โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การพองตัวของจักรวาล

ดัชนี การพองตัวของจักรวาล

ในการศึกษาจักรวาลวิทยา การพองตัวของจักรวาล (Cosmic Inflation) หรือการพองตัวของเอกภพ คือแบบจำลองการขยายตัวแบบเอ็กโปเนนเชียลของเอกภพตามทฤษฎี ที่เกิดขึ้นหลังจากการเกิดบิกแบงเป็นเวลา 10−36 วินาที เนื่องจากมีความหนาแน่นของพลังงานสุญญากาศเป็นแรงดันล.

7 ความสัมพันธ์: บิกแบงฟิสิกส์กำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักรรูปร่างของเอกภพหลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยาจักรวาลวิทยาโครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ

บิกแบง

ตาม'''ทฤษฎีบิกแบง''' จักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากสภาพที่มีความหนาแน่นสูงและร้อน และจักรวาลมีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา บิกแบง (Big Bang, "การระเบิดครั้งใหญ่") เป็นแบบจำลองของการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพในจักรวาลวิทยาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และจากการสังเกตการณ์ที่แตกต่างกันจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปใช้คำนี้กล่าวถึงแนวคิดการขยายตัวของเอกภพหลังจากสภาวะแรกเริ่มที่ทั้งร้อนและหนาแน่นอย่างมากในช่วงเวลาจำกัดระยะหนึ่งในอดีต และยังคงดำเนินการขยายตัวอยู่จนถึงในปัจจุบัน ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ นักวิทยาศาสตร์และพระโรมันคาทอลิก เป็นผู้เสนอแนวคิดการกำเนิดของเอกภพ ซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีบิกแบง ในเบื้องแรกเขาเรียกทฤษฎีนี้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับอะตอมแรกเริ่ม (hypothesis of the primeval atom) อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ทำการคำนวณแบบจำลองโดยมีกรอบการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ต่อมาในปี..

ใหม่!!: การพองตัวของจักรวาลและบิกแบง · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: การพองตัวของจักรวาลและฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร

การศึกษาเรื่องการก่อกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักรนั้นเกี่ยวข้องกับกระบวนการกำเนิดเอกภพที่มีลักษณะแตกต่างกันจากจุดเริ่มต้นเดียวกัน การกำเนิดของดาราจักรแรก ๆ การเปลี่ยนแปลงของดาราจักรตามกาลเวลา และกระบวนการที่ก่อให้เกิดโครงสร้างแบบต่าง ๆ จากที่มีการสังเกตดาราจักรข้างเคียง โดยการศึกษาในเรื่องนี้เป็นการศึกษาที่สำคัญเรื่องหนึ่งในวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ การกำเนิดดาราจักร เชื่อว่าเกิดจากทฤษฎีการกำเนิดโครงสร้าง (structure formation theories) ซึ่งเป็นผลมาจากเปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลง ๆ ทางควอนตัมซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการเกิดบิกแบง (Big Bang) วิวัฒนาการการกำเนิดหลุมดำนี้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเกิดจากโครงสร้างของแบบจำลองแลมดา-ซีดีเอ็ม(\Lambda) ซึ่งว่าด้วยวัตถุที่เย็นและมืดในจักรวาล โดยกล่าวว่าการรวมตัวของดาราจักรนั้นเป็นเพิ่มมวลที่สามารถจะคาดการณ์รูปร่างและโครงสร้างได้.

ใหม่!!: การพองตัวของจักรวาลและกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

รูปร่างของเอกภพ

กัดเรขาคณิตท้องถิ่นของเอกภพ แสดงในรูปแบบที่ค่าตัวแปรจักรวาลโอเมกามีค่าน้อยกว่า, เท่ากับ, หรือมากกว่า 1; จากบนลงล่าง เอกภพแบบทรงกลม เอกภพแบบไฮเพอร์โบลา และเอกภพแบน รูปร่างของเอกภพ เป็นคำอย่างไม่เป็นทางการที่ใช้ในหัวข้อการศึกษาหนึ่งในสาขาจักรวาลวิทยาว่าด้วยการอธิบายลักษณะทางเรขาคณิตของเอกภพ ซึ่งรวมไปถึงทั้งลักษณะเรขาคณิตท้องถิ่นและเรขาคณิตโดยรวมทั้งหมด สามารถแบ่งอย่างคร่าวๆ เป็นเรื่องของความโค้งและทอพอลอยี แม้ว่าหากจะกล่าวจริงจังแล้ว เรื่องของรูปร่างเอกภพนั้นพ้นไปไกลกว่าศาสตร์ทั้งสองมาก ถ้าอธิบายอย่างเป็นทางการ การศึกษารูปร่างของเอกภพคือการศึกษาว่า สภาวะ 3 มิติมีความเกี่ยวพันอย่างไรกับส่วนของอวกาศบนระบบพิกัด comoving ซึ่งมีกาลอวกาศแบบ 4 มิติของเอกภพ การวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจคลื่นไมโครเวฟวิลกินสัน (WMAP) แสดงให้เห็นว่าเอกภพของเรามีลักษณะ "แบน" ตามระบบเรขาคณิตแบบยูคลิด โดยมีค่าผิดพลาดที่ราว 2%.

ใหม่!!: การพองตัวของจักรวาลและรูปร่างของเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

หลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยา

ในการศึกษาจักรวาลวิทยา หลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยา เป็นสมมุติฐานที่ใช้งานอยู่ในการอธิบายถึงโครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาล โดยระบุว่า กล่าวโดยละเอียดดังนี้ หลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยานี้ทำให้มีทฤษฎีทางจักรวาลที่เป็นไปได้เพียงจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้ผลสอดคล้องกับการสังเกตการณ์ คือ (1) การกระจายตัวของดาราจักรในอวกาศ (2) การกระจายตัวของแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุ และ (3) การแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล ปี..

ใหม่!!: การพองตัวของจักรวาลและหลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จักรวาลวิทยา

ักรวาลวิทยา (cosmology) เป็นการศึกษาเอกภพโดยรวม ซึ่งนับว่าเป็นการศึกษาถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นพื้นฐานที่สุดในเวลาเดียวกัน จักรวาลวิทยามุ่งเน้นที่จะศึกษาถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งทั้งหลายในเอกภพ พร้อมกับพยายามที่จะอธิบายความเป็นมาของเอกภพในอดีต และทำนายความเป็นไปของเอกภพในอนาคต เอกภพเป็นอย่างไร เอกภพมีขอบเขตจำกัดหรือไม่ เอกภพเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใดเอกภพจึงมีรูปร่างลักษณะอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และอนาคตข้างหน้าเอกภพจะเป็นอย่างไร ปัญหาเหล่านี้คือสิ่งที่นักจักรวาลวิทยาทั้งหลายสนใจ จักรวาลวิทยาในความหมายที่กว้างที่สุด จะหมายถึงการทำความเข้าใจเอกภพโดยอาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็น วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา หรือศิลปะ แต่โดยทั่วไปในปัจจุบัน จักรวาลวิทยาจะหมายถึงการศึกษาเอกภพโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นสองเครื่องมือสำคัญในการใช้ศึกษาเอกภพ เป็นที่ยอมรับกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า ยิ่งเรามีความรู้ทางด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์มากขึ้นเท่าใด เราก็จะยิ่งมีความเข้าใจในเอกภพมากขึ้นเท่านั้น มโนทัศน์เกี่ยวกับเอกภพของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าเอกภพประกอบด้วยโลก คือ เทพเจ้าชื่อเก็บ ซึ่งถูกโอบล้อมด้วยท้องฟ้าคือ นัท ต่อมาเมื่อชาวกรีกโบราณศึกษาท้องฟ้าและการโคจรของดวงดาวมากขึ้น เขาก็สามารถสร้างแบบจำลองเอกภพที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษานั้น โดยให้โลกเป็นจุดศูนย์กลางของเอกภพ และมีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ รวมทั้งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ทั้งหลาย โคจรอยู่รายล้อม แบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลางนี้เป็นที่ยอมรับกันมานับพันปี ก่อนที่โคเปอร์นิคัสจะเสนอแบบจำลองใหม่ที่ให้ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ด้วยเหตุผลว่าแบบจำลองนี้ใช้การคำนวณที่ซับซ้อนน้อยกว่า (หลักการของออคแคม) จะเห็นว่าความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นนั้นทำให้มนุษย์มองโลกและเอกภพต่างออกไป การศึกษาเอกภพก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะในศตวรรษนี้มีทฤษฎีใหม่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของเอกภพมากขึ้น เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และควอนตัมฟิสิกส์ รวมทั้งมีการค้นพบหลายสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อวงการจักรวาลวิทยา เช่น การค้นพบว่าเอกภพกำลังขยายตัว หรือการค้นพบการแผ่รังสีคอสมิกไมโครเวฟเบื้องหลัง เป็นต้น ทั้งทฤษฎีและการค้นพบใหม่ ๆ เหล่านี้ทำให้ภาพของเอกภพในใจมนุษย์นั้นกระจ่างแจ่มชัดและใกล้เคียงความจริงยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามก็ต้องยอมรับว่าสิ่งที่มนุษย์รู้เกี่ยวกับเอกภพนั้นยังน้อยมาก และยังคงมีอีกหลายปัญหาในทางจักรวาลวิทยาที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: การพองตัวของจักรวาลและจักรวาลวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ

ำหรับจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ โครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ (Large-scale structure) หมายถึงคุณลักษณะการกระจายตัวที่สังเกตได้ของสสารและแสงในจักรวาลในระดับมหภาค (โดยมากในระดับที่วัดกันเป็นหน่วย พันล้านของปีแสง) การสำรวจท้องฟ้าและการจัดทำแผนที่โดยอาศัยช่วงคลื่นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในระดับต่างๆ กันช่วยทำให้เราได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบและลักษณะของโครงสร้างเอกภพ หากจะจัดลำดับชั้นของโครงสร้าง ระดับที่สูงที่สุดได้แก่ ซูเปอร์คลัสเตอร์ และ ใยเอกภพ ในระดับที่สูงกว่านี้ดูจะไม่มีโครงสร้างต่อเนื่องที่แน่ชัด ลักษณะเช่นนี้เรียกชื่อกันว่า จุดสิ้นสุดของความยิ่งใหญ่ (End of Greatness).

ใหม่!!: การพองตัวของจักรวาลและโครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การพองตัวของเอกภพทฤษฎีการพองตัวทฤษฎีการพองตัวของจักรวาลทฤษฎีการพองตัวของเอกภพ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »