โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ผักโขม

ดัชนี ผักโขม

ผักโขม (Amaranth) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus viridis จัดอยู่ในวงศ์ Amaranthaceae ผักโขมจะขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติเช่น ป่าละเมาะ ริมทาง ชายป่าที่รกร้าง เป็นต้น และยังขึ้นเป็นวัชพืชในบริเวณสวนผัก สวนผลไม้ ไร่นาของชาวบ้าน ผักโขมเป็นพืชที่ขึ้นง่ายชาวบ้านจึงมักเก็บมาบริโภคในช่วงหน้าฝน รักษ์ พฤษชาติ,ผักพื้นบ้าน ครบเครื่องเรื่องผักพื้นบ้าน ทั้งการปลูกและการตลาด,สำนักพิมพ์ นีออน บุ๊ค มีเดีย,พิมพ์ครั้งที่ 4 มีนาคม 2553 ผักโขมมีชื่ออื่นๆ อีกคือ ผักขม (กลาง), ผักโหม, ผักหม (ใต้), ผักโหมเกลี้ยง (แม่ฮ่องสอน), กระเหม่อลอเตอ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน) ผักโขมมักจะถูกเข้าใจผิดหรือแปลผิดว่าเป็นผักที่ป๊อบอายใช้เพิ่มพลัง ความจริงแล้วคือผักปวยเล้ง (Spinach) ซึ่งในการ์ตูนป๊อบอายจะปรากฏคำว่า Spinach อย่างชัดเจน.

38 ความสัมพันธ์: บีตา-แคโรทีนพืชพืชดอกพืชใบเลี้ยงคู่กรีกกรดอะมิโนกรดโฟลิกกะปิมะเร็งวัชพืชวิตามินบี6วิตามินซีวิตามินเอวงศ์บานไม่รู้โรยสังกะสีออกซาเลตอัลลีโลพาธีอันดับคาร์เนชันผลไม้ผักผักโขมผักโขมหนามจังหวัดแม่ฮ่องสอนทองแดงคอเลสเตอรอลคาโรลัส ลินเนียสป๊อปอายแกงเลียงแมกนีเซียมแมงกานีสแคลเซียมแคโรทีนโพแทสเซียมโรคบิดโรคอัลไซเมอร์โรคเกาต์ไรโบเฟลวินเหล็ก

บีตา-แคโรทีน

ีตา-แคโรทีน (β-carotene) เป็นรงควัตถุสีแดง-ส้มเข้มที่พบมากในพืชและผลไม้ เป็นสารประกอบอินทรีย์และในทางเคมีจัดเป็นไฮโดรคาร์บอน หรือให้เจาะจงคือ เทอร์พีนอยด์ (ไอโซพรีนอยด์) ซึ่งสะท้อนว่ามาจากหน่วยไอโซพรีน เบต้าแคโรทีนชีวสังเคราะห์จากเจรานิลเจรานิลไพโรฟอสเฟต (geranylgeranyl pyrophosphate) บีตา-แคโรทีนอยู่ในกลุ่มแคโรทีน ซึ่งเป็นเตตระเทอร์พีน ซึ่งสังเคราะห์ทางชีวเคมีจากแปดหน่วยไอโซพรีนและมี 40 คาร์บอน บีตา-แคโรทีนแตกต่างจากแคโรทีนชนิดอื่น คือ มีวงแหวนบีตาที่ทั้งสองปลายของโมเลกุล การดูดซึมบีตา-แคโรทีนเพิ่มขึ้นหากรับประทานกับไขมัน เพราะแคโรทีนละลายในไขมัน สำหรับขนาดรับประทานของวิตามินเอเพื่อรักษาสุขภาพโดยทั่วไปคือ 5,000 หน่วยสากล (IU) ซึ่งเทียบเท่ากับเบต้าแคโรทีน 3 มิลลิกรัม และสำหรับปริมาณที่สมเหตุสมผลของบีตา-แคโรทีนที่แนะนำให้รับประทานต่อวันเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคือ 15 มิลลิกรัม ในขณะที่การรับประทานเพื่อหวังผลในรักษาจะต้องได้รับในปริมาณมากกว่านี้.

ใหม่!!: ผักโขมและบีตา-แคโรทีน · ดูเพิ่มเติม »

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: ผักโขมและพืช · ดูเพิ่มเติม »

พืชดอก

ืชดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliophyta เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Angiospermae หรือ Angiosperms เป็นกลุ่มของพืชกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง มีดอกไม้ และเมล็ดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมล็ดจะกลายเป็นผลไม้ พืชดอกแบ่งได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ 8 กลุ่มดังนี้ เรียงตามจำนวนสปีชี.

ใหม่!!: ผักโขมและพืชดอก · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงคู่

ืชใบเลี้ยงคู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliopsida หรือ Dicotyledons กลุ่มของพืชกลุ่มหนึ่งมีเมล็ดที่ประกอบด้วยใบเลี้ยงคู่ ซึ่งเป็นชั้นทางชีววิทยา ต่อจากส่วนทางชีววิทยา ของพืชดอก (Magnoliophyta) ชื่อวิทยาศาสตร์ของ พืชใบเลี้ยงคู่ ได้มีระบบการจัดชั้นแบบใหม่ขึ้นมา ในขณะที่ระบบเก่า ระบบ Cronquist ยังคงเป็นที่นิยมอยู่ ในระบบใหม่ ระบบ Angiosperm Phylogeny Group ได้มีการจัดชั้นดังแสดง.

ใหม่!!: ผักโขมและพืชใบเลี้ยงคู่ · ดูเพิ่มเติม »

กรีก

กรีก (Greek) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ผักโขมและกรีก · ดูเพิ่มเติม »

กรดอะมิโน

กรดอะมิโน (amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในวิชาชีวเคมี คำว่า "กรดอะมิโน" มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha amino acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า \alpha-คาร์บอน เรซิดีวของกรดอะมิโน (amino acid residue) คือกรดอะมิโนที่ถูกดึงโมเลกุลของน้ำออกไปหนึ่งโมเลกุล (ไฮโดรเจนไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่อะมิโน และไฮดรอกไซด์ไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่คาร์บอกซิล) เรซิดีวของกรดมักเกิดขึ้นในขณะสร้างพันธะเพปไท.

ใหม่!!: ผักโขมและกรดอะมิโน · ดูเพิ่มเติม »

กรดโฟลิก

ฟเลต หรืออีกรูปแบบหนึ่งที่รู้จักคือ กรดโฟลิก และ วิตามินบี9 (folate, folic acid, vitamin B9) เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง มีปริมาณที่แนะนำต่อวันอยู่ที่ 400 ไมโครกรัม และมักใช้เป็นอาหารเสริมในช่วงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารก (ซึ่งรวมการไม่มีสมองใหญ่ สมองโป่ง กระดูกสันหลังโหว่) --> และยังใช้รักษาภาวะเลือดจางจากการขาดกรดโฟลิก กว่า 50 ประเทศเสริมกรดโฟลิกในอาหารเพื่อเป็นมาตรการลดอัตรา NTDs ในประชากร การเสริมกรดโฟลิกในอาหารเป็นประจำสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจเล็กน้อย เป็นวิตามินที่สามารถใช้ทานหรือฉีดก็ได้ ยาไม่มีผลข้างเคียงที่สามัญ ยังไม่ชัดเจนว่าการทานในขนาดสูงเป็นระยะเวลายาวนานมีปัญหาหรือไม่ แต่การใช้ขนาดสูงสามารถอำพรางการขาดวิตามินบี12ได้ --> โฟเลตเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อผลิต DNA RNA และกระบวนการสร้างและย่อยสลายกรดอะมิโนซึ่งจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์ เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถสร้างกรดโฟลิก ดังนั้นจำต้องได้จากอาหาร การไม่ได้โฟเลตเพียงพอก็จะทำให้เกิดภาวะขาดโฟเลต --> ซึ่งอาจมีผลเป็นภาวะเลือดจางที่มีเม็ดเลือดขนาดใหญ่ (megaloblastic) เป็นจำนวนน้อย --> อาการอาจรวมความล้า หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ทัน แผลบนลิ้นไม่หาย สีผิวหรือผมเปลี่ยน --> การขาดในช่วงตั้งครรภ์เบื้องต้นเชื่อว่าเป็นเหตุของภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารกเกินครึ่ง การขาดในเด็กอาจเกิดภายในเดือนเดียวที่ทานอาหารไม่ดี ในผู้ใหญ่ระดับโฟเลตทั้งหมดในร่างกายอยู่ที่ระหว่าง 10,000-30,000 ไมโครกรัม (µg) โดยมีระดับในเลือดเกิน 7 nmol/L (3 ng/mL) กรดนี้ค้นพบในระหว่างปี..

ใหม่!!: ผักโขมและกรดโฟลิก · ดูเพิ่มเติม »

กะปิ

กะปิของมาเลเซีย กะปิ (shrimp paste หรือ shrimp sauce) เป็นเครื่องปรุงรสอย่างหนึ่งที่แพร่หลายในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนใต้ของประเทศจีน คำว่า กะปิ ใช้กันแพร่หลายทั้งในไทย ลาว และกัมพูชา ส่วนในอินโดนีเซีย เรียกกะปิว่าเตอราซี terasi (หรือ trassi, terasie), มาเลเซีย เรียกว่า เบลาจัน belacan (หรือ belachan, blachang), เวียดนาม เรียกว่า mắm tôm, ฟิลิปปินส์ เรียกว่า bagoong alamang (หรือ bagoong aramang) และ ภาษาจีนฮกเกี้ยน เรียกว่า hom ha หรือ hae ko (POJ: hê-ko) คำว่า "กะปิ" ในภาษาไทยมาจากคำในภาษาพม่าว่า "ง่าปิ" (ငါးပိ) แปลว่า "ปลาหมัก" ในประเทศไทย มีกะปิมากมายหลายชนิดให้เลือกรับประทาน กะปิแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน ทั้งคุณภาพ วัตถุดิบ กรรมวิธีผลิต ตามแต่ท้องถิ่นนั้น ๆ โดยส่วนใหญ่ทำจากกุ้งเคย ซึ่งมีมากในแทบชายฝั่งทะเลอันดามัน จึงทำให้มีการผลิตกะปิในหลาย ๆ แห่ง ในพื้นที่ชายฝั่งติดกับทะเล.

ใหม่!!: ผักโขมและกะปิ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: ผักโขมและมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

วัชพืช

วัชพืช (Weed) เป็นพืชที่ขึ้นมาเองตามธรรมชาติในไร่ในสวน โดยที่ผู้ดูแลไม่ต้องการ ส่วนใหญ่ไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ หรือมีน้อย มักสร้างความเสียหายให้พืชเศรษฐกิจ เช่น แย่งอาหาร หญ้า จัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งหากขึ้นตามสวนไร่นา โดยแย่งสารอาหารไปจากพืชหลักที่ปลูก แต่ถ้าเจ้าของสวนตั้งใจให้หญ้าขึ้น เช่นตามสนามกอล์ฟ หญ้าจะไม่นับว่าเป็นวัชพื.

ใหม่!!: ผักโขมและวัชพืช · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินบี6

วิตามินบี6 (Vitamin B6) เป็นวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ ซึ่งมักใช้ร่วมกับบี1 และบี12 ซึ่งวิตามินบี1 ทำงานกับคาร์โบไฮเดรตส่วนวิตามินบี6 และบี12 ทำงานร่วมกับโปรตีนและไขมัน ร่างกายมนุษย์ต้องการวิตามินบี6 ประมาณ 1.5 มิลลิกรัม.

ใหม่!!: ผักโขมและวิตามินบี6 · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินซี

วิตามินซี (vitamin C) หรือ กรดแอล-แอสคอร์บิก (L-ascorbic acid) หรือ แอสคอร์เบต (ascorbate) ซึ่งเป็นแอนไอออนของกรดแอสคอร์บิก เป็นสารอาหารจำเป็นสำหรับมนุษย์และสัตว์อื่นบางชนิด และเป็นวิตามินประเภทที่ละลายในน้ำ วิตามินซีหมายถึงหลายวิตาเมอร์ซึ่งมีกัมมันตภาพวิตามินซีในสัตว์ ซึ่งรวมกรดแอสคอร์บิกและเกลือของมัน บางรูปอ็อกซิไดซ์ของโมเลกุลอย่างกรดดีไฮโดรแอสคอร์บิก แอสคอร์เบตและกรดแอสคอร์บิกมีอยู่ธรรมชาติในร่างกายเมื่อตัวใดตัวหนึ่งถูกนำเข้าเซลล์ เนื่องจากรูปแปลงไปมาได้ตาม pH วิตามินซีเป็นโคแฟกเตอร์ในปฏิกิริยาเอ็นไซม์อย่างน้อยแปดปฏิกิริยา ซึ่งรวมหลายปฏิกิริยาของการสังเคราะห์คอลลาเจน ซึ่งหากทำงานผิดปกติจะทำให้เกิดกลุ่มอาการรุนแรงของโรคลักปิดลักเปิด ในสัตว์ ปฏิกิริยาเหล่านี้สำคัญมากในการสมานแผลและการป้องกันเลือดออกจากหลอดเลือดฝอย แอสคอร์เบตยังมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระต่อความเครียดอ็อกซิเดชัน (oxidative stress) ข้อเท็จจริงที่ว่า อีเนนทิโอเมอร์ (enantiomer) ดี-แอสคอร์เบต (D-ascorbate) ซึ่งไม่พบในธรรมชาติมีกัมมันตภาพต้านอนุมูลอิสระเช่นเดียวกับแอล-แอสคอร์เบตแต่มีกัมมันตภาพวิตามินน้อยกว่ามาก เน้นข้อเท็จจริงที่ว่าการทำหน้าที่วิตามินส่วนใหญ่ของแอล-แอสคอร์บิกนั้นมิได้อาศัยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของมัน แต่เป็นปฏิกิริยาเอ็นไซม์ซึ่งสเตอริโอเคมีจาเพาะ (stereospecific) "แอสคอร์บิก" ที่ไม่มีอักษรบอกรูปอีแนนทิโอเมอร์จะสันนิษฐานว่าหมายถึงสารเคมีแอล-แอสคอร์เบตเสมอ แอสคอร์เบตจำเป็นต่อหลายปฏิกิริยาเมแทบอลิซึมจำเป็นหลายปฏิกิริยาในสัตว์และพืชทุกชนิด มีการสร้างภายในในสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด ซึ่งทุกชนิดที่ไม่สังเคราะห์จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร กรดแอสคอร์บิกมีการใช้เป็นสารปรุงแต่งอาหารอย่างกว้างขวางเพื่อป้องกันอ็อกซิเดชัน.

ใหม่!!: ผักโขมและวิตามินซี · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินเอ

รงสร้างของเรตินอล วิตามินเอที่พบได้บ่อย วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน มีส่วนประกอบสำคัญของคอร์เนีย และยังมีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง ค้นพบโดย ดร.

ใหม่!!: ผักโขมและวิตามินเอ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์บานไม่รู้โรย

วงศ์บานไม่รู้โรย หรือ Amaranthaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกขนาดใหญ่ในอันดับ Caryophyllales ปัจจุบันได้นำพืชจากวงศ์ Chenopodiaceae มารวมด้วย ทำให้มี 180 สกุลและ 2,500 สปีชี.

ใหม่!!: ผักโขมและวงศ์บานไม่รู้โรย · ดูเพิ่มเติม »

สังกะสี

ังกะสี (Zinc) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 30 และสัญลักษณ์คือ Zn สังกะสีอยู่ในตารางธาตุหมู่ 12 ชื่อในภาษาอังกฤษมาจากภาษาเยอรมันว่า Zink เป็นธาตุประเภทโลหะที่มีความไวต่อปฏิกิริยาเคมีพอสมควรกับออกซิเจนและธาตุที่ไม่ใช่โลหะ สังกะสีเมื่อทำปฏิกิริยากับกรดเจือจางจะปล่อยก๊าซไฮโดรเจนออก ธาตุชนิดนี้เป็นโลหะธาตุที่มีลักษณะที่เป็นสีเงิน มันวาว เป็นที่นิยมนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมมากมาย เพื่อเป็นโลหะโครงสร้างหรือโลหะผสมกับโลหะอื่นสำหรับประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ นอกจากนั้น สังกะสียังเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในร่างกายมนุษย์ และสัตว์ เนื่องจากจัดเป็นแร่ที่ร่างกายต้องการชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: ผักโขมและสังกะสี · ดูเพิ่มเติม »

ออกซาเลต

รงสร้างทางเคมีของออกซาเลต ออกซาเลต (oxalate) เป็นสารมีฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดซึมของแคลเซียมและแร่ธาตุสำคัญหลายชนิดในกระแสเลือด มีผลเสียต่อร่างกายคือ หากรับประทานเป็นประจำทุกวันในปริมาณมาก ออกซาเลตจะเข้าไปตกผลึกสะสมในไตและกระเพาะปัสสาวะทำให้เป็นนิ่ว.

ใหม่!!: ผักโขมและออกซาเลต · ดูเพิ่มเติม »

อัลลีโลพาธี

''Casuarina equisetifolia'' กดการงอกพืชที่อยู่ใต้ร่มเงาได้ อัลลีโลพาธี (Allelopathy) เป็นปรากฏการณ์ที่พืชชนิดหนึ่งปล่อยสารพิษออกไปทำอันตรายกับพืชข้างเคียง ซึ่งอาจถึงตายได้ พืชที่สร้างสารพิษมาเรียกว่าพืชผู้ปลดปล่อยสารพิษ (Donor plant) ผลกระทบของอัลลีโลพาธีมี 2 ระดับคือ.

ใหม่!!: ผักโขมและอัลลีโลพาธี · ดูเพิ่มเติม »

อันดับคาร์เนชัน

อันดับคาร์เนชัน หรือ Caryophyllales เป็นอันดับของพืชมีดอก ซึ่งรวมพืชวงศ์กระบองเพชร คาร์เนชัน วงศ์ผักเบี้ยทะเล วงศ์บานไม่รู้โรย และอีกหลายชนิด พืชส่วนใหญ่มีลำต้นสด ไม่มีเนื้อไม้.

ใหม่!!: ผักโขมและอันดับคาร์เนชัน · ดูเพิ่มเติม »

ผลไม้

แผงขายผลไม้ ผลไม้ (อีสาน: หมากไม้, บักไม้, ถิ่นเหนือ: หน่วยไม้) หมายถึง ผลที่เกิดจากการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศของพืชบางชนิด ซึ่งมนุษย์สามารถรับประทานได้ และส่วนมากจะไม่ทำเป็นอาหารคาว.

ใหม่!!: ผักโขมและผลไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ผัก

ผักในตลาด ผัก คือพืชที่มนุษย์นำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชอาทิ ผล ใบ ราก ดอก หรือลำต้น มาประกอบอาหาร ซึ่งไม่นับรวมผลไม้ ถั่ว สมุนไพร และเครื่องเทศ แต่เห็ด ซึ่งในทางชีววิทยาจัดเป็นพวกเห็ดรา ก็นับรวมเป็นผักด้วย หลายบ้านมักจะปลูกผักไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน เรียกว่าเป็นผักสวนครัว หรือบางครั้งก็เพื่อเป็นไม้ประดับ ใช้พื้นที่ในการปลูกไม่มาก พืชผักส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว แต่ผักบางชนิดอาจมีอายุมากกว่า 1 ปี หากมีจำนวนมากเหลือจากการบริโภค ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้.

ใหม่!!: ผักโขมและผัก · ดูเพิ่มเติม »

ผักโขม

ผักโขม (Amaranth) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus viridis จัดอยู่ในวงศ์ Amaranthaceae ผักโขมจะขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติเช่น ป่าละเมาะ ริมทาง ชายป่าที่รกร้าง เป็นต้น และยังขึ้นเป็นวัชพืชในบริเวณสวนผัก สวนผลไม้ ไร่นาของชาวบ้าน ผักโขมเป็นพืชที่ขึ้นง่ายชาวบ้านจึงมักเก็บมาบริโภคในช่วงหน้าฝน รักษ์ พฤษชาติ,ผักพื้นบ้าน ครบเครื่องเรื่องผักพื้นบ้าน ทั้งการปลูกและการตลาด,สำนักพิมพ์ นีออน บุ๊ค มีเดีย,พิมพ์ครั้งที่ 4 มีนาคม 2553 ผักโขมมีชื่ออื่นๆ อีกคือ ผักขม (กลาง), ผักโหม, ผักหม (ใต้), ผักโหมเกลี้ยง (แม่ฮ่องสอน), กระเหม่อลอเตอ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน) ผักโขมมักจะถูกเข้าใจผิดหรือแปลผิดว่าเป็นผักที่ป๊อบอายใช้เพิ่มพลัง ความจริงแล้วคือผักปวยเล้ง (Spinach) ซึ่งในการ์ตูนป๊อบอายจะปรากฏคำว่า Spinach อย่างชัดเจน.

ใหม่!!: ผักโขมและผักโขม · ดูเพิ่มเติม »

ผักโขมหนาม

ผักโขมหนาม มีชื่อภาษาท้องถิ่นในภาคใต้เรียกว่า ผักโหมหนาม ส่วนที่แม่ฮ่องสอนและกะเหรี่ยงเรียกว่า กะเหม่อลอมี แม่ล้อกู่ และที่เขมรเรียกว่า ปะตี ส่วนภาคกลางจะเรียกว่า ผักขมสวน (spiny amaranth, prickly amaranth หรือ thorny amaranth) เป็นพืชล้มลุก ฤดูเดียว อายุสั้นประมาณ 2–4 เดือน หรือเมื่อออกดอก ติดเมล็ดแล้วก็จะค่อยๆ เหี่ยวแห้งตาย หรือเรียกว่าพืชที่มีอายุปีเดียว.

ใหม่!!: ผักโขมและผักโขมหนาม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ังหวัดแม่ฮ่องสอน (60px; 80px) เป็นจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย มีความโดดเด่นหลายลักษณะ โดยเฉพาะสภาพภูมิประเทศ ความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และความหลากหลายของประชากรจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ นับเป็นจังหวัดที่สถิติน่าสนใจหลายอย่าง เช่น มีประชากรเบาบางที่สุดในประเทศ และมีประชากรน้อยมากเป็นอันดับ 5 ในขณะที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 8 ของประเทศ แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่าเป็น เมืองสามหมอก เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพอากาศมีหมอกปกคลุมตลอดเวลาส่วนใหญ่ของปี นอกจากนี้แม่ฮ่องสอนยังนับเป็นพื้นที่ปลายสุดด้านตะวันตกของประเทศ คือที่เส้นแวง 97.5 องศาตะวันออกในเขตอำเภอแม่สะเรียง (ตะวันออกสุดของประเทศ อยู่ที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ที่ 105.5 องศาตะวันออก) แม่ฮ่องสอนได้รบการสถาปนาขึ้นเป็นเมือง เมื่อปี..

ใหม่!!: ผักโขมและจังหวัดแม่ฮ่องสอน · ดูเพิ่มเติม »

ทองแดง

ทองแดง (Copper) คือธาตุที่มีเลขอะตอม 29 และสัญลักษณ์คือ Cu ทองแดงอยู่ในตารางธาตุหมู่ 29 เป็นที่ทราบกันว่ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากทองแดงมาไม่น้อยกว่า 10,000 ปี พบหลักฐานว่ามนุษย์สามารถหลอมสกัดทองแดงให้บริสุทธิ์ได้เมื่อประมาณ 5000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่มนุษย์จะรู้จักกับทองคำ โดยมนุษย์รู้จักทองคำ เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ผักโขมและทองแดง · ดูเพิ่มเติม »

คอเลสเตอรอล

อเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นทั้งสารสเตอรอยด์ ลิพิด และแอลกอฮอล์ พบในเยื่อหุ้มเซลล์ของทุกเนื้อเยื้อในร่างกายและถูกขนส่งในกระแสเลือดของสัตว์ คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ไม่ได้มากับอาหารแต่จะถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกาย จะสะสมอยู่มากในเนื้อเยื้อของอวัยวะที่สร้างมันขึ้นมาเช่น ตับ ไขสันหลัง สมอง และผนังหลอดเลือดแดง (atheroma) คอเลสเตอรอลมีบทบาทในกระบวนการทางชีวเคมีมากมาย ในอดีต-ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคอเลสเตอรอลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจหลอดเลือด และภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด (Hypercholesterolemia) แต่กลุ่มนักโภชนาการบำบัดบางกลุ่มอ้างว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค และภาวะดังกล่าวนั้น เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ส่งผลให้ของเสียของน้ำตาล นั่นก็คือ CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) ทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในหลอดเลือด กัดเซาะผนังหลอดเลือดจนเสียหาย ร่างก่ายจึงต้องส่งคอเลสเตอรอลมาซ่อมแซมผนังหลอดเลือดที่เสียหาย ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลเป็นสารเบื้องต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี สร้างสารสเตอรอลที่อยู่ใต้ผิวหนังให้เป็นเป็นวิตามินดี เมื่อโดนแสงแดด คอเลสเตอรอลจะพบมากในไข่แดง เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล ค่อนข้างสูง ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการ.

ใหม่!!: ผักโขมและคอเลสเตอรอล · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: ผักโขมและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ป๊อปอาย

ป๊อปอาย เป็นตัวละครการ์ตูน เขียนขึ้นโดยเอลซี่ ซีการ์ (Elzie Segar) ปรากฎตัวครั้งแรกในคอลัมน์การ์ตูน "ทิมเบิล เธียเตอร์" ของ King Feature ในวันที่ 17 มกราคม..

ใหม่!!: ผักโขมและป๊อปอาย · ดูเพิ่มเติม »

แกงเลียง

แกงเลียง เป็นอาหารไทยชนิดหนึ่งที่มีรสชาติและกลิ่นเฉพาะ เผ็ดร้อนด้วยพริกไทย มีกลิ่นหอมจากผักหลายชนิด มีประโยชน์ในการขับพิษไข้.

ใหม่!!: ผักโขมและแกงเลียง · ดูเพิ่มเติม »

แมกนีเซียม

แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Mg และเลขอะตอม 12 แมกนีเซียมเป็นธาตุที่มีอยู่มากเป็นอันดับ 8 และเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกประมาณ 2% และเป็นธาตุที่ละลายในน้ำทะเลมากเป็นอันดับ 3 โลหะอัลคาไลเอิร์ธตัวนี้ส่วนมากใช้เป็นตัวผสมโลหะเพื่อทำโลหะผสมอะลูมิเนียม-แมกนีเซียม.

ใหม่!!: ผักโขมและแมกนีเซียม · ดูเพิ่มเติม »

แมงกานีส

แมงกานีส (Manganese) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Mn มีหมายเลขอะตอมเป็น 25 ร่างกายจะขาดไม่ได้จะพบมากที่ สุดในโครงกระดูก ตับ ตับอ่อน หัวใจและต่อมพิทูอิทารี่ มีคุณสมบัติเป็นด่าง แมงกานีส ส่วนใหญ่จะสูญเสียไประหว่างกระบวนการปรุงอาหาร และส่วนเกินจะออกผ่านทางน้ำดีแล้วจะออกทางอุจจาร.

ใหม่!!: ผักโขมและแมงกานีส · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียม

แคลเซียม (Calcium) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Ca มีเลขอะตอมเป็น 20 แคลเซียมเป็นธาตุโลหะหนักประเภทอะคาไลที่มีสีเทาอ่อน มันถูกใช้เป็นสารรีดิวซิ่งเอเยนต์ในการสกัดธาตุ ทอเรียมเซอร์โคเนียม และยูเรเนียม แคลเซียมอยู่ในกลุ่ม 50 ธาตุที่มีมากที่สุดบนเปลือกโลก มันมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะในระบบสรีระวิทยาของเซลล์และการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ แคลเซียมมีพื้นดินเป็นแหล่งรองรับจะถูกพืชดูดไปใช้เป็นประโยชน์และสัตว์กินพืชก็ได้รับสารประกอบแคลเซียมเข้าไปด้วย เมื่อสีตว์และพืชตาย แคลเซียมก็จะกลับลงสู่ดินอีก.

ใหม่!!: ผักโขมและแคลเซียม · ดูเพิ่มเติม »

แคโรทีน

แคโรทีนทำให้แครอทและผักอีกหลายชนิดหรือแม้กระทั่งสัตว์มีสีส้ม แคโรทีน (carotene) เป็นสารเคมีที่พบมากในผักผลไม้ที่มีสีแดง ส้ม เหลือง และเขียว หากร่างกายได้รับสารนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 2 สัปดาห์จะเกิดการสะสมและทำให้ตับทำงานหนัก เนื่องจากต้องขับสารแคโรทีนอยด์ออกจากร่างกายอยู่ตลอดเวลา และจะทำให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มโดยเฉพาะที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า ป้องกันได้โดยเพียงหยุดกิน ร่างกายจะค่อย ๆ ปรับสภาพและกลับมาเป็นปกติ แคโรทีนเป็นสารโมเลกุลใหญ่มีสูตรทางเคมี C40H56 และมีคุณสมบัติเป็นโปรวิตามินเอ (provitamin A) คือเมื่อแคโรทีนแตกตัวจะได้วิตามินเอ ปฏิกิริยานี้จะเกิดขึ้นภายในตับ แคโรทีนบริสุทธิ์จะมีผลึกเป็นสีแดงทับทิม (ruby–red crystal) ไม่ละลายในน้ำแต่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ แคโรทีนจะถูกออกซิไดส์ได้ง่ายโดยออกซิเจนในอากาศ แหล่งธรรมชาติของแคโรทีนได้แก่พืชผักที่มีสีส้มเหลือง เช่น ฟักทองและแครอท สาหร่าย เช่น คลอเรลลา (Chlorella) และดูนาลิเอลลา (Dunaliella) โดยแคโรทีนจะมีบทบาทที่สำคัญคือเป็นรงควัตถุ (เม็ดสี) ในการสังเคราะห์แสงและป้องกันเซลล์จากการเสียสภาพเนื่องจากแสง.

ใหม่!!: ผักโขมและแคโรทีน · ดูเพิ่มเติม »

โพแทสเซียม

แทสเซียม (Potassium) ธาตุเคมีในกลุ่มโลหะ มีเลขอะตอม 19 สัญลักษณ์ K สัญลักษณ์ของโพแทสเซียม มาจากภาษาเยอรมันว่า Kalium ส่วนชื่อโพแทสเซียม มาจากคำว่า โพแทส ซึ่งเป็นชื่อเรียกแร่ชนิดหนึ่งที่สกัดธาตุโพแทสเซียมได้ โพแทสเซียมเป็นโลหะอัลคาไล เป็นผงสีขาว-เงินอ่อนๆ ในธรรมชาติมักเป็นสารประกอบร่วมกับธาตุอื่นเพราะไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก สามารถออกซิไดซ์ได้อย่างรวดเร็วในอากาศ มีสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกับโซเดียม.

ใหม่!!: ผักโขมและโพแทสเซียม · ดูเพิ่มเติม »

โรคบิด

รคบิด คือชื่อโรคชนิดหนึ่ง มี 2 ชนิด คือ บิดไม่มีตัว และ บิดมีตัว.

ใหม่!!: ผักโขมและโรคบิด · ดูเพิ่มเติม »

โรคอัลไซเมอร์

รคอัลซไฮเมอร์ หรือ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease หรือ AD) เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า อาลอยส์ อัลซไฮเมอร์ (Alois Alzheimer) และถูกตั้งชื่อตามท่าน โรคนี้จัดเป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หายและจัดเป็นอาการป่วยระยะสุดท้าย โดยทั่วไปแล้วสามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี แต่ก็พบโรคอัลไซเมอร์ชนิดหนึ่งคือ โรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็ว (early-onset Alzheimer's) ซึ่งเกิดในคนอายุน้อยแต่มีความชุกของโรคน้อยกว่า ประมาณการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2549 มีประชากรราว 26.6 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าใน พ.ศ. 2593ประมาณการณ์ความชุกใน..

ใหม่!!: ผักโขมและโรคอัลไซเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคเกาต์

รคเกาต์ (หรือที่รู้จักกันในนาม โพดากรา เมื่อเกิดกับนิ้วหัวแม่เท้า) เป็นภาวะความเจ็บป่วยที่มักสังเกตได้จากอาการไขข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันซ้ำ ๆ—มีอาการแดง ตึง แสบร้อน บวมที่ข้อต่อ ข้อต่อกระดูกฝ่าเท้า-นิ้วเท้าที่โคนนิ้วหัวแม่เท้ามักได้รับผลกระทบบ่อยที่สุด (ประมาณ 50% ของผู้ป่วย) นอกจากนี้ ยังอาจพบได้ในรูปแบบของก้อนโทไฟ นิ่วในไต หรือ โรคไตจากกรดยูริก โรคนี้เกิดจากการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง กรดยูริกตกผลึกแล้วมาจับที่ข้อต่อ เส้นเอ็น และ เนื้อเยื่อโดยรอบ การวินิจฉัยทางคลินิกทำได้โดยการตรวจผลึกที่มีลักษณะเฉพาะในน้ำไขข้อ รักษาได้โดยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) สเตอรอยด์ หรือ โคลชิซีน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ หลังจากอาการข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันผ่านไปแล้ว ระดับของกรดยูริกในเลือดมักจะลดลงได้โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และในผู้ที่มีอาการกำเริบบ่อยอาจใช้อัลโลพูรินอลหรือโพรเบเนซิดเพื่อให้การป้องกันในระยะยาว จำนวนผู้ป่วยโรคเกาต์เพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายสิบปีนี้ โดยมีผลกระทบกับ 1-2% ของชาวตะวันตกในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้เชื่อว่าเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงที่พบมากขึ้นในประชากร ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มอาการเมตาบอลิก อายุขัยที่ยืนยาวขึ้น และ พฤติกรรมการกินอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป แต่เดิมนั้นโรคเกาต์เคยได้ชื่อว่าเป็น "โรคของราชา" หรือ "โรคของคนรวย".

ใหม่!!: ผักโขมและโรคเกาต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไรโบเฟลวิน

รโบเฟลวิน (riboflavin) หรือ วิตามินบี2 (vitamin B2) จัดอยู่ในชนิดวิตามินที่ละลายในน้ำได้ ใช้ในการเจริญเติบโต เมื่อขาดจะกลายเป็นคนแคระเกร็น จำเป็นต่อเอนไซม์และกระบวนการเมทาบอลิซึมของสารอาหารต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะไขมัน ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด อันเป็นสาเหตุให้เส้นเลือดแข็งตัว ขจัดไขมันชนิดอิ่มตัวในเส้นเลือด ช่วยระงับอาการตาแฉะได้ จึงใช้เป็นส่วนประกอบในยาหยอดต.

ใหม่!!: ผักโขมและไรโบเฟลวิน · ดูเพิ่มเติม »

เหล็ก

หล็ก (Iron ออกเสียงว่า ไอเอิร์น /ˈaɪ.ərn/) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์ธาตุ Fe และหมายเลขอะตอม 26 เหล็กเป็นธาตุโลหะทรานซิชันหมู่ 8 และคาบ 4 สัญลักษณ์ Fe ย่อมาจาก ferrum ในภาษาละติน.

ใหม่!!: ผักโขมและเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Amaranthus viridisSpinachผักโขมจีน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »