โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

ดัชนี ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่งรักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราช มีสมเด็จพระราชาคณะผู้อาวุโสโดยสมณศักดิ์ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในระหว่างที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกยังว่างอยู่ หรือในระหว่างที่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงปฏิบัติศาสนากิจในราชกิจในต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติคณะสง..

33 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหานิกายราชกิจจานุเบกษาวัดวัดบวรนิเวศราชวรวิหารวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหารวัดพิชยญาติการามวรวิหารวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหารวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารวัดสระเกศราชวรมหาวิหารวัดสัมพันธวงศารามวรวิหารวัดสุวรรณารามราชวรวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารวัดปากน้ำ ภาษีเจริญวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหารสภากาชาดไทยสมณศักดิ์สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม)สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร)สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน)สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี)สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร)สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร)สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย)สังฆราชธรรมยุติกนิกายโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน..

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

มหานิกาย

มหานิกาย เป็นคำเรียกนิกาย หรือคณะของพระสงฆ์ไทยสายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย เป็นฝ่ายคันถธุระ เดิมนั้น คำเรียกแบ่งแยกพระสงฆ์สายเถรวาทในประเทศไทยออกเป็นมหานิกายและธรรมยุติกนิกายยังไม่มี เนื่องจากคณะพระสงฆ์ไทยในสมัยโบราณ ก่อนหน้าที่จะมีการจัดตั้งคณะธรรมยุตขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ไม่มีการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่พระสงฆ์ไทยนั้นล้วนแต่เป็นเถรวาทสายลังกาวงศ์ทั้งสิ้น จนเมื่อพระวชิรญาณเถระ หรือเจ้าฟ้ามงกุฏ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ได้ก่อตั้งนิกายธรรมยุตขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แยกออกจากคณะพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่เดิมซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในสมัยนั้น จึงทำให้พระองค์คิดคำเรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่เป็นสายเถรวาทลังกาวงศ์เดิมว่า พระส่วนมาก หรือ มหานิกาย ซึ่งคำ มหานิกาย นั้น มาจากธาตุศัพท์ภาษาบาลี มหนฺต + นิกาย แปลว่าพวกมาก กล่าวโดยสรุป มหานิกายก็คือ พระสงฆ์สายเถรวาทลังกาวงศ์ดั้งเดิมในประเทศไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่พระสงฆ์ธรรมยุติกนิก.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและมหานิกาย · ดูเพิ่มเติม »

ราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette, เรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย นพศก จุลศักราช 1219 ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 นับเป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคำสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการจวบจนปัจจุบันนี้ นับเป็นสิ่งพิมพ์ของไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด โดยมีสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์และเผยแพร.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและราชกิจจานุเบกษา · ดูเพิ่มเติม »

วัด

วัด, อาวาส หรือ อาราม คือคำเรียก ศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดมีวิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสามส่วนคือ พุทธาวาส สังฆาวาส และสัตวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับภิกษุสามเณรจำพรรษา ส่วนสัตวาสเป็นส่วนที่อนุญาตให้พุทธศาสนิกชนนำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยเพื่อให้วัด และพระภิกษุสงฆ์สามเณรได้เลี้ยงดู และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิม.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและวัด · ดูเพิ่มเติม »

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 4 พระองค์ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทั้งยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๖ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และ วัดประจำรัชกาลที่ ๙ (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช).

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร

วัดชนะสงคราม เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่าวัดกลางนา ต่อมาถูกยกสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพิชยญาติการามวรวิหาร

ระปรางค์วัดพิชยญาติการามวรวิหาร ภายในพระอุโบสถ วัดพิชัยญาติการามวรวิหาร รอยพระบาท 4 พระองค์ วัดพิชัยญาติการาม หรือ วัดพิชัยญาติ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เชิงสะพานพุทธ บริเวณที่เดิมเรียกว่าวงเวียนเล็ก ในแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ตั้งอยู่ริมคลองบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน เดิมเป็นวัดร้าง แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ครั้งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา ได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ประมาณ..

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและวัดพิชยญาติการามวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนและคลองผดุงกรุงเกษม ด้านใกล้ถนนราชดำเนินนอก.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 2412 โดยมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ และเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) เป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง และมีมหาสีมาอันเป็นเสาศิลาจำหลักยอดเป็นรูปเสมาธรรมจักร 8 เสา ตั้งเป็นสีมาที่กำแพง 8 ทิศ “ราชบพิธ” หมายถึง พระอารามที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง บพิธ คำนี้มาจากภาษาบาลีคือ ปวิธะ ที่แปลว่าสร้าง ส่วน “สถิตมหาสีมาราม” หมายถึง พระอารามซึ่งมีสีมากว้างใหญ่ เป็นมหาสีมาล้อมรอบอาณาเขตของวัด วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม นับเป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาล.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

วัดสระเกศ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีจุดเด่นคือ พระบรมบรรพต.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร

วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ในย่านเยาวราช เดิมเป็นวัดราษฎร์ มีนามว่า วัดเกาะ หลักฐานในการสร้างวัดแต่เดิมไม่ปรากฏใครเป็นผู้สร้าง ทราบแต่ว่าเป็นวัดโบราณเก่าแก่ มีมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา ก่อนสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เหตุที่ได้ชื่อว่า วัดเกาะ เนื่องจากการที่มีคูคลองล้อมรอบเชื่อมต่อจากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ ใหม่หลายวัด ในส่วนของวัดเกาะ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระเจ้าหลานเธอ ต้นราชสกุลมนตรีกุล ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งวัด แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า "วัดเกาะแก้วลังการาม" ต่อมาในสมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้ง แล้วเปลี่ยนนามวัดใหม่ เป็น วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร เช่นในปัจจุบัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯถวายผ้าพระกฐินที่วัดสัมพันธวงศ์วงศารามวรวิหาร รวมถึงวัดปทุมคงคาราม โดยทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งเทียบที่ศาลาท่าน้ำ.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร

วัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร หรือนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า วัดสุวรรณาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ปัจจุบันตั้งอยู่ในซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ตรงข้ามกับแยกบางขุนนนท์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย โดยติดอยู่ริมคลองบางกอกน้อยฝั่งตะวันตก.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดสุทัศนเทพวราราม หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดสุทัศน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย และถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน และอยู่มีสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นคือ เสาชิงช้า อยู่บริเวณหน้าวั.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ ณ ที่ราบลุ่มบางกอกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ริมคลองหลวงหรือ คลองบางกอกใหญ่ อันเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ก่อนที่จะมีการขุดคลองลัดหน้าวัดอรุณราชวรารามและกลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน เนื่องจากวัดตั้งอยู่บริเวณปากคลองด่านที่แยกไปจากคลองบางหลวงอีกทีหนึ่ง ชื่อของวัดจึงถูกเรียกขานตามตำบลที่ตั้งว่า วัดปากน้ำ ซึ่งชื่อนี้มีปรากฏเรียกใช้ในจดหมายเหตุโบราณหลายฉบับ แต่ได้พบชื่อของวัดที่แปลกออกไปในแผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2453 และ พ.ศ. 2474 ว่า วัดสมุทธาราม แต่ไม่เป็นที่นิยมเรียกขานกันอย่างนั้น คงเรียกว่า วัดปากน้ำ มาโดยตลอด ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการขุดคลองภาษีเจริญที่ข้างวัดด้านทิศตะวันตก วัดจึงมีลำน้ำหลักล้อมอยู่ทั้ง 3 ด้าน ส่วนด้านใต้เป็นคลองเล็กแสดงอาณาเขตของวัดในสมัยก่อน วัดปากน้ำ เป็นวัดโบราณสร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง (ระหว่าง พ.ศ. 2031-2172) สถาปนาโดยพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏพระนามแน่ชัด เป็นวัดประจำหัวเมืองธนบุรี ปรากฏในตำนานเรื่องวัตถุสถานต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาว่าเป็นพระอารามหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา อันหมายถึงพระอารามที่พระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสีทรงสถาปนาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยานั้น หลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถานภายในวัดมีอายุย้อนไปถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง ได้พบร่องรอยคลองเล็กด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของวัด ที่โบราณขุดไว้เป็นแนวเขตที่ดินของวัดหลวงสมัยอยุธยา ที่ตั้งของวัดปากน้ำจึงมีลักษณะเป็นเกาะรูปสี่เหลี่ยมมีน้ำล้อมอยู่ทุกด้าน สถาปัตยกรรมและศิลปวัตถุที่อยู่คู่วัดมาเช่น หอพระไตรปิฏก ตู้พระไตรปิฎกทรงบุษบก ล้วนเป็นฝีมือช่างหลวงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และตัวพระอุโบสถก็ใช้เทคนิคการก่อสร้างในสมัยนั้น ได้ค้นพบนามเจ้าอาวาส 1 รูป ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) คือ พระครูธนะราชมุนี วัดปากน้ำ ได้มีบทบาทสำคัญมาแต่โบราณเพราะได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงที่อยู่นอกกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดสำคัญประจำหัวเมืองหน้าด่านทางทะเล ในจดหมายเหตุสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคถวายผ้าพระกฐินหลวง ณ วัดปากน้ำ ตลอดรัชกาลวัดปากน้ำได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด คือ ได้รับพระราชทานพระราชทรัพย์จากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในการซ่อมหลังคาพระอุโบสถคราวหนึ่ง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และให้คงรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาไว้ ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทางวัดได้รับพระบรมราชานุญาตบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เกือบทั้งอารามโดยให้อนุรักษ์ศิลปะเดิมไว้ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์นำพระกฐินหลวงมาถวายตลอดรัชกาล ในสมัยรัชกาลที่ 6 วัดปากน้ำได้ชำรุดทรุดโทรมลง ไม่มีเจ้าอาวาสประจำพระอาราม มีแต่ผู้รักษาการที่อยู่ในอารามอื่น ทางเจ้าคณะปกครองได้ส่งพระสมุห์สด จนฺทสโร จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่งท่านได้กวดขันพระภิกษุสามเณรให้ปฏิบัติในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญได้มีการสอนสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมตั้งสำนักเรียนทั้งนักธรรมและบาลี สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น ทำให้พระภิกษุสามเณร และสาธุชนเข้ามาขอศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก วัดจึงเจริญขึ้นมาโดยลำดับ กลายเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติธรรม และเป็นศูนย์กลางการศึกษาบาลี ท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์มาโดยลำดับ สมณศักดิ์สุดท้ายในพระราชทินนามที่ พระมงคลเทพมุนี แต่ผู้คนทั่วไปรู้จักและเรียกขานนามท่านว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำ ในสมัยสมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส (ในกาลต่อมาท่านได้รับพระราชทานสถาปนาพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช) วัดปากน้ำได้รับการปรับปรุงทัศนียภาพและบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญ เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร ช่างได้เปลี่ยนสถาปัตยกรรมเครื่องบนเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์เกือบทั้งอาราม แต่ตัวรากฐานและอาคารยังคงเป็นของโบราณแต่เดิมมา ถึงสมัยพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำรูปปัจจุบัน วัดปากน้ำได้พัฒนาอย่างมากในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม มีพระภิกษุสามเณรสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยคในนามวัดปากน้ำเป็นจำนวนมาก และการปฏิบัติภาวนาตามแนวหลวงพ่อวัดปากน้ำก็ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีสถานที่ปฏิบัติ คือ หอเจริญวิปัสสนาเป็นเอกเทศ และมีผู้เข้าปฏิบัติเป็นจำนวนมากทุกวัน.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร อยูในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ใกล้สะพานกษัตริย์ศึกและสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) อยู่รวมกับ "โรงเรียนเทพศิรินทร์" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อ พ.ศ. 2419 ขณะมีพระชนมายุครบ 25 พรรษาพอดี เพื่อทรงเฉลิมพระเกียรติและอุทิศพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งได้เสด็จสวรรคตตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ยังทรงพระเยาว์ วันที่ 3 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สภากาชาดไทย

กาชาดไทย เป็นสภากาชาดประจำประเทศไทย มีภารกิจปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ร..

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและสภากาชาดไทย · ดูเพิ่มเติม »

สมณศักดิ์

มณศักดิ์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายความว่า ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้นมีพัดยศเป็นเครื่องกำหนด อาจกล่าวได้ว่า สมณศักดิ์ คือบรรดาศักดิ์ หรือยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ภิกษุผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบให้ดำรงมั่นอยู่ในสมณเพศ เพื่อเป็นกำลังสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและเพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปโดยเรียบร้อย เพราะการที่พระภิกษุรูปใดได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ย่อมได้รับมอบหมายภาระหน้าที่ในการปกครองหมู่คณะแห่งสงฆ์ไปพร้อมกันด้ว.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและสมณศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม)

ตราจารย์พิเศษ ดร.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร)

มเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช รักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสีลาจารวัตรมีความรอบรู้ทั้งในทางคดีโลกและคดีธรรม กล่าวได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า เป็นสมเด็จพระราชาคณะรูปแรกของไทยที่สำเร็จการศึกษาในทางคดีโลกถึงชั้นปริญญาเอก.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน)

มเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน) (นามเดิม: พุฒ สุวัฒนกุล) (11 มีนาคม พ.ศ. 2450 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2553) อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร และเป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆร.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี)

มเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) เป็นสมเด็จพระราชาคณะ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น กรรมการมหาเถรสมาคมโดยสมณศักดิ์ เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร และคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆร.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

มเด็จพระพุฒาจารย์ นามเดิม เกี่ยว โชคชัย ฉายา อุปเสโณ (11 มกราคม พ.ศ. 2471 - 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และประธานสมัชชามหาคณิสสร เป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดของมหาเถรสมาคมเดลินิวส์, 30 ธันวาคม 2547มติชน, 15 ม..

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร)

มเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) เป็นสมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลั.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)

มเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระนามเดิม เจริญ คชวัตร ฉายา สุวฑฺฒโน (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ..

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)

มเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ นามเดิม ช่วง สุดประเสริฐ ฉายา วรปุญฺโญ เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (พระอารามหลวง) ประธานสมัชชามหาคณิสสร และอดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆร.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)

มเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร และกรรมการมหาเถรสมาคม เคยดำรงตำแหน่งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย งดงาม น่าเลื่อมใส ดุจเดียวกับพระกัมมัฏฐาน ที่ครั้งหนึ่งเคยเดินธุดงค์ไปบนเส้นทางเดียวกับพระกัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เน้นการปฏิบัติภาวนาพร้อมกับการปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย ก่อนจะหันเหชีวิตมุ่งหน้าสู่การเรียนพระปริยัติธรรมตามแนวทาง “คันถธุระ” จนประสบผลส่าเร็จสูงสุด ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค และได้น้อมนำหลักธรรมค่าสอนของพระพุทธองค์มาสู่การปฏิบัติ อบรมสั่งสอนพุทธบริษัท บริหารการคณะสงฆ์ นำความเจริญรุ่งเรืองให้กับพระพุทธศาสนาโดยรวม.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร)

มเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) (นามเดิม: นิยม จันทนินทร) (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2554) เป็นอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และเป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆร.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)

มเด็จพระวันรัต ฉายา พฺรหฺมคุตฺโต (นามเดิม:จุนท์ พราหมณ์พิทักษ์) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ผู้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง และเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร และผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพวรวิหาร.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)

มเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระนามเดิม อัมพร ประสัตถพงศ์ ฉายา อมฺพโร เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงเริ่มดำรงตำแหน่งในวันที่ 12 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย)

มเด็จพระธีรญาณมุนี นามเดิม สมชาย พุกพุ่มพวง ฉายา วรชาโย เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต) กรรมการมหาเถรสมาคม และรองแม่กองธรรมสนามหลวง รูปที่ 1 ฝ่ายนักธรรม.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) · ดูเพิ่มเติม »

สังฆราช

ังฆราช คือพระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล ในแต่ละประเทศ เช่น ประเทศพม่า ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา มักมีพระสังฆราชเป็นของตน พระสังฆราชอาจเป็นประมุขเฉพาะคณะสงฆ์นิกายหนึ่งหรือเป็นประมุขคณะสงฆ์ทั้งปวงทุกนิกายในประเทศนั้น (ซึ่งเรียกว่าสกลมหาสังฆปริณายก) คำว่า สังฆราช เป็นคำสมาสจากคำว่า สงฺฆ (พระสงฆ์) + ราช (พระราชา) ซึ่งแปลว่า พระราชาแห่งคณะสง.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและสังฆราช · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมยุติกนิกาย

ตราคณะธรรมยุต ธรรมยุติกนิกาย หรือ คณะธรรมยุต เป็นคณะสงฆ์ที่พระวชิรญาณเถระทรงตั้งขึ้นเพื่อฟื้นฟูศาสนาพุทธในสยาม และแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผนวชอยู่นั้น ได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานทำให้มีพระวิจารณญาณเกี่ยวกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนา และความประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นเหตุให้มีพระราชดำริในอันที่จะฟื้นฟูการสั่งสอนพระพุทธศาสนา และการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยตามที่ได้ทรงศึกษา และทรงพิจารณาสอบสวนจนเป็นที่แน่แก่พระราชหฤทัยว่าถูกต้องเป็นจริงอย่างไร แล้วพระองค์ได้ทรงนำประพฤติปฏิบัติขึ้นก่อน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทรงเริ่มแก้ไขที่พระองค์เองเป็นอันดับแรก ต่อมาเมื่อมีบุคคลอื่นเห็นชอบและนิยมตาม จึงได้มีผู้ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์ขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ จนเกิดเป็นพระสงฆ์หมู่หนึ่ง หรือนิกายหนึ่ง ที่ได้ชื่อในภายหลังว่า ธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ธรรมยุต” อันมีความหมายว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม หรือชอบด้วยธรรม หรือยุติตามธรรม ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่า ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ (คือคำสั่งสอนของพระศาสดา) แล้วปฏิบัติข้อนั้น เว้นข้อที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่เป็นสัตถุศาสน์ แม้จะเป็นอาจินปฏิบัติ (ข้อปฏิบัติตามกันมาแต่ผิดพระธรรมวินัย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติ ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ธรรมยุติกนิกาย ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัยปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง เป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในส่วนที่บกพร่องของพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่โบราณ ให้สมบูรณ์ทั้งพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นความพยายามของพระวชิรญาณเถระเพื่อช่วยปฏิรูปการคณะสงฆ์และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นในประเทศไทย การก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เป็นสาเหตุทำให้พระสงฆ์เถรวาทอื่นซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ได้มีการประชุมและมีมติให้เรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ว่า "มหานิกาย".

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและธรรมยุติกนิกาย · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

รงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นโรงพยาบาลสังกัดสภากาชาดไทย ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2457 ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นที่ตั้งและที่ดำเนินการเรียนการสอนให้กับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์แห่งที่สองของประเทศไทย นอกจากนี้คณาจารย์สังกัดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้ว.

ใหม่!!: ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »