โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประสบการณ์ผิดธรรมดา

ดัชนี ประสบการณ์ผิดธรรมดา

ประสบการณ์ผิดธรรมดา (anomalous experiences) หรือที่เรียก ประสาทหลอนไม่ร้าย เกิดขึ้นได้ในบุคคลที่มีสุขภาพกายและใจดี แม้ไม่มีปัจจัยภายนอกชั่วคราวอย่างอื่น ๆ เช่นความล้า การใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือภาวะขาดความรู้สึกจากประสาทสัมผัส ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกว้างขวางแล้วว่า ประสบการณ์ประสาทหลอนไม่ได้เกิดเฉพาะในคนไข้โรคจิตหรือบุคคลปกติที่มีภาวะผิดปกติเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นเองในคนปกติในอัตราส่วนที่สำคัญ ทั้ง ๆ ที่มีสุขภาพที่ดีและไม่ได้มีภาวะเครียดหรือความผิดปกติอย่างอื่น ๆ มีการเพิ่มพูนหลักฐานของประสบการณ์แบบนี้ มามากว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว การศึกษาเรื่องประสาทหลอนที่ไม่มีผลร้ายเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี..

23 ความสัมพันธ์: ชาวดัตช์การกระตุ้นที่เหมาะสมการปรับตัว (จิตวิทยา)ภาษาอังกฤษวัณโรคสภาวะตื่นตัวสมมติฐานสัจนิยมโดยตรงและสัจนิยมโดยอ้อมสามัญสำนึกสารานุกรมบริตานิกาผีอำจิตวิทยาความล้าความถี่ตัวกระตุ้นซิกมุนด์ ฟรอยด์ประสบการณ์ผิดธรรมดาประสาทสัมผัสประเทศเวลส์โรคจิตโรคจิตเภทโลกตะวันตกเดอะ บีเอ็มเจ

ชาวดัตช์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและชาวดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

การกระตุ้นที่เหมาะสม

การกระตุ้นที่เหมาะสม (adequate stimulus) เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ที่กำหนดประเภทแห่งพลังงานซึ่งตัวรับความรู้สึกเริ่มการตอบสนองด้วยการถ่ายโอนตัวกระตุ้น (transductionการถ่ายโอน ในสรีรวิทยา (Transduction (Physiology)) คือการเปลี่ยนตัวกระตุ้นแบบหนึ่งไปยังอีกแบบหนึ่ง การถ่ายโอนในระบบประสาทมักจะหมายถึงการส่งสัญญาณเพื่อแจ้งการตรวจพบตัวกระตุ้น โดยที่ตัวกระตุ้นเชิงกล ตัวกระตุ้นเชิงเคมี หรือเชิงอื่นๆ ถูกเปลี่ยนเป็นศักยะงานประสาท แล้วส่งไปทางแอกซอน ไปสู่ระบบประสาทกลางซึ่งเป็นศูนย์รวบรวมสัญญาณประสาทเพื่อประมวลผล) การกระตุ้นที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับกลไกของการถ่ายโอนตัวกระตุ้นของเซลล์ และกับประตูไอออน (ion channel) ที่เป็นส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ตัวรับความรู้สึก ตัวอย่างเช่น แสง เป็นการกระตุ้นที่เหมาะสมสำหรับเซลล์รับแสงในเรติน.

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและการกระตุ้นที่เหมาะสม · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัว (จิตวิทยา)

ติกรรมปรับตัว (Adaptive behavior) หรือ การปรับตัว เป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่งที่ใช้เปลี่ยนพฤติกรรม หรือใช้ปรับพฤติกรรมให้เข้ากับสถานการณ์ บ่อยครั้งมักจะกำหนดว่า เป็นพฤติกรรมประเภทที่ช่วยให้บุคคลเปลี่ยนพฤติกรรมก่อกวนหรือที่ไม่สร้างสรรค์ให้ดีขึ้น พฤติกรรมเชิงลบอาจจะเป็นเรื่องทางสังคมหรืออาจจะเป็นเรื่องส่วนตัว ยกตัวอย่างเช่น การกระทำที่ทำซ้ำ ๆ ซาก ๆ อาจจะปรับให้ไปเป็นการประดิษฐ์หรือสร้างอะไรอย่างอื่น โดยเปรียบเทียบกัน พฤติกรรมปรับตัวผิด (maladaptive behavior) เป็นพฤติกรรมอีกประเภทหนึ่งที่ใช้ในการลดความวิตกกังวลของตนเอง แต่เป็นพฤติกรรมที่ทำงานได้ไม่ดีและไม่ให้ผลดี ยกตัวอย่างเช่น การหลีกเลี่ยงสถานการณ์บางอย่างเพราะว่ามีความหวาดกลัวที่ไม่สมเหตุผล อาจจะช่วยลดความวิตกกังวลในส่วนเบื้องต้น แต่ว่าไม่ได้ให้ผลดีจริง ๆ ในการแก้ปัญหาในระยะยาว พฤติกรรมปรับตัวผิดมักใช้เป็นตัวชี้ความผิดปรกติทางพฤติกรรมหรือทางการทำงานของจิตใจ เพราะเป็นเรื่องที่ประเมินได้โดยปรวิสัย คือไม่ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นอัตวิสัย แต่ให้สังเกตด้วยว่า พฤติกรรมที่สมมติว่ามีศีลธรรมอาจจะพิจารณาได้ว่าเป็นการปรับตัวผิด เช่นความไม่เห็นด้วยหรือความต่อต้านความคิดทางสังคม (dissent) หรือว่า การเว้นจากการบำเรอตน (abstinence) พฤติกรรมปรับตัวเป็นตัวสะท้อนถึงทักษะทางสังคมและทักษะการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน เราจะมีรูปแบบพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามพัฒนาการ ตามสถานการณ์ในชีวิตและสถานการณ์ในสังคม ตามค่านิยมในชีวิต และตามความคิดความต้องการของผู้อื่น การประเมินพฤติกรรมปรับตัว เป็นส่วนสำคัญในการประเมินสมรรถภาพของบุคคลในการดำเนินชีวิต จะเป็นการทำอาชีพก็ดี ปฏิสัมพันธ์ในสังคมก็ดี หรือว่าในเรื่องของการศึกษาก็ดี.

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและการปรับตัว (จิตวิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

วัณโรค

วัณโรค (Tuberculosis) หรือ MTB หรือ TB (ย่อจาก tubercle bacillus) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อย และถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยในหลายกรณี ที่เกิดจากไมโคแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ ตามปกติคือ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคโดยปกติก่อให้เกิดอาการป่วยที่ปอด แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของร่างกายได้ วัณโรคแพร่ผ่านอากาศเมื่อผู้ที่มีการติดเชื้อ MTB มีฤทธิ์ไอ จาม หรือส่งผ่านน้ำลายผ่านอากาศ การติดเชื้อในมนุษย์ส่วนมากส่งผลให้เกิดไร้อาการโรค การติดเชื้อแฝง และราวหนึ่งในสิบของการติดเชื้อแฝงท้ายที่สุดพัฒนาไปเป็นโรคมีฤทธิ์ ซึ่ง หากไม่ได้รับการรักษา ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากกว่า 50% อาการตรงต้นแบบมีไอเรื้อรังร่วมกับเสมหะมีเลือดปน ไข้ เหงื่อออกกลางคืน และน้ำหนักลด การติดเชื้อในอวัยวะอื่นก่อให้เกิดอาการอีกมากมาย การวินิจฉัยต้องอาศัยรังสีวิทยา (โดยมากคือ การเอ็กซ์เรย์อก) การทดสอบโรคบนผิวหนัง การตรวจเลือด เช่นเดียวกับการตรวจโดยทางกล้องจุลทรรศน์และการเพาะเชื้อจุลชีววิทยาต่อของเหลวในร่างกาย การรักษานั้นยากและต้องอาศัยการปฏิชีวนะยาวหลายคอร์ส คาดกันว่าหนึ่งในสามของประชากรโลกติดเชื้อ M. tuberculosis และมีการติดเชื้อใหม่เกิดขึ้นในอัตราหนึ่งคนต่อวินาที ใน..

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและวัณโรค · ดูเพิ่มเติม »

สภาวะตื่นตัว

ใน สรีรวิทยาและจิตวิทยา สภาวะตื่นตัว หรือ ความตื่นตัว (arousal) เป็นสภาวะของการตื่นตัวหรือการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น จะมีความตื่นตัวได้ก็ต่อเมื่อมีการทำงานในระบบ reticular activating system (ตัวย่อ RAS)ในก้านสมอง ในระบบระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system) และในระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มระดับการเต้นของหัวใจและความดันเลือด และสภาวะความตื่นตัวทางความรู้สึก ทางการเคลื่อนไหว และทางความพร้อมเพรียงในการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น มีระบบประสาทหลายระบบที่เกี่ยวข้องกัน ที่เรียกรวมๆ กันว่า ระบบความตื่นตัวนี้ ระบบสำคัญ 4 ระบบในก้านสมอง ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับเปลือกสมองทั้งหมด มีหน้าที่การงานเกี่ยวกับสารสื่อประสาทรวมทั้งอะเซทิลโคลิน (acetylcholine) นอเรพิเนฟรีน (norepinephrine) โดพามีน (dopamine) และเซโรโทนิน (serotonin) เมื่อระบบสำคัญเหล่านี้ทำงานอยู่ เขตประสาทส่วนต่างๆ ที่รับสารสื่อประสาทเหล่านั้น ก็จะเริ่มมีความไวและมีการตอบสนองต่อสัญญาณที่เข้ามาในเขตประสาท.

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและสภาวะตื่นตัว · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐาน

มมติฐาน (หรือสะกดว่า สมมุติฐาน) หรือ ข้อสันนิษฐาน คือการอธิบายความคาดหมายล่วงหน้าสำหรับปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ มักใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย ในทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะตั้งสมมติฐานจากสิ่งที่สังเกตการณ์ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในความหมายอื่น สมมติฐานอาจเป็นบรรพบทหรือญัตติที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการสรุปคำตอบของปัญหาประเภท ถ้าเป็นเช่นนี้ แล้วจะเป็นเช่นไร😔.

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและสมมติฐาน · ดูเพิ่มเติม »

สัจนิยมโดยตรงและสัจนิยมโดยอ้อม

หลักสัจนิยมโดยตรงเสนอว่า เรารับรู้โลกโดยตรง คำถามว่า ระหว่าง สัจนิยมโดยตรง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ realism ว่า "สัจนิยม" และของ Naive realism ว่า "สัจนิยมสามัญ" (Direct realism หรือ naive realism) หรือว่า สัจนิยมโดยอ้อม (Indirect realism หรือ representational realism) ความคิดหรือหลักปรัชญาประเภทไหนตรงกับความเป็นจริงในโลก เป็นคำถามที่เกิดขึ้นในปรัชญาสัญชาน (philosophy of perception) หรือจิตปรัชญา (philosophy of mind) จากข้อโต้แย้งกันในเรื่องธรรมชาติของประสบการณ์ความรู้สึก (conscious experience) Lehar, Steve.

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและสัจนิยมโดยตรงและสัจนิยมโดยอ้อม · ดูเพิ่มเติม »

สามัญสำนึก

มัญสำนึก (common sense) คือความสำนึกหรือความเฉลียวใจที่คนปกติธรรมดาทั่วไปควรจะต้องรู้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำสั่งสอน สามัญสำนึกพัฒนาจากความรู้ที่ได้จากการผ่านประสบการณ์ การลองผิดลองถูก หรือบรรดาความรู้ที่ได้รับจากจารีตประเพณี หลายคนใช้วลีนี้เพื่ออธิบายสิ่งที่อ้างถึงความเชื่อและญัตติที่คนส่วนใหญ่วินิจฉัยและประเมินอย่างรอบคอบ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ที่ซับซ้อน การเรียน หรือการวิจัยเพิ่มเติม แต่มีพื้นฐานอยู่บนความรู้ที่คนธรรมดาทั่วไปเข้าใจ สามัญสำนึกมีความเท่าเทียมกับความรู้หรือประสบการณ์ที่อนุมานขึ้นให้กับคนส่วนใหญ่ หรือเชื่อว่าบุคคลใดก็ตามจะเป็นอย่างนั้น จะทำอย่างนั้น จะเชื่ออย่างนั้น.

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและสามัญสำนึก · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

ผีอำ

นรี ฟูเซลลี (1781) ผีอำ (Sleep paralysis) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "อาการที่ปรากฏเมื่อเวลานอนเคลิ้มไปว่ามีคนปลุกปล้ำหรือยึดคร่าให้มีอาการเหนื่อยหอบจนตื่นขึ้น." เกิดจากขณะที่กำลังจะหลับ มักจะเกิดจากภาวะง่วงเกิน อาการผีอำที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังจะตื่น อาจจะเกิดจากโรคลมหลับ หรืออาจจะเกิดในคนที่อดนอนหรือนอนไม่พอมาหลายวัน หรือเข้านอนผิดเวลาได้ ผีอำเป็นความเชื่อในหลายวัฒนธรรม เช่น ภูมิภาคโทโฮะกุของญี่ปุ่น มีเรื่องเล่าถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่เมื่อนอนหลับไปแล้วถูกผีกดทับหรือจับที่ปลายขา บนเกาะนิวฟันด์แลนด์ของแคนาดา มีเรื่องเล่าว่า ผู้ที่ถูกผีอำ เพราะมีแม่มดมากดทับลำตัว รวมทั้งไทยที่เชื่อมาแต่โบราณว่า เมื่อเคลิ้มจะหลับไป จะมีความรู้สึกอึดอัดเหมือนมีใครมากดทับที่ร่างกาย ไม่สามารถขยับตัวหรือส่งเสียงใด ๆ ได้ เชื่อว่าเป็นการกระทำที่เกิดจากผี อาการผีอำมักเกิดทันทีเมื่อหมดช่วงการหลับแบบตากระตุก จะเป็นอยู่ไม่กี่นาที แล้วค่อย ๆ หายหรือหายทันที เมื่อถูกเรียก ถูกสัมผัส ถูกปลุก โดยใครก็ได้ ผู้ที่เป็นผีอำจะรู้สึกว่าตนนั้นตื่นอยู่ แต่ขยับเขยื้อนไม่ได้ ทั้งที่ตนได้พยายามขยับเขยื้อนแล้ว พยายามตะโกนเรียกให้คนช่วยแล้ว แต่ไม่มีคนได้ยิน เพราะไม่มีเสียงออกมา และเมื่อตื่นขึ้นจะจำเหตุการณ์และเล่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว เมื่อนอนด้วยความเหนื่อยล้า ก็เกิดการประสานกันระหว่างสารเคมีกับสภาพชีวเคมีของร่างกาย เกิดอาการกดหรือค้างทำให้ขยับเขยื้อนร่างกายไม่ไหว เนื่องจากขณะที่ตื่นอยู่ สมองทำงานอยู่ แต่ร่างกายขยับเขยื้อนไม่ไหว เหมือนมีใครมาคุมร่างกายอยู่ ผู้ที่เกิดอาการนี้จึงเชื่อมโยงว่ามีผีมาจับตัว ซึ่งที่แท้คือความไม่สัมพันธ์กันระหว่างสมองกับร่างกาย ซึ่งเป็นอาการชั่วครู่เท่านั้น ผู้ที่ถูกผีอำส่วนใหญ่จะนอนอยู่บนเตียง มีเป็นส่วนน้อยที่จะโดนอำในท่านั่งหลับบนเก้าอี้ หรือท่าที่ไม่สบายนัก และมักจะเกิดกับคนที่นอนหงายมากที่สุด ระยะเวลานานตั้งแต่ 2-3 วินาที จนถึง 10 นาที โดยจะหายไปเอง หรือไม่ก็ผู้ที่ถูกผีอำพยายามเอาชนะอาการเอง หรือมีคนมาช่วยสะกิดปลุกให้ตื่นขึ้น โดยมีอาการหลอนทางประสาทสัมผัสเกิดร่วม ได้แก่ หลอนว่าตัวลอยหรือบินได้ หรือเหมือนกำลังออกจากร่าง หมุนเคว้ง หลอนทางสัมผัสกาย เช่น มีใครมากดทับหน้าอก หรือ มีใครมาสัมผัสตัว หรือ ดึงตัวเอาไว้กับเตียง บางทีก็รู้สึกว่าผ้าคลุมเตียงเคลื่อนไหว บางคนก็โดนเขย่าตัว หรือ มีความเจ็บปวดเกิดขึ้น หลอนทางการได้ยิน เช่น ได้ยินเสียงย่างเท้า เสียงเคาะประตู เสียงหายใจ เสียงคุย เสียงกระซิบ เสียงฮัม เสียงหึหึ หลอนทางการมองเห็น เช่น เห็นหมอกควัน หรือ ความมืดคลึ้ม เห็นเป็นร่างคน สัตว์ หรืออสุรกาย บางทีก็มีการโต้ตอบทั้งทางกายหรือวาจากับสิ่งที่เห็นนั้น อย่างเป็นเรื่องเป็นราว หลอนทางการได้กลิ่น เช่น ได้กลิ่นเครื่องหอม กลิ่นเหม็นสาบ เป็นต้น วิธีการแก้อาการผีอำ คือ การทำจิตใจให้สบาย ผ่อนคลายก่อนนอน หรืออาจใช้ยาประเภทคลายเครียดเข้าช่วย และเมื่อเกิดอาการผีอำแล้วให้นอนเฉย ๆ สักพัก อาการจะหายไปเอง.

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและผีอำ · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยา

ตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม.

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ความล้า

วามล้า หรือ ความอ่อนล้า เป็นความรู้สึกเหนื่อยเชิงจิตวิสัย ซึ่งแตกต่างจากความอ่อนแอ (weakness) และมีการตั้งต้นทีละน้อย ความล้าสามารถบรรเทาได้โดยได้รับการพักผ่อนชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งต่างจากความอ่อนแอ ความล้าอาจมีสาเหตุทางร่างกายหรือจิตใจก็ได้ ความล้าทางกายภาพเป็นสภาพที่กล้ามเนื้อไม่สามารถธำรงสมรรถภาพทางกายภาพเหมาะสมได้ชั่วคราว และกิจกรรมทางกายอย่างหักโหมยิ่งทำให้ความล้ารุนแรงขึ้น ความล้าทางจิตใจเป็นการลดสมรรถภาพการรู้สูงสุดไปชั่วคราว อันเป็นผลมาจากกิจกรรมการคิดยาวนาน ความล้าสามารถแสดงออกมาเป็นอาการง่วงซึม ภาวะง่วงงุน หรือความล้ามุ่งประเด็นตั้งใ.

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและความล้า · ดูเพิ่มเติม »

ความถี่

วามถี่ (frequency) คือจำนวนการเกิดเหตุการณ์ซ้ำในหนึ่งหน่วยของเวลา ความถี่อาจเรียกว่า ความถี่เชิงเวลา (temporal frequency) หมายถึงแสดงให้เห็นว่าต่างจากความถี่เชิงพื้นที่ (spatial) และความถี่เชิงมุม (angular) คาบคือระยะเวลาของหนึ่งวงจรในเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำ ดังนั้นคาบจึงเป็นส่วนกลับของความถี่ ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวใจของทารกเกิดใหม่เต้นที่ความถี่ 120 ครั้งต่อนาที คาบ (ช่วงเวลาระหว่างจังหวะหัวใจ) คือครึ่งวินาที (นั่นคือ 60 วินาทีหารจาก 120 จังหวะ) ความถี่เป็นตัวแปรสำคัญในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม สำหรับระบุอัตราของปรากฏการณ์การแกว่งและการสั่น เช่น การสั่นของเครื่องจักร โสตสัญญาณ (เสียง) คลื่นวิทยุ และแสง.

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและความถี่ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและตัวกระตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ซิกมุนด์ ฟรอยด์

ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, IPA:; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 — 23 กันยายน ค.ศ. 1939) เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ บิดามารดาของฟรอยด์ยากจน แต่ได้ส่งเสียให้ฟรอยด์ได้รับการศึกษา เขาสนใจกฎหมายเมื่อครั้งเป็นนักเรียน แต่เปลี่ยนไปศึกษาแพทยศาสตร์แทน โดยรับผิดชอบการวิจัยโรคสมองพิการ ภาวะเสียการสื่อความ และจุลประสาทกายวิภาคศาสตร์ เขาเดินหน้าเพื่อพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกและกลไกของการกดเก็บ และตั้งสาขาจิตบำบัดด้วยวาจา โดยตั้งจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษาจิตพยาธิวิทยาผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์Ford & Urban 1965, p. 109 แม้จิตวิเคราะห์จะใช้เป็นการปฏิบัติเพื่อการรักษาลดลง แต่ก็ได้บันดาลใจแก่การพัฒนาจิตบำบัดอื่นอีกหลายรูปแบบ ซึ่งบางรูปแบบแตกออกจากแนวคิดและวิธีการดั้งเดิมของฟรอยด์ ฟรอยด์ตั้งสมมุติฐานการมีอยู่ของ libido (พลังงานซึ่งให้กับกระบวนการและโครงสร้างทางจิต) พัฒนาเทคนิคเพื่อการรักษา เช่น การใช้ความสัมพันธ์เสรี (ซึ่งผู้เข้ารับการรักษารายงานความคิดของตนโดยไม่มีการสงวน และต้องไม่พยายามเพ่งความสนใจขณะทำเช่นนั้น) ค้นพบการถ่ายโยงความรู้สึก (กระบวนการที่ผู้รับการรักษาย้ายที่ความรู้สึกของตนจากประสบการณ์ภาพในอดีตของชีวิตไปยังนักจิตวิเคราะห์) และตั้งบทบาทศูนย์กลางของมันในกระบวนการวิเคราะห์ และเสนอว่า ฝันช่วยรักษาการหลับ โดยเป็นเครื่องหมายของความปรารถนาที่สมหวัง ที่หาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน เขายังเป็นนักเขียนบทความที่มีผลงานมากมาย โดยใช้จิตวิเคราะห์ตีความและวิจารณ์วัฒนธรรม จิตวิเคราะห์ยังทรงอิทธิพลอยู่ในทางจิตเวชศาสตร์ และต่อมนุษยศาสตร์โดยรวม แม้ผู้วิจารณ์บางคนจะมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลกและกีดกันทางเพศ การศึกษาเมื่อ..

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและซิกมุนด์ ฟรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประสบการณ์ผิดธรรมดา

ประสบการณ์ผิดธรรมดา (anomalous experiences) หรือที่เรียก ประสาทหลอนไม่ร้าย เกิดขึ้นได้ในบุคคลที่มีสุขภาพกายและใจดี แม้ไม่มีปัจจัยภายนอกชั่วคราวอย่างอื่น ๆ เช่นความล้า การใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือภาวะขาดความรู้สึกจากประสาทสัมผัส ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกว้างขวางแล้วว่า ประสบการณ์ประสาทหลอนไม่ได้เกิดเฉพาะในคนไข้โรคจิตหรือบุคคลปกติที่มีภาวะผิดปกติเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นเองในคนปกติในอัตราส่วนที่สำคัญ ทั้ง ๆ ที่มีสุขภาพที่ดีและไม่ได้มีภาวะเครียดหรือความผิดปกติอย่างอื่น ๆ มีการเพิ่มพูนหลักฐานของประสบการณ์แบบนี้ มามากว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว การศึกษาเรื่องประสาทหลอนที่ไม่มีผลร้ายเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและประสบการณ์ผิดธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสัมผัส

ประสาทสัมผัส (Sense)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" ให้ความหมายของ sense ว่า ความรู้สึก, การรับรู้, การกำหนดรู้, ประสาทสัมผัส เป็นสมรรถภาพในสรีระของสิ่งมีชีวิตที่ให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ (perception) มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการทำงาน การจำแนกประเภท และทฤษฎีของประสาทสัมผัส ในวิชาหลายสาขา โดยเฉพาะในวิทยาศาสตร์ประสาท จิตวิทยาปริชาน (หรือประชานศาสตร์) และปรัชญาแห่งการรับรู้ (philosophy of perception) ระบบประสาทของสัตว์นั้นมีระบบรับความรู้สึกหรืออวัยวะรับความรู้สึก สำหรับความรู้สึกแต่ละอย่าง มนุษย์เองก็มีประสาทสัมผัสหลายอย่าง การเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น การถูกต้องสัมผัส เป็นประสาทสัมผัสห้าทางที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ แต่ว่า ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีอยู่ รวมทั้ง อุณหภูมิ ความรู้สึกเกี่ยวกับเคลื่อนไหว (proprioception) ความเจ็บปวด (nociception) ความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวกระตุ้นภายในต่าง ๆ (เช่นมีเซลล์รับความรู้สึกเชิงเคมี คือ chemoreceptor ที่ตรวจจับระดับความเข้มข้นของเกลือและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในเลือด) และความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเรียกว่าเป็นประสาทสัมผัสโดยต่างหากได้เพียงไม่กี่อย่าง เพราะว่า ประเด็นว่า อะไรเรียกว่า ประสาทสัมผัส (sense) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทำให้ยากที่จะนิยามความหมายของคำว่า ประสาทสัมผัส อย่างแม่นยำ สัตว์ต่าง ๆ มีตัวรับความรู้สึกเพื่อที่จะสัมผัสโลกรอบ ๆ ตัว มีระดับความสามารถที่ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สปีชีส์ เมื่อเทียบกันแล้ว มนุษย์มีประสาทสัมผัสทางจมูกที่ไม่ดี และสัตว์เหล่าอื่นก็อาจจะไม่มีประสาทสัมผัส 5 ทางที่กล่าวถึงไปแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์บางอย่างอาจจะรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นและแปลผลข้อมูลเหล่านั้นต่างไปจากมนุษย์ และสัตว์บางชนิดก็สามารถสัมผัสโลกโดยวิธีที่มนุษย์ไม่สามารถ เช่นมีสัตว์บางชนิดสามารถสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สามารถสัมผัสแรงดันน้ำและกระแสน้ำ.

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและประสาทสัมผัส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวลส์

วลส์ (Wales; Cymru, ออกเสียง คัมรึ) เป็น 1 ใน 4 ประเทศที่ประกอบเป็นสหราชอาณาจักร (ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) เวลส์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ โดยทิศตะวันออกติดกับประเทศอังกฤษ ทิศใต้ติดกับช่องแคบบริสตอล (Bristol Channel) ทิศตะวันตกติดกับช่องแคบจอร์เจส (George's Channel) และทางเหนือติดกับทะเลไอริช คำว่า ราชรัฐเวลส์ ยังคงเป็นที่นิยมใช้ ถึงแม้ว่าเจ้าชายแห่งเวลส์จะไม่มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษทรงเข้ายึดครอง ต่อมาเมืองหลวงของเวลส์ถูกย้ายจากคายร์นาร์วอน (ซึ่งเป็นเมืองของเจ้าชายเวลส์) มาที่คาร์ดิฟฟ์ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955).

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและประเทศเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคจิต

รคจิต หรือ วิกลจริต (psychosis) คือ โรคกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ในกลุ่มโรคทางจิตเวชทั้งหมด ที่มีหลายโรค (โรคทางจิตเวช ได้แก่ โรคจิต โรคอารมณ์แปรปรวน โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียดที่เกิดจากสถานการณ์ร้ายแรงในชีวิต โรคปรับตัวผิดปกติ บุคลิกภาพบกพร่อง ฯลฯ).

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและโรคจิต · ดูเพิ่มเติม »

โรคจิตเภท

รคจิตเภท เป็นความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่งซึ่งทำให้มีการแตกแยกของกระบวนการคิดและการตอบสนองทางอารมณ์ ส่วนใหญ่แสดงอาการเป็นหูแว่ว หวาดระแวง หลงผิดแบบแปลกประหลาด หรือมีการพูดและการคิดที่เสียโครงสร้าง และมักนำไปสู่การสูญเสียความสามารถในการเข้าสังคมหรือการประกอบอาชีพ มักเริ่มแสดงอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยมีความชุกตลอดชีวิตอยู่ที่ประมาณ 0.3-0.7% การวินิจฉัยทำโดยการสังเกตพฤติกรรมและรายงานประสบการณ์ที่ได้จากตัวผู้ป่วยเอง เชื่อกันว่าปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมในวัยเด็ก ประสาทชีววิทยา ปัจจัยทางจิตใจ และกระบวนการทางสังคม เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิดโรค ยาเสพติดและยาบางชนิดอาจเป็นสาเหตุหรือทำให้อาการแย่ลงได้ งานวิจัยในปัจจุบันเน้นไปทางบทบาทของประสาทชีววิทยา แม้จะยังไม่สามารถหาสาเหตุทางกายที่เป็นสาเหตุเดี่ยวๆ ของโรคได้ก็ตาม เนื่องจากโรคนี้มีการแสดงออกของอาการได้หลายรูปแบบ จึงยังเป็นที่ถกเถียงว่าคำวินิจฉัยโรคจิตเภทนี้เป็นโรคเพียงโรคเดียวหรือเป็นกลุ่มของโรคหลายๆ โรค ถึงแม้คำภาษาอังกฤษของ schizophrenia จะมาจากภาษากรีกที่แปลว่าการแบ่งแยกของจิตใจ แต่โรคนี้ไม่ใช่โรคที่ทำให้มีหลายบุคลิกอย่างที่สังคมบางส่วนเข้าใจ แนวทางการรักษาในปัจจุบันคือการใช้ยาต้านโรคจิต ส่วนใหญ่ทำงานโดยยับยั้งผลของโดปามีน การใช้จิตบำบัดและการบำบัดการเข้าสังคมก็มีส่วนสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเภท ในกรณีป่วยรุนแรงจนมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นอาจจำเป็นต้องได้รับการกักตัวไว้ในโรงพยาบาล อย่างไรก็ดีการนอนโรงพยาบาลในปัจจุบันใช้เวลาสั้นกว่าในสมัยก่อนมาก เชื่อว่าโรคนี้มีผลต่อการรู้เป็นสำคัญ แต่หลายครั้งก็ทำให้เกิดปัญญาทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์อย่างเรื้อรังได้ ผู้ป่วยจิตเภทมักมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่นโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล มีอัตราการใช้สารเสพติดรวมตลอดชีวิตถึง 50% ของผู้ป่วย ปัญหาทางสังคม เช่นการว่างงาน ความยากจน และไม่มีที่อยู่อาศัยนั้นพบได้บ่อย อายุขัยโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยน้อยกว่าคนทั่วไปอยู่ 12-15 ปี ซึ่งเป็นผลจากปัญหาสุขภาพและอัตราการฆ่าตัวตายที่มากขึ้น (ประมาณ 5%).

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและโรคจิตเภท · ดูเพิ่มเติม »

โลกตะวันตก

ลกตะวันตก (Western world และอาจเรียก The West หรือ Occident) เป็นคำซึ่งใช้กล่าวถึงประเทศได้หลายประเทศ โดยประเทศที่หมายถึงอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของการใช้คำศัพท์ นอกจากนี้เป็นคำซึ่งมีคำจำกัดความอยู่มากมาย, Our Tradition; James Kurth; accessed 30 August 2011 แนวคิดส่วนของโลกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกมีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีกโรมันในยุโรปและการกำเนิดของศาสนาคริสต์Cambridge University Historical Series, An Essay on Western Civilization in Its Economic Aspects, p.40: Hebraism, like Hellenism, has been an all-important factor in the development of Western Civilization; Judaism, as the precursor of Christianity, has indirectly had had much to do with shaping the ideals and morality of western nations since the christian era.

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและโลกตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ บีเอ็มเจ

The BMJ เป็นวารสารการแพทย์รายสัปดาห์ที่มีการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน โดยเป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปที่เก่าที่สุดวารสารหนึ่งในโลก โดยดั้งเดิมเรียกว่า British Medical Journal ซึ่งย่อลงเหลือ BMJ ในปี 2531 และเปลี่ยนเป็น The BMJ ในปี 2557 เป็นวารสารที่ตีพิมพ์โดย BMJ Group ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของสมาคมการแพทย์อังกฤษ (British Medical Association) หัวหน้าบรรณาธิการคนปัจจุบันคือ พญ.

ใหม่!!: ประสบการณ์ผิดธรรมดาและเดอะ บีเอ็มเจ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Anomalous experienceAnomalous experiencesApparitional experienceFalse awakeningHallucinationLucid dreamOut-of-body experiencesการถอดกายการตื่นนอนเทียมการปรากฏของบุคคลหรือสิ่งของความฝันรู้ตัวความฝันชัดเจนประสาทหลอนประสบการณ์ออกนอกร่าง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »