โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเภทของประชาธิปไตย

ดัชนี ประเภทของประชาธิปไตย

ประเภทของประชาธิปไตย สามารถจำแนกได้ออกเป็นหลายประเภท โดยบางประเภทให้เสรีภาพและความมีสิทธิ์มีเสียงแก่พลเมืองมากกว่ารูปแบบอื่น ประเภทของประชาธิปไตย สามารถแบ่งได้ดังนี้.

32 ความสัมพันธ์: พหุนิยมกรีซโบราณกษัตริย์กึ่งประชาธิปไตยระบบกึ่งประธานาธิบดีระบบรัฐสภาระบบประธานาธิบดีรัฐบาลรัฐวิสาหกิจรัฐสภารัฐสภาสหรัฐสภานิติบัญญัติสหราชอาณาจักรสังคมนิยมสาธารณรัฐประชาธิปไตยหลักนิติธรรมอาริสโตเติลอำนาจบริหารทอมัส เจฟเฟอร์สันประชาธิปไตยสังคมนิยมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สันประชาธิปไตยโดยตรงประชาธิปไตยเสรีนิยมประมุขแห่งรัฐประธานาธิบดีนายกรัฐมนตรีแอนดรูว์ แจ็กสันเวนิสเอเธนส์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

พหุนิยม

หุนิยม (Pluralism) เป็นหนึ่งในบรรดาคำหลายๆ คำที่ถูกหยิบยกไปใช้อย่างกว้างขวางในแทบจะทุกสาขา แต่โดยรวมแล้วจะมีนัยหมายถึงชุดของแนวคิดที่รับรู้ว่ามีความแตกต่างด้านแนวคิดอยู่ในสังคม และสนับสนุนในความแตกต่างหลากหลายทางแนวคิดเหล่านั้น รวมไปถึงต่อต้านการผูกขาดการตีความ หรือ การครอบงำโดยแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งเพียงแนวคิดเดียว เช่น พหุวัฒนธรรม (cultural pluralism) นั้นสนับสนุนแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับความแตกต่างหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม และไม่ยอมรับการครอบงำด้วยอิทธิพลของวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง หรือ พหุนิยมเชิงญาณวิทยา (epistemological pluralism) ที่มองว่าองค์ความรู้นั้นมีวิธีการอธิบาย และเข้าถึงตัวองค์ความรู้ได้หลากหลายวิธี โดยมิได้ถูกครอบงำด้วยวิธี และรูปแบบการอธิบายของสำนักคิดใดสำนักคิดหนึ่งเพียงสำนักเดียว (Kurian, 2011: 1213).

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและพหุนิยม · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริย์

กษัตริย์ (क्षत्रिय กฺษตฺริย; khattiya ขตฺติย; ปรากฤต:khatri) เป็นวรรณะหนึ่งในสังคมชาวฮินดู (อีก 4 วรรณะที่เหลือคือพราหมณ์ แพศย์ และศูทร).

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและกษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

กึ่งประชาธิปไตย

ประชาธิปไตยครึ่งใบ หรือ กึ่งประชาธิปไตย (Semi democracy) หมายถึงรัฐที่มีระบอบการปกครองลักษณะทั้งประชาธิปไตยและเผด็จการ เช่น ไทย หมวดหมู่:ระบอบการปกครอง.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและกึ่งประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ระบบกึ่งประธานาธิบดี

ระบอบกึ่งประธานาธิบดี หรือ ระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา หรือ ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี (semi-presidential system) เป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งที่ประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยใช้อำนาจผ่านนายกรัฐมนตรี ระบบกึ่งประธานาธิบดีมีต้นกำเนิดในฝรั่ง.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและระบบกึ่งประธานาธิบดี · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรัฐสภา

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ที่ไม่มีอำนาจในการปกครอง ระบบรัฐสภา เป็นกลไกการปกครอง ที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลมีที่มาจากรัฐสภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติ และมีความรับผิดชอบต่อสภา ในระบบรัฐสภา ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ และตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลมักจะแยกออกจากกัน โดยหัวหน้ารัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ตามการสืบสันตติวงศ์ หรือประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง ระบบรัฐสภาสมัยใหม่มีต้นกำเนิดในอังกฤษใน ศตวรรษที่17 โดยมีประเทศที่ใช้ระบบสาธารณรัฐระบบรัฐสภาได้แก่ เยอรมนี อิตาลี อินเดีย ออสเตรีย ฮังการี ตุรกี อิรัก อิสราเอล ปากีสถาน สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ กรีซ เซอร์เบีย เช็กเกีย บัลแกเรีย เนปาล บังกลาเทศ เอธิโอเปีย ซูรินาม เป็นต้น ส่วนประเทศที่ใช้ระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญได้แก่ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ไทย กัมพูชา มาเลเซีย สเปน สวีเดน นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ลักเซมเบิร์ก ลิกเตนสไตน์ โมนาโก อันดอร์รา เป็นต้น.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและระบบรัฐสภา · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประธานาธิบดี

ระบบประธานาธิบดี คือ ระบอบที่ตั้งให้ประมุขแห่งรัฐมีอำนาจสูงสุดอย่างเต็มที่ คณะรัฐบาลอยู่ใต้อำนาจของประมุขแห่งรัฐ (เช่น อำนาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนคณะรัฐบาล) ในรัฐธรรมนูญของบางประเทศ อาจให้มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีควบคู่ไปกับประธานาธิบดีได้ แต่ส่วนมากนายกรัฐมนตรีในระบบประธานาธิบดีจะไม่มีอำนาจเท่ากับในระบอบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดีมีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา ประเทศที่ใช้ระบบประธานาธิบดีได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล เม็กซิโก เป็นต้น.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและระบบประธานาธิบดี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาล

รัฐบาล คือองค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่งๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือกลุ่มคน รัฐบาลตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า government ซึ่งมีความหมายสองนัยยะ นัยยะแรกหมายถึงกิจกรรมการปกครอง และอีกความหมายหนึ่งคือคณะบุคคลที่มีอำนาจในการปกครอง หมวดหมู่:การปกครอง.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและรัฐบาล · ดูเพิ่มเติม »

รัฐวิสาหกิจ

รัฐวิสาหกิจ เป็นองค์การที่เป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ อาจมีโครงสร้างเช่นเดียวกับหน่วยธุรกิจเอกชนหรือมีโครงสร้างอย่างหน่วยงานของราชการ แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไร.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและรัฐวิสาหกิจ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภา

ผู้แทนราษฎรของออสเตรเลีย รัฐสภา เป็นสภานิติบัญญัติชนิดหนึ่ง รัฐสภาจะทำหน้าที่ออกกฎหมาย อภิปราย หารือกันระหว่างสมาชิกรัฐสภา ถกเถียงประเด็นทางการเมืองหรือกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ โดยรัฐสภาจะมีเฉพาะประเทศที่ใช้ใช้ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกในโลกที่มีระบบรัฐสภาและเป็นต้นแบบระบอบประชาธิปไตยในสมัยปัจจุบันด้วย เช่น ฝรั่งเศส สเปน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและรัฐสภา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาสหรัฐ

รัฐสภาสหรัฐ (United States Congress) เป็นสภานิติบัญญัติสูงสุดในระบบการปกครองสหรัฐ ซึ่งเป็นระบบสภาคู่ ที่ประกอบด้วย วุฒิสภา (Senate) และ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) สมาชิกของทั้งสองสภาได้รับเลือกจากประชาชนโดยตรง สมาชิก 435 คนของสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนจากเขตการปกครอง (district) และมีหน้าที่สองปี ผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งมาจากเขตการปกครองตามจำนวนประชากรที่ระบุไว้ในเขตการเลือกตั้งสหรัฐซึ่งเปลื่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ฉะนั้นทุกสองปีหนึ่งในสามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องได้รับเลือกตั้งใหม่ ส่วนสมาชิกวุฒิสภา 100 คนของวุฒิสภารับหน้าที่ครั้งละหกปี แต่ละมลรัฐมีสิทธิในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาสองคนไม่ว่าจะเป็นรัฐมีประชากรมากหรือน้อยเท่าใด รัฐธรรมนูญสหรัฐให้อำนาจในการออกกฎหมายแก่รัฐสภาทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเท่ากันในกระบวนการออกกฎหมาย กฎหมายทุกฉบับที่นำมาปฏิบัติได้ต้องได้รับการอนุมัติจากทั้งสองสภา แต่รัฐธรรมนูญให้อำนาจพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์บางอย่างแก่ทั้งสองสภา เช่นวุฒิสภามีอำนาจในการอนุมัติสนธิสัญญา และ การแต่งตั้งตำแหน่งของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลที่เสนอโดยประธานาธิบดี แต่กฎหมายเกี่ยวกับการหารายได้เพิ่มเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรที่จะเสนอ นอกจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรก็ยังมีอำนาจฟ้องขับเจ้าหน้าที่ชั้นสูงออกจากตำแหน่ง (impeachment) ขณะที่วุฒิสภามีอำนาจในการพิจารณาฟ้องดังกล่าว ปัจจุบันเป็นสมัยประชุมที่ 115 เริ่มเมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและรัฐสภาสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สภานิติบัญญัติ

นิติบัญญัติเป็นสภาปรึกษาหารือชนิดหนึ่งซึ่งมีอำนาจผ่าน แก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกกฎหมาย กฎหมายที่เกิดจากสภานิติบัญญัติเรียก กฎหมายลายลักษณ์อักษร นอกเหนือไปจากการตรากฎหมายแล้ว สภานิติบัญญัติยังมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการเพิ่มหรือลดภาษีและมีมติเห็นชอบงบประมาณและร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินอื่น สภานิติบัญญัติมีหลายชื่อ ที่พบมากที่สุด คือ รัฐสภาและคองเกรส (congress) โดยสองคำนี้มีความหมายจำเพาะกว่า ในการปกครองระบบรัฐสภา ฝ่ายบริหารรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติซึ่งอาจถอดถอนฝ่ายบริหารได้ด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในระบบประธานาธิบดี ตามลัทธิการแยกใช้อำนาจ สภานิติบัญญัติถูกมองว่าเป็นอิสระและเป็นการปกครองแขนงหนึ่งซึ่งเสมอกับฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร องค์ประกอบหลักของสภานิติบัญญัติ คือ มีตั้งแต่หนึ่งสภา (chamber/house) เป็นต้นไป สภา คือ การประชุมซึ่งสามารถอภิปรายและลงมติในร่างกฎหมายได้ สภานิติบัญญัติซึ่งมีสภาเดียว เรียก สภาเดียว ส่วนสภานิติบัญญัติที่มีสองสภา เรียก ระบบสองสภา ซึ่งปกติอธิบายเป็นสภาสูงและสภาล่าง โดยมักมีหน้าที่อำนาจและวิธีการเลือกสมาชิกต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีสภานิติบัญญัติที่มีมากกว่าสองสภา แต่ไม่ค่อยพบ ในระบบรัฐสภาส่วนมาก สภาล่างเป็นสภาที่มีอำนาจกว่า ขณะที่สภาสูงเป็นเพียงสภาให้คำปรึกษาหรือทบทวน อย่างไรก็ดี ในระบบประธานาธิบดี อำนาจของสองสภามักคล้ายหรือเท่ากัน ในสหพันธรัฐ สภาสูงมักเป็นตัวแทนของรัฐที่มารวมกัน (component state) ซึ่งรวมถึงสภานิติบัญญัติเหนือชาติของสหภาพยุโรปด้วย ด้วยจุดประสงค์นี้ สภาสูงอาจมีผู้แทนจากรัฐบาลของรัฐ ดังเช่นในกรณีสหภาพยุโรปและเยอรมนี หรือมาจากการเลือกตั้งตามสูตรซึ่งให้การมีผู้แทนเท่าเทียมกันแก่รัฐซึ่งมีประชากรน้อยกว่า เช่นในกรณีออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและสภานิติบัญญัติ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สังคมนิยม

ังคมนิยม (อังกฤษ: Socialism) เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมีลักษณะคือ สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจัดการเศรษฐกิจแบบร่วมมือ ตลอดจนทฤษฎีและขบวนการทางการเมืองซึ่งมุ่งสถาปนาระบบดังกล่าว"The origins of socialism as a political movement lie in the Industrial Revolution." "สังคมเป็นเจ้าของ" อาจหมายถึง การประกอบการสหกรณ์ การเป็นเจ้าของร่วม รัฐเป็นเจ้าของ พลเมืองเป็นเจ้าของความเสมอภาค พลเมืองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือที่กล่าวมารวมกัน มีความผันแปรของสังคมนิยมจำนวนมากและไม่มีนิยามใดครอบคลุมทั้งหมด ความผันแปรเหล่านี้แตกต่างกันในประเภทของการเป็นเจ้าของโดยสังคมที่ส่งเสริม ระดับที่พึ่งพาตลาดหรือการวางแผน วิธีการจัดระเบียบการจัดการภายในสถาบันการผลิต และบทบาทของรัฐในการสร้างสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมอาศัยลัทธิองค์การการผลิตเพื่อใช้ หมายความว่า การผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองอุปสงค์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของมนุษย์โดยตรง และระบุคุณค่าวัตถุตามคุณค่าการใช้ประโยชน์หรืออรรถประโยชน์ ซึ่งตรงข้ามกับการผลิตมาเพื่อสะสมทุนและเพื่อกำไร ในแนวคิดดั้งเดิมของเศรษฐกิจสังคมนิยม มีการประสานงาน การทำบัญชีและการประเมินค่าอย่างเดียวกันโดยปริมาณทางกายภาพร่วม (common physical magnitude) หรือโดยการวัดแรงงาน-เวลาแทนการคำนวณทางการเงิน มีสองข้อเสนอในการกระจายผลผลิต หนึ่ง ยึดตามหลักที่ว่าให้กระจายแก่แต่ละคนตามการเข้ามีส่วนร่วม และสอง ยึดตามหลักผลิตจากทุกคนตามความสามารถ ให้แก่ทุกคนตามความจำเป็น วิธีการจัดสรรและประเมินคุณค่าทรัพยากรที่แน่ชัดยังเป็นหัวข้อการถกเถียงในการถกเถียงการคำนวณสังคมนิยมที่กว้างกว.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและสังคมนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐประชาธิปไตย

สาธารณรัฐประชาธิปไตย คือ ประเทศที่เป็นทั้งสาธารณรัฐและปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามความหมาย คือ อำนาจสูงสุดมาจากพลเมือง อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ ประเทศซึ่งเรียกตนเองว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีหรือเป็นธรรมเสมอไป ตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน (เยอรมนีตะวันออก) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (เวียดนามเหนือ) ซึ่งมักอธิบายว่าเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ หมวดหมู่:บทความเกี่ยวกับ การเมืองการปกครอง ที่ยังไม่สมบูรณ์ หมวดหมู่:ระบอบการปกครอง.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและสาธารณรัฐประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

หลักนิติธรรม

หลักนิติธรรม (Rule of Law) หากพิจารณาในฐานะแนวคิดของชาวตะวันตกนั้นก็จะพบว่ามีรากเหง้ามาแต่ครั้งสมัยกรีกโบราณจากข้อถกเถียงสำคัญที่ว่า การปกครองที่ดีนั้นควรจะเป็นการปกครองด้วยสิ่งใด ระหว่างกฎหมายที่ดีที่สุด กับ สัตบุรุษ (คนดี) โดยอริสโตเติล (Aristotle) ได้สรุปว่า กฎหมายเท่านั้นที่ควรจะเป็นผู้ปกครองสูงสุดในระบอบการเมือง (Aristotle, 1995: 127) และจากข้อสรุปของอริสโตเติลตรงนี้นี่เอง ที่ได้พัฒนาไปสู่แนวคิดพื้นฐานสำคัญของรัฐสมัยใหม่ในอีกหลายพันปีถัดมาว่า การปกครองที่ดีนั้นควรจะต้องให้กฎหมายอยู่สูงสุด (supremacy of law) และทุกๆ คนต้องมีสถานะที่เสมอภาค และเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย กล่าวคือ แม้ตามหลักการของการแบ่งแยกอำนาจ ผู้ปกครองจะมีอำนาจอันชอบธรรมในการออกและบังคับใช้กฎหมาย แต่ตัวผู้ปกครอง หรือ รัฐเองก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่พวกเขาออก และบังคับใช้ด้วยเฉกเช่นเดียวกันกับพลเมืองคนอื่นๆ ในรัฐ เพื่อที่จะทำให้การเมืองนั้นวางอยู่บนรากฐานของกฎหมาย และรัฐบาลนั้นเป็นรัฐบาลที่จำกัด (limited government) โดยตัวกฎหมายเป็นสำคัญ.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม · ดูเพิ่มเติม »

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจบริหาร

อำนาจบริหาร (Executive) เป็นการปกครองส่วนที่มีอำนาจและความรับผิดชอบเฉพาะการบริหารประเทศประจำวัน ระบบการแยกใช้อำนาจออกแบบมาเพื่อกระจายอำนาจในบรรดาหลายฝ่าย เป็นความพยายามที่จะรักษาเสรีภาพปัจเจกบุคคลเพื่อเป็นการสนองตอบผู้นำทรราชตลอดประวัติศาสตร์ บทบาทของฝ่ายบริหาร คือ บังคับใช้กฎหมายตามที่สภานิติบัญญัติบัญญัติขึ้นและระบบตุลาการตีความ ฝ่ายบริหารสามารถเป็นบ่อเกิดของกฎหมายบางประเภทได้ เช่น กฤษฎีกาหรือคำสั่งของฝ่ายบริหาร ระบบข้าราชการประจำบริหารมักเป็นที่มาของระเบี.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและอำนาจบริหาร · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส เจฟเฟอร์สัน

ทอมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) (เกิดวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1743 - วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1826)The birth and death of Thomas Jefferson are given using the Gregorian calendar.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและทอมัส เจฟเฟอร์สัน · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยสังคมนิยม

ประชาธิปไตยสังคมนิยม (Social democracy) เป็นอุดมการณ์ทางการเมือง ทางสังคม และทางเศรษฐกิจ ที่สนับสนุนการแทรกแซงของรัฐทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อความยุติธรรมทางสังคมภายในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ตลอดจนนโยบายการปกครองอันผูกมัดกับระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน การกระจายรายได้ และการควบคุมเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและที่เป็นไปตามเงื่อนไขของรัฐสวัสดิการ ดังนั้น จึงเป็นระบอบที่มุ่งสร้างเงื่อนไขให้กับระบอบทุนนิยมเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นประชาธิปไตย ที่เท่าเทียมกัน และที่เป็นปึกแผ่นมากกว่า โดยบ่อยครั้งสัมพันธ์กับนโยบายทางสังคมเศรษฐกิจที่กลายเป็นเรื่องสำคัญในประเทศยุโรปตะวันตกและยุโรปเหนือ โดยเฉพาะรูปแบบที่มีในกลุ่มประเทศนอร์ดิก (คือ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน) ในช่วงครึ่งหลังคริสต์ทศวรรษที่ 20 ระบบนี้มาจากอุดมการณ์ทางการเมืองที่สนับสนุนการปฏิรูปแบบสันติ เพื่อเปลี่ยนจากระบบทุนนิยมเป็นสังคมนิยมผ่านกระบวนการทางเมืองที่มีอยู่แล้ว เทียบกับการเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติของลัทธิมากซ์ดั้งเดิม ในยุโรปตะวันตกช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมได้ปฏิเสธรูปแบบทางการเมืองและเศรษฐกิจของลัทธิสตาลินที่ตอนนั้นปฏิบัติอยู่ในสหภาพโซเวียต โดยใช้ทางเลือกเพื่อดำเนินสู่สังคมนิยมอีกแบบหนึ่ง หรือใช้ระบบอะลุ้มอล่วยระหว่างทุนนิยมและสังคมนิยม ในช่วงเวลานี้ นักประชาธิปไตยสังคมนิยมได้นำเศรษฐกิจแบบผสมมาใช้ อิงอาศัยทรัพย์สินส่วนบุคคลที่มีมากกว่า บวกกับสาธารณูปโภคที่จำเป็นและบริการสาธารณะซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีน้อยกว่า ดังนั้น ระบอบนี้จึงสัมพันธ์กับเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ การแทรกแซงของรัฐ และรัฐสวัสดิการ โดยได้ละทิ้งเป้าหมายสังคมนิยมดั้งเดิมที่จะแทนที่ระบบทุนนิยม (รวมทั้งตลาดการผลิต ทรัพย์สินส่วนบุคคล และแรงงานแลกกับค่าจ้าง) ด้วยระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมที่ต่างกัน ประชาธิปไตยสังคมนิยมในปัจจุบันมีลักษณะเฉพาะคือ การผูกมัดกับนโยบายที่เล็งระงับความไม่เท่าเทียมกัน ระงับการกดขี่กลุ่มคนที่ไร้อภิสิทธิ์ และระงับความยากจน รวมทั้งการสนับสนุนบริการสาธารณะที่เข้าถึงได้ทั่วกัน เช่น การดูแลผู้สูงอายุ การดูแลเด็ก การศึกษา การดูแลสุขภาพ และค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ใช้แรงงาน ขบวนการประชาธิปไตยสังคมนิยมยังมีความสัมพันธ์ที่แข็งแรงกับขบวนการแรงงานและสหภาพแรงงาน สนับสนุนสิทธิการร่วมเจรจาต่อรองสำหรับแรงงาน ตลอดจนนโยบายที่ขยายการตัดสินใจแบบประชาธิปไตยนอกเหนือจากเรื่องการเมืองเข้าไปในประเด็นทางเศรษฐกิจ ในรูปแบบสิทธิเพื่อการเลือกผู้แทนในคณะกรรมการของบริษัท (co-determination) สำหรับทั้งลูกจ้างและผู้ได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ขบวนการ "ทางที่สาม" (Third Way) ซึ่งหวังเชื่อมเศรษฐกิจฝ่ายขวาเข้ากับนโยบายสวัสดิการแบบประชาธิปไตยสังคมนิยม เป็นอุดมการณ์ที่พัฒนาขึ้นต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1990 และบางครั้งนำมาใช้โดยพรรคการเมืองประชาธิปไตยสังคมนิยม แต่ก็มีนักวิเคราะห์ที่จัดทางที่สามว่า เท่ากับขบวนการเสรีนิยมใหม.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและประชาธิปไตยสังคมนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (participatory democracy) คือ กระบวนการที่เน้นการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของพลเมืองในเขตเลือกตั้ง (constituent) ในทิศทางและปฏิบัติการของระบบการเมือง รากศัพท์ ประชาธิปไตย ส่อความว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ ฉะนั้นประชาธิปไตยทุกชนิดจึงเป็นแบบมีส่วนร่วม ทว่า ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมมีแนวโน้มส่งเสริมรูปแบบการมีส่วนร่วมของพลเมืองที่เกี่ยวข้องมากกว่าและการเป็นผู้แทนทางการเมืองมากกว่าประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนเดิม ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมพยายามสร้างโอกาสให้สมาชิกทั้งหมดของประชากรเข้ามีส่วนร่วมอย่างมีความหมายกับการวินิจฉัยสั่งการ และมุ่งขยายวิสัยของประชาชนที่เข้าถึงโอกาสดังกล่าว เนื่องจากต้องรวบรวมสารสนเทศสำหรับกระบวนการวินิจฉัยสั่งการโดยรวมเพื่อให้สัมฤทธิ์ผล เทคโนโลยีอาจให้แรงสำคัญนำสู่ประเภทการมอบอำนาจ (empowerment) ที่แบบจำลองการมีส่วนร่วมต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือเทคโนโลยีที่ทำให้ชุมชนบรรยายและเข้ากันได้กับการสะสมความรู้ ปัจจุบันกำลังมีการศึกษาการเพิ่มส่วนการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ และการแปลกลุ่มมีส่วนร่วมขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพเข้าเครือข่ายโลกเล็ก (small-world network) ผู้กล่าวสนับสนุนอื่นเน้นความสำคัญของการประชุมต่อหน้า โดยเตือนว่าการพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไปเป็นผลเสียได้.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (representative democracy) เป็นประชาธิปไตยแบบหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนหลักว่า ข้าราชการจากการเลือกตั้งเป็นผู้แทนกลุ่มประชาชน ซึ่งขัดต่อประชาธิปไตยทางตรง ประชาธิปไตยแบบตะวันตกสมัยใหม่ทั้งหมดเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนประเภทใดประเภทหนึ่งทั้งสิ้น เช่น สหราชอาณาจักรเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเยอรมนีเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนเป็นองค์ประกอบของทั้งระบบรัฐสภาหรือระบบประธานาธิบดี และตรงแบบใช้ในสภาล่าง เช่น สภาสามัญชน (สหราชอาณาจักร) หรือบุนเดชตัก (เยอรมนี) และอาจกำกับอีกทีหนึ่งโดยข้อบังคับตามรัฐธรรมนูญ เช่น สภาสูง ในสภานั้น อำนาจอยู่ในมือของผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน หมวดหมู่:ประชาธิปไตย.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สัน

แรมบรันด์ท พีล ค.ศ. 1800 ประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สัน (Jeffersonian democracy) เป็นประเด็นของจุดประสงค์ทางการเมืองต่างๆ ที่ตั้งตามชื่อประธานาธิบดีทอมัส เจฟเฟอร์สัน ประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สันมีอิทธิพลเป็นอันมากต่อการเมืองอเมริกันระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1800 จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1820 และเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับประชาธิปไตยแนวแจ็คสันที่มามีอิทธิพลต่อจากแนวเจฟเฟอร์สัน บุคคลสำคัญๆ ที่สนับสนุนรายละเอียดของประชาธิปไตยแนวนี้คือตัวเจฟเฟอร์สันเอง, แอลเบิร์ต กาลลาติน, จอห์น แรนดอล์ฟ โรอันโนค และ แนธาเนีย เมคอน หัวใจของประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สันมีลักษณะที่ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ข้างล่างที่กลุ่มเจฟเฟอร์สันได้ทำการเสนอในรูปของสุนทรพจน์และกฎหมายต่างๆ.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สัน · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยโดยตรง

การชุมนุมตามกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรงที่เรียกว่า Landsgemeinde ในแคนทอนกลารุสปี พ.ศ. 2549 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประชาธิปไตยโดยตรง (direct democracy) หรือ ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ (pure democracy.) เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ประชาชนตัดสินการริเริ่มออกกฎหมาย/นโยบายต่าง ๆ โดยตรง ไม่ว่าจะโดยออกเสียงลงคะแนนหรือลงประชามติเป็นต้น ซึ่งต่างจากรัฐประชาธิปไตยปัจจุบันโดยมากอันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ที่ประชาชนออกเสียงเลือกผู้แทนเพื่อทำหน้าที่ริเริ่มแล้วออกเสียงตัดสินนโยบายอีกทอดหนึ่ง ในระบอบนี้ ประชาชนอาจมีอำนาจการตัดสินใจทางฝ่ายบริหาร ริเริ่มแล้วตัดสินการออกกฎหมายทางฝ่ายนิติบัญญัติ เลือกตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ และดำเนินการทางฝ่ายตุลาการ ประชาธิปไตยโดยตรงมีรูปแบบหลัก ๆ สองอย่างคือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและประชาธิปไตยโดยตรง · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยเสรีนิยม

รัฐสภาของประเทศฟินแลนด์ (Eduskunta) - มีประเทศและอาณาเขตหลายแห่งที่เรียกได้ว่า มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปเป็นแห่งแรก รัฐ Grand Duchy of Finland (ก่อนจะเป็นประเทศฟินแลนด์) ได้มีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449 ประชาธิปไตยเสรีนิยม หรือ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม (Liberal democracy) หรือบางครั้งเรียกว่า ประชาธิปไตยแบบตะวันตก เป็นทั้งคตินิยมทางการเมืองและระบอบการปกครองรูปแบบหนึ่ง ที่การปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนจะดำเนินการใต้หลักเสรีนิยม คือ การพิทักษ์สิทธิของปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยทั่วไปจะระบุไว้ในกฎหมาย ระบอบมีลักษณะเฉพาะ คือ.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและประชาธิปไตยเสรีนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ประมุขแห่งรัฐ

ประมุขแห่งรัฐ (head of state) เป็นคำที่ใช้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์และพิธีการทูตเมื่อหมายถึงข้าราชการ (official) ที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดในรัฐเอกราชหนึ่ง ๆ และมีอำนาจเด็ดขาดหรือจำกัดที่จะปฏิบัติเป็นผู้แทนสาธารณะสูงสุด (chief public representative) ของรัฐ ประมุขแห่งรัฐในประเทศส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดาที่ดำรงตำแหน่ง หากในบางประเทศ คณะบุคคลอยู่ในตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ เช่น สภาสหพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ ประธานาธิบดีบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และผู้ครองนครร่วม (Captains Regent) ซานมารีโน คำว่า "ประมุขแห่งรัฐ" มักใช้เพื่อแยกความแตกต่างจากคำว่า "หัวหน้ารัฐบาล" ยกตัวอย่าง ในอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ข้อ 7 และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมที่กระทำต่อบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศ รวมทั้งตัวแทนทางทูต ข้อ 1 เช่น ระบบรัฐสภาอย่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พระมหากษัตริย์และประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นประมุขแห่งรัฐในสองประเทศนี้ตามลำดับ ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้รับการยอมรับเป็นหัวหน้ารัฐบาล อย่างไรก็ดี ในสาธารณรัฐที่มีระบบประธานาธิบดี เช่น สหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งบุคคลที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลยังอาจเกิดได้ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและบางครั้งเช่นเดียวกับระบอบเผด็จการอื่น ๆ บทบาทของประมุขแห่งรัฐโดยทั่วไป รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมือง และหน้าที่ ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประเทศนั้น ๆ อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูตปฏิบัติภายใต้ข้อสันนิษฐานว่า หัวหน้าคณะทูต (คือ เอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต) ของประเทศผู้ส่งถูกถือว่าเป็นของประมุขแห่งรัฐรัฐผู้รับ มักคิดกันว่าประมุขแห่งรัฐเป็น "ผู้นำ" อย่างเป็นทางการของรัฐชาติหนึ่ง ๆ ปัจจุบัน หลายประเทศคาดหวังให้ประมุขแห่งรัฐของตนรวมค่านิยมของชาติในแบบนิยมที่คล้ายกัน.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและประมุขแห่งรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดี

ประธานาธิบดี (president) คือตำแหน่งประมุขหรือผู้นำของประเทศที่ปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งประธานาธิบดีจะได้รับตำแหน่งจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ปัจจุบันมีหลายประเทศที่มีประธานาธิบดีเป็นประม.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและประธานาธิบดี · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งผู้นำของรัฐบาล เป็นตำแหน่งสูงสุด โดยมีพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ บางประเทศยังต้องเลือกประธานาธิบดีแล้วแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีหรือบางประเทศอาจจะให้กษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งก็ได้ แต่ในระบบสาธารณรัฐแบบประธานาธิบดีจะไม่มีนายกรัฐมนตรี เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล เป็นต้น รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ในขณะที่นายกรัฐมนตรีมีเหตุทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือมีหน้าที่อื่นให้ปฏิบัติ เช่น เดินทางไปประชุมที่ต่างประเทศ ลาราชการ พ้นจากตำแหน่ง เป็นต้น.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและนายกรัฐมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

แอนดรูว์ แจ็กสัน

แอนดรูว์ แจ็กสัน (Andrew Jackson – 15 มีนาคม พ.ศ. 2310 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2388) มีชื่อเล่นว่า “โอลด์ฮิกกอรี่ (Old Hickory) รัฐบุรุษอเมริกันและประธานาธิบดีคนที่ 7 แห่งสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2372 – พ.ศ. 2380) เกิดที่เมืองแวกซ์ฮอว์ รัฐเซาท์แคโรไลนา จบการศึกษาด้านกฎหมายและได้รับเลือกเป็นสมาชิกรัฐสภาจากรัฐเทนเนสซี เมื่อ พ.ศ. 2339 เป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อ พ.ศ. 2340 และระหว่างปี พ.ศ. 2341 – พ.ศ. 2347 ได้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลสูง นอกจากนี้กอ่นหน้านี้ แอนดรูว์ แจ็กสันยังเคยเป็นนักค้าที่ดินและนักค้าทาสอยู่ระยะหนึ่งด้ว.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและแอนดรูว์ แจ็กสัน · ดูเพิ่มเติม »

เวนิส

วนิส (Venice) หรือ เวเน็ตเซีย (Venezia) เป็นเมืองหลักของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีประชากร 271,663 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2547) เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลเอเดรียติก (Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges) และเมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light) เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็กๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเอเดรียติก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ทะเลสาบน้ำเค็มนี้ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งระหว่างปากแม่น้ำโปกับแม่น้ำปลาวี มีผู้อยู่อาศัยโดยประมาณ 272,000 คน ซึ่งนับรวมหมดทั้งเวนิส โดยมี 62,000 คนในบริเวณเมืองเก่า 176,000 คนในแตร์ราแฟร์มา (Terraferma) และ 31,000 คนในเกาะอื่น ๆ ในทะเล.

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและเวนิส · ดูเพิ่มเติม »

เอเธนส์

อเธนส์ (Athens; Αθήνα อธีนา) เป็นเมืองหลวงของประเทศกรีซ และยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศกรีซ ใช้ชื่อตามพระเจ้าอะธีนาในปุราณวิทยา เป็นหนี่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดนกินช่วงระยะเวลามากกว่า 3,400 ปี และมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ประมาณช่วงสหัสวรรษที่ 11 และ 7 ก่อนคริสตกาล ในช่วงยุคคลาสสิกของกรีซ หรือประมาณปีที่ 508-322 ก่อนคริสต์ศักราช เอเธนส์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ และเป็นนครรัฐที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของศิลปะ การเรียนรู้ และปรัชญา เมืองเอเธนส์ยังได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางว่าเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตก และเป็นที่ที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ปัจจุบันเอเธนส์เป็นเมืองนานาชาติที่ทันสมัย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน อุตสาหกรรม การเมือง และชีวิตทางวัฒนธรรมในกรีซ และภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป เป็นที่ตั้งของท่าเรือไพรีอัส ซึ่งเป็นท่าเรือผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เอเธนส์ถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองที่รวยที่สุดอันดับที่ 39 ของโลก ในปี 2012 ประชากรในเขตเทศบาลเมือง บนขนาดพื้นที่ มีประมาณ 655,442 คน (796,442 คน ณ ปี ค.ศ. 2004) ส่วนประชากรในเขตเมือง (urban area) ทั้งหมด บนขนาดพื้นที่ มี 3,090,508 คน ตามสถิติเมื่อปี..

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เกี่ยวข้องกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communication technology; ไอซีที) เป็นศัพท์ที่มักใช้ในความหมายคล้ายกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) แต่ขยายขอบเขตเพิ่มขึ้นโดยเน้นเรื่องบทบาทของการสื่อสารแบบรวมศูนย์ (ยูซี) กับบูรณาการของสิ่งต่อไปนี้ได้แก่ โทรคมนาคม (ทั้งสายโทรศัพท์และสัญญาณไร้สาย) คอมพิวเตอร์ตลอดจนถึงซอฟต์แวร์วิสาหกิจ มิดเดิลแวร์ หน่วยเก็บข้อมูล และระบบโสตทัศน์ต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง เก็บบันทึก ส่งผ่าน และจัดดำเนินการสารสนเทศได้ นักวิจัยทางวิชาการเริ่มใช้ศัพท์ ไอซีที ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา แต่มันเป็นที่นิยมหลังจากเดนนิส สตีเฟนสันใช้ศัพท์นี้ในรายงานเพื่อแถลงต่อรัฐบาลสหราชอาณาจักร เมื่อ..

ใหม่!!: ประเภทของประชาธิปไตยและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »