โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ผัง จี๋ (ราชวงศ์ซ่ง)

ดัชนี ผัง จี๋ (ราชวงศ์ซ่ง)

ผัง จี๋ (เกิด ค.ศ. 988 เฉิงอู่; ตาย ค.ศ. 1063 ไคเฟิง) เป็นข้าราชการชาวจีนในราชวงศ์ซ่งเหนือ ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี ตั้งแต..

13 ความสัมพันธ์: มณฑลชานซีราชวงศ์ซ่งอัครมหาเสนาบดี (ประเทศจีน)จอหงวนจักรพรรดิซ่งเหรินจงจี่หนานขุนศึกตระกูลหยางตี๋ ชิงแมยิสเตร็ดไคเฟิงเจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรมเซี่ยตะวันตกเปาบุ้นจิ้น

มณฑลชานซี

นซี ตามสำเนียงกลาง หรือ ซัวไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ชื่อย่อ จิ้น (晋) เป็นมณฑลหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของแม่น้ำเหลืองในภาคเหนือของประเทศจีน คำว่า "ชานซี" แปลตรงตัวว่า ทิศตะวันตกของภูเขา เนื่องจากมณฑลตั้งอยู่ทางตะวันตกของภูเขาไท่หัง มีเมืองเอกชื่อ ไท่หยวน มีเนื้อที่ 156,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 33,350,000 คน ความหนาแน่น 213 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 304.2 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9120 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: ผัง จี๋ (ราชวงศ์ซ่ง)และมณฑลชานซี · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์ซ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ ซ้อง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นหนึ่งในราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1503 ถึง ปีพ.ศ. 1822 รัฐบาลซ่งเป็นรัฐบาลแรกในโลกที่ใช้เงินตราแบบกระดาษ เจ้า ควงอิ้น ได้ชื่อว่า พระเจ้าซ่งไท่จู่ ได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาใหม่ แต่กลับตัดทอนอำนาจทางการทหาร ของแม่ทัพ เนื่องจากความระแวง กลัวจะยึดอำนาจ ทำให้การทหารอ่อนแอ อย่างไรก็ดี ในราชวงศ์นี้ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมรุ่งเรืองมาก การศึกษาของประชาชนดีขึ้น และเปาบุ้นจิ้น ก็ได้มาเกิดในยุคในสมัยของจักรพรรดิซ่งเหรินจง ซึ่งเป็นยุคที่ฮ่องเต้อ่อนแอ อำนาจอยู่ในมือพวกกังฉิน ท่านตัดสินคดีอย่างยุติธรรม และเด็ดขาด ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆ จนเป็นที่เลื่องลือมาถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่างๆ คือ พวกเซี่ย พวกชิตัน (เมืองเหลียว) จึงมีศึกอยู่ตลอดมา แถมยังต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึกกับ "คนป่าเถื่อน" ต้องส่งบรรณาการให้ ทำให้การเงินไม่คล่องตัว จนมีนักปฏิรูปชื่อ "หวังอั้นจี่" ออกกฎหมายมาควบคุมการใช้เงิน ของบรรดาเชื้อพระวงศ์ แต่สุดท้าย ก็ต้องยกเลิก เพราะไปขัดผลประโยชน์เจ้าใหญ่นายโต ครั้นต่อมา มีชนเผ่าจินหรือกิม (บรรพบุรุษของแมนจู) เข้ามาตี และเนื่องจากมีขุนนางกังฉิน ไปเข้ากับศัตรู (ดังเช่น ฉินไคว่ กังฉินชื่อดัง ซึ่งใส่ความแม่ทัพงักฮุย และสังหารงักฮุยกับลูกชายเสีย ทำให้ชาวจีนเคียดแค้นชิงชังอย่างยิ่ง) บวกกับการทหารที่อ่อนแออยู่แล้ว (ผสมกับฮ่องเต้ที่ไร้สามารถ หูเบา เชื่อฟังกังฉิน) ทำให้พวกจินสามารถบุกจนถึงเมืองไคฟง (เมืองหลวง) จึงต้องย้ายเมืองหลวง ไปอยู่ทางทิศใต้ มีชื่อเรียกว่า ซ่งใต้ ซึ่งพวกจินก็ยังตามล้างผลาญตลอด แต่ต่อมา ในที่สุด พวกจิน, เซี่ยกับชิตันก็ถูกมองโกล ซึ่งนำโดย เจงกิสข่าน (เตมูจิน) เข้าตี แล้วหันมาตีจีนต่อจนถึงปักกิ่ง หลังจากนั้น กุบไลข่าน หลานปู่ของเจงกิสข่าน ได้โจมตีราชวงศ์ซ่งใต้ โดยได้ความร่วมมือจากขุนนาง และทหารของราชวงศ์ซ่งบางคน ที่กลับลำหันมาช่วยเหลือมองโกล โจมตีพวกของตัวเอง จนสิ้นราชวงศ์ในที่สุด แล้วกุบไลข่านจึงตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมาแทน.

ใหม่!!: ผัง จี๋ (ราชวงศ์ซ่ง)และราชวงศ์ซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

อัครมหาเสนาบดี (ประเทศจีน)

อัครมหาเสนาบดี เป็นชื่อตำแหน่งข้าราชการประจำชั้นสูงสุดในประเทศจีนสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อาจมีอายุย้อนหลังไปถึงสมัยราชวงศ์ฉินที่เริ่มกำหนดตำแหน่ง "นายกแห่งข้าราชการพลเรือนทั้งปวง" (head of all civil service officials) อำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งนี้แตกต่างกันไปในแต่ละสมั.

ใหม่!!: ผัง จี๋ (ราชวงศ์ซ่ง)และอัครมหาเสนาบดี (ประเทศจีน) · ดูเพิ่มเติม »

จอหงวน

อหงวน หรือสำเนียงกลางว่า จฺวั้ง-ยฺเหวียน สำเนียงแต้จิ๋วว่า จ๋วงง้วง และสำเนียงกวางตุ้งว่า จ่อง-ยฺวื่น เป็นตำแหน่งราชบัณฑิตซึ่งได้คะแนนอันดับหนึ่งในการสอบขุนนางของประเทศจีนสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในประเทศจีนปัจจุบัน คำนี้ใช้เรียกผู้ได้คะแนนอันดับที่หนึ่งในการสอบใด ๆ หรือในความหมายทั่วไปกว่านั้น ใช้สำหรับเรียกผู้เป็นหัวกะทิในสาขาวิชาหนึ่ง.

ใหม่!!: ผัง จี๋ (ราชวงศ์ซ่ง)และจอหงวน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิซ่งเหรินจง

หรินจง เป็นจักรพรรดิรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่งเหนือของจีน ประสูติเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ผัง จี๋ (ราชวงศ์ซ่ง)และจักรพรรดิซ่งเหรินจง · ดูเพิ่มเติม »

จี่หนาน

จี๋หนาน เป็นเมืองหลวงของมณฑลชานตงสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ตั้งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของมณฑลชานตง หมวดหมู่:เมืองในประเทศจีน หมวดหมู่:เมืองในมณฑลซานตง หมวดหมู่:เมืองเอกของมณฑลในจีน.

ใหม่!!: ผัง จี๋ (ราชวงศ์ซ่ง)และจี่หนาน · ดูเพิ่มเติม »

ขุนศึกตระกูลหยาง

นศึกตระกูลหยาง เป็นเรื่องเล่าที่เป็นเสมือนตำนานในประวัติศาสตร์จีน ในยุคของราชวงศ์ซ่งเหนือ เรื่องราวขุนศึกตระกูลหยางเขียนขึ้น โดย ถัวถัว นักเขียนชาวมองโกล ในยุคราชวงศ์หยวน โดยอ้างอิงมาจากหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ซ่งที่ชื่อ History of Song เป็นเรื่องราวของครอบครัวแซ่หยาง (楊) ที่รับราชการทหารมาตลอดทั้งตระกูลถึง 3 ชั่วอายุคน มีความจงรักภักดีและพร้อมตายในสนามรบได้อย่างสมศักดิ์ศรี อีกทั้งเมื่อเหล่าผู้ชายตายหมดแล้ว ผู้หญิงซึ่งเป็นภรรยาม่ายหรือลูกหลานในตระกูลก็รับหน้าที่ต่อแทน เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นที่ ในรัชสมัย ซ่งไท่จงฮ่องเต้ อันเป็นฮ่องเต้รัชกาลที่ 2 ของราชวงศ์ซ่งเหนือ เสด็จยกทัพไปปราบปราม เล่ากึน แห่งราชวงศ์โฮ่วฮั่น หยางเย่ หรือ เอียเลงก๋ง (楊業) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองซัวอ๋าวยกกองทัพมาช่วยเล่ากึน สงครามจึงสงบกันไปคราวหนึ่ง เมื่อฮ่องเต้ซ่งไท่จู่สวรรคต เจ้ากวงอี้ พระอนุชาได้ขึ้นครองราชย์แทน เถลิงพระนามว่า ซ่งไท่จงฮ่องเต้ ต่อมา ซ่งไท่จูเสด็จยกกองทัพหลวงไปตีเมืองปักหั้นอีก คราวนี้เกลี้ยกล่อม หยางเย่ กับบุตรชายทั้ง 7 คนมาเข้ากับตนไว้ได้ หลังจากนั้นได้ยกทัพไปปราบเมืองไซเหลียวต่อไป เมื่อซ่งไท่จูฮ่องเต้ถูกล้อมอยู่ในระหว่างศึก หยางเย่กับบุตรก็ช่วยกันแก้ไขเอาออกมาได้ แต่ต้องสู้กับข้าศึกจน หยางต้าหลาง, หยางเอ้อหลาง, หยางซันหลาง ซึ่งเป็นบุตรชายคนโต, คนที่ 2 และ 3 ต้องตายกลางสนามรบ ส่วน หยางอู่หลาง บุตรชายคนที่ 5 ได้หนีไปบวชจึงรอด ส่วน หยางซื่อหลาง บุตรชายคนที่ 4 ถูกชาวฮวนจับเอาไป เหลือแต่ตัวของหยางเย่ยและหยางลิ่วหลาง เท่านั้นที่รอดกลับมาได้ ฮ่องเต้ซ่งไท่จูจึงโปรดให้สร้างบ้านและมอบเครื่องแสดงเกียรติยศต่าง ๆ ให้ ภายหลังหยางเย่กับหยางซื่อหลางถูก พานเหรินเหม่ย ซึ่งเป็นขุนนางที่เป็นเสมือนคู่ปรับของตระกูลหยางกำจัด คงเหลือแต่หยางลิ่วหลาง บุตรชายคนที่ 6 เพียงคนเดียว ฮ่องเต้ซ่งไท่จู อยู่ในราชสมบัติได้ 22 ปีก็เสด็จสวรรคต ต่อมาในรัชกาล ซ่งไท่จงฮ่องเต้ โปรดให้หยางลิ่วหลางเป็นแม่ทัพไปปราบปรามเมืองไซเหลียวและเมืองไซฮวนได้มาเป็นเมืองขึ้น เมื่อหยางลิ่วหลางตาย เมืองไซฮวนกลับกำเริบขึ้นอีก ครั้งนี้เป็น หยางจงเป่า ซึ่งเป็นบุตรชายของหยางลิ่วหลางพร้อมกับพวกหญิงม่าย ผู้ซึ่งเคยเป็นภรรยาของพี่น้องตระกูลหยางที่สิ้นชีพไปแล้วทั้งหมด รวมทั้ง ภรรยาของหยางจงเป่า คือ มู่กุ้ยอิง นำทัพปราบปรามเอง ซึ่งภายหลังเมืองไซฮวนก็ได้สยบมอบต่อราชวงศ์ซ่ง บ้านเมืองถึงยุคสงบสุข ไร้ซึ่งเสี้ยนหนามแผ่นดิน บรรดาขุนนางผู้ใหญ่ในเมืองหลวงก็ล้วนแต่ซื่อสัตย์ มีความจงรักภักดี ฝ่ายพลเรือนมี โขวจุ้น เป็นขุนนางใหญ่ ฝ่ายกลาโหมมี หยางจงเป่า ได้บังคับบัญชาการงานทั้งปวงโดยสิทธิ์ขาดทั้งหมด เรื่องราวของขุนศึกตระกูลหยางได้รับการถ่ายทอดในลักษณะบอกเล่าเป็นนิทานและเป็นการแสดงในการละเล่นอุปรากรของจีนต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน มีการต่อเติมเรื่องราวให้มีสีสันจากเดิม เช่น การเพิ่มบทของความรักระหว่าง หยางซื่อหลาง บุตรชายคนที่ 4 ของตระกูลกับเจ้าหญิงเมืองไซเหลียว ซึ่งเป็นข้าศึก หรือการที่มี เปาบุ้นจิ้น หรือ อ๋องแปด ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่มีตัวตนจริงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เป็นต้น เนื่องจากเป็นบุคคลร่วมสมัยกัน ในวัฒนธรรมร่วมสมัยได้ดัดแปลงมาจากภาพยนตร์หรือซีรีส์ชุดต่าง ๆ มากมาย อาทิ The 14 Amazons ในปี ค.ศ. 1972, The Yang's Saga ของ TVB ในปี ค.ศ. 1985 นำแสดงโดยนักแสดงที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ หลิว เต๋อหัว, หวง เย่อหัว, เหมียว เฉียวเหว่ย, เหลียง เฉาเหว่ย ร่วมด้วย โจว เหวินฟะ และทัง เจิ้นเย่, Heroic Legend of the Yang's Family ของ ATV ในปี ค.ศ. 1994 นำแสดงโดย ฉี เส้าเฉียน, Warriors of The Yang Clan ในปี ค.ศ. 2004 นำแสดงโดย ตี้หลุง และภาพยนตร์ทุนสร้างสูงในปี ค.ศ. 2012 เรื่อง Saving General Yang นำแสดงโดย เจิ้ง อี้เจี้ยน และเจิ้ง เส้าชิว เป็นต้น.

ใหม่!!: ผัง จี๋ (ราชวงศ์ซ่ง)และขุนศึกตระกูลหยาง · ดูเพิ่มเติม »

ตี๋ ชิง

ตี๋ ชิง ตามสำเนียงกลาง หรือ เต็ก เช็ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 1008–1057) เป็นแม่ทัพในยุคราชวงศ์ซ้องที่มีชื่อเสียงปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์และพงศาวดารของจีน ตี๋ ชิง เกิดในครอบครัวที่ยากจน ณ บริเวณซึ่งปัจจุบันคือ เมืองเฟิงหยาง มณฑลซานซี ไต่เต้าจนกระทั่งได้มาเป็นแม่ทัพใหญ่ในยุคของเหรินจงฮ่องเต้ เรื่องราวของตี๋ ชิง ปรากฏอยู่ในพงศาวดารจีนชื่อว่า 萬花樓 แต่เป็นการเอาประวัติศาสตร์จริง ๆ มาแต่งเติมว่า เป็นขุนทหารที่จงรักภักดีต่อฮ่องเต้อย่างสูง แม้เป็นแม่ทัพ แต่เมื่อออกรบ จะอยู่แนวหน้าพร้อมทหารเลว จึงเป็นที่เคารพของไพร่พล และเมื่อออกรบจะสวมหน้ากากปิศาจที่ทำจากหนังสัตว์เพื่อปกปิดใบหน้าตน เพราะเคยกระทำผิดจนถูกสักที่ใบหน้า และเพื่อข่มขวัญข้าศึกด้วย ต่อมา ตี๋ ชิง ถูกใส่ความ และได้เปาบุ้นจิ้น ชำระคดีให้ ทั้งยังระบุว่า ตี๋ ชิง เป็นดาวบู๊จุติมาคู่กับเปาบุ้นจิ้นซึ่งเป็นดาวบุ๋น โดยตี๋ ชิง เป็นผู้ที่ไต่เต้าขึ้นมาจนเป็นบัณฑิตและแม่ทัพใหญ่ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักกิจการทหาร (樞密副使) โดยมีผลงานการรบทั้งหมด 25 ครั้ง การรบที่เป็นที่เลื่องลือรู้จักดีที่สุด คือ การบุกจู่โจมที่ช่องเขาคุนหลุนในเวลากลางคืน ในวันแรกตามปฏิทินจันทรคติเมื่อ..

ใหม่!!: ผัง จี๋ (ราชวงศ์ซ่ง)และตี๋ ชิง · ดูเพิ่มเติม »

แมยิสเตร็ด

แมยิสเตร็ด หรือทับศัพท์อย่างปัจจุบันได้ว่า แมจิสเตรต (magistrate) เป็นชื่อตำแหน่งข้าราชการประเภทหนึ่ง ในสมัยโบราณ เช่น ในครั้งโรมันโบราณและจักรวรรดิจีน เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทั้งในทางบริหารและตุลาการ ในปัจจุบัน หมายถึง ตุลาการ โดยเฉพาะตุลาการศาลแขวง (Justice of the Peace) ตามระบบกฎหมายฝ่ายซีวิลลอว์ หรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองซึ่งมีอำนาจหน้าที่จำกัด ตามระบบกฎหมายฝ่ายคอมมอนลอว์ และในความหมายทั่วไป เป็นไวพจน์ของคำว่า "ตุลาการ" ในภาษาอังกฤษ คำ "แมยิสเตร็ด" ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากคำ "magistrat" ในภาษาอังกฤษสมัยกลางราว..

ใหม่!!: ผัง จี๋ (ราชวงศ์ซ่ง)และแมยิสเตร็ด · ดูเพิ่มเติม »

ไคเฟิง

ไคเฟิง ตามสำเนียงกลาง หรือ คายฮอง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นเมืองในมณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน อยู่ริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำฮวงโห (หรือแม่น้ำเหลือง) เป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน ไคเฟิงแต่เดิมนั้นมีชื่อว่าเปี้ยนโจว ในสมัยราชวงศ์โฮ่วเหลียงเปลี่ยนชื่อเป็น เปี้ยนจิง ครั้งมา พอมาถึงสมัยหลังได้เปลี่ยนเป็น ไคเฟิง นครไคเฟิงเป็นที่รู้จักกันดีเพราะเคยเป็นที่ทำงานของเปาบุ้นจิ้น หมวดหมู่:เมืองในมณฑลเหอหนาน.

ใหม่!!: ผัง จี๋ (ราชวงศ์ซ่ง)และไคเฟิง · ดูเพิ่มเติม »

เจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม

มผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม (The Three Heroes and Five Gallants) เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์จีนแนวสืบสวนสอบสวนและกำลังภายใน ฉือ ยฺวี่คุน (Shí Yùkūn) แต่งขึ้น และได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเผยแพร่เมื่อปลายศตวรรษที่ 19 นิยายเรื่องนี้ได้รับความนิยมมาก ต่อมา หยู เยฺว่ (Yú Yuè) ปรับปรุงจนเป็นวรรณกรรมชั้นสูง เรียกชื่อเสียใหม่ว่า เจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม (Qī Xiá Wǔ Yì; The Seven Heroes and Five Gallants) เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 1889.

ใหม่!!: ผัง จี๋ (ราชวงศ์ซ่ง)และเจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม · ดูเพิ่มเติม »

เซี่ยตะวันตก

ซี่ยตะวันตก (Western Xia) เป็นชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งซึ่งดำรงอยู่ตั้งแต่ปี 1038 ถึงปี 1227 ณ บริเวณที่ปัจจุบันเป็นเขตกานซู ชิงไห่ ซินเจียง มองโกเลียนอก มองโกเลียใน ส่านซี และหนิงเซี่ย ของสาธารณรัฐประชาชนจีน กินพื้นที่ราวแปดแสนตารางกิโลเมตร อาณาจักรเซี่ยตะวันตกถูกพวกมองโกลจากอาณาจักรมองโกลทำลายโดยสิ้นเชิง เป็นเหตุให้บันทึกและสถาปัตยกรรมล้วนดับสูญ ฉะนั้น ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรนี้จึงเป็นที่โต้เถียงเรื่อยมา จนกระทั่งมีการสำรวจขนานใหญ่จากฝรั่งและคนจ?ีนเอง จึงพบว่า อาณาจักรเซี่ยตะวันตกประสบความส??سเร็จอย่างใหญ่หลวงในด้านน?าฏกรรม วรรณกรรม ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม ชนิดที่นักประวัติศาสตร์ถือกันว่า เป็นผลงานที่ "รุ่งโรจน์เรืองรอง" (shining and sparkling) อนึ่ง ยังพบว่า อาณาจักรเซี่ยตะวันตกสามารถจัดระเบียบกองทัพอย่างเป็นระบบ กองทัพเซี่ยมีทั้งพลธนู พลปืน (ติดตั้งปืนใหญ่ไว้บนหลังอูฐ) พลม้า พลรถ พลโล่ และทแกล้??اทหารที่เก่งทั้งน้ำและบก อาณาจักรเซี่ยตะวันตกจึงรุกรานอาณาจัก?รรอบข้าง เช่น จิน ซ่ง และเหลียว ?ได้อย่างมีประสิท.

ใหม่!!: ผัง จี๋ (ราชวงศ์ซ่ง)และเซี่ยตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เปาบุ้นจิ้น

ปา เจิ่ง ในภาษาจีนมาตรฐาน หรือ เปาจิ้น ในภาษาจีนฮกเกี้ยน (11 เมษายน ค.ศ. 999 — 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1062) วรรณกรรมเรียก เปา เหวินเจิ่ง ในภาษาจีนมาตรฐาน หรือ เปาบุ้นจิ้น ในภาษาจีนฮกเกี้ยน (包文拯) เป็นข้าราชการชาวจีนในรัชสมัยจักรพรรดิเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่งของจักรวรรดิจีน ตลอดเวลา 25 ปีที่รับราชการนั้น เปา เจิ่ง แสดงออกซึ่งความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นกลางอย่างเสมอหน้า ในระหว่าง..

ใหม่!!: ผัง จี๋ (ราชวงศ์ซ่ง)และเปาบุ้นจิ้น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Pang Ji (Song Dynasty)ราชครูผัง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »