โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนศรีอยุธยา

ดัชนี ถนนศรีอยุธยา

นนศรีอยุธยาบริเวณหน้าโรงพยาบาลพญาไท 1 สนามเสือป่า โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ถนนศรีอยุธยา (Thanon Si Ayutthaya) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนราชปรารภ เขตราชเทวี ไปทางทิศตะวันตก ตัดกับถนนพญาไท (สี่แยกพญาไท) ถนนพระรามที่ 6 (สี่แยกศรีอยุธยา) ถนนกำแพงเพชร 5 และทางรถไฟสายเหนือ เข้าสู่ท้องที่เขตดุสิต จากนั้นตัดกับถนนสวรรคโลก (สี่แยกเสาวนี) ถนนพระรามที่ 5 (สี่แยกวัดเบญจฯ) ถนนราชดำเนินนอก (สี่แยกหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า) ถนนนครราชสีมา (สี่แยกหอประชุมทหารบก) และถนนสามเสน (สี่แยกสี่เสาเทเวศร์) ไปสิ้นสุดที่ริมแม่น้ำเจ้าพร.

41 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2441พ.ศ. 2462พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวังดุสิตพระตำหนักจิตรลดารโหฐานกรมทางหลวงกระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย)กรุงเทพมหานครมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครมูลนิธิชัยพัฒนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารวังสวนผักกาดวังปารุสกวันสวนอัมพรสำนักพระราชวังสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ประเทศไทย)สถานีวิทยุศึกษาสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสนามเสือป่าถนนพญาไทถนนพระรามที่ 5ถนนพระรามที่ 6ถนนกำแพงเพชรถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)ถนนราชปรารภถนนสวรรคโลกถนนสามเสนถนนนครราชสีมาทางรถไฟสายเหนือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลแม่น้ำเจ้าพระยาโรงเรียนพญาไทโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรโรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัยโรงเรียนอำนวยศิลป์เขตราชเทวีเขตดุสิต16 กุมภาพันธ์

พ.ศ. 2441

ทธศักราช 2441 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1898 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและพ.ศ. 2441 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2462

ทธศักราช 2462 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1919 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและพ.ศ. 2462 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังดุสิต

ระราชวังดุสิต ตั้งอยู่ที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นที่เสด็จประทับชั่วคราว เนื่องจากภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นพระราชนิเวศน์ที่ประทับนั้น ประกอบด้วย พระราชมณเฑียร หมู่พระตำหนัก หมู่เรือนในเขตพระราชฐานชั้นใน และหมู่เรือนข้าราชบริพาร ปลูกสร้างอยู่กันอย่างแออัด ปิดทางลม ทำให้ที่ประทับร้อนจัด ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทรงพระประชวรกันเสมอ ต่อมา จึงสร้างขึ้นเพื่อเป็นพระราชวังที่ประทับถาวรจนตลอดรัชกาล โดยได้สร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและพระราชวังดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

ระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เป็นพระตำหนักในพระราชวังดุสิต ตั้งอยู่ที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่9.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน · ดูเพิ่มเติม »

กรมทางหลวง

กรมทางหลวง เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่ดำเนินการก่อสร้าง ควบคุม บูรณะ และบำรุงรักษาทางหลวง ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยในทางหลวงทั่วประเทศ เอื้อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง ความมั่นคง และการป้องกันประเท.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและกรมทางหลวง · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย)

กระทรวงการต่างประเทศ (Ministry of Foreign Affairs) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศและราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการต่างประเท.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและกระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon) เน้นการจัดการศึกษา เพื่อให้บัณฑิตมีคุณลักษณะที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้า แฟชั่น อาหาร การบริหารจัดการ และทักษะด้านธุรกิจ สามารถปฏิบัติงานได้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้สามารถประกอบอาชีพได้หลายอาชี.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

มูลนิธิชัยพัฒนา

ตราสัญลักษณ์มูลนิธิ มูลนิธิชัยพัฒนา เป็นมูลนิธิซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการพัฒนาอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจ และสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้ การดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนา จะเน้นกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการของรัฐที่มีอยู่แล้ว แต่จะพยายามสนับสนุน ส่งเสริม และ ประสานงานให้โครงการต่างๆ เกิดความสมบูรณ์และสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเฉพาะในกรณีที่โครงการของรัฐถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่างๆ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เช่นในกรณีที่อาจต้องจัดซื้อที่ดินจากราษฎรบางส่วน แต่รัฐมีปัญหางบประมาณ หรือถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่างๆ มูลนิธิชัยพัฒนาจะช่วยเหลือตามความเหมาะสม เพื่อให้โครงการนั้นดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนเริ่มแรกในการจัดตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา และผู้มีจิตศรัทธาได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมทบ มูลนิธิชัยพัฒนาก่อตั้งเมื่อ 14 มิถุนายน..

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและมูลนิธิชัยพัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมชื่อ วัดแหลม หรือ วัดไทรทอง ภายหลังได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร ซึ่งหมายถึง วัดของเจ้านาย ๕ พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างสวนดุสิตขึ้นพระองค์ทรงทำผาติกรรมสถาปนาวัดขึ้นใหม่และพระราชทานามว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วังสวนผักกาด

วังสวนผักกาด หอเขียนลายรดน้ำ วังสวนผักกาด เดิมเป็นสวนผักกาด เป็นวังที่ประทับของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต และ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร (เทวกุล) ตั้งอยู่บนพื้นที่ 6 ไร่ บนถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยสร้างเพื่อประทับในช่วงสุดสัปดาห์ และเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชมศิลปะและโบราณวัตถุ โดยที่เจ้าของบ้านยังใช้เป็นที่พำนักอยู่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ภายหลังจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2502 พระชายา คือ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ได้มอบให้วังสวนผักกาดอยู่ในความดูแลของ มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ และเปิดเป็น พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดตั้งแต่นั้นม.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและวังสวนผักกาด · ดูเพิ่มเติม »

วังปารุสกวัน

ตำหนักปารุสก์ ตำหนักสวนจิตรลดา ตำหนักจิตรลดาในวังปารุสกวัน วังปารุสกวัน หรือย่อว่า วังปารุสก์ ตั้งอยู่หัวมุมถนนพิษณุโลก ตัดกับถนนราชดำเนินนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นวังที่ประทับของจอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระราชโอรสในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสที่ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหาร จากประเทศรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2449 ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์กรมตำรวจ และกองบัญชาการตำรวจนครบาล.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและวังปารุสกวัน · ดูเพิ่มเติม »

สวนอัมพร

อาคารใหม่ สวนอัมพร สวนอัมพร เป็นสถานที่จัดงานอยู่บริเวณด้านหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า ถนนอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ตรงกลางเป็นสระน้ำขนาดใหญ่รูปวงกลม มีน้ำพุ มีอาคารจัดงาน และเวทีการแสดงกลางแจ้ง สวนอัมพรอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักพระราชวัง สวนอัมพร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นแหล่งลีลาศของหนุ่มสาวในสมัยนั้น นอกจากนั้นยังเป็นสถานที่จัดงานกาชาด, งานเมาลิดกลาง เป็นประจำทุกปี เป็นสถานที่จัดงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันการศึกษาหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต สวนอัมพรยังเคยเป็นสถานที่จัดงานมอเตอร์โชว์ อย่างต่อเนื่องทุกปีตั้งแต่ครั้งที่ 2 เมื่อ..

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและสวนอัมพร · ดูเพิ่มเติม »

สำนักพระราชวัง

ำนักพระราชวัง (Bureau of the Royal Household; BRH) เป็นหน่วยงานของทางราชการมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลและรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระราชวัง ตลอดจนดูแลรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ในองค์ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นผู้บังคับบัญชาสำนักพระราชวัง และเลขาธิการพระราชวังเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารราชกิจราชการ.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและสำนักพระราชวัง · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) (Office of the Non-Formal and Informal Education: NFE) เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่หน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยในประเทศไท.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ประเทศไทย)

ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา: สกอ.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวิทยุศึกษา

นีวิทยุศึกษา เป็นสถานีวิทยุของกระทรวงศึกษาธิการ นำเสนอรายการเกี่ยวกับการศึกษา ธรรมะ สุขภาพ ข่าวสาร และรายการบันเทิงต่าง.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและสถานีวิทยุศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

นีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา หรือ อีทีวี เป็นสถานีโทรทัศน์ของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ นำเสนอรายการเกี่ยวกับการศึกษา ทั้งระดับประถมศึกษา, มัธยมศึกษา และการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) มีคำขวัญประจำสถานีว่า บ้านหลังใหญ่แห่งการเรียนรู้ และ เพื่อนเรียนรู้ตลอดชีวิต.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

สนามเสือป่า

นามเสือป่า สนามเสือป่า เป็นพื้นที่ที่อยู่ด้านทิศตะวันออกของลานพระบรมรูปทรงม้า ตรงข้ามกับสวนอัมพร ในเขตพระราชวังดุสิต เคยเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพไทย มีอาคารรับรองพระราชวังดุสิต สำนักพระราชวัง (สโมสรเสือป่า) มูลนิธิชัยพัฒนา และอีกหลายหน่วยงาน มีพื้นที่ว่างใช้จัดกิจกรรมงานออกร้านแสดงสินค้า เช่น งานกาชาด บางครั้งใช้จัดแสดงดนตรี เช่น บางกอกแจ๊สเฟสติวัล พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่บริเวณนี้หัดแถวยุทธวิธี ซ้ายหัน ขวาหัน หมอบคลาน เคลื่อนที่ ฝึกซ้อมสมาชิกกองเสือป่า บริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า "สนามเสือป่า".

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและสนามเสือป่า · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพญาไท

นนพญาไทช่วงมาบุญครองและสี่แยกปทุมวัน ถนนพญาไท (Thanon Phaya Thai) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนพระรามที่ 4 (สี่แยกสามย่าน) ไปทางทิศเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวังใหม่กับแขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน ผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นตัดกับถนนพระรามที่ 1 (สี่แยกปทุมวัน) ข้ามคลองบางกะปิ หรือคลองแสนแสบ (ที่สะพานเฉลิมหล้า 56 หรือสะพานหัวช้าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี ตัดกับถนนเพชรบุรี (สี่แยกราชเทวี) จากนั้นเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงทุ่งพญาไทและแขวงถนนพญาไท โดยตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามทางรถไฟสายตะวันออก ตัดกับถนนศรีอยุธยา (สี่แยกพญาไท) ไปสิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือ ถนนพหลโยธิน.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและถนนพญาไท · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 5

นนพระรามที่ 5 (Thanon Rama V) เป็นถนนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนลูกหลวง แขวงสวนจิตรลดา บริเวณด้านข้างทำเนียบรัฐบาล เลียบคลองเปรมประชากรไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพิษณุโลกที่สี่แยกพาณิชยการ ตัดกับถนนศรีอยุธยาที่สี่แยกวัดเบญจฯ ตัดกับถนนราชวิถีที่สี่แยกราชวิถี ตัดกับถนนสุโขทัยที่สี่แยกสุโขทัย ข้ามคลองสามเสนเข้าสู่พื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี ตัดกับถนนนครไชยศรีที่สี่แยกราชวัตร ตัดกับถนนอำนวยสงครามและถนนเศรษฐศิริที่สี่แยกเกษะโกมล และสิ้นสุดเมื่อไปตัดกับถนนทหารที่สี่แยกสะพานแดง (ถนนสายที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนเตชะวณิช) ถนนพระรามที่ 5 เดิมชื่อ "ถนนลก" เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นถนนในโครงการถนนอำเภอดุสิต โดยได้ทรงริเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ. 2441 ชื่อถนนลกเป็นภาษาจีนมาจากชื่อภาพเครื่องลายครามที่มีภาพลก คือ เทพเจ้าจีนใส่หมวกมีใบพัด 2 ข้าง หรือกวางอยู่ด้วย กวางกับหมวกนั้นมีความหมายว่าเกียรติยศนั่นเอง ครั้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนลก ตั้งแต่ถนนลูกหลวงถึงถนนเตชะวณิชเป็น "ถนนพระรามที่ 5" เพราะมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิตและถนนสายนี้ขึ้น.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและถนนพระรามที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 6

นนพระรามที่ 6 (Thanon Rama VI) เป็นถนนสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แยกจากถนนจรัสเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพระรามที่ 1 ที่สี่แยกพงษ์พระราม บริเวณใกล้วัดชำนิหัตถการ (วัดสามง่าม) ข้ามคลองมหานาคเข้าสู่พื้นที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี ตัดกับถนนเพชรบุรี (สี่แยกอุรุพงษ์) และทางรถไฟสายตะวันออก เข้าสู่แขวงทุ่งพญาไท ตัดกับถนนศรีอยุธยา (สี่แยกศรีอยุธยา) ถนนราชวิถี (สี่แยกตึกชัย) ข้ามคลองสามเสน และเริ่มเลียบคลองประปาในพื้นที่แขวงพญาไท เขตพญาไท ตัดกับถนนนครไชยศรี (สามแยกโรงกรองน้ำ) ตัดกับซอยพระรามที่ 6 ซอย 34 และซอยพระรามที่ 6 ซอย 37 (สี่แยกพิบูลวัฒนา) ตัดกับถนนประดิพัทธ์ (สี่แยกประดิพัทธ์) จากนั้นไปทางทิศตะวันตก ตัดกับถนนกำแพงเพชร ทางรถไฟสายเหนือ และถนนเทอดดำริ เข้าสู่พื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต จนถึงถนนเตชะวณิช (สามแยกวัดสะพานสูง) ถนนพระรามที่ 6 เดิมชื่อ "ถนนประทัดทอง" สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คำว่า "ประทัดทอง" นั้นจากชื่อเครื่องลายครามที่มีภาพต้นประทัดทอง ภายหลังเรียกเพี้ยนเป็นบรรทัดทอง ครั้นมาถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนประทัดทองตลอดทั้งสายเป็น "ถนนพระรามที่ 6" เพราะเป็นถนนที่โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงเป็นเส้นทางไปโรงกรองน้ำประปาสามเสน และต่อไปยังสะพานพระราม 6.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและถนนพระรามที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนกำแพงเพชร

นนกำแพงเพชร (Thanon Kamphaeng Phet) เป็นถนนที่สร้างขึ้นในเขตการรถไฟแห่งประเทศไทย บ้างขนานกับรางรถไฟ บ้างก็ไม่ขนานเป็นถนนโดด ตั้งชื่อว่าถนนกำแพงเพชร เพื่อระลึกถึง กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน บิดาแห่งกิจการรถไฟ ในตอนแรก การรถไฟแห่งประเทศไทย มีความประสงค์ที่จะตั้งชื่อถนนชุดนี้ว่า "ถนนบุรฉัตร" ตามพระนามเดิมใน กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ได้พระราชทานนามถนนในเขตที่ดินรถไฟชุดนี้ว่า "ถนนกำแพงเพชร".

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและถนนกำแพงเพชร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)

นนราชดำเนินกลางและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน (Thanon Ratchadamnoen) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยถนน 3 สาย ได้แก.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชปรารภ

นนราชปรารภ ถนนราชปรารภ (Thanon Ratchaprarop) ถนนสายหนึ่งในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 1.4 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่สามเหลี่ยมดินแดง ซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่างถนนราชวิถีกับถนนดินแดงในท้องที่แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี มุ่งไปทางทิศใต้ ผ่านจุดตัดกับถนนรางน้ำและถนนศรีอยุธยา ไปสิ้นสุดที่แยกประตูน้ำซึ่งเป็นแยกตัดกับถนนเพชรบุรี.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและถนนราชปรารภ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสวรรคโลก

นีรถไฟจิตรลดา ถนนสวรรคโลก (Thanon Sawankhalok) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่แยกยมราช ผ่านแยกเสาวนี จุดตัดกับถนนศรีอยุธยา จากนั้นทอดผ่านแยกอุภัยเจษฎุทิศ จุดตัดกับถนนราชวิถี ทอดผ่านแยกสวรรคโลก จุดตัดกับถนนสุโขทัย และไปสิ้นสุดลงที่แยกสามเสน จุดตัดระหว่างถนนเทอดดำริและถนนนครไชยศรี เดิมมีชื่อว่า "ถนนสิ้ว" (อักษรจีน: 寿 หรือสะกด ซิ่ว) ซึ่งมีความหมายถึง "อายุยั่งยืน" อันมาจากชื่อเครื่องลายครามของจีนที่เป็นรูปผลท้อหรือต้นสน ที่เป็นที่นิยมสะสมและครอบครองกันในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนิยมนำมาตั้งชื่อเป็นชื่อถนนหรือสถานที่ต่าง ๆ ในยุคนั้น โดยเป็นถนนที่ตัดจากสะพานยมราชไปจรดคลองสามเสน ขนานไปกับเส้นทางรถไฟ ต่อมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีประกาศของกระทรวงนครบาล โดยเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นเสนาบดี ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๒ ให้เปลี่ยนชื่อถนนรอบพระราชวังสวนดุสิตที่ได้ชื่อตามเครื่องลายครามจีน ๑๕ สาย หนึ่งในนั้นคือ ถนนสิ้ว ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "ถนนสวรรคโลก" ตามพระนามของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี พระธิดาพระองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานที่สำคัญที่ถนนสวรรคโลกตัดผ่าน คือ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และสถานีรถไฟจิตรลดา อันเป็นสถานีรถไฟที่สร้างขึ้นสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อมีการเสด็จฯ ทางรถไฟโดยเฉพาะ รวมถึงอาจใช้เป็นสถานที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะในบางโอกาส มีอาคารสถานีที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมที่สวยงาม.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและถนนสวรรคโลก · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสามเสน

แผนที่เขตดุสิต ถนนสามเสนอยู่บริเวณซ้ายบน ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนสามเสน (Thanon Sam Sen) เป็นถนนสายสำคัญในพื้นที่เขตพระนครและเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและถนนสามเสน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนนครราชสีมา

นนนครราชสีมา (Thanon Nakhon Ratchasima) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนลูกหลวง (แยกประชาเกษม) ท้องที่แขวงดุสิต ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพิษณุโลก (แยกวังแดง) ถนนศรีอยุธยา (แยกหอประชุมทหารบก) ถนนอู่ทองนอก (แยกอู่ทองนอก) ถนนราชวิถี (แยกการเรือน) และถนนสุโขทัย (แยกสวนรื่นฤดี) ข้ามคลองสามเสนเข้าสู่ท้องที่แขวงถนนนครไชยศรี ไปสิ้นสุดที่ถนนอำนวยสงคราม (แยกร่วมจิตต์) ใกล้ที่ทำการไปรษณีย์ดุสิต ถนนนครราชสีมาเดิมชื่อ "ถนนดวงดาว" เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เป็นถนนในโครงการถนนอำเภอดุสิต ซึ่งทรงริเริ่มขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ. 2441 ชื่อถนนดวงดาวมาจากเครื่องลายครามที่มีลายดาว ในนิยายจีนมักกล่าวถึงดาวที่เป็นเซียนต่าง ๆ เช่น ไท้แป๊ะกิมแช (อักษรจีน: 太白金星) "แช" (星) แปลว่า ดาว (สำเนียงจีนกลางออก ซิ้ง) ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนดวงดาวใต้ตั้งแต่ถนนคอเสื้อ (ถนนพิษณุโลก) ถึงถนนใบพร (ถนนอู่ทองนอก) เป็น "ถนนนครราชสีมาใต้" ถนนดวงดาวในให้ยกเลิก และถนนดวงดาวเหนือตั้งแต่ถนนซางฮี้ใน (ถนนราชวิถี) ถึงคลองสามเสน เป็น "ถนนนครราชสีมาเหนือ" เดิมกรุงเทพมหานครได้ติดตั้งป้ายชื่อถนนนครราชสีมาว่า "ถนนราชสีมา" ซึ่งเป็นชื่อที่ไม่ถูกต้อง ปัจจุบันได้แก้ไขแล้ว.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและถนนนครราชสีมา · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟสายเหนือ

ทางรถไฟสายเหนือ หรือ ทางรถไฟสายชุมทางบ้านภาชี–เชียงใหม่ แยกออกจากทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี ผ่านจังหวัดลพบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดแพร่ (อำเภอเด่นชัย อำเภอลอง) จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน และสุดปลายทางที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รวมระยะทาง 751 กิโลเมตร และที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา จะมีทางแยกไปยังสถานีรถไฟสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย รวมระยะทาง 457 กิโลเมตร (นับตั้งแต่สถานีรถไฟกรุงเทพ).

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและทางรถไฟสายเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ในยุคของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งแรกก่อตั้งใช้ชื่อว่า คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เนื่องจากในเวลานั้นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้โอนย้ายสังกัดคณะเภสัชศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาก่อนหน้าแล้ว (คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปัจจุบัน) ต่อมาในปี..

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนพญาไท

รงเรียนพญาไท (Phyathai School) เป็นโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร เปิดสอนชั้นอนุบาล 1-2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ตั้งอยู่ 306 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและโรงเรียนพญาไท · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

ก่าอาคารพระพุทธเจ้าหลวง ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ภาพหน้าบันอาคารพระพุทธเจ้าหลวง โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร (Mathayom Wat Benchamabophit School) ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ในเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ 42 ตารางวา อยู่ในเขตพระราชฐาน เป็นโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครที่เปิดสอนเฉพาะนักเรียนชาย (โรงเรียนชายล้วน) ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชกำเนิดเมื่อ ร..119 (พ.ศ. 2443) พระองค์ทรงกำหนดหลักสูตรแนวการสอนด้วยพระองค์เอง และเปิดสอนตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2444 มีนักเรียน 40 คน เป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์โดยตรงไม่ขึ้นตรงต่อกระทรวงธรรมการสมัยนั้น หลังจากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์ ชั้นผู้ใหญ่และเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ร่วมกันวางแผนปรับปรุงโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ที่สำคัญยิ่งก็คือ พระองค์ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างอาคารถาวรเป็นตึกทรงยุโรปสถาปัตยกรรมแบบ Neo-Classic และทรงห่วงใยในเรื่องการก่อสร้างเป็นอย่างยิ่ง แม้ในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็ต้องได้รับพระราชทาน บรมราชานุญาตทุกอย่าง โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรปัจจุบันเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และชั้นมัธยมศึกษาตอนปล.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ

รงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ เป็นโรงเรียนรัฐบาล สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเขต 1 มีชื่อย่อว.อ. ก่อตั้งเมื่อ ปี..

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและโรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย

รงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนอำนวยศิลป์

รงเรียนอำนวยศิลป์ (อ.น.ศ.) เป็นโรงเรียนเอกชนที่ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและโรงเรียนอำนวยศิลป์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตราชเทวี

ตราชเทวี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและเขตราชเทวี · ดูเพิ่มเติม »

เขตดุสิต

ตดุสิต เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ตั้งรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้.

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและเขตดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

16 กุมภาพันธ์

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 47 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 318 วันในปีนั้น (319 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ถนนศรีอยุธยาและ16 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »