โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียต

ดัชนี ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียต

งชาติสาธารณรัฐโซเวียต (Флаги союзных республик СССР; Flags of the Soviet Republicsเป็นธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีทอง ซึ่งหมายถึงลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือได้ว่ามีรูปแบบที่ใกล้เคียงกับธงชาติสหภาพโซเวียตมาก ตารางธงเบื้องล่างนี้ แสดงภาพธงชาติของบรรดาสาธารณรัฐโซเวียตต่างๆ ที่ใช้สืบมาจนถึงการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ใน พ.ศ. 2534.

53 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2534การล่มสลายของสหภาพโซเวียตลัทธิคอมมิวนิสต์สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัสสหประชาชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจานสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบกสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิกสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิชสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมนสีทองสีแดงธงชาติยูเครนธงชาติรัสเซียธงชาติลัตเวียธงชาติลิทัวเนียธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัสธงชาติสหภาพโซเวียตธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนียธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนียธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจานธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบกธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิกธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิชธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัคธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนียธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมนธงชาติสาธารณรัฐคาเรเลียธงชาติอาร์มีเนียธงชาติอาเซอร์ไบจานธงชาติอุซเบกิสถานธงชาติจอร์เจียธงชาติทาจิกิสถานธงชาติคาซัคสถานธงชาติคีร์กีซสถานธงชาติเบลารุส...ธงชาติเอสโตเนียธงชาติเติร์กเมนิสถานค้อนเคียว ขยายดัชนี (3 มากกว่า) »

พ.ศ. 2534

ทธศักราช 2534 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1991 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและพ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตถูกยุบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 ตามปฏิญญาหมายเลข 142-เอชแห่งสภาโซเวียตแห่งสาธารณรัฐ (Soviet of the Republics)Declaration № 142-Н of the Soviet of the Republics of the Supreme Soviet of the Soviet Union, formally establishing the dissolution of the Soviet Union as a state and subject of international law.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและการล่มสลายของสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย

หพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (date|r.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัส

หพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัส (Закавказская Советская Федеративная Социалистическая Республика – ЗСФСР) เป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตตั้งแต่ในปี..

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัส · ดูเพิ่มเติม »

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย (Moldavian Soviet Socialist Republic; มอลโดวา/Република Советикэ Сочиалистэ Молдовеняскэ; Молда́вская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งของสหภาพโซเวียต นับตั้งแต่การประกาศอำนาจอธิปไตยเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1990 จนถึงการประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1991 สาธารณรัฐแห่งนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลโดวา (Soviet Socialist Republic of Moldova) และเมื่อได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการจึงเปลี่ยนชื่อเป็น สาธารณรัฐมอลโดวา สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1940 โดยรวมพื้นที่บางส่วนของเบสซาเรเบีย (ภูมิภาคของโรมาเนียที่ถูกผนวกเข้ากับสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ปีเดียวกัน) เข้ากับสาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย (Moldavian Autonomous Soviet Socialist Republic) ซึ่งในขณะนั้นเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองแห่งหนึ่งในเขตสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน หมวดหมู่:สาธารณรัฐโซเวียต หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (ชื่อย่อ: Ukrainian SSR) หรือ ยูเครน (Українська Радянська Соціалістична Республіка, Українська РСР; Украинская Советская Социалистическая Республика, Украинская ССР) หรือ โซเวียตยูเครน เป็นรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่มีประชาธิปไตย (ข้อ 68 รัฐธรรมนูญแห่งยูเครนปี 1978) และเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต ก่อตั้งขึ้นในปี 1922 (สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1919) และล่มสลายในปี 1991 แม้สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจะเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การสหประชาชาติที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในทางปฏิบัติแล้ว ไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไรในกิจการต่างประเทศ ซึ่งถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยทางการมอสโก ในการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและเปเรสตรอยกา สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนถูกแปลงเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ยูเครน แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของยูเครนได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1996.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย (Latvian Soviet Socialist Republic; Latvijas Padomju Sociālistiskā Republika; Латви́йская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียถูกจัดตั้งเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย (Հայկական Սովետական Սոցիալիստական Հանրապետություն, Армя́нская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นสาธารณรัฐหนึ่งในจำนวนสิบห้าสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนียก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน (Азәрбајҹан Совет Сосиалист Республикасы, Azərbaycan Sovet Sosialist Respublikası; Азербайджанская Советская Социалистическая Республика, Azerbaydzhanskaya Sovetskaya Sotsialisticheskaya Respublika)เป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต และล่มสลายในปี 1991.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก (Uzbek Soviet Socialist Republic; Ўзбекистон Совет Социалистик Республикаси, O'zbekiston Sovet Sotsialistik Respublikasi; Узбе́кская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1924 และในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991 ได้กลายเป็นรัฐเอกราชโดยเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน" หมวดหมู่:สาธารณรัฐโซเวียต หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์อุซเบกิสถาน.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย คือหนึ่งในสาธารณรัฐที่ประกอบเป็นประเทศสหภาพโซเวียต ปัจจุบันคือประเทศจอร์เจีย ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) ซึ่งต่อมาตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม..

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก (Tajik SSR; Республикаи Советии Социалистии Тоҷикистон; Таджикская Советская Социалистическая Республика) เป็นรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่มีประชาธิปไตย และเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1929 และล่มสลายในปี 1991โดยเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "สาธารณรัฐทาจิกีสถาน" หมวดหมู่:สาธารณรัฐโซเวียต หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ทาจิกิสถาน.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช (Karjalais-suomalainen sosialistinen neuvostotasavalta; Каре́ло-Фи́нская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตมาตั่งแต่ปี 1940 จนถูกผนวกกลับเข้าไปในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียในปี 1956 และลดสถานะเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียตคาเรลียาจนล่มสลายในปี 1991 และแทนที่โดยสาธารณรัฐคาเรลียาในปัจจุบัน หมวดหมู่:สาธารณรัฐโซเวียต หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซ

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซ (Kirghiz SSR; Кыргыз Советтик Социалисттик Республикасы; Киргизская Советская Социалистическая Республика),ป็นรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่มีประชาธิปไตย และเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1936 และล่มสลายในปี 1991โดยเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "สาธารณรัฐคีร์กีซสถาน" หมวดหมู่:สาธารณรัฐโซเวียต หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์คีร์กิซสถาน.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (Byelorussian Soviet Socialist Republic; Белару́ская Саве́цкая Сацыялісты́чная Рэспу́бліка; Белору́сская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต หลังการประกาศเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนเบลารุสเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 กลุ่มบอลเชวิคจากสหภาพโซเวียตได้เข้ายึดครองดินแดนเบลารุสและประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตสังคมนิยมเบียโลรัสเซีย (Socialist Soviet Republic of Byelorussia) ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1919 ต่อมาสาธารณรัฐแห่งนี้ถูกยุบและแยกพื้นที่ไปรวมกับสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย-เบลารุส แต่ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่อีกครั้งในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1920 โดยใช้ชื่อว่า "สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย" สาธารณรัฐสังคมนิยมเบียโลรัสเซียเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพโซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1922 ร่วมกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน, สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคเชีย และสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย เบียโลรัสเซียเป็นหนึ่งในสาธารณรัฐหลายแห่งในสหภาพโซเวียตที่ถูกเยอรมนีนาซียึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1945 ร่วมกับชาติอื่น ๆ รวมทั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนและสหภาพโซเวียตอีกด้วย จุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียมาถึงในปี ค.ศ. 1991 เมื่อสาธารณรัฐแห่งนี้กลายเป็นรัฐเอกราชและเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐเบลารุส เบียโลรัสเซีย หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป หมวดหมู่:อดีตรัฐสมาชิกสหประชาชาติ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2462 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2463.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย (Estonian Soviet Socialist Republic; Eesti Nõukogude Sotsialistlik Vabariik; Эсто́нская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียตโดยได้รับการบริหารจากรัฐบาลกลางของสหภาพ ในขั้นแรก สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนียถูกจัดตั้งขึ้นในดินแดนของสาธารณรัฐเอสโตเนียเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน (เติร์กเมนТүркменистан Совет Социалистик Республикасы, Türkmenistan Sowet Sotsialistik Respublikasy;รัสเซียТуркменская Советская Социалистическая Республика, Turkmenskaya Sovetskaya Sotsialisticheskaya Respublika) หรือ โซเวียตเติร์กเมน เป็นรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่มีประชาธิปไตย และเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต ก่อตั้งขึ้นในปี 1922 (สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมนก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1921 และล่มสลายในปี 1991.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน · ดูเพิ่มเติม »

สีทอง

สีทอง เป็นสีเหลืองแกมส้ม และเป็นสีของทองคำในธรรมชาติ ทอง.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสีทอง · ดูเพิ่มเติม »

สีแดง

ีแดง คือสีมีความถี่ของแสงที่ต่ำที่สุด ที่ตามนุษย์สามารถแยกแยะได้ แสงสีแดงมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 630-760 นาโนเมตร สีแดงเป็นสีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง จัดเป็น 1 ในแม่สี 3 สี ร่วมกับสีเขียว, สีน้ำเงิน.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและสีแดง · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติยูเครน

งชาติยูเครน (державний прапор України; ถอดเป็นอักษรโรมัน: derzhavnyy prapor Ukrayiny) มีต้นกำเนิดจากธงชาติในสมัยการปกครองระยะสั้นๆ ของสาธารณรัฐประชาชนยูเครนในปี..

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติรัสเซีย

งชาติสหพันธรัฐรัสเซีย มีลักษณะเป็นธงสามสี รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งเป็น 3 แถบ ความกว้างเท่ากัน เรียงเป็นสีขาว-น้ำเงิน-แดง จากบนลงล่างตามลำดับ ธงนี้เริ่มใช้ครั้งแรกเป็นธงสำหรับเรือค้าขายและเรือรบ (ธงนาวี) และได้ประกาศใช้เป็นธงอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2439 มีชื่อว่า "Триколор" หรือ "Trikolor" แปลว่า ธงสามสี กล่าวกันว่า แบบของธงที่ใช้อยู่ในทุกวันนี้มีต้นแบบมาจากธงชาติเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นต้นเค้าของธงสามสีแบบต่างๆ ในโลก ธงนี้ได้ใช้เป็นธงของรัฐบาลรัสเซียเฉพาะกาล หลังการล้มล้างราชบัลลังก์พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ในเหตุการณ์การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460) จนถึงเหตุการณ์การปฏิวัติเดือนตุลาคมโดยพรรคบอลเชวิคในปีเดียวกัน ซึ่งนำไปสู่การปกครองรัสเซียโดยพรรคบอลเชวิค และการสถาปนาสหภาพโซเวียต รัฐคอมมิวนิสต์แห่งแรกของโลก ในช่วงเวลาดังกล่าวธงชาติรัสเซียแบบสามสีได้ถูกแทนที่ด้วยธงชาติแบบคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งก่อนหน้าการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) เพียงเล็กน้อย ธงสามสีจึงได้ถูกนำมาใช้เป็นธงชาติรัสเซียอีกครั้ง เพื่อเป็นธงชาติของสหพันธรัฐรัสเซียที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ แบบของธงชาติรัสเซียที่ใช้อยู่ในธงวันนี้มีลักษณะแตกต่างจากธงที่เริ่มใช้ใน..

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติลัตเวีย

งชาติลัตเวีย เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นเป็นแถบสีแดงเข้มอย่างสีเลือดหมู ที่กลางธงมีแถบแนวนอนสีขาว กว้างเป็น 1 ใน 5 ส่วนของความกว้างธง เดิมธงนี้เป็นธงชาติลัตเวียสมัยได้รับเอกราชครั้งแรกในปี พ.ศ. 2461 (แต่ได้รับรองอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2465) ต่อมาลัตเวียถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2483 ธงนี้จึงได้เลิกใช้นานหลายสิบปี จนกระทั่งเมื่อประเทศได้รับเอกราชอีกครั้งในปี พ.ศ. 2534 จึงได้มีการนำธงนี้กลับมาใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 แต่แท้จริงแล้วประวัติของธงนี้มีความเป็นมาที่ยาวนานตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 หรือในช่วงยุคกลางของยุโรป ส่วนที่มาสีในธงชาตินั้นมาจากตำนานที่กล่าวถึงผืนผ้าซึ่งเปื้อนเลือดของผู้นำนักรบชาวลัตเวี.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติลัตเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติลิทัวเนีย

งชาติลิทัวเนีย มีลักษณะเป็นธงสามสีแบ่งตามแนวนอน พื้นสีเหลือง สีเขียวและสีแดง เรียงจากบนลงล่าง ความกว้างแต่ละแถบเท่ากัน ธงนี้เริ่มใช้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2532 ซึ่งเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและการประกาศเอกราช ก่อนหน้านี้ธงนี้เคยใช้เป็นธงชาติลิทัวเนียในช่วงปี..

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย

งราชการของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย มีลักษณะเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าพื้นแดง (หมายถึงธงแดงรูปค้อนเคียวของสหภาพโซเวียต) มีแถบสีฟ้าที่ด้านติดคันธงยาวตลอดด้านกว้างของธง โดยแถบนี้กว้างหนึ่งในแปดส่วนของด้านยาวของธง.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัส

งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคเชีย ธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัส ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ในช่วงกลางทศวรรษที่พ.ศ. 2473.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัส · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสหภาพโซเวียต

งชาติสหภาพโซเวียต ประกอบด้วยพื้นธงสีแดงและรูปค้อนเคียวบนขอบธงด้านซ้ายบน สีแดงแสดงถึงสีของพรรคคอมมิวนิสต์ และระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ส่วนค้อนเคียวแสดงถึงชนชั้นกรรมาชีพ อันเป็นชนชั้นที่สำคัญที่สุดในระบอบคอมมิวนิสต์ ธงค้อนเคียวดาวแดงแบบแรกสุดประกาศใช้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 รัฐบัญญัติเกี่ยวกับธงฉบับใหม่ได้ออกบังคับใช้ ให้มีการแก้ไขรูปค้อนเคียวในธงเล็กน้อย โดยแก้ให้ด้ามค้อนยาวขึ้นและเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเคียวใหม่ ครั้งสุดท้ายที่มีการแก้ไขธงคือในปี พ.ศ. 2523 ได้แก้ให้พื้นสีแดงในธงสว่างขึ้นและได้ใช้ต่อมาจนถึงการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในวันที่ 25 ธันวาคมในปี พ.ศ. 2534เมื่อเวลา 19.32 น. มีการลดธงชาติสหภาพโซเวียตลงจากเครมลินเป็นครั้งสุดท้ายและแทนที่ด้วยธงไตรรงค์ของรัสเซี.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย

งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปค้อนเคียวสีทองและดาวแดงขอบทองตามอย่างธงชาติสหภาพโซเวียต ที่กลางธงมีแถบสีเขียวพาดยาวตามแนวนอน กว้างเป็น 2 ใน 8 ของความกว้างธง ธงนี้รัฐบาลสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียกำหนดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2495 ภายหลังสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียแยกตัวเป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียต และสถาปนาประเทศใหม่ในชื่อประเทศมอลโดวา ในปี พ.ศ. 2534 แล้ว ดินแดนทรานส์นีสเตรียบางส่วนไม่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของมอลโดวา จึงยังคงใช้ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียเป็นสัญลักษณ์ของตนเองต่อไป.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน

23x15px ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (พ.ศ. 2492–2534) ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน มีลักษณะคล้ายธงชาติสหภาพโซเวียต กล่าวคือ เป็นธงแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปค้อนเคียวสีทองและดาวแดงขอบทอง แต่ที่ตอนล่างของธงนั้นมีแถบสีฟ้า กว้าง 1 ใน 3 ของความกว้างธงทั้งหมด รูปค้อนเคียวและดาวแดงนั้นประดับไว้เฉพาะที่ธงด้านหน้าเท่านั้น ธงดังกล่าวมานี้ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 นับเป็นธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนแบบสุดท้ายที่ใช้มาจนถึงการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2534 หลังจากนั้นยูเครนจึงได้ประกาศเอกราชและเปลี่ยนธงชาติใหม่เป็นธงชาติยูเครนในปัจจุบัน ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนเริ่มปรากฏครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2462 ลักษณะเป็นธงสีแดง มีอักษรซีริลลิกย่อนามประเทศว่า УССР (เทียบเป็นอักษรโรมันคือ USSR โดยย่อมาจากชื่อประเทศในภาษารัสเซียว่า Ukrayinskaya Sotsialisticheskaya Sovetskaya Respublika) ธงลักษณะดังกล่าวได้ใช้สืบมาหลายปีโดยมีการแก้ไขรายละเอียดเล็กน้อยเกี่ยวกับแบบอักษรในปี พ.ศ. 2465 และ พ.ศ. 2470 ในเวลาถัดมาจึงได้มีการเพิ่มกรอบสี่เหลี่ยมสีทองล้อมอักษรย่อนามประเทศไว้ด้วย ในปี..

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย

งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย ธงผืนนี้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2496 มีลักษณะเป็นธงพื้นสีแดง ที่มุมบนธงมีรูปค้อนเคียวกับดาวแดงขอบเหลือง มีแถบคลื่นสีน้ำเงินโดยมีแถบเล็กสีขาว-น้ำเงิน-ขาว วางซ้อน ซึ่งแถบสีที่ได้กล่าวมาแล้ว วางที่ด้านล่างสุดของธง.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย

งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย (พ.ศ. 2496–พ.ศ. 2532). ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม, พ.ศ. 2496.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย

งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย. ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่17 ธันวาคม, พ.ศ. 2495.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน

งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย. ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่17 ธันวาคม, พ.ศ. 2495.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก

งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก เป็นธงชาติของอุซเบกิสถานในสมัยที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต ประกาศใช้อย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก (Uzbek Soviet Socialist Republic) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2495 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีแดง กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน กลางธงมีแถบสีฟ้าขอบสีขาวพาดผ่าน ที่มุมบนด้านคันธงมีรูปค้อนเคียวไขว้และดาวแดงห้าแฉกขอบสีทอง อันเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการคอมมิวนิสต์สากล ความหมายของสัญลักษณ์ในธง คือ สีแดง หมายถึงการต่อสู้เพื่อการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ สีฟ้า หมายถึงผืนฟ้าในอุซเบกโซเวียต สีขาว หมายถึงฝ้าย อันเป็นทรัพยากรหลักของประเทศ ค้อนเคียว หมายถึงการร่วมมือกันระหว่างกรรมกรกับชาวนา ดาวแดง หมายถึง ชั้นกรรมาชี.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก

งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก มีลักษณะเป็นธงแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน กลางธงมีแถบใหญ่สีขาวและแถบเล็กสีเขียวพาดผ่านตามแนวนอน ที่มุมบนด้านคันธงมีรูปค้อนเคียวไขว้และดาวแดงห้าแฉกขอบสีทอง อันเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการคอมมิวนิสต์สากล ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2496 และได้ใช้มาจนถึงการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2534 ประวัติความเป็นมาของธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตธงนี้มีความเป็นมาที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงแบบธงมาหลายครั้ง โดยเริ่มแรกสุด สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิกเริ่มคิดธงชาติแบบแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2468 แต่ได้ประกาศใช้จริงเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2472 ลักษณะเป็นธงพื้นสีแดงมีรูปตราแผ่นดินที่มุมธงด้านคันธง 2 ปีต่อมา ใน พ.ศ. 2474 ได้มีการเปลี่ยนแปลงธงใหม่ตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ของปีนั้น โดยเปลี่ยนมาใช้รูปอักษรย่อนามประเทศเป็นอักษรลาตินสีทอง ภาษาทาจิก ที่มุมบนด้านคันธง ความว่า ÇSS Toçikiston ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2478 อักษรย่อนามประเทศในภาษารัสเซีย เขียนด้วยอักษรซีรีลลิก จึงถูกเพิ่มเข้ามาในธง ในบริเวณตอนล่างของอักษรย่อเดิม ความว่า Таджикская ССР (Tadzhikskaya SSR) ปี พ.ศ. 2480 มีการเพิ่มรูปค้อนเคียวไว้เหนืออักษรย่อนามประเทศ และรูปอักษรมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยคำย่อตอนบนซึ่งเป็นอักษรและภาษาละติน มีใจความว่า RSS Toçikiston ส่วนตอนล่างซึ่งเป็นอักษรซีริลลิกยังคงมีลักษณะเช่นเดิม แบบธงดังกล่าวนี้ได้ใช้ต่อมาจนถึงช่วงทศวรรษที่ 1940 (พุทธทศวรรษที่ 2483) จึงได้เปลี่ยนอักษรย่อนามประเทศในธงทั้งหมดให้เป็นอักษรซีรีลลิกแบบไม่มีเชิง โดยอักษรย่อแถวบนมีข้อความภาษาทาจิก ความว่า РСС Тоҷикистон (RSS Tojikiston) ส่วนตอนล่างเป็นภาษารัสเซีย ความว่า Таджикская ССР (Tadzhikskaya SSR) แบบธงนี้ได้ใช้ต่อมาจนกระทั่งมีการเปลี่ยนธงครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. 2496.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช

งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช ที่ตั้งของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล - ฟินนิช ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช มีลักษณะเป็นธงแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปค้อนเคียวและดาวแดงอย่างธงชาติสหภาพโซเวียต ตอนล่างของธงเป็นแถบสีฟ้าและแถบสีเขียวพาดไปตามความยาวของธง เรียงลำดับจากบนลงล่าง แต่ละแถบกว้างประมาณ 1 ใน 5 ของส่วนกว้างของธง ธงดังกล่าวนี้เริ่มใช้เมื่อ ค.ศ. 1953 และเลิกใช้ในปี ค.ศ. 1956 จากการยุบเลิกสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิชโดยสหภาพโซเวียต เมื่อมีการยกฐานะสาธารณรัฐปกครองตนเองคาเรเลียขึ้นเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิชในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1940 ได้มีการออกแบบธงประจำดินแดนขึ้นใหม่ โดยมีลักษณะเป็นธงแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปค้อนเคียวและอักษรบอกนามประเทศ 2 แถว แถวบนเป็นอักษรละติน ภาษาฟินแลนด์ ใจความว่า Karjalais-Suomalainen SNT (ย่อจาก Karjalais-Suomalainen Sosialistinen Neuvostotasavalta) แถวล่างเป็นภาษารัสเซีย อักษรซีริลลิก ใจความว่า Карело-Финская ССР (ย่อจาก (Карело-Финская Советская Социалистическая Республика) รูปดังกล่าวทั้งหมดเป็นสีเหลืองทอง ในปี ค.ศ. 1947 ได้มีผู้ออกแบบธงสำหรับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิชขึ้นใหม่ โดยมีลักษณะเป็นธงแดงรูปค้อนเคียวและดาวแดง ใต้รูปดังกล่าวมีอักษรย่อ 2 แถว เป็นใจความว่า K.-S.S.N.T. และ К.-Ф.С.С.Р. ตอนล่างของธงมีแถบสีฟ้าขนาดใหญ่และแถบสีเขียวขนาดเล็กพาดผ่านตามแนวนอน ในแถบสีฟ้านั้นมีรูปต้นไม้ขนาดเล็กสีดำ 20 ต้น วางเรียงรายไปตามแถบนั้น ธงดังกล่าวแม้จะไม่มีการใช้จริง แต่ก็มีการสันนิษฐานว่าธงนี้อาจมีอิทธิพลในการออกแบบธงชาติแบบสุดท้ายใน ค.ศ. 1953 ก็ได้ เนื่องจากลักษณะรูปแบบของธงนั้นคล้ายคลึงกันมาก.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค

งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค เป็นชื่อของธงชาติคาซัคสถาน ในสมัยที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต แบบธงที่ใช้ครั้งสุดท้ายจนถึงการได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2534 เป็นแบบที่รัฐบาลประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2496 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีแดง กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน กลางธงมีแถบสีฟ้าพาดผ่าน ที่มุมบนด้านคันธงมีรูปค้อนเคียวไขว้และดาวแดงห้าแฉกขอบสีทอง อันเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการคอมมิวนิสต์สากล แต่เดิมแล้ว คาซัคโซเวียตได้เริ่มใช้ธงชาติของตนเป็นครั้งแรก ในช่วง พ.ศ. 2480 โดยเป็นธงแดงมีรูปค้อนเคียวไขว้ที่มุมธงด้านคันธง ที่ตอนล่างของรูปดังกล่าวมีอักษรย่อนามประเทศ เขียนด้วยอักษรโรมันและอักษรซีริลลิกสีทองว่า QAZAQ SSR และ КАЗАХСКАЯ ССР (ถ่ายรูปอักษรโรมันได้ว่า KAZACHSKAJA SSR) ต่อมาใน พ.ศ. 2496 จึงเปลี่ยนตัวอักษรในธงใหม่ เป็นอักษรซีรีลลิกแบบไม่มีเชิงสีทอง ความว่า Казак ССР (Kazak SSR) และ Казахская ССР (Kazachskaja SSR) และเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ให้อยู่ข้างรูปค้อนเคียวแทน ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงธงครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. 2496.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย

งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย เป็นธงที่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1951 (พ.ศ. 2494) จนถึงการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) มีลักษณะดังความที่บรรยายในประกาศแบบธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย ลงวันที่ 25 ธันวาคม..

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย

งชาติสาธารัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย สัดส่วน: 1:2 ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย ประกาศใช้โดยสาธารัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 ธงพื้นสีแดง ที่มุมบนธงมีรูปค้อนเคียวกับดาวแดงขอบเหลือง มีแถบคลื่นซึ่งปลายแหลมของคลื่นชี้ขึ้นบน โดยสีนำงินโดยมีแถบเล็กสีขาว-นำเงิน-ขาว วางซ้อน ซึ่งแถบสีวางที่ด้านล่างธง.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน

งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมนเริ่มใช้ครั้งแรกในช่วงต้นทศวรรษที่ 1930 (พ.ศ. 2473 - 2482) มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับธงชาติสหภาพโซเวียตมาก กล่าวคือ เป็นธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวไขว้สีทองอยู่ที่มุมธงด้านคันธง รูปดังกล่าวนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการคอมมิวนิสต์สากลที่ใช้ทั่วไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 จึงได้มีการเพิ่มอักษรโรมันไว้ที่ใต้รูปค้อนเคียว เป็นอักษรย่อว่า T.S.S.R. ซึ่งเป็นชื่อย่อของประเทศ และได้รับรองให้ใช้ได้ในช่วงทศวรรษที่ 1940 (พ.ศ. 2483 - 2492) หลังจากนั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงอักษรย่อในธงอีกครั้ง เป็นอักษรซีริลลิก ความว่า ТССР ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกับอักษรย่อแบบโรมันตัวเดิม ธงนี้ได้ใช้มาจนกระทั่งในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2496 รัฐบาลของเติร์กเมนโซเวียตจึงแก้ไขแบบธงชาติเป็นครั้งสุดท้าย โดยมีลักษณะเป็นธงพื้นสีแดง มีแถบสีฟ้า 2 แถบพาดผ่านกลางธงตามแนวนอน ที่มุมธงด้านคันธงเป็นรูปค้อนเคียวไขว้สีทอง และดาวแดงห้าแฉกขอบสีทอง ดังที่ปรากฏในบทความนี้ ธงดังกล่าวได้ใช้เป็นธงชาติเติร์กเมนโซเวียตสืบมา จวบจนถึงการประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2534.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐคาเรเลีย

งชาติสาธารณรัฐคาเรลียา ธงชาติสาธารณรัฐคาเรเลีย (สาธารณรัฐปกครองตนเองของประเทศรัสเซีย) มีลักษณะเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นแถบแนวนอนสามสี ได้แก่ สีแดง สีฟ้า และสีเขียว แต่ละแถบนั้นกว้างเท่ากัน.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติสาธารณรัฐคาเรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติอาร์มีเนีย

งชาติอาร์มีเนีย หรือ ธงไตรรงค์อาร์มีเนีย (եռագույն, Erraguyn) เป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ภายในแบ่งเป็นแถบ 3 แถบ ตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน ประกอบด้วย สีแดง สีน้ำเงิน และสีส้ม ตามลำดับจากบนลงล่าง สภาโซเวียตสูงสุดแห่งอาร์มีเนียได้รับรองเป็นธงชาติเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ส่วนกฎหมายว่าด้วยธงชาติฉบับปัจจุบัน ได้ผ่านการรับรองจากสภาแห่งชาติอาร์มีเนียเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ตามประวัติศาสตร์อาร์มีเนีย ได้มีการใช้ธงต่างๆ เป็นสัญลักษณ์ของอาร์มีเนียจำนวนมาก ดังเช่นในสมัยโบราณ ราชวงศ์ของอาร์มีเนียได้ใช้ธงรูปสัตว์ต่างๆ เป็นสัญลักษณ์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาร์มีเนียอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต ธงของสหภาพโซเวียตก็ได้มีการนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศอาร์มีเนียอยู่หลายแบบด้ว.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติอาร์มีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติอาเซอร์ไบจาน

งชาติอาเซอร์ไบจาน (Azərbaycan bayrağı) เป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ภายในแบ่งตามแนวนอนเป็นสามแถบ แต่ละแถบซึ่งมีความกว้างเท่ากันมีสีฟ้า สีแดง และสีเขียว ตามลำดับจากบนลงล่าง กลางแถบสีแดงมีรูปจันทร์เสี้ยวและดาวแปดแฉกสีขาว ธงดังกล่าวนี้เริ่มใช้ครั้งแรกในระหว่างปี..

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติอาเซอร์ไบจาน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติอุซเบกิสถาน

งชาติอุซเบกิสถาน (ГОСУДАРСТВЕННЫЙ ФЛАГ РЕСПУБЛИКИ УЗБЕКИСТАН; Oʻzbekiston davlat bayrogʻi) เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติอุซเบกิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติจอร์เจีย

งชาติจอร์เจีย (საქართველოს სახელმწიფო დროშა., sakartvelos sakhelmtsipo drosha) ที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่ธงที่มีชื่อเรียกว่า "ธงห้ากางเขน" หรือ "ธงห้ากากบาท" (The five-cross flag) ซึ่งได้นำมาใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2547 หลังธงนี้ได้เลิกใช้มานานถึง 500 ปี ในอดีตธงนี้เป็นธงของอาณาจักรจอร์เจียโบราณในยุคกลางของทวีปยุโรป และเคยใช้เป็นสัญลักษณ์ของพรรคการเมืองจอร์เจียที่มีชื่อว่า พรรคขบวนการเอกภาพแห่งชาติ หรือพรรค ENM (ย่อมาจาก Ertiani Natsionaluri Modzraoba).

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติจอร์เจีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติทาจิกิสถาน

งชาติทาจิกิสถาน (Парчами Тоҷикистон, /پرچم تاجیکستان) ประกาศใช้ธงผืนใหม่ของตนเองในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 และนับเป็นประเทศสุดท้ายในบรรดารัฐที่แยกตัวจากสหภาพโซเวียต ที่ประกาศใช้ธงชาติของตนเอง ลักษณะของธงเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นแถบแนวนอน สีแดง-ขาว-เขียว มีอัตราส่วนความกว้างต่อแถบเป็น 1:2:1 กลางแถบสีขาวนั้น มีรูปมงกุฎล้อมด้วยดาวห้าแฉก 7 ดวง รูปเหล่านี้เป็นสีทอง สีของธงชาติทาจิกิสถานในปัจจุบันนี้ มีลักษณะที่เชื่อมโยงกับธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมทาจิกโซเวียต (ทาจิกิสถานภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต) กล่าวคือ ใช้ธงสีแดง-ขาว-เขียว เช่นเดียวกัน (โปรดดูภาพประกอบ) ส่วนสีธงในปัจจุบันมีนิยามความหมายดังนี้.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติทาจิกิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติคาซัคสถาน

งชาติคาซัคสถาน (Қазақстан байрағы) เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2535 หลังจากได้รับเอกราชจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2534 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีฟ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน กลางธงมีรูปนกอินทรีบิน หันหน้าไปทางมุมธงด้านคันธง ภายใต้ดวงอาทิตย์สีทองมีรัศมี 32 แฉก ที่ด้านคันธงนั้นมีลวดลายอย่างลายหน้ากระดานตามแบบวัฒนธรรมคาซัคสถาน แบบสีธงอย่างมาตรฐานมีดังนี้.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติคาซัคสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติคีร์กีซสถาน

งประจำตำแหน่งประธานาธิบดีคีร์กีซสถาน ธงชาติคีร์กีซสถาน (Кыргыз Республикасынын мамлекеттик туусу Государственный флаг Киргизской Республики) เริ่มใช้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2535 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 3 ส่วน ยาว 5 ส่วน พื้นสีแดง หมายถึงสันติภาพ และความเปิดกว้างในสังคมคีร์กีซสถาน กลางธงที่รูปดวงอาทิตย์มีรัศมี 40 แฉกสีเหลือง หมายถึง ชนชาติต่างๆ ในประเทศนี้ทั้ง 40 ชนชาติ หรืออาจหมายถึงวีรบุรุษในมหากาพย์ของคีร์กีซสถาน เรื่อง มานาส (Manas) ทั้ง 40 คน ปลายโค้งของรัศมีดวงอาทิตย์นั้น เมื่อมองจากทางด้านหน้าธงจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา และเมื่อมองทางด้านหลังจะเป็นหมุนตามเข็มนาฬิกา ในรูปดวงอาทิตย์นั้น เป็นวงแหวนสีแดง 3 เส้น 2 วง ตัดกันที่ศูนย์กลางดวงอาทิตย์ หมายถึง ตุนดุก (tunduk, อักษรซีริลลิก: түндүк) หรือ ส่วนยอดของกระโจมตามแบบวัฒนธรรมคีร์กีซ.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติคีร์กีซสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเบลารุส

งชาติเบลารุส แบบที่ใช้อยู่ปัจจุบันนั้น เริ่มบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2538 หลังจากการลงประชามติเพื่อเลือกแบบธงชาติเบลารุสในเดือนประชาชนในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน ธงที่ใช้อยู่นี้ใช้แทนธงชาติเดิมในปี พ.ศ. 2461 สมัยที่ใช้ชื่อประเทศว่าสาธารณรัฐประชาชนเบลารุส ก่อนที่ประเทศเบลารุสจะมีฐานะเป็นสาธารณรัฐโซเวียต ขึ้นตรงต่อสหภาพโซเวียต ต่อมาเมื่อประเทศได้รับเอกราชก็ได้ใช้ธงในยุคดังกล่าวอีกครั้ง ธงแบบปัจจุบันนี้เป็นการดัดแปลงจากธงชาติสมัยสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียเพียงเล็กน้อย โดยยกเอารูปค้อนเคียวและดาวแดงออก ซึ่งธงขององค์กรและหน่วยงานราชการต่างๆ ในเบลารุสหลายแห่งล้วนดัดแปลงจากรูปแบบของธงชาติด้วย อย่างในก็ตาม ยังมีคนบางกลุ่มที่ใช้ธงสีพื้นขาวและแดงเป็นเครื่องหมายในการต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโค แม้ว่าธงดังกล่าวนี้ถือเป็นธงต้องห้ามในประเทศเบลารุสก็ตาม.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติเบลารุส · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเอสโตเนีย

งชาติเอสโตเนีย เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 7 ส่วน ยาว 11 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นแถบแนวนอน 3 แถบ แต่ละแถบนั้นกว้างเท่ากัน เรียงเป็นแถบสีฟ้า สีดำ และสีขาวจากบนลงล่าง (ธงชาติเอสโตเนียขนาดมาตรฐานนั้นกว้าง 105 เซนติเมตร ยาว 165 เซนติเมตร) ธงนี้มีชื่อเรียกเฉพาะในภาษาเอสโตเนียว่า "sinimustvalge" แปลว่า "ธงฟ้า-ดำ-ขาว" ตามสีที่ปรากฏบนธงชาต.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติเอสโตเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเติร์กเมนิสถาน

งชาติเติร์กเมนิสถาน (Флаг Туркмении; Türkmenistanyň baýdagy) แบบที่ใช้อยู่ในขณะนี้ เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2544 กล่าวกันว่า ธงนี้เป็นธงชาติที่มีรายละเอียดในธงมากที่สุดในโลก ลักษณะของธงนี้ เป็นธงพื้นสีเขียว ที่ใกล้ด้านคันธงนั้นคั่นด้วยแถบสีแดงตามแนวตั้ง ภายในมีลวดลายพรมอย่างที่เรียกว่า กุล (Gul) วางเรียงกันจากบนลงล่าง รวม 5 ลาย เบื้องล่างล้อมด้วยช่อใบมะกอกไขว้ ถัดออกไปจากแถบสีแดงทางด้านปลายธงตอนบนนั้น มีรูปจันทร์เสี้ยวข้างขึ้นและดาวห้าแฉก 5 ดวง รูปเหล่านี้เป็นสีขาว เหตุที่เลือกใช้สีเขียวและและสีแดงในธงชาตินี้ เป็นเพราะว่าสีดังกล่าวเคยใช้เป็นสีศักดิ์สิทธิ์ในประวัติศาสตร์ชาวเติร์ก ส่วนรูปจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น มีนัยความหมายถึงความหวังในอนาคตอันสดใสของประเทศชาติ และรูปดาว 5 ดวงนั้น เป็นสัญลักษณ์แทนจังหวัดทั้ง 5 แห่ง ของเติร์กเมนิสถาน อันได้แก่ จังหวัดอะฮัล จังหวัดบัลคัน จังหวัดดัชโฮวุซ จังหวัดเลบัป และจังหวัดมารืย ลวดลายทั้ง 5 ลายบนแถบสีแดง ซึ่งปรากฏอยู่ในตราแผ่นดินและธงชาติเติร์กเมนิสถาน หมายถึงชนชาติหลัก 5 ชนชาติในประเทศ อันได้แก่ (เรียงลำดับจากบนล่าง) ชาวเตกเก (Teke หรือ Tekke) ชาวโยมุด (Yomut หรือ Yomud) ชาวอาซารี (Arsary หรือ Ersary) ชาวโชว์ดูร์ (Chowdur หรือ Choudur) และชาวซารีก (Saryk หรือ Saryq) ส่วนชาวซาลีร์ (Salyr หรือ Salor) ซึ่งลดบทบาทลงจาการพ่ายแพ้ในสงครามก่อนที่ประเทศจะก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ และชนชาติเล็กอื่นๆ ไม่ปรากฏสัญลักษณ์ใดๆ ในที่นี้ รูปช่อมะกอกที่อยู่ทางเบื้องล่างของลวดลายทั้ง 5 นั้น เป็นส่วนที่ดูแปลกมากส่วนหนึ่งในธงนี้ เพราะเป็นสิ่งที่เพิ่มเข้ามาโดยขัดต่อกฎของวิชาการผูกตราสัญลักษณ์ (Heraldry) สิ่งนี้เพิ่มเข้ามาในภายหลัง เพื่อแทนความหมายว่า ประเทศนี้อยู่ในสถานะเป็นกลางอย่างถาวร (status of permanent neutrality) ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ก่อนหน้าที่ประเทศนี้จะได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2534 ธงของเติร์กเมนิสถานจะมีลักษณะใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต หลังได้รับเอกราชแล้ว จึงได้ประกาศใช้ธงชาติใหม่ที่ลักษณะคล้ายคลึงกับธงชาติในปัจจุบัน ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนแปลงแบบธงอีกครั้งใน พ.ศ. 2540 ก่อนจะเปลี่ยนเป็นธงชาติแบบปัจจุบันใน พ.ศ. 2544 ไฟล์:Flag of Russia.svg|ธงของจักรวรรดิ์รัสเซียเป็นธงผืนแรกของเติร์กเมนิสถาน ธงผืนนี้ใช้มาจนถึงการปฏิวัติรัสเซีย พ.ศ. 2460.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและธงชาติเติร์กเมนิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ค้อนเคียว

รูปค้อนเคียวไขว้ ตามแบบที่ปรากฏในธงชาติสหภาพโซเวียต ค้อนเคียว เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของลัทธิคอมมิวนิสต์ มักใช้เพื่อเป็นเครื่องหมายของลัทธิคอมมิวนิสต์ พรรคคอมมิวนิสต์ หรือรัฐคอมมิวนิสต์ต่างๆ ทั่วโลก โดยปกติแล้วมักทำเป็นรูปค้อนและเคียวไขว้กันดังภาพ ซึ่งเครื่องหมายทั้งสองอย่างนี้ คือสัญลักษณ์บุคคลในชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นชาวนา การนำสัญลักษณ์ทั้งสองอย่างมารวมกัน จึงหมายถึงเอกภาพของแรงงานในภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของสังคมในแบบคอมมิวนิสต์ สัญลักษณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักกันดีจากการที่นำรูปดังกล่าวไปใช้ในธงชาติสหภาพโซเวียต ควบคู่ไปกับรูปดาวแดง และยังถูกนำไปใช้ในธงและตราสัญลักษณ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก รูปสัญลักษณ์ค้อนเคียวในระบบยูนิโคด (Unicode) อยู่ในตำแหน่งรหัส U+262D.

ใหม่!!: ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตและค้อนเคียว · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »