โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นครรัฐวาติกัน

ดัชนี นครรัฐวาติกัน

นครรัฐวาติกัน (State of the Vatican City; Stato della Città del Vaticano) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลซึ่งน้อยที่สุดในโลกทั้งในแง่พื้นที่และประชากร ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ศูนย์กลางคือมหาวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งออกแบบโดยมีเกลันเจโล การปกครองเป็นแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจตกอยู่ที่พระสันตะปาปาเพียงผู้เดียว จะหมดวาระก็ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์ ปัจจุบัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556.

51 ความสัมพันธ์: บาทหลวงพ.ศ. 2472พ.ศ. 2531พ.ศ. 2545พ.ศ. 2556พระสันตะปาปาพระคาร์ดินัลการสละตำแหน่งพระสันตะปาปาการประกาศเป็นนักบุญการนมัสการภาษาฝรั่งเศสภาษาสเปนภาษาอังกฤษภาษาอิตาลีภาษาโปรตุเกสภาษาเยอรมันมหาวิหารนักบุญเปโตรมิชชันนารีมุขมณฑลมุขนายกมีเกลันเจโลยูโรราชอาณาจักรอิตาลีราฟาเอลสภาปกครองโรมันสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสมณะกระทรวงสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16สันตะสำนักสนธิสัญญาลาเตรันคริสตจักรคณะพระคาร์ดินัลคณะนักบวชคาทอลิกประเทศประเทศอิตาลีประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลนครรัฐโรมโรมันคาทอลิกเพลงสดุดีพระสังฆราช (สดุดีพระสันตะปาปา)เวลายุโรปกลางเอกราชเทวาธิปไตยเซมินารี.va11 กุมภาพันธ์15 มีนาคม28 กุมภาพันธ์...28 มิถุนายน ขยายดัชนี (1 มากกว่า) »

บาทหลวง

ทหลวงดนัย วรรณะ (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) และ ขวา-บาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร (โรมันคาทอลิก) บาทหลวง (priest)ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 387-8 หมายถึง นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์เรียก priest ว่า ปุโรหิต.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและบาทหลวง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2472

ทธศักราช 2472 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1929 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและพ.ศ. 2472 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2531

ทธศักราช 2531 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1988 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและพ.ศ. 2531 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2545

ทธศักราช 2545 V 2002 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2002 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและพ.ศ. 2545 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2556

ทธศักราช 2556 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2013 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและพ.ศ. 2556 · ดูเพิ่มเติม »

พระสันตะปาปา

หลุมฝังพระศพพระสันตะปาปาในมหาวิหารนักบุญเปโตร พระสันตะปาปา (Santo Papa; Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม..

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

พระคาร์ดินัล

ตราประจำสมณศักดิ์พระคาร์ดินัล คาร์ดินัล (Cardinal) เป็นสมณศักดิ์ชั้นสูง รองจากพระสันตะปาปา ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพระสันตะปาปา ในการปกครองคริสตจักรโรมันคาทอลิก ตำแหน่งนี้อาจเทียบเท่ากับสมเด็จพระราชาคณะในศาสนาพุทธ หรือสมาชิกวุฒิสภาในทางโลก ในสมัยก่อนตำแหน่งคาร์ดินัลมักเป็นฆราวาส แต่นับตั้งแต่ตราประมวลกฎหมายพระศาสนจักรฉบับล่าสุด (ค.ศ. 1917–83) เฉพาะบาทหลวงและมุขนายกเท่านั้นที่มีสิทธิ์เป็นพระคาร์ดินัลได้ หน้าที่พิเศษอย่างหนึ่งของพระคาร์ดินัลคือ เข้าร่วมการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่ แทนตำแหน่งที่ว่างลง และตนเองก็มีสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาด้วย พระคาร์ดินัลอาจมีตำแหน่งมุขนายกหรือเป็นหัวหน้าปกครองคณะบาทหลวง คณะนักบวชคาทอลิกชาย-หญิง และคริสต์ศาสนิกชนฆราวาส ในมุขมณฑลที่ท่านปกครองด้ว.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและพระคาร์ดินัล · ดูเพิ่มเติม »

การสละตำแหน่งพระสันตะปาปา

การสละตำแหน่งพระสันตะปาปา (papal resignation) เป็นการที่พระสันตะปาปาแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิกทรงลาออกจากตำแหน่งด้วยความสมัครพระทัย เนื่องจากตามปรกติแล้วพระสันตะปาปาทรงอยู่ในตำแหน่งจนกว่าจะสิ้นพระชนม์ จึงไม่บ่อยนักที่พระสันตะปาปาจะทรงสละตำแหน่ง ในประวัติศาสตร์มีพระสันตะปาปาเพียงห้าพระองค์เท่านั้นที่ทรงสละตำแหน่ง ทั้งห้าครั้งเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 15 แต่มีข้อโต้แย้งว่า สี่ครั้งแรกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึง 11 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 พระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบัน ได้ทรงประกาศว่า จะทรงสละตำแหน่งโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพัน..

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและการสละตำแหน่งพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศเป็นนักบุญ

การประกาศเป็นนักบุญ (canonization) เป็นกระบวนการที่คริสตจักรต่าง ๆ เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ และแองกลิคัน ใช้ดำเนินการเพื่อขึ้นทะเบียนคริสต์ศาสนิกชนผู้ล่วงลับให้เข้าในสารบบนักบุญ.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและการประกาศเป็นนักบุญ · ดูเพิ่มเติม »

การนมัสการ

การนมัสการ (โปรเตสแตนต์) หรือ คารวกิจ (โรมันคาทอลิก) เป็นการบูชาพระเป็นเจ้าของคริสต์ศาสนิกชน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “worship” มาจากภาษา Anglo-Saxon ว่า “worthscipe” หรือ “worthship” หมายถึง การตอบสนองภายในจิตใจด้วยการแสดงออกมา อันเนื่องมาจากการที่เห็นความสำคัญและคุณค่าของสิ่งนั้น หรือคนนั้น หนังสือสดุดี บทที่ 96 ข้อ 8 กล่าวว่า “จงถวายพระสิริ ซึ่งควรแก่พระนามของพระองค์แด่พระเจ้า จงนำเครื่องบูชาและมายังบริเวณพระนิเวศของพระองค์” นั่นคือภาพในสมัยก่อนการเสด็จมากำเนิดของพระเยซูคริสต์ คนที่เห็นคุณค่าพระเจ้าจะนำเครื่องบูชามาถวายแด่พระเจ้าเป็นการนมัสการ.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและการนมัสการ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสเปน

ษาสเปน (Spanish; สเปน: español) หรือ ภาษาคาสตีล (Castilian; สเปน: castellano) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์ หนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ และภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในโลกรองจากภาษาจีนกลาง รวมทั้งยังเป็นภาษาราชการขององค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญอีกหลายองค์การอีกด้วย เช่น สหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกา องค์การรัฐอเมริกา องค์การรัฐไอบีเรียอเมริกา ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และสหภาพชาติอเมริกาใต้ เป็นต้น มีผู้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองเป็นจำนวนระหว่าง 450-500 ล้านคนEl País.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและภาษาสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอิตาลี

ษาอิตาลี (Italiano หรือ lingua italiana; Italian) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์,โดยส่วนใหญ่ภาษาอิตาลีเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาละตินมากที่สุดในภาษากลุ่มโรมานซ์ด้วยกัน, ภาษาอิตาลีเป็นภาษาทางการในอิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, ซานมารีโน, นครรัฐวาติกัน และอิสเตรียตะวันตก (ในสโลวีเนียและโครเอเชีย), เคยมีสถานะเป็นภาษาทางการของแอลเบเนีย, มอลตา และ โมนาโก ซึ่งมีการพูดภาษานี้กันอย่างกว้างขวางรวมทั้งอดีตแอฟริกาตะวันออกของอิตาลีและแอฟริกาเหนือของอิตาลี (ปัจจุบันคือประเทศลิเบีย), มีการพูดภาษาอิตาลีในกลุ่มผู้อพยพชาวอิตาเลียนขนาดใหญ่ในอเมริกาและออสเตรเลีย, มีสถานะเป็นภาษาทางการของชนกลุ่มน้อยในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, สโลวีเนีย, โครเอเชีย และ โรมาเนีย left.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและภาษาอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปรตุเกส

ษาโปรตุเกส (português ปุรตุเกฌ) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ที่พูดในประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศโปรตุเกส ประเทศบราซิล ประเทศแองโกลา ประเทศโมซัมบิก และประเทศติมอร์-เลสเต ภาษาโปรตุเกสมีคนพูดเป็นภาษาแม่มากกว่า 200 ล้านคน ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่พูดทั่วโลก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากเป็นอันดับ 5 หรือ 6 ของโลกปัจจุบัน ภาษาโปรตุเกสถูกขนานนามว่า A língua de Camões อาลิงกวาดึกามอยช์ ("ภาษาของกามอยช์" ตามชื่อลูอิช ดึ กามอยช์ ผู้ประพันธ์ The Lusiad: ลูเซียด) และ A última flor do Lácio อาอุลตีมาโฟลร์ดูลาซีอู ("ดอกไม้ดอกสุดท้ายของละติอุม") คนที่พูดภาษาโปรตุเกสเรียกว่า ลูซิตานิก: Lusitanic หรือ ลูโซโฟน: Lusophones.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและภาษาโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญเปโตร

มหาวิหารนักบุญเปโตร (Basilica of Saint Peter, Basilica Sancti Petri) รู้จักกันโดยชาวอิตาลีว่า Basilica di San Pietro in Vaticano หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่าเซนต์ปีเตอร์สบาซิลิกา (Saint Peter's Basilica) เป็นมหาวิหารเอกหนึ่งในสี่แห่งในกรุงโรม นครรัฐวาติกัน (อีกสามมหาวิหาร คือ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร และมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง).

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและมหาวิหารนักบุญเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

มิชชันนารี

มิชชันนารีคาทอลิกคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสกำลังอำลาญาติพี่น้อง ก่อนออกเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์ยังดินแดนตะวันออกไกล มิชชันนารี (missionary) คือ สมาชิกองค์การทางศาสนา ที่ถูกส่งไปยังต่างแดนเพื่อทำการประกาศข่าวดีและรับใช้พระผู้เป็นเจ้าหรือศาสนจักร ในงานด้านการศึกษา การรู้หนังสือ ความยุติธรรมทางสังคม สาธารณสุข และการพัฒนาเศรษฐกิจThomas Hale 'On Being a Missionary' 2003, William Carey Library Pub, ISBN 0-87808-255-7 คำว่า "มิชชัน" มาจากภาษาละติน missionem ซึ่งแปลว่า การส่งออกไป มิชชันนารีมักทำงานรวมกันเป็นองค์กรเรียกว่า มิชชัน (โปรเตสแตนต์) หรือ มิสซัง (โรมันคาทอลิก) และเรียกสำนักงานของมิชชันนารีว่า ศูนย์มิชชัน (โปรเตสแตนต์) หรือ สำนักมิสซัง (โรมันคาทอลิก).

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและมิชชันนารี · ดูเพิ่มเติม »

มุขมณฑล

มุขมณฑลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 139 (diocese) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกว่า สังฆมณฑล ในประเทศไทยกรมการศาสนาเรียกว่า เขตมิสซังกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 เป็นเขตการปกครองของคริสตจักรซึ่งมีมุขนายกเป็นประมุข แต่ละมุขมณฑลจะแบ่งออกเป็นเขตแพริช ในกรณีที่เป็นมุขมณฑลขนาดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่ามุขมณฑลอื่นที่อยู่รอบ ๆ มุขมณฑลนั้นจะถูกยกสถานะขึ้นเป็นอัครมุขมณฑล โดยมีอัครมุขนายกเป็นประมุข อัครมุขนายกมีสถานะเป็นมุขนายกมหานคร มีอำนาจสูงกว่ามุขนายกปริมุขมณฑลซึ่งเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลอื่น ๆ ในภาคคริสตจักรเดียวกัน โครงสร้างการปกครองคริสตจักรแบบนี้เรียกว่า การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มุขมณฑลยังอาจหมายถึง เขตมุขนายก (bishopric) หรือ อิปิสโคปัลซี (Episcopal see) แต่คำว่าอิปิสโคปัลซีมักใช้หมายถึงอาณาเขตที่ปกครองโดยบิชอป ขณะที่ bishopric อาจหมายถึงตำแหน่งบิชอปก็ได้.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

มีเกลันเจโล

มีเกลันเจโล หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ ไมเคิลแองเจโล มีชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บูโอนาร์โรตี ซีโมนี (Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดัง ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มีเกลันเจโลเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาปรีส (ปัจจุบันอยู่ในทัสกานี, อิตาลี) เขาเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโลสร้างประติมากรรมรูปสลัก เดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมัน ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโล เดิมทีเป็นคนที่เกลียดเลโอนาร์โด ดา วินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก ในช่วงนี้ (ค.ศ. 1497 - ค.ศ. 1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1545 ต่อมาในปี ค.ศ. 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพ คำพิพากษาครั้งสุดท้าย (The Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี เสียชีวิตที่กรุงโรม เมื่อปี ค.ศ. 1564 รวมอายุได้ 88 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจากสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของมิเกลันเจโลให้ยืนยาวออกไปอีก".

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและมีเกลันเจโล · ดูเพิ่มเติม »

ยูโร

ูโร (euro, €; รหัสธนาคาร EUR) เป็นสกุลเงินที่ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป 19 ประเทศ (ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558) ตกลงใช้ร่วมกัน เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 (บางประเทศใช้ตามในภายหลัง) 1 ยูโรแบ่งออกเป็น 100 เซนต์ แต่ชื่อเรียกของเซนต์อาจแตกต่างกันในแต่ละประเท.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและยูโร · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอิตาลี

ราชอาณาจักรอิตาลี (Regno d'Italia) เป็นราชอาณาจักรบนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งได้มีการสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1861 จากการรวมตัวกันของรัฐอิตาลีหลาย ๆ รัฐภายใต้การนำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย และดำรงอยู่ตราบจนถึงปี ค.ศ. 1946 เมื่อประชาชนชาวอิตาลีได้มีการลงประชามติให้มีการเปลี่ยนผ่านการปกครองจากระบบราชอาณาจักรไปสู่ความเป็นสาธารณรัฐ อิตาลีได้ประกาศสงครามต่อออสเตรียในปี..

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ราฟาเอล

วาดตัวเองของราฟาเอล ราฟาเอล (Raphael) หรือ รัฟฟาเอลโล ซานซีโอ ดา อูร์บีโน (Raffaello Sanzio da Urbino; พ.ศ. 2026-2063) เป็นจิตรกรชาวอิตาลีที่มีอาวุโสน้อยที่สุดในบรรดาจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยมีอายุน้อยกว่าเลโอนาร์โด ดา วินชี 31 ปี และอ่อนกว่ามีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี 8 ปี เมื่อ..

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและราฟาเอล · ดูเพิ่มเติม »

สภาปกครองโรมัน

ตราอาร์มของสันตะสำนัก สภาปกครองโรมันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 405 (Curia Romana กูเรียโรมานา) เป็นองค์การปกครองของสันตะสำนัก ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารงานในคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมดร่วมกับพระสันตะปาปา คำว่า กูเรีย ในภาษาละตินแปลว่า ราชสำนัก ดังนั้น กูเรียโรมานา จึงแปลตามตัวอักษรว่า ราชสำนักโรม ซึ่งหมายถึงสำนักสันตะปาปา และมีหน้าที่ช่วยเหลือพระสันตะปาปาในการบริหารปกครองศาสนจักร จึงมีลักษณะคล้ายกับรัฐบาลในฝ่ายอาณาจักร และมีสมณะกระทรวงทำหน้าที่คล้ายกระทรวง สภาปกครองโรมันประกอบด้วยองค์กรในระดับต่าง ๆ ดังนี้;สำนักเลขาธิการแห่งรัฐวาติกัน สำนักเลขาธิการแห่งรัฐวาติกัน (The Secretariat of State) เป็นองค์กรที่เก่าแก่ที่สุดในสภาปกครองโรมัน ก่อตั้งมาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถือเป็นรัฐบาลของคริสตจักรโรมันคาทอลิก มีพระคาร์ดินัลเลขาธิการแห่งรัฐเป็นหัวหน้า มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองและการทูตของสันตะสำนัก;สมณะกระทรวง สมณะกระทรวง (Congregations) เป็นองค์การปกครองส่วนกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิก มีสมณมนตรีซึ่งล้วนแต่มีสมณศักดิ์เป็นพระคาร์ดินัลเป็นหัวหน้า;ศาลชำนัญพิเศษ ศาลชำนัญพิเศษ (Tribunals) ของสันตะสำนักประกอบด้วย สมณทัณฑสถาน โรมันโรตา และศาลชำนัญพิเศษสูงสุดแห่งพระสมณนาม;สมณะทบวง สมณะทบวง (Pontifical Councils) คือกลุ่มตัวแทน ซึ่งรวมเป็นองค์กรขนาดกลางช่วยเหลือพระสันตะปาปาในการจัดการด้านต่าง ๆ แต่ละสมณะทบวงมีพระคาร์ดินัลหรืออัครมุขนายกเป็นประธาน;สมัชชามุขนายก สมัชชามุขนายก (Synod of Bishops) ก่อตั้งขึ้นสมัยสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง ถือเป็นคณะที่ปรึกษาของพระสันตะปาปาในการตัดสินใจ สมาชิกของสมัชชาคัดเลือกมาจากมุขนายกจากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีพระสันตะปาปาดำรงตำแหน่งประธานสมัชชา;สำนักงาน สำนักงาน (Offices) มีอยู่ 3 สำนักงาน ทำหน้าที่ดูแลการเงินและทรัพย์สินของศาสนจักร;สมณะกรรมาธิการ สมณะกรรมาธิการ (Pontifical Commissions) คือคณะกรรมาธิการที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งขึ้นจากชาวคาทอลิกผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน;องครักษ์สวิส องครักษ์สวิส (Swiss Guard) เป็นทหารชาวสวิสที่ทำนหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้กับพระสันตะปาปาและศาสนพิธีต่าง ๆ;สำนักงานแรงงานแห่งสันตะสำนัก สำนักงานแรงงานแห่งสันตะสำนัก (Labour Office of the Apostolic See) เป็นหน่วยงานที่สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ทรงตั้งขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องแรงงานสัมพันธ์ระหว่างสันตะสำนักกับเหล่าลูกจ้าง;สมณบัณฑิตยสถาน สมณบัณฑิตยสถาน (Pontifical Academies) เป็นสมาคมผู้คงแก่เรียนที่ก่อตั้งโดยสันตะสำนัก ปัจจุบันมีสมณบัณฑิตยสถานอยู่ทั้งสิ้น 11 แห่ง ตั้งอยู่ภายในนครรัฐวาติกัน กรุงโรม.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและสภาปกครองโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมณะกระทรวง

มณะกระทรวงราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 175 (Congregation) คือ องค์การบริหารส่วนกลางในคริสตจักรโรมันคาทอลิกภายในสภาปกครองโรมัน แต่ละสมณะกระทรวงมีสมณมนตรี (prefect) เป็นผู้บริหารสูงสุด สมณมนตรีแต่ละท่านมีสมณศักดิ์เป็นพระคาร์ดินัล.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและสมณะกระทรวง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

มเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส (Francis; Franciscus) เป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 266 มีพระนามเดิมว่า คอร์เค มาเรียว เบร์โกเกลียว (Jorge Mario Bergoglio) พระราชสมภพเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2479.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2

มเด็จพระสันตะปาปา นักบุญจอห์น ปอลที่ 2 มีพระนามเดิมว่า การอล ยูแซฟ วอยตือวา (ในภาษาโปแลนด์) เกิดเมื่อ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 ที่หมู่บ้านวาดอวิตแซ ใกล้เมืองกรากุฟ ประเทศโปแลนด์ บิดาเป็นทหารมียศเป็นจ่าทหารและเกษียณราชการแล้ว มารดาเสียชีวิต เมื่อคาโรลยังเป็นเด็ก ท่านเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์พิเศษ ชอบการกีฬาเป็นอันมาก ท่านยังชอบบทกวีและการแสดงละคร หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 1 คณะพระคาร์ดินัลทั่วโลกก็มีมติเลือกให้พระคาร์ดินัลการอล วอยตือวา ประมุขแห่งอัครมุขมณฑลกรากุฟ ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 58 พรรษา ขึ้นเป็นประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1978 นับเป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 264 ที่สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูต สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เป็นประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก เป็นพระสันตะปาปาที่ไม่ใช่ชาวอิตาเลียนองค์แรกในรอบ 455 ปี และเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกที่เป็นชาวโปแลนด์ รวมทั้งยังเป็นพระสันตะปาปาที่ได้รับเลือกขณะที่มีอายุน้อยที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 อีกด้วย พระองค์เป็นพระสันตะปาปาที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน พระองค์ทรงเดินทางรอบโลกเพื่อเยี่ยมเยียนคริสตชนมากกว่าพระสันตะปาปาองค์ใด ๆ ในอดีตที่ผ่านมา ทรงต่อต้านกระแสทุนนิยมที่ไร้ขอบเขต การกดขี่ทางการเมือง ยืนกรานในการต่อต้านการทำแท้ง และปกป้องวิถีทางของศาสนจักรในเรื่องเพศของมนุษย์ ปัจจุบัน พระองค์ท่านได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2014 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

มเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 (Benedictus XVI, Benedict XVI) พระสันตะปาปากิตติคุณ อดีตประมุขคริสตจักรโรมันคาทอลิก เป็นชาวเยอรมัน มีพระนามเดิมว่า โยเซฟ รัทซิงเงอร์ (Joseph Ratzinger) เกิดเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927).

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 · ดูเพิ่มเติม »

สันตะสำนัก

ม่มีความสัมพันธ์ สันตะสำนักราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 251(Holy See) หรือที่บางตำราเรียกว่า อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 753 คือมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในกรุงโรม และเนื่องจากกรุงโรมมีความสำคัญที่สุดในคริสตจักรโรมันคาทอลิก บิชอปแห่งโรมจึงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาอันเป็นตำแหน่งประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมดด้วย สันตะสำนักเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึง “สันตะสำนัก” จึงหมายถึงองค์กรบริหารส่วนกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมด และเป็นอาณาจักรทางศาสนาที่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายนานาชาติว่าเป็นรัฐอิสระที่มีประมุขเป็นพระสันตะปาปาและสถาปนาความสัมพันธ์ทางทูตกับประเทศอื่นได้ สันตะสำนักแบ่งการบริหารออกเป็น 4 ระดับ ได้แก.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและสันตะสำนัก · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาลาเตรัน

นธิสัญญาลาเตรัน เป็นหนึ่งในกลุ่มสนธิสัญญาลาเตรัน..

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและสนธิสัญญาลาเตรัน · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

คณะพระคาร์ดินัล

ณะพระคาร์ดินัล (College of Cardinals) เป็นองค์กรที่สมาชิกประกอบด้วยพระคาร์ดินัลทั้งหมดในคริสตจักรโรมันคาทอลิก มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาแก่พระสันตะปาปาในกิจการต่าง ๆ ในศาสนจักรเมื่อทรงเรียกประชุม (consistory) เมื่อตำแหน่งพระสันตะปาปาว่างลงคณะพระคาร์ดินัลก็จะประชุมเลือกพระสันตะปาปาพร้อมกันJohn Paul II, Ap.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและคณะพระคาร์ดินัล · ดูเพิ่มเติม »

คณะนักบวชคาทอลิก

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก คณะนักบวช หรือ สถาบันนักบวช (religious institute) เป็นสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วประเภทหนึ่ง สมาชิกประกอบด้วยชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือคำปฏิญาณของนักบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้พระศาสนจักรเพียงอย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็นคณะ (order/society/congregation) โดยแต่ละคณะมีแนวทางการทำงานและเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป นอกจากเรียกว่า "คณะนักบวช" แล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังใช้คำว่า คณะนักพรต และ คณะนักบวชถือพรต โดยถือว่ามีความหมายเดียวกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2 ส่วนประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ค.ศ. 1983 ฉบับภาษาไทย ใช้คำว่า คณะสถาบันนักพรต.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและคณะนักบวชคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศ

แผนที่แสดงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศ เป็นบริเวณที่ระบุเป็นเอนทิตีต่างหากในภูมิศาสตร์การเมือง ประเทศอาจเป็นรัฐเอกราชหรือรัฐที่ถูกรัฐอื่นยึดครอง เป็นรัฐซึ่งไร้เอกราชหรืออดีตเขตปกครองทางการเมืองเอกราช หรือพื้นที่ภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของประชาชนที่เดิมไม่ขึ้นต่อกันหรือมีความสัมพันธ์ต่างกันซึ่งมีลักษณะทางการเมืองเป็นเอกลักษณ.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล

ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มักจะถูกนิยามว่าเป็นประเทศที่ถูกปิดล้อมหรือเกือบถูกปิดล้อมด้วยแผ่นดิน ในปี 2551 มีทั้งหมด 45 ประเทศ การเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลนับเป็นข้อด้อยทางภูมิศาสตร์ เพราะนอกจากจะถูกปิดกั้นจากทรัพยากรทางทะเลแล้ว ยังทำให้ไม่สามารถค้าขายทางทะเลได้อีกด้วย ประเทศที่มีชายฝั่งมีแนวโน้มที่จะร่ำรวยกว่าและมีประชากรมากกว่าประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล นอกจากนี้ยังมีคำว่า ทะเลปิด หมายถึงทะเลที่ไม่ได้เชื่อมกับมหาสมุทร เช่น ทะเลแคสเปียน ซึ่งในบางครั้งมองเป็นทะเลสาบ นอกจากนี้ทะเลอื่นๆ เช่น ทะเลดำ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลบอลติก และ ทะเลแดง มีช่องทางออกสู่ทะเลน้อ.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล · ดูเพิ่มเติม »

นครรัฐ

โมนาโก ถือเป็นนครรัฐแห่งหนึ่ง นครรัฐ (city state) คือภูมิภาคที่ควบคุมโดยสมบูรณ์โดยเมืองเพียงเมืองเดียว ส่วนใหญ่จะมีเอกราช โดยประวัติศาสตร์แล้ว นครรัฐมักจะเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่ใหญ่กว่า ดังเช่นนครรัฐในกรีกโบราณ (เช่น เอเธนส์ สปาร์ตา และโครินธ์) เมืองในเอเชียกลางตามเส้นทางสายไหม นครรัฐในอิตาลีเหนือ (โดยเฉพาะ ฟลอเรนซ์และเวนิซ) ปัจจุบันประเทศที่เป็นนครรัฐมีอยู่ทั้งหมด 3 ประเทศ คือ สาธารณรัฐสิงคโปร์, ราชรัฐโมนาโก และนครรัฐวาติกัน แต่บางแห่งก็ถูกจัดว่าเป็นนครรัฐด้วย อาทิ สาธารณรัฐมอลตา สาธารณรัฐซานมารีโนMogens, Hansen.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและนครรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เพลงสดุดีพระสังฆราช (สดุดีพระสันตะปาปา)

ลงสดุดีพระสังฆราช หรือสดุดีพระสันตะปาปา (Inno e Marcia Pontificale.; Pontifical Anthem) เป็นเพลงที่บรรเลงเพื่อเป็นเครื่องหมายของพระสังฆราช พระสันตปาปาหรือผู้แทนของท่าน เช่น เอกอัครสมณทูต และบรรเลงในโอกาสพิธีสำคัญต่างๆ เมื่อธงแห่งรัฐวาติกันถูกนำขึ้นอย่างเป็นทางการ จะมีการบรรเลงเพลงนี้เพียง 8 ห้องเพลงแรกเท่านั้น.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและเพลงสดุดีพระสังฆราช (สดุดีพระสันตะปาปา) · ดูเพิ่มเติม »

เวลายุโรปกลาง

ตเวลาชาติยุโรปกลาง (Central European Time; CET) เป็นชื่อของเขตเวลาที่ตรงกับมาตรฐานบบเวลาสากลเชิงพิกัดบวก 1 ชั่วโมง (UTC+1) ซึ่งใช้เป็นเวลามาตรฐานส่วนใหญ่ในประเทศยุโรป และใช้ในประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและเวลายุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เอกราช

อกราช คือ ความเป็นอิสระในการปกครองตนเองของชาติหรือรัฐ มีอำนาจอธิปไตยไม่ถูกกดขี่ควบคุมทางการเมืองหรือเป็นอาณานิคมจากรัฐบาลภายนอก.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและเอกราช · ดูเพิ่มเติม »

เทวาธิปไตย

ทวาธิปไตย (Theocracy) คือระบอบการปกครองที่มีพระเจ้าหรือเทพเป็นประมุข หรือในความหมายกว้าง ๆ คือระบอบการปกครองที่รัฐปกครองโดยอำนาจจากเทพ (divine guidance) หรือโดยผู้ที่ถือกันว่าได้รับอำนาจหรือการดลใจโดยตรงจากเทพ ในภาษากรีกคอยนี (Koine Greek) หรือภาษากรีกสามัญคำว่า “theocracy” มาจากคำว่า “kra′tos” โดย “the.os” หรือ “ปกครองโดยพระเจ้า” สำหรับผู้มีความศรัทธาแล้วระบบนี้ก็เป็นระบอบการปกครองที่ใช้อำนาจจากเทพในการปกครองมวลมนุษย์ในโลก ไม่โดยผู้ที่เป็นเทพกลับชาติมาเกิด (incarnation) ก็มักจะโดยผู้แทนของศาสนจักรที่มีอำนาจเหนืออาณาจักร รัฐบาลที่ปกครองโดยระบบเทวาธิปไตยปกครองโดยเทพธรรมนูญ (theonomy) ระบอบเทวาธิปไตยควรจะแยกจากระบบการปกครองอื่น ๆ ที่มีศาสนาประจำชาติ (state religion) หรือรัฐบาลที่มีอิทธิพลจากเทวปรัชญาหรือศีลธรรม หรือระบบราชาธิปไตยที่ปกครอง “โดยพระคุณของพระเจ้า” (By the Grace of God) เทวาธิปไตยอาจจะเป็นระบบการปกครองเดี่ยวที่ฐานันดรระดับต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ปกครองโดยฝ่ายอาณาจักรเป็นฐานันดรระดับเดียวกันกับที่ใช้ในการปกครองในศาสนจักร หรืออาจจะแบ่งเป็นสองระบบที่แยกฐานันดรระหว่างอาณาจักรและศาสนจักร การปกครองเทวาธิปไตยเป็นระบบที่ใช้ในหลายศาสนาที่ได้แก่ ศาสนาขงจื๊อ ศาสนายูดาห์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู พุทธศาสนาบางนิกายเช่นทะไลลามะ และ คริสต์ศาสนาบางนิกายที่รวมทั้งโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์ และมอร์มอน ตัวอย่างของการปกครองระบบเทวาธิปไตยของคริสต์ศาสนาก็ได้แก่การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ระหว่าง..

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและเทวาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

เซมินารี

ซมินารี.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและเซมินารี · ดูเพิ่มเติม »

.va

.va เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับ ประเทศนครรัฐวาติกัน และเป็นการบริหารโดยสำนักงานอินเทอร์เน็ตของสันตะสำนัก.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและ.va · ดูเพิ่มเติม »

11 กุมภาพันธ์

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 42 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 323 วันในปีนั้น (324 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและ11 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

15 มีนาคม

วันที่ 15 มีนาคม เป็นวันที่ 74 ของปี (วันที่ 75 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 291 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและ15 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

28 กุมภาพันธ์

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 59 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 306 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและ28 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

28 มิถุนายน

วันที่ 28 มิถุนายน เป็นวันที่ 179 ของปี (วันที่ 180 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 186 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: นครรัฐวาติกันและ28 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

VaticanVatican Cityกรุงวาติกันรายชื่อนครในนครรัฐวาติกันวาติกันนครวาติกัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »