โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนสุรนารายณ์

ดัชนี ถนนสุรนารายณ์

นนสุรนารายณ์ หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 สายบ้านหมี่–สามแยกสุรนารายณ์ เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อการจราจรระหว่างจังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดนครราชสีมา มีระยะทางตลอดทั้งสาย 231.085 กิโลเมตร ขนาด 2 ช่องจราจรสลับกับ 4 ช่องจราจร.

34 ความสัมพันธ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมามหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานรายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือสถานีรถไฟชุมทางแก่งคอยสงครามโลกครั้งที่สองอำเภอชัยบาดาลอำเภอบำเหน็จณรงค์อำเภอบ้านหมี่อำเภอพระทองคำอำเภอลำสนธิอำเภอจัตุรัสอำเภอโคกสำโรงอำเภอโนนไทยอำเภอเมืองนครราชสีมาอำเภอเทพสถิตอุทยานแห่งชาติป่าหินงามจังหวัดชัยภูมิจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาถนนพหลโยธินถนนมิตรภาพถนนสีคิ้ว-เชียงคานทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2089ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2129ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3196ประเทศกัมพูชาแปลก พิบูลสงครามเทศบาลนครนครราชสีมาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เลขที่ 340 ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีไปทางตำบลจอหอ ประมาณ 3 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 274 ไร่ 3 งาน 41 ตารางวา พื้นที่หลักอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 174 ไร่ 3 งาน 41 ตารางวา และมีศูนย์ฝึกปฏิบัติงานด้านการเกษตรอีก 100 ไร่ อยู่ที่ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ติดกับสวนสัตว์ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประมาณ 15กิโลเมตร มีปรัชญาประจำมหาวิทยาลัยว.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ

มหาวิทยาลัยรารามคำแหง สาขาวิทยบริการฯ จังหวัดชัยภูมิ (Ramkhamheangh Univrsity Chaiyaphum Campus in Honour of His Majesty The King) เป็นสาขามหาวิทยาลัยแต่ไม่เทียบเท่าวิทยาเขต ให้บริการการศึกษาในส่วนภูมิภาคของมหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท) เพื่อเป็นการขยายโอกาสในการศึกษาระดับอุดมศึกษาในส่วนภูมิภาค ปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ ตำบลโคกเริงรมย์ อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูม.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Isan) เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีที่จัดการเรียนการสอนในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ นครราชสีมา ขอนแก่น สกลนคร และสุรินทร์ โดยได้รับการยกฐานะจากวิทยาเขตในสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่งทั่วประเทศไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร พื้นที่หลักของมหาวิทยาลัยฯมีเนื่อที่ประมาณ 330 ไร่ ติดกับถนนสุรนารายณ์ และยังมีพื้นที่ป่าหนองระเวียง เดิมใช้เป็นพื้นที่ฝึกภาคสนามของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเรียกว่า "ศูนย์ฝึกภาคสนามหนองระเวียง" ปัจจุบันมหาวิทยาลัยฯได้รักษาสภาพพื้นที่ป่านี้ไว้ เพื่อใช้เป็นโรงเรียนธรรมชาติ มีพื้นที่ทั้งหมด 2,600 ไร่ มีรั้วล้อมรอบอย่างถาวร มีการแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ คือ สวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ จำนวน 200 ไร่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา จำนวน 200 ไร่ พื้นที่รองรับการขยายการศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ จำนวน 1,100 ไร่ และพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 1,000 ไร.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ

รายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นกลุ่มสถานีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีการเดินรถอย่างหนาแน่น ประกอบด้วยส่วนทับซ้อนจากเส้นทางสายต่าง ๆ โดยรายชื่อสถานี มีดังนี้.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และรายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย

นีรถไฟชุมทางแก่งคอย ตั้งอยู่ที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นสถานีรถไฟชั้นหนึ่ง เป็นชุมทางแยกไป 3 เส้นทาง คือเส้นทางผ่านตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และ อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ กับเส้นทางผ่าน อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ก่อนจะไปบรรจบกันที่ สถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 125 และอีกเส้นแยกไปชุมทางคลองสิบเก้.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และสถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอชัยบาดาล

ัยบาดาล เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี ในอดีตมีพื้นที่กว้างขวางมาก ครอบคลุมพื้นที่อำเภอท่าหลวงและอำเภอลำสนธิในปัจจุบัน และเคยได้ถูกเสนอจัดตั้งเป็นศูนย์กลางของจังหวัดพระนารายณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2546 และปี พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และอำเภอชัยบาดาล · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบำเหน็จณรงค์

อำเภอบำเหน็จณรงค์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิที่มีความเจริญรองจากอำเภอจัตุรัส ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ. 2499 โดยแยกออกจากอำเภอจัตุรั.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และอำเภอบำเหน็จณรงค์ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบ้านหมี่

อำเภอบ้านหมี่ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และอำเภอบ้านหมี่ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพระทองคำ

อำเภอพระทองคำ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีม.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และอำเภอพระทองคำ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอลำสนธิ

อำเภอลำสนธิ ตั้งอยู่ในจังหวัดลพบุรี.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และอำเภอลำสนธิ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอจัตุรัส

ัตุรัส เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ เดิมมีฐานะเป็นเมืองชื่อ "เมืองสี่มุม" ขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา สร้างขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และอำเภอจัตุรัส · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอโคกสำโรง

อำเภอโคกสำโรง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และอำเภอโคกสำโรง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอโนนไทย

นนไทย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีม.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และอำเภอโนนไทย · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองนครราชสีมา

อำเภอเมืองนครราชสีมา เป็นอำเภอหนึ่งในจำนวนอำเภอทั้งหมด 32 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด และหน่วยงานราชการต่าง ๆ และเป็นศูนย์กลางความเจริญของจังหวั.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และอำเภอเมืองนครราชสีมา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเทพสถิต

อำเภอเทพสถิต เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยภูม.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และอำเภอเทพสถิต · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม

อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ตั้งอยู่ในท้องที่ของอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 105 ของประเทศไทย ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน..

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชัยภูมิ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และจังหวัดชัยภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลพบุรี

ังหวัดลพบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นถึง 8 จังหวัด วนตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และจังหวัดลพบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครราชสีมา

นครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยและมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อเมืองนครราชสีมาปรากฏครั้งแรกเป็นเมืองพระยามหานครในการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งให้ย้ายเมืองนครราชสีมามาตั้งบริเวณพื้นที่ปัจจุบัน เมื่อ..

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และจังหวัดนครราชสีมา · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพหลโยธิน

นนพหลโยธิน (Thanon Phahon Yothin) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายกรุงเทพมหานคร−แม่สาย (เขตแดน) เป็นถนนสายหลักในกรุงเทพมหานคร และเป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย (ประกอบด้วยถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุขุมวิท และถนนเพชรเกษม) สายทางเริ่มต้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ผ่านภาคกลาง และมุ่งเข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทย สิ้นสุดที่ด่านพรมแดนแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย บริเวณชายแดนประเทศพม่า รวมระยะทางยาว 994.749 กิโลเมตร บางช่วงของถนนพหลโยธินอยู่ในโครงข่ายทางหลวงเอเชีย ได้แก่ ช่วงบ้านหินกองถึงอำเภอบางปะอินเป็นทางหลวงเอเชียสาย 1, ช่วงแยกหลวงพ่อโอ (เส้นแบ่งเขตจังหวัดชัยนาทกับจังหวัดนครสวรรค์) ถึงอำเภอเมืองตาก เป็นทั้งทางหลวงเอเชียสาย 1 และสาย 2 และช่วงอำเภอเมืองสระบุรีถึงบ้านหินกองเป็นทางหลวงเอเชียสาย 12 นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงคุนหมิง–กรุงเทพ ถนนพหลโยธินช่วงตั้งแต่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เส้นทางของถนนจะเบี่ยงไปทิศตะวันออก ผ่านจังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี แล้ววกกลับมายังจังหวัดชัยนาท เนื่องจากในสมัยก่อนต้องการให้ทางหลวงสายหลักผ่านที่ตั้งของกองทหารสำคัญของประเท.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และถนนพหลโยธิน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมิตรภาพ

นนมิตรภาพ ซึ่งเป็นชื่อเรียกของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 หรือ ทางหลวงสายสระบุรี–สะพานมิตรภาพที่หนองคาย (เขตแดนไทย/ลาว) เป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย โดยสายทางเริ่มต้นที่จังหวัดสระบุรี มุ่งเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย มีระยะทางทั้งสิ้น 509 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 12 ถนนมิตรภาพเป็นทางหลวงที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในด้านงบประมาณการก่อสร้าง เทคนิควิชาการในการก่อสร้าง นับเป็นทางหลวงสายแรกที่ก่อสร้างถูกต้องตามแบบมาตรฐานการก่อสร้างทางหลวงทุกขั้นตอน และเป็นทางหลวงสายแรกของประเทศไทยที่มีผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟอลต์คอนกรีต โดยเปิดให้บริการเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และถนนมิตรภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสีคิ้ว-เชียงคาน

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 สายสีคิ้ว–เชียงคาน - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 69 ตอน 31 ก หน้า 672-673, 20 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และถนนสีคิ้ว-เชียงคาน · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204 หรือ ทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา (ด้านตะวันตก) หรือนิยมเรียกในชื่อ ถนนบายพาส เป็นเส้นทางคมนาคมสำหรับเลี่ยงการใช้เส้นทางหลัก คือถนนมิตรภาพ ในตัวเมืองนครราชสีมา มีระยะทางประมาน 18 กิโลเมตร เดิมเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2089

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2089 สายมวกเหล็ก–ลำนารายณ์ เป็นทางหลวงสายหนึ่งของจังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี มีระยะทางทั้งหมดประมาณ 70.315 กิโลเมตร แนวสายทางเริ่มจากถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) กิโลเมตรที่ 35 อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ผ่านอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี อำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ข้ามแม่น้ำป่าสัก ไปสิ้นสุดสายทางที่ถนนสุรนารายณ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205) ที่สี่แยกลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ตรงข้ามกับถนนคชเสนีย์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2129).

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2089 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 สายสามแยกพุแค – เลย เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานแนวเหนือ-ใต้ ที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทยสู่จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดเลย สายทางเริ่มต้นที่สามแยกพุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี และสิ้นสุดที่อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 412.874 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานทางหลวงที่ 6 (เพชรบูรณ์) ระยะทางประมาณ 325 กิโลเมตรhttp://bmm.doh.go.th/website/index.php/statistics-for-maintenance/map-distance-control/44-highways-agency-6 แผนที่ระยะทางควบคุม สำนักงานทางหลวงที่ 6 เพชรบูรณ์ และอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานทางหลวงที่ 9 (ลพบุรี) ระยะทางประมาณ 87 กิโลเมตรhttp://bmm.doh.go.th/website/index.php/statistics-for-maintenance/map-distance-control/49-highways-agency-11 แผนที่ระยะทางควบคุม สำนักงานทางหลวงที่ 11 ลพบุรี มีทางเลี่ยงเมือง 2 จุด ได้แก่ ทางเลี่ยงเมืองเพชรบูรณ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 234) และทางเลี่ยงเมืองหล่มสัก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21).

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2129

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2129 ทางเข้าลำนารายณ์ หรือ ถนนคชเสนีย์ เป็นทางหลวงสายสั้น ๆ ในตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี แยกมาจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 หรือถนนสระบุรี-หล่มสัก บริเวณช่วงกิโลเมตรที่ 73 มีระยะทางตลอดสายประมาณ 2 กิโลเมตรเศษ ไปสิ้นสุดสายทางที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 หรือถนนสุรนารายณ์ บริเวณช่วงกิโลเมตรที่ 244 เป็นถนนลาดยางขนาด 6 ช่องทางจราจรตลอดสาย ตรงข้ามกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2089 สถานที่สำคัญบริเวณทางหลวงสายนี้.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2129 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 สายนครราชสีมา–หินโคน เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อการจราจรระหว่างจังหวัดนครราชสีมา กับอำเภอที่อยู่ติดกับพรมแดนประเทศกัมพูชาของจังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ รวมระยะทางทั้งหมด 225.356 กิโลเมตร และเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างเทศบาลนครนครราชสีมาไปยังประเทศกัมพูชาได้ เส้นทางเริ่มต้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีเส้นทางแยกมาจากถนนมิตรภาพ ที่ทางแยกนครราชสีมา ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา ไปทางทิศตะวันออก จากนั้นจึงตัดกับถนนสุรนารายณ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205) จากนั้นโค้งลงทิศใต้ไปยังอำเภอโชคชัย แล้วตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (ช่วงถนนเดชอุดม) เรียกถนนในช่วงนี้ว่า ถนนราชสีมา–โชคชัย จากเส้นทางผ่านอำเภอครบุรี และอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา จากนั้นเส้นทางจะขนานไปกับพรมแดนไปทางทิศตะวันออก เข้าเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านอำเภอปะคำ อำเภอละหานทราย อำเภอบ้านกรวด แล้วเข้าสู่จังหวัดสุรินทร์ ผ่านอำเภอพนมดงรัก และไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 ที่ทางแยกหินโคน ตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งหากเลี้ยวไปทางขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 ก็จะสามารถออกสู่ประเทศกัมพูชาได้.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256 (ถนนโค้ง - กุดม่วง) เป็นทางหลวงที่สำคัญสายหนึ่งที่ใช้เดินทางเชื่อมระหว่าง ภาคกลาง กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใน จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดลพบุรี มีระยะทางทั้งหมดประมาณ 77.033 กิโลเมตร แนวถนนสายนี้ทางเริ่มจากถนนสุรนารายณ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205) ที่หลักกิโลเมตรที่ 56 ใน ตำบลชัยบาดาล อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ข้ามแม่น้ำป่าสัก ผ่านอำเภอท่าหลวง เข้าสู่อำเภอชัยบาดาลอีกครั้ง อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี เข้าสู่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ไปสิ้นสุดที่ ถนนสีคิ้ว-ชัยภูมิ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201) ที่หลักกิโลเมตรที่ 34 ในอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีม.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3196

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3196 สายดงพลับ–เจ้าปลุก เป็นถนนแอสฟัลต์คอนกรีตขนาด 2 ช่องจราจร แยกจากถนนพหลโยธินบริเวณสามแยกดงพลับ ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ขนานไปกับคลองอนุศาสนนันท์ทางทิศตะวันตก ผ่าน อำเภอบ้านหมี่ อำเภอโคกสำโรง อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ถึงถนนพระโหราธิบดี เขตเทศบาลเมืองลพบุรี จากนั้นจะเลียบคลองชลประทานลพบุรี-บางปะหัน เข้าสู่ อำเภอบ้านแพรก อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิ้นสุดเส้นทาง บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3267 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 ที่สี่แยกเจ้าปลุก อำเภอมหาราช ระยะทาง 105.736 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3196 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลนครนครราชสีมา

นครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กำหนดให้เป็นเมืองหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นศูนย์กลางการค้า การพาณิชย์ การคมนาคมทางบก และอุตสาหกรรม โดยปี..

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และเทศบาลนครนครราชสีมา · ดูเพิ่มเติม »

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนดินกักเก็บน้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สืบค้นวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยกรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบ สืบค้นวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551.

ใหม่!!: ถนนสุรนารายณ์และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »