โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลสาบคุชชะโระ

ดัชนี ทะเลสาบคุชชะโระ

ทะเลสาบคุชชะโระ เป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟในอุทยานแห่งชาติอะกัง บนเกาะฮกไกโดฝั่งตะวันออก ประเทศญี่ปุ่น ชื่อของทะเลสาบมีที่มาจากภาษาไอนุเช่นเดียวกับชื่อทางภูมิศาสตร์อีกหลายชื่อในฮกไกโด เป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในในด้านของพื้นที่ผิว และเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับที่หกในญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังเป็นทะเลสาบที่ผิวน้ำจับตัวเป็นน้ำแข็งตลอดทะเลสาบในฤดูหนาวที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น เกาะกลางทะเลสาบมีชื่อว่า นะกะจิมะ เป็นกรวยภูเขาไฟสลับชั้น ควันภูเขาไฟ ทำให้น้ำในทะเลสาบมีสภาพเป็นกรด จึงมีปลาที่สามารถอาศัยอยู่ได้ไม่กี่ชนิด ยกเว้นบริเวณที่แม่น้ำไหลเข้าสู่ทะเลสาบซึ่งทำให้น้ำในบริเวณนั้นเจือจาง ปลาเทราท์สายรุ้งสามารถทนต่อน้ำที่มีสภาพเป็นกรดได้ ใน..

11 ความสัมพันธ์: กรวยภูเขาไฟสลับชั้นกรดภาษาไอนุล็อกเนสส์หงส์กู่อุทยานแห่งชาติอะกังจักจั่นจังหวัดฮกไกโดทะเลสาบปล่องภูเขาไฟประเทศญี่ปุ่นปลาเรนโบว์เทราต์

กรวยภูเขาไฟสลับชั้น

ภูเขาไฟฟูจิกรวยภูเขาไฟสลับชั้นที่ยังไม่ดับในประเทศญี่ปุ่น ล่าสุดที่ปะทุขึ้นในปี 1707-08 Tavurvur กรวยภูเขาไฟสลับชั้นที่ยังไม่ดับใกล้กับRabaul ในประเทศปาปัวนิวกินี กรวยภูเขาไฟสลับชั้น หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ภูเขาไฟชนิดประกอบ ความสูงของภูเขาไฟทรงกรวยก่อขึ้นโดยชั้นหินซึ่งเกิดจากการแข็งตัวของหินหลอมเหลวหลายชั้น, เทฟรา, หินภูเขาไฟ และเถ้าภูเขาไฟ ซึ่งแตกต่างจากภูเขาไฟโล่ กรวยภูเขาไฟสลับชั้นมีลักษณะรายละเอียดที่สูงชันและการอักเสบเฉียบพลันเป็นระยะ ๆ และเงียบสงบเฉียบพลัน ในขณะที่มีบางอย่างกับหลุมที่ถล่มแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด หินหลอมเหลวที่ไหลจากกรวยภูเขาไฟสลับชั้นมักจะเย็นตัวลงและแข็งตัวก่อนที่จะแพร่กระจายไปไกลเนื่องจากความหนืดสูง หินหนืดหลอมเหลวขึ้นรูปนี้มักจะเป็นหินเฟลสิก ที่มีระดับสูงถึงกลางของซิลิก้า (เช่นเดียวกับใน ไรโอไลต, ดาไซต์ หรือแอนเดไซต์) ที่มีจำนวนน้อยของหินหนืดซิสน้อยกว่าความหนืด ครอบคลุมหมดหินหลอมเหลวที่ไหลหินเฟลสิก เป็นเรื่องแปลก แต่ในการเดินทางไกลที่สุดเท่าที่ 15 กม.

ใหม่!!: ทะเลสาบคุชชะโระและกรวยภูเขาไฟสลับชั้น · ดูเพิ่มเติม »

กรด

กรด (อังกฤษ: acid, มาจากภาษาละติน acidus/acēre หมายถึง "เปรี้ยว") เป็นสสารซึ่งทำปฏิกิริยากับเบส โดยทั่วไป กรดสามารถระบุได้ด้วยรสเปรี้ยว,สมบัติทำปฏิกิริยากับโลหะอย่างแคลเซียม และเบสอย่างโซเดียมคาร์บอเนต กรดที่ละลายน้ำมี pH น้อยกว่า 7 โดยที่กรดจะแรงขึ้นตามค่า pH ที่ลดลง และเปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินเป็นแดง ตัวอย่างทั่วไปของกรด รวมไปถึง กรดน้ำส้ม (น้ำส้มสายชู), กรดซัลฟิวริก (ในแบตเตอรีรถยนต์), และกรดทาร์ทาริก (ในการทำขนม) ดังสามตัวอย่างข้างต้น กรดสามารถเป็นได้ทั้งสารละลาย ของเหลวหรือของแข็ง สำหรับแก๊ส อย่างเช่น ไฮโดรเจนคลอไรด์ ก็เป็นกรดได้เช่นกัน กรดแรงและกรดอ่อนเข้มข้นบางตัวมีฤทธิ์กัดกร่อน แต่มีข้อยกเว้น เช่น คาร์บอรีนและกรดบอริก นิยามกรดโดยทั่วไปมีสามนิยาม ได้แก่ นิยามอาร์เรเนียส นิยามเบรินสเตด-ลาวรี และนิยามลิวอิส นิยามอาร์เรเนียสกล่าววว่า กรดคือ สสารที่เพิ่มความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ในสารละลาย นิยามเบรินสเตด-ลาวรีเป็นการขยายขึ้น คือ กรดเป็นสสารซึ่งสามารถทำหน้าที่ให้โปรตอน กรดส่วนมากที่พบในชีวิตประจำวันเป็นสารละลายในน้ำ หรือสามารถละลายได้ในน้ำ และสองนิยามนี้เกี่ยวเนื่องที่สุด สาเหตุที่ pH ของกรดน้อยกว่า 7 นั้น เป็นเพราะความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนมากกว่า 10-7 โมลต่อลิตร เนื่องจาก pH นิยามเป็นลอการิทึมลบของความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไออน ดังนั้น กรดจึงมี pH น้อยกว่า 7 ตามนิยามเบรินสเตด-ลาวรี สารประกอบใดซึ่งสามารถให้โปรตอนง่ายสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นกรด ตัวอย่างมีแอลกอฮอล์และเอมีน ซึ่งมีหมู่ O-H หรือ N-H ในทางเคมี นิยามกรดลิวอิสเป็นนิยามที่พบมากที่สุด กรดลิวอิสเป็นตัวรับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ตัวอย่างกรดลิวอิส รวมไปถึงไอออนลบโลหะทั้งหมด และโมเลกุลอิเล็กตรอนน้อย เช่น โบรอนฟลูออไรด์ และอะลูมิเนียมไตรคลอไรด์ ไฮโดรเนียมไอออนเป็นกรดตามทั้งสามนิยามข้างต้น ที่น่าสนใจคือ แม้แอลกอฮอล์และเอมีนสามารถเป็นกรดเบรินเสตด-ลาวรีได้ตามที่อธิบายข้างต้น ทั้งสองยังทำหน้าที่เป็นเบสลิวอิสได้ เนื่องจากอะตอมออกซิเจนและไนโตรเจนมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว.

ใหม่!!: ทะเลสาบคุชชะโระและกรด · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไอนุ

ษาไอนุ หรือ ไอนู (ไอนุ: アイヌ イタク ไอนู อีตัก; アイヌ語 ไอนุโงะ) เป็นภาษาของชาวไอนุ ชนกลุ่มน้อยในเกาะฮกไกโด ครั้งหนึ่งเคยใช้พูดในหมู่เกาะคูริล ทางภาคเหนือของเกาะฮนชูและภาคใต้ของเกาะซาฮาลิน คำหลายคำของภาษาไอนุก็ได้กลายเป็นคำในภาษาญี่ปุ่นเลยด้วย เช่นเมืองซัปโปะโระบนเกาะฮกไกโด และคำว่ารักโกะ ที่แปลว่าแมวน้ำ.

ใหม่!!: ทะเลสาบคุชชะโระและภาษาไอนุ · ดูเพิ่มเติม »

ล็อกเนสส์

ล็อกเนสส์ หรือ ทะเลสาบเนสส์ (แกลิกสกอต: Loch Ness–"Loch" แปลว่า "ทะเลสาบ") เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่อยู่ทางที่ราบสูงตอนเหนือของสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ในสถานที่ที่เรียกว่า "เกรตเกลน" มีชื่อเสียงในเรื่องของสัตว์ประหลาดที่มีชื่อว่า "เนสซี" จัดเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกทางเหนือ ล็อกเนสส์ตั้งที่อยู่ที่เส้นรุ้ง 56 องศาเหนือ ลักษณะรูปร่างของทะเลสาบแห่งนี้ออกจะผิดแผกไปจากทะเลสาบอื่น ๆ คือเหยียดยาวออกไปเหมือนกิ่งไม้ ทะเลสาบนี้มีความยาวประมาณ 37 กิโลเมตร (23 ไมล์) แต่มีส่วนกว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร (1 ไมล์) เท่านั้น คิดเป็นเนื้อที่พื้นน้ำราว 56 ตารางกิโลเมตร (22 สแควร์ไมล์) ความลึกเฉลี่ย 132 เมตร บริเวณที่ลึกสุดประมาณ 300 เมตร อุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำในทะเลสาบค่อนข้างเย็น คือประมาณ 5.6 องศาเซลเซียส แต่น้ำในทะเลสาบไม่เคยเย็นจนเป็นน้ำแข็ง แหล่งน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลสาบประกอบด้วยแม่น้ำ 8 สาย ธารน้ำใหญ่ 60 สาย และธารน้ำเล็ก ๆ อีกนับร้อยสาย น้ำในทะเลสาบแห่งนี้ขุ่นมัวอยู่ตลอดเวลา แสงอินฟราเรดทะลุได้ไม่เกิน 1.5 เมตร ความทึบของน้ำนี้ไม่ใช่ความขุ่นมัว ไม่ใช่ทึบเพราะตะกอนสิ่งสกปรกซึ่งตกตะกอนได้ แต่ทึบเนื่องจากจุลินทรีย์สีบางชนิดซึ่งแขวนลอยอยู่บนผิวน้ำ ซึ่งมาจากถ่านหินชนิดร่วนที่ถูกชะล้างลงมาจากภูเขาลงสู่ทะเลสาบเป็นเวลานานหลายพันปี อีกอย่างหนึ่ง ตลอดความยาวของทะเลสาบเต็มไปด้วยชะง่อนผาและโขดหินใต้น้ำ ทัศนียภาพรอบทะเลสาบเงียบสงบและขนาบข้างด้วยหน้าผา เนินหญ้า และต้นสน มีปราสาทโบราณแบบสกอตแลนด์ตั้งอยู่ชื่อ "เออร์คิวฮาร์ต" จุดกำเนิดของล็อกเนสส์ใช้เป็นทฤษฎีอธิบายการเข้ามาอยู่ของไดโนเสาร์ในยุคดึกดำบรรพ์จนกลายมาเป็นเนสซีด้วย คือ สันนิษฐานว่าเมื่อราว 250 ล้านปี ได้เกิดการเคลื่อนไหวของผิวโลกตามรอยร้าวที่พาดผ่านตอนเหนือของสกอตแลนด์ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดหุบเขาและเหวลึกขนาดใหญ่ซึ่งเรียกว่าเกรตเกลน ในปัจจุบัน น้ำจากภูเขาได้ไหลทะลักลงไปสู่หุบเหว นานเข้าก่อให้เกิดทะเลสาบขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งได้แก่ ล็อกเนสส์, ล็อกออยช์ และล็อกโลชี ทะเลสาบนี้มีทางติดต่อกับทะเลเหนือด้วย ซึ่งในบริเวณทะเลเหนือนั้นมีรายงานว่าได้พบซากสัตว์ยุคโบราณที่มีรูปร่างคล้ายเนสซีอยู่หลายครั้ง ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ในยุคนั้น สัตว์จำพวกนี้ได้ผ่านจากทะเลเหนือเข้ามาสู่ล็อกเนสส์ และเมื่อราว 8,000–10,000 ปีก่อน ทะเลสาบนี้ได้ถูกตัดขาดจากทะเลเหนือ จึงทำให้สัตว์เหล่านี้ถูกกักขังอยู่ในล็อกเนสส์ ประกอบกับสภาพของทะเลสาบที่ใหญ่พอและมีปริมาณปลา ซึ่งเป็นแหล่งอาหารมากพอ จึงทำให้มันดำรงชีวิตอยู่ได้และหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1933 ได้มีการตัดถนนผ่านทะเลสาบทำให้มีผู้คนสัญจรไปมามากขึ้น และทำให้มีหลายคนได้เจอะเจอเนสซีมากขึ้นด้วย หลายคนอ้างว่า ได้พบเนสซีตอนขึ้นมาบนบก ในปี..

ใหม่!!: ทะเลสาบคุชชะโระและล็อกเนสส์ · ดูเพิ่มเติม »

หงส์กู่

หงส์กู่ หรือ หงส์ฮูปเปอร์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cygnus cygnus) เป็นหงส์ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคซีกโลกเหนือ เป็นหงส์ชนิดเดียวกันกับหงส์แตรในอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: ทะเลสาบคุชชะโระและหงส์กู่ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติอะกัง

อุทยานแห่งชาติอะกัง เป็นอุทยานแห่งชาติในจังหวัดฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับอุทยานแห่งชาติไดเซะสึซัง อุทยานแห่งชาติทั้งสองแห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติที่เก่าที่สุดในเกาะฮกไกโด อุทยานแห่งชาตินี้เลื่องชื่อว่ามีน้ทะเลสาบที่ใสสะอาดบริสุทธิมาก และยังมีแหล่งแช่น้ำพุร้อน ตลอดจนแหล่งเติบโตของก้อนสาหร่ายมะริโมะ โดยอุทยานสามารถแบ่งได้ออกเป็นสองเขต คือ คะวะยุ และ อะกัง.

ใหม่!!: ทะเลสาบคุชชะโระและอุทยานแห่งชาติอะกัง · ดูเพิ่มเติม »

จักจั่น

ักจั่น เป็นแมลงที่มีตาขนาดใหญ่ อยู่ด้านข้างของหัว มีประสาทการรับรู้ที่ดีอยู่บนปีก ค้นพบประมาณ 1,300 ชนิดแล้วบนโลก จักจั่นอาศัยอยู่ในบริเวณเขตร้อน เป็นแมลงที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะมีขนาดที่ใหญ่และสามารถส่งเสียงที่ไพเราะได้ บางครั้งจะถูกสับสนกับ ตั๊กแตนหนวดสั้น (locust) ไม่มีเหล็กในไว้ต่อย และไม่กัดมนุษย์ บางพื้นที่ จักจั่นถือว่าเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมและยังจัดเป็นอาหารที่ใช้เป็นยาอีกด้ว.

ใหม่!!: ทะเลสาบคุชชะโระและจักจั่น · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดฮกไกโด

กไกโด (ไอนุ: アィヌ・モシリ อัยนูโมซีร์) เดิมเรียก เอะโซะ เป็นชื่อจังหวัดและเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศญี่ปุ่น รองจากเกาะฮนชู แต่มีอุโมงค์เซกังเชื่อมถึงกัน นอกจากนี้ฮกไกโดยังเป็นเขตการปกครอง ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่เกาะ โดยมีเกาะฮกไกโดเป็นศูนย์กลาง และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเขต คือ ซัปโปโระ ฮกไกโดเป็นเขตที่มีคนอาศัยอยู่เบาบาง มีประชากรทั้งเกาะประมาณ 5 ล้านคน คนส่วนใหญ่ย้ายมาจากเกาะฮนชูเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน โดยเป็นแหล่งที่ซามูไรแพ้สงครามจึงต้องหนีมาอยู่ที่เกาะนี้ ความจริงแล้วที่เกาะนี้มีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่มานานแล้ว คือ ชาวไอนุ แต่โดนกลืนชนชาติไป ปัจจุบันหลงเหลืออยู่น้อยมากและมีชีวิตเช่นชาวญี่ปุ่นทั่วไป ฮกไกโดเป็นเขตที่มีอากาศหนาวเย็น โดยเฉลี่ยจะมีหิมะท่วมอยู่ทั่วไปประมาณ 4-6 เดือน ในถดูหนาวจะมีอุณหภูมิ -20 ถึง 5 องศาเซลเซียส ในหน้าร้อนจะมีอุณหภูมิ 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส ในด้านภูมิประเทศเป็นภูเขาเป็นส่วนใหญ่ ในบริเวณที่ราบลุ่มก็จะเป็นเมืองที่คนอาศัย โดยจะหนาแน่นในบริเวณเมืองซัปโปโระ ซึ่งมีอากาศอุ่นกว่าบริเวณต่าง ๆ ของเกาะ แต่ก็ยังหนาวกว่าเมืองอื่น ๆ ในเกาะฮนชู ฮกไกโดเป็นเกาะที่มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ชาวญี่ปุ่นจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศจึงนิยมมาตากอากาศหรือย้ายมาอยู่อาศัยและทำงานเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: ทะเลสาบคุชชะโระและจังหวัดฮกไกโด · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ

ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ (Crater lake) เป็นทะเลสาบที่เกิดขึ้นภายในปล่องภูเขาไฟ อย่างเช่น Maar หรือแคลดีรา บางครั้งอาจเรียกว่า ทะเลสาบแคลดีรา แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะไม่เรียกเช่นนั้น ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่อยู่ในปล่องของภูเขาไฟมีพลังอาจเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า Volcanic lakes และน้ำในทะเลสาบลักษณะนี้มักจะมีสภาพเป็นกรด เต็มไปด้วยแก๊สภูเขาไฟ และมีสีเขียวเข้ม ขณะที่ทะเลสาบที่ตั้งอยู่ในปล่องภูเขาไฟสงบหรือภูเขาไฟดับสนิทมักจะมีน้ำที่ใส และจะยิ่งใสมากเป็นพิเศษถ้าไม่มีธารน้ำและตะกอนไหลเข้ามา ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟเกิดขึ้นเมื่อหยาดน้ำฟ้าตกลงมาในแอ่ง ความลึกจะเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งเกิดสมดุลระหว่างอัตราของน้ำที่เข้ามาและอัตราของน้ำที่เสียไปซึ่งอาจเกิดจากการระเหย การซึมลงใต้ดิน และอาจรวมถึงการไหลออกบนผิวดินหากระดับน้ำในทะเลสาบสูงถึงจุดที่ต่ำที่สุดของขอบแอ่ง ซึ่งการไหลออกบนผิวดินนี้อาจกัดเซาะสิ่งทับถมที่กั้นทะเลสาบไว้ และถ้าสิ่งทับถมนี้ถูกกัดเซาะอย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้เกิด Lake breakout ขึ้นได้ ตัวอย่างของทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงคือ Crater Lake ซึ่งมีชื่อเดียวกับศัพท์ทางธรณีวิทยา ตั้งอยู่ในแคลดีราของ Mount Mazama (ดังนั้นชื่อ "Crater Lake" จึงเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นอย่างไม่ถูกต้อง) ในรัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา จัดเป็นทะเลสาบที่ลึกที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมีความลึก 594 เมตร น้ำใน Crater Lake มาจากฝนและหิมะเท่านั้น โดยไม่มีการไหลเข้าและออกที่ระดับผิวดิน ดังนั้นจึงเป็นทะเลสาบที่มีความใสมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ภูเขาไฟที่สูงที่สุดในโลกคือ Ojos del Salado ซึ่งมีความสูง 6,893 เมตร มีทะเลสาบปล่องภูเขาไฟขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100 เมตร อยู่ที่ระดับความสูง 6,390 เมตรทางด้านตะวันออกของภูเขาไฟ อาจถือได้ว่าเป็นทะเลสาบที่อยู่ที่ระดับความสูงมากที่สุดในโลก ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟบางแห่งจะคงตัวอยู่เป็นพักๆเท่านั้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ผันแปร ขณะที่ทะเลสาบแคลดีราสามารถคงตัวอยู่ได้นานมาก ตัวอย่างเช่น ทะเลสาบโทบาที่เกิดขึ้นเมื่อหลังจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อประมาณ 70,000 ปีก่อน และมีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางกิโลเมตร ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟหลายแห่งอาจมีความงดงามดั่งวาด แต่ก็มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นแก๊สที่ปล่อยออกจาก Lake Nyos ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจราว 800 คนเมื่อ..

ใหม่!!: ทะเลสาบคุชชะโระและทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ทะเลสาบคุชชะโระและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเรนโบว์เทราต์

ปลาเรนโบว์เทราต์ หรือ ปลาเทราต์สายรุ้ง (Rainbow trout, Steelhead, Trout salmon) เป็นปลาชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาแซลมอน (Salmonidae) จัดอยู่ในจำพวกปลาแซลมอน อาศัยอยู่ในสาขาแม่น้ำที่ไหลสู่มหาสมุทรแปซิฟิกในทวีปเอเชียและทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นช่วงที่มีวงจรชีวิตอาศัยอยู่ในทะเล ปกติจะว่ายจากทะเลสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่หลังจากอาศัยอยู่ในทะเลไปแล้ว 2-3 ปี ปลาเรนโบว์เทราต์มักถูกนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารและตกเป็นเกมกีฬา ได้ถูกเพาะเลี้ยงและนำเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ที่มิใช่แหล่งกำเนิดดั้งเดิมถึง 87 ประเทศ อาทิ เยอรมนี, ฟินแลนด์, แอฟริกาใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ญี่ปุ่น ทั้งในประเทศในเขตอบอุ่นและเขตหนาว หรือแม้แต่เขตร้อน เพื่อสนองความต้องการในการบริโภคและตกเป็นเกมกีฬา ปลาเรนโบว์เทราต์ เป็นปลาที่ดั้งเดิมอาศัยอยู่ในลำธารหรือทะเลสาบที่น้ำมีอุณหภูมิที่เย็น (ไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส ขณะที่บางข้อมูลระบุว่าไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส) เป็นปลาที่มีสัญชาตญาณนักล่าอยู่ในตัว โดยเป็นปลาที่กินสัตว์น้ำต่าง ๆ ไม่เลือก ทั้งปลาและแมลงน้ำ ด้วยสรีระที่เป็นทรงกระสวย หางมีขนาดใหญ่ช่วยในการว่ายทวนกระแสน้ำได้เป็นอย่างดี ถึงแม้จะไม่มีฟันหรือเขี้ยวขนาดใหญ่ แต่ก็มีจะงอยปากที่เป็นลักษณะตะขอ เมื่อสบกับจะงอยปากบนที่เป็นร่องลึกก็จะประกบกันได้ลงตัวพอดี ทำให้จับเหยื่อได้อย่างมั่นคง มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1.2 เมตร น้ำหนักกว่า 25 กิโลกรัม สีตามลำตัวสวยงาม เนื้อมีรสชาติดี มีก้างน้อย และยังมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด โอเมกา 3 อยู่ในปริมาณที่มากด้วย จากรายงานของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ในการจัดอันดับชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีประสิทธิภาพในการรุกรานสิ่งมีชีวิตพื้นถิ่นให้เสียหายอย่างรุนแรง 100 อันดับแรก มีปลาอยู่ 5 ชนิด และหนึ่งในนั้นก็คือ ปลาเรนโบว์เทราต์ ปลาเรนโบว์เทราต์ ได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยด้วยการเป็นไข่ปลาจากสหรัฐอเมริกา ที่สถานีเพาะเลี้ยง ในโครงการหลวง ที่ดอยอินทนนท์ เมื่อปี พ.ศ. 2541 จนประสบความสำเร็จ มีลูกปลาที่รอดจากการฟักถึงร้อยละ 90 สามารถผลิตปลาได้ปริมาณสูงถึง 18-20 ตันต่อปี แต่ก็มีประชากรบางส่วนที่หลุดรอดไปสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ มีรายงานการพบลูกปลาขนาดเล็กมีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร หลุดรอดออกมาจากสถานีเพาะเลี้ยง และพบปลาขนาดใหญ่ราว 1 ฟุตอยู่ในลำธารใกล้ ๆ สถานีเพาะเลี้ยง และมีการจับปลาขนาดใหญ่ได้ในช่วงท้ายน้ำของผู้คนพื้นถิ่น จากการให้สัมภาษณ์ของคนพื้นถิ่นพบว่า ตั้งแต่มีปลาเรนโบว์เทราต์เข้ามา ลูกปลาชนิดต่าง ๆ ก็ได้หายไปเป็นจำนวนมาก จึงหวั่นเกรงกันว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไปปลาเทราต์สายรุ้ง การรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หน้า 28-32 โดย siamensis.org.

ใหม่!!: ทะเลสาบคุชชะโระและปลาเรนโบว์เทราต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Lake Kussharoทะเลสาบคุสชะโระ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »