันเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นวันหยุดเพิ่มเติมตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและฉัตรมงคล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาท

ปราสาทคาร์คาโซนในฝรั่งเศส ปราสาท คือสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกซึ่งเป็นสัญลักษณ์หลักของสมัยกลาง ความหมายของคำว่าปราสาทยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการถึงความหมายที่แท้จริง แต่โดยทั่วไปแล้วปราสาทมีความหมายต่างจากคำว่า “ป้อม” (fort) และ “ป้อมปราการ” (fortress) ตรงที่ปราสาทเป็นที่ประทับหรือที่พำนักของพระมหากษัตริย์หรือขุนนางในบริเวณที่เป็นจุดที่ต้องมีการป้องกันจากข้าศึก สิ่งก่อสร้างที่เป็นที่มาของปราสาทคือป้อมโรมัน (Roman fort) และ ป้อมเนิน (Hill fort) ที่สร้างกันทั่วยุโรปที่มาจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในสมัยจักรวรรดิคาโรลินเจียน แต่การวิวัฒนาการของปืนใหญ่และดินปืนในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นการเปลี่ยนลักษณะการสงครามในยุโรปและทำให้สมรรถภาพของปราสาทในการใช้เป็นสิ่งป้องกันการโจมตีจากข้าศึกลดลง และทำให้การสร้างป้อมเป็นที่นิยมกันมากขึ้น สิ่งก่อสร้างในรัสเซียที่เรียกว่า “เคร็มลิน” (Kremlin) หรือในญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ชิโร” (Shiro) ก็ถือว่าเป็นปราสาท.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและปราสาท · ดูเพิ่มเติม »

ปัฏนา

ปัฏนา (อังกฤษ: Paṭnā ฮินดี: पटना) (ชื่ออื่น: ปาตลีบุตร, ปาฏลีบุตร, ปัตนะ, มคธ) เป็นเมืองหลวงของรัฐพิหาร รัฐหนึ่งในประเทศอินเดีย ปัฏนาเป็นเมืองเก่าแก่ที่ยังมีผู้อาศัยอยู่ต่อเนื่องยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเมื่อ 2,500 ปีก่อน ในสมัยพุทธกาล เมืองแห่งนี้เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ ในแคว้นมคธ ที่ตั้งโดยพระเจ้าอชาตศัตรู เพื่อเป็นเมืองหน้าด่านสำหรับการเตรียมทำสงครามกับแคว้นวัชชี หลังจากพุทธกาล เมืองนี้มีความสำคัญ เพราะได้กลายเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธและมีพระมหากษัตริย์ดำรงตำแหน่งพระจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดีย คือพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์เมารยะ ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ทรงอุปถัมภ์การทำตติยสังคายนา ณ อโศการาม โดยให้เมืองปัฏนา (หรือปาตลีบุตร ตามที่เรียกกันในสมัยนั้น) เป็นศูนย์กลางในการส่งสมณทูตออกเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสุวรรณภูมิ ปัจจุบัน เมืองแห่งนี้ยังคงเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐพิหาร (แคว้นมคธในสมัยโบราณ) มีพื้นที่เมืองประมาณ 25 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากกว่า 1 ล้าน 8 แสนคน โดยประมาณ.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและปัฏนา · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

แรกนาขวัญ

วาดในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แสดงพิธีแรกนาขวัญในพม่า แรกนาขวัญ (Ploughing Ceremony; បុណ្យច្រត់ព្រះនង្គ័ល; မင်္ဂလာလယ်တော် Mingala Ledaw หรือ လယ်ထွန်မင်္ဂလာ Lehtun Mingala) เป็นพิธีกรรมที่พบเห็นได้ในหลายประเทศทางแถบเอเชีย จัดขึ้นเพื่อเริ่มต้นฤดูการปลูกข้าวแบบดั้งเดิม ในประเทศไทย การแรกนาขวัญซึ่งกระทำโดยราชสำนักนั้นประกอบด้วยพิธีสองอย่างตามลำดับ คือ พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีพุทธซึ่งตั้งขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ซึ่งกระทำสืบเนื่องมาแต่สมัยสุโขทัย ปัจจุบัน เรียกวันแรกนาขวัญว่า วันพืชมงคล ซึ่งจัดไม่ตรงกันทุกปีสุดแต่สำนักพระราชวังจะกำหนด วันพืชมงคลยังเป็นวันเกษตรกรไทย เพื่อระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรรมในเศรษฐกิจไทย และเป็นวันหยุดราชการด้วย แต่ไม่เป็นวันหยุดธนาคาร.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและแรกนาขวัญ · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหว

แผนที่โลกแสดงจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวระหว่างปี พ.ศ. 2506–2541 ทั้งสิ้น 358,214 จุด แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์สั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปจะไม่รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา เรียกว่า วิทยาแผ่นดินไหว เมื่อจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อยู่นอกชายฝั่ง อาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ นอกจากนี้ แผ่นดินไหวยังอาจก่อให้เกิดดินถล่ม และบางครั้งกิจกรรมภูเขาไฟตามมาได้ แผ่นดินไหววัดโดยใช้การสังเกตจากไซสโมมิเตอร์ (seismometer) มาตราขนาดโมเมนต์เป็นมาตราที่ใช้มากที่สุดซึ่งทั่วโลกรายงานแผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่าประมาณ 5 สำหรับแผ่นดินไหวอีกจำนวนมากที่ขนาดเล็กกว่า 5 แมกนิจูด สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวแต่ละประเทศจะวัดด้วยมาตราขนาดท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ หรือเรียก มาตราริกเตอร์ สองมาตรานี้มีพิสัยความถูกต้องคล้ายกันในเชิงตัวเลข แผ่นดินไหวขนาด 3 หรือต่ำกว่าส่วนใหญ่แทบไม่รู้สึกหรือรู้สึกได้เบามาก ขณะที่แผ่นดินไหวตั้งแต่ขนาด 7 อาจก่อความเสียหายรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง ขึ้นอยู่กับความลึก แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มีขนาดมากกว่า 9 เล็กน้อย แม้จะไม่มีขีดจำกัดว่าขนาดจะมีได้ถึงเท่าใด แผ่นดินไหวใหญ่ล่าสุดที่มีขนาด 9.0 หรือมากกว่า คือ แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 และเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกในญี่ปุ่น ความรุนแรงของการสั่นสะเทือนวัดโดยมาตราเมร์กัลลีที่ถูกดัดแปลง หากตัวแปรอื่นคงที่ แผ่นดินไหวที่อยู่ตื้นกว่าจะสร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างมากกว่าแผ่นดินไหวที่อยู่ลึกกว.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและแผ่นดินไหว · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นมคธ

แผนที่เอเชียใต้ แสดงภาพแคว้นอินเดียโบราณทั้ง 16 แห่ง ซึ่งเรียกรวมกันว่ามหาชนบท แคว้นมคธ (บาลี/สันสกฤต: मगध มะคะธะ) เป็นชื่อแคว้นหนึ่งในจำนวน 16 แคว้นใหญ่ในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล มีเมืองหลวงชื่อราชคฤห์ พระราชาที่ปกครองแคว้นมคธสมัยพุทธกาลคือพระเจ้าพิมพิสาร ต่อจากนั้นคือพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นพระราชโอรส แคว้นมคธเป็นแคว้นที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรกเพราะเป็นแคว้นใหญ่ และทรงรับสวนเวฬุวันนอกเมืองราชคฤห์เป็นอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา มคธเป็นชื่อของภาษาด้วยคือภาษามคธ อันเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกใช้ในการประกาศพระศาสนา ซึ่งต่อมาเรียกว่าภาษาบาลี เพราะเป็นภาษาที่รักษาพระพุทธศาสนาเข้าไว้.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและแคว้นมคธ · ดูเพิ่มเติม »

เมืองหลวง

มืองหลวง หรือ ราชธานี คือ เมืองหลักที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาล คำในภาษาอังกฤษ capital มาจากภาษาละติน caput หมายถึง "หัว" และอาจเกี่ยวข้อง เนินเขาแคปิทอไลน์ เนินเขาที่สูงที่สุดในโรมโบราณ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์และศาสนา ในภาษาไทย มีหลายคำที่ใช้ในความหมายนี้ เช่น กรุง หรือ พระนคร สำหรับคำว่าเมืองหลวงนั้นยังก็มีความหมายเป็นสองนัย กล่าวคือ หมายถึงเมืองใหญ่ (หลวง หมายถึง ใหญ่) หรือเมืองของหลวง (คือเมืองของพระเจ้าแผ่นดิน, เพราะเป็นที่ประทับของกษัตริย์) เมืองหลวงในบางประเทศ มีขนาดเล็กกว่าเมืองอื่น เช่นใน สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล สำหรับคำว่าเมืองหลวงนี้ อาจเป็นเมืองหลวงของรัฐ (ในประเทศที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ เป็นต้น) หรือเมืองหลวงของเขตการปกครองระดับใดๆ ก็ได้ เช่น อำเภอเมือง เปรียบเหมือนเป็นเมืองหลวงของจังหวั.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและเมืองหลวง · ดูเพิ่มเติม »

เวียงจันทน์

วียงจันทน์ (ວຽງຈັນ) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศลาว อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง ในพิกัด 17°58' เหนือ, 102°36' ตะวันออก (17.9667, 102.6) ประชากรในตัวเมืองมีประมาณ 200,000 คน (ค.ศ. 2005) แต่ประชากรทั้งหมดที่อาศัยในนครหลวงเวียงจันทน์ เชื่อว่ามีอยู่ถึงกว่า 730,000 คน เวียงจันทน์มีชื่อที่ตั้งในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ว่า กรุงศรีสัตนาคคนหุต วิสุทธิ์รัตนราชธานีบุรีรม.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและเวียงจันทน์ · ดูเพิ่มเติม »

เนไฟรต์

นไฟรต์ หรือ หยกเนไฟรต์ (Nephrite) เป็นหินตระกูลเทรโมไลท์หรือแอคติโนไลท์ ซึ่งมีธาตุเหล็กปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก จึงทำให้แร่มีสีเขียว.

ใหม่!!: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและเนไฟรต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระพุทธมหามุนีรัตนปฏิมากรพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตพระแก้วมรกตเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »