โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33

ดัชนี ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 สายสุพรรณบุรี–อรัญประเทศ (เขตแดนไทย/กัมพูชา) เป็นทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย สายทางเริ่มต้นในจังหวัดสุพรรณบุรี และสิ้นสุดที่ชายแดนประเทศกัมพูชา อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 299.549 กิโลเมตร ในปัจจุบัน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 เฉพาะช่วงหินกองถึงอรัญประเทศได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายทางหลวงเอเชียสาย 1 โดยถนนตลอดสายมีขนาดระหว่าง 2-6 ช่องจราจร.

69 ความสัมพันธ์: กรมทางหลวงกรุงเทพกรุงเทพมหานครภาคกลาง (ประเทศไทย)ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)อำเภอบางบัวทองอำเภอบางปะหันอำเภอบางปะอินอำเภอบ้านนาอำเภอกบินทร์บุรีอำเภอภาชีอำเภอมหาราชอำเภอวัฒนานครอำเภอวังน้อยอำเภอวิหารแดงอำเภอวิเศษชัยชาญอำเภอสามโก้อำเภอหนองแคอำเภออรัญประเทศอำเภออุทัยอำเภอองครักษ์อำเภอท่าเรืออำเภอประจันตคามอำเภอปากพลีอำเภอป่าโมกอำเภอนครหลวงอำเภอแก่งคอยอำเภอเมืองสระแก้วอำเภอเมืองสุพรรณบุรีอำเภอเมืองปราจีนบุรีอำเภอเมืองนครนายกอำเภอเสนาจังหวัดชัยนาทจังหวัดบันทายมีชัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดสระแก้วจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดอ่างทองจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดนครสวรรค์จังหวัดนครปฐมจังหวัดนครนายกถนนพหลโยธินถนนรังสิต-นครนายกถนนสุวินทวงศ์ (จังหวัดปราจีนบุรี)...ถนนปราจีนธานีทางรถไฟสายตะวันออกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 317ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 329ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 348ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 357ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 359ทางหลวงเอเชียสาย 1ทางแยกต่างระดับหินกองประเทศกัมพูชาประเทศไทยปอยเปตแม่น้ำนครนายก ขยายดัชนี (19 มากกว่า) »

กรมทางหลวง

กรมทางหลวง เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่ดำเนินการก่อสร้าง ควบคุม บูรณะ และบำรุงรักษาทางหลวง ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยในทางหลวงทั่วประเทศ เอื้อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง ความมั่นคง และการป้องกันประเท.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และกรมทางหลวง · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพ

กรุงเทพ อาจหมายถึง; ดินแดนและการปกครอง.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ภาคกลาง (ประเทศไทย)

กลาง เป็นภูมิภาคตอนกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออก และภาคอีสานทางทิศตะวันออกโดยมีทิวเขาเพชรบูรณ์กั้น ติดต่อกับภาคตะวันตก ทิศเหนือติดต่อกับทิวเขาผีปันน้ำ พื้นนี้เคยเป็นดินแดนที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยา และยังเป็นพื้นที่ที่สำคัญของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยตั้งอยู่ และมีประชากรในภูมิภาคมากที่สุดในประเท.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และภาคกลาง (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)

ตะวันออก เป็นภูมิภาคย่อยทางตะวันออกของประเทศไทย เดิมถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคกลาง อยู่ติดชายฝั่งอ่าวไทยด้านตะวันออก นับเป็นอีกภูมิภาคหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งอุตสาหกรรม ผลไม้ และอัญมณีของประเท.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และภาคตะวันออก (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบางบัวทอง

งบัวทอง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี ในอดีตมีพื้นที่กว้างใหญ่มากโดยคลุมพื้นที่อำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ และบางส่วนของอำเภอปากเกร็ด (ปัจจุบันแยกออกไปแล้ว) มีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2445 เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม แต่ปัจจุบันเมื่อความเจริญจากกรุงเทพมหานครแผ่ขยายออกมาจนถึงบางบัวทอง ทำให้มีหมู่บ้านจัดสรร บริษัทห้างร้าน สำนักงานจำนวนมาก รวมถึงหน่วยงานราชการต่าง ๆ ทยอยย้ายเข้ามาอยู่ในท้องที่นี้ แต่ก็ยังคงเห็นท้องนาบางส่วนอยู่ นอกจากนี้ อำเภอบางบัวทองยังเป็นอำเภอที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดนนทบุรีด้วย (และมีความหนาแน่นมากเป็นอันดับ 3).

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอบางบัวทอง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบางปะหัน

งปะหัน เป็นอำเภอหนึ่ง ใน 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภอนครใน ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอบางปะหัน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบางปะอิน

งปะอิน เป็นอำเภอหนึ่งใน 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภอพระราชวัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน ซึ่งเป็นอำเภอที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของจังหวัดพระนครศรีอ.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอบางปะอิน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบ้านนา

อำเภอบ้านนา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครนายก ภาคกลางของประเทศไท.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอบ้านนา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอกบินทร์บุรี

กบินทร์บุรี เดิมสะกดว่า กระบินทร์บุรี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวจังหวัด ปัจจุบันเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของภาคตะวันออก.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอกบินทร์บุรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอภาชี

อำเภอภาชี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอ.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอภาชี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอมหาราช

มหาราช เป็นอำเภอหนึ่งใน 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภอนครใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอวัฒนานคร

วัฒนานคร เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระแก้ว.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอวัฒนานคร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอวังน้อย

วังน้อย เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภออุไทยน้อย ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอวังน้อย · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอวิหารแดง

วิหารแดง เป็นอำเภอหนึ่งใน 13อำเภอของจังหวัดสระบุรี มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และมีเขตภูเขาและป่าดงดิบทางทิศเหนือและตะวันออก ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอประกอบอาชีพกสิกรรม โดยเฉพาะในเขตชลประทานที่มีพื้นที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอวิหารแดง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอวิเศษชัยชาญ

อำเภอวิเศษชัยชาญ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง เดิมชื่อ อำเภอวิเศษไชยชาญ และก่อนหน้านั้น ชื่อ อำเภอไผ่จำศีล.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอวิเศษชัยชาญ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสามโก้

อำเภอสามโก้ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง จัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2508.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอสามโก้ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอหนองแค

หนองแค เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสระบุรี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด สภาพภูมิศาสตร์โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ที่ดินส่วนใหญ่ถูกใช้ประโยชน์ในการทำเกษตรกรรมและกสิกรรม แต่เนื่องจากการมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวย รวมทั้งมีระยะทางห่างจากจังหวัดปริมณฑลอื่น ๆ ที่ไม่ไกลนัก (มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครไม่เกิน 100 กิโลเมตรและมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอันเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมสำคัญ) จีงมีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ด้ว.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอหนองแค · ดูเพิ่มเติม »

อำเภออรัญประเทศ

อรัญประเทศ เป็นอำเภอชายแดนทางด้านตะวันออกของประเทศไทย มีแนวชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา เดิมเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกบินทร์บุรี ภายหลังถูกยุบรวมกับจังหวัดปราจีนบุรี (เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2468) ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระแก้วซึ่งเป็นจังหวัดที่ตั้งขึ้นมาใหม่ภายหลัง (เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536).

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภออรัญประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภออุทัย

อำเภออุทัย เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภออุไทยใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภออุทัย · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอองครักษ์

อำเภอองครักษ์ เป็นหนึ่งในจำนวนสี่อำเภอของจังหวัดนครนายก ในเขตภาคกลางของประเทศไท.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอองครักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอท่าเรือ

ท่าเรือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภอนครน้อย ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอท่าเรือ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอประจันตคาม

อำเภอประจันตคาม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปราจีนบุรี.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอประจันตคาม · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอปากพลี

อำเภอปากพลี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครนายก.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอปากพลี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอป่าโมก

อำเภอป่าโมก เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอป่าโมก · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอนครหลวง

นครหลวง เป็นอำเภอหนึ่งใน 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอ.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอนครหลวง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแก่งคอย

แก่งคอย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระบุรี เดิมมีชื่อว่า "แร้งคอย" เนื่องจากเป็นปากทางเข้าสู่เขาใหญ่ มีผู้คนจำนวนมากล้มตายจากไข้ป่าจนมีนกแร้งมาเฝ้าคอยเพื่อกินศพเป็นจำนวนมาก เป็นอำเภอที่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ โรงไฟฟ้า โรงงานเซรามิก เคมีภัณฑ์ เป็นต้น และยังเป็นชุมทางรถไฟที่สำคัญ ประกอบกับมีถนนมิตรภาพตัดผ่าน ทำให้มีโรงงานจำนวนมากและมีประชากรแฝงเข้ามาทำงานจำนวนมาก.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอแก่งคอย · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองสระแก้ว

มืองสระแก้ว เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระแก้ว.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอเมืองสระแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองสุพรรณบุรี

อำเภอเมืองสุพรรณบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอเมืองสุพรรณบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองปราจีนบุรี

อำเภอเมืองปราจีนบุรี ตั้งอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอเมืองปราจีนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองนครนายก

อำเภอเมืองนครนายก เป็นศูนย์กลางการบริหารราชการ ธุรกิจ และวัฒนธรรมของจังหวัดนครนายก.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอเมืองนครนายก · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเสนา

อำเภอเสนา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภอเสนากลาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากเป็นลำดับ 3 จากทั้งหมด 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รองจากอำเภอบางปะอินและอำเภอวังน้อย อนึ่ง อำเภอเสนายังคงเป็นรู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อบ้านแพน ซึ่งปัจจุบันเป็นชื่อตำบลหนึ่งของอำเภอเสนา แต่สมัยก่อนเป็นชื่อเก่าที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมายาวนาน และปรากฏอยู่ตามสื่อต่าง ๆ ในสมัยก่อน เช่น เพลงลูกทุ่ง ละคร.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และอำเภอเสนา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชัยนาท

ังหวัดชัยนาท เดิมสะกดว่า ไชยนาท เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอุทัยธานี.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และจังหวัดชัยนาท · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดบันทายมีชัย

ันทายมีชัย หรือ บ็อนเตียย์เมียนเจ็ย (បន្ទាយមានជ័យ, "ปราการแห่งชัยชนะ") เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศกัมพูชา (ภาษาไทยเรียกว่า "จังหวัดบ้านใต้มีชัย", "บันทายมีชัย" หรือ "ศรีโสภณ") อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เมืองหลักคือศรีโสภณ จังหวัดบันทายมีชัยติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตกที่เมืองปอยเปต จังหวัดบันทายมีชัยเคยเป็นจังหวัดพิบูลสงครามของสยาม ในปี..

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และจังหวัดบันทายมีชัย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่ไม่มีอำเภอเมือง มีอำเภอพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า".

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกาญจนบุรี

ังหวัดกาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ทิศเหนือ จรดจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ จรดจังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ทิศตะวันตก จรดประเทศพม.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และจังหวัดกาญจนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลพบุรี

ังหวัดลพบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นถึง 8 จังหวัด วนตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และจังหวัดลพบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสระบุรี

ังหวัดสระบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของภาคกลาง นับเป็นเสมือนด่านผ่านระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และยังเป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดสระบุรี นับว่าเป็นทำเลแห่งการเพาะปลูก ได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำสายหลัก คือแม่น้ำป่าสัก และสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และจังหวัดสระบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสระแก้ว

ระแก้ว เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย แยกออกมาจากจังหวัดปราจีนบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2536.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และจังหวัดสระแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสิงห์บุรี

ังหวัดสิงห์บุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไท.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และจังหวัดสิงห์บุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุพรรณบุรี

รรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 107 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศเหนือ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และกาญจนบุรี.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และจังหวัดสุพรรณบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอ่างทอง

ังหวัดอ่างทอง เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น ตุ๊กตาชาววัง งานจักสาน เป็นต้น.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และจังหวัดอ่างทอง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดปราจีนบุรี

ปราจีนบุรี เดิมสะกดว่า ปราจิณบุรี เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีการพบซากโบราณสถานในหลายพื้นที่ของจังหวัด นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่ง มีอุทยานแห่งชาติอยู่ในเขตมรดกโลกถึง 3 แห่ง ทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดในภาคตะวันออกอีกด้วย แต่เดิมจังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่กว้างใหญ่มาก เนื่องจากในอดีตเคยมีการยุบรวมจังหวัดนครนายกเข้ากับจังหวัดปราจีนบุรีในปี..

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และจังหวัดปราจีนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครราชสีมา

นครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยและมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อเมืองนครราชสีมาปรากฏครั้งแรกเป็นเมืองพระยามหานครในการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งให้ย้ายเมืองนครราชสีมามาตั้งบริเวณพื้นที่ปัจจุบัน เมื่อ..

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และจังหวัดนครราชสีมา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครสวรรค์

ังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนบนของภาคกลาง มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และจังหวัดนครสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครปฐม

ังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และจังหวัดนครปฐม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครนายก

ังหวัดนครนายก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และจังหวัดนครนายก · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพหลโยธิน

นนพหลโยธิน (Thanon Phahon Yothin) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายกรุงเทพมหานคร−แม่สาย (เขตแดน) เป็นถนนสายหลักในกรุงเทพมหานคร และเป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย (ประกอบด้วยถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุขุมวิท และถนนเพชรเกษม) สายทางเริ่มต้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ผ่านภาคกลาง และมุ่งเข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทย สิ้นสุดที่ด่านพรมแดนแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย บริเวณชายแดนประเทศพม่า รวมระยะทางยาว 994.749 กิโลเมตร บางช่วงของถนนพหลโยธินอยู่ในโครงข่ายทางหลวงเอเชีย ได้แก่ ช่วงบ้านหินกองถึงอำเภอบางปะอินเป็นทางหลวงเอเชียสาย 1, ช่วงแยกหลวงพ่อโอ (เส้นแบ่งเขตจังหวัดชัยนาทกับจังหวัดนครสวรรค์) ถึงอำเภอเมืองตาก เป็นทั้งทางหลวงเอเชียสาย 1 และสาย 2 และช่วงอำเภอเมืองสระบุรีถึงบ้านหินกองเป็นทางหลวงเอเชียสาย 12 นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงคุนหมิง–กรุงเทพ ถนนพหลโยธินช่วงตั้งแต่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เส้นทางของถนนจะเบี่ยงไปทิศตะวันออก ผ่านจังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี แล้ววกกลับมายังจังหวัดชัยนาท เนื่องจากในสมัยก่อนต้องการให้ทางหลวงสายหลักผ่านที่ตั้งของกองทหารสำคัญของประเท.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และถนนพหลโยธิน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนรังสิต-นครนายก

นนรังสิต-นครนายก ซึ่งมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305 เป็นถนนแนวตะวันตก-ตะวันออก เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดปทุมธานีกับจังหวัดนครนายก เป็นถนนขนาด 4-8 ช่องทางจราจร ระยะทางตลอดทั้งสาย 74.811 กิโลเมตร โดยทางหลวงสายนี้ได้ช่วยเพิ่มความสะดวกในการเข้าสู่จังหวัดนครนายกและจังหวัดใกล้เคียงมากขึ้น โดยไม่ต้องใช้ถนนพหลโยธิน แล้วเข้าถนนสุวรรณศรที่ทางแยกต่างระดับหินกอง อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ทำให้สามารถช่วยร่นระยะทางให้สั้นกว่าประมาณ 30 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และถนนรังสิต-นครนายก · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสุวินทวงศ์ (จังหวัดปราจีนบุรี)

นนสุวินทวงศ์ หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 319 สายหนองชะอม–พนมสารคาม เป็นทางหลวงในประเทศไทย เริ่มต้นแยกมาจากถนนสุวรรณศร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33) ที่ทางแยกหนองชะอม บ้านหนองชะอม ตำบลโคกไม้ลาย อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี จากนั้นมุ่งลงทางทิศใต้ ผ่านตัวอำเภอเมืองปราจีนบุรี ข้ามแม่น้ำปราจีนบุรี จากนั้นผ่านบางส่วนของอำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมโหสถ และไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ที่ทางแยกหนองเค็ด ตำบลท่าถ่าน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และถนนสุวินทวงศ์ (จังหวัดปราจีนบุรี) · ดูเพิ่มเติม »

ถนนปราจีนธานี

นนปราจีนธานี หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 320 สายศาลนเรศวร–สถานีรถไฟปราจีนบุรี เริ่มต้นจากแยกจากถนนสุวรรณศร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33) ที่ทางแยกศาลนเรศวร ตำบลบ้านพระ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ผ่านแยกตัดกับทางหลวงชนบท ป.2008 ที่แยกดงหัวโขด ผ่านตำบลดงพระราม สิ้นสุดบริเวณจุดตัดทางรถไฟบริเวณหน้าค่ายจักรพงษ์ เขตเทศบาลเมืองปราจีนบุรี มีระยะทางรวม 10 กิโลเมตร 320 3-320 ปราจีนธานี.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และถนนปราจีนธานี · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟสายตะวันออก

ทางรถไฟสายตะวันออก เป็นเส้นทางเดินรถไฟทางไกลระหว่างจังหวัดของการรถไฟแห่งประเทศไทย เริ่มต้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ สิ้นสุดที่สถานีรถไฟอรัญประเทศ ชายแดนกัมพู.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และทางรถไฟสายตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 สายปากเกร็ด–สะพานต่างระดับนครราชสีมา เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานที่เชื่อมระหว่างจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครราชสีมา มีจุดเริ่มต้นบนถนนติวานนท์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306) ที่ห้าแยกปากเกร็ด ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดบนถนนมิตรภาพ กับทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมาด้านตะวันตก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204) ที่ทางแยกต่างระดับนครราชสีมา ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ระยะทางทั้งสิ้น 298.515 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง 296.707 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 สายวังน้อย–สิงห์บุรี เป็นถนนสายหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสิงห์บุรี ระยะทางรวม 96.968 กิโลเมตร โดยลักษณะเส้นทางเป็นถนนขนาด 2-4 ช่องจราจร บางช่วงขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นถนนสายเก่าที่เป็นเส้นทางคมนาคมจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดภาคกลางทั้งสามจังหวัด ก่อนที่จะมีถนนสายเอเชียในเวลาต่อม.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 317

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 317 สายจันทบุรี-สระแก้ว เริ่มจากถนนสุขุมวิท หลัก ก.ม. 333 ที่อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ผ่านถนนสระแก้ว-เขาหินซ้อน ไปสิ้นสุดที่ถนนสุวรรณศร ในจังหวัดสระแก้ว รวมระยะทาง 147.587 กิโลเมตร 317 3-317 หมวดหมู่:ถนนในจังหวัดจันทบุรี หมวดหมู่:ถนนในจังหวัดสระแก้ว.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 317 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 สายบางปะอิน–แยกหลวงพ่อโอ เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานที่รู้จักกันทั่วไปในฐานะส่วนหนึ่งของโครงข่ายทางหลวงเอเชีย เป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครสู่จังหวัดในภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงคุนหมิง–กรุงเทพ มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 150.545 กิโลเมตร ในอนาคตมีโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 สายบางปะอิน-นครสวรรค์ โดยใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 329

right ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 329 เป็นทางหลวงแผ่นดินในอดีต มีจุดเริ่มต้นที่ถนนพหลโยธิน ที่ทางแยกต่างระดับหินกอง ในอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี แล้วมุ่งไปถนนเลียบคลองระพีพัฒน์ เข้าเขตอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วจากนั้นข้ามทางรถไฟสายชานเมือง ตัดถนนสายเอเชีย และใช้เส้นทางร่วมกับถนนสายเอเชีย จากนั้นเข้าเขตจังหวัดอ่างทองและจังหวัดสุพรรณบุรี จนสิ้นสุดเส้นทางที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 (ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี) ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 329 กรมทางหลวงได้ยกเลิก และยุบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 ในช่วงหินกอง - สุพรรณบุรี ตั้งแต่ทางแยกต่างระดับหินกอง บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 340 (แยกต่างระดับไผ่ขวาง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี) ทางหลวงแผ่นดินสายนี้เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร บางช่วงเป็น 4 ช่องจราจร.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 329 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 สายสุพรรณบุรี–อรัญประเทศ (เขตแดนไทย/กัมพูชา) เป็นทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย สายทางเริ่มต้นในจังหวัดสุพรรณบุรี และสิ้นสุดที่ชายแดนประเทศกัมพูชา อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 299.549 กิโลเมตร ในปัจจุบัน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 เฉพาะช่วงหินกองถึงอรัญประเทศได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายทางหลวงเอเชียสาย 1 โดยถนนตลอดสายมีขนาดระหว่าง 2-6 ช่องจราจร.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 สายบางบัวทอง–ชัยนาท หรือเรียกกันทั่วไปว่า ถนนบางบัวทอง–สุพรรณบุรี และ ถนนสุพรรณบุรี–ชัยนาท เป็นทางหลวงแผ่นดินสายหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดชัยนาท ระยะทาง 164.21 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่สามารถไปภาคเหนือได้โดยไม่ต้องผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 เดิมชื่อ ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ก่อสร้างเมื่อปี..

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 สายเทคโนปทุมธานี–เจ้าปลุก เป็นทางหลวงแผ่นดินในจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีระยะทาง 66.246 กิโลเมตร เริ่มต้นที่ปลายทางทิศใต้บนทางแยกกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 ในอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี มุ่งหน้าสู่ทิศเหนือ จนสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3267 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3196 อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 เป็นทางหลวงสายสำคัญที่ช่วงแบ่งเบาการจราจรบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 เพื่อมุ่งหน้าไปยังภาคเหนือของประเทศไท.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 348

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 348 สายอรัญประเทศ - นางรอง หรือ ถนนธนะวิถี เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างภาคตะวันออกกับภาคอีสานตอนใต้ เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจรสวนทาง มีจุดเริ่มต้นแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) บริเวณตัวอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ผ่านอำเภอโคกสูง อำเภอตาพระยา ขึ้นเขาช่องตะโก เข้าสู่เขตจังหวัดบุรีรัมย์ที่อำเภอโนนดินแดง สิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (ถนนเดชอุดม) ที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ระยะทางประมาณ 141 กิโลเมตร อยู่ในความดูแลของแขวงทางหลวงสระแก้ว (วัฒนานคร) และแขวงทางหลวงบุรีรัมย์ สำนักงานทางหลวงที่ 10 นครราชสีม.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 348 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 357

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 357 หรือ ถนนวงแหวนรอบเมืองสุพรรณบุรี เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2552 มีลักษณะเป็นวงกลมล้อมรอบเมืองสุพรรณบุรี ยาวกว่า 48.31 กิโลเมตร ก่อสร้างเป็นมาตรฐานทางแบบพิเศษ ทางคู่ขนานรวม 4-6 ช่องจราจร งบประมาณการก่อสร้าง 3,185 ล้านบาท.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 357 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 359

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 359 สายคลองยาง–เขาหินซ้อน เริ่มจากถนนสุวรรณศร ที่อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว เข้าสู่จังหวัดปราจีนบุรี ผ่านอำเภอกบินทร์บุรี เข้าสู่จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งแต่อำเภอพนมสารคาม สิ้นสุดที่ถนนฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรีที่ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมระยะทาง 72.719 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 359 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงเอเชียสาย 1

ทางหลวงเอเชียสาย 1 (AH1) เป็นถนนที่ยาวที่สุดในเครือข่ายทางหลวงสายเอเชีย ระยะทางทั้งสิ้น 12,845 ไมล์ (20,557 กิโลเมตร) จากโตเกียว ญี่ปุ่น ผ่านเกาหลี, จีน, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (แผ่นดินใหญ่), อินเดีย, ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน และอิหร่าน สิ้นสุดที่ตุรกี และบัลแกเรีย โดยมีเส้นทางต่อไปทางทิศตะวันตกต่อจากอิสตันบูล ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของทางหลวงยุโรป E80.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และทางหลวงเอเชียสาย 1 · ดูเพิ่มเติม »

ทางแยกต่างระดับหินกอง

ทางแยกต่างระดับหินกอง (Hinkong Interchange) เป็นชุมทางต่างระดับแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี เป็นจุดตัดระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนสุวรรณศร และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 329 ตั้งอยู่ในตำบลห้วยขมิ้น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และทางแยกต่างระดับหินกอง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปอยเปต

ด่านชายแดนเมืองปอตเปต ปอยเปต (ប៉ោយប៉ែត) เป็นเมืองชายแดนไทย-กัมพูชา ตั้งอยู่ที่ตำบลปอยเปต อำเภออูร์ชเรา จังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา อยู่ติดกับอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ประเทศไทย ตัวเมืองมีบ่อนกาสิโนเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นผู้ใช้บริการ เนื่องจากการพนันในประเทศไทยผิดกฎหมาย ปัจจุบันได้มีการประกาศจากด่านตรวจคนเข้าเมืองไทย ด้านอำเภออรัญประเทศ สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางไทย สามารถเข้าถึงพนมเปญโดยไม่ต้องใช้วีซ่า โดยเดินทางประทับตราหนังสือเดินทางขาเข้าประเทศกัมพูชาได้ หมวดหมู่:เมืองในประเทศกัมพูชา.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และปอยเปต · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำนครนายก

แม่น้ำนครนายก เป็นแม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดนครนายก จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดปราจีนบุรี มีความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร ไหลผ่านทุกอำเภอในจังหวัดนครนายก ต้นน้ำจากภูเขาในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ไหลผ่านน้ำตกเหวนรก ซึ่งในช่วงต้นน้ำมีชื่อเรียกว่า "คลองท่าด่าน" ถูกกั้นโดยเขื่อนขุนด่านปราการชล หลังจากนั้นได้ไหลผ่าน อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา และอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก นอกจากนี้แม่น้ำนครนายกยังเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา กับอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี สุดท้ายจึงไหลไปบรรจบกับแม่น้ำปราจีนบุรีที่ปากน้ำโยธะกาเป็นแม่น้ำบางปะกง ปัจจุบันแม่น้ำนครนายกบริเวณเขื่อนขุนด่านปราการชลได้มีกิจกรรมล่องแก่งสำหรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย นับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อและทำรายได้ให้กับจังหวัดนครนายกเป็นอย่างมาก.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33และแม่น้ำนครนายก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ถนนสุวรรณศร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »