โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธงชัย (โซเวียต)

ดัชนี ธงชัย (โซเวียต)

งชัย (Знамя Победы, ซนาเมียยา โปเบดืย) เป็นธงชัยที่ถูกปักไว้เหนืออาคารไรช์สทัก (Reichstag) เมื่อกองทัพแดงของสหภาพโซเวียตตีกรุงเบอร์ลินแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน..

33 ความสัมพันธ์: บอริส เยลต์ซินพ.ศ. 2488พ.ศ. 2539กองทัพแดงการชูธงที่ไรชส์ทาคกติกาสัญญาวอร์ซอมอสโกยุทธการที่เบอร์ลินวลาดีมีร์ ปูตินวันชัย (9 พฤษภาคม)สหภาพโซเวียตสงครามโลกครั้งที่สองอักษรซีริลลิกอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ธงชาติรัสเซียธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียธงชาติสหภาพโซเวียตธงกองทัพทรานส์นีสเตรียค้อนเคียวประเทศยูเครนประเทศรัสเซียประเทศจอร์เจียนาซีเยอรมนีแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1เบอร์ลินเอฟา เบราน์เครือรัฐเอกราชเครื่องอิสริยาภรณ์คูตูซอฟเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชัย30 เมษายน5 เมษายน

บอริส เยลต์ซิน

อริส นีโคลาเยวิช เยลต์ซิน (Бори́с Никола́евич Е́льцин, Boris Yeltsin, 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 - 23 เมษายน พ.ศ. 2550) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซีย ดำรงตำแหน่งระหว่าง..

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และบอริส เยลต์ซิน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2488

ทธศักราช 2488 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1945 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และพ.ศ. 2488 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2539

ทธศักราช 2539 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1996 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และพ.ศ. 2539 · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพแดง

accessdate.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และกองทัพแดง · ดูเพิ่มเติม »

การชูธงที่ไรชส์ทาค

''การชูธงที่ไรชส์ทาค'', โดย Yevgeny Khaldei การชูธงที่ไรชส์ทาค (Raising a flag over the Reichstag) เป็นภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในช่วงยุทธการที่เบอร์ลินในวันที่ 2 พฤษภาคม 1945 ภาพนี่ยังแสดงให้เห็นว่า สหภาพโซเวียตชนะนาซีเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สอง วันที่ 29 เมษายน..

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และการชูธงที่ไรชส์ทาค · ดูเพิ่มเติม »

กติกาสัญญาวอร์ซอ

กติกาสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) หรือชื่อทางการว่า สนธิสัญญาแห่งไมตรี ความร่วมมือ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Treaty of Friendship, Co-operation, and Mutual Assistance; Договор о дружбе, сотрудничестве и взаимной помощи) บางครั้งเรียกขานอย่างไม่เป็นทางการว่า วอร์แพ็ก (WarPac) เป็นกติกาสัญญาด้านความมั่นคงร่วมกันระหว่างสหภาพโซเวียตกับรัฐบริวารของตนอีกเจ็ดแห่งในยุโรปตอนกลางและตะวันออกระหว่างช่วงสงครามเย็น กติกาสัญญาวอร์ซอเป็นส่วนเพิ่มด้านการทหารของคณะกรรมาธิการเพื่อการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจระหว่างกันหรือ โคเมคอน (Council for Mutual Economic Assistance; CoMEcon) ซึ่งเป็นองค์การทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคสำหรับรัฐคอมมิวนิสต์ในยุโรปตอนกลางและตะวันออก ทั้งนี้กติกาสัญญาวอร์ซอก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบโต้การที่เยอรมนีตะวันตกเข้าร่วมกับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท)"In reaction to West Germany’s NATO accession, the Soviet Union and its Eastern European client states formed the Warsaw Pact in 1955." Citation from: ในปี..

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และกติกาสัญญาวอร์ซอ · ดูเพิ่มเติม »

มอสโก

มอสโก (Moscow; Москва́, มะสฺกฺวา) เป็นเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน การศึกษา และ การเดินทางของประเทศ โดยตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำมัสกวา ซึ่งในตัวเมืองมีประชากรอยู่อาศัยกว่า 1 ใน 10 ของประเทศ ทำให้เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในยุโรป และเมื่อสมัยครั้งที่สหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย กรุงมอสโกก็ยังเป็นเมืองหลวงของสหภาพโซเวียตอีกด้วย ในปี..

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เบอร์ลิน

ทธการที่เบอร์ลิน หรือที่สหภาพโซเวียตตั้งชื่อว่า ปฏิบัติการรุกทางยุทธศาสตร์เบอร์ลิน (Битва за Берлин, Берлинская наступательная операция, Штурм Берлина) เป็นการรุกใหญ่ในช่วงปลายเขตสงครามยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มจากวันที่ 12 มกราคม..

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และยุทธการที่เบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

วลาดีมีร์ ปูติน

วลาดีมีร์ วลาดีมีโรวิช ปูติน (Владимир Владимирович Путин; Vladimir Vladimirovich Putinr) เป็นนักการเมืองชาวรัสเซียผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีรัสเซียคนที่สี่และคนปัจจุบัน เช่นเดียวกับประธานพรรคยูไนเต็ดรัสเซียและประธานสภารัฐมนตรีสหภาพรัสเซียและเบลารุส เขารักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม..

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และวลาดีมีร์ ปูติน · ดูเพิ่มเติม »

วันชัย (9 พฤษภาคม)

วันแห่งชัยชนะหรือ 9 พฤษภาคม เป็นเครื่องหมายการยอมจำนนของนาซีเยอรมนีต่อสหภาพโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง (ในสหภาพโซเวียต เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มหาสงครามของผู้รักชาติ) เริ่มครั้งแรกในสิบหกสาธารณรัฐแห่งสหภาพโซเวียต ให้หลังการลงนามตราสารยอมจำนนในคืนวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 (เป็นเวลาหลังเที่ยงคืน จึงเป็นวันที่ 9 พฤษภาคม ตามเวลามอสโก) รัฐบาลโซเวียตประกาศชัยชนะในเช้าวันที่ 9 พฤษภาคมหลังพิธีลงนามในกรุงเบอร์ลิน แม้วันดังกล่าวเริ่มอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1945 (ซึ่งหมายความว่ามีการเฉลิมฉลองตั้งแต..

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และวันชัย (9 พฤษภาคม) · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อักษรซีริลลิก

ประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิก อักษรซีริลลิก หรือ อักษรซิริลลิก (Cyrillic script) เป็นตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในกลุ่มภาษาสลาวิกนอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในอีกหลายประเทศ แต่ไม่มีอักษรซีริลลิกทุกตัวกับภาษาใด ขึ้นอยู่กับการเขียนในภาษานั้น ในกลุ่มประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิกด้วยกันเอง จะไม่เรียก ซีริล แต่จะออกเสียงว่า คีริล แทน เช่น ในภาษารัสเซียเรียกอักษรซีริลลิกว่า Кириллица คีริลลิซ.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และอักษรซีริลลิก · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติรัสเซีย

งชาติสหพันธรัฐรัสเซีย มีลักษณะเป็นธงสามสี รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งเป็น 3 แถบ ความกว้างเท่ากัน เรียงเป็นสีขาว-น้ำเงิน-แดง จากบนลงล่างตามลำดับ ธงนี้เริ่มใช้ครั้งแรกเป็นธงสำหรับเรือค้าขายและเรือรบ (ธงนาวี) และได้ประกาศใช้เป็นธงอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2439 มีชื่อว่า "Триколор" หรือ "Trikolor" แปลว่า ธงสามสี กล่าวกันว่า แบบของธงที่ใช้อยู่ในทุกวันนี้มีต้นแบบมาจากธงชาติเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นต้นเค้าของธงสามสีแบบต่างๆ ในโลก ธงนี้ได้ใช้เป็นธงของรัฐบาลรัสเซียเฉพาะกาล หลังการล้มล้างราชบัลลังก์พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ในเหตุการณ์การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460) จนถึงเหตุการณ์การปฏิวัติเดือนตุลาคมโดยพรรคบอลเชวิคในปีเดียวกัน ซึ่งนำไปสู่การปกครองรัสเซียโดยพรรคบอลเชวิค และการสถาปนาสหภาพโซเวียต รัฐคอมมิวนิสต์แห่งแรกของโลก ในช่วงเวลาดังกล่าวธงชาติรัสเซียแบบสามสีได้ถูกแทนที่ด้วยธงชาติแบบคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งก่อนหน้าการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) เพียงเล็กน้อย ธงสามสีจึงได้ถูกนำมาใช้เป็นธงชาติรัสเซียอีกครั้ง เพื่อเป็นธงชาติของสหพันธรัฐรัสเซียที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ แบบของธงชาติรัสเซียที่ใช้อยู่ในธงวันนี้มีลักษณะแตกต่างจากธงที่เริ่มใช้ใน..

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และธงชาติรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย

งราชการของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย มีลักษณะเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าพื้นแดง (หมายถึงธงแดงรูปค้อนเคียวของสหภาพโซเวียต) มีแถบสีฟ้าที่ด้านติดคันธงยาวตลอดด้านกว้างของธง โดยแถบนี้กว้างหนึ่งในแปดส่วนของด้านยาวของธง.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสหภาพโซเวียต

งชาติสหภาพโซเวียต ประกอบด้วยพื้นธงสีแดงและรูปค้อนเคียวบนขอบธงด้านซ้ายบน สีแดงแสดงถึงสีของพรรคคอมมิวนิสต์ และระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ส่วนค้อนเคียวแสดงถึงชนชั้นกรรมาชีพ อันเป็นชนชั้นที่สำคัญที่สุดในระบอบคอมมิวนิสต์ ธงค้อนเคียวดาวแดงแบบแรกสุดประกาศใช้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 รัฐบัญญัติเกี่ยวกับธงฉบับใหม่ได้ออกบังคับใช้ ให้มีการแก้ไขรูปค้อนเคียวในธงเล็กน้อย โดยแก้ให้ด้ามค้อนยาวขึ้นและเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเคียวใหม่ ครั้งสุดท้ายที่มีการแก้ไขธงคือในปี พ.ศ. 2523 ได้แก้ให้พื้นสีแดงในธงสว่างขึ้นและได้ใช้ต่อมาจนถึงการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในวันที่ 25 ธันวาคมในปี พ.ศ. 2534เมื่อเวลา 19.32 น. มีการลดธงชาติสหภาพโซเวียตลงจากเครมลินเป็นครั้งสุดท้ายและแทนที่ด้วยธงไตรรงค์ของรัสเซี.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และธงชาติสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

ธงกองทัพ

A knight (Jan I van Brabant) flying a heraldic flag in battle, in addition to the heraldic device displayed on his shield (Codex Manesse, ca. 1304) ธงกองทัพ (ธงทหาร หรือ ธงศึก) มีลักษณะเดียวกับธงชาติ (โดยมากออกแบบเพิ่มเติมจากลักษณะของธงชาติ) สำหรับหน่วยงานราชการกองทั.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และธงกองทัพ · ดูเพิ่มเติม »

ทรานส์นีสเตรีย

ทรานส์นีสเตรีย (Transnistria, Transdniestria) หรือ พรีดเนสโตรวี (Pridnestrovie) เป็นภูมิภาคแห่งหนึ่งของประเทศมอลโดวา ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำนีสเตอร์กับชายแดนมอลโดวา (ด้านที่ติดกับประเทศยูเครน) ปัจจุบันบริเวณนี้ถูกปกครองโดย สาธารณรัฐมอลเดเวียพรีดเนสโตรวี (Pridnestrovian Moldavian Republic) ซึ่งมีอยู่เพียงสามประเทศเท่านั้นที่ให้การรับรองเอกราช ได้แก่ อับฮาเซีย, เซาท์ออสซีเชีย และสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค (สามประเทศนี้ ประเทศส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ให้การรับรองเช่นกัน) รัฐบาลมอลโดวาถือว่าทรานส์นีสเตรียอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยและยังคงเป็นส่วนหนึ่งของตน โดยมีสถานะเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมกันในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต แม้ว่ารัฐบาลมอลโดวาจะไม่มีอำนาจปกครองในดินแดนนี้แล้วก็ตาม.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และทรานส์นีสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ค้อนเคียว

รูปค้อนเคียวไขว้ ตามแบบที่ปรากฏในธงชาติสหภาพโซเวียต ค้อนเคียว เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของลัทธิคอมมิวนิสต์ มักใช้เพื่อเป็นเครื่องหมายของลัทธิคอมมิวนิสต์ พรรคคอมมิวนิสต์ หรือรัฐคอมมิวนิสต์ต่างๆ ทั่วโลก โดยปกติแล้วมักทำเป็นรูปค้อนและเคียวไขว้กันดังภาพ ซึ่งเครื่องหมายทั้งสองอย่างนี้ คือสัญลักษณ์บุคคลในชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นชาวนา การนำสัญลักษณ์ทั้งสองอย่างมารวมกัน จึงหมายถึงเอกภาพของแรงงานในภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของสังคมในแบบคอมมิวนิสต์ สัญลักษณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักกันดีจากการที่นำรูปดังกล่าวไปใช้ในธงชาติสหภาพโซเวียต ควบคู่ไปกับรูปดาวแดง และยังถูกนำไปใช้ในธงและตราสัญลักษณ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก รูปสัญลักษณ์ค้อนเคียวในระบบยูนิโคด (Unicode) อยู่ในตำแหน่งรหัส U+262D.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และค้อนเคียว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูเครน

ประเทศยูเครน (Ukraine) หรือ อูกรายีนะ (Україна, Ukrayina) เป็นประเทศในยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกติดต่อกับประเทศรัสเซีย ทางเหนือติดต่อกับเบลารุส ทางตะวันตกติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวา ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้จรดทะเลดำและทะเลอะซอฟตามลำดับ ยูเครนมีพื้นที่ 603,628 กม.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และประเทศยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจอร์เจีย

อร์เจีย (Georgia; საქართველო, Sakartvelo) เดิมระหว่างปี พ.ศ. 2534-2538 เรียกว่า สาธารณรัฐจอร์เจีย เป็นประเทศที่อยู่ทางตะวันออกของทะเลดำในคอเคซัสตอนใต้ ในอดีตเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียต มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศรัสเซีย ทางใต้จรดประเทศตุรกี ประเทศอาร์มีเนีย และประเทศอาเซอร์ไบจาน.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และประเทศจอร์เจีย · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1

แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1 (1-й Белорусский фронт) เป็นแนวรบหน้าของกองทัพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงหลังสงครามแนวรบนี้ได้วางกำลังในเยอรมนีตะวันออกเป็นกองกำลังโซเวียตในเยอรมนีตะวันออก.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และแนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เอฟา เบราน์

อฟา อันนา เพาลา ฮิตเลอร์ (Eva Anna Paula Hitler) สกุลเดิม เบราน์ เป็นเพื่อนเก่าแก่ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และเป็นภรรยาของเขาในช่วง 40 ชั่วโมงสุดท้ายของชีวิต เบราน์พบฮิตเลอร์ในมิวนิกขณะที่เธอมีอายุได้ 17 ปี ขณะที่ทำงานเป็นผู้ช่วยและนางแบบของช่างถ่ายภาพส่วนตัวของเขาและเริ่มพบฮิตเลอร์บ่อยครั้งขึ้นในอีกราวสองปีถัดมา เธอเคยพยายามฆ่าตัวตายสองครั้งในความสัมพันธ์ระยะแรกระหว่างทั้งสอง ใน..

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และเอฟา เบราน์ · ดูเพิ่มเติม »

เครือรัฐเอกราช

รือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States หรือ CIS Содружество Независимых Государств หรือ СНГ) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้นหลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง โดยมีประเทศสมาชิกเป็นประเทศที่ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต (ยกเว้นกลุ่มประเทศบอลติก).

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และเครือรัฐเอกราช · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องอิสริยาภรณ์คูตูซอฟ

รื่องอิสริยาภรณ์คูตูซอฟ («Орден Кутузова» "Orden Kutuzova") เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ของสหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งชื่อตามจอมพลแห่งจักรวรรดิรัสเซีย มีฮาอิล อีลลารีโอโนวิช คูตูซอฟ (1745–1813) เครื่องอิสริยาภรณ์ได้รับการสถาปนาในช่วงมหาสงครามของผู้รักชาติ โดยจะมอบให้กับเจ้าหน้าที่และนายพลในกองทัพแดง ที่สามารถประสบความสำเร็จในการโจมตีกลับ เครื่องอิสริยาภรณ์คูตูซอฟ มีทั้งหมดสามชั้น โดยได้รับการสถาปนาอีกครั้งในสหพันธรัฐรัสเซียหลัง การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ตามประกาศของสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย เลขที่ 2424-1 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 1992.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และเครื่องอิสริยาภรณ์คูตูซอฟ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชัย

รื่องอิสริยาภรณ์แห่งชัย (Орден "Победa") คือเครื่องอิสริยาภรณ์ที่สหภาพโซเวียตมอบให้กับผู้บัญชาการทหารในสงครามโลกครั้งที่สองและจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชัย · ดูเพิ่มเติม »

30 เมษายน

วันที่ 30 เมษายน เป็นวันที่ 120 ของปี (วันที่ 121 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 245 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และ30 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

5 เมษายน

วันที่ 5 เมษายน เป็นวันที่ 95 ของปี (วันที่ 96 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 270 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ธงชัย (โซเวียต)และ5 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ธงชัยประจำชาติ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »