โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประตูชัยแห่งออร็องฌ์

ดัชนี ประตูชัยแห่งออร็องฌ์

ประตูชัยแห่งออร็องฌ์ (Triumphal Arch of Orange, Arc de triomphe d'Orange) เป็นประตูชัยที่ตั้งอยู่ที่เมืองออร็องฌ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส เวลาที่สร้างประตูชัยยังเป็นที่ถกเถึยงกันอยู่ แต่จากการค้นคว้าศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ยอมรับคำจารึกเป็นหลักฐานว่าสร้างในสมัยออกัสตัส บนถนนอากริปปาเดิมเพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารผ่านศึกของสงครามกอลและกองกำลังเลกีโอที่ 2 เอากุสตา ต่อมาก็ได้รับการสร้างใหม่โดยจักรพรรดิไทบีเรียสเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะของเจอร์มานิคัสที่มีต่อชนเผ่าต่าง ๆ ในบริเวณไรน์แลนด์ ประตูชัยมีคำจารึกอุทิศแก่จักรพรรดิไทบีเรียสในปี..

11 ความสัมพันธ์: กอลมรดกโลกสมัยกลางออร็องฌ์ (จังหวัดโวกลูซ)องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติจักรพรรดิติแบริอุสจักรพรรดิเอากุสตุสประเทศฝรั่งเศสแกลเลียนาร์โบเนนซิสไรน์ลันท์เสาแบบคอรินเทียน

กอล

แผนที่ของ กอล ราว 100 ปีก่อนคริสตกาล แสดงให้เห็นตำแหน่งสัมพันธ์กับเผ่าเคลติก กอล (Gaul) เป็นชื่อเก่าแก่ในประวัติศาสตร์ ใช้ในยุคโรมันเพื่อเรียกขานดินแดนทางยุโรปตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเทียบได้ประมาณบริเวณประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม และอาจรวมไปถึงหุบเขาโพ ในสวิตเซอร์แลนด์ตะวันตก บางส่วนของเนเธอร์แลนด์และเยอรมนีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ ในภาษาอังกฤษ คำว่า กอล อาจหมายถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้น (ภาษาฝรั่งเศสเรียก Gaulois) พลเมืองในอดีตสามารถพูดภาษากอล (Gaulish) ได้อย่างกว้างขวาง (เป็นภาษาที่พัฒนามาจากเคลติกยุคต้น) โดยแพร่หลายในดินแดนบริเตน ไอบีเรีย ไอร์แลนด์ ไปจนกระทั่งถึงอนาโทเลียกลางในยุคโรมัน คำในภาษาละตินของ กอล ยังคงมีใช้อยู่ในคำภาษากรีกยุคใหม่สำหรับใช้เรียกประเทศฝรั่งเศส คือ กัลเลีย (Gallia) กอลภายใต้การนำของ Brennus บุกยึดโรมันได้ในราวทศวรรษ 390 ก่อนคริสตกาล ในแดนอีเจี้ยน มีการอพยพครั้งใหญ่ของชาวกอลตะวันออก จากดินแดนเทรซ ทางตอนเหนือของกรีซ ในราวปี 281 ก่อนคริสตกาล ผู้นำของชาวกอลอีกคนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า Brennus เหมือนกัน เป็นผู้นำของกองทัพขนาดใหญ่ ได้หวนกลับจากการทำลายล้างวิหารอพอลโลในเมืองเดลฟีในกรีซในวินาทีสุดท้าย เล่ากันว่าเขาได้รับเตือนโดยเสียงฟ้าร้องและสายฟ้า ในเวลาเดียวกับที่ชาวเคลต์กำลังอพยพ นักรบกว่า 10,000 นาย พร้อมด้วยบรรดาผู้หญิง เด็ก และทาส ได้เดินทางผ่านดินแดนเทรซพอดี ชาวกอลสามกลุ่มใหญ่ได้เดินทางข้ามดินแดนเทรซไปยังเอเชียไมเนอร์ตามคำเชิญของ Nicomedes ที่ 1 กษัตริย์แห่ง Bithynia พระองค์ได้ส่งคำร้องขอความช่วยเหลือเพื่อสู้กับน้องชายของพระองค์เอง ในเวลาต่อมาชาวกอลก็ตั้งถิ่นฐานลงทางตะวันออกของ Phrygia และ Cappadocia ในแคว้นอนาโทเลียกลาง ดินแดนซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ กาลาเทีย (Galatia).

ใหม่!!: ประตูชัยแห่งออร็องฌ์และกอล · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: ประตูชัยแห่งออร็องฌ์และมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ประตูชัยแห่งออร็องฌ์และสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ออร็องฌ์ (จังหวัดโวกลูซ)

ออร็องฌ์ (Orange) เป็นเมืองที่อยู่ในจังหวัดโวกลูซในแคว้นพรอว็องซาลป์โกตดาซูร์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส ออร็องฌ์ที่อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจทางการเกษตร และเป็นที่ตั้งของประตูชัยแห่งออร็องฌ์ โรงละครโรมันและบริเวณแวดล้อมและประตูชัยแห่งออร็องฌ์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี..

ใหม่!!: ประตูชัยแห่งออร็องฌ์และออร็องฌ์ (จังหวัดโวกลูซ) · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ประตูชัยแห่งออร็องฌ์และองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิติแบริอุส

ติแบริอุส ไกซาร์ ดีวี เอากุสตี ฟีลิอุส เอากุสตุส (TIBERIVS CAESAR DIVI AVGVSTI FILIVS AVGVSTVS) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันพระองค์ที่สองต่อจากจักรพรรดิเอากุสตุส ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 14 ถึง ค.ศ. 37 ติแบริอุสมีชื่อเกิดว่า ติแบริอุส เกลาดิอุส แนโร (TIBERIVS CLAVDIVS NERO) เขามาจากตระกูลเกลาดิอุส เป็นบุตรชายของติแบริอุส เกลาดิอุส แนโร กับลีวิอา ดรูซิลลา ลีวิอาหย่ากับติแบริอุส แนโร แล้วมาแต่งงานกับอ็อกตาวิอานุส (ภายหลังเป็นจักรพรรดิเอากุสตุส) เมื่อ 39 ปีก่อนคริสต์ศักราช ติแบริอุสจึงกลายเป็นลูกเลี้ยงของอ็อกตาวิอานุส ต่อมาติแบริอุสแต่งงานกับยูลิอา ลูกสาวของเอากุสตุส จากนั้นเอากุสตุสได้รับเขาเป็นบุตรบุญธรรมด้วย ทำให้เขากลายเป็นสมาชิกตระกูลยูลิอุสอย่างเป็นทางการและได้นามใหม่ว่า ติแบริอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (TIBERIVS IVLIVS CAESAR) นักประวัติศาสตร์เรียกตระกูลผสมนี้ว่าราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอุส จักรพรรดิโรมันต่อมาอีกสามสิบปีจะมาจากราชวงศ์นี้ ติแบริอุสเป็นนักการทหารผู้มีความสามารถมากที่สุดคนหนึ่งของสมัยโรมันโบราณ พระองค์ได้ทำการรณรงค์ในพันโนเนีย, แดลเมเชีย, ไรติอา และบางส่วนของแกร์มานิอา ซึ่งเป็นการวางรากฐานของพรมแดนทางด้านเหนือของจักรวรรดิ แต่ติแบริอุสมาเป็นที่รู้จักกันในฐานะจักรพรรดิผู้มีอารมณ์หม่นหมอง ไม่ชอบสุงสิงกับผู้ใด และไม่มีความต้องการเป็นจักรพรรดิ พลินีผู้อาวุโสขนานพระนามพระองค์ว่า "ผู้ที่เศร้าหมองที่สุดในหมู่มนุษย์" (TRISTISSIMVS HOMINVM) หลังจากการเสียชีวิตของดรูซุส ยูลิอุส ไกซาร์ (DRVSVS IVLIVS CAESAR) บุตรชายในปี..

ใหม่!!: ประตูชัยแห่งออร็องฌ์และจักรพรรดิติแบริอุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเอากุสตุส

อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส เอากุสตุส (IMPERATOR CAESAR DIVI FILIVS AVGVSTVS; 23 กันยายน 63 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 19 สิงหาคม ค.ศ. 14) เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ทรงปกครองจักรวรรดิแต่เพียงผู้เดียวนับตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งสวรรคตใน..

ใหม่!!: ประตูชัยแห่งออร็องฌ์และจักรพรรดิเอากุสตุส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: ประตูชัยแห่งออร็องฌ์และประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

แกลเลียนาร์โบเนนซิส

แกลเลียนาร์โบเนนซิส (สีเหลือง) แกลเลียนาร์โบเนนซิส หรือ กัลเลียนาร์โบเนนซิส (อังกฤษ, Gallia Narbonensis) เป็นมณฑลหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นภูมิภาคล็องก์ด็อกและพรอว็องส์ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "แกลเลียทรานแซลไพนา" ซึ่งเดิมเป็นชื่อเรียกบริเวณกอล ที่อยู่บริเวณเทือกเขาแอลป์จากอิตาเลีย แกลเลียนาร์โบเนนซิสมีฐานะเป็นจังหวัดโรมันเมื่อปลายศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช และเป็นดินแดนสำคัญนอกคาบสมุทรอิตาลีดินแดนแรกของจักรวรรดิ ทางตอนใต้ของจังหวัดจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทางตอนเหนือและทางตะวันตกจรดทิวเขาเซแวนและเทือกเขาแอลป์ ต่อมาแกลเลียทรานแซลไพนาเปลี่ยนชื่อเป็น "แกลเลียนาร์โบเนนซิส" ตามชื่อของนาร์โบมาร์ตีอุส (นาร์บอน) เมืองหลวงที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 118 ก่อนคริสต์ศักราช โรมันเรียกจังหวัดนี้ว่า "โปรวินเกียนอสตรา" (จังหวัดของเรา) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "โปรวินเกีย" ต่อมาแผลงมาเป็นชื่อภูมิภาคหนึ่งของฝรั่งเศสคือ "พรอว็องส์".

ใหม่!!: ประตูชัยแห่งออร็องฌ์และแกลเลียนาร์โบเนนซิส · ดูเพิ่มเติม »

ไรน์ลันท์

รน์ลันท์ (Rheinland) เป็นชื่อทั่วไปที่ใช้เรียกดินแดนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไรน์ ในเยอรมนีตะวันตก หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิฝรั่งเศสในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไรน์ลันท์เป็นแคว้นที่มีประชากรพูดภาษาเยอรมันเป็นส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนล่างของแม่น้ำไรน์ ซึ่งเคยถึงผนวกเข้ากับอาณาจักรปรัสเซีย กษัตริย์แห่งปรัสเซียได้เปลี่ยนชื่อแคว้นใหม่ว่า มณฑลไรน์ (หรือ Rhenish Prussia) หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ภาคตะวันตกของไรน์ลันท์ถูกยึดครองโดยกองทัพฝ่ายไตรภาคี ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาแวร์ซาย เยอรมนีได้รับไรน์ลันท์คืนเมื่อปี 1936.

ใหม่!!: ประตูชัยแห่งออร็องฌ์และไรน์ลันท์ · ดูเพิ่มเติม »

เสาแบบคอรินเทียน

หัวเสาแบบคอรินเทียน เสาแบบคอรินเทียน (ลักษณะหัวเสามีการตกแต่งโดยแกะเป็นรูปดอกไม้ ใบไม้ โดยดัดแปลงมาจากใบอาคันธัส (Acanthus) รูปร่างคล้ายผักกาด ทำเป็นใบซ้อนกันสองชั้น แล้วแต่งด้วยดอกไม้ ส่วนล่างของเสามีฐานรองรับแบบเดียวกับเสาแบบไอโอนิค เป็นเสาโรมันที่มีความงดงามมาก สเสาบแบบคอรินเทียน หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม.

ใหม่!!: ประตูชัยแห่งออร็องฌ์และเสาแบบคอรินเทียน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Triumphal Arch of Orangeประตูชัยแห่งโอรองช์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »