โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทฤษฎีกินซ์บุร์ก-ลันดาอู

ดัชนี ทฤษฎีกินซ์บุร์ก-ลันดาอู

ทฤษฎี Ginzburg-Landau (GL) เป็นทฤษฎีตัวนำยวดยิ่งแบบมหภาค ที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนสถานะ (Phase transition) ถูกนำเสนอโดย Ginzburg และ Landau ในปี 1950 หลังจากทฤษฎี Two-Fluid model เกือบ 15 ปี ซึ่งทฤษฎีของ Ginzburg และ Landau เกิดจากการนำแนวคิดของทฤษฎี Two-Fluid model มาพัฒนาเพื่อที่จะใช้ในการอธิบายสภาพนำยวดยิ่ง ทฤษฎีนี้มีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีการเปลี่ยนเฟสอันดับที่สอง (second-order phase transition) โดยพิจารณาพลังงานเสรีในสถานะนำยวดยิ่ง ซึ่งสามารถเขียนกระจายอยู่ในเทอมของ ตัวแปรของความเป็นระเบียบ (order parameter) โดยตัวแปรความเป็นระเบียบสามารถอธิบายได้เช่นเดียวกันกับในกรณีของสารแม่เหล็กเฟอร์โร (Ferromagnetic) ที่เปลี่ยนสถานะเป็นสารแม่เหล็กพารา (Paramagnetic) ซึ่งมีค่าแมกเนไทซ์เซชัน(Magnetization) แสดงความเป็นระเบียบในการเรียงตัวกันของโมเมนต์แม่เหล็ก สำหรับในกรณีของตัวนำยวดยิ่ง ในสภาพนำยวดยิ่งตามทฤษฎีกินซ์เบิร์กและแลนดาวใช้ฟังก์ชันเชิงซ้อน ต่อมาพบว่าตัวแปรนี้จะมีความสอดคล้องกับฟังก์ชันคลื่นของอิเล็กตรอนในสภาพนำยวดยิ่ง ค่าของตัวแปรที่บอกความเป็นระเบียบนี้จะเป็นไปตามเงื่อนไขคือจะมีค่าเป็นศูนย์เมื่ออุณหภูมิมีค่าสูงกว่าอุณหภูมิวิกฤตและมีค่าจำกัดเมื่ออุณหภูมิมีค่าต่ำว่าอุณหภูมิวิกฤต ดังนั้นพลังงานเสรีรวมจึงเกิดจากพลังงานเสรีในสถานะตัวนำยวดยิ่งกับพลังงานเสรีในสถานะปกติ ในกรณีของตัวนำปกติ ตัวแปรของความเป็นระเบียบนี้จะมีค่าเป็นศูนย์ โดยสามารถแสดงสมการพลังงานเสรีรวมได้ดังสมการ จากสมการจะพบว่ามีการเติมเทอมของพลังงานจลน์โดย m คือ มวลยังผล (Effective mass) โดยต่อมามีการศึกษาเพิ่มเติมจนพบว่ามวลยังผลจะมีค่าเป็น 2 เท่าของมวลของอิเล็กตรอนซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของทฤษฎีบีซีเอส (BCS Theory).

1 ความสัมพันธ์: ตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2

ตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2

ในการศึกษาเกี่ยวกับสภาพนำยวดยิ่ง ตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2 (Type-II superconductor) The B-T diagram of type-II superconductor.คือลักษณะของการก่อตัวของกระแสหมุนวนของแม่เหล็ก (magnetic vortices) ในสนามแม่เหล็กที่นำมาใช้ สิ่งนี้เกิดขึ้นนอกเหนือไปจากบางค่าของความเข้มของสนามวิกฤติ Hc1 ความหนาแน่นของกระแสหมุนวนเพิ่มขึ้นด้วยความเข้มของสนามที่เพิ่มขึ้น ที่สนามวิกฤติที่สูงขึ้น Hc2 สภาพนำไฟฟ้ายวดยิ่งจะถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิงและตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2 จะไม่เกิดปรากฏการณ์ไมส์เนอร์(Meissner effect)ขึ้นอย่างสมบูรณ์เหมือนกับตัวนำยวดยิ่งประเภทที่ 1.

ใหม่!!: ทฤษฎีกินซ์บุร์ก-ลันดาอูและตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ทฤษฎี Ginzburg-Landau (GL)ทฤษฎีกินซ์เบิร์กและแลนดาว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »