โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาเขือ

ดัชนี ปลาเขือ

ปลาเขือ หรือ ปลาบู่เขือ (Worm goby, Eel goby) เป็นปลากระดูกแข็งสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Taenioides (มาจากภาษาละตินคำว่า "taenia" หมายถึง "ริ้ว" หรือ "ลาย" และภาษากรีก (οιδες) "oides" หมายถึง "คล้ายกับ") มีรูปร่างทั่วไป ลำตัวยาวเรียวยาวคล้ายงูหรือปลาไหล แบนข้าง และเป็นสีชมพูโดยตลอด ตามีขนาดเล็กมาก อาศัยอยู่ในรูบริเวณปากแม่น้ำที่มีพื้นเป็นเลน เป็นปลาที่สามารถรับประทานได้.

19 ความสัมพันธ์: ชั้นปลากระดูกแข็งพ.ศ. 2343พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542การตั้งชื่อทวินามภาษากรีกภาษาละตินวงศ์ย่อยปลาเขือวงศ์ปลาบู่สกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสีชมพูอันดับปลากะพงอันดับปลาไหลดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคาโรลัส ลินเนียสงูปลาบู่เขือคางยื่นปลาที่มีก้านครีบ

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: ปลาเขือและชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2343

ทธศักราช 2343 ตรงกับคริสต์ศักราช 1800 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: ปลาเขือและพ.ศ. 2343 · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

หน้าปกพจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ปลาเขือและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: ปลาเขือและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: ปลาเขือและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลาเขือและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาเขือ

วงศ์ย่อยปลาเขือ หรือ วงศ์ย่อยปลาบู่เขือ (Worm goby, Eel goby) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Amblyopinae ปลาในวงศ์ย่อยนี้ มีรูปร่างโดยรวมคือ มีลำตัวเรียวยาวคล้ายงูหรือปลาไหลมากกว่าปลาบู่ อาศัยอยู่ในโคลน ครีบหลังสองตอนเชื่อมต่อกันโดยโครสร้างเนื้อเยื่อ ตาลดรูปลงจนมีขนาดเล็ก เนื่องจากไม่ได้ใช้ประโยชน์ มีลำตัวสีชมพู, สีแดง หรือสีม่วง แบ่งออกได้เป็น 23 ชนิด ใน 12 สกุล.

ใหม่!!: ปลาเขือและวงศ์ย่อยปลาเขือ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาบู่

วงศ์ปลาบู่ (Goby) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดในโลก พบอาศัยอยู่ทั้งในทะเลลึกกว่า 60 เมตร จนถึงลำธารบนภูเขาสูงกว่า 1,000 เมตร พบทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่นมากกว่า 1,950 ชนิด และพบในประเทศไทยมากกว่า 30 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Gobiidae (/โก-บิ-ดี้/) มีลักษณะแตกต่างจากปลาอื่น คือ มีลำตัวยาวทรงกระบอก มีส่วนหัวและจะงอยปากมน มีเส้นข้างลำตัวและแถวของเส้นประสาทอยู่บนหัวหลายแถว ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอนชัดเจน ครีบหางกลมมน ครีบก้นยาว ครีบอกใหญ่ ครีบท้องส่วนมากจะแยกออกจากกัน แต่ก็มีในบางชนิดที่เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย เกล็ดมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เป็นปลากินเนื้อ กินแมลง, สัตว์น้ำขนาดเล็ก และปลาอื่นเป็นอาหาร วางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแล ไข่มีรูปร่างคล้ายผลองุ่นติดกับวัสุดเป็นแพ เมื่อฟักเป็นตัวจะปล่อยให้หากินเอง ส่วนมากมีขนาดเล็กยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่ในทะเลและน้ำกร่อย พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด โดยเฉพาะเมนูอาหารจีน เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย ราคาแพง รวมทั้งมีสรรพคุณในการปรุงยา ในปลาชนิดที่มีขนาดเล็กและสีสันสวยงาม นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลาเขือและวงศ์ปลาบู่ · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ปลาเขือและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาเขือและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาเขือและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สีชมพู

ีชมพู เป็นสีที่เกิดจากการผสมสีแดงและสีขาว ในบางครั้งจะถูกกล่าวถึงในลักษณะสีแดงอ่อน สีชมพูมักจะถูกใช้ในการกล่าวถึงลักษณะของเด็กหญิง ซึ่งนิยมใช้ควบคู่กับ สีน้ำเงินหรือสีฟ้า ที่จะแสดงถึงเด็กชาย ในภาษาเหนือ เรียกสีชมพูว่า "จมออน" (จม-ออน).

ใหม่!!: ปลาเขือและสีชมพู · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาเขือและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาไหล

อันดับปลาไหล หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้วประมาณ 4 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 110 สกุล และประมาณ 800 ชนิด อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) อยู่ในอันดับ Gymnotiformes, ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาเขือและอันดับปลาไหล · ดูเพิ่มเติม »

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

right right right ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (river delta) จะเกิดเฉพาะกับแม่น้ำที่พัดพาเอาตะกอนขนาดเล็ก ๆ จำพวกทรายละเอียดและโคลนมากับลำน้ำเป็นปริมาณมาก แล้วมาตกตะกอนทับถมกันบริเวณปากแม่น้ำ เมื่อแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ ความเร็วของน้ำในแม่น้ำจะลดลงและตะกอนที่แม่น้ำพัดมาจะค่อย ๆ สะสมตัวบริเวณดังกล่าว ในบางแห่งขณะน้ำขึ้นน้ำลง กระแสน้ำจะพัดพาเอาทรายและโคลนออกไปสู่ทะเลไกลออกไปจึงไม่มีดินดอนปากแม่น้ำเกิดขึ้น ถ้าในกรณีที่กระแสน้ำขึ้นลงไม่ส่งอิทธิพลรุนแรง แม่น้ำก็จะพัดพาเอาตะกอนมาสะสมอยู่เรื่อย ๆ โดยทรายหยาบจะตกตะกอนลงเป็นพวกแรกและนาน ๆ เข้าก็จะปรากฏเป็นสันทรายบริเวณปากแม่น้ำ ในที่สุดแม่น้ำก็จะแตกแขนงออกเป็นสองสาขาในเวลาต่อมา ในเวลาต่อมาแม่น้ำทั้งสองสาขาก็จะถูกปิดกั้นด้วยสันทราย ทำให้สาขาแม่น้ำแตกออกเป็นสาขาลำน้ำย่อยลงไปอีก ดินดอนโดยทั่วไปมักมีสาขาของลำน้ำที่แตกแขนงจากแม่น้ำใหญ่ โคลนเนื้อละเอียดจะถูกพัดพาไปไกลจากสันทรายและตกตะกอนสะสมตัวกันแผ่คลุมท้องทะเลหรือทะเลสาบในบริเวณที่กว้างขวางเป็นรูปคล้ายพัดหรืองอกตัวลงทะเลตลอดเวลา โดยธรรมดาแล้วแม่น้ำทุกสายที่ไหลลงทะเลหรือทะเลสาบจะมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเกิดขึ้นเสมอ ที่เราเรียกกันว่า "เดลต้า" (delta) เพราะว่าบริเวณดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ซึ่งถึงแม้ว่าดินดอนจะไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมนักภูมิศาสตร์โดยทั่วไปก็เรียกว่า "เดลต้า" แม่น้ำสายใหญ่ ๆ เช่นในเอเชีย เช่น แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสในอิรัก ซึ่งเดิมเมืองโบราณชื่ออัวร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้วอยู่ติดทะเล แต่ปัจจุบันเมืองดังกล่าวอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 240 กิโลเมตร แม่น้ำพรหมบุตรใน.

ใหม่!!: ปลาเขือและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: ปลาเขือและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

งู

งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: ปลาเขือและงู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบู่เขือคางยื่น

ปลาบู่เขือคางยื่น (Bearded worm goby) ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยได้ ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) มี รูปร่างยาวคล้ายงู หัวเหมือนปลาบู่ทั่วไป แต่หน้าหัก คางยื่นออกมาเล็กน้อย ปากกว้าง มีฟันเป็นซี่แหลมขนาดเล็กในปาก ใต้ปากล่างมีติ่งเนื้อยื่นออกมาโดยรอบ ตามีขนาดเล็กมาก ครีบอกมีขนาดใหญ่ ครีบหลัง ครีบก้นไม่ต่อเนื่องกับครีบก้น ลำตัวลื่นมาก มีเกล็ดขนาดเล็กละเอียด พื้นสีลำตัวเป็นสีชมพูหรือเหลืองเหลือบทองในบางตัว ยาวเต็มที่ประมาณ 30 นิ้ว อาศัยอยู่ในป่าชายเลนหรือป่าจากปากแม่น้ำ โดยขุดรูอยู่ในดินโคลน ออกหากินในเวลากลางคืน และอาศัยอยู่ในที่ ๆ ไม่ต้องใช้แสงสว่าง ตาจึงปรับสภาพให้มีขนาดเล็ก กินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่ สัตว์น้ำขนาดเล็กรวมถึงซากพืช ซากสัตว์ พบกระจายอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลแอฟริกาตะวันออก, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จรดโอเชียเนียและเอเชียตะวันออก ไม่จัดเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่สามารถนำมาบริโภคได้ โดยไม่มีพิษหรืออันตรายใด ๆ เช่น ทอดกระเทียม ด้วยรูปร่างประหลาดแลดูคล้ายงูหรือมังกรนี้ จึงมักถูกจับมาขายในตลาดปลาสวยงามบ่อย ๆ โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "มังกรแยงซีเกียง" หรือ "มังกรเงิน มังกรทอง" หรือ "ดราก้อนบอล" หรือสุดแต่ผู้ขายจะตั้งชื่อ ซึ่งผู้ขายมักจะบอกว่า เป็นปลาหายากจากแดนไกล สามารถเลี้ยงในน้ำจืดได้ แต่การนำมาเลี้ยงจริง ๆ มักไม่รอดเพราะปลาไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะในสถานที่เลี้ยงได้ มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเขือ", "ปลาเขือหน้าผี", "ปลาเขือยักษ์", "ปลาเขือแดง" หรือ "ปลาเขือลื่น" เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาเขือและปลาบู่เขือคางยื่น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาเขือและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Eel gobyTaeniodesTaenioidesWorm gobyสกุลปลาบู่เขือบู่เขือปลาบู่เขือ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »