โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธงชาติหมู่เกาะคุก

ดัชนี ธงชาติหมู่เกาะคุก

23px ธงชาติหมู่เกาะคุก สัดส่วนธง 1:2 ธงสำหรับผู้แทนพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถประจำหมู่เกาะคุก ธงชาติหมู่เกาะคุก มีลักษณะตามแบบธงของอดีตอาณานิคมของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแปซิฟิก กล่าวคือ พื้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงิน มีรูปธงชาติสหราชอาณาจักรที่มุมธงบนด้านคันธง (ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร) ในพื้นสีน้ำเงินนั้นมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 15 ดวง เรียงเป็นรูปวงแหวน รูปธงชาติสหราชอาณาจักรนั้นหมายถึงประวัติศาสตร์ชาติผูกพันอยู่กับสหราชอาณาจักร ซึ่งเคยเป็นผู้ปกครองหมู่เกาะคุกในฐานะรัฐในอารักขามาก่อน และหมายถึงความเป็นสมาชิกในเครือจักรภพของหมู่เกาะคุก ดาว 15 ดวง หมายถึงจำนวนเกาะทั้ง 15 เกาะของหมู่เกาะคุก พื้นสีน้ำเงินหมายถึงท้องทะเลและธรรมชาติความเป็นผู้รักสงบของชาวหมู่เกาะคุก.

11 ความสัมพันธ์: มหาสมุทรแปซิฟิกยูเนียนแจ็กรัฐในอารักขาราชอาณาจักรราชอาณาจักรราโรตองการายชื่อธงในประเทศนิวซีแลนด์รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากสหพันธรัฐหมู่เกาะคุกสีน้ำเงินอาณานิคมเครือจักรภพ

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: ธงชาติหมู่เกาะคุกและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ยูเนียนแจ็ก

งสหภาพ (Union Flag) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ยูเนียนแจ็ก (Union Jack) เป็นธงชาติสหราชอาณาจักร ทั้งยังได้รับการใช้อย่างเป็นทางการและกึ่งทางการในรัฐสมาชิกเครือจักรภพบางรัฐ เช่น ในประเทศแคนาดาที่ซึ่งธงนี้มีนามตามกฎหมายว่า "ราชธวัชสหภาพ" (Royal Union Flag) ธงสหภาพยังใช้อย่างเป็นทางการในดินแดนโพ้นทะเลบางดินแดนของอังกฤษ ทั้งยังปรากฏในธงของบางประเทศซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นอังกฤษด้วย ธงสหภาพมีกำเนิดย้อนหลังไปถึงปี 1603 เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ เสวยราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ เป็นอันรวมแผ่นดินอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เป็นสหภาพหนึ่งเดียว กระนั้น แต่ละรัฐยังคงดำรงเอกราชอยู่มิได้ขึ้นแก่กัน วันที่ 12 เมษายน 1606 จึงมีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มีธงใหม่เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ระหว่างประเทศอังกฤษและประเทศสกอตแลนด์ พระราชกฤษฎีกานี้ให้รวมธงอังกฤษ (ธงพื้นขาวมีกางเขนสีชาดซึ่งเรียก "กางเขนนักบุญจอร์จ" อยู่ตรงกลาง) เข้ากับธงสกอตแลนด์ (ธงพื้นน้ำเงินมีกางเขนไขว้สีขาวซึ่งเรียก "กางเขนนักบุญแอนดรูว" อยู่ตรงกลาง) เรียกว่า "ธงแห่งบริเตนใหญ่" ซึ่งก็คือ ธงผืนแรกแห่งสหภาพ รูปแบบปัจจุบันของธงสหภาพมีขึ้นในสหภาพบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เมื่อปี 1801, from the Flag Institute site.

ใหม่!!: ธงชาติหมู่เกาะคุกและยูเนียนแจ็ก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐในอารักขา

ตามกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐในอารักขา (protectorate; protected state) หมายถึงรัฐกึ่งเอกราชซึ่งมีอิสรภาพในการปกครองตนเอง มีผู้ปกครองเป็นคนในท้องที่ แต่ยอมอยู่ภายใต้การคุ้มครองของประเทศอื่นซึ่งเข้มแข็งกว่า (มีอำนาจปกครอง แต่ไม่มีอำนาจสั่งทหาร) ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันภัยจากประเทศที่สาม รัฐในอารักขามักจะมอบสิทธิพิเศษทางการค้าและอนุญาตให้ผู้คุ้มครองเข้าใช้ดินแดนบางส่วนในรัฐของตนเพื่อเป็นการตอบแทนความคุ้มครอง.

ใหม่!!: ธงชาติหมู่เกาะคุกและรัฐในอารักขา · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักร

ราชอาณาจักร (kingdom, realm) เป็นชุมชนหรือดินแดนซึ่งมีองค์อธิปัตย์ปกครอง มักใช้เพื่ออธิบายอาณาจักรหรือรัฐอื่นที่ปกครองโดยระบอบกษัตริย์หรือราชวง.

ใหม่!!: ธงชาติหมู่เกาะคุกและราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรราโรตองกา

ราชอาณาจักรราโรตองกา (ภาษามาวรีหมู่เกาะคุก: Mātāmuatanga Rarotonga) ซึ่งตั้งชื่อตามเกาะราโรตองกา เป็นราชอาณาจักรเอกราชที่ตั้งอยู่ในหมู่เกาะคุกในปัจจุบัน ซึ่งสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2401 อาณาจักรนี้ได้กลายเป็นรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2432 โดยความประสงค์ของประเทศนั้นเอง และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหพันธรัฐหมู่เกาะคุกในปี พ.ศ. 2436.

ใหม่!!: ธงชาติหมู่เกาะคุกและราชอาณาจักรราโรตองกา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศนิวซีแลนด์

ตารางข้างล่างนี้แสดงรายชื่อธงชนิดต่างๆ ที่ใช้ในประเทศนิวซีแลน.

ใหม่!!: ธงชาติหมู่เกาะคุกและรายชื่อธงในประเทศนิวซีแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก หรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในเรขาคณิตแบบยูคลิด รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก คือรูปสี่เหลี่ยมชนิดหนึ่งที่มุมทั้งสี่ของมันเป็นมุมฉาก ส่วนคำว่า รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หมายถึงรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่ไม่ใช่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ABCD เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 10px ABCD จากการให้การจำกัดความนี้ สี่เหลี่ยมผืนผ้ายังมีด้านสองด้านที่ขนานกัน ซึ่งก็หมายความว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นรูปชนิดพิเศษของสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยด้านทั้งสี่ด้านมีความยาวเท่ากัน ดังนั้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสจึงเป็นทั้งสี่เหลี่ยมผืนผ้าและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โดยปกติแล้ว ด้านตรงกันข้ามสองด้านในสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านที่ยาวกว่าจะถูกเรียกว่า ด้านยาว ของสี่เหลี่ยมผืนผ้า และด้านที่สั้นกว่าจะถูกเรียกว่า ด้านกว้าง พื้นที่ของสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็น ด้านกว้าง × ด้านยาว (ในสัญลักษณ์ A.

ใหม่!!: ธงชาติหมู่เกาะคุกและรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธรัฐหมู่เกาะคุก

หพันธรัฐหมู่เกาะคุกก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1893 ในฐานะเขตการปกครองซึ่งตั้งขึ้นมาแทนที่ราชอาณาจักรราโรตองกา ต่อมาในปี ค.ศ. 1901 สหราชอาณาจักร จึงได้มอบอำนาจการดูแลดินแดนแห่งนี้ให้อยู่ภายใต้การบริหารของประเทศนิวซีแลน.

ใหม่!!: ธงชาติหมู่เกาะคุกและสหพันธรัฐหมู่เกาะคุก · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำเงิน

ีน้ำเงิน เป็นหนึ่งในแม่สี ทั้งแม่สีทางแสง และทางวัตถุธาตุ เป็นแม่สีที่มีความยาวคลื่นต่ำที่สุด แสงสีน้ำเงินมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 440-490 นาโนเมตร เป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีฟ้าและสีกรมท่า และถือเป็น 1 ในแม่สีร่วมกับ สีแดง และสีเขียว สีน้ำเงิน เป็นสีในกลุ่มสีโทนเย็น สีน้ำเงินเป็นสีที่สร้างความสุขุมเยือกเย็น หนักแน่นและละเอียดรอบคอบ ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสดงออกทางศิลปะได้ดีอีกด้วย ขณะที่สีฟ้าให้ความรู้สึกแบบเดียวกับสีเขียว คือ สบายตา ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง โล่งใจ ลดความร้อนรุ่มกระวนกระวายใจลงได้.

ใหม่!!: ธงชาติหมู่เกาะคุกและสีน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

อาณานิคม

ในทางการเมืองและประวัติศาสตร์ อาณานิคม (Colony) หมายถึงดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมทางการเมืองของรัฐๆหนึ่ง ไม่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง อาณานิคมสามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 กรณีคือ กรณีแรกคือการจัดตั้งอาณานิคม ในอดีต เจ้าอาณานิคมมักส่งคณะบุกเบิกไปตั้งอาณานิคมในดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ กรณีที่สองคือการเข้ายึดครองดินแดนซึ่งเดิมอาจเคยเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของตนเองมาก่อน หรืออาจมีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ก่อน อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์หลักของการมีอาณานิคม คือการแสวงหาทรัพยากรและผลประโยชน์ป้อนแก่แผ่นดินบ้านเกิดของเจ้าอาณานิคมที่เรียกว่า "แผ่นดินแม่" อาณานิคมไม่เหมือนกับ รัฐหุ่นเชิด หรือ รัฐบริวาร เนื่องจากอาณานิคมไม่ได้มีฐานะเป็น รัฐ จึงไม่มีจุดยืนในเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากฝ่ายบริหารสูงสุดของอาณานิคม ยังคงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแผ่นดินแม่ ในปัจจุบัน อาณานิคมที่มีอยู่ทั้งหมดเป็นอาณานิคมโพ้นทะเล รัฐบาลกลางบางประเทศ อาจยินยอมให้อาณานิคมมีรัฐบาลเป็นของตนเองซึ่งเป็นการลดภาระของรัฐบาลกลาง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลอาณานิคมจะดูแลทุกอย่างภายในอาณานิคม ด้านกฎหมาย, การคลัง, กลาโหม, ต่างประเทศ ยังคงถูกกำหนดจากรัฐบาลกลาง.

ใหม่!!: ธงชาติหมู่เกาะคุกและอาณานิคม · ดูเพิ่มเติม »

เครือจักรภพ

รือจักรภพ (commonwealth) เป็นคำภาษาอังกฤษเดิมใช้กับชุมชนการเมืองที่ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ร่วมกัน ในอดีต บางครั้งคำนี้สมนัยกับ "สาธารณรัฐนิยม" ภายหลังคำนี้ใช้กับสมาคมรัฐเอกราช ที่โดดเด่นที่สุด คือ เครือจักรภพแห่งชาติ สมาคมสำหรับอดีตสมาชิกจักรวรรดิอังกฤษเป็นหลัก มักเรียกย่อเป็น "เครือจักรภพ".

ใหม่!!: ธงชาติหมู่เกาะคุกและเครือจักรภพ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »