โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นกกระเต็นเฮอร์คิวลิส

ดัชนี นกกระเต็นเฮอร์คิวลิส

นกกระเต็นเฮอร์คิวลิส (Blyth's kingfisher) เป็นนกกระเต็นชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระเต็นน้อย (Alcedinidae) นับเป็นนกระเต็นที่มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางในประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย, เนปาล, ภูฏาน, บังกลาเทศ, พม่า, ไทย, เวียดนาม, ลาว และจีน สำหรับในประเทศไทย ถือเป็นนกอพยกที่หายากมาก ในประเทศไทยมีรายงานพบที่ด้านตะวันตกของภาคเหนือ แต่ก็มีรายงานพบที่แม่น้ำโขง ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และที่อุทยานแห่งชาติดอยผาห่มปก จังหวัดเชียงใหม่ แม้ว่านกกระเต็นเฮอร์คิวลิสจะเป็นนกที่ถิ่นกระจายพันธุ์ที่กว้าง แต่ถิ่นที่อาศัยกลับถูกจำกัดแคบ ๆ ตามแนวลำน้ำเท่านั้นซึ่งมักถูกบุกรุกและยึดครอง ประกอบกับมีจำนวนประชากรที่น้อย จึงเป็นนกที่หาตัวพบเห็นได้ยากมาก ในประเทศไทยมีตัวอย่างอ้างอิงของนกกระเต็นเฮอร์คิวลิสเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น เป็นตัวอย่างนกตัวเมีย เก็บโดย นายกิตติ ทองลงยา จากบริเวณป่าริมน้ำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน..

15 ความสัมพันธ์: กิตติ ทองลงยาภาคเหนือ (ประเทศไทย)วงศ์นกกระเต็นน้อยสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสัตว์ป่าคุ้มครองสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยอันดับนกตะขาบอำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงรายจังหวัดเชียงใหม่ต้นแบบ (ชีววิทยา)นกกระเต็นแม่น้ำโขง

กิตติ ทองลงยา

กิตติ ทองลงยา (Kitti Thonglongya) (6 ตุลาคม พ.ศ. 2471-12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517) เป็นนักสัตววิทยาชาวไทย เชี่ยวชาญด้านนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีชื่อเสียงจากการค้นพบสัตว์ใกล้สูญพันธุ์สองชน.

ใหม่!!: นกกระเต็นเฮอร์คิวลิสและกิตติ ทองลงยา · ดูเพิ่มเติม »

ภาคเหนือ (ประเทศไทย)

หนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของไทย มีลักษณะภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ต่อเนื่องมาจากทิวเขาฉานโยมาในประเทศพม่าและประเทศลาว ภาคเหนือมีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เหมือนกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ การที่มีพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลและมีเส้นละติจูดอยู่ตอนบนทำให้สภาพอากาศของภาคเหนือเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ของภาคเหนือมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอาณาจักรล้านน.

ใหม่!!: นกกระเต็นเฮอร์คิวลิสและภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกกระเต็นน้อย

วงศ์นกกระเต็นน้อย (River kingfishers) เป็นวงศ์ของนกกระเต็นวงศ์หนึ่ง มีชื่อว่า Alcedinidae (เดิมเคยเป็นวงศ์ย่อย Alcedininae) นกกระเต็นในวงศ์นี้เป็นนกกระเต็นที่มีขนาดเล็ก (16 – 25 เซนติเมตร) ลักษณะทั่วไป คือ มีปากใหญ่ยาวแหลมและแบนข้าง หัวโต คอสั้น หางและขาสั้น มักมีสีสวยงาม เมื่อเกาะกับคอนหรือกิ่งไม้ลำตัวตั้งตรง บินตรงและเร็ว บางครั้งสามารถบินอยู่กับที่กลางอากาศได้ ปกติอาศัยและหากินอยู่ใกล้แหล่งน้ำ บางชนิดอาศัยอยู่ในป่า กินปลา ปู กบ เขียด สัตว์เลื้อยคลาน และแมลงตามพื้นดินเป็นอาหาร เป็นนกที่ส่งเสียงร้องเกือบตลอดเวลา ทำรังโดยการขุดโพรงดินตามชายฝั่งแม่น้ำ เนินดิน หรือตามจอมปลวก บางชนิดทำรังตามตอไม้หรือโพรงไม้ วงศ์นกกระเต็นน้อยแบ่งออกเป็น 3 สกุล คือ.

ใหม่!!: นกกระเต็นเฮอร์คิวลิสและวงศ์นกกระเต็นน้อย · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: นกกระเต็นเฮอร์คิวลิสและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: นกกระเต็นเฮอร์คิวลิสและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: นกกระเต็นเฮอร์คิวลิสและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ป่าคุ้มครอง

ัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์ ตามบัญชีแนบท้าย กฎกระทรวง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง..

ใหม่!!: นกกระเต็นเฮอร์คิวลิสและสัตว์ป่าคุ้มครอง · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เป็นสถาบันวิจัยของรัฐที่มุ่งเน้นผลิตเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ ก่อตั้งเมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 สถาบันฯ มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิสัยทัศน์   เป็นองค์กรชั้นนำในการบูรณาการวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีและนวัตกรรม  เพื่อสร้างสังคมนวัตกรรมอย่างยั่งยืน พันธกิจ 1.วิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์และบริการ ตอบสนองการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ 2.ให้บริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ ตรวจสอบ รับรองระบบคุณภาพ อบรมและที่ปรึกษา เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม 3.ถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรมสู่อุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน และผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม 4.พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาล.

ใหม่!!: นกกระเต็นเฮอร์คิวลิสและสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

อันดับนกตะขาบ

อันดับนกตะขาบ เป็นอันดับของนกขากรรไกรแบบใหม่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Coraciiformes โดยที่คำว่า "Coraciiformes" นั้น หมายถึง "เหมือนนกเรเวน" หรืออีกบริบทคือ "อีกา" (อีกาจัดเป็นนกเกาะคอน) โดยมาจากคำว่า "Corax" ในภาษาละติน มีความหมาย "อีกา" และคำว่า "Forma" หมายถึง "รูปแบบ" ซึ่งเป็นคำลงท้ายในการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นนกที่มีลักษณะคล้ายกับอีกา เป็นนกที่มีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ มีลักษณะโดยร่วมกัน คือ จะงอยปากมีหลายรูปแบบ คือ ปากตรง ปากแบนข้าง ปากโค้ง ปากเป็นรูปขอ รูจมูกไม่ทะลุถึงกันเพราะมีผนังกั้น หางยาวปานกลางจนถึงยาวมาก ปลายหางมนหรือเป็นหางตัด ปีกยาวปานกลางจนถึงยาวมาก ปลายปีกมักแหลม ขนปลายปีกมี 10-11 เส้น มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ยกเว้นในบางชนิด ขายาวปานกลางหรือขาสั้น แข้งสั้น หน้าแข้งด้านหน้าปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดใหญ่แบบเกล็ดซ้อน โดยเกล็ดแต่ละชิ้นมีขนาดไม่เท่ากัน นิ้วหลังสั้นกว่านิ้วหน้า โคนนิ้วเป็นแบบนิ้วติด ยกเว้นในบางวงศ์ แกนขนรองมีขนาดเล็กหรือไม่มี หัวอาจมีหงอนหรือมีขนก็ได้ มีพฤติกรรมทำรังตามโพรงไม้หรือโพรงดินตามริมฝั่งแม่น้ำ ไข่มีเปลือกสีขาวหรือสีน้ำเงิน วางไข่ครั้งละ 2-8 ฟอง ลูกนกแรกเกิดไม่สามารถที่จะเดินหรือช่วยเหลือตัวเองได้ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และเสริมด้วยสัตว์ขนาดเล็ก ๆ เช่น หนู หรือกิ้งก่า และแมลงต่าง ๆ พบกระจายพันธุ์อยู่แทบทุกภูมิภาคของโลก ยกเว้นเกาะฮาวาย ประกอบไปด้วยวงศ์ทั้งหมด 11 วงศ์ โดยนกที่เป็นที่รู้จักกันดีในอันดับนี้ ได้แก่ นกเงือก (Bucerotidae) ซึ่งเป็นนกที่มีหงอนบนหัวและมีขนาดใหญ่, นกตะขาบ (Coraciidae), นกกะรางหัวขวาน (Upupidae), นกกระเต็น (Alcedinidae) เป็นต้น (แต่ในบางข้อมูลจะจัดนกเงือก, นกกระเต็น และนกกะรางหัวขวาน แยกออกเป็นอันดับต่างหาก) ในประเทศไทย พบทั้งสิ้น 5 วงศ์ ประมาณ 38 ชน.

ใหม่!!: นกกระเต็นเฮอร์คิวลิสและอันดับนกตะขาบ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเชียงแสน

อำเภอเชียงแสน (60px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีซากโบราณสถานของเมืองเชียงแสนเก่าอยู่ในบริเวณตัวอำเภอ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวและท่าเรือขนส่งสินค้าที่สำคัญในภาคเหนือ นอกจากนี้เชียงแสนมีพื้นที่ซึ่งเรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ ในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย อันเป็นบริเวณที่บรรจบกันของชายแดนสามประเทศ คือ ไทย ลาว และพม.

ใหม่!!: นกกระเต็นเฮอร์คิวลิสและอำเภอเชียงแสน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชียงราย

ังหวัดเชียงราย (55px เจียงฮาย; 50px) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีภูมิศาสตร์อยู่ทางเหนือสุดของประเทศ ที่ตั้งของเมืองมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เช่น เมืองเงินยาง เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองเชียงรายเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวไทยวน ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีน้ำแม่กก น้ำแม่อิง แม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งอดีตเป็นแหล่งผลิตฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบัน จังหวัดเชียงรายได้รับความสนใจในฐานะประตูสู่พม่า ลาว และจีนตอนใต้ ผ่านทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 3 เมืองเชียงรายมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นที่ตั้งของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ซึ่งเป็นนครหลวงก่อนการกำเนิดอาณาจักรล้านนา มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรูปแบบล้านนา ไทใหญ่ ไทเขิน และไทลื้อจากสิบสองปันนาผสมผสานกัน.

ใหม่!!: นกกระเต็นเฮอร์คิวลิสและจังหวัดเชียงราย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชียงใหม่

ังหวัดเชียงใหม่ (40px เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,746,840 คน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน โดยจังหวัดเชียงใหม่ทิศเหนือติดต่อกับรัฐฉานของเมียนมา จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทย รองจากกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: นกกระเต็นเฮอร์คิวลิสและจังหวัดเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ต้นแบบ (ชีววิทยา)

ต้นแบบ (Biological type) คือสิ่งที่เป็นตัวแทนของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งถูกอ้างอิงถึงในการอธิบายลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ เป็นตัวแทนในการบ่งบอกถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายในรูปร่างลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ทั้งเรื่องความแตกต่างของลักษณะเพศ, ช่วงอายุ เป็นต้น สามารถใช้ตรวจสอบคุณภาพของเอกสารวิชาการที่กล่าวถึงและตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ ได้ ใช้ในการเปรียบเทียบเมื่อมีการพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่หรือในอีกทางหนึ่งเพื่อยุบรวมสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายกันสองชนิด ในทางชีววิทยา ต้นแบบจะเป็นสิ่งที่ใช้ในการตั้งชื่อทางอนุกรมวิธานตามระบบการตั้งชื่อ ต้นแบบอาจเป็น ตัวอย่าง ภาพวาด สิ่งมีชีวิต หรือรายละเอียดก็ได้ เช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในลอนดอนมีตัวอย่างหมายเลข 1886.6.24.20 ซึ่งเป็นตัวอย่างของเหยี่ยวลาย (Circus assimilis) ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างต้นแบบแรกของเหยี่ยวชนิดนี้ ชื่อ Circus assimilis โดยคำนิยามถึงชนิดของตัวอย่างที่พิเศษนี้ (assimilis หรือ adsimils แปลว่า คล้าย หรือ เหมือน ความหมาย คือ " ลักษณะคล้ายกับนกต้นแบบ ").

ใหม่!!: นกกระเต็นเฮอร์คิวลิสและต้นแบบ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเต็น

นกกระเต็น หรือ นกกะเต็น เป็นนกที่อยู่ในอันดับย่อย Alcedines ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) จัดเป็นนกขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 13-16 เซนติเมตร (ในชนิดที่ใหญ่อาจยาวได้ถึง 41 เซนติเมตร) ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน มีลักษณะทั่วไปคือ มีส่วนหัวโต คอสั้น จะงอยปากแหลมยาวตรงและแข็งแรง ส่วนใหญ่มีสีสวยสดสะดุดตา เมื่อเวลาบินจะบินได้อย่างคล่องแคล่ว มักพบในแหล่งน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ เป็นนกที่หากินด้วยวิธีการพุ่งลงไปในน้ำด้วยความเร็วและแรง (มีการศึกษาพบว่าเร็วถึง 1/50 วินาที) และใช้จะงอยปากที่แข็งแรงแหลมคมจับปลาหรือสัตว์น้ำต่าง ๆ กินเป็นอาหาร ด้วยการจ้องมองจากบนกิ่งไม้ริมน้ำ ซึ่งสามารถอยู่นิ่ง ๆ แบบนั้นได้เป็นระยะเวลานาน โดยมักจะจับปลาในช่วงเช้าจนถึงสาย ๆ และอีกครั้งในช่วงบ่าย เมื่อเกาะอยู่บนกิ่งไม้เหนือแหล่งน้ำ จะพยายามหันหลังให้ดวงอาทิตย์ เพื่อให้ปลาเมื่อมองขึ้นมาจะต้องมองย้อนแสง ทำให้สังเกตไม่เห็นตัวนก ในบางชนิดอาจจะบินอยู่กับที่กลางอากาศ ก่อนที่จะพุ่งลงไปจับปลา เมื่อจับปลาได้แล้ว จะจับปลาฟาดกับกิ่งไม้เพื่อให้ปลาตาย ก่อนที่จะกลืนลงไปโดยเอาส่วนหัวลงไปก่อนเสมอ เพื่อที่จะไม่กินปลาย้อนเกล็ด ซึ่งอาจโดนเงี่ยงหรือเกล็ดทิ่มแทงทำให้นกได้รับบาดเจ็บได้ โดยปกติเป็นนกที่อยู่ลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ การทำรังวางไข่ นกกระเต็นมักใช้จะงอยปากขุดรูริมฝั่งน้ำ และหาหญ้ามารองเป็นพื้น วางไข่ครั้งละ 4-5 ฟอง บางชนิดอาจขุดรูไว้มากถึง 2-3 รู เพื่อหลอกสัตว์ผู้ล่า ขณะที่บางชนิดอาจจะใช้โพรงไม้หรือโพรงไม้เก่าของนกอื่นที่ทิ้งร้างไว้เป็นที่วางไข่ โดยมากจะวางไข่ในช่วงฤดูหนาว นกกะเต็นแดง ที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน สามารถจำแนกออกเป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้ 3 วงศ์ (ดูในตาราง; บางข้อมูลยกให้เป็นวงศ์ย่อย) แบ่งออกได้เป็นชนิดทั้งหมด 85 ชนิด (บางข้อมูลจัดให้มี 93 ชนิด) พบกระจายพันธุ์อยู่แทบทุกภูมิภาคทั่วโลก พบในประเทศไทยราว 16 ชนิดFry, C. Hilary; Fry, Kathie and Harris, Alan (1992).

ใหม่!!: นกกระเต็นเฮอร์คิวลิสและนกกระเต็น · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง (မဲခေါင်မြစ်; ແມ່ນ້ຳຂອງ; ទន្លេដ៏ធំ; Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江, จีนตัวเต็ม: 瀾滄江) แปลว่า "แม่น้ำที่มีความเชี่ยวกราก" และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก.

ใหม่!!: นกกระเต็นเฮอร์คิวลิสและแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Alcedo herculesBlyth's kingfisherนกกระเต็นเฮอคิวลิสนกกะเต็นเฮอร์คิวลิสนกกะเต็นเฮอคิวลิส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »