โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระนางช็องซ็อง

ดัชนี พระนางช็องซ็อง

ระนางช็องซ็อง (7 ธันวาคม 1692 - 15 กุมภาพันธ์ 1757) เป็นพระมเหสีองค์แรกของ พระเจ้าย็องโจ พระราชาองค์ที่ 21 แห่ง ราชวงศ์โชซ็อน.

7 ความสัมพันธ์: พระราชวังชังด็อกพระเจ้าย็องโจแห่งโชซ็อนพระเจ้าคย็องจงพระเจ้าซุกจงมกุฎราชกุมารซาโดราชวงศ์โชซ็อนซุกบินแห่งตระกูลชเว

พระราชวังชังด็อก

ังด็อกกุง หรือ พระราชวังชังด็อก เป็นหนึ่งในห้าพระราชวังที่สำคัญที่สุดของเกาหลี สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแทจงแห่งราชวงศ์โชซ็อน เมื่อปี พ.ศ. 1948 (ค.ศ. 1405) แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 1955 (ค.ศ. 1412) ด้วยเหตุที่พระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระราชวังคย็องบก (Kyeongbok Palace) ผู้คนจึงเรียกพระราชวังแห่งนี้ว่าพระราชวังตะวันออก (East Palace) ซึ่งต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าซอนโจ กษัตริย์องค์ที่ 14 แห่งโชซ็อนได้โปรดเกล้าฯ ให้ขยายสนามหญ้าของพระราชวังเป็น 500,000 ตารางเมตร ในปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) ขุนศึกญี่ปุ่น โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิได้เข้ารุกรานเกาหลี กินเวลายาวนานถึง 7 ปี พร้อมกับเผาทำลายพระราชวัง ซึ่งในปีนี้เองเป็นปีที่ฉลองครบรอบ 200 ปีแห่งการสถาปนาราชวงศ์ โดยหลังจากผ่านสงคราม 7 ปีไปแล้ว พระราชวังก็ได้รับการบูรณะขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1619) โดยพระเจ้าซอนโจ และองค์ชายควางแฮกุน แต่อีก 4 ปีต่อมา พระราชวังกลับเกิดเพลิงเผาวอดอีกครั้งในเหตุจลาจลที่ขุนนางไม่พอใจองค์ชายควางแฮและก่อการยึดอำนาจ สถาปนาองค์ชายนึงยางขึ้นเป็นพระเจ้าอินโจ พร้อมกับเนรเทศองค์ชายควางแฮไปเกาะคังฮวา จนพระราชวังถูกโจมตีอีกครั้งจากจักรวรรดิชิง (ประเทศจีน) แต่หลังจากนั้นพระราชวังก็ได้รับการสร้างใหม่ให้อยู่ในสภาพดั้งเดิม พระราชวังชังด็อกได้ถูกใช้เป็นที่ประทับขององค์กษัตริย์ ที่ว่าราชการ และที่ทำงานของขุนนางจนถึงปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) เมื่อพระราชวังคย็องบกซึ่งอยู่ข้างเคียงได้รับการสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งโดยสมเด็จพระจักรพรรดิซุนจง (จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิเกาหลี) แต่อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดิซุนจงนี้ก็ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังชังด็อกเรื่อยมากระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) โซล บีวอนอย่างไรก็ตาม บรรดาสมาชิกราชวงศ์ลี (ราชวงศ์จักรพรรดิเกาหลี) ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันซึ่งยังไม่มีสถานะเป็นประมุขแห่งรัฐอย่างเป็นทางการนั้น หากในอนาคตสถาบันจักรพรรดิเกาหลีถูกฟื้นขึ้นในฐานะสัญลักษณ์แห่งรัฐ (ระบอบประชาธิปไตยอันมีสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นประมุข) พระราชวังแห่งนี้น่าจะเป็นสถานที่ใช้ในการประกอบพิธีบรมราชาภิเษกเพื่อการขึ้นเสวยราชย์ของสมเด็จพระจักรพรร.

ใหม่!!: พระนางช็องซ็องและพระราชวังชังด็อก · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าย็องโจแห่งโชซ็อน

ระเจ้าย็องโจ (ค.ศ. 1694 - ค.ศ. 1776) ทรงเป็นกษัตริย์ลำดับที่ 21 แห่งราชวงศ์โชซ็อน (ค.ศ. 1724 - ค.ศ. 1776) พระเจ้าย็องโจทรงปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองหลายประการ ทรงเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ได้รับยกย่องที่สุดแห่งราชวงศ์โชซ็อน คู่กับพระนัดดา คือ พระเจ้าช็องโจแห่งโชซ็อน พระเจ้าย็องโจทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวที่สุดของราชวงศ์โชซ็อน.

ใหม่!!: พระนางช็องซ็องและพระเจ้าย็องโจแห่งโชซ็อน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าคย็องจง

ระเจ้าคย็องจง (Gyeongjong) สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: พระนางช็องซ็องและพระเจ้าคย็องจง · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าซุกจง

ระเจ้าซุกจง (ค.ศ. 1661 - ค.ศ. 1720) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 19 แห่งราชวงศ์โชซ็อน (ค.ศ. 1674 - ค.ศ. 1720) พระเจ้าซุกจงประสูติเมื่อ ค.ศ. 1661 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าฮย็อนจง กับพระมเหสีมยองซอง ได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาทเมื่อ ค.ศ. 1667 ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1674 พระนางอินซอน พระมเหสีของพระเจ้าฮโยจง สิ้นพระชนม์ จึงเกิดข้อถกเถียงกันเรื่องการใส่พระภูษาไว้ทุกข์ของพระนางจางรยอล พระมเหสีของพระเจ้าอินโจ ขึ้นอีกครั้ง เรียกว่า ความขัดแย้งเรื่องพิธีปีคาบิน (갑인예송, 甲寅禮訟) พระเจ้าฮย็อนจงทรงเลือกที่จะทำตามข้อเสนอของขุนนางฝ่ายใต้ นำโดยฮอมก (허목, 許穆) ซึ่งเสนอให้นางจางรยอลไว้ทุกข์แบบแทกง (대공, 大功 9 เดือน พระภูษาหยาบ) ทำให้ฝ่ายใต้ขึ้นมามีอำนาจแทนฝ่ายตะวันตก ซึ่งมีอำนาจอยู่ก่อนหน้า ในปีเดียวกันนั้น พระเจ้าฮย็อนจงสวรรคต พระเจ้าซุกจงจึงทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงเวลาที่ฝ่ายใต้มีอำนาจ รัชกาลของพระเจ้าซุกจงเป็นสมัยที่ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่างๆของขุนนางดุเดือดที่สุด เรียกได้ว่าไม่มีเลยสักวันเดียวในรัชสมัยของพระองค์ที่จะปราศจากการทุ่มเถียงระหว่างฝ่ายใต้และฝ่ายตะวันตก ขณะที่ฝ่ายใต้มีอำนาจ ฝ่ายตะวันตกก็ถูกกีดกันออกจากราชการกันเป็นส่วนใหญ่ แต่แล้วเมื่อ..

ใหม่!!: พระนางช็องซ็องและพระเจ้าซุกจง · ดูเพิ่มเติม »

มกุฎราชกุมารซาโด

มกุฎราชกุมารชังฮ็อน หรือ มกุฎราชกุมารซาโด (ค.ศ. 1735 - ค.ศ. 1762) เป็นพระโอรสองค์ที่สองของพระเจ้ายองโจ กับสนมยองบิน ตระกูลอี แห่งจอนอึย ในสมัยพระเจ้าโคจงมีการแต่งตั้งองค์ชายซาโดให้มีฐานะเป็นกษัตริย์ พระนามว่า พระเจ้าจางโจ (장조, 莊祖) และต่อมาได้รับสถาปนาเป็น พระจักรพรรดิอึย (의황제, 懿皇帝) เนื่องจากมกุฎราชกุมารองค์ก่อน คือ มกุฎราชกุมารฮโยจาง สิ้นพระชนม์ไปในพ.ศ. 2271 ราชวงศ์โชซอนอยู่ในภาวะไร้ผู้สืบทอด บรรดาสนมของพระเจ้ายองโจก็ยังไม่มีพระโอรสเลย ดังนั้น เมื่อองค์ชายชังฮ็อนประสูติในพ.ศ. 2278 ที่พระราชวังชางเกียงกุง จึงได้รับแต่งตั้งเป็นวังเซจา (มกุฎราชกุมาร) ทันที องค์ชายชังฮ็อนทรงเรียนรู้ได้เร็ว ทรงย้ายไปที่ทงกุง (ตำหนักตะวันออก) อันเป็นที่อยู่เดิมของมเหสีซอนอีของพระเจ้าคยองจง เนื่องจากองค์ชายชังฮ็อนเป็นพระโอรสองค์เดียวในขณะนั้นของพระเจ้ายองโจ พระเจ้ายองโจจึงทรงเข้มงวดกับการศึกษาขององค์ชายชังฮ็อนอย่างมาก ใน..

ใหม่!!: พระนางช็องซ็องและมกุฎราชกุมารซาโด · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โชซ็อน

ราชวงศ์โชซอน (Joseon Dynasty) หรือ ราชวงศ์อี ที่สถาปนาขึ้นภายหลังการยกสถานะของอาณาจักรโชซอนเป็นจักรวรรดิโชซอนตามพระบรมราชโองการของจักรพรรดิควังมูแห่งจักรวรรดิโชซอน (จักรพรรดิโคจง) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองคาบสมุทรเกาหลีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พระนางช็องซ็องและราชวงศ์โชซ็อน · ดูเพิ่มเติม »

ซุกบินแห่งตระกูลชเว

ระนางฮวากย็อง ซุกบิน สกุลชเว (Lady Hwagyeong, Royal Noble Consort Suk of the Choi clan; ฮันกึล: 숙빈 최씨; ฮันจา: 和瓊淑嬪 崔氏; ค.ศ. 1670–ค.ศ. 1718) พระนามเดิมว่า ชเว ทงอี (ฮันกึล: 최동이; ฮันจา: 崔同伊) เป็นพระสนมเอกในพระเจ้าซุกจง เรื่องราวของพระองค์ได้รับการนำมาทำเป็นละครเรื่อง ทงอี จอมนางคู่บัลลังก์ (Dong Yi).

ใหม่!!: พระนางช็องซ็องและซุกบินแห่งตระกูลชเว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระมเหสีจองซองพระนางจองซอง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »