โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ป้อมปราการโก๋ลวา

ดัชนี ป้อมปราการโก๋ลวา

ป้อมปราการโก๋ลวา (Thành Cổ Loa) เป็นป้อมปราการที่มีความสำคัญทางโบราณสถานในปัจจุบันทั้งอยู่บริเวณเขตดงอาน เมืองฮานอย ประมาณ 16 กิโลเมตร (10 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของใจกลางกรุงฮานอย ที่โก๋ลวามีการค้นพบซากโบราณต่างๆในยุคสำริด อันได้แก่ วัฒนธรรมฟุงเหวียนและวัฒนธรรมดงเซิน แม้ว่าภายหลังจะมีการจัดตั้งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเอิวหลัก ในช่วง 3 ปีก่อนคริสตกาล นอกจากนี้ป้อมโก๋ลวาได้มีการก่อสร้างบูรณะเพิ่มเติมได้เพิ่มขึ้นในช่วงราชวงศ์ต่อมา ป้อมโก๋ลวา ยังคงเป็นศูนย์กลางทางการเมืองที่สำคัญของชาวเวียตนามจนถึงศตวรรษที่ 10 ชื่อของป้อม คำว่า "โก๋ลวา" มาจาก คำศัพท์จีน-เวียดนาม คำว่า 古螺, ที่แปลว่า "เกลียวโบราณ", ซึ่งได้มีนักภาษาศาตร์เวียดนามอธิบายคำว่า "โก๋ลวา" ว่าอาจจะสันนิษฐานที่มาของป้อมปราการที่นำมาตั้งชื่อได้สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างแบบหลายชั้นของกำแพงคูเมืองและคูน้ำ.

11 ความสัมพันธ์: มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ราชวงศ์ห่งบ่างราชวงศ์ฮั่นราชวงศ์ฉินวัฒนธรรมดงเซินหนานเยฺว่อาน เซือง เวืองฮานอยจิ๋นซีฮ่องเต้ทะเลจีนใต้ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge)ใช้ชื่อทางการว่า นายกสภา อนุสาสก และคณาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (The Chancellor, Masters, and Scholars of the University of Cambridge) เป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ในสหราชอาณาจักร มีความเก่าแก่เป็นอันดับที่สองของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1752 โดยมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งก่อนหน้านั้นคือ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับที่สี่ของโลกและยังเปิดดำเนินการอยู่อีกด้วย มหาวิทยาลัยก่อกำเนิดจากคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยซึ่งขัดแย้งกับชาวบ้านที่เมืองอ๊อกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริจด์และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมักได้รับการจัดอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับโดยสำนักต่าง ๆ จนมีการเรียกรวมกันว่า อ๊อกซบริดจ์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุด ในบรรดามหาวิทยาลัยทั้งหลายในโลก กล่าวคือ 81 รางวัล นิสิตและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย จะถูกจัดให้สังกัดแต่ละวิทยาลัยแบบคณะอาศัย (College)หมายถึง คณะที่เป็นที่อยู่ของนักศึกษาจากหลายสาขาวิชา นักศึกษาจะพักอาศัยกินอยู่และทบทวนวิชาเรียนในคณะอาศัย แต่การเรียนการทำวิจัยต้องทำในคณะวิชา จำนวนทั้งสิ้น 31 แห่ง โดยคละกันมาจากคณะวิชา (School) 6 คณะ โดยวิทยาลัยแต่ละแห่งอาศัยบริหารงานอย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ลักษณะการบริหารเช่นนี้มีให้เห็นในมหาวิทยาลัยเคนต์ และมหาวิทยาลัยเดอแรม อาคารต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเป็นอาคารแทรกตัวตามร้านรวงในเมือง แทนที่จะเป็นกลุ่มอาคารในพื้นที่ของตนเองเช่นมหาวิทยาลัยยุคใหม่ อาคารเหล่านั้นบางหลังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมาก มหาวิทยาลัยจัดให้มีสำนักพิมพ์เป็นของตนเอง ซึ่งถือเป็นสำนักพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกที่สังกัดมหาวิทยาลัย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีห้องสมุดขนาดใหญ่อีกด้ว.

ใหม่!!: ป้อมปราการโก๋ลวาและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ห่งบ่าง

ราชวงศ์ห่งบ่าง (thời kỳ Hồng Bàng, 鴻厖) เป็นราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์เวียดนาม ที่ปกครองในช่วง 2,879–258 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์เวียดนามซึ่งประกอบไปด้วยสหภาพทางการเมืองในช่วง 2,879 ก่อนคริสต์ศักราชของชนเผ่าหลายแห่งในภาคเหนือของบริเวณหุบเขาแม่น้ำแดง และได้ถูกปกครองโดยอาน เซือง เวือง ในปี 258 ก่อนคริสต์ศักราช พงศาวดารเวียดนามตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 กล่าวคือ ดั่ยเหวียตสือกี๊ตว่านทือ (大越史記全書, Đại Việt sử ký toàn thư) อ้างว่าช่วงเวลาของยุคราชวงศ์ห่งบ่างเริ่มต้นด้วยกิญ เซือง เวือง ในฐานะ กษัตริย์หุ่ง (𤤰雄, Hùng Vương) องค์แรก ชื่อตำแหน่งได้ถูกใช้ในการอภิปรายสมัยใหม่หลายครั้งเกี่ยวกับผู้ปกครองชาวเวียดนามโบราณในยุคนี้ กษัตริย์หุ่งเป็นตำแหน่งผู้ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของประเทศ (ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อซิกกวี๋และวันลางในเวลาต่อมา) และอย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี ในยุคสมัยนี้ได้มีการควบคุมการใช้ที่ดินและทรัพยากรอย่างเป็นระบบขึ้นอย่างสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตามบันทึกประวัติศาสตร์ของกษัตริย์ดังกล่าวใน 3 พันปีก่อนคริสต์ศักราชก็ยังถือว่าขาดแคลนอยู่มาก ประวัติของยุคห่งบ่างเกิดขึ้นในช่วงของราชวงศ์ที่แบ่งเป็น 18 ราชวงศ์ของกษัตริย์หุ่ง ในยุคกษัตริย์หุ่งได้รับความเจริญรุ่งเรืองพร้อมกับอารยธรรมการปลูกนาข้าวในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในช่วงยุคสำริด ในช่วงปลายของยุคห่งบ่างได้เกิดสงครามจำนวนมาก.

ใหม่!!: ป้อมปราการโก๋ลวาและราชวงศ์ห่งบ่าง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

ใหม่!!: ป้อมปราการโก๋ลวาและราชวงศ์ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฉิน

เขตแดนราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฉิน (Qin Dynasty; 秦朝) หรือจิ๋น เป็นราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีนระหว่าง พ.ศ. 323–พ.ศ. 338 (221 ปีก่อนค.ศ. – 207 ปีก่อนค.ศ.) ก่อนหน้านี้จีนได้แตกแยกออกเป็น 7 รัฐและทำสงครามกันอยู่เนืองๆ ต่อมากษัตริย์แห่งรัฐฉินได้ทำสงครามรวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียว และสถาปนาตนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฉินโดยใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้ คนไทยจึงออกเสียงเพี้ยนเป็น จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ จิ๋นซีฮ่องเต้ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 322–พ.ศ. 333 ในช่วงนี้แผ่นดินจีนมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาก แต่เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้เสด็จสวรรคต ราชวงศ์ฉินก็สั่นคลอนอย่างหนัก และล่มสลายลงใน พ.ศ. 337 อ๋องแห่งรัฐฉิน ได้รวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวเป็นครั้งแรก และสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิ (ฮ่องเต้) คือ จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ นั่นเอง นครหลวงอยู่ที่เมืองเสียนหยาง (หรือซีอานในปัจจุบัน) ฉินอ๋องได้หาชื่อใหม่ให้ตนเอง เนื่องจากเห็นว่า ตนสามารถรวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นได้ คำว่า อ๋อง ไม่ยิ่งใหญ่พอ จึงได้เลือกคำว่า หวงตี้ (ฮ่องเต้) ซึ่งแปลว่า "เจ้าแผ่นดิน หวาง หรือ อ๋อง แปลว่า เจ้า ตี๋ลี่ หรือ ตี้ แปลว่า แผ่นดิน" มาใช้ แล้วเรียกชื่อตน ตามชื่อราชวงศ์ว่า ฉินซีฮ่องเต้ ฮ่องเต้เรียกตัวเองว่า "เจิ้น" (เดิมเรียกว่า "กู") เป็นการเปิดฉากโอรสแห่งสวรรค์ครองเมือง มีการปฏิรูประบบตัวอักษร ระบบชั่ง, ตวง, วัด (เช่น เพลารถ) ให้เหมือนกันทั้งประเทศ (สำหรับตัวอักษรนั้น อ่านออกเสียงต่างกันได้ แต่จะต้องเขียนเหมือนกัน เช่นเลข 1 เขียนด้วยขีดแนวนอนขีดเดียว จีนกลางออกเสียงว่า "อิ๊" แต่แต้จิ๋วอ่านว่า "เจ๊ก") และแบ่งการปกครองเป็นระบบจังหวัด, อำเภอ นับเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ต่อมาฉินซีฮ่องเต้ได้ให้ขุนศึกเหมิงเถียนหรือเม่งเถียน ยกทัพไปปราบชนเผ่าซ่งหนู (เฉียนหนู) แล้วก่อสร้างกำแพงเมืองจีนขึ้น เพื่อป้องกันการรุกรานของอนารยชน ฉินซีฮ่องเต้ ได้ชื่อว่า เป็นทรราชที่โหดร้ายทารุณมาก ปกครองด้วยความเฉียบขาด อำมหิต กล่าวกันว่า แค่มีคนจับกลุ่มคุยกัน ก็จะถูกจับไปประหารทันที ข้อหาให้ร้ายราชสำนัก มีการยัดเยียดข้อหาแล้วประหารทั้งโคตร การประหารมีทั้งตัดหัว, ตัดหัวเสียบประจาน หรือ "ห้าม้าแยกร่าง" (เอาเชือกมัดแขนขาไว้กับม้าหรือรถม้า 5 ทิศ แล้วให้ม้าควบไป ฉีกร่างออกเป็นชิ้นๆ) และกรณีที่อื้อฉาวมากคือ การเผาตำราสำนักขงจื๊อ แล้วจับบัณฑิตสำนักขงจื๊อสังหารหมู่ ด้วยการเผาทั้งเป็น, ฝังทั้งเป็น หรือฝังดินแล้วตัดหัว แม้แต่รัชทายาทฝูซู (พระโอรสองค์โต) ยังถูกเนรเทศไปชายแดน ไป "ช่วย" เหมิงเถียนสร้างกำแพงเมืองจีน ด้วยข้อหา ขัดแย้งกับพระองค์ จึงมีคนหาทางปลงพระชนม์ตลอดเวลา แม้แต่พระสหายที่สนิทก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังกลัวความตายมาก พยายามเสาะแสวงหายาอายุวัฒนะมาทุกวิถีทาง แต่สุดท้าย ฉินซีฮ่องเต้ก็ป่วยหนัก และสิ้นพระชนม์ลง ในระหว่างที่ออกตามหายาอายุวัฒนะ ในแดนทุรกันดารนั่นเอง และได้มีพระราชโองการเรียกฝูซู รัชทายาทกลับมา เพื่อสืบราชบัลลังก์ (โอรสองค์นี้มีนิสัยอ่อนโยนกว่าบิดา และยังเก่งกาจอีกด้วย จึงเป็นที่คาดหวังจากราษฎรเป็นอย่างมาก) แต่หูไห่ โอรสอีกองค์ ได้ร่วมมือกับเจ้าเกา ขันทีและอัครเสนาบดี และหลี่ซือ ปลอมราชโองการ ให้ฝูซูและเหมิงเถียนฆ่าตัวตาย แล้วตั้งหูไห่เป็นฮ่องเต้องค์ถัดมา เรียกว่า พระเจ้าฉินที่สอง หรือฉินเอ้อซื่อ ซึ่งเป็นฮ่องเต้ที่โหดเหี้ยม แต่ไร้สามารถ ผิดกับพระบิดา แถมยังอยู่ใต้การชักใยของขันทีเจ้าเกา ทำให้ราชวงศ์ฉินล่มจม หูไห่ได้ใช้เงินทองจำนวนมหาศาล ในการก่อสร้างสุสานของฉินซีฮ่องเต้ และยังรีดภาษีจากราษฎรอีก ทำให้ประชาชนก่อกบฏขึ้น ในเวลานั้น มีกบฏอยู่หลายชุด มีข้อตกลงกันว่า หากใครบุกเข้าทางกวนจง ของราชวงศ์ฉินได้ก่อน จะได้เป็นใหญ่ หลิวปัง ได้ก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉินขึ้น และได้ผู้ช่วยมือดีมา 3 คน คือ หานซิ่น จางเหลียง และเซียวเหอ มาช่วยในการวางแผนรบ และประสานงานต่างๆ จึงโค่นราชวงศ์ฉินลงได้ โดยเจ้าเกาได้ฆ่าหลี่ซือ ปลงพระชนม์หูไห่ แล้วตั้งจื่ออิง หลานของหูไห่เป็นฮ่องเต้แทน แต่เจ้าเกาก็ถูกจื่ออิงฆ่าตาย จื่ออิงยอมสวามิภักดิ์ต่อหลิวปัง เวลาเดียวกัน เซี่ยงอี้ ได้ละเมิดข้อตกลง โดยตั้งตัวเป็นซีฉู่ป้าอ๋อง หรือฌ้อป้าอ๋อง (แปลว่า อ๋องแห่งแคว้นฉู่ ที่ยิ่งใหญ่เหนืออ๋องอื่นๆ ว่ากันว่า เซี่ยงอี้นิยมสงคราม และคิดจะทำให้แผ่นดินแตกแยก กลับไปสู่ยุคจ้านกว๋ออีกครั้ง) เซี่ยงอี้ได้เผาพระราชวังอาฝางกงของฉินซีฮ่องเต้ ปลงพระชนม์จื่ออิง แล้วสู้รบกับหลิวปัง การสู้รบได้ยืดเยื้ออยู่นาน เซี่ยงอี้คิดจะแบ่งแผ่นดินปกครองกับหลิวปัง แต่ในที่สุด หลิวปังได้ยกทัพเข้าสู้รบขั้นเด็ดขาด ทำให้เซี่ยงอี้ต้องฆ่าตัวตายในที่สุด เรื่องราวสมัยราชวงศ์ฉิน มีอยู่ในวรรณกรรมไซ่ฮั่น ซึ่งกล่าวถึงการสิ้นสุดราชวงศ์ฉินและการสถาปนาราชวงศ์ฮั่น ปัจจุบัน ราชวงศ์ฉินได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นราชวงศ์แรกของจีน ด้วยมีหลักฐานทางโบรารคดีและประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการมากที่สุดและแผ่นดินก็ยงได้ถูกรวมเป็นหนึ่งครั้งแรก และยกให้ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีนด้วย ด้วยคำว่า "China" ในภาษาอังกฤษ หรือคำว่า "จีน" ในภาษาไทยก็ล้วนเพี้ยนมาจากคำว่าฉินนี้ทั้งสิ้น หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:ราชวงศ์ฉิน หมวดหมู่:ยุคเหล็ก หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 323 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ป้อมปราการโก๋ลวาและราชวงศ์ฉิน · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมดงเซิน

กลองมโหระทึก เป็นวัตถุทางวัฒนธรรมที่สำคัญของวัฒนธรรมดงเซิน วัฒนธรรมดงเซิน หรือ วัฒนธรรมดองซอน เป็นวัฒนธรรมในยุคสำริด มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม วัฒนธรรมดงเซินเป็นวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในคาบสมุทรและในหมู่เกาะต่าง ๆ ผู้คนในวัฒนธรรมดงเซินมีความสามารถในการปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ การประมง และการล่องเรือ วัตถุทางวัฒนธรรมที่สำคัญของวัฒนธรรมนี้คือกลองมโหระทึก ซึ่งเป็นกลองที่ใช้ในพิธีกรรมและพบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัฒนธรรมดงเซินมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของผู้คนที่พูดตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า วัฒนธรรมของชาวไทในยูนนาน วัฒธรรมของผู้คนที่พูดภาษากลุ่มมอญ-เขมร และวัฒนธรรมในบริเวณทุ่งไหหินในประเทศลาว มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่ใกล้เคียงกับวัตถุของวัฒนธรรมดงเซินในประเทศกัมพูชาบริเวณริมแม่น้ำโขง ซึ่งมีอายุในช่วงประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล อิทธิพลของวัฒนธรรมดงเซินสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิเช่น กลองโมโกในประเทศอินโดนีเซีย ไปจนถึงลวดลายของกริช ทางใต้ของสถานที่ที่พบวัฒนธรรมดงเซิน ยังพบวัฒนธรรม Sa Huỳnh ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแรกเริ่มของชาวจาม.

ใหม่!!: ป้อมปราการโก๋ลวาและวัฒนธรรมดงเซิน · ดูเพิ่มเติม »

หนานเยฺว่

หนานเยฺว่ หรือ นามเหวียต (Nam Việt) เป็นอาณาจักรโบราณที่มีอาณาเขตปกคลุมบริเวณมณฑลทางตอนใต้ของจีน อันได้แก่ กวางตุ้ง, กว่างซี และยูนนาน ไปจนถึงตอนเหนือของเวียดนามในปัจจุบัน หนานเยฺว่ได้รับการก่อตั้งในช่วง 204 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงการล่มสลายของราชวงศ์ฉินของจีน หนานเยฺว่ได้ถูกก่อตั้งโดย จ้าว ถัว ผู้ปกครองดินแดนทะเลจีนใต้ อาณาเขตของหนานเยฺว่ในช่วงแรกประกอบด้วยหนานไฮ่, กุ้ยหลิน และ เซียง ใน 196 ปีก่อนคริสต์ศักราช จ้าว ถัว ได้สวามิภักดิ์ต่อจักรพรรดิฮั่นเกาจู่แห่งราชวงศ์ฮั่น ดินแดนหนานเยฺว่ได้ถูกเรียกโดยผู้ปกครองชาวจีนฮั่นว่าเป็น "คนรับใช้ชาวต่างชาติ" มีภาพพจน์เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีน ประมาณ 183 ปีก่อนคริสต์ศักราช ความสัมพันธ์ระหว่างหนานเยฺว่และราชวงศ์ฮั่นได้ห่างเหินต่อกันมากขึ้น และ จ้าว ถัวได้เริ่มที่จะสถาปนาอ้างตัวเองว่าเป็นจักรพรรดิอีกทั้งประกาศอาณาจักรหนานเยฺว่เป็นอิสระ ใน 179 ปีก่อนคริสต์ศักราช ความสัมพันธ์ระหว่างหนานเยฺว่และราชวงศ์ฮั่นกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง จ้าว ถัวได้ยอมสวามิภักดิ์ส่งเครื่องราชบรรณาการต่อราชวงศ์ฮั่นอีกครั้ง ในสมัยของจักรพรรดิฮั่นเหวิน ในฐานะเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของราชวงศ์ฮั่นของจีน อย่างไรก็ตามแม้จะมีการส่งบรรณาการและการยอมสวามิภักดิ์ หนานเยฺว่ยังคงมีอิสระและยังคงปกครองตนเองจากชาวจีนฮั่น และจ้าว ถัว ยังอ้างตนเป็น "จักรพรรดิ" แห่งหนานเยฺว่ จนกระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์ ในช่วง 113 ปีก่อนคริสตกาล ผู้นำ 4 รุ่น แห่งตระกูลจ้าว จ้าว ซิง มีแนวโน้มที่มีใจฝักใฝ่จีนโดยได้พยายามขอให้ราชวงศ์ฮั่นยอมรับหนานเยฺว่เป็นส่วนหนึ่งอย่างเป็นทางการ อัครมหาเสนาบดีของพระองค์ ลฺหวี่เจีย ได้คัดค้านอย่างรุนแรงและได้สมคบคิดวางแผนกับขุนนางคนอื่นๆทำการลอบสังหารจ้าว ซิง และอัญเชิญพระเชษฐา จ้าว เจี้ยนเต๋อที่มีพระชนม์มากกว่าขึ้นครองราชย์ ลฺวี่เจียได้บับบังคับจ้าว เจี้ยนเต๋อตั้งตนเป็นอิสระแข็งข้อต่อราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเท่ากับเผชิญหน้ากับราชวงศ์ฮั่น ในปีต่อมาจักรพรรดิฮั่นอู่แห่งราชวงศ์ฮั่นได้ส่งกองทัพ 100,000 คน ทำสงครามบุกหนานเยฺว่ จนกระทั่งเมื่อถึงปลายปีเดียวกันนั้น กองทัพราชวงศ์ฮั่นได้บุกยึดและทำลายหนานเยฺว่ลงอย่างราบคาบและสถาปนาเป็นดินแดนของชาวจีนฮั่น ดินแดนหนานเยฺว่ได้สิ้นสุดลงนับแต่บัดนั้น โดยดำรงอยู่ 93 ปี มีกษัตริย์ปกครอง 5 รุ่น การก่อตั้งอาณาจักรหนานเยฺว่เกิดมาจากการที่เป็นเมืองหน้าด่านของแคว้นหลิงหนานในระหว่างช่วงความวุ่นวายสับสนระหว่างการล่มสลายของราชวงศ์ฉิน เปิดโอกาสให้แคว้นทางตอนใต้ของจีนได้มีอิสระและหลีกเลี่ยงการปกครองที่กดขี่จากชาวจีนฮั่นที่มาจากแคว้นทางเหนือของจีน อาณาจักรหนานเยฺว่ถูกก่อตั้งโดยผู้นำชาวจีนฮั่นที่มาจากภาคกลางของจีนตอนบนซึ่งนำไปสู่การนำรูปแบบการปกครองแบบเจ้าขุนมูลนายจีน, เทคนิควิธีทางการเกษตร, ข้าวของเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย มาสอนเผยแพร่แก่ชนพื้นเมืองแคว้นทางตอนใต้ อาทิเช่น การรับรู้ภาษาจีนและระบบการเขียนแบบจีน ผู้นำหนานเยฺว่แทบทุกพระองค์สนับสนุนนโยบาย "สามัคคีและรวบรวมชนเผ่าไป่เยฺว่" ประกอบกับตัวผู้นำเองมีใจฝักใฝ่จีนโดยมีการเชิญชวนให้ชาวจีนฮั่นผู้เป็นมิตรมาแสวงโชคโดยอพยพจากดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำหวงโฮทางตอนเหนือเข้ามาอาศัยในดินแดนตอนใต้ พวกเขายังสนับสนุนนโยบาย เปลี่ยนให้เป็นจีน โดยการกลมกลืนระหว่างสองวัฒนธรรมและผู้คน ระหว่างสองวัฒนธรรมจีนฮั่นและวัฒนธรรมพื้นเมืองทางตอนใต้ บ่อยครั้งที่วัฒนธรรมจีนมักจะดูดกลืนวัฒนธรรมของชนพื้นเมือง ผู้นำหนานเยฺว่ ตระกูลจ้าว ยังประกาศใช้วัฒนธรรมจีนและภาษาจีนไปทั่วทั้งดินแดนหนานเยฺว่ แม้ว่าจะมีการรักษาขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของตนเอาไว้ควบคู่กัน.

ใหม่!!: ป้อมปราการโก๋ลวาและหนานเยฺว่ · ดูเพิ่มเติม »

อาน เซือง เวือง

อาน เซือง เวือง (安陽王, An Dương Vương) มีชื่อจริงคือ ถุก ฟ้าน (蜀泮, Thục Phán) ผู้ปกครองอาณาจักรเอิวหลัก (ประเทศเวียดนามปัจจุบัน) ตั้งแต่ 257 ถึง 207 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นผู้นำของเผ่าเอิวเหวียต เขาได้เอาชนะและยึดราชบัลลังก์จากกษัตริย์หุ่งองค์สุดท้าย แห่งอาณาจักรวันลาง และได้รวบรวมชนเผ่าที่ยึดมาคือหลักเหวียต เข้ากับเอิวเหวียต เขาได้ก่อตั้งอาณาจักรใหม่ มีเมืองหลวงที่โก๋ลวา สร้างป้อมปราการที่ชื่อป้อมปราการโก๋ลวา จนกระทั่งในช่วง 208 ปีก่อนคริสต์ศักราช กองทัพจีนแห่งราชวงศ์ฉินนำโดยแม่ทัพจีน เจี่ยวด่า ได้รุกรานเอิวหลัก เมืองหลวงโก๋ลวาถูกโจมตี พระราชวังถูกปล้นสะดม อาน เซือง เวือง ต้องหลบหนีออกจากเมืองหลวงและตัดสินใจฆ่าตัวตาย เจี่ยวด่าแม่ทัพชาวจีนฮั่นได้สถาปนาราชวงศ์จ้าวขึ้นมาใหม่ ดินแดนเอิวหลักถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรหนานเยฺว่ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลกวางตุ้ง.

ใหม่!!: ป้อมปราการโก๋ลวาและอาน เซือง เวือง · ดูเพิ่มเติม »

ฮานอย

นอย (Hanoi; Hà Nội ห่าโหน่ย) เป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนาม มีประชากร 6,472,200 คน (พ.ศ. 2552) ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือระหว่าง พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2519 และก่อนหน้านั้นเคยเป็นเมืองหลวงของพื้นที่เวียดนามในปัจจุบันเป็นครั้งคราวตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึง..

ใหม่!!: ป้อมปราการโก๋ลวาและฮานอย · ดูเพิ่มเติม »

จิ๋นซีฮ่องเต้

ฉินฉื่อหฺวังตี้ ตามสำเนียงกลาง หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ ตามสำเนียงอื่น (260–210 ก่อนคริสตกาลWood, Frances. (2008). China's First Emperor and His Terracotta Warriors, pp. 2-33. Macmillan Publishing, 2008. ISBN 0-312-38112-3.) เป็นชื่อที่ปัจจุบันใช้เรียกพระเจ้าเจิ้ง (Zhèng) แห่งเมืองฉิน มีความหมายตรงตัวว่า "ปฐมจักรพรรดิฉิน" พระองค์ทรงสถาปนาราชวงศ์ฉินเมื่อปีที่ 220 ก่อนคริสตกาล และทรงผนวกดินแดนจีนสำเร็จในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล เป็นอันสิ้นสุดยุครณรัฐDuiker, William J. & al.

ใหม่!!: ป้อมปราการโก๋ลวาและจิ๋นซีฮ่องเต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลจีนใต้

แผนที่ทะเลจีนใต้ ทะเลจีนใต้ (South China Sea) เป็นทะเลปิดที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ครอบคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่ประเทศสิงคโปร์ไปจนถึงช่องแคบไต้หวัน รวมทั้งอ่าวตังเกี๋ยและอ่าวไทย มีเนื้อที่ประมาณ 3,500,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญเพราะมีเส้นทางขนส่งทางเรือผ่านคิดเป็นหนึ่งในสามของโลก นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า ใต้พื้นทะเลมีน้ำมันและแก๊สธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่ด้วย อาณาเขตของทะเลจีนใต้ อยู่ทางใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะไต้หวัน, ตะวันตกของฟิลิปปินส์, ตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวะก์ของมาเลเซียและบรูไน, เหนือของอินโดนีเซีย, ตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมลายูและสิงคโปร์ และตะวันออกของเวียดนาม หมู่เกาะทะเลจีนใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกาะ มีจำนวนหลายร้อยเกาะ ทะเลและเกาะที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัยส่วนใหญ่นี้เป็นหัวข้อพิพาทอธิปไตยโดยหลายประเทศ ข้อพิพาทเหล่านี้ยังได้สะท้อนในชื่ออันหลากหลายที่ตั้งให้เกาะและทะเล.

ใหม่!!: ป้อมปราการโก๋ลวาและทะเลจีนใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง

ที่ตั้งของภูมิภาคดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในเวียดนาม ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง (Đồng bằng sông Hồng) เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ปลายน้ำของแม่น้ำแดง ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ครอบคลุม 8 จังหวัด กับ 2 เทศบาลนคร ได้แก่ จังหวัดบั๊กนิญ, จังหวัดห่านาม, จังหวัดหายเซือง, จังหวัดฮึงเอียน, จังหวัดนามดิ่ญ, จังหวัดนิญบิ่ญ, จังหวัดท้ายบิ่ญ, จังหวัดหวิญฟุก, เทศบาลนครฮานอย และเทศบาลนครไฮฟอง พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการปลูกข้าว.

ใหม่!!: ป้อมปราการโก๋ลวาและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »